บททืี่ 7 ปลั๊กอิน

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ วันพฤหัสบดี, 26 มีนาคม 2009 เวลา 18:19 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 8772

ลานปัญญาทำงานในลักษณะบล็อก ซึ่งทำงานอยู่บนคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (server) ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บ และเก็บข้อความเอาไว้ในฐานข้อมูล (database) การเชื่อมโยงและปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน้าจอที่ผู้ใช้มองเห็น กับระบบที่ทำงานอยู่เบื้องหลังนั้น ใช้โปรแกรมทั้งหมด หากจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไร ก็ต้องเขียนโปรแกรม

แต่โดยเหตุที่ว่าการเขียนโปรแกรม เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเกินกว่าผู้ใช้ในระดับปกติจะทำกัน จึงมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ทำหน้าที่เฉพาะให้เลือกใช้ โปรแกรมเหล่านี้เรียกว่าปลั๊กอิน ซึ่งจะใช้หรือไม่ใช้อะไร ขึ้นอยู่กับความต้องการแต่งบล็อกของสมาชิกแต่ละคน

เพื่อความสะดวกของสมาชิกที่เริ่มเปิดบล็อกเพื่อใช้งานในครั้งแรก ลานปัญญาติดตั้งปลั๊กอินให้ 10 อย่าง ดังต่อไปนี้

  1. Configure SMTP: เชื่อมโยงบล็อกของสมาชิกเข้ากับระบบอีเมลของเครื่องแม่ข่าย ทำให้ลานปัญญาแจ้งเตือนสมาชิกผ่านอีเมลที่ใช้สมัครในทันทีที่มีผู้มาให้ความคิดเห็น ** แนะนำให้เปิดใช้ไว้ตลอด **
  2. MCEComments: เป็นปลั๊กอินที่เรียกใช้โปรแกรม Visual Editor (ที่มีชื่อจริงว่า TinyMCE) มาช่วยในการเขียน/เรียบเรียงความคิดเห็นก่อนที่จะโพสต์ หากไม่ใช้ MCEComments ผู้มาเยือนยังสามารถจะให้ความคิดเห็นได้ แต่การจัดรูปแบบตลอดจนเรียบเรียงข้อความอาจไม่สะดวกบ้าง (ลานเจ๊าะแจ๊ะ ไม่ใช้ MCEComments เนื่องจากมีเป้าหมายให้คุยกันสั้นๆ ตรงประเด็น)
  3. Peter’s Custom Anti-Spam: ในกรณีที่เจ้าของบล็อกเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้ล็อกอิน (อาจไม่ใช่สมาชิกหรือเป็นสมาชิกที่ไม่ได้ล็อกอิน) มาแสดงความคิดเห็นในบล็อก ปลั๊กอินตัวนี้ จะขอให้ผู้ที่ให้ความเห็น อ่านตัวหนังสือจากรูปภาพแล้วนำมาพิมพ์ลงไปในช่อง หากไม่ตรงกันก็ไม่สามารถจะโพสต์ความคิดเห็นนั้นได้ ปลั๊กอินตัวนี้ เอาไว้ต่อต้านโปรแกรมโฆษณาซึ่งเสาะหาช่องแสดงความคิดเห็นเพื่อโพสต์ข้อความโฆษณาลงไป เพราะโปรแกรมโพสต์โฆษณาไม่สามารถจะอ่านตัวหนังสือจากรูปภาพได้ ** แนะนำให้เปิดใช้ไว้ตลอด **
  4. Post-Plugin Library, WP-PostViews และ WP-PostView Widget: เป็นปลั๊กอินที่เกี่ยวข้องสำหรับการนับจำนวนผู้อ่าน หากบล็อกนั้นไม่ต้องการนับจำนวนผู้อ่าน ให้ปิดการใช้งานปลั๊กอินทั้งสามทิ้ง
  5. Recent Comments: เป็นปลั๊กอินที่แสดงรายการความคิดเห็นที่เกิดขึ้นล่าสุดในบล็อก เรียงลำดับจากที่เกิดขึ้นล่าสุดลงไปเรื่อยๆ ไม่ว่าความคิดเห็นนั้นจะเกิดขึ้นในบันทึกที่โพสต์ไปนานเท่าไหร่แล้ว หากไม่ใช้ปลั๊กอินตัวนี้ อาจพลาดความคิดเห็นที่เกิดขึ้นในบันทึกที่หลุดจากหน้าแรกไปแล้วได้
  6. TinyMCE Advanced และ TinyMCE Paste Options: เป็นปลั๊กอินที่เรียกใช้ Visual Editor ในการเขียนบันทึก (คล้ายกับ MCEComments ที่ใช้เขียนความคิดเห็น แต่มีความสามารถมากกว่า) เมื่อจะใช้ให้เต็มความสามารถ ให้คลิกปุ่มขวาสุดของบรรทัดบนสุด ซึ่งเป็นรูปปุ่มหลายสีสามแถบ จะปรากฏแถบควบคุมมากขึ้น ทำให้แต่งบันทึกได้หลากหลายมากขึ้น
  7. WP Simple Sitemap: เอาไว้ใช้ทำสารบัญ

สำหรับปลั๊กอินอื่นๆ สมาชิกสามารถเรียกใช้ได้หากเข้าใจว่ามีไว้ใช้ทำอะไร คู่มือของปลั๊กอินแต่ละตัว ให้เข้า Dashboard > ปลั๊กอิน แล้วคลิกบนชื่อปลั๊กอินที่สนใจ

ผู้ดูแลระบบสั่งเปิดการใช้งานปลั๊กอินทั้งสิบตัวในทุกบล็อกเป็นครั้งคราว หากสมาชิกปิดการใช้งานไว้ แล้วอยู่ดีๆ ปลั๊กอินเกิดเปิดขึ้นมาเอง ก็อย่าประหลาดใจ

ธีมที่ใช้ประโยชน์จากปลั๊กอินได้ดีที่สุดคือธีม Syrup ซึ่งติดตั้งให้ในขณะที่สมาชิกเปิดบล็อกเป็นครั้งแรก อย่าเปลี่ยนธีมหากท่านไม่เข้าใจ ทั้งธีมเก่าที่กำลังจะเปลี่ยนทิ้งไป*และ*ธีมใหม่ที่กำลังจะเอามาแทนดีพอ ค่าปริยายดีพอสำหรับการใช้งานทั่วไปอยู่แล้ว

แต่สิ่งที่สมาชิกไม่ควรทำอย่างยิ่ง คือเปิดหรือปิดทุกปลั๊กอิน


บทที่ 6.5 ตั้งค่า ความเป็นส่วนตัว รูปแบบของลิงก์

4 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ วันพุธ, 18 มีนาคม 2009 เวลา 20:51 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 7384

บทที่ 6.5 ตั้งค่า ความเป็นส่วนตัว รูปแบบของลิงก์

ความเป็นส่วนตัว


I would like my blog to be visible to everyone, including search engines (like Google, Sphere, Technorati) and archivers and in public listings around this site.

ถ้าเลือกอันนี้ ก็จะให้คนอ่านได้ และให้ search engines เช่น Google ฯ ค้นหาบล็อกหรือลานได้

I would like to block search engines, but allow normal visitors

ถ้าเลือกอันนี้ก็จะ block search engines

รูปแบบของลิงก์


แนะนำให้เจ้าของบล็อกหรือเจ้าของลานทุกท่านให้มาตั้งค่าีูรูปแบบของลิงก์ใหม่  โดยเปลี่ยนเป็นแบบ ลิงก์เริ่มต้น หรือแบบตัวเลข เพราะจะทำให้ URL สั้นลงสำหรับภาษาไทย เพราะเมื่อสมัครลานใหม่  ค่าปริยาย (เปิดบล็อกครั้งแรก) จะถูกกำหนดมาเป็น ” วันและชื่อบันทึก “  ซึ่งไม่เหมาะกับภาษาไทย


บทที่ 6.4 ตั้งค่า การถกอภิปราย

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ วันอังคาร, 17 มีนาคม 2009 เวลา 23:10 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 12494

บทที่ 6.4 ตั้งค่า การถกอภิปราย

เป็นการตั้งค่าการถกอภิปรายหรือการแสดงความคิดเห็น ( Discussion or Comments) ในบันทึกของบล็อกหรือลานของท่าน



อ่านต่อ »


บทที่ 6.3 ตั้งค่า การอ่าน

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ วันอังคาร, 17 มีนาคม 2009 เวลา 18:34 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 9599

บทที่ 6.3 ตั้งค่า การอ่าน

การตั้งค่าการอ่าน


อ่านต่อ »


บทที่ 6.2 ตั้งค่า การเขียน

2 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ วันอังคาร, 17 มีนาคม 2009 เวลา 16:08 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 7375

บทที่ 6.2 ตั้งค่า การเขียน

การตั้งค่าการเขียนเป็นการตั้งค่าหน้าต่างที่ใช้ในการเขียนบันทึกใหม่


Size of the post box เป็นการกำหนดขนาดของหน้าต่างที่ใช้ในการเขียนบันทึก ตัวอย่างจะกำหนดไว้แค่ 5 บรรทัด


พื้นที่ที่จะใช้เขียนจะค่อนข้างเล็ก แต่สามารถเขียนได้มาก เพียงแต่ต้องคอยเลื่อน Scrollbar  คำแนะนำคือให้กำหนดไว้  20 บรรทัด

Default Post Category ใช้กำหนดหมวดหมู่ที่ใช้ประจำในการเขียนบันทึก เช่นในการเขียนบันทึกในลานแห่งนี้ ใช้คู่มือลานปัญญาเป็นหมวดหมู่ที่ใช้ประจำก็ตั้งค่าไว้ที่นี่เลย

เสร็จแล้วอย่าลืม บันทึก นะครับ


บทที่ 6.1 ตั้งค่า การตั้งค่าทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ วันอังคาร, 17 มีนาคม 2009 เวลา 1:46 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 7401

บทที่ 6.1  ตั้งค่า  การตั้งค่าทั่วไป
เมื่อจัดการกับผู้ใช้และรายละเอียดส่วนตัวส่วนตัวเสร็จแล้วก็เริ่มมาตั้งค่ากันนะครับ  เริ่มด้วยการตั้งค่าทั่วไป
อ่านต่อ »


คุณสมบัติทั่วไป

1 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ วันอาทิตย์, 15 มีนาคม 2009 เวลา 23:17 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 8807

บทความนี้รอกอดเขียนไว้ที่ ลานคู่มือลานปัญญา ครับ

ลานปัญญาใช้ซอฟต์แวร์ชื่อ Multi-user WordPress แตกต่างกับบล็อกที่ใช้กันในประเทศไทยหลายอย่าง ดังจะสรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้

ลานปัญญา

บล็อกอื่นๆ

สมาชิกแต่ละท่าน มีบล็อกได้หลายบล็อก แล้วแต่บล็อก ซอฟต์แวร์บางตัวทำได้ บางตัวทำไม่ได้
แต่ละบล็อก สามารถเปิดให้สมาชิกเขียนบันทึกกันได้หลายคน แล้วแต่บล็อก ซอฟต์แวร์บางตัวทำได้ บางตัวทำไม่ได้
สมาชิกเลือกตกแต่งหน้าตา (ธีม หรือ Theme) ของแต่ละบล็อกเอง แล้วแต่บล็อก ซอฟต์แวร์บางตัวทำได้ บางตัวทำไม่ได้
สมาชิกเลือกเมนูที่ตนใช้ในบล็อก (วิดเจ็ต หรือ Widget) เอง เกือบทั้งหมด มีการจัดการจากส่วนกลาง ซึ่งผู้บริหารระบบทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่ลานปัญญาใช้ ให้อิสระกับสมาชิกแต่ละท่านค่อนข้างมาก การตกแต่งบล็อกของสมาชิกแต่ละท่านจึงอาจแตกต่างกันได้มาก ดังนั้นจึงมีขั้นตอนวิธีการมากตามไปด้วย

เอกสารฉบับนี้ ชี้ไปยังคำอธิบายที่สมาชิกช่วยกันเขียน ถ่ายทอดประสบการณ์ วิธีการจัดการกับบล็อกของตนเองอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้สมาชิกใหม่ เรียนรู้เกี่ยวกับลานปัญญา และใช้งานได้อย่างที่ต้องการ โดยไม่ยากนัก

เพื่อที่จะเข้าใจการทำงานของลานปัญญา และสามารถควบคุมให้การใช้งานเป็นไปด้วยความสะดวก จึงขอใหสมาชิกใหม่ทุกท่านเข้าใจว่าซอฟต์แวร์ตัวนี้ แตกต่างกับบล็อกที่ท่านเคยใช้ และเชื่อได้ว่าจะไม่เหมือนกันทีเดียว ถึงแม้จะใช้ซอฟต์แวร์ตัวเดียวกัน

แต่ก็ไม่มีอะไรยากเกินความพยายาม ลานปัญญามีสมาชิกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิค แต่สามารถใช้งานลานปัญญาได้อย่างสะดวกสบาย


บทที่ไม่ได้ขอให้เขียน

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ วันอาทิตย์, 15 มีนาคม 2009 เวลา 22:41 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 8247

เนื่องจากลานปัญญาเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ยังมีเครื่องมือสื่อสารแบบอื่นๆ อีกหลายอย่างที่จะช่วยให้การใช้งานลานปัญญา เป็นไปด้วยความสนุกเพลิดเพลิน

e-Mail และ e-Mail Notifier

ลานปัญญา ติดต่อกับสมาชิกผ่านระบบอีเมล ทั้งการสมัครสมาชิก และการแจ้งเตือนเมื่อมีความคิดเห็นมาใหม่ (ไม่ว่าจะต้องอนุมัติหรือไม่) ดังนั้นท่านสามารถจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในลานปัญญาได้รวดเร็วขึ้นมาก หากท่านมีเครื่องมือที่เตือนให้รู้ทันทีว่ามีอีเมลเข้ามาใหม่

ถ้าท่านใช้อีเมลของ Windows Live หรือ Hotmail ในการสมัครสมาชิกลานปัญญา ติดตั้ง MSN Messenger หรือ Windows Live Messenger จะมีทางเลือกให้ IM ของท่านตรวจสอบว่ามีอีเมลมาใหม่หรือไม่

ส่วนท่านที่สมัครโดยใช้อีเมลของ gmail โปรแกรม gtalk หรือ gmail notifier สามารถทำแบบเดียวกันได้

การเขียนบันทึกแบบ offline

สมาชิกที่เปิดบล็อก สามารถเขียนบันทึกจาก Microsoft Word 2007 แล้วโพสต์เมื่อพร้อมได้

แต่วิธีการที่ “สะอาด” กว่าคือเขียนบันทึกจาก Windows Live Writer (WLW) ซึ่งโหลดมาใช้ได้ฟรี

สะอาดในแง่ที่ WLW สามารถจะแต่งข้อความ/ปะรูปได้เหมือน Microsoft Word 2007 แต่ WLW ไม่จัด/แต่งตัวอักษรโดยปริยาย กล่าวคือถ้าเราไม่สั่ง มันก็ไม่ทำ ทำให้ข้อความที่โพสต์ขึ้นลานกลับไปใช้การแต่งสี/แต่งขนาดโดยปริยายของธีม ทำให้มีปัญหาน้อยกว่าเมื่อปลี่ยนธีมหรือย้ายข้อมูลออกไปบล็อกอื่นในอนาคต

เบราว์เซอร์

เป็นที่รู้กันในวงการคนทำเว็บว่า Internet Explorer รุ่น 6 (IE6) มีปัญหามาก ทั้งในแง่ของมาตรฐานการแสดงผล ความปลอดภัย และโปรแกรม Javascript; IE7 ดีกว่า IE6 มาก

แต่ IE6 เป็นเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมที่สุดในเมืองไทย ทั้งนี้เป็นเพราะการเปลี่ยนไปใช้ IE7 จะมีการตรวจสอบลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติการ Windows จึงทำให้ผู้ใช้ Windows ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำนวนมาก ไม่สามารถอัพเกรด IE ได้

Admin แนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ Firefox ซึ่งเร็วกว่า แสดงผลถูกต้องมากกว่า และปลอดภัยกว่า IE6/IE7 อีกทั้งไม่มีปัญหากับการใช้งานภาษาไทย

โหลด Firefox ได้จาก http://www.getfirefox.com/

ช่องทางติดต่อสมาชิกอื่นในกรณีฉุกเฉิน

น่าจะกล่าวได้ว่าจุดแข็งที่สุดของลานปัญญาคือเครือข่ายของสมาชิก ที่สนิทสนมกลมเกลียว เป็น Collective Knowledge / Collective Intelligence / Collective Soul มีความรู้ ความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ แบบที่รู้ไปหมด ทำได้หมดทุกอย่าง บนลานปัญญา ถ้ามีอะไรที่ไม่รู้ ก็ถามได้ เรียนรู้ได้

แต่ถ้าท่านเกิดติดขัดการใช้งานลานปัญญา จะเขียนถามใครก็ไม่ได้ จะทำอย่างไรดี?

ท่านจึงควรสร้างเครือข่ายของสมาชิกขึ้นมา จะแยกกลุ่ม หรือจะไปรวมกับใครได้ทั้งนั้น เมื่อสนิทกันแล้ว จึงอาจขออีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน

ห้ามโพสต์ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ไม่ว่าในบล็อกใดๆ ของลานปัญญา


บทที่ 11 การแสดงความเห็น

4 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ วันอาทิตย์, 15 มีนาคม 2009 เวลา 22:05 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 10389

การแสดงความเห็น

Blog เป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงได้ และมีสิทธิ์ที่จะแสดงความเห็นได้ภายใต้เงื่อนไขของผู้รับผิดชอบชุมชนนั้นๆ(Blog Community) ในพื้นที่ชุมชน Lanpanya นี้อาจกล่าวได้ว่าเป็น Bloggers เก่าที่เข้าไปเป็นสมาชิก Blog Community อื่นมาก่อนแล้วย่อมทราบกฎ กติกา มารยาทและพัฒนาเป็นสามัญสำนึกไปแล้ว กล่าวอีกทีก็คือ ทุกคนรู้จักกันดีว่าอะไรควร อะไรไม่ควร..

อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีบรรทัดฐานการแสดงความเห็นใน Blog จึงค้นคว้ากติกาโดยทั่วไปที่เป็นสากลและยอมรับกัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1. ความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ก้าวร้าว รุนแรง ถ้อยคำลามก ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม

3. ไม่นำสื่ออนาจารมาเผยแพร่หรือนำเสนอสู่สายตาสาธารณะชน

4. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ
ต้องไม่นำมาโพสต์หรือขยายความต่อในบล็อก การโพสต์เรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น

5. ความคิดเห็นในบล็อก เป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก

6. โดยทั่วไป ผู้รับผิดชอบ Blog จะสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและความคิดเห็นนั้นๆ

(ดัดแปลงจากแหล่งข้อมูล http://blog.spu.ac.th/SurasakMu/2009/01/24/entry-1)


ปลัดกระทรวงไอซีที เคยกล่าวไว้ว่า การแสดงความคิดเห็น ควรใช้แนวทางวิจารณญาณดังนี้

1. ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแต่ผู้แสดงความคิดเห็นและเว็บมาสเตอร์ ต้อง รับผิดชอบต่อความเห็นที่สร้างความแตกแยกในสังคม

2. หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันอันเป็นที่เทิดทูนของปวงชนชาวไทย

3. ไม่แสดงความเห็นพาดพิงหรือ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อศีลธรรมอันดีและความสงบเรียบร้อยในสังคม

(ดัดแปลงจากแหล่งข้อมูล http://webboard.mthai.com/5/2006-09-22/268814.html)

ประเด็นสำคัญหนึ่งของการแสดงความคิดเห็น คือ เป็นเสรีภาพที่สามารถกระทำได้ภายใต้ขอบเขตของการเคารพ ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่เส้นแบ่งหรือตัวชี้วัดของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 19 เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในข้อ 19 เช่นกัน ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานของสิทธิมนุษยชน ท่านที่สนใจโปรดดูแหล่งข้อมูลที่ http://www.newmana.com/yabb/index.php?topic=7246.0

นอกจากนี้แล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนหรือ “ฉบับธงเขียว”) ตามความในบทบัญญัติในหมวด 3 มาตรา 39 ที่ให้การรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ของชนชาวไทยโดยชัดแจ้ง ประกอบด้วย ข้อความรวม 6 วรรค โดย 4 วรรคหลังเป็นบทบัญญัติเกี่ยวข้องเฉพาะเจาะจงกับการดำเนินกิจการสื่อสารมวลชน ขณะที่ข้อความ 2 วรรคแรกเป็นบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิดเห็นและเงื่อนไขการจำกัดเสรีภาพดังกล่าว รายละเอียดจะไม่ขอกล่าวในที่นี

การที่รวบรวม กฎ กติกา ที่เกี่ยวกับการแสดงความเห็นมาไว้ เพื่อให้เราทราบว่า สังคมมีกฏมีเกณฑ์ blog และชุมชนชาว Blog ก็ย่อมมีกฎมีเกณฑ์ ทั้งที่เหมือนกันโดยทั่วไปและมีลักษณะเฉพาะ ก็ย่อมแล้วแต่ชุมชนนั้นๆจะกำหนดขึ้นมา

สำหรับ Lanpanya เป็นชุมชนใหม่ มีอายุไม่ถึง 1 ขวบปี ไม่ได้มีการตั้งกฎเกณฑ์พิเศษ เพียงรับรู้กันโดยสามัญสำนึกของการเป็น Bloggers ที่ดี คืออย่างไร การแสดงความเห็นที่เหมาะสมควรเป็นเช่นไร ในอนาคตหากมีสมาชิกมากขึ้นก็อาจจะเพิ่มกฎเกณฑ์ใหม่ๆขึ้นมา ซึ่งก็คงต้องประชาสัมพันธ์กันต่อไปเพื่อให้สมาชิกทุกคนรับทราบก่อน และอาจต้องการความคิดเห็น จากสมาชิกเพื่อมีส่วนร่วมในการกำหนดกติการ่วมกัน

แผนผังแสดงองค์ประกอบเบื้องต้นของการแสดงความคิดเห็น


สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมเป็นเบื้องต้นของการแสดงความเห็นคือ

  • การแสดงความเห็นควรยึดหลัก Positive opinion
  • การแสดงความเห็นเชิงแตกต่าง หรือตรงข้ามเลย ก็ย่อมกระทำได้ แต่ควรเป็นการแสดงออกมาจากความจริงใจ หรือ ข้อเท็จจริงที่เรามีข้อมูลยืนยัน หรือเชิงอธิบายเพิ่มเติมเพื่อการสร้างบรรยากาศการก้าวไปข้างหน้าอย่างสร้างสรรค์
  • ภูมิหลังของแต่ละคนแตกต่างกัน การนำบันทึกออกสู่สาธารณะ เจ้าของบันทึกต้องยอมรับความแตกต่างเป็นพื้นฐาน
  • แม้ว่ามันทึกมิใช่รายงานวิจัย หรือรายงานวิชาการ แต่ก็มีบริบทในตัวของมันเอง สมาชิกผู้เข้ามาแสดงความเห็นอาจไม่เข้าใจบริบทของบันทึกนั้นๆ เจ้าของบันทึกพึงสร้างความเข้าใจให้มากที่สุด เพื่อมิให้เกิด การแสดงความคิดเห็นต่างบริบทกัน แต่ก็กระทำได้เพียงแต่จะเกิดลักษณะผิดฝาผิดตัว
  • การแสดงความเห็นเชิงสำนวน และ/หรือ การหยอกล้อ เล่น แต่พองามนั้น นับเป็นสีสันของ Blog ที่กลุ่มเพื่อนสนิท หรือคนรู้ใจกันมักสร้างสรรค์ขึ้นมา ในทัศนะคนทำงานสังคมเห็นว่า เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของชุมชนนั้นๆ และเชิงวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันยังเป็นทุนอย่างหนึ่งของสังคม เพราะเป็นการเสริมสร้างความสนิทสนม ซึ่งด้านลึกเป็นแรงเกาะเกี่ยวกันทางสังคมนั่นเอง

สาระที่มากไปกว่านี้ขอเชิญพี่น้องได้เสริมเติมแต่งให้ด้วยครับ กระผม..


บทที่ 5 ผู้ใช้ รายละเอียดส่วนตัวของคุณ

9 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ วันอาทิตย์, 15 มีนาคม 2009 เวลา 1:03 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 7490

บทที่ 5  ผู้ใช้ รายละเอียดส่วนตัวของคุณ

เมื่อท่านเข้ามาหลังโรงหรือ Dashboard แล้ว  จะเจอหน้าต่างนี้  ให้คลิกที่ผู้ใช้

ให้คลิกที่ ผู้แต่ง& ผู้ใช้ อ่านต่อ »



Main: 1.1535627841949 sec
Sidebar: 0.16003203392029 sec