ความมั่นคงทางอาหาร 5

129 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ มกราคม 27, 2011 เวลา 22:12 ในหมวดหมู่ ข้าวหอมมะลิแดง, ความพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง #
อ่าน: 2469

ในฐานะเป็นวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ. นครราชสีมา อาม่าได้พยายามช่วยเหลืองานวุฒิอาสาธนาคารสมองมาตลอดหนึ่งปีเต็มๆ

ในปีแรกที่เข้ามาเป็นวุฒิอาสาฯ ยังมองไม่เห็นทิศทางการทำงานที่ชัดเจน อย่ากระนั้นเลย อาม่ามองเห็นปัญหาช่องว่างด้าน เทคโนโลยี ไอซีที ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เข้าใจลูกหลาน พ่อแม่-ลูก ปู่ย่า-ตายาย กับลูกหลานนับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่ม และอาชกรรมที่ตามมาติดๆ กับเทคโนโลยีฯ สมัยๆ จึงหาทางลดช่องว่าง ด้วยการทำโครงการ “รู้ทันชีวิต ในยุคไอที” เพื่อเป็นการฝึกอบรมปฏิบัติการ การใช้คอมพิวเตอร์ และให้รู้ทันเทคโนโลยี ไอซีที และสามารถใช้เทคโนโลยี ได้อย่างมีความสุข เพื่อปรับตัวลดช่องว่างความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ จะได้พูดคุยกับลูกหลานรู้เรื่องในยุคนี้  นอกจากนั้นยังสามารถช่วยลูกหลานค้นหาข้อมูล ช่วยงานกราฟฟิค ทำรูปได้อย่างสวยงาม ช่วยด้านการเรียนของลูกหลาน สร้างสัมพันธภาพที่ดี สามารถติดต่อพูดคุยกับลูกหลานที่อยู่ห่างไกล โดยมีเทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง

ในการทำโครงการนี้ อาม่า และหมียักษ์เหนื่อยมากค่ะขอบอก การฝึกอบรมผู้สูงอายุให้ใช้คอมพิวเตอร์ อย่างน้อยที่สุด ใช้อินเตอร์เน็ตได้ ใช้อีเมล์เป็น ค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ ทำงานกราฟฟิคทำรูปเป็น เขียนบล็อกได้ สมัครใช้โซเชี่ยนเน็ตเวิร์คเป็น มันเกินความคาดหมาย เพราะผู้สูงวัยสนใจและขยัยมาก ไม่ยอมเลิกแม้หมดเวลา จนแลปคอมพิวเตอร์ปิดจึงยอมกลับ ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ สามารถจัดฝึกอบรมได้สองรุ่น รวม 47 ท่าน เมื่อปลายเมษายน- กลางพฤษภาคม 2553 ตอนนี้หลายคนเป็นบล็อกเกอร์ที่โด่งดัง หลายคนอยู่ในโซเชี่ยนเน็ตเวิร์ค หลายคนไปพัฒนาต่อยอดอีกมากมาย ผู้สูงวัยไม่กลัวคอมพิวเตอร์แล้ว  แต่สิ่งที่เกินความคาดหมาย คือปู่ย่าตายายเป็นเพื่อนกับลูกหลานได้อย่างเหลือเชื่อค่ะ

ในปีที่สอง(2554) อาม่ามีตั้งใจทำโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน 4 ชุมชน ใน4 อำเภอของ จังหวัด นครราชสีมา ชุมชนแรกที่อาม่าทำโครงการนี้ให้คือ บ้านใหม่อุดม ต.บ้านใหม่  อ.หนองบุญมาก ซึ่งมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นหญิงแกร่ง ทำงานแบบจิตอาสาเป็นที่ประทับใจอาม่ามาก คุณจินดา บุษสระเกศ ที่อาม่าตั้งให้เป็นด็อกเตอร์ในดวงใจอาม่า ทำงานรวดเร็ว มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เข้าใจกลไกการทำงาน ทั้งของภาครัฐ ภาคเอกชน ได้ใจคนในชุมชน เพราะการทำงานที่ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย พัฒนาชุมชนจนเป็นที่กล่าวขานทั้งในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ นอกจากทำงานเก่งแล้วยังนำเสนองานได้อย่างไม่มีที่ติ หาไม่ได้ง่ายๆ เลยค่ะ

วันนี้อาม่ามอบพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ให้คุณจินดาไปสองถุง  เพื่อนำไปปลูกขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว ให้เพียงพอต่อการทำนาข้าวพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงในชุมชน พร้อมทั้งจัดฝึกอบรม การใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในระบบข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต       ( Azolla & BOF - System of Rice Tntensification, SRI) โดยทีมงานจากเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่มี ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด เป็นผู้ลงมาฝึกอบรมให้ถึงพื้นที่เลยค่ะ

จัดการฝึกอบรมที่ อบต.บ้านใหม่อุดม ในวันที่ 9 กพ. 2554 เวลา 9.00 น.เป็นต้นไป  หลังการฝึกอบรมจะลงพื้นที่ เพื่อเลือกแปลงปลูก และปฏิบัติการทันที่ค่ะ วันนี้วุฒิอาสาฯ ประมาณ 15 ท่าน ขอสมัครเข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ด้วยค่ะ

นอกจากอม่าให้ข้าว (คาร์โบไฮเดรต) ที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการแล้วยังเสริม โปรตีน จากถั่วไปด้วยค่ะ คือถั่วครกค่ะโดยมอบ เมล็ดถั่วครกไปปลูกเพื่อขยายพันธุ์ให้พอเพียงต่อชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารค่ะ

สรุปข้อดีของการปลูกข้าวต้นเดี่ยวร่วมกับการใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

1.ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย คือ อัตรา 1 กิโลกรัม/ไร่

2.สามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี โดยการใช้แหนแดงแทน

3.สามารถเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และแหนแดง

4.เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์โดยเฉพาะจุลินทรีย์กลุ่มส่งเสริมการเจริญเติบโต

5.ประหยัดน้ำเพราะใช้น้ำปริมาณน้อยในการเพาะปลูก(ระดับน้ำลึก 2-5 เซนติเมตร)

6.สามารถกำจัดวัชพืชได้ง่ายและทั่วถึงในระหว่างแถวปลูก และลดปริมาณวัชพืชจากการใช้แหนแดง

7.อายุการเก็บเกี่ยวเร็วกว่าปกติ 10-15 วัน

8.จำนวนการแตกกอ(รวง/กอ) สูงกว่าวิธีปรกติ 2-3 เท่า

9.เปอร์เซนต์การสูญเสียจากข้าวลีบน้อยกว่าวิธีการผลิตแบบปรกติ

10.ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 50-70%

กรณีมีวัชพืชเกิดขึ้นในแปลงให้รีบกำจัดภายใน 15วัน หลังปักดำข้าว

(ข้อมูลจากคลินิคเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)


ความมั่นคงทางอาหาร 4

อ่าน: 2538

หลังจากได้รับแจ้งนัดหมายให้มีการประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา ในบ่ายของวันที่ 27 มค. 2554 ณ.ศาลากลางจังหวัด

หลินฮุ่ยก็เตรียมงานความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ กับชุมชนที่หลินฮุ่ยมีส่วนรับผิดชอบ โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(เทคโนธานี) เป็นอย่างดียิ่งตลอดมา สิ่งสำคัญอันดับแรกที่หลินฮุ่ยให้ความสำคัญ คือความมั่นคงทางด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของอีสาน ที่ดีต่อสุขภาพ จึงได้เลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงจากสุรินทร์ ถิ่นขึ้นชื่อด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารเคมี  นำมาขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวชนิดนี้ ให้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มข้าวอินทรีย์ และกลุ่มเกษตรกรปลอดสารเคมีในชุมชน

หลังจากที่ประสานงานกับคุณจินดาผู้นำชุมชน ต.บ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก  ในคราวประชุมวุฒิอาสาฯ เมื่อ 25 ธค. 2553 ให้คัดเลือกกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ หรือกลุ่มปลูกข้าวปลอดสารพิษ มารับพันธุ์ข้าวไปปลูกเพื่อ ขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ให้ได้ปริมาณที่เพียงพอไว้ใช้ทำนาข้าวคุณภาพ เพื่อความั่นคงทางด้านอาหาร และเพื่อสุขภาพ สำหรับการปลูกนั้นสามารถปลูกได้ทั้งนาปรังและนาปี เพียงแต่ต้องใช้เทคนิคการปลูก วิธีแบบข้าวต้นเดี่ยว ของมทส.  เพราะจะได้เมล็ดข้าวสมบูรณ์  เป็นการลดต้นทุน (นา1ไร่ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 กก.) เพิ่มผลผลิตได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

สำหรับการฝึกอบรมวิธีปลูกข้าวต้นเดียว ตลอกจนการดูแล ฯลฯ. ทางมทส.จะเป็นผู้จัดให้ จึงเป็นความคาดหวัง ในการสร้างความั่นคงทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ที่มั่นคงและพอเพียงต่อความต้องการของชุมชน จนถึงการผลิตมากพอที่จะ สามารถขายให้กับแหล่งที่ต้องการข้าวหอมมะลิแดงเพื่อสุขภาพ อย่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สถานพยาบาล และกลุ่มคนที่รักษาสุขภาพ  ซึ่งหลินฮุ่ยได้เกริ่นเรื่องนี้ให้รับทราบเป็นการภายใน ระดับหนึ่งแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของข้าวชนิดนี้ มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานบริโภค

ข้าวหอมมะลิแดงกับศักยภาพในการป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวาน

ข้าว เป็นอาหารหลักของคนไทย และปัจจุบันคนไทยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องเสาะแสวงหาพันธุ์ข้าวโดยเฉพาะข้าวพื้นเมืองที่มี ปริมาณดัชนีน้ำตาลต่ำ จากการทดสอบในระดับหลอดทดลองที่สามารถใช้ในการทำนายผลระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อเป็นการคัดกรองในระดับแรก ก่อนนำผลที่ได้ไปทดสอบในมนุษย์ต่อไป

จากการทดสอบพบว่า ข้าวหอมมะลิแดงที่หุงสุกแล้วมีการเพิ่มขึ้นของระดับของน้ำตาลกลูโคสในช่วง เวลา 20 นาทีแรกค่อนข้างช้า คือ 10.60 กรัมต่อ 100 กรัม และปริมาณน้ำตาลกลูโคสหลังจากย่อยผ่านไป 120 นาที มีค่าเพียง 8.59 กรัมต่อ 100 กรัม แสดงให้เห็นว่าข้าวหอมมะลิแดงน่าจะเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีดัชนีน้ำตาลที่ เหมาะกับการส่งเสริมให้ผู้บริโภคที่อยู่ในภาวะปกติ หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทาน เพราะเมื่อรับประทานข้าวชนิดนี้เข้าไปแล้ว ร่างกายจะมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้นช้ากว่าข้าวเจ้าทั่วไป

ข้าวพื้นบ้านมีสารแอนติออกซิแดนท์มากกว่าข้าวทั่วไป

แอนติออกซิแด้นท์ (antioxidant) คือสารที่สามารถขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ในข้าวพื้นบ้านมีสารทองแดง สังกะสี เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ซึ่งมีความสามารถดังกล่าว การบริโภคอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนท์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ แก่เร็ว เป็นต้น

ในอดีต ประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านนับหมื่นนับแสนสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ข้าวท้องถิ่นเหล่านั้นกำลังสูญหายไปอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ข้าวหน่วยเขือ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงนั้นมีการปลูกน้อยมากในปัจจุบัน การตระหนักในคุณค่าของข้าวพื้นบ้านซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จะทำให้ทุกฝ่ายหันมาร่วมมือกันเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ให้กลับมางอกงามแพร่หลาย และหลากหลายยิ่งๆขึ้นไป

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องพื้นบ้านเปรียบเทียบกับข้าวกล้องทั่วไป
(วิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล)

ชื่อพันธุ์
คุณค่าทางโภชนาการ (หน่วย :มิลลิกรัม/100 กรัม)
เหล็ก
ทองแดง
เบต้าแคโรทีน
ลูทีน
วิตามินอี
ค่าเฉลี่ยข้าวทั่วไป 0.42 0.1 ไม่พบ ไม่พบ 0.03
หน่วยเขือ - นครศรีธรรมราช 1.22 0.5 0.0052 0.0144 0.7873
ก่ำเปลือกดำ - ยโสธร 0.95 0.08 0.0118 0.2401 0.1946
หอมมะลิแดง - ยโสธร 1.2 0.43 0.003 0.0091 0.3366
หอมมะลิ - ทุ่งกุลาร้องไห้ 1.02 ไม่พบ 0.0031 0.0095 0.3766
เล้าแตก - กาฬสินธุ์ 0.91 0.06 0.0049 0.0085 0.3092
หอมทุ่ง* - อุบลราชธานี 0.26 0.38 ไม่พบ ไม่พบ 0.0118
ป้องแอ๊ว* - มหาสารคาม 0.24 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ 0.0089
ช่อขิง - สงขลา 0.8 ไม่พบ 0.0041 0.0103 0.1788
มันเป็ด* - อุบล 0.2 ไม่พบ ไม่พบ 0.0045 0.026
ปกาอำปึล* - สุรินทร์ 0.46 ไม่พบ ไม่พบ 0.0036 0.0226

หมายเหตุ: *ข้าวขัดขาว


แผนงานฐานทรัพยากรอาหาร
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

ที่มา http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=889

จะเอาเมล็ดถั่วครกไปให้จินดาไปปลูกที่ ต.บ้านใหม่อุดม  เพื่อขยายพันธุ์ถั่วครก เป็นการเพิ่มโปรตีนจากถั่วชนิดนี้ในอนาคตค่ะ

หน้าตาถั่วครกฝักสด และที่ต้มสุก ดังภาพข้างล่างนี้ค่ะ

Large_bean
Large_bean4


อาหารคือพลัง(ของหมอจอมป่วน)

อ่าน: 3026

คงยืนยันว่ากองทัพเดินด้วยท้องค่ะ ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่กองทัพเดี่ยวอย่าง หมอจอมป่วน ที่แวะมาเยี่ยมอาม่า และ หมีแพนด้า

เสียงบ่นเป็นหมีกินผึ้ง ………โทรฯมา อาม่า ก็ไม่รับสาย (แล้วอาม่าจะรู้ไหมนี่เพราะ กำลังทำสวนอยู่….วันนี้ให้ปุ๋ยและเติมดินต้นไม้) ทั้งๆ ทีกำลังกินข้าวอยู่….จอมป่วนบ่นต่อ หาเบอร์โทรศัพท์อ.แพนด้าได้จากใครหนอ …..ปิ้งแว๊ปทันที หมอเบิร์ด …ใช่เลย   แน่นอนหมอเบิร์ดต้องมีแน่ๆ….แป๋วๆ ๆๆๆๆๆๆ ๐๐๐…….( โส นาน่า) หมอเบิร์ดก็ไม่รับสาย……

ซีแหง่ๆๆๆๆๆๆ อดข้าวละตู…..วันอะไรหนอ ….ทำไงดี…เอาน่าลองอีกที่ลองค้นหาเบอร์อ.แพนด้าในมือถือ…..โอ้พระเจ้าช่วย….มีเบอร์ มือถือของอ.แพนด้า….จอมป่วนสุดแสนดีใจ ทันใดก็กดเบอร์มือถือของอใแพนด้า…..ด้วยความกระหยิ่มยิ้มย่อง….555555555 เสร็จเราแน่ อาม่าไม่รับสายให้มันรู้ไป …อ.แพนด้าต้องรับสายแน่ๆๆๆ….อิอิ

แป๋วๆๆๆๆๆๆ๐๐… ไม่รับสายอีกเหมือนกัน โอ้ยวันนี้เป็นวันอะไรกันแน่โทรฯ หาใครๆ ก็ไม่รับสายผม……เอาน่าลองดูอีกที…หัวใจเต้นวังหวะกลัวลาช่า……..โอ้พระเจ้าช่วยมีเสียงตอบรับจาก อ.แพนด้า…..

ผลก็คือมาถึงบ้านพอดีเที่ยงวัน อาม่าหุงข้าวทำกับข้าวพอตั้งโต๊ะเสร็จก็มาถึงพอดี…..แต่ทำฟอร์มอีกตะหาก ทำเป็นขยันรีบเปิดโน๊ตบุ๊คทันที หมอจอมป่วนเอ้ยมาขยันเวลากินนี่นะ…..มีรึอาม่าจะยอม ต้องไปจิกตัว(ด้วยความรักและคิดถึง)ให้มานั่งคุยคุยที่โต๊ะกินข้าว …เรื่องราวทั้งหมดก็ถูกเปิดเผยจากเสียงบ่นของจอมป่วน….โ ส น ่า น า…….

พออิ่มก็ยิ้มชูสองนิ้วให้อาม่าเก็บภาพทันที กาแฟเกลี้ยงแก้วจริงๆ แถมขนมก็ไม่เหลือร่องรอย ไม่เชื่อดูพุงก็ได้…อิอิ เสียดายลืมถ่ายรูปอาหารให้ดู จินตนาการเอาเองละกัน มีแกงส้มกุ้งผักรวม(ชะอมชุบไข่ ผักกะหล่ำปลี ถัวฝักยาว และหัวผักกาด) แกงไตปลาสูตอาม่าแกงกะทิ(ไม่เผ็ด)ใส่เนื้อปลาดุกย่าง ถัวพลู ชะอม มะเขือเปาะ ฟักทอง และที่ขาดเสียไม่ได้คือไข่เจียว เล่นมาแบบจู่โจมแบบนี้ก็ ได้กินอาหารธรรมดาๆ วันนี้ทำน้ำคลอโรฟิลใบเตยให้กิน ตบท้ายด้วยกาแฟและขนม


ความมั่นคง ทางด้านอาหาร 3

130 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ มกราคม 14, 2011 เวลา 21:47 ในหมวดหมู่ ความพอเพียง, เรื่องเล่าของLin Hui, เศรษฐกิจพอเพียง #
อ่าน: 3746

กองทัพเดินด้วยท้อง สมองและปัญญาต้องการสารอาหารเป็นพลังงานขับเคลื่อนการทำงาน โดยมีสติเป็นบังเหียน คอยช่วยให้การสั่งการสมองและปัญญา ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในการสร้างสรรสิ่งที่ดีงาม มีคุณค่าต่อตัวเองและครอบครัว ต่อส่วนรวม ต่อถิ่นที่อยู่อาศัย และประเทศชาติ…..

อาหารคือปัจจัยที่สำคัญที่สุด สำหรับสิ่งที่มีชีวิต หากมนุษย์ไม่ต้องกินอาหาร ความวุ่นวายก็จะไม่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้อย่างแน่นอน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นหนทางหนึ่งที่จะสร้างความสงบสุข ให้เกิดขึ้นในสังคมได้

หากเกษตรกร สามารถผลิตอาหาร เพียงพอต่อการบริโภค ในครัวเรือน นั่นหมายถึงความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน ถ้าทุกคนในชุมชนสามารถผลิตอาหารได้เพียงพอ ก็เกิดความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน หากคนในชุมชนสามรถผลิตอาหารได้เกินพอ ได้หลากหลาย ก็เพียงพอที่จะแบ่งปัน แลกเปลี่ยนกันในชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชนก็จะเพิ่มขึ้น เมื่ออิ่มท้องนอนอุ่น จะคิดทำการสิ่งใดก็จะมั่นคง เมื่อสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต อาหาร(ข้าว พืชผัก ผลไม้ ปลา เป็ดไก่ …)ได้มากเกินพอก็สามารถนำไปแลกเปลี่ยน หรือขายให้กับท้องถิ่นที่ไม่สามารถผลิตอาหารเหล่านั้น..

หากเรารู้ว่ามีผู้คนต้องการอาหารคุณภาพ ที่เราผลิตได้มากเกินพอ ย่อมเกิดการซื้อขาย รายได้ก็เกิดขึ้นอย่างมั่นคงแน่นอน ทำอย่างมีความสุข เพราะทำเท่าที่มีกำลังผลิต อย่างมีคุณภาพก็พอเพียง

มีตัวอย่างของเกษตรกร ที่หันมาใส่ใจปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกพืชผักอินทรีย์ ผ่านการฝึกอบรมจากเทคโนธานี นำผลผลิตทีมาขายที่เทคโนธานี อาม่าก็จะสนับสนุนชื้อผักผลไม้ ทุกครั้งที่เข้าไปเทคโนธานี วันนี้ได้ผักหลายชนิด และละมุด นอกจากนั้นได้กินข้าวเม่า(สีดำ)คลุกอีกด้วย จากปักธงชัยค่ะ

ส่วนร้านค้าของฟาร์ม มทส. จะขายผลผลิตทุกชนิด ที่เป็นผลผลิตของฟาร์มทั้งผัก ผลไม้ ไข่ไก่ นมสด และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม และขนมอบนานาชนิด นอกเหนือจากนั้นก็มีของจำเป็นที่รับมาจำหน่าย เป็นการบริการเสริมค่ะ และมีร้านอาหาร หลายร้านของฟาร์มไว้บริการตามจุดต่างๆ  ด้วยค่ะ

นี่เป็นส่วนหนึ่งของร้านอาหารพื้นเมืองของโคราช ที่เข้ามาขายเฉพาะกิจ ในบริเวณหน้าร้านค้าของฟาร์ม มทส. ในงานวันเปิดฟาร์ม มทส.12-14  มค .2554

อาม่าเลือกกินอาหารพื้นเมืองโคราขค่ะ ผัดหมีโคราช ส้มตำไทย(ไม่ใส่พริก) ไก่ทอด เป็นอาหารมื้อเที่ยง เพื่อความมั่นคง(อิ่มท้อง)ทางอาหาร แซ๊บอีหลีค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 2

อ่าน: 32446

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย สำรวจอย่างไรก็สำรวจไม่หมด โดยเฉพาะพวกพืชผักสมุนไพร ทั้งที่เป็นพืชผักพื้นบ้านที่ปลูกกันทั่วๆ ไปในแต่ละภูมิภาค  และพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในป่าทั่วไปของประเทศ

สมุนไพรตัวหนึ่งที่อาม่าได้มาเมื่อ 7 ปีที่แล้ว พยายามให้นักวิชาการหลายท่าน ช่วยค้นหาชื่อทั้งภาษาไทย และชื่อทางวิทยาศาสตร์ เป็นเวลากว่าสองปีแล้ว คำตอบคือไม่พบพืชตัวนี้ในฐานข้อมูลของไทยเรา

จนกระทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ มี คุณ Shinobi Sakka

เข้ามาตอบในเฟสบุ๊คโดยส่งมาให้สามชื่อด้วยกัน ค้นจาก Flora of Zimbabwe แต่อาม่าวิเคราะห์แล้วไม่ใช่ทั้งสามตัวที่แจ้งโดย คุณ  Shinobi Sakka

อาม่าจึงค้นต่อในที่สุด จึงพบพืชตัวนี้ เป็นพืชที่พบในป่าบนภูเขาที่ความสูง 1750 เมตร ประเทศ Zimbabwe เมื่อ 24 สิงหาคม 2004

Dicliptera extenta S. Moore

วันนี้อาม่าให้สมุนไพรตัวนี้กับ รศ.กมลทิพย์ และ ดร.ณัฐกานต์  และขอให้ ดร.ณัฐกานต์ช่วยทำ DNA finger print ให้เป็นอันดับแรกเสียก่อน ส่วนการวิเคราะห์สารนั้น ต้องรอผลที่ให้อาจารย์อีกท่านนำไปทำการวิเคราะห์สาร เมื่อสองปีก่อน

แต่ก็ยินดีที่จะให้นักวิชาการที่สนใจ นำไปวิเคราะห์สารแต่ละตัวในสมุนไพรตัวนี้ ส่วนการทดสอบสารเหล่านี้ก็จะเป็นขั้นตอนต่อไป ค่ะ

แนวคิดความมั่นคงทางอาหารนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ โดยเฉพาะอาหารที่เป็นสมุนไพร นั้นอาม่าให้ความสนใจมานานแล้วค่ะ อยากให้เราคนไทยที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รู้จักกินอาหารพื้นบ้านของท้องถิ่นตัวเองเป็นหลัก และกินให้เหมาะสมกับวัย กินอย่างพอเพียง และกินตามฤดูกาล  สร้างความแข็งแรงและมั่นคงให้กับร่างกาย ห่างไกลโรคภัยที่เกิดจากการกินอาหาร ที่ไม่เหมาะสมต่อวัย ไม่เพียงพอต่อวัย

ขอให้ทุกท่าน กินอาหารอย่างมีความสุข กินแล้วไม่เกิดทุกข์ แค่นี้ก็พอเพียงแล้วค่ะ



Main: 0.1020770072937 sec
Sidebar: 0.045651197433472 sec