ภูมิปัญญาท้องถิ่น: ต้นทุนทางสังคมไทยในการจัดการความขัดแย้ง
อ่าน: 2341อาจารย์ บัณฑร อ่อนดำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
อดีตกรรมการปฏิรูป
อาจารย์เริ่มทำความเข้าใจกับแนวความคิดวัฒนธรรมชุมชนก่อน
อาจารย์ให้รายชื่อหนังสือให้ไปอ่าน เช่น
- แนวคิดวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนกับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย (บริษัท สำนักพิมพ์สร้างสรรค์ จำกัด)
- ภูมิปัญญา วิถีชุมชน วิถีธรรมชาติ (ศยามล ไกยูรวงศ์และคณะ)
- ภูมิปัญญาตะวันออกฝ่ามรสุมโลกาภิวัฒน์ (ยุค ศรีอาริยะ)
- ภูมิปัญญาบูรณาการ (ยุค ศรีอาริยะ)
- เกลืออีสาน….องค์ความรู้สู่ยุทธศาสตร์การจัดการอย่างยั่งยืน (เครือข่ายนักวิชาการนิเวศวัฒนธรรมอีสาน)
- ราษีไศล ภูมิปัญญา สิทธิ และวิถีแห่งป่าทามแม่น้ำมูน (งานวิจัยไทบ้าน)
- ฟื้นภูมิปัญญา ฝ่าวิกฤติโลก (เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน)
- ชุมชนปายกับกระบวนการสร้างวาทกรรมการพัฒนาและการกำหนดชะตากรรมของตนเองในแนวทางสิทธิมนุษยชน (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปี 2546-2549)
- เยียวยาแผ่นดิน (คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
อาจารย์เล่าให้ฟังถึงเรื่อง สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2
……….ในสังคายนาครั้งนี้ มีพระสังฆราชเข้าร่วม 2860 องค์ พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ซึ่งเป็นผู้ประกาศให้มีสังคายนาครั้งนี้และได้ให้มีการเตรียมการก่อนถึงสาม ปีเศษ ได้เป็นผู้เปิดการประชุมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1962 ซึ่งได้ดำเนินไปจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 1965 จึงได้ปิดลง โดยพระสันตะปาปาปอลที่ 6 เป็นประธาน (เพราะพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1963 เมื่อสังคายนาได้ดำเนินมาเพียงภาคเดียว)
สังคายนาวาติกันที่ 2 สิ้นสุดลงพร้อมกับเอกสารสำคัญ 16 ฉบับ ซึ่งบรรดาพระสังฆราชได้ลงมติด้วยการออกเสียงสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ ประกอบด้วยพระธรรมนูญ (Constitution) 4 ฉบับ กฤษฎีกา (Decrete) 9 ฉบับและปฏิญญา (Declaration) 3 ฉบับ……
จาก สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เสรี พงศ์พิศ
อาจารย์สรุปว่า ศาสนาคริสต์หันมามองในบริบทสังคมยุคใหม่ ศาสนาไม่ได้ช่วยอะไรเลย ต้องปฏิรูปศาสนา
ศาสนาทำอะไรอยู่ รอคนเข้ามาหา จะมีบทบาทอะไร?
แนวคิดการปฏิรูปศาสนา ถ้าเป็นพระก็ต้องเป็นพระอยู่ในโลกนี้ ไม่ใช่อยู่นอกโลก สรุปว่าต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์
ต้องลงไปหาประชาชน ไปกิน ไปอยู่ พลังของการปลดปล่อย กอบกู้ หลุดพ้นอยู่ที่ประชาชน ไปหามาให้เจอ
ทุกศาสนาค้นพบคล้ายๆกัน “ความคิดของประชาชน แตกต่างจากพระและข้าราชการ”
อาจารย์พูดถึง
- คุณพ่อนิพจน์ เทียนวิหาร จากศูนย์วิจัยและฝึกอบรมศาสนาและวัฒนธรรม อ. ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ ที่ทำงานด้านคนลาวอพยพ
- อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา สนใจชุมชนด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง
- อาจารย์เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ หรือ ยุค ศรีอารยะ
ที่เริ่มสนใจวัฒนธรรมชุมชน เริ่มค้นหาแนวความคิดของประชาชนตั้งแต่ทศวรรต ที่ 20 (ตั้งแต่ 2520..)
ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ…….
…..แนวความคิดของชาวบ้านมีลักษณะเด่น 3 อย่าง
- เคารพธรรมชาติ รวมถึงความเชื่อเรื่องผีสาง
- อยู่กันแบบพี่น้อง ญาติ
- มีการพึ่งพากันในชุมชน
แนวความคิดของคนข้างล่างมีอุดมการณ์ มีวัฒนธรรมเป็นทุนทางสังคม และเปิดพื้นที่ทางสังคมใหม่ๆ
ภูมิปัญญาไม่ใช่เรื่องอดีตเท่านั้น มีปัจจุบันด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นภูมิปัญญาเก่า แต่มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ
อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และเกษตกรรายย่อยด้วย เดิมก็ทำงานเกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านการเกษตร ภูมิปัญญาด้านยารักษาโรค(ยาสมุนไพร)
ไปทำงานด้านการมีส่วนร่วมที่ฮ่องกงอยู่พักนึง
การรวมกลุ่มมีทั้งการรวมกลุ่มเพื่อผลประโยชน์และการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เดิมก็เข้าใจผิดเพราะเรียนมา นึกว่าวิชาการใหม่ๆถูกต้อง เชื่อและสอนแต่ทฤษฎีตะวันตก
ตอนหลังเปลี่ยนจากนักวิชาการมาเป็นนักปฏิบัติ – Activist
การลงแขกของเราก็เป็นการรวมกลุ่มอยู่แล้ว
ต่อสู้ระหว่างแนวความคิดสองด้าน การเกษตรที่ใช้สารเคมี CP- เกษตรพันธะสัญญา vs เกษตรธรรมชาติ(ยั่งยืน)
ทศวรรตที่ 30
สมัยนายกฯ ชาติชาย มีการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ มีตัวละคร 3 ตัว
- ราชการ
- พ่อค้า นายทุน นักธุรกิจ
- ชาวบ้าน (ซึ่งแพ้มาตลอด)
อาจารย์พูดถึงการต่อสู้ทางแนวความคิดของ 2 ทฤษฎี คือ
- กระบวนทัศน์ของชุมชนาภิวัฒน์- ตะวันออก
- กระบวนทัศน์ของโลกาภิวัฒน์- ตะวันตก (ทุนนิยม) ซึ่งทำให้ก้าวไปข้างหน้าแต่ขาดความเป็นมนุษย์
อาจารย์บอกว่าทางตะวันออกอธิบายด้วย เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นวัฏจักร แต่ของตะวันตก ไปข้างหน้า แล้วตกทะเลตาย
ความแตกต่างของความคิดของชาวบ้านกับระบบนายทุน ไม่มีวันอธิบายได้ด้วยทฤษฎีของทางตะวันตก ต้องใช้ทฤษฎีทางตะวันออกมาอธิบาย
ถ้ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น ภูมิปัญญาจะช่วยอะไรได้ไหม?
ต้องการศึกษาว่า ภูมิปัญญาจะช่วยแก้ไขความขัดแย้งอะไรได้บ้าง? อย่างไร?