เสวนากับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว - สวนผึ้ง- 1

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 31 สิงหาคม 2011 เวลา 0:27 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3684

หลังจากฟังผู้ประกอบการเล่าเรื่องของธุรกิจการท่องเที่ยวที่สวนผึ้งให้ฟังพร้อมปัญหาต่างๆแล้ว  ก็ถึงคิวของการพูดคุย ซักถาม  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ภักดี ภักดิ์นรา  คราวนี้มาแปลก  พี่ตุ้มเราเปิดเกมส์ก่อนเลยครับ

ภักดี

พื้นที่มันน้อยลง  ก็มีคนไปหาพื้นที่ใหม่ๆ  อันนี้ทางชมรมฯ มีมาตรการอย่างไร? ที่จะป้องกันไม่ให้พื้นที่มันน้อยลงไปกว่านี้อีก

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

อยู่กลุ่มวิจัยน้ำด้วยก็ออกไปสำรวจต้นน้ำกับกลุ่มของคุณพรทิพย์  เราก็อยู่ภาคประชาสังคมด้วย  ถามว่าพื้นที่น้อยลง  คนมากขึ้น  แล้วเรามีนโยบายอย่างไร? 

เราเป็นคนชอบตั้งคำถาม  กลุ่มพวกเราก็จะไปตั้งคำถามว่าทำไมพื้นที่ตรงนั้นเกิดขึ้นมาใหม่ได้  ทำไมพื้นที่ตรงนี้เกิดขึ้นมาใหม่ได้  ส่วนราชการก็จะหาคำตอบเอง  มีการแจ้งความบ้าง แต่การกระทำแบบนี้เป็นดาบ 2 คม   เพราะว่าก็ต้องมีคนไม่ชอบการทำงานของกลุ่มเรา  ก็มีเรื่องของการถูกคุกคามความปลอดภัย  แต่ผมตัวใหญ่ก็ไม่ค่อยมีคนอยากมาใกล้เท่าไหร่  ผมก็เลยรอด

ไอริณ ดำรงมงคลกุล  ผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าว  ฝ่ายข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5

ไอริณ1

เป็นนักศึกษา สสสส. รุ่นสามและเป็นนักข่าวช่อง 5  ก็เคยมาลงพื้นที่ที่สวนผึ้ง  มาดูเรื่องสวนผึ้งโมเดล  แต่ไม่เคยทราบเลยเรื่องของ Scenery  สนใจเพราะว่า Scenery เองเป็นตัวดึงดูดของการท่องเที่ยวของราชบุรี  เหมือนพลิกภาพของการท่องเที่ยวของราชบุรี  ที่เคยเป็นเหมือนสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมีชาวบ้านทำงาน  แต่นี่เป็นอะไรที่อินเตอร์ๆ  อย่างมีแกะยังงี้  ทำให้การท่องเที่ยวที่ราชบุรีบูมมาก  

แต่ทำไมถึงได้อยู่ดีๆก็หยุดรีสอร์ททั้งๆที่เข้าใจว่าจองเต็ม  เม็ดเงินต้องไหลเข้ามาอยู่แล้ว  ทราบจากที่เล่าให้ฟังว่าไม่ค่อยมีความสุข  แต่ประเด็นไหนที่ทำให้ทิ้งมันไปได้เลย  ขณะที่สามารถทำกำไรได้   ทำไมถึงหยุดได้  คิดยังไง 

เพราะเนื่องจากว่าสวนผึ้งนอกจากว่าจะมีปัญหามี่ดิน  เรื่องการครอบครองกรรมสิทธิ์  แต่มันยังมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติ  ชีวิตความเป็นอยู่  ที่ปายเองก็มีการเปลี่ยนแปลง  ที่ว่ามีสามสถานที่ที่ถ้าไม่ได้ไปอย่าเพิ่งตาย  ตอนนี้ไม่เห็นด้วยแล้ว  เพราะปายไม่ใช่อย่างงั้น  สวนผึ้งเองก็ไม่ใช่อย่างงั้น  ไม่ได้รู้สึกเลยว่ามาสวนผึ้งแล้วมีความสุข  ที่ปายก็ไปแล้วก็ไม่ได้มีความสุข  เหลือเชียงคานยังไม่ทราบ  เลยไม่อยากให้เชียงคานเป็นแบบนั้น

ถ้า Scenery สามารถอธิบาย และเล่าไปสู่ภาคสังคมได้มากขึ้นว่าทำแล้วไม่มีความสุข  ทำแล้วทำให้สภาพพื้นที่มันเปลี่ยนแปลงไป  เข้าใจว่ารักในเรื่องของการมีความสุข  ถ้าสามารถทำเป็นโมเดลได้  ก็จะสามารถส่งต่อไปเชียงคาน  ส่งต่อไปหนองคาย  ส่งต่อไปอีกหลายๆที่ได้  เลยอยากทราบว่าคิดยังไง?

คุณพลกฤษณ์ สุขเกษม

จริงๆแล้วก็เหมือนเห็นแก่ตัว  แต่ก็ไม่ได้เลิกจ้างงาน  ยังเก็บไว้อยู่แปดสิบกว่าคน  เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยว   ถ้าทำธุรกิจไปถึงจุดหนึ่งแล้ว เรื่องเงินเป็นเรื่องที่หลายๆคนตัดสินใจยาก  สามปีที่ผ่านมา Scenery ก็รู้สึกว่าลูกค้าเราเริ่มเป็นเทวดามากขึ้นเรื่อยๆ  มีความรู้สึกว่า  จองที่นี่ได้  ต้องได้โง้นๆงี้ๆ  มันมาเปลี่ยนความรู้สึกว่ามีความสุขไป   ตอนแรกเราทำเพราะว่าเราทำในสิ่งที่มีความสุขมากๆ  แล้วเขาก็มาเสพสิ่งที่เราทำ  แต่ต่อมาเค้ามีความสุขมากเลยแต่เราเหลือความสุขน้อยลง  คือเขามาเปลี่ยนเรา

เพื่อนๆที่ภูเก็ตก็ทำ  แต่รู้สึกว่าทุกคนไม่สามารถข้ามเงื่อนไขของเงินไปได้  ก็ไม่ได้รวยมาก แต่ก็ไม่รู้ว่าเราจะเป็นโรคอะไรตายมั๊ย  แต่ยังไงตายแน่   สิ่งหนึ่งที่คิดว่าไม่ควรทำคืด  ถ้าตื่นมาแล้วรู้สึกว่าไม่อยากทำอันนี้  แล้วต้องมาบังคับตัวเองให้ทำทุกวัน  ก็จะป่วย  ป่วยทางจิตแล้วป่วยทางกายต่อ  

คิดว่าตัวเองเห็นแก่ตัว  เอาตัวเองรอดให้มีความสบายใจ  มีความสุขก่อน  Scenery ปิดตรงนั้นไปจะแย่ไหม?   โชคดีที่มีแกะมา   แกะที่มาแบบไม่ได้ตั้งใจแต่ก็เป็นสิ่งทำให้เราอยู่ได้  เราก็มีเงินใช้  ไม่เดือดร้อนมาก 

การที่จะให้โมเดลนี้เผยแพร่ออกไป   แค่เพื่อนที่โตมาด้วยกันคุยกันแล้วยังไม่สามารถเปลี่ยนได้  ทำธุรกิจกัน    ทุกที่ในประเทศไทยก็ติดในเรื่องของธุรกิจ    สิ่งที่ทำขึ้นมานี้ถ้าพอที่จะสะท้อนออกมาได้บ้างในเรื่องของเกิดอะไรขึ้นกับ Scenery   ก็มีกระแสบ้าง  มีสื่อมาช่วย  แต่ก็ได้แค่จุดประกายให้บางท่านเท่านั้น  ถ้าจะทำอะไรมากกว่านี้ก็จะมีกระแสต่อต้าน  มีคนว่าอยากดังรึเปล่า?  ทำดีอยู่แล้ว  ปิดทำไม?  แต่จะให้ความสำคัญกับความรู้สึกตัวเองมากที่สุด

ปุณณดา วรสินธุ์  ประธานกรรมการบริษัท พงษ์สุดาชาเลย์ จำกัด

ปุณณดา

ที่จริงบ้านเราอยู่ใกล้กัน  อยู่กาญจนบุรี ทำธุรกิจเดียวกัน  อยากถามว่าปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ของสวนผึ้ง   กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนดหรือ นส. 3  หรือว่าเป็น ภบท.  หรือเป็น สค.

จุดหมายของสวนผึ้งจริงๆคืออะไร?  เพราะเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วมาสวนผึ้ง  ส่วนมากก็มาหาคนงานกัน  ถ้าอยากได้คนงานก็ต้องมาตอนกลางคืนแล้วกลับไปตอนตีสาม  พาแอบกลับไป  แต่ตอนหลังพอมีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้ก็ไม่มีปัญหาตรงนี้

ด้านการท่องเที่ยวสวนผึ้งแทบไม่มีอะไรเลย   แต่เป็นเพราะกระแสรึเปล่า  เป็นเพราะหนังสือท่องเที่ยวรึเปล่าที่บอกว่าถ้าไม่ได้ไปสามแห่งแล้วจะนอนตายตาไม่หลับ  อาจจะเป็นกระแสก็ได้

ที่เขาใหญ่ ถ้าพูดถึงระยะเวลาการเดินทาง  ไปง่ายกว่ามาสวนผึ้ง  ง่ายกว่ามากาญจนบุรี  เขาใหญ่มีธรรมชาติ  ต้นไม้  ก็ไปได้เรื่อยๆ   แต่วังน้ำเขียวดังเพราะปั่นกระแสเหมือนกัน  ผลสุดท้ายก็มีปัญหา

กาญจนบุรีแรกๆก็มีปัญหาเอกสารสิทธิ์  ตอนหลังกรมป่าไม้ออกสำรวจส่วนมากก็ได้โฉนดกัน แต่ก็จะมีติดเป็นที่ของทหาร  เพราะที่ไหนก็ทหาร  ทหารครอบครองที่มากเหลือเกิน   ตรงนั้นก็ทหาร  ตรงนี้ก็ทหาร  สังเกตดูว่าประเทศไทยจะมีแต่ที่ทหาร  ไม่รู้จะเก็บไว้ทำอะไร  เก็บที่ไว้  ปล่อยรกร้าง  จะเข้าไปทำมาหากินก็บอกว่าเป็นที่ของทหาร

ไม่ทราบว่ามีมาตรการอะไร  อย่างที่วังน้ำเขียว  เวลาเข้าไปจะทำกิน  ราชการก็น่าจะรู้แล้ว  ไม่ว่าจะทำรีสอร์ทหรือบ้านพัก  นี่ปล่อยให้ทำไปจนเสร็จ  ผ่านมาตั้งสามปีห้าปี  เพิ่งมาเจอ  แล้วมาบอกว่าไม่ถูกต้อง  อันนี้ก็เป็นเรื่องของทางราชการ

คิดว่าถ้าผิด  ราชการก็ต้องผิดด้วย โชคดีที่รีสอร์ทของตัวเองเป็นโฉนด  พูดถึงจุดขายสวนผึ้งไม่มีอะไรเลย  กาญจนบุรีมีแม่น้ำสองสาย  แควน้อยกับแควใหญ่   น้ำตกก็เยอะ  ถ้ำก็เยอะ ประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เยอะ   แต่สวนผึ้งเป็นอำเภอเล็กๆ  แต่ต้องชื่นชมมากๆว่าการพัฒนาในเรื่องของที่พัก  พัฒนาเร็วมาก   ทำให้คนอยากจะมาสักครั้งนึง   แต่มาแล้วจะกลับมาครั้งที่ 2 รึเปล่าก็อยู่ที่พวกเราผู้ประกอบการ

สิ่งที่อยากทราบคือเรื่องเอกสารสิทธิ์  ผู้ประกอบการที่สวนผึ้งถือเป็นอะไรไว้ ?

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

เอกสารสิทธิ์สวนผึ้ง 20% ของผู้ประกอบการเป็น นส.3  ส่วนที่เหลือเป็น ภบท.5 

เกือบจะทั้งหมด   90% ของรีสอร์ทในสวนผึ้งอยู้ฝั่งซ้ายของลำภาชี  อยู่ในแนวเขตทหารเดียวกันกับที่กาญจนบุรี  จริงๆเมืองกาญจน์เป็นเขตพื้นที่ทหารโดยสมบูรณ์ที่เขาประกาศไว้ตอนต้น   ที่บอกว่าไปตรงไหนก็มีแต่ที่ทหาร   เพราะตอนประกาศก็ประกาศครอบไปก่อน  พอตรงไหนไปเจอที่ชาวบ้าน ก็ให้ชาวบ้านไปพิสูจน์สิทธิ์เอง  ถ้าพิสูจน์น่าเชื่อก็ค่อยให้ออกเป็นโฉนด

เมืองกาญจน์นี่โชคดีมาก เพราะว่าเขาประกาศเขตเมืองกาญจน์เขายังให้โอกาสชาวบ้านเมืองกาญจน์พิสูจน์สิทธิ์จากการใช้ประโยชน์ที่ดิน   แต่เขาประกาศฉบับเมืองกาญจน์นี่  ในแผนที่ของเมืองกาญจน์เขตลากเขตเข้ามาในพื้นที่สวนผึ้ง  เป็นการประกาศที่หวงห้ามที่ดินเขตจังหวัดกาญจนบุรี

ก็ไม่อยากไปโต้แยังกับเจ้าหน้าที่   แต่ทำไมไม่ให้โอกาสเราพิสูจน์เหมือนคนเมืองกาญจน์บ้าง  คนอยู่สวนผึ้งถูกด่าอย่างเดียวว่าบุกรุก  เขาให้สิทธิ์คนที่ออก นส.3 ไป  พอจะรื้อฟื้นก็บอกว่าไม่ใช่อีกละ  บอกว่าออกผิด  อยากให้มีการจัดการที่ดินสวนผึ้งด้วยเหมือนกัน

เช่นถ้าบอกว่าเป็นที่ราชพัสดุทั้งหมดเลย ก็ยกเลิก นส.3 ไปให้หมดเลย  ผมเองนอกจากมีที่ดิน ภบท.5  ก็มีที่ดิน นส.3 ด้วย  ถ้าบอกว่ามันผิดก็ยกเลิกไปให้หมดเลย  ยกเลิกวันนี้เลย

เสริมนิดนึงที่ว่าสวนผึ้งมันอยู่ได้ด้วยอะไรกันแน่  มันมีจุดเด่นอะไร?  มันถูกปั่นกระแสเพื่อหลอกขายรึเปล่า?  มีลูกค้าที่เข้ามาปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 5 ครั้งก็มี  เขาชอบอากาศ  อากาศสดชื่น   ห่างจากชายฝั่งอ่าวไทย 75 กม.   ห่างจากชายฝั่งของฝั่งทะเลอันดามันประมาณ 75 กม.  อากาศของสวนผึ้งไม่มีที่อื่นเหมือน   อากาศเป็นสิ่งเดียวที่ที่อื่นก็ลอกเลียนไม่ได้   แนวติดเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเอกลักษณ์ของสวนผึ้งซึ่ีงพื้นที่เมืองกาญจน์ก็ไม่มี  จุดขายตัวหลักจริงๆของสวนผึ้งคืออากาศกับธรรมชาติ

       

 

 

          

 

Post to Facebook Facebook


สวนผึ้งโมเดล -1

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 30 สิงหาคม 2011 เวลา 0:30 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2069

การศึกษาดูงานกรณีศึกษาภาคกลาง - 4ส3

ในการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 3  การศึกษาดูงานในพื้นที่จริงถือเป็นหัวใจของหลักสูตร  สำหรับรุ่นที่ 3 ได้กำหนดการศึกษาดูงานกรณีศึกษาภาคกลางไว้ในวันที่ 23-26 สิงหาคม 2554  ที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดเพชรบุรี

23 สิงหาคม 2554

ออกเดินทางไปรับประทานอาหารกลางวันที่  Scenery Resort & Farm อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

13.30-14.30 น. รับฟังและร่วมพูดคุยกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวของอำเภอสวนผึ้ง  ในหัวข้อ “ สวนผึ้ง :แนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรจากมุมมองภาคธุรกิจท่องเที่ยว”

เริ่มรายการโดยคุณวิเชียร คุตตวัส  และคุณสมปอง อินทร์ทอง  ซึ่งเป็น สสสส. รุ่น 2

เริ่มให้ข้อมูลของจังหวัดราชบุรี    เดิมชื่อ ชยราชปุรี  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี  เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญสำคัญ เป็นสมรภูมิการรบหลายครั้ง  ที่สำคัญคือสงครามเก้าทัพ

ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดให้มีการประลองยุทธเสือป่าที่จังหวัดราชบุรี

ปัจจุบันก็มีชื่อเสียงเรื่องการปั้นโอ่ง  มีการต่อตัวถังรถที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ผ้าขาวม้าบ้านไร่  เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ  มีการปลูกดอกไม้ส่งออก

ที่ราชบุรีมีทุนทางสังคม  ทุนทางปัญญา  มีธุรกิจชุมชนและชุมชนที่เข้มแข็ง  สถิติอาชญากรรมต่ำ  น่าอยู่  แต่ก็มีปัญหา

มีการแนะนำตัว

  • มีผู้แทนผู้ประกอบการชมรมนำเที่ยวเขากระโจม (ออฟโรด์)  หรือกลุ่มออฟโรด
  • คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์  เจ้าของบ้านสวนหงษ์เหิร
  • คุณพลกฤษณ์ สุขเกษม  เจ้าของ Scenery Resort & Farm

กลุ่มออฟโรด

พื้นที่ตรงนี้เคยเข้ามาเมื่อสามสิบปีที่แล้ว  สมัยที่ยังทำเหมืองแร่  สมัยนั้นคนไทยยังเข้ามาไม่ถึง มีแต่กระเหรี่ยงหรือที่เรียกว่าชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามป่าตามเขา  ก็มีคนไทยที่อยู่รอบนอกทำไร่มันไร่อ้อย  เข้าออกบ่อยๆก็เห็นว่าเป็นพื้นที่มีธรรมชาติสมบูรณ์  สวยงามน่าจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทยได้

เลยเข้ามาหาที่เล็กๆแปลงหนึ่งที่อยู่กับชุมชนในพื้นที่  ไม่ได้บุกรุกอะไร  อยู่ริมถนนขอบทางนี่เอง แล้วก็ทำกัน  สักระยะหนึ่งก็เริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามา  ไฮไลท์ที่นี่มีเขากระโจมซึ่งมีทะเลหมอก  มีน้ำตกหลายๆแห่ง  ที่สำคัญที่สุดคืออากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี

การเดินทางก็ต้องอาศัยรถออฟโรดเพื่อรักษาธรรมชาติเอาไว้  ไม่อยากให้สร้างทางขึ้นไป  ต้องอาศัยรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้นที่จะเดินทางขึ้นไปได้

นักท่องเที่ยวที่มาจะบ่นกันว่าทำไมไม่ทำทางให้มันดีๆ  แต่พอได้ขึ้นไปสัมผัสข้างบนก็จะบอกว่า  ขอซักที่นึงในเมืองไทยเพราะบนยอดดอยทุกดอยก็มีถนนลาดยางขึ้นไปหมดแล้ว  ถ้าถนนดี  รถขึ้นมาได้ง่ายๆ  ธรรมชาติก็จะหมดไว  ขยะก็จะเยอะ  สัตว์ป่าที่มีอยู่อุดมสมบูรณ์ก็จะหนีหายไป

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

เป็นคนบางขุนเทียน  อยากเป็นระพินทร์ ไพรวัลย์ในเรื่องเพชรพระอุมา  ตำนานของสวนผึ้งถูกตีพิมพ์ในหนังสือเพชรพระอุมา  ชอบมาก  เข้ามาดูในพื้นที่  สวนผึ้งเป็นแหล่งที่กำเนิดของนิยายเพชรพระอุมา  ในหนังสือก็มีบรรยายถึงธรรมชาติ  สัตว์ป่า เป็นอะไรที่ติดตาต้องใจ

ในปี 2538  มีจังหวะว่างงานก็มาเที่ยวได้พบสถานที่แห่งนี้  เจ้าของขายก็เลยซื้อไว้  การสร้างรีสอร์ทเป็นเหตุบังเอิญ เดิมก็จะสร้างบ้านพักเฉพาะของครอบครัว แต่คุณแม่ป่วยเป็นมะเร็ง  ถ้าอยู่กรุงเทพฯ ไม่มีอะไรทำก็คงไม่อยู่มาจนทุกวันนี้  เดิมหมอบอกว่าจะอยู่ได้อีกไม่นาน  เลยย้ายมาอยู่ที่นี่

พอเริ่มทำเป็น Homestay กิจการไปได้  ก็ขยายไปเรื่อย  ทำค่ายภาษาญี่ปุ่น ค่ายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ไม่ใช่ของไทย  ทำให้ญี่ปุ่น  มีโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนไทยญี่ปุ่นระดับมัธยมปลาย

คุณพลกฤษณ์ สุขเกษม

อยากมีบ้านพักตากอากาศที่สงบเงียบ  เดิมทำธุรกิจอยู่ที่กรุงเทพฯ  เมื่อ 12 ปีก่อนมีเรื่องกอดอาร์มมี่ที่สวนผึ้ง  เลยคิดว่าแถวนี้คงจะสงบสุข  เพราะคนคงจะไม่มาแล้ว  ก็เลยเข้ามาดู  เป็นอย่างนั้นจริงๆ  ไม่มีคนเลย  ไม่มีรถวิ่ง  เรื่องกอดอาร์มมี่ไม่เกี่ยวกับคนในพื้นที่เลย

คดีความในเขตสวนผึ้งน้อยมาก  เกือบไม่มีเลย  ก็คิดว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ก็เลยมาสร้างบ้านอยู่  เดิมเป็นบ้านเฉลี่ยสุข  คือแบ่งให้เพื่อนๆมาพัก   เฉลี่ยไปเฉลี่ยมาไม่พอเฉลี่ยก็เลยสร้างบ้านเพิ่ม  สองหลัง สามหลัง  จนสุดท้ายมีสิบหลัง  เปิดเป็น Scenery Resort  คนมาพักเต็มตลอด  แต่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข  รู้สึกว่าผิดทางไปนิดนึง  เลยปิดที่พักไปแต่แหล่งท่องเที่ยวด้านหน้าก็ยังอยู่

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

รีสอร์ทแห่งแรกของอำเภอสวนผึ้งคือสวนผึ้งแลนด์  สร้างเมื่อปี 2538   ต่อมามีบัวพัฒนาในปี 2540  แล้วก็มีชมดอยในปี 2541  หงษ์เหิรก็ตามมาในปี 2543  ในช่วงต้นๆก็ทำกันไปแบบมือสมัครเล่น  เป็นลักษณะของ Homestay

มีการเปิดเขากระโจมในปี 2540  เริ่มมีคนรู้จักสวนผึ้งมากขึ้น  2545  มีคนเข้าเที่ยวสวนผึ้งเป็นชิ้นเป็นอัน  รีสอร์ทเริ่มเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ  ปี 2545 ก็น่าจะมีซักสิบกว่าแห่ง

คุณพลกฤษณ์ สุขเกษม

ทำไมสวนผึ้งเลี้ยงแกะ?  เดิมมีบ้านพักตากอากาศ  มีทุ่งหญ้า  ย้อนกลับไปว่ามีบ้านพักตากอากาศแต่ไม่มีรายได้  วัตถุประสงค์คือได้เงินด้วยแล้วก็สวยด้วย  เคยปลูกต้นหอมมาก่อน  ปลูก 45 วันกำไรแสนกว่าบาท  ต่อมาลงทุนอีกคราวนี้ขาดทุนสี่ห้าหมื่นบาท  เลยพบว่าในการทำการเกษตร  ไม่สามารถควบคุมดินฟ้าอากาศและควบคุมราคาพืชผลไม่ได้

เลยคิดเลี้ยงแกะไว้ดูเล่น  แต่คนผ่านไปผ่านมาก็หยุดดูกัน  จอดรถกันยาวเหยียดเลย  มีคนมานั่งปิกนิกกัน  คิดว่าน่าจะเป็นกิจการได้  เป็นการท่องเที่ยวได้เลยพัฒนาเป็นฟาร์ม  เพิ่มกิจกรรมต่างๆขึ้นมา  แล้วปิดรีสอร์ทไป

กลุ่มออฟโรด

บนเขากระโจมมีทะเลหมอก  มีเนินมหัศจรรย์  น้ำตกผาแดง  และเป็นจุดสูงสุดของเทือกเขาตะนาวศรี

ที่นี่มีปัญหาเรื่องน้ำ  มีการพบปะพูดคุยกันหลายครั้ง  แต่ก็ไม่มีข้อสรุป  แต่ป่าไม่เหมือนเดิม  ป่าเปลี่ยนแปลงไป

คุณอดิศัย หงษ์เหิรสถิตย์

หงษ์เหิรอยู่ลำน้ำภาชี  มีปัญหาน้ำป่าทุกปี  แต่เรารับมือได้ตลอด  พวกที่มีปัญหาเพราะไม่รู้ทำเล  เลยเสียหาย

เดิมมีน้ำใช้ตลอดปี  แต่ปัจจุบันเดือนมีนาคม  เมษายนน้ำจะแห้ง  มีน้ำใช้แค่อาทิตย์ละ 2 วันคือวันอังคารกับวันพฤหัสฯ   ส่วนราชการบอกว่าวันเสาร์อาทิตย์ก็ไม่เปิดเขื่อน  จะเปิดให้เฉพาะเกษตรกรใช้  คุยกันก็รับเรื่อง  แล้วก็เงียบหายไปเหมือนเดิม  8 ปี เปลี่ยนนายอำเภอไป  5 คน  แต่ก็ยังเหมือนเดิม

นอกจากเรื่องน้ำ  ยังมีปัญหาเรื่องที่ดิน เดิมเราเสียภาษี ภบท.5  ไปทำเรื่องที่ที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง  ก็คิดว่า ภบท.5 ที่สวนผึ่งคงเหมือน ภบท.5 ที่ประจวบฯ ที่มีอยู่  มี สค.1

ในปี 45-46 ก็เริ่มมีข่าวว่าที่นี่เป็นที่ราชพัสดุ  ต้องเช่า  แล้วก็เงียบไป

ปี 48 ก็มีการรณรงค์ว่าช่วยเช่ากันหน่อย  ใครไม่เช่าก็จะเป็นผู้บุกรุก  ใครเช่าก็จะเป็นพลเมืองดีคือเป็นคนที่ไม่มีเจตนาบุกรุก  พอเริ่มมีรีสอร์ทเกิดขึ้นเยอะๆก็กลายเป็นเรืองใหญ่เรื่องโตไป  สรุปเรื่องของรีสอร์ท  ในฐานะที่อยู่ชมรมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว  ยืนยันได้ว่ามากกว่า 70% ได้ก่อสร้างในที่ที่ชาวบ้านทำกินกันมาก่อนแล้ว  ที่มีปัญหาคือ 30% ที่ไม่ทำในพื้นที่มีความลาดเอียงสูงบ้าง   เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านไม่ได้ทำกินนานมากหรือไม่ได้ทำเลย  ซึ่งแต่ละแห่งต้องพิสูจน์กันเอง  เราก็ได้รับเกียรติเป็นผู้บุกรุกที่ราชพัสดุไป

คุณพลกฤษณ์ สุขเกษม

ผู้ประกอบการในยุคแรกๆที่มาสวนผึ้งคงไม่ต้องบุกรุกอะไรกัน  ในยุคแรกๆมี่ที่ทำไร่ทำสวนกันเยอะมาก  อยู่ติดถนน  อยู่ใกล้ถนน  ขับรถผ่านมาเห็นชาวบ้านทำกินก็ไปถามว่าที่ตรงนี้ขายได้มั๊ย  ทำอะไรได้มั๊ย?

ในยุคหลังๆมา  เนื่องจากที่ที่อยู่ในพื้นที่ราบหรือใกล้ถนนหมด  ที่ไม่พอเพียงกันก็เลยต้องเริ่มหา choice ใหม่  ก็คือต้องขึ้นไปอยู่บนภูเขา  ตอนหลังๆเลยมีเรื่องของการขึ้นภูเขาเยอะ  พวกเราก็ไม่เห็นด้วย  ภูเขาที่เห็นเขียวๆก็ไม่ใช่ป่าเหมือนเดิม  แต่เป็นป่าไผ่  ป่าโล้นไปตั้งนานแล้วก่อนที่รีสอร์ทจะเข้ามาด้วยซ้ำ

คุณวิเชียร คุตตวัส

หลังจากป่าถูกโค่น  เวลาจะฟื้นจะเริ่มมีต้นสาบเสือก่อน เสร็จแล้วจะเป็นกล้วย  จากกล้วยก็จะเป็นไผ่  แล้วถึงจะเป็นไม้โต  ไม้ยืนต้น  ไม้เบญจพรรณ  ภูเขาที่เห็นแถวนี้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไผ่  แสดงว่าป่าเริ่มฟื้น  ทิ้งไว้อีก 5 ปี 10 ปีต้นไม้ใหญ่จะเริ่มขึ้น  ที่สำคัญคือต้องไม่มีใครไปบุกรุกต่อ

เขากระโจมมีปัญหา  จะสามารถต่อต้านไม่ให้มีรถกระเช้าขึ้นไปอย่างที่ภูกระดึงพยายามจะทำได้ไหม? นักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามา  เสาร์อาทิตย์รถติด  แล้วจะรักษาธรรมชาติที่นี่ไว้ได้ไหม?

กลุ่มออฟโรด

พวกเราอยู่ในพื้นที่ก็เป็นคนเล็กๆ  แต่ก็พยายามอนุรักษ์กันตลอดเวลาจะต่อต้านไม่ให้มีการทำถนนหนทางที่จะขึ้นไป  เป็นการทำลายธรรมชาติ  แต่บางส่วนก็มีความจำเป็นภาครัฐ เขากระโจมก็มีส่วนในเรื่องความมั่นคงด้วย  การจะรักษาไว้ก็ต้องใช้นโยบายในเชิงรุก ถ้าคนน้อยก็ต้องมีอาสาสมัครช่วยดูแลพื้นที่  จะได้ดูแลกันได้

…………

มีคนพูดว่า  มีเชียงคาน  ปาย  และสวนผึ้งเป็นที่ที่ควรไปเที่ยวก่อนตาย

สื่อที่ช่วยประชาสัมพันธ์ก็สร้างปัญหาเหมือนกัน  ที่บ่งแห่งก็เหมาะกับคนบางพวก  บางคนไปแล้วไม่ชอบก็มี  เสน่ห์ของสวนผึ้งอยู่ที่อากาศ  เงียบ  สงบ  ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 200 กม. สวนผึ้งควรจะเป็นเมืองเล็กๆ  ไม่มีแสง สี เสียง  เพราะเสน่ห์จะน้อยลง

ธุรกิจกับคนพื้นที่  หมู่บ้านนี้มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 780 คน  แสดงว่าน่าจะมีคนไทยอยู่ประมาณ 1500 คนและมีชนเผ่าอีกประมาณ 2,000 คน  มี 19 รีสอร์ท  ไม่มีคนตกงาน  รีสอร์ทต้องรับสมัครคนทำงานตลอด

Post to Facebook Facebook


พูดคุยกับอาจารย์จิราพร บุนนาค

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 28 สิงหาคม 2011 เวลา 22:25 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1938

หลังการบรรยายของอาจารย์จิราพร  อาจารย์ก็เปิดโอกาสให้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็น

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

แรงงานต่างชาติมีปัญหา  วัฒนธรรมไทยเราอาจให้ความสำคัญของความกตัญญู  เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยเราก็ดูแล แต่เหมือนกินบนเรือน ขี้รดหลังคา  เรามีความรู้สึกแบบนี้  เป็นความเชื่อที่บรรพชนเราสร้างไว้  สำหรับเรื่องรั้วชายแดนนี่  ถ้าเรามองย้อนไปที่มาเลเซีย  มาเลเซียก็มีรั้ว  แต่ไม่มีปรากฏการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชน  อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตอีกอันนึง

ถ้าเราย้อนไปประเด็นในเรื่องของกรณีความขัดแย้ง  ในเรื่องของ นปช. เหตุการณ์วันที่ 10 หรือเหตุการณ์วันที่ 27   ผมคิดว่ามันเป็นปลายเหตุของขบวนการที่เกิดขึ้นของความขัดแย้ง  ถ้าถามว่าวันนี้สังคมไทยยังมีความขัดแย้งมั๊ย?   ทุกคนตอบเหมือนกันว่ามี   แต่ถามว่าทำไมความขัดแย้งที่มันมีอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่มีความรุนแรง  ตรงนี้หลักสูตรเราควรจะศึกษาว่าทำไมความขัดแย้งที่ยังมีอยู่  ทำไมถึงสามารถควบคุมได้และไม่พัฒนาไปสู่ความรุนแรง  ในมิติที่ท่านอาจารย์นำเสนอเป็นมิติที่เกิดความรุนแรงแล้วใช้สันติวิธีเข้าไปแก้  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีความขัดแย้ง  แต่ปัจจุบันจะทำอย่างไรให้ภาพแบบนี้มันดำรงอยู่

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์อีกประการหนึ่งที่บอกว่า มิติความมั่นคงกับมิติทางเศรษฐกิจ   มิติทางสิทธิเสรีภาพและมิติทางชุมชน  มิติทางประชาสังคมนั้น  เป็นมิติที่ไม่มีใครเหนือใคร  ถูกต้องครับ  ท่านอาจจะไม่ได้ใช้คำพูดนี้   มิติพวกนี้เราจะทำอย่างไรให้มันเดินไปเป็นหน้ากระดานที่พร้อมๆกัน    เพื่อหาดุลภาพของความพอดี  ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางสภาความมั่นคงซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำหนดนโยบายด้านความมั่นคง  ต้องปรับบทบาทของตัวเอง

ผมคิดว่างานความมั่นคงวันนี้  ความมั่นคงทางทหาร  มิติด้านความมั่นคงของมนุษย์มันถูกกระจายไปหมด  บทบาทของสภาความมั่นคงอาจจะต้องเป็นแค่บูรณาการด้านความมั่นคง  แทนที่จะเป็นคนควบคุมหรือกำกับดูแลงานด้านความมั่นคง  เพราะไม่งั้นแล้ว  ข้าราชการที่อยู่ในสภาความมั่นคงที่มีอยู่แค่หยิบมือคงไม่มีทางที่จะทำงานด้านความมั่นคงได้ทุกมิติตามที่อาจารย์ได้นำเสนอมา

โครงสร้างของหน่วยงานด้านความมั่นคงต้องเปลี่ยนอย่างแน่นอน  ต้องเปลี่ยนเป็นแนวราบมากขึ้น  แต่ไม่ได้หมายความว่าทิ้งในแนวดิ่ง  เพราะถ้ารัฐยังให้ความสำคัญของโครงสร้างอำนาจและทางกฏหมายจะเป็นสิ่งที่อันตรายมาก  ผมเชื่อว่าบางสิ่งบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมีกฏหมายเลย อาจจะแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าการใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือ  การบูรณาการงานด้านความมั่นคงะจในยุคใหม่จะมีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

อาจารย์จิราพร บุนนาค

ดิฉันคิดว่าดิฉันพูดเยอะมากเกี่ยวกับประเด็นการใช้สันติวิธีในการป้องกัน  ไม่ให้ปัญหาความขัดแย้งแปรเปลี่ยนไปเป็นความรุนแรง  แต่ท่านกลับบอกว่าดิฉันไม่ได้พูดเลย  เรืองของสภาความมั่นคงก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้   อยากฝากช่วยอ่านอะไรบางอย่างที่เป็นบทกลอนของ African Kids เป็นเด็กๆแอฟริกันที่เขาเขียนส่งไปประกวดที่สหประชาชาติ และได้รับรางวัลชนะเลิศของสหประชาชาติในปี 2006   บทความนี้มีคุณค่าสำหรับชาวโลก

When I born, I black เมื่อผมเกิด  ผมผิวดำ

When I grow up, I black           เมื่อผมโตขึ้น  ผมก็ยังผิวดำอยู่

When I go in sun, I black          เมื่อผมอยู่ใต้แสงแดด  ผมก็ยังคงผิวดำ

When I scared, I black             เมื่อผมกลัว  ผมก็ผิวดำ

When I sick, I black                 เมื่อผมป่วย ผมก็ยังผิวดำ

And when I die, I still black       และเมื่อผมตาย  ผมก็ยังผิวดำ

And you white fellow               และคุณ  เพื่อนมนุษย์ผิวขาว

When you born, you pink         เมื่อแรกเกิด  คุณมีผิวสีชมพู

When you grow up, you white เมื่อคุณโตขึ้น  คุณมีผิวสีขาว

When you go in sun, you red เมื่อคุณอยู้ใต้แสงแดด  คุณมีผิวสีแดง

When you cold, you blue         เมื่อคุณหนาว  คุณมีผิวสีน้ำเงิน

When you scared, you yellow เมื่อคุณกลัว  คุณมีผิวสีเหลือง

When you sick, you green       เมื่อคุณป่วย  คุณมีผิวสีเขียว

And When you die, you grey    เมื่อคุณตาย  คุณมีผิวสีเทา

And you calling me colored ?? และคุณเรียกผมว่า  คนผิวสี ??

ลองเอาไปคิดดูว่ามันมีนัย  มีความสำคัญอะไร??

พี่สามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส  มากล่าวขอบคุณอาจารย์  สรุปว่า  เจอของจริง

Post to Facebook Facebook


สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ (3)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 27 สิงหาคม 2011 เวลา 22:21 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1791

19 สิงหาคม 2554   9.30-12.30 น.

อาจารย์จิราพร บุนนาค

อยากให้รับทราบปัญหา  สถานการณ์ที่ถูกต้อง  แล้วจะนำไปสู่การเลือกการแก้ปัญหา  จะใช้ความรุนแรงหรือสันติวิธี

ปี พ.ศ. 2550 มีการประเมินสถานการณ์  ในอนาคน 5 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น  โดยอาศัยข้อมูลจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ  และเครือข่ายข่าวกรอง  และฟังจากทุกภาคส่วน  ให้ความสำคัญกับข้อมูล  ความจริง  ความเห็น  และปัญหาของทุกฝ่ายเท่าเทียมกัน

จากภาคประชาชนฐานราก  ในแต่ละปัญหาที่เกี่ยวข้อง  NGO, ภาคเอกชน, กลุ่มเด็ก เยาวชน, กลุ่มสตรี, ผู้นำชุมชน, ผู้นำท้องถิ่น, นักการเมือง, ผู้นำศาสนา,  ฟังคนชายขอบ, คนที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ  วัฒนธรรม,  แรงงานต่างชาติทั้งที่จดทะเบียนและลักลอบเข้ามา

ฟังและเห็นคุณค่าของคนที่มาพูดให้ฟัง เพื่อหาแนวทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ทำได้จริงในการแก้ปัญหา

คำนึงถึงผลประโยชน์ นโยบาย และยุทธศาสตร์แห่งชาติ  ต้องมีข้อมูลที่เป็นจริงและปฏิบัติได้จริง

ใช้การทำงานระบบเครือข่าย  ภาครัฐและนอกภาครัฐแบบมีส่วนร่วม  ถ้ากระบวนการการมีส่วนร่วมถูกต้อง  จะมีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วม  เท่าเทียม  มีความเป็นเจ้าของนโยบายและยินดีร่วมมือปฏิบัติตามนโยบาย

อุปสรรคไม่ได้อยู่ที่ภาคประชาชน  แต่อยู่ที่ภาครัฐ  ที่ติดอยู่กับวิธีคิดแนวดิ่ง  คือ อำนาจและการอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นต้นทุนของสังคมไทย

อำนาจและอุปถัมภ์ ถ้าใช้ด้วยความจริงใจ  ไม่มีผลประโยชน์ซ่อนเร้น  ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก  ก็จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน

แต่ถ้ามี Hidden Agenda อำนาจและอุปถัมภ์ก็๋จะเกิดจุดอ่อน

สังคมไทยยังไม่สามารถก้าวข้ามอำนาจและอุปถัมภ์

ใช้สันติวิธีเป็นแนวคิดในการทำงาน บทเรียนจากทั่วโลก ความขัดแย้งที่รุนแรงถึงตายไม่มีประเทศไหนจบได้ด้วยความรุนแรง  อาจารย์ยกตัวอย่างที่อัฟกานิสถาน พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา อาเซอร์ไบจาน แอฟริกา ไอร์แลนด์เหนือ

ความรุนแรงทั่วโลก  ไมีมีประเทศไหนจบได้ด้วยชัยชนะของกองกำลังทหาร  บทเรียนในประเทศ  การแก้ปัญหาด้วยอำนาจและการใช้กำลังก็ไม่เคยสำเร็จ

แนวทางสันติวิธีเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้น    เรื่องของผลประโยชน์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ  ที่ดิน  น้ำ  ทำให้เกิดความขัดแย้ง  แต่สันติวิธีจะทำให้เราอยู่ร่วมกับความเห็นต่างและความขัดแย้ง  สันติวิธีจะป้องกันความขัดแย้งไม่ให้แปรเปลี่ยนเป็นความรุนแรง

ทฤษฎีสันติวิธี  (ทหารอาจเข้าใจว่าสันติวิธี เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน  เพราะให้ทหารอยู่เฉยๆ)

  1. อำนาจ
  2. สันติวิธี ต้องทำ  ไม่ใช่อยู่เฉยๆ  ต้องไม่เกลียดชังกัน  มุ่งสู่ความเป็นธรรม
  3. ต้องอดทน  ยอมรับความทุกข์  การเสียหน้า

วิธีการ

  1. การประท้วงเชิงสัญญลักษณ์
  2. การไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐ
  3. วิธีการแทรกแซงทางตรง

สันติวิธีมี 2 บริบท

  1. เปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการเปลี่ยนใจ  ไม่ให้ใช้ความรุนแรง
  2. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ข้อจำกัดของสันติวิธี

  1. ขึ้นกับการเตรียมตัว เตรียมความพร้อม
  2. สันติวิธีก็อาจต้องเผชิญกับการใช้ความรุนแรงของฝ่ายตรงข้าม
  3. อาจไม่ประสบความสำเร็จ

การจัดการกับข้อจำกัด

1. การประเมินสัญญาณทีร่ส่งมาจากอีกฝ่ายหนึ่ง  หมายความว่าอย่างไร? 

กรณีหินกรูด  มีการประท้วง  ทางรัฐไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้อง  ประชาชนก็ไปบริจาคเลือดเก็บไว้ที่โรงพยาบาล  ถ้ามองมุมลบ  ฝ่ายประท้วงเตรียมใช้ความรุนแรง  แต่ถ้ามองมุมบวก  การข่าวดี มีประสิทธิภาพก็จะทราบว่าไม่ได้เตรียมไว้ใช้ความรุนแรง  อาจจะมีความรุนแรงจึงเตรียมไว้

หรือกรณีอำเภอจะนะ สงชลา  การที่ประชาชน นั่งรถมามีไม้ปลายแหลมผูกผ้าสีแดง  ทางรัฐประเมินสัญญาณว่าเป็นการเตรียมใช้ความรุนแรง  เลยสลายการชุมนุม  แต่ประชาชนอาจไม่คิดแบบนี้

2. ข้อขัดแย้งที่จะนำไปสู่ความรุนแรง  เหตุผลใช้ไม่ได้  เพราะข้อมูลที่แต่ละฝ่ายมีเป็นข้อมูลคนละชุด  ความจริงที่รับรู้  สะสมของแต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน  ไม่เหมือนกัน  การแก้ที่ต้นเหตุคือการทำให้รับรู้ความจริงชุดเดียวกัน  ต้องพิสูจน์ความจริง  ใช้กลไกของนิติวิทยาศาสตร์  ให้คนยอมรับร่วมกันให้ได้

3. ความเชื่อ  “ความเชื่ออยู่เหนือความจริง”  ทำให้แก้ปัญหายากขึ้น  เช่นประเด็นทางการเมือง  คนเสื้อแดง (นปช.) ที่รับรู้สะสมจนกลายเป็นความเชื่อเรื่องสถาบันสูงสุดก็เป็นส่วนหนึ่ง  ความเชื่อเรื่องทหารและรัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ ทำอะไรกับคนเสื้อแดงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ส่วนคนเสื้อเหลืองก็จะมีความเชื่อต่างกันออกไป  ทำให้การพูดคุยทำได้ยาก  เพราะความเชื่อ  ความจริงเป็นคนละชุด 

ดังนั้นเวลาเกิดปัญหาขึ้นมา  เมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้น  ต้องแก้ที่ตัวคน  แก้ที่ความเชื่อ  วิธีคิด  แก้ด้วยความจริง  เป็นสิ่งสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป

เป็นส่วนที่ลึกมาก  ปกติคนจะมองแค่สถานการณ์  เหตุการณ์ซึ่งเป็นแค่ผิวหน้าของสถานการณ์  เบื้องหลังยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง  กฏหมายที่ไม่เป็นธรรม  ระบบ  วิธีแก้ปัญหาที่ทำให้มีความรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม

ส่วนที่ลึกที่สุดเป็นมิติทางวัฒนธรรม  วิถีชีวิต  วิธีคิด  ความรู้สึก  อารมณ์ 

การพูดคุยด้วยความจริงใจ  ในกรณีที่ความเชื่อ  ความจริงแตกต่างกัน  ความบริสุทธิใจ  ความจริงใจ  ความเท่าเทียมกัน  จะสร้างความรู้สึก  บรรยากาศที่เป็นพวกเดียวกัน 

การให้เกียรติกัน  เห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน  จะเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเชื่อกัน

ถ้ารัฐเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน  รัฐต้องเป็นฝ่ายให้เกียรติ  ให้ความเสมอภาค  ความเท่าเทียม

คนที่เหนือกว่า คนที่มีอำนาจต้องเริ่มก่อน  ให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรมถึงความจริงใจ

ตอนที่ นปช. และรัฐบาลอภิสิทธิ์คุยกัน  ลึกๆที่พบคือรัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญในความรู้สึกและอารมณ์

ในบรรยากาศแบบนี้เหตุผลใช้ไม่ได้  ต้องให้ความสำคัญที่ความรู้สึกและอารมณ์

win-win ไม่ใช่การพบกันครึ่งทาง  ที่สำคัญของ win-win คือ win-win ในความรู้สึกและอารมณ์  เกิดความพอใจเพราะให้เกียรติ เคารพ  เห็นคุณค่า  ให้ความเท่าเทียม  คนที่ให้อาจมีความรู้สึกว่าชนะ  ไม่ดูแค่ผิวหน้าของสถานการณ์ขณะนั้น

เวลาเผชิญหน้ากับความรุนแรง  สิ่งที่พบเสมอคือความไม่ไว้ใจกันมีสูงมาก 

ทหารใช้กฏหมายพิเศษจัดการด้วยความรุนแรงเพราะปัญหามีชายชุดดำ  แต่ นปช. ก็เห็นว่ามีชายชุดดำในอีกฝ่ายหนึ่ง  ประเมินในเชิงลบ  ก็จะไม่ไว้ใจ  จะใช้ความรุนแรงก่อนเพื่อป้องกัน

หัวหน้าการ์ด นปช. ก็มีปัญหากับเสธ. แดง  ไม่ให้ดลุ่มของเสธ. แดงเข้ามาใช้ความรุนแรง

วันที่ 10 เมษายน  มี ฮ. ทหารทิ้งก๊าซน้ำตาลงมาที่ฝูงชน  ทำให้มีคนบาดเจ็บ  เป็นความรุนแรงที่คาดไม่ถึง

ทหารก็มองว่าการเสียชีวิตของ พันเอกร่มเกล้า  ก็เป็นความรุนแรงที่คาดไม่ถึง

มองย้อนกลับไป  เหตุความรุนแรงคือการมองภาพลบของงานการข่าว

นปช. ไม่มีทีมหาข่าว  แต่ได้ข่าวจากทหารแตงโมกับตำรวจมะเขือเทศ  แล้วก็เชื่อเพราะข่าวจะเป็นความจริงทุกครั้ง จึงรู้สึกว่า ทหารและตำรวจส่วนหนึ่งเข้าใจความทุกข์ยาก และเป็นพวกเดียวกับ นปช.  เป็ความคิดที่เป็นอิสระของคนทุกกลุ่มทุกฝ่าย  ยังมีสิ่งที่หล่อหลอมความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน  แก้ไขปัญหาร่วมกันได้

ภาครัฐและภาคประชาสังคมต้องทราบผลที่จะเกิดขึ้นจากการไม่เห็นผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ

กรณี วิชชุกร ถามอาจารย์ศิระชัย เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการพูดกันเรื่องนี้  เรื่องสถาบันฯ เป็นเรื่องที่ต้องดูแล  กลุ่มคนหรือหน่วยงานที่ต้องดูแลปกป้องคือทหาร  ต้องเริ่มจากยอมรับความจริง

ปัจจุบันสังคมไทยคิดกันหลากหลาย  ทั้งวัยที่ต่างกัน  วัยรุ่น  วัยกลางคน  ผู้สูงอายุ  แต่ละกลุ่มมองอย่างไร?

เวลาที่ทหารทำหน้าที่ปกป้องสถาบันฯ ทำแบบ รปภ. เฝ้าธนาคาร ?

ลืมไปหรือเปล่าว่า  ถึงได้เงินไป ธนาคารก็ไม่มีวันเจ๊ง  แต่ธนาคารจะเจ๊งเพราะคนไม่ฝากเงิน  พากันถอนเงินหมด  เพราะอะไร?  เพราะความเชื่อถือ ศรัทธาของประชาชนต่อสถาบัน  ทหารต้องทำให้ประชาชนเกิดความศรัทธา เชื่อถือต่อสถาบัน

ความไม่ไว้วางใจกันทำให้มองไม่เห็นทางออก  ประเมินในทางลบ  ทำให้ใช้กำลัง  การประเมินลบ  อคติ  ทำให้การตีความ  การสื่อสารไม่ตรงกับความเป็นจริง  ทำให้ตัดสินใจผิด  นำไปสู่การใช้ความรุนแรง

ทุกเรื่องจะมาเชื่อมโยงกับการประเมินสัญญาณ  การสื่อสารที่ผิดปกติ  การสื่อสารทางเดียว  ข้อมูลไม่เพียงพอ  ไม่ทันเวลา  ทำให้นำไปสู่ความรุนแรง

ถ้าเผชิญหน้า การประเมินสัญญาณเป็นลบ  รู้สึกว่าไม่เป็นพวกเดียวกัน  อยากเอาชนะก็จะนำไปสู่ความรุนแรงได้

การมองเห็นสัญญาณที่เป็นจริง  การปรับเปลี่ยนท่าทีที่ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ  จะช่วยลดเงื่อนไขความเข้าใจไม่ตรงกัน  ต้องเริ่มจากภาครัฐ  ไม่ใช่จากประชาชน  เรื่องอัตลักษณ์ก็มีความสำคัญ  ประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวด 

กรณีความมั่นคงกับแรงงานต่างชาติ  เราใช้ประโยชน์จากแรงงานต่างชาติ ต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม  ความเป็นธรรม  สิทธิเสรีภาพ  ต้องดูแลกรณีเจ็บป่วย  ตั้งท้อง  การศึกษา  ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน 

ต้นทุนสังคมไทยที่เคยมีความเมตตาต่อผู้คนมาก่อน  กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้าใจเรื่องพวกนี้  เพราะถ้าเราปฏิบัติไม่ดีจะมีผลกระทบกับคนไทย

ในต่างชาติ  กรณีเผาสถานทูตไทยและห้างร้านของคนไทยในกรุงพนมเปญ  ที่ประเทศลาว คนลาวคิดอย่างไร? คำตอบคือ  สะใจ  โดนซะมั่งก็ดี !!!!!  มีการรับรู้ข้อมูลจากแรงงานต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทย  คนไทยชอบข่ม  ทั้งการกระทำ  การใช้วาจาที่ตอกย้ำความเจ็บปวด  ทั้งคนลาว  พม่า กัมพูชา  ก็มีความรู้สึกเช่นนี้ 

 

 

Post to Facebook Facebook


เสวนากับอาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 27 สิงหาคม 2011 เวลา 19:14 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3240

สันติวิธีกับความมั่นคงของชาติในมิติใหม่

19 สิงหาคม 2554

สุวิมล เทวะศิลชัยกุล

สุวิมล1

รองผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ  สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)

ICT  และ Social Network เป็นปัญหาในอนาคต  ได้มีการจัดตั้ง Cyber Scout ดูแลเว็บที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  คงจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะขยายตัวเป็นกองทัพไซเบอร์ต่อไปในอนาคต

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

เป็นเรื่องที่ดีที่มีเจ้าภาพ  ความมั่นคงในมิติใหม่มีทั้งภัยจากธรรมชาติและภัยจากมนุษย์  จากทหารและที่ไม่ใช่จากทางการทหาร

ความมั่นคงไม่ใช่เรื่องของรัฐอีกต่อไปต้องให้ประชาชนมามีส่วนร่วม

อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

สนใจเรื่องการเปลี่ยนดุลอำนาจ  เรื่องอาวุธนิวเคลียร์  จีนมี  ปากีสถานมี  เกาหลีเหนือและอิหร่านกำลังพัฒนา  ทำไมมหาอำนาจมีได้  แต่ประเทศใหม่มีไม่ได้  ถ้าอยากมีก็เป็นผู้ก่อการร้าย

ดุลอำนาจ  ประเทศบางประเทศถูกกดขี่  ถูกข่มเหง  ถูกคุกคาม  อเมริกาสามารถจะชี้ให้ประเทศไหนเป็นเป็นประเทศก่อการร้ายก็ได้  กรณีอิรักก็ไปยึดเพื่อแหล่งพลังงาน

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

มหาอำนาจทำอะไรไม่ผิด  ถ้าสงสัยไปดูข้อแรก

ประเทศเราเป็นประเทศเล็กๆ  ถ้าอยากต่อรองกับมหาอำนาจ  ต้องทำอาเซียนให้เข้มแข็ง

มหาอำนาจมีนิวเคลียร์แล้ว  ที่ต้องห้ามปรามประเทศอื่นๆไม่ให้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธชีวภาพ  เพราะเกรงปัญหาวุฒิภาวะของผู้นำประเทศต่างๆเหล่านั้น  ในแง่ของการยับยั้งชั่งใจ  เป็นมุมมองและวิธีคิดของประเทศมหาอำนาจ  ในข้อเท็จจริงอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธชีวภาพก็เป็นอันตรายมาก

ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง  ถ้าพัฒนาแล้วเกิดภัยธรรมชาติจะเป็นอย่างไร?

พม่าก็สนใจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ้าสนใจพัฒนาต่อเป็นอาวุธนิวเคลียร์จะเกิดอะไรขึ้น ?

มองต่างมุมกันได้ตลอดเวลา

วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัทการบินไทย จำกัด

หลายครั้งที่รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายผิดพลาด  สงครามเวียตนาม  ไปร่วมกับสหรัฐอเมริกาเต็มตัว

กรณีพม่าก็ไปร่วมกับสหรัฐอเมริกา  ทำให้เกิดปัญหา

กรณีรัฐบาลปัจจุบัน  ขณะที่มีภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  การสนับสนุนบุคคลที่มีหลักฐานชัดเจนว่าคุกคามสถาบันเป็นการดำเนินการที่ผิดกับหลักการของความมั่นคงหรือไม่ ?

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

ขอไม่พูดถึงตัวบุคคล  ในแง่หลักการ  อยากให้สังคมเข้าใจว่ากลุ่มคนที่คิดไม่ดีกับสถาบันแบ่งเป็น

  1. กลุ่มที่ไม่เอาสถาบัน มีมานานแล้ว  แต่ยุคนี้เป็นยุคไซเบอร์ เลยขยายตัว กลุ่มที่ไม่เอาด้วยเพราะหลักวิชา  เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย  เป็นกลุ่มนักวิชาการ  เป็นสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ  แต่ถ้าเกินขอบเขตของวิชาการก็จะถูกดำเนินคดี  แต่ถ้าเป็นการติเพื่อก่อ  เพราะความจงรักภักดีก็เป็นสิทธิทางวิชาการ
  2. กลุ่มที่แอบอ้างสถาบันและหาผลประโยชน์จากสถาบัน และกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองโดยอ้างความจงรักภักดี  คนที่พยายามจะช่วยชี้แจงกลับทำให้เป็นโทษ เป็นลบ  จริงๆแล้วก็แค่ชี้แจงข้อเท็จจริงก็เพียงพอแล้ว
  3. กลุ่มที่คล้อยตามด้วยอารมณ์ เป็นกลุ่มวัยรุ่น  ที่เป็นลูกศิษย์ของนักวิชาการ  ท่องเว็บไซต์  ไม่มีภูมิต้านทาน  ก็เลยเชื่อเป็นตุเป็นตะ  มีหลายคนที่ไม่เข้าใจ  มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  แต่ถ้ามีการชี้แจง  มีการให้ข้อเท็จจริงก็จะเข้าใจและสำนึกผิด  แต่ก็มีบางคนที่หลงไหล  ติดอยู่ในโลกสมมติ

กรณีที่ว่าเป็นบุคคลที่คุกคามสถาบัน  หมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็คงต้องรอให้ศาลตัดสิน  ปัจจุบันสังคมก็ดีขึ้น  ยอมรับการเลือกตั้ง  ควรรอศาล

วิชชุกร คำจันทร์

ที่ถามหมายความว่า  ถ้าเห็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง  ขัดกับหลักของความมั่นคง  คนในวงการความมั่นคงจะทำอย่างไร?

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

ก็ทำหน้าที่ของตัวเอง  ทำตัวเป็นมืออาชีพ  ทำแบบที่มืออาชีพควรทำ

วิชชุกร คำจันทร์

ถ้ารัฐบาลไม่เชื่อ  ยิ่งทำผิดล่ะครับ

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์

ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน

Post to Facebook Facebook


สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 27 สิงหาคม 2011 เวลา 18:26 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1934

อ.ศิระชัย โชติรัตน์

“ งานข่าวกรอง  งานด้านความมั่นคง  การสันติวิธี  ไม่ใช่ของเล่นๆ  ไม่ใช่ใครก็ทำได้  ต้องมีความเป็นมืออาชีพ จรรยาบรรณ ต้องฝึกฝนกันมาเป็นสิบๆปี  ต้องแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวมได้ ”

ต้องมีความเข้าใจในเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ  วัตถุประสงค์แห่งชาติ  นโยบายชาติ  และยุทธศาสตร์ชาติ

หันมาดูเมืองไทยบ้าง  ปัจจุบันประเทศไทยเรามีปัญหาหลักๆอยู่ 6 ปัญหา คือ

  1. ภัยคุกคามต่อสถาบันหลักของชาติ
  2. การแตกแยกทางความคิดของคนในชาติ
  3. ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  4. ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ
  5. ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
  6. อาเซียน 2558  หรือ  Asian 2015

ภัยคุกคามต่อสถาบันหลักของชาติ

ตั้งแต่สถาบันสูงสุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์  ไม่เคยถูกกระทบกระเทือนขนาดอย่างเช่นปัจจุบันนี้

สถาบันนิติบัญญัติก็ขาดความเชื่อถือจากประชาชน  ตัวชี้วัดก็คือมีการเล่นการเมืองนอกสภา   สถาบันบริหาร  รัฐบาลที่ทำหน้าที่บริหารก็เข้าได้บางพื้นที่  บางพื้นที่ก็เข้าไปไม่ได้  และสถาบันตุลาการก็มีปัญหาจนเกิดคำว่า “สองมาตรฐาน”   สถาบันหลักของชาติที่เคยค้ำชูสังคมให้อยู่รอดปลอดภัยมาโดยตลอดเสื่อมถอยลง  เกิดผลกระทบอย่างมากมาย  เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข

การแตกแยกทางความคิดของคนในชาติ

เกิดการแตกแยกทางความคิดของคนในชาติทั้งแนวราบและแนวดิ่ง  เป็นความขัดแย้งทางการเมือง  อิทธิพลของสื่อบางประเภทก็มีส่วนกระพือ  การใช้เสรีภาพเกินขอบเขต  และการขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฏหมาย

ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

ไม่มีแนวโน้มที่จะยุติในเวลาอันสั้น  ยังไม่สามารถให้คำตอบว่าปัญหานี้จะจบได้ภายในระยะเวลากี่ปี  รอบสองตั้งแต่ปี 2548  ไม่ใช่ปัญหาของการใช้กำลังแล้ว  มันลึกลงไปถึงระดับความคิด  เราเติบโตมาในช่วงเวลาที่สอนให้เราเกลียดพม่า  ไม่สามารถตอบได้ว่าจะเลิกเกลียดพม่าเมื่อไหร่?  ปัญหาภาคใต้  คงต้องมีกระบวนการอีกหลายอย่างและยังคงต้องใช้เวลา  และไม่มีสูตรสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเพราะต้องเป็นไปตามความต้องการของประชาชน  ความต้องการของประชาชนคือคำตอบ

มีผู้รู้  มีคณะกรรมการ  คณะทำงาน  มีคนหลายกลุ่ม  แต่ก็คงไม่มีกลุ่มไหนแสดงออกถึงความต้องการของพี่น้องประชาชนที่ชัดเจนได้  ที่แสดงออกมาก็เห็นจะมีการที่ประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ออกมาใช้สิทธิในการเลือกตั้ง 70-80%  แปลว่าพี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังยอมรับรัฐธรรมนูญ ? ยังยอมรับระบบการปกครองใช่ไหม?  ไม่ต้องการที่จะแยกตัวออกไปใช่ไหม? สะท้อนอะไร?  แต่ก็ยังคงสรุปอะไรไม่ได้  ปัญหามันซับซ้อมมาก  อย่าเพิ่งไปประกาศว่าจะแก้ด้วยวิธีนั้น  วิธีนี้

ในสถานการณ์ที่ยืดเยื้ออยู่นี้มีโอกาสที่จะถูกแสวงหาประโยชน์จากกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศได้  เผอิญจุดยืนและแนวคิดของกลุ่มในภาคใต้กับการก่อการร้ายสากลยังไม่ค่อยจะสอดคล้องกัน  กลุ่มก่อการร้ายสากลต้องการต่อสู้กับตะวันตกและก่อตั้งรัฐอิสลาม  จึงควรจะรีบยุติปัญหา  ไม่ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อต่อไป

ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ

ปัญหายาเสพติดที่กำลังลุกลามและเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ

มีปัญาการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน  ไทยเรากำลังถูกนานาชาติเพ่งเล็งเกี่ยวกับการเอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างชาติโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว  เดิมก็มีรัสเซีย  เกาหลี

ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

โดยสรุปกัมพูชายังเปราะบาง  อาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น  แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับปํญหากัมพูชาจะต้องละเอียด รอบคอบ

พม่า เหตุการณ์ก็ยังปกติแต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงเรื่องชายแดนทั้งทางบกและทางแม่น้ำ  และความไม่สบายใจของพม่าเกี่ยวกับเรื่องชนกลุ่มน้อยที่พม่ายังระแวงว่าเรายังแอบช่วย  แต่เราก็ได้แสดงจุดยืนเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเรื่องนี้อย่างชัดเจน

ลาว  เป็นประเทศเดียวที่ความสัมพันธ์ค่อนข้างดีและมีแนวโน้มจะดีขึ้นเรื่อยๆ

มาเลเซียก็ดี  แต่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยเฉพาะในระดับเวทีโลก  แต่เท่าที่สัมผัสก็มีความรู้สึกว่าทางมาเลเซียค่อนข้างจะจริงใจกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย  แต่การที่มาเลเซียเป็นประเทศอิสลามจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้

อาเซียน 2558 หรือ Asian 2015

จะมีผลกระทบต่อไทยอย่างมาก  ทั้งด้านบวกคือจะเกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกอย่างใกล้ชิด  มีการเคลื่อนย้ายการลงทุนและทำให้กลุ่มมีอำนาจต่อรองทางการเมืองในเวทีโลกทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ

ด้านลบ  มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน  ขนาดยังไม่ถึงอาเซียน 2558 ก็ลักลอบเข้ามากันแล้ว  ในอนาคตก็คงทะลักเข้ามา    การระบาดของโรคทั้งคนทั้งสัตว์จากการอพยพของแรงงาน  อาชญากรรมข้ามชาติเพราะมีช่องว่างของกฏหมายระหว่างประเทศ การหลั่งไหลของสินค้าราคาถูก

สุดท้ายที่อยากจะพูดก็เป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราขดำรัส  ให้แก่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่  เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554    ขอยกพระราชดำรัสมาอธิบายให้พวกเราซึ่งเป็นนักศึกษาความมั่นคงฟังว่า  เป็นสุดยอดในการชี้ให้เห็นยุทธศาสตร์ที่มีครบทั้งสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์   พูดถึงผลประโยชน์แห่งชาติ  พูดถึงวัตถุประสงค์แห่งชาติ  พูดถึงนโยบายแห่งชาติ  พูดถึงยุทธศาสตร์แห่งชาติ

สภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ ทรงชี้ให้รัฐบาลและประชาชนต้องรับทราบว่า  ประเทศเรากำลังเผชิญกับสภาวะแวดล้อมของโลกที่กำลังยุ่งยากและสับสน  จากปัญหาและภัยที่หลากหลายรูปแบบรวมทั้งปัญหาภายในประเทศ พระองค์ท่านสรุปว่า  มันยุ่งยากและสับสน

ในสภาวะแบบนี้ผลประโยชน์ของชาติที่มีความสำคัญในขณะนี้คือความมั่งคั่งรุ่งเรืองและความมีเสถียรภาพ (Prosperity, stability)  รัฐบาลต้องทำให้ประเทศมีความรุ่งเรือง  มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ

วัตถุประสงค์แห่งชาติที่จะทำให้ประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองภายใต้ความสับสนวุ่นวายนั้น  ท่านทรงแนะว่า ให้มุ่งไปที่การสร้างบ้านเมืองให้สงบและมีสันติสุข  พระองค์ท่านใช้คำว่า  ทำให้บ้านเมืองนี้เป็นบ้านเมืองที่น่าอยู่   จะใช้สันติวิธีหรือวิธีใดๆก็ได้สร้างสังคมสันติสุข  การสร้างสังคมสันติสุขให้เกิดขึ้นเป็นทางรอดสำหรับโลกที่สับสนวุ่นวาย

นโยบายชาติ จะทำให้ประเทศน่าอยู่ภายใต้ความสลับซับซ้อนก็คือทุกกลไก  ทุกภาคส่วน  ทุกคนต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด  ต้องไม่ Dysfunction  ต้อง well Function    ฝ่ายบริหารก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด  ฝ่ายนิติบัญญัติ  ฝ่ายตุลาการก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด  ภาคเอกชน  ภาคประชาชน  ภาคประชาสังคมก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด  ต้องกลับไปดูว่าตัวเองมีหน้าที่อะไรในสังคม

ยุทธศาสตร์ชาติ พวกเราที่เป็นชนชั้นนำทางสังคมต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี  หัวเรือหรือชนชั้นนำต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีในทุกๆด้าน  แล้วคนที่ระดับรองๆลงไปจะเอาเป็นตัวอย่าง  เมื่อทำดีกันทั้งประเทศ  การที่จะสร้างสังคมสันติสุขนั้นก็จะไม่เหลือบ่ากว่าแรง

พระราชดำรัสชี้ให้เห็นครบ สมบูรณ์แบบตามหลักการของวิชาการความมั่นคง

ประเทศเรามีผู้รู้   มีผู้มีประสบการณ์ทางด้านความมั่นคงที่หลากหลาย  แต่ต้องเลือกใช้แนวทางความมั่นคงที่แยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

Post to Facebook Facebook


สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ (1)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 27 สิงหาคม 2011 เวลา 15:59 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2403

อาจารย์ ศิระชัย โชติรัตน์

อาจารย์จิราพร บุนนาค

19 สิงหาคม 2554  9.30-12.30 น.

อาจารย์ศิระชัย โชติรัตน์ เป็นนักปฏิบัติด้านความมั่นคงมืออาชีพมายาวนานถึงเกือบ 40 ปี  อาจารย์พูดถึงปัญญาใหม่ๆทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ท้าทายเรา

ภาพรวมของสถานการณ์โลก

สภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังเป็นปัญหาท้าทายใหม่มีผลต่อสภาพแวดล้อมความมั่นคงภายในประเทศ  ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  เราจะใช้สันติวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร?

27-8-2554 9-20-39

ปัญหาเศรษฐกิจของอเมริกา ยุโรป  ที่มีผลกระทบไปทั่วโลก

แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น

การปฏิวัติภาคประชาชน ในตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาล ผ่าน Social Network

ปัญหาการก่อการร้ายที่ลุกลามไปทั่วโลก  การเสียชีวิตของ Osama Bin Laden คงจะทำให้เหตุการณ์สงบลงชั่วคราวเท่านั้น

ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้  การแย่งหมู่เกาะกันของจีน เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์  แถมมีอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ปัญหาโจรสลัดโซมาเลีย

ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ ในเกาหลีเหนือ อิหร่าน

ปัญหาวิกฤติพลังงานจากราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้นมาก

ปัญหาทั่วโลกเกิดจากธรรมชาติหรือเกิดจากมนุษย์  ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากมนุษย์  ที่เกิดจากธรรมชาติก็เช่นแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น  โรคระบาด น้ำท่วม ฯลฯ

สภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังเป็นปัญหาท้าทายใหม่ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศ ก็มี 7 ประการ

  • การเปลี่ยนแปลงของดุลอำนาจโลก
  • การเคลื่อนย้ายศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ
  • ความมั่นคงด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
  • สงครามในรูปแบบใหม่ที่เราจะเผชิญในอนาคต
  • การขยายตัวของอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธชีวภาพ
  • ภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ โดยเฉพาะอิทธิพลของสื่อที่เรียกว่า Social Network

ดุลอำนาจโลกและศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ

27-8-2554 10-00-09

ประเทศหัวรถจักร เดิมเป็นอเมริกาและประเทศในยุโรป  ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนมาเป็นมหาอำนาจที่เศรษฐกิจเติบโตสม่ำเสมอ เช่นจีน อินเดีย  รัสเซีย นักวิชาการสรุปว่าศูนย์อำนาจโลกกำลังเคลื่อนจาก Atlantic  มายัง Pacific  ซึ่งจะมีผลต่อการวางบทบาทของประเทศไทยในฐานะประเทศเล็กๆในโลกใบนี้

ดุลอำนาจทางเศรษฐกิจ  ก็มีการเคลื่อนย้าย From the “West” to the “Rest”  หรือมายัง BRIC ( Brazil Russia India  China)

จาก  กลุ่มประเทศ G-7 ซึ่งประกอบด้วย France, Germany, Italy, Japan, United Kindom Canada และ United State  มาเป็น  G-20 หรือ Group of Twenty ซึ่งประกอบด้วย South Africa, Canada, Mexico, USA, Argentina, Brazil, South Korea, China, Japan, India, Indonesia, Saudi Arabia, Russia, Turkey, European Union, France, Germany, Italy, United Kingdom และ Australia

จีนเริ่มมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้น  ทั้งเงินหยวนของจีนที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทมากกว่าเงินดอลล่าของอเมริกา  รวมทั้งภาษาจีน

27-8-2554 10-33-05

การทูตเชิงพลังงาน

NGO ที่ทำงานช่วยเหลือด้านต่างๆมี 2 ด้าน

ด้านดีก็มีมาก แต่ก็ต้องระวังด้านเสีย  คือการครอบงำเพื่อมีอืทธิพลเหนือกว่าเพื่อแหล่งพลังงาน

ประเทศที่มีปัญหากัน เช่นจีนกับประเทศเล็ก  ในการแย่งชิงหมู่เกาะสแปรตลีย์และหมู่เกาะพาราเซล  ซึ่งอุดมไปด้วยน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ และสัตว์น้ำ  จีนก็อยากเจรจาตกลงกันเอง  แต่ประเทศเล็กๆก็อยากให้อเมริกาเข้ามาช่วย  เข้ามายุ่งเกี่ยวเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง  ซึ่งสามารถประยุกต์กับเหตุการของประเทศไทยกับกัมพูชา

ผลกระทบด้านมลภาวะและปัญหาโลกร้อน  ทำให้ต้องเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงาน  ต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆที่มีราคาแพง  เป็นการเพิ่มต้นทุนทางด้านอุตสาหกรรม

วิกฤติน้ำในจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ

ปัญหาการก่อการร้ายโดยคนในพื้นที่ (Homegrown terrorism) เริ่มเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศต่างๆ  Social Media ก็เป็นช่องทางติดต่อและขยายผลในเรื่องดังกล่าว

การเสียชีวิตของ Osama Bin Laden ผู้นำองค์กร Al-Qaeda คงทำให้เหตุการณ์คล้ายๆจะดีขึ้น  แต่คงจะเป็นชั่วคราว  ระยะสั้นๆเท่านั้น  เดิมรูปแบบของการก่อการร้ายจะเป็นการรวมศูนย์อยู่ที่  Al-Qaeda  แต่ต่อไปจะเป็นการกระจายอำนาจ

การก่อการร้ายไม่ใช่เกิดจาก Import เข้ามา  แต่จะเป็น Homegrown Terrorism  คือเกิดจากกลุ่มภายในประเทศ  แต่ได้รับการเผยแพร่อุดมการณ์  วิธีการผ่าน Social Network

มีแนวโน้มว่าเยาวชนหรือคนที่นับถือศาสนาอื่นแล้วเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม  มีแนวโน้มที่จะก่อการร้ายได้เร็วกว่าคนที่นับถือศาสนามานานแล้ว

กรณีของนอร์เวย์ เกิดจากฝ่ายขวา  ซึ่งก็มีเกิดขึ้นในอเมริกา  เป็นการก่อการร้ายเพื่อต่อต้านรัฐบาล  มักเกิดจาดคนคนเดียว  หรือกลุ่มเล็กๆ  ซึ่งต่างจากเดิมที่เป็นขบวนการ  มีหัวหน้า  มีเครือข่าย

อาชญากรรมข้ามชาติ อาจเป็นช่องทางทางการเงินของกลุ่มก่อการร้าย  แสวงหาประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  และมีการขยายตัวในอัตราที่น่าใจหาย

สงครามรูปแบบใหม่

ปัจจุบันสงครามระหว่างรัฐต่อรัฐมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย   ปัจจุบันจะเป็นสงครามแบบผสมผสาน (Hybrid Warfare)  ระหว่างสงครามตามแบบกับสงครามนอกแบบจะมีมากขึ้น

สงครามกองโจร เป็นการต่อสู้ระหว่างคนที่มีอำนาจมากกว่ากับคนที่มีอำนาจด้อยกว่า  เช่นในศรีลังกา  อิรัก  เป็นส่วนที่อำนาจอธิปไตยไปไม่ถึง  หรือกลุ่มประเทศที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน

สงครามต่อไปจะไม่ได้ตัดสินกันที่การยึดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์  หรือกำลังคน  กำลังอาวุธ  แต่จะชนะกันที่พื้นที่ในสมองของมนุษย์  คือต้องชนะใจ

ทั้งนี้รวมถึงปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน  อเมริกามีศักยภาพทางอาวุธและเทคโนโลยี  แต่ก็ไม่ชนะสงครามเด็ดขาด  โลกนี้แคบลง  ประเทศเล็กๆอาจสร้างความเชื่อ  ความชอบธรรมกับประเทศอื่นๆได้

อาวุธนิวเคลียร์และอาวุธชีวภาพ

อิหร่านและเกาหลีเหนือและอีกหลายประเทศกำลังเร่งพัฒนาอาวุธเหล่านี้เพื่อป้องปรามหรือเพื่อใช้เป็นอำนาจในการเจรจาต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ

ภัยคุกคามด้าน Cyber และอิทธิพลของสื่อประเภท Social Network

เดิมการโจมตีทาง Cyber เป้าหมายเป็นภาครัฐ  แต่ปัจจุบันมีการโจมตีภาคเอกชนด้วย  เป็นการโจมตีทาง Cyber และการเจาะระบบข้อมูลข่าวสาร

เป้าหมายจะเป็น Critical Infrastructure เช่นระบบประปา  ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์  การสื่อสาร ระบบรถไฟฟ้า ระบบการเงิน ฯ

สื่อประเภท Social Network เป็นเครื่องมือสำคัญในการเคลื่อนไหวทางการเมือง

อิหร่านจัดตั้งกองพลไซเบอร์ รับมือสงครามไซเบอร์  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของอิหร่านเคยถูกโจมตีทางไซเบอร์  ผู้นำการทหารแถลงว่า  สังคมอิหร่านถูกโจมตีหนักโดยส่งข้อมูลที่เป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดในการปกครองประเทศของอิหร่าน  แต่ประเด็นนี้ก็มองได้ 2 มุม  คือ

  • ชาวอิหร่านในต่างประเทศต้องการเผยแพร่ประชาธิปไตย  และสิ่งที่เห็นว่าดีให้กับประเทศของตน  หรือ
  • เป็นการยั่วยุให้เกิดการต่อต้านการปกครองของรัฐบาล

ประเทศจีนก็มีกองพลไซเบอร์มานานแล้ว  แต่ก็ถูกโจมตีเหมือนกัน  แต่จีนก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับระเบียบโลกใหม่เหมือนกัน

ระเบียบโลกใหม่ประกอบด้วย

  • ประชาธิปไตย
  • การค้าเสรี
  • สิทธิมนุษยชน และ
  • สิ่งแวดล้อม

แล้วประเทศไทยเราได้ทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง?  เริ่มจากยังหาหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้?

การแจก Tablet ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี่เป็นเรื่องที่ดี  แต่ต้องระวังเรื่องภูมิต้านทานของเด็กๆที่จะแยกแยะสิ่งที่ถูกต้อง  สิ่งที่ถูกที่ควร  เพราะการต่อสู้ในอนาคตจะเป็นสงครามไซเบอร์

Post to Facebook Facebook


บรรยากาศ 4ส3

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 10 สิงหาคม 2011 เวลา 0:51 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2534

หลังจากสมัครเรียนแล้วก็มานั่งลุ้นนอนลุ้นว่าจะได้เรียนไหม?  ในที่สุดก็มีชื่อนัดไปสัมภาษณ์  วันที่ไปสัมภาษณ์ต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง  ไปถึงสถาบันพระปกเกล้าก่อนเก้าโมงเล็กน้อย  ลงชื่อเสร็จก็มานั่งรอสัมภาษณ์  เจอที่คุ้นหน้าคนเดียวคือพี่โด่ง (ดร. สุนทรียา เหมือนพะวงศ์  ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะเป็นลูกศิษย์อาจารย์ ดร. นิกร วัฒนพนม  ในหลักสูตร Leadership Development and Networking ตั้ง 1 สัปดาห์มาด้วยกัน)

001 10-8-2554 0-29-35

พี่ธนเสกข์ ยงศุภมงคล (น้ำ) ใจดีพิมพ์ทำเนียบรุ่นให้ด้วย

ที่นั่งรอด้วยกันที่จำได้ก็มี พี่ซุ่น (อวยชัย คูหากาญจน์ ท่านคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ), พี่ต่อ (อรรฆชัย ตระการศาสตร์ กรรมการบริหารและนายทะเบียนสมาชิกพรรค พรรคมาตุภูมิ), พี่พล (ผศ. ว่าที่ร.ต. สุรพล สินธุนาวา อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์), พี่ซิด (อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์  ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย)…..มีใครอีกก็จำไม่ได้ละ

วันที่สัมภาษณ์อาจารย์ก็ฝากว่านักศึกษาควรให้เกียรติอาจารย์หน่อย  จะซักถามหรือแสดงความคิดเห็นก็ควรจะสุภาพ  ไม่ก้าวร้าว  ให้ตั้งใจเรียน  อย่าขาดเรียนบ่อย  ก็เลยสงสัยอยู่ในใจว่ารุ่นก่อนๆมีวีรกรรมอะไรไว้  อาจารย์ถึงได้เตือนแบบนี้

หลังจากนั้นก็มีการประกาศชื่อให้ไปรายงานตัว  วันรายงานตัวก็ไปแป๊บเดียว  เสร็จแล้วก็กลับพิษณุโลกเลย

002

วันปฐมนิเทศน์  วันนี้เจอกันพร้อมหน้าพร้อมตาหน่อย  เพราะกติกาคือ  ใครไม่มาปฐมนิเทศน์ก็จะคัดชื่อออก  วันนี้หล่อ สวยกันทุกคนเพราะแต่งสูทสถาบันกัน

เช้าไปที่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีพิธีเปิดเป็นทางการ  มีการแนะนำหลักสูตร  การปฏิบัติตัวแล้วก็เดินทางไปพัทยาเพื่อทำกิจกรรมกลุ่มให้เกิดความสนิทสนมกัน  และมีการแนะนำการปฏิบัติตัวการเรียน  การทำรายงาน  และทำโครงการของกลุ่ม

005

กิจกรรมก็สนุกดี  เริ่มรู้จักกันมากขึ้น  แต่ก็ยังไม่คุ้นกันมากนัก  อาจารย์ก็เตือนอีกว่าให้สนใจกฏกติกาหน่อย  ความจริงกติกาก็ไม่มีอะไรมาก  ปฏิบัติไม่ยาก  แต่ทำไมอาจารย์เตือนจัง  โดยเฉพาะเรื่องการเดินทางไปศึกษาดูงาน  จะเดินทางเอง  ตามไปทีหลัง  กลับก่อน  หรือไม่ไปตามตามตารางที่กำหนดไว้ก็ขอให้แจ้งล่วงหน้า  ทางสถาบันกำหนดตารางการเรียนการสอนและการศึกษาดูงานล่วงหน้าไว้เลย  แล้วแจ้งว่าให้ไปจัดตารางเวลาของตัวเองให้ว่างไว้  เพราะตารางการเรียนการสอน   การศึกษาดูงานจะไม่มีการเลื่อน  ยกเว้นที่จำเป็นมากๆจริงๆ  ที่ผ่านมายังไม่มีการเลื่อนเลย

อีกอย่างอาจารย์ก็เตือนว่า  อย่าดุน้องๆเจ้าหน้าที่ที่มาช่วยอำนวยความสดวก  ทั้งในการเรียนการสอน  การเดินทางไปศึกษาดูงาน  ดูๆแล้ว น้องๆทุกคนก็น่ารักดีออก

เริ่มเรียนกันสักพักก็เริ่มสนิทสนมกันมากขึ้น  พี่ๆ(หมายถึงพี่ๆและเพื่อนๆ  แต่ขอเรียกพี่ๆ  ยกเว้นหลวงพี่ทั้งสาม   อิอิ) ทุกคนก็น่ารักดี  สนใจการเรียน  อาจมีขาดบ้างเพราะการจัดภารกิจในช่วงแรกๆไม่ลงตัว  มีหลับบ้าง(ก็ธรรมดาของคนนอนดึก)  การซักถาม  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์และเพื่อนๆนักศึกษาด้วยกันก็ดูจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย   หนักไปทางสนุกสนานมากกว่า  หรือว่ายังไม่ถึงเวลา…….อิอิ

003

เช้าก่อนเข้าเรียนจะมากันค่อนข้างเช้าเพราะหนีรถติด  เวลาพักเบรกเช้า  พักกลางวัน  และเบรกบ่ายก็เริ่มคุยกัน  ถกกัน  แลกเปลี่ยนความ คิดเห็นกัน  แต่พอเลิกเรียนก็ยังไม่ค่อยคุยกัน  ต่างรีบกลับกัน  แต่ก็เริ่มมีก๊วนนัดกันไปคุย  ไปกินข้าว  เห็นวางแผนกันว่าจะพยายามจัดให้มีรายการช่วงเย็น ค่ำและดึกทุกวันที่เรียน  สองครั้งครั้งแรกลุงเอกก็ไปคุยด้วย

006

พี่เป๊กเป็นดาราภาคค่ำกับพี่เกรทครับ อิอิ

ทางสถาบันจัดกลุ่มเพื่อสื่อสารกันผ่าน e-mail  เป็น mailgroup เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกันในกลุ่ม  ก็มีการส่งบทความที่น่าสนใจ  ส่งลิงก์ที่น่าสนใจให้อ่าน  ใช้นัดหมายกิจกรรมทางสังคม  ปรึกษาหารือกัน  และเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  ก็ได้ผลดีมากครับ  มีเจ้าประจำมาคุยกันและขยายวงไปเรื่อยๆ

004

ถ้าขยันเรียนเหมือนขยันโยนก็จะดีเน๊าะ  อิอิ

เท่าที่ผ่านมาเกือบสองเดือนบรรยากาศก็ดีมากๆ  ยังไม่มีบรรยากาศเป็นพิษ  ราบรื่นน่ารักทั้งในกลุ่มนักศึกษาด้วยกัน  กับอาจารย์  น้องๆเจ้าหน้าที่  รวมทั้งพี่ๆ  4ส1  และ 4ส2

หวังว่าบรรยากาศคงจะดีขึ้นเรื่อยๆจนจบการศึกษา  เป็นที่รักของอาจารย์  น้องๆเจ้าหน้าที่  4ส1  4ส2  และมีผลงานเป็นที่ยอมรับของสังคม  ช่วยกันทำงานจนเกิดสังคมสันติสุขตามเจตนารมณ์ของสถาบันพระปกเกล้า

Post to Facebook Facebook


เปิดเวทีพูดคุยกับอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 9 สิงหาคม 2011 เวลา 0:13 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2912

ดร. สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

ชุมชนาภิวัฒน์คือ Localization ใช่ไหม?

อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ

ใช่

อินเดียเป็นตัวอย่างที่ดี  ถ้าเอาหลักทฤษฎีของตะวันตกมาหมดคงใช้ไม่ได้  เราถูกตะวันตกครอบงำมา 40 ปี  การแก้ไขทีเดียวคงยาก  ต้องค่อยๆลด ละ เลิก

ถ้าจะปรับโครงสร้างไม่สำเร็จหรอก

อาจารย์ถามกลับว่า  ได้ข้อคิดบ้างไหม?

วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัทการบินไทย จำกัด

วิชชุกร1

ได้ แต่มันช้าถ้าจะนำไปใช้

การสร้างเขื่อน  ปักเสาไฟฟ้าแรงสูงผ่านที่ชาวบ้าน  จะไปผ่านจุดที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์  แต่ส่งกระแสไฟฟ้าให้คนที่อื่นใช้  ไม่รู้ว่าจะเอาภูมิปัญญาชาวบ้านตัวไหนมาใช้?

น่าจะเป็นการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน

นโยบายรัฐบาลที่ไปกระทบชาวบ้านไม่ได้ไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน

อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ

ชาวบ้านยังไม่เข้มแข็ง ต้องใช้เวลาอีกนาน  ที่การรวมกลุ่มต่อสู้จะเข้มแข็ง  การรวมกลุ่มภาคประชาชนเพื่อทำกิจกรรม  ต้องหาข้อมูลและปลูกจิตสำนึกไปด้วย  การรวมกลุ่มแบบไทยๆมันบิดเบี้ยวไป

ที่ทำกันไม่ใช่ Public Participation  แล้วอันไหนใช่

การตีความของรัฐ  การรวมกลุ่มแล้วให้แต่เทคนิค  ไม่ได้ให้ความเป็นคน  เป็นการจัดตั้งกลุ่ม  การรวมกลุ่มต้องมี Public Information  มี Public Consultation

เผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์ ผู้อำนวนการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เผ่าพงษ์

ขอใช้สิทธิพาดพิง  ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

การสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูง เดิมไม่ได้ให้ความรู้  ปัจจุบัน ช่วงสำรวจก็จะให้ความรู้ประชาชนไปล่วงหน้า ประมาณ 2 ปี

มีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเสริมให้ มีการชี้แจง  แต่ชาวบ้านก็ไม่ค่อยอยากเปลี่ยนอาชีพ  แต่ก็เพิ่มเรื่องการใช้ปุ๋ยธรรมชาติ  เศรษฐกิจพอเพียง

การปักเสาพาดสาย 100 กิโลเมตร  อาจกระทบชาวบ้าน 1,000 หลังคาเรือน  ปัจจุบันใช้การมีส่วนร่วมและชดเชยการรอนสิทธิ  มีการก่อสร้างสายส่งมากขึ้นเรื่อยๆตามแผน

อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ

ปกติก็พาชาวบ้านรบกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมาตลอด

ปตท. ก็ให้ NGO มาช่วยมาก   CSR ได้รับการปฏิบัติมากขึ้น  มีแนวโน้มที่ดีขึ้น  ในระยะยาวอยากฝากเรื่อง Sustainbility (ความยั่งยืน) ไว้ด้วย

เผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์

มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ

ตะวันตกเป็นเรื่องของเทคโนโลยี  ตะวันออกเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ  แต่ต้องใช้ร่วมกัน  ต้องพัฒนาการมีส่วนร่วม

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

ขณะนี้ความหลากหลายของภูมิปัญญาไทย  และภูมิปัญญาท้องถิ่นจำกัดอยู่ในบางชุมชนเท่านั้น  การขยายผลขึ้นไปอีกระดับหนึ่ีง ในฐานะที่ทำงานกับ กอ. รมน.  มันติดเพราะระบบการบริหารราชการ  ทั้งท้องถิ่น  ภูมิภาค  และรัฐบาลกลาง

ระดับจุลภาคดี  แต่ขยายในภาพรวมไม่ได้  จะมีแนวทางหรือมาตรการอย่างไร?

อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ

มันเป็นจุลภาคจริงๆ  ไม่เป็นมหภาค  มีปัจจัยต่างๆทั้งที่เป็นปัจจัยของรัฐบาล  และเป็นปัจจัยของชุมชนด้วย

คนไม่ค่อยสนใจเพราะมันเล็กไป  แต่ปัจจุบัน นักวิชาการ  NGO   สกว. ก็อยากให้ทำวิจัยร่วม

มีนักวิชาการ (ดร.) บางคนไปฝังตัวทำงานอยู่  มีนโยบายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ Focus ตรงนี้ได้มั๊ย?

มหาวิทยาลัยต่างๆสู้มห่วิทยาลัยราชภัฏไม่ได้  เพราะราชภัฏศึกษาชุมชนมาตลอด  แต่ก็ขาดบุคลากร  คงต้องใช้เวลาอีกนาน  แต่ราชภัฏก็ทำแบบครู  ขาด Participation  ต้องอาศัยพลังอีกมาก  ที่จะทำให้มันเป็น Macro

ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล  อาจารย์สุธาวัลย์ เสถียรไทย  และอีกหลายๆท่านก็พยายามอยู่  ทั้ง สกว.  สสส.   พอช. ก็พยายามอยู่  ต้องใช้วิธีพัฒนาชุมชน  ต้องทำงานกับคน  ต้องปรับเรื่องการวิจัย

เรามัวแต่แก้ปัญหา  แต่ไม่นำปัญญามาใช้  ไม่ได้ Intregate  จะเอาองค์ความรู้ไปพัฒนาชุมชนอย่างไร?

รศ. ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นฐานรากที่สำคัญของสังคมไทย  ท้องถิ่น  ชาวบ้านมีความขัดแย้งทางด้าน

  • ทรัพยากรธรรมชาติ
  • เศรษฐกิจ
  • การเมือง

การเมืองท้องถิ่นต้องต่อสู้กันอย่างรุนแรง

อยากถามว่า  การขับเคลื่อนเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ไขความขัดแย้งในท้องถิ่น  มีหลักการ  มีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จบ้างไหม?

จะนำไปสู่ความเข้าใจและปฏิบัติอย่างไร?

อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ

ตอนแรกก็ประเมินว่าแก้อย่างอื่นได้หมด แต่คงแก้การเมืองไม่ได้  แต่ 4-5 ปีมานี้  ที่ตำบลควนรู  อ.รัตภูมิ จ.สงขลา  มีตัวอย่างการปรองดองของชาวบ้าน  มีกระบวนการ  แบบเกิดปาฏิหาริย์  วิธีการน่าจะนำมาเสนอ  มันมีภูมิปัญญาซ่อนอยู่  แต่ยังถอดออกมาไม่ได้

รศ. ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์

กรณีควนรู จังหวัดสงขลาเป็นตัวอย่างการแก้ไขความขัดแย้งด้านการเมืองท้องถิ่น  อบต. นี้ตายกันมาเยอะ  ยิงกันตายไปมาก  ชาวบ้านเลยจัดระบบ  ผู้ที่จะเข้าสู่อำนาจ  ผู้ที่จะมาเป็นผู้นำท้องถิ่น  ต้องได้รับฉันทานุมัติจากชาวบ้านก่อน  จึงจะลงเลือกตั้งได้  ถ้าใครสนใจก็ลงไปศึกษาได้

อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ

คุณสมนึก หนูเงิน ประธานสภาองค์กรชุมชนที่ควนรูทำเรื่องยาเสพติดและอีกหลายๆเรื่อง  นอกจากเรื่องการเมืองท้องถิ่น

ที่ควนรูสามารถทำด้าน

  • ป้องกัน
  • บำบัดรักษา ฟื้นฟู
  • ป้องปราม  ไม่ใช้คำว่าปราบปราม  เน้นบำบัดรักษาโดยชุมชน  ประสบความสำเร็จมาก

ที่อื่นๆ   พูด  แต่ไม่ทำ

อาจารย์พูดถึงเรื่อง “กำปง ตักวา” หรือ เครือข่ายชุมชนศรัทธา   กรณีใช้ศาสนาพัฒนาชุมชน   คำว่า ตักวา หรือความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า  อาจหมายความถึงศรัทธา

ความแตกต่างของ ตักวา ของแต่ละบุคคลหมายถึงความแตกต่างหลากหลายของความเชื่อ

พันเอก เอื้อชาติ หนุนภักดี นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก

เห็นปัญหาความเป็นจริง  ภูมิปัญญาท้องถิ่นกำลังต่อสู้กับโลกาภิวัฒน์  การใช้ Social Media  ข้อมูลข่าวสาร  ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลับสู้โลกาภิวัฒน์ไม่ได้

ภูมิปัญญาท้องถิ่นก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วย  ถ้าจะเอาแต่พออยู่  พอกิน  คงไม่พอ  จะผลิตเหลือกินแล้วแจกกัน  ยังขายไม่เป็น  ถ้าไม่ขายก็ทำไม่ได้  ต้องสนใจศึกษาตลาด  ภูมิปัญญาจะยั่งยืนต้องมีตลาด

อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ

สังคมไทยชอบลอกเลียนแบบกัน  เรื่อง CSR นิด้าก็จะทำ CSR  นิด้าไม่ใช่องค์กรทางเศรษฐกิจ  ไม่ได้เอากำไรมาแบ่ง  นิด้าไม่มีกำไร

Post to Facebook Facebook


ภูมิปัญญาท้องถิ่น: ต้นทุนทางสังคมไทยในการจัดการความขัดแย้ง(2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 8 สิงหาคม 2011 เวลา 22:18 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2232

กรณีศึกษา: ป่าชุมชน

พ.ศ. 2532 เหตุเกิดที่ บ้านห้วยแก้ว อุทยานแห่งชาติป่าแม่ออน อ.สันกำแพง จ. เชียงใหม่

ชาวบ้านที่บ้านห้วยแก้วกิ่ง อ.แม่ออน รวมพลังคัดค้านนายทุนที่เข้ามาเช่าพื้นที่ป่าสาธารณะเพื่อปลูกสวนป่าเศรษฐกิจจุดกระแสการเรียกร้องกฎหมายป่าชุมชนเป็นครั้งแรก และนำเสนอนโยบายสาธารณะ ในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ทำให้เกิด พรบ.ป่าชุมชนขึ้น เป็นการใช้ภูมิปัญญารักษาป่า

ภูมิปัญญาของชาวบ้าน  รวมทั้งปกาเกอะญอก็มีความคิด ความเชื่อที่จะดูแลรักษาป่า

……เราอยู่กับป่ามาหลายสิบปี มีภูมิปัญญา  ความเชื่อ ที่จะรักษาป่า  แล้วนำมาตั้งเป็นกฏ ระเบียบป่าที่เป็นรูปธรรม  เป็นป่าชุมชน

กรณีศึกษา: ภาคใต้  ป่าพรุคันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

ตัวอย่างท่านพุทธทาสรักษาป่า  ธรรมะคือธรรมชาติ  พระเจ้าคือธรรมชาติ  ป่าคือธรรมชาติ  ความศักดิ์สิทธิ์  คนทำให้ศักดิ์สิทธิ์  บริบทที่ทำให้ศักดิ์สิทธิ์คือคน

ป่าพรุคันธุลีเดิมเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำ  พืชพรรณ สัตว์น้ำและสัตว์ป่า  ต่อมามีปัญหาทั้งจากการใช้ประโยชน์ของชาวบ้านและทางราชการ   นับตั้งแต่การให้สัมปทานไม้เพื่อทำไม้หมอนรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย   ชาวบ้านก็อพยพเข้าจับจองพื้นที่ป่าพรุ  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470-2505  มีการทำลายป่าพรุอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก  เกิดไฟป่าอย่างรุนแรงในปี พ.ศ. 2525  ซึ่งทำลายป่าพรุไปมากกว่าครึ่ง

พ.ศ. 2533 มีนายทุนเข้ามากว้านซื้อที่ดินจากชาวบ้านเพื่อปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน  ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน  มีการตัดไม้เพื่อสร้างศูนย์วิจัยยาง  ส่งผลต่อการลดลงของน้ำและทำให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพของป่าพรุ

ชาวบ้านจึงเริ่มมีแนวคิดที่จะรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำพรุคันธุลี  ซึ่งมีพื้นที่ 875 ไร่  อาศัยแนวธรรมะคือธรรมชาติของท่านพุทธทาส  โดยคุณจันทโชติ ภู่ศิลป์  เป็นแกนนำก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์พรุขึ้นมา  เริ่มทำกิจกรรมฟื้นฟู  เริ่มจาก

  • ชุมนุมขับไล่นายทุนที่เข้ามากว้านซื้อที่ดินบริเวณพรุออกไปจากพื้นที่ในปี พ.ศ. 2534
  • ร่วมกันขุดคูน้ำจากคลองส่งน้ำของโครงการเร่งรัดพัฒนาชุมชนเข้ามาเก็บไว้ในพรุ
  • วางแผนอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำพรุคันธุลี
  • เป็นแกนกลางในการติดต่อระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงามที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ป่าพรุ
  • ปลูกจิตสำนึกแก่ชาวบ้านและเยาวชนที่อาศัยอยู่รอบๆพื้นที่ชุ่มน้ำพรุคันธุลี

ในปี พ.ศ. 2540 มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย  พบพรรณพืข 36 ชนิด  พรรณปลา 29 ชนิด  สัตว์ป่า 98 ชนิด  นกประเภทต่างๆมากถึง 50 ชนิด  พบหอยทาก 2 ชนิดที่ไม่มีรายงานพบในประเทศไทยมาก่อน

ปัจจุบันป่าพรุคันธุลีเป็นเป็นแหล่งศึกษาด้านธรรมชาติวิทยา ในฐานะที่เป็นหนึ่งในพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคใต้ตอนบน  มีหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา เรื่องป่าพรุคันธุลีในโรงเรียนท่าชนะและเยาวชนในท้องถิ่นของตัวเอง

อีกกรณีหนึ่งของภาคใต้คือพื้นที่อ่าวปัตตานี

อ่าวปัตตานีซึ่งมี 30 หมู่บ้าน  ประชากรประมาณ 50,000 คน  เดิมก็มีความอุดมสมบูรณ์มาก  ต่อมาก็เริ่มมีเรืออวนรุนอวนลากเข้ามา  เกิดผลกระทบต่อจำนวนสัตว์น้ำมาก  รวมทั้งปัญหาโรงงานอุตสาหกรรม  การทำลายระบบนิเวศน์ชายฝั่งเพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่ทำอวนลากซึ่งมีฝ่ายราชการบางหน่วยงานและนายทุนหนุนหลัง  กับกลุ่มที่ทำประมงพื้นบ้านตามวิถีเดิมที่มีกรมประมงคอยช่วยเหลือ

จนในที่สุดชุมชนก็แตกสลายเพราะจับปลาไม่ได้  มีการอพยพไปประกอบอาชีพในพื้นที่อื่นรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย)

ปัจจุบันชาวบ้านก็เริ่มหันกลับมาแก้ปัญหาใหม่  ด้วยการปลูกจิตสำนึก  ศึกษาเรื่องราววัฒนธรรมชุมชน  ใช้ลิเกฮูลู  เป็นสื่อชาวบ้านเพื่อปลูกจิตสำนึก  นำไปสู่การมีเครือข่ายฟื้นฟูอ่าวปัตตานี  ใช้ภูมิปัญญาเป็นสื่อในการปลูกจิตสำนึก

เริ่มจากเครือข่าย 13 ชุมชน  แล้วจะขยายอีก 22 ชุมชน

……….นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มหนึ่ง นำโดย อ.นุกูล รัตนดากูล ได้ร่วมกันทำวิจัยลุ่มน้ำสายบุรี ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสำหรับคนในพื้นที่ยะลา นราธิวาส และปัตตานี
“ชาว บ้านที่นี่ยังมีความผูกพันอยู่กับความเชื่อทางศาสนาอยู่มาก และวิถีชีวิตของพวกเขาเชื่อมโยงอยู่กับธรรมชาติ แต่เพราะความบริสุทธิ์ของพวกเขาทำให้กลายเป็นจุดอ่อนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ อยู่เสมอ” การคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านในชุมชนมาหลายสิบปี ทำให้ อ.นุกูลเข้าใจและเข้าถึงชาวบ้านเป็นอย่างดี “เหมือนนิทานเรื่องม้าอารี พอชาวบ้านยอมให้คนนอกเข้ามา แต่ในที่สุดตัวเองก็อยู่ไม่ได้ ที่เห็นเป็นตัวอย่างคือ เรื่องการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงหอย ที่เอาที่ส่วนรวมของชุมชนไปใช้ สุดท้ายก็ตกไปเป็นของนายทุน”
แม้การ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติของทุกที่ทั่วประเทศไทยจะตกอยู่ในอาการเดียวกัน แต่ อ.นุกูลมองว่าในส่วนของแม่น้ำสายบุรียังถูกทำลายน้อยกว่าแม่น้ำสายอื่น เนื่องจากมีเงื่อนไขบางประการที่ช่วยปกป้องเอาไว้
“การจัดการฐาน ทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญ การที่ภาครัฐจะเข้ามาดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดควรให้ชุมชนเข้าไปมีส่วน ร่วม และกลไกของรัฐต้องปรับวัฒนธรรมการทำงาน ที่สำคัญคือต้องแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ ไม่ใช่ทำงานกันแบบฉาบฉวย”….

จาก จากต้นน้ำสู่ปากอ่าว “สายบุรี” ลัดเลาะชุมชนมุสลิมมลายู(จบ)
โดย ภาสกร จำลองราช padsakorn@hotmail.com

อีกกรณีหนึ่งจากอีสานคือเรื่องเกลือโปแตซ

เกลือมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก บางคนเรียกเกลือเป็นทองคำขาว

  • สมัยโรมัน  ใช้เกลือเป็นค่าจ้างทหาร (บางคนว่า Salary มาจากคำว่า Salt)
  • สมัยก่อนมีพ่อค้าที่เดินทางในทะเลทรายจำนวนมาก  ราคาเกลือแพงพอๆกับทองคำ
  • ประเทศฝรั่งเศส(สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16) มีเหตุการณ์วุ่นวายเนื่องจากเก็บภาษีเกลือสูงเกินไป
  • อินเดีย สมัยที่อังกฤษปกครองอยู่  ห้ามคนอินเดียทำเกลือ  คานธีเลยประท้วงอย่างสงบจนเป็นเอกราชพ้นจากการปกครองของอังกฤษ
  • ในสงครามกลางเมืองของอเมริกา  ฝ่ายเหนือคุมโรงงานผลิตเกลือได้  เป็นเหตุให้ชนะสงคราม
  • สมัยอยุธยา สนธิสัญญาเบาว์ริง  รัฐบาลสยามสงวนสิทธิในการส่งออก ข้าว เกลือและปลา  ถ้าเห็นว่าจะขาดแคลน

อาณาจักรเกลือในดินแดนอีสาน คือหลักฐานที่ห้วงทะเลได้ฝากทิ้งไว้ ราว ๑๐๐ ล้านปีมาแล้ว น้ำทะเลที่ไหลท่วมดินแดนแห่งนี้ได้ถูกปิดกั้นด้วยเทือกเขา การยกตัวของเทือกเขาภูพานตอนกลางของภาค ได้ทำให้เกิดการแบ่งดินแดนอีสานเป็น ๒ ส่วน มีลักษณะเป็นแอ่งคล้าย ๆ ก้นกะทะ ประกอบด้วย ส่วนที่อยู่ทางเหนือเรียกว่า “แอ่งสกลนคร” และส่วนทางตอนใต้ที่เรียกว่า “แอ่งโคราช”

ขอบแอ่งที่ยกตัวขึ้นนั้นก็ได้กั้นให้เกิดเป็นทะเลปิด น้ำทะเลที่ถูกขังอยู่ใน “แอ่ง” นานวันเข้าน้ำเค็มเหล่านี้ก็ถูกแสงแดดแผดเผาจนเหลือเป็นเพียงตะกอนเกลือหิน และ แร่โพแตชที่เป็นแร่ที่พบไม่กี่แห่งในโลกอยู่บนแผ่นดิน และจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาตลอดเวลาน้ำบาดาลก็ได้กัดเซาะโดมเกลือ (dome) ใต้ดินจนทรุดตัวลงกลายเป็นทะเลสาบต่างๆ ดังนั้นหากพบหนองน้ำหรือทะเลสาบที่ไหนในภาคอีสาน เช่น บึงกาฬ (หนองคาย) หนองหาร ( สกลนคร) และหนองหาน ( อุดรธานี) จึงให้สันนิษฐานได้ว่าข้างล่างเป็นโดมเกลือนั้นเอง

“ผลึกเกลือ” อันเกิดขึ้นจากการเกาะเกี่ยวกันอยู่ระหว่างโมเลกุลของโซเดียมกับคลอไรด์ (NaCI) นี้ มนุษย์รู้จักมันมานานนับพันๆปี ตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ เกลือเป็นสิ่งมีค่ายิ่งนอกจากเป็นแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกายที่ช่วยรักษาสมดุล ในร่างกายแล้ว เกลือยังมีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในข้าวของเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนไม่น้อย เช่น น้ำปลา สบู่ ผงชูรส น้ำหอม ฟอกสีกระดาษและสิ่งทอ การฟอกหนัง ทำวัตถุระเบิด ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและรถยนต์ อุตสาหกรรมด้านอาหาร ทำฝนเทียม เป็นต้น

จาก แอ่งเกลือ ขุมทรัพย์อีสาน โดยบัวอีน

นอกจากนี้ ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของแร่โปแตชคือ การนำไปสกัดให้ได้เป็นโพแทสเซียมในการผลิตปุ๋ย   ซึ่งมีค่ามหาศาล

clip_image002

ภาพ Pimai Salt Mining;โรงงานเกลือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอยู่ที่โคราชที่อำเภอพิมาย
ที่มา
www.nesac.go.th

clip_image001

กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เรียกร้องให้ยุติบทบาทกรรมการแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตซ

ภาคอีสานเป็นแหล่งที่มีเกลือและโปแตซมาก  แต่การนำมาใช้ประโยชน์ก็จะก่อปัญหากับสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชนอย่างมากมายเช่นกัน  ก็เป็นปัญหาที่ท้าทายในอนาคต

เราจะใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ปัญหานี้ได้ไหม?

เราจะให้ประชาชนมีส่วนร่วม  พูดคุยกันว่าจะนำทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลนี้มาใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างไร?

กระบวนทัศน์ทุนนิยม  โลกาภิวัฒน์  หรือวิถีตะวันตกจะมองโลกแบบแยกส่วน  มองเป็นการแข่งขัน  ผู้ที่แข็งแรงเท่านั้นที่จะอยู่รอด  เชื่อว่าวิทยาศาสตร์สามารถเอาชนะธรรมชาติได้  ยอมรับว่าทฤษฎีความรู้เหนือกว่าสิ่งใด  เชื่อเรื่องการรวมศูนย์อำนาจ  และมีวิวัฒนาการเป็นเส้นตรง  มุ่งไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

ส่วนกระบวนทัศน์ชุมชนาภิวัฒน์ หรือวิถีตะวันออก  จะมองตรงข้าม คือมองโลกเป็นองค์รวม  เชื่อในความร่วมมือ  ประสานเป็นหนึ่งกับธรรมชาติ  เชื่อในวิถีปฏิบัติ  เชื่อในการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและชุมชน  และเน้นความสำคัญทางจิตวิญญาณ

แต่อาจารย์ก็สรุปว่า  คงต้องดำเนินไปโดยยึดทางสายกลาง  ประยุกต์ใช้ทั้งสองทาง

Post to Facebook Facebook



Main: 0.18088102340698 sec
Sidebar: 0.03869891166687 sec