หลักสูตรมหาชีวาลัยอีสานอยู่ไหน?

อ่าน: 3895

ช่วงนี้ได้รับการติดต่อจากคณะศึกษาดูงานเข้ามาเรื่อย ๆ

ส่วนมากจะเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยในส่วนกลางและภูมิภาค

ทำให้เจอโจทย์การบ้านที่ต้องครุ่นคิดคำนึง

อาจารย์คะ หลักสูตรมหาชีวาลัยอีสานมีอะไรบ้างคะ

โห! เอาละสิ บ่แม่นอาจารย์.. ยุ่งไหมละตู..

มีแต่หัวหลักหัวตอ หลักสูตรชัด ๆ ยังบ่มี แหะ แหะ ..

คำถามนี้กระหน่ำแทงใจดำเลยนะ

ที่ผ่านมาก็คิดและทำบ้างแต่ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน

มีเค้าโครงไว้บ้างในหนังสือ ดินดิ้นได้

เป็นเรื่องแคบ ๆ เก่า ๆ เหลาแหย่เต็มที

คำถามนี้..มีความหมายมาก

วันนี้จึงมานั่งคิด ๆ ว่าจะออกแบบตำราเข้าค่ายสไตล์ชาวเฮยังไง

ขอเผยไต๋ให้ดูต้นร่างดังนี้

วิชาเจ๊าะแจ๊ะ..

ในลานปัญญา Logos ออกแบบให้เราเม้าท์กันทางไกลคิกคัก ๆ  แต่เมื่อมาเจอหน้าเจอตาสื่อสารกันโดยตรง จะเอ่ยจำนรรจากันสะดวก สะบัดเบยอย่างไร ให้เกิดความเป็นกันเอง สนิทสนมทั้งผู้รับและผู้มา ให้เนียนตรงใจกันทั้งห้องได้เร็วที่สุด การแนะนำตัวอย่างไม่เป็นทางการนี่ก็ดีนะครับ เท่าที่สังเกตหลายกลุ่มที่ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพิ่งจะมาถามกันบนรถ เจ้าเป็นไผ โธ่เอ๊ย!..แบบนี้ไม่ทันกินหร๊อก ถ้าจะมางุ่มง่ามเป็นเต่าขาหัก.. ช่วยทำแบบรู้ใจรู้หน้าก่อนมาเห็นตัวเป็น ๆ ดีไหมละครับ..

วิชาการสารสนเทศ

ถ้าย้อนไปดูเมื่อครั้งเราเข้ามาเขียนบล็อกกันใหม่ ๆ ลองนึกดูนะครับเรารู้ใจเพื่อน ๆ กันตอนไหนอย่างไร จนกระทั้งมามี พี่ ป้า น้า อา รักใคร่กันกลมเกลียวเป็นโขยงอย่างทุกวันนี้ เครือข่ายทางใจนี่สำคัญนะครับ ถ้าไม่กวนน้ำให้ขุ่น อะไร ๆ ก็สว่างไสว ผมในฐานะผู้รับ ปกติก็เขียนบ้า ๆ บอ ๆ ทุกวันอยู่แล้ว ถ้าเข้าไปอ่านก็จะเห็นเค้าลางว่าที่นี่คิดและทำอะไรไว้บ้าง ได้รายงานความเคลื่อนไหวตลอด ผมก็จะออกแบบกิจกรรมแต่ละค่ายไว้หยาบ ๆ ให้เลือก เช่นอย่างในกรณีค่ายครูอึ่ง ชวนอาจารย์และคณะลูกศิษย์จิตวิทยาการปรึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเดินพฤษภาคม ครูอึ่งเชิญผู้สันทัดกรณีสายเฮ เช่น อุ้ยสร้อย น้าอึ่ง Logos มาร่วมทีมวิทยากร ก่อนเที่ยงเล็กน้อยวันนี้ ฤๅษีอ้นแวะสตึกจะผ่านไปสารคาม โทรมาชวนผมไปดวลก๋วยเตี๋ยวเจ๊หงอด ผมก็เลยถือโอกาสเชิญอาจารย์นฤมลและฤๅษีอ้นมาร่วมสนทนาด้วยในเดือนพฤษภาด้วย และจะขอปากโป้งเชิญพวกเรานี่แหละ ใครหัวใจว่างก็แว๊บมาได้ ครูปูกามนิตหนุ่มเอาปูนหมาย..ไว้แล้ว (เมื่อวีคก่อนกามนิตโทรมา บอกว่าจะพาคณะไหนมาก็ไม่รู้) อาจารย์ไพลิน กาญจนภานุพันธุ์ กับคุณพรพรรณเพื่อนเก่าที่อยู่เมืองละปูนก็อยากมา ยายธีที่เขียนในบล็อกโกทูโน ก็ร่ำ ๆ จะมา เกริ่นไว้ให้ชวนด้วย.. อ้าว!ป้าหวานขอวีซ่าได้บ่ งานนี้..เข้าทำนองเล็ก ๆ ไม่..อีกแล้วครับท่าน

ถ้าคณะของครูอึ่งที่จะมา อยากให้ช่วยเขียนแนะนำตัวเองในลานปัญญาก็ดีนะครับ ลงภาพถ่ายให้รู้จักหน้าค่าตา หรือเขียนอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้เป็นสะพานต่อเชื่อมความคุ้นเคย ถ้าเริ่มได้อย่างนี้เยี่ยมเลยละครับ อาจจะเป็นต้นแบบให้คณะอื่นได้พัฒนาการตาม การรู้จักกันทั้ง 2 ข้างนั้นดีกว่ารู้ข้างเดียวเยอะเลย วิธีตาบอดคลำช้างไม่น่าจะเหมาะ เท่าที่เห็นบางค่ายเอาป้ายมาเขียนชื่อห้อยคอ ทำอย่างกับมนุษย์ตีตรา อย่างนั้นมันน่าจะใช้กับเด็ก ๆ ชั้นประถมนะขอรับ

วิชาทำงานบนฐานความไม่พร้อม

เมื่อเราไปในที่ต่างๆ อาจจะตั้งเป้าหรือความคาดหวังไว้หลวม ๆ  เราสามารถเผชิญสิ่งที่แปลกใหม่และไม่คุ้นเคยได้ง่าย จะทำให้เราเปิดรับอะไร ๆ ได้สนุก ถือว่าทุกอย่างเป็นการเรียนรู้มีอิสระที่จะเลือกรับรู้ จะอยู่-กิน-นอน-ผ่อนปรนให้เข้ากับสภาพพื้นที่และบรรยากาศ ผมให้ลูกน้องที่เป็นช่างไม้ผลิตเตียงนอนไว้แล้ว รวมทั้งของเก่ามีจำนวนประมาณ 30 เตียง จะพยายามเพิ่มจำนวนขึ้นอีก

วิชาเจี๊ยะพรึบ

การเตรียมมุมอาหาร เรายกเครื่องครัวไปไว้ในแปลงผัก อยากจะชิมอะไรก็เดินไปเด็ดมาลงกระทะ โต๊ะอาหารจัดไว้ในบริเวณนั้น ถ้าหม่ำอร่อยหมดจาน ถ้าติดใจ! ก็เดินไปเด็ด ๆ มาล้างแล้วผัดกระทะร้อนได้อย่างต่อเนื่อง นับเวลา..ไปเด็ดผัก 2 นาที-ผัด 4 นาที-ยกเสิร์ฟ 5-8 ก้าว จานร้อนควันฉุยก็พร้อมเสิร์ฟไม่ขาดตอน เหมือนนั่งอยู่ในภัตตาคารยังไงยังงั้นเลยจะบอกไห่ ในหมวดนี้จะมีการแนะนำพื้นฐานพื้นถิ่นพอสมควร แต่ไม่ยากหรอก ทุกท่านที่มามีวิชาและปัญญาอยู่นับแสน คลิก!นิดเดียวก็ตาใสแล้ว ..

วิชาเสน่ห์ปลายตะหลิว

วิชานี้จะสนุกไม่ได้เลยถ้าไม่ร่วมด้วยช่วยกัน การมีส่วนร่วมเชิงประจักษ์จะครื้นเครงมาก เราจะใช้กระบวนการจิตอาสาตามความถนัด ใครจะหุงข้าวหม้อดิน ใครจะเด็ดผัก หั่นผัก ล้างผัก ผัดผัก ยกมือขึ้น! เราจะแนะนำชนิดของพืชผัก จุดที่ปลูกที่เก็บ วิธีเด็ด จำนวนผักแต่ละมื้อ ใครจะอาสาทำ-ต้ม-ยำ-แกง จะมีเมนูสาธิตปะเลอะ เช่น น้ำพริกถั่วเน่าตะลิงปิง ผัดยอดผักแปลกๆไม่น้อยกว่า 20 ชนิด ยำผลน้ำเต้าอ่อนรสเด็ด นึ่งไก่ใส่ยอดแมงลัก ผัดไก่ใส่ใบชะพลู เจียวไข่สารพัดพลิกแผลงเครื่องปรุง แต่ไม่พลิกกระทะนะจ๊ะ อ้าววิชาล้างจานก็มีนะ แหมเกือบลืมไปได้

(แตงโมโผล่ต้นอ่อนออกมาแล้ว)

วิชาชนบทศึกษา

นอกจากจะตะลุมบอนอยู่ในสวนป่าแล้ว ผมจะพาออกไปเยี่ยมครัวเรือนเกษตรกรที่เป็นนักสู้ชีวิต จะพาไปชิมแตงโม-มะพร้าวอ่อน-ข้าวโพดต้มถึงในไร่ ไปสนทนาภาษาชาวบ้าน ไปดูวิธีคิดวิธีทำวิธีแก้ปัญหาและการดำเนินชีวิตของเพื่อนร่วมแผ่นดิน ที่กำลังถูกกระแสเงินไทยเข้มแข็งโป๊ะลงมาสะบั้นหั่นแหลก จะพาไปประเมินสภาพของจริง..ว่าวันนี้ประเทศไทยกำลังพัฒนาบ้าบอกันอย่างไร?..อย่าลืมรองเท้าผ้าใบ ร่ม หมวก เสื้อแขนยาว กางเกงยีนส์ มาด้วยเน้อ

วิชาเดินย่องจ้องจับภาพเด็ด

การถ่ายภาพสมัยนี้สะดวกมาก กล้องดิจิตอลเป็นเครื่องมือที่ช่วยบันทึกมิติต่าง ๆ ได้สะดวก จะถ่ายภาพเด็ด ภาพเคลื่อนไหว บันทึกเสียง ถ่ายภาพแล้วเอาไปต่อยอดได้นานับประการ  ดังนั้นอย่าลืมกล้องนะครับ บางเวลาเราจะเสวนากันผ่านภาพเด็ดที่พวกเราช่วยกันถ่ายนี่แหละ เรื่องถ่ายภาพนี่นึกถึงอาจารย์แป๋ว แห่งมอดินแดง และท่านบางทรายที่สนุกกับการถ่ายภาพอย่างก้าวหน้าเรื่อยมา

(กรงอนุบาลลูกไก่งวงเคลื่อนที่ มีเจ้ามอมคอยเฝ้าไล่กาและแมวขะโมย)

วิชาเทคโนโลยีเพื่อชีวิต

หมู่นี้มีการประกวดโครงงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลายสำนักหลายเวที เรื่องนี้ถ้าโยงเข้าหากันระหว่างการพัฒนาการวิถีไทยกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นการเชื่อมโยงที่นอกจากจะนำไปใช้แล้ว ยังก่อให้เกิดความคิดใหม่ในการดัดแปลงต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ  เรามีโรงเรียนฝึกอาชีพ วิทยาลัยเทคโนฯเกลื่อนประเทศ แต่ก็ไม่ค่อยได้คิดต้นอะไรเป็นของตนเอง อยู่ในระดับ โน ๆ เซด ๆ เงอะเงิ่นเต็มที ชาวบ้านมีปัญหาจุกจิกที่จะหยิบเอามาเป็นโจทย์ทำโค

« « Prev : จะไปหลบร้อนที่ไหนดีละคุณพี่

Next : งานที่เหมาะกับคนขี้เกียจ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กุมภาพันธ 2010 เวลา 20:55

    ด้ามจอบของเก่าแก่ที่ใช้ด้ามเป็นไม้ เมื่อมองย้อนในแง่มุมความปลอดภัยก็มีดีอยู่มากมาย เป็นความปลอดภัยในแง่ของธรรมชาติที่สร้างไว้ให้ในไม้ นั่นก็คือการเป็นฉนวนไฟฟ้านะคะพ่อครู 

    ร่างกายของมนุษย์และสัตว์เมื่อเทียบกับดินแล้วไม่เป็นฉนวน  เมื่อมีไฟฟ้าผ่านตัวเข้ามาจึงมีโทษกับร่างกายมากมายหลายระดับนักค่ะพ่อครู  จึงมาชวนให้ใคร่ครวญปรับเพิ่มสักหน่อยโดยเชื่อมโยงไปถึงความปลอดภัยในทุกขณะที่จะใช้หรือเก็บมันไว้ค่ะ

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กุมภาพันธ 2010 เวลา 22:33

    ดีครับ น่าใคร่ครวญ หลายๆด้าน

  • #3 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กุมภาพันธ 2010 เวลา 23:09

    จะพยายามล๊อควันไว้ค่ะ พฤษภาคม 4-8??

    ตามปกติช่วงsummer จะยุ่งมากกว่าในเทอมเพราะจะถูกกระหน่ำด้วยการสัมมนา ขณะที่คะแนนก็ต้องตัดเกรด ส่งเกรด ..สอนวิชา summer ฯลฯ  วุ่นวายคนหนึ่งคัน คนหนึ่งเกา

    มีหลักสูตรเกาให้ถูกที่คันด้วยไหมคะครูบา 

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กุมภาพันธ 2010 เวลา 7:01

    ที่เขียนเป็นเพียงต้นร่างหยาบๆ มาช่วยกันเติมได้นะครับ
    วิชาเกาให้ตรงที่คัน อิอิ

  • #5 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กุมภาพันธ 2010 เวลา 17:45

    หลักสูตรนี้น่าจะมีที่เดียวในโลก   น่าเรียนทุกวิชาค่ะ ที่สำคํญไม่เหมือนใครคือเรียนเหมือนเล่น สนุก มีความสุข  แต่รู้จริงๆ

  • #6 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กุมภาพันธ 2010 เวลา 19:19

    วิชาที่อร่อยและมีความสุขจริงนะป้าหวาน
    ขอความเห็นหรือให้ข้อแนะนำได้ตลอดเวลา อิอิ


แสดงความคิดเห็น

บันทึกนี้ไม่อนุญาตให้แสดงความคิดเห็น!!!

Main: 0.80286693572998 sec
Sidebar: 0.086858987808228 sec