บ้านชานเมือง (28) มัลเบอรี่สดสด (Mulberry)
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงมาก บางวันร้อนมาก ๆ แต่บางวันก็เย็น มีผลไม้ชนิดหนึ่งออกผลให้เราได้เก็บรับประทานสดสดได้ เป็นผลไม้ที่บ้านเราไม่ค่อยเห็นมีวางขายกันคือ ผลมัลเบอรี่ หรือ ผลหม่อน หรือ ลูกหม่อนนั่นเอง เราอาจจะคุ้นเคยแต่กับหม่อนพันธุ์ที่ใช้ใบเลี้ยงสำหรับเลี้ยงไหม ซึ่งมีผลเล็กมาก ต่างจากหม่อนพันธุ์ที่เราปลูกไว้รับประทานผลพันธุ์นี้ ที่มีผลค่อนข้างโต ให้ผลดก ใบมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงไหมมาก เราได้พันธุ์หม่อนนี้มาจากสวนชื่อดังที่อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อสมัยเกือบ ๔๐ ปีมาแล้ว สวนนี้มีชื่อเสียงในการปลูกสตรอเบอรี่และมัลเบอรี่มากในสมัยนั้น ชาวบ้านจะเรียกว่า “สวนโกสิ่ว” เพราะเจ้าของเป็นชาวจีน ช่วงนั้นผมทำงานวิจัยด้านเทคโนยีหลังการเก็บเกี่ยวของผลไม้ จึงเข้าไปเก็บข้อมูลและพูดคุยกับเจ้าของสวนบ่อย รวมทั้งพานักวิจัยจากประเทศออสเตรเลียเข้าไปพบปะแลกเปลี่ยนความรู้กันด้วย จึงมีความสนิทสนมกันมากพอสมควร จนเขายอมมอบกิ่งพันธุ์มัลเบอรี่พันธุ์ดีให้มาปลูกที่บ้าน ครอบครัวเราจึงได้ชิมมัลเบอรี่สด ๆ รวมทั้งน้ำมัลเบอรี่ แยมมัลเบอรี่กันมาตั้งแต่สมัยอยู่ที่เชียงใหม่ เมื่อย้ายมาอยู่โคราชเราจึงนำกิ่งพันธุ์มาปักชำขยายต่อด้วย โดยทีแรกไม่คิดว่ามันจะรอด แต่ก็โชคดีที่มันรอด แม้จะให้ผลไม่ดีเท่าอยู่ที่เชียงใหม่ก็ตาม เราจึงยังได้ชิมมัลเบอรี่สด ๆ เรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน
เรื่องคุณประโยชน์ของผลหม่อน หรือ มัลเบอรี่นั้นมีมากมาย ท่านสามารถหาได้จากในอินเทอร์เน็ตได้ไม่ยาก ในที่นี้ขอตัดมาตอนหนึ่งดังนี้
“ผลหม่อน หรือ MULBERRY การใช้ประโยชน์จากผลหม่อนนั้นหลากหลายมากมายไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น ๆ ของต้นหม่อนเองเลย ผลหม่อนสุกให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีสรรพคุณใช้รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ ดกดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชีย ชาวจีนเรียกผลหม่อนว่า sangshen ในหนังสือ modern Chinese Materia Medica ให้สมญานาม ผลหม่อน ว่าเป็น Blood tonic นั่นย่อมแสดงถึงความสำคัญในด้านบำรุงเลือดตามคติความเชื่อของชาวจีนได้เป็นอย่างดี แพทย์ชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ชื่อ เลี่ยงฮียัง ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของการรับประทานผลหม่อนสุกไว้ว่า “ทำให้ตับไม่มีไฟ หัวใจคลายความร้อนรุ่ม เส้นประสาทตาดี สายตาก็แจ่มใส ร่างกายก็สุขสบาย”
ส่วนด้านของแพทย์แผนจีนนั้นแนะนำให้ใช้ผลหม่อนสุกในการรักษาสมดุลของพลังหยิน ป้องกันผมหงอกก่อนวัย โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เช่น ราก ho-shou-wu (Polygonum multiflorum), ราก rehmannia (Rehmannia glutinosa, root), ผลของ ligustrum (Ligustrum lucidum) และผลของ lyceum (Lycium chinensis)
ในทวีปยุโรป ออสเตรเลียและอเมริกาเหนือ นิยมปลูกต้นหม่อนไว้ตามสนามหญ้าหน้าบ้านหรือหลังบ้านเพียง 2-3 ต้น เพราะนอกจากจะเป็นไม้ประดับแล้ว ยังให้ผลไว้รับประทานในครอบครัวอีกด้วย
ผลหม่อนจะหาซื้อทานได้ยากมากในท้องตลาด หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป สำหรับในบ้านเรา หม่อนพันธุ์พื้นเมืองของไทยที่มีเพศเมีย เช่น หม่อนไผ่ หม่อนคุณไพ จะให้ผลที่มีขนาดเล็ก ทำให้ไม่มีใครสนใจที่จะนำไปบริโภคมากนัก จนกระทั่งเรามีหม่อนพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตใบสูงแล้วยังให้ผลที่มีขนาดใหญ่ คือ พันธุ์บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 ทำให้เริ่มมีคนหันมาสนใจทานผลหม่อนสดกันได้อย่างเอร็ดอร่อยมากขึ้น
น้ำลูกหม่อน (Mulberry fruit juice) ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในจีน ญี่ปุ่นและเกาหลี ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายได้แก่ น้ำ : 85-88% , น้ำตาลกลูโคสและฟรุคโตส :7.8-9.2% , โปรตีน : 0.4-1.5% , ไขมัน (linoleic, stearic, และ oleic acids) : 0.4-0.5% , กรดมาลิค (malic acid) : 1.1-1.9% , เส้นใย : 0.9-1.4% และ แร่ธาตุ : 0.7-0.9%
ส่วนผสม หม่อนสุก 100-200 กรัม, น้ำเชื่อม 1 ถ้วย, เกลือป่น 1 ช้อนชา, น้ำต้มสุก 3 ถ้วย
วิธีทำ ล้างผลหม่อนให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นใส่หม่อนลงในโถปั่น ใส่น้ำเชื่อม เกลือ น้ำต้มสุก แล้วปั่นให้ละเอียด เทใส่ขวด แช่เย็น เวลาเสิร์ฟ รินใส่แก้วใช้เป็นเครื่องดื่ม น้ำลูกหม่อนที่ได้ไม่จำเป็นต้องใส่สารกันบูดสามารถเก็บไว้ได้นานในตู้เย็น หากผ่านกระบวนการถนอมอาหารแล้วบรรจุขวดสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องนานถึง 12 เดือน (คัดข้อมูลบางตอนจาก : http://www.oknation.net/blog/buzz/2007/04/30/entry-1 ) “
« « Prev : กิจกรรมวุฒิอาสาธนาคารสมองโคราชปี ๒๕๕๓
Next : ข่าวด่วน…ข่าวดีหรือข่าวร้าย » »
7 ความคิดเห็น
มัลเบอรี ปลูกง่ายมากค่ะ เคยแจกจ่ายกิ่งให้หลายๆ คนไปนานแล้ว แต่บางคนวาสนาอักเสบ(ขอลอกสำนวนน้องราณี) ได้รับพันธุ์ไม้อะไรๆ จาก อาม่าไปไม่สามารถรักษาสันญาณชีพไว้ได้ มันแปลกดีนะ ลองมารับกิ่งมัลเบอรี่ใหม่อีกสักครั้ง ดีไหมเอ่ย
ต้นนี้ อ.หลินให้กิ่งมาปักที่บ้าน แต่มันไม่ขึ้นเลยครับ
ที่จริงถ้าขึ้นมาคงเสร็จนกหมด ตอนนี้บ้านผม มีนกมาอยู่เยอะแยะเลยครับ มาเป็นฝูงก็มี มาเป็นคู่ก็หลายคู่ บางทีก็มีลูกที่คลอดในบ้านนี้ด้วยครับ
น่ากินจังค่ะอ.หลิน อ.แพนด้า สีสวยมากๆๆๆ
สีสวย รสดี มีประโยชน์ ปลูกง่าย ครับ น้องราณี
ถ้าเอาไปปลูกที่ภูเก็ตมันจะได้กินลูกไหมครับ อิอิ อยากกิน