แนวคิด CSR ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้จริงหรือไม่?

โดย mimography เมื่อ 4 ตุลาคม 2008 เวลา 9:23 (เย็น) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 3627

ทุกวันนี้ในสื่อโทรทัศน์ ได้เห็นการโฆษณาที่หลากหลายรูปแบบ แต่มีการโฆษณาสินค้าอยู่รูปแบบหนึ่งที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวสินค้าหรือองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงินเพื่อเด็กด้อยโอกาส ทุนการศึกษา สนับสนุนการกีฬา หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในปัจจุบันนี้คือ เรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาโลกร้อน เป็นต้น แม้ว่าสินค้าหรือบริการนั้นจะไม่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคเลยก็ตาม เช่น สินค้าประเภทแอลกอฮอล์ทุกชนิด บุหรี่ทุกยี่ห้อ หรือแม้แต่สินค้าธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อมก็ตาม จากการนำเสนอโฆษณาดังกล่าวเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าและองค์กรขึ้นได้มากเช่นกัน

ด้วยความสนใจ บวกกับเป็นภาระหน้าที่ที่ต้องศึกษาค้นคว้าในเรื่องเหล่านี้ ผู้เขียนจึงได้ไปศึกษาหาข้อมูลในระดับหนึ่ง แล้วนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

การดำเนินกิจการในรูปแบบนี้เราเรียกว่า “Corporate Social Responsibility (CSR)” หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจนั้น หมายถึง การดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการกำกับที่ดีควบคู่ไปกับการใส่ใจและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (คณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ กลต.)

“CSR คือการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างต่อเนื่องของบริษัทในการดำเนินธุรกิจโดยใช้พื้นฐานของจริยธรรมเข้ามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและคุณภาพชุมชนท้องถิ่น รวมถึงสภาพสังคมโดยรวม (The Word Business Council for Sustainable Development หรือ WBCSD)

“CSR คือ แนวคิดที่บริษัทผสานความห่วงใยต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไว้ในกระบวนการดำเนินธุรกิจและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้พื้นฐานการกระทำความสมัครใจ” (The European Commission)

จากที่กล่าวมาแล้ว ว่าการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวขององค์กรนั้นทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าและองค์กร บางทีผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็หลงใหลไปกับสิ่งที่เห็นทางหน้าจอ โดยไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ ด้วยว่า สินค้านั้นมีประโยชน์มีโทษอย่างไร ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เพราะองค์กรหลายแห่งในปัจจุบัน ได้นำ CSR มาเป็นประเด็นสื่อสารทางการตลาด หรือ เป็นรูปแบบในการกีดกันการแข่งขันทางการค้า จนทำให้ CSR กลายเป็นเครื่องมือทางธุรกิจที่สนองประโยชน์ต่อองค์กร แทนที่จะป็นกิจกรรมที่สนองประโยชน์ต่อสังคม ในวงธุรกิจทุกวันนี้จึงมีทั้ง CSR แท้ และ CSR เทียม (สถาบันไทยพิพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์)

การจำแนกว่ากิจการใดเป็น CSR แท้ หรือ เทียม ให้พิจารณาถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ได้รับค่ะว่าตกอยู่กับสังคมหรือองค์กรมากกว่ากัน และควรจะสนับสนุนกิจกรรมนี้หรือไม่ เพียงใด และอีกประการหนึ่ง CSR ที่แท้นั้น จะต้องเกิดขึ้นจากความสมัครใจยินดีในการดำเนินกิจกรรมนั้นด้วยตนเอง มิใช่เกิดจากความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ ตามระเบียบข้อบังคับทางกฏหมาย ตามจารีตหรือบรรทัดฐานของสังคมนั้นๆ กิจกรรมใดที่ต้องเป็นไปตามหน้าที่ (duty) ตามกฏหมาย (law) หรือตามมาตรฐาน (standard) กิจกรรมนั้นไม่ถือว่าเป็น CSR แท้

ดังนั้น การที่จะบอกว่า CSR อันไหนแท้อันไหนเทียมนั้นไม่มีสิ่งใดมาวัดได้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริโภคเอง????????? อันนี้ผู้เขียนคาดเดาว่าต้องเป็นเช่นนั้น ความเข้าใจนี้อาจคลาดเคลื่อนหรือไม่อย่างไร หากผู้รู้หรือท่านใดที่มีความรู้เรื่องนี้เข้ามาอ่าน ขอความกรุณาท่านแนะนำด้วยค่ะ จักขอบคุณยิ่ง ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันค่ะ

สิ่งแวดล้อมจะรักท่าน
หากท่านรักษ์สิ่งแวดล้อม
ช่วยๆ กันเพื่อโลกของเราค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก….
สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRi)
สถาบันไทยพิพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

Next : ท้องฟ้าคราม..นาข้าวเขียว..หัวใจพองโต » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

7 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.29385089874268 sec
Sidebar: 0.12365508079529 sec