ภูมิปัญญาท้องถิ่น: ต้นทุนทางสังคมไทยในการจัดการความขัดแย้ง

โดย จอมป่วน เมื่อ 7 สิงหาคม 2011 เวลา 21:31 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2342

อาจารย์ บัณฑร อ่อนดำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

อดีตกรรมการปฏิรูป

บัณฑูร อ่อนดำ

อาจารย์เริ่มทำความเข้าใจกับแนวความคิดวัฒนธรรมชุมชนก่อน

อาจารย์ให้รายชื่อหนังสือให้ไปอ่าน  เช่น

  • แนวคิดวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนกับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย (บริษัท สำนักพิมพ์สร้างสรรค์ จำกัด)
  • ภูมิปัญญา วิถีชุมชน  วิถีธรรมชาติ (ศยามล ไกยูรวงศ์และคณะ)
  • ภูมิปัญญาตะวันออกฝ่ามรสุมโลกาภิวัฒน์ (ยุค ศรีอาริยะ)
  • ภูมิปัญญาบูรณาการ (ยุค ศรีอาริยะ)
  • เกลืออีสาน….องค์ความรู้สู่ยุทธศาสตร์การจัดการอย่างยั่งยืน (เครือข่ายนักวิชาการนิเวศวัฒนธรรมอีสาน)
  • ราษีไศล ภูมิปัญญา สิทธิ และวิถีแห่งป่าทามแม่น้ำมูน (งานวิจัยไทบ้าน)
  • ฟื้นภูมิปัญญา ฝ่าวิกฤติโลก (เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน)
  • ชุมชนปายกับกระบวนการสร้างวาทกรรมการพัฒนาและการกำหนดชะตากรรมของตนเองในแนวทางสิทธิมนุษยชน (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปี 2546-2549)
  • เยียวยาแผ่นดิน (คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

อาจารย์เล่าให้ฟังถึงเรื่อง สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2

Altar-at-Vatican-II

……….ในสังคายนาครั้งนี้ มีพระสังฆราชเข้าร่วม 2860 องค์ พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ซึ่งเป็นผู้ประกาศให้มีสังคายนาครั้งนี้และได้ให้มีการเตรียมการก่อนถึงสาม ปีเศษ ได้เป็นผู้เปิดการประชุมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1962 ซึ่งได้ดำเนินไปจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 1965 จึงได้ปิดลง โดยพระสันตะปาปาปอลที่ 6 เป็นประธาน (เพราะพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1963 เมื่อสังคายนาได้ดำเนินมาเพียงภาคเดียว)

สังคายนาวาติกันที่ 2 สิ้นสุดลงพร้อมกับเอกสารสำคัญ 16 ฉบับ ซึ่งบรรดาพระสังฆราชได้ลงมติด้วยการออกเสียงสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ ประกอบด้วยพระธรรมนูญ (Constitution) 4 ฉบับ กฤษฎีกา (Decrete) 9 ฉบับและปฏิญญา (Declaration) 3 ฉบับ……

จาก สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เสรี พงศ์พิศ

อาจารย์สรุปว่า  ศาสนาคริสต์หันมามองในบริบทสังคมยุคใหม่  ศาสนาไม่ได้ช่วยอะไรเลย  ต้องปฏิรูปศาสนา

ศาสนาทำอะไรอยู่  รอคนเข้ามาหา  จะมีบทบาทอะไร?

แนวคิดการปฏิรูปศาสนา  ถ้าเป็นพระก็ต้องเป็นพระอยู่ในโลกนี้  ไม่ใช่อยู่นอกโลก  สรุปว่าต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์

ต้องลงไปหาประชาชน  ไปกิน  ไปอยู่ พลังของการปลดปล่อย  กอบกู้  หลุดพ้นอยู่ที่ประชาชน  ไปหามาให้เจอ

ทุกศาสนาค้นพบคล้ายๆกัน  “ความคิดของประชาชน แตกต่างจากพระและข้าราชการ”

อาจารย์พูดถึง

  • คุณพ่อนิพจน์ เทียนวิหาร จากศูนย์วิจัยและฝึกอบรมศาสนาและวัฒนธรรม อ. ดอยสะเก็ด เชียงใหม่  ที่ทำงานด้านคนลาวอพยพ
  • อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา  สนใจชุมชนด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง
  • อาจารย์เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ หรือ ยุค ศรีอารยะ

ที่เริ่มสนใจวัฒนธรรมชุมชน  เริ่มค้นหาแนวความคิดของประชาชนตั้งแต่ทศวรรต ที่ 20 (ตั้งแต่ 2520..)

ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ…….

…..แนวความคิดของชาวบ้านมีลักษณะเด่น 3 อย่าง

  1. เคารพธรรมชาติ  รวมถึงความเชื่อเรื่องผีสาง
  2. อยู่กันแบบพี่น้อง ญาติ
  3. มีการพึ่งพากันในชุมชน

แนวความคิดของคนข้างล่างมีอุดมการณ์  มีวัฒนธรรมเป็นทุนทางสังคม  และเปิดพื้นที่ทางสังคมใหม่ๆ

ภูมิปัญญาไม่ใช่เรื่องอดีตเท่านั้น  มีปัจจุบันด้วย  ไม่จำเป็นต้องเป็นภูมิปัญญาเก่า  แต่มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน  เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ

อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน  และเกษตกรรายย่อยด้วย  เดิมก็ทำงานเกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านการเกษตร  ภูมิปัญญาด้านยารักษาโรค(ยาสมุนไพร)

ไปทำงานด้านการมีส่วนร่วมที่ฮ่องกงอยู่พักนึง

การรวมกลุ่มมีทั้งการรวมกลุ่มเพื่อผลประโยชน์และการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เดิมก็เข้าใจผิดเพราะเรียนมา  นึกว่าวิชาการใหม่ๆถูกต้อง  เชื่อและสอนแต่ทฤษฎีตะวันตก

ตอนหลังเปลี่ยนจากนักวิชาการมาเป็นนักปฏิบัติ – Activist

การลงแขกของเราก็เป็นการรวมกลุ่มอยู่แล้ว

ต่อสู้ระหว่างแนวความคิดสองด้าน  การเกษตรที่ใช้สารเคมี CP- เกษตรพันธะสัญญา vs เกษตรธรรมชาติ(ยั่งยืน)

ทศวรรตที่ 30

สมัยนายกฯ ชาติชาย  มีการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ  มีตัวละคร 3 ตัว

  1. ราชการ
  2. พ่อค้า นายทุน นักธุรกิจ
  3. ชาวบ้าน (ซึ่งแพ้มาตลอด)

อาจารย์พูดถึงการต่อสู้ทางแนวความคิดของ 2 ทฤษฎี คือ

  • กระบวนทัศน์ของชุมชนาภิวัฒน์- ตะวันออก
  • กระบวนทัศน์ของโลกาภิวัฒน์- ตะวันตก (ทุนนิยม)  ซึ่งทำให้ก้าวไปข้างหน้าแต่ขาดความเป็นมนุษย์

อาจารย์บอกว่าทางตะวันออกอธิบายด้วย เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นวัฏจักร  แต่ของตะวันตก  ไปข้างหน้า  แล้วตกทะเลตาย

ความแตกต่างของความคิดของชาวบ้านกับระบบนายทุน  ไม่มีวันอธิบายได้ด้วยทฤษฎีของทางตะวันตก  ต้องใช้ทฤษฎีทางตะวันออกมาอธิบาย

ถ้ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น  ภูมิปัญญาจะช่วยอะไรได้ไหม?

ต้องการศึกษาว่า ภูมิปัญญาจะช่วยแก้ไขความขัดแย้งอะไรได้บ้าง?  อย่างไร?

Post to Facebook Facebook

« « Prev : แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์นพพร โพธิรังสิยากร

Next : ภูมิปัญญาท้องถิ่น: ต้นทุนทางสังคมไทยในการจัดการความขัดแย้ง(2) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ภูมิปัญญาท้องถิ่น: ต้นทุนทางสังคมไทยในการจัดการความขัดแย้ง"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 5.0426239967346 sec
Sidebar: 0.037067890167236 sec