เปิดเวทีพูดคุยกับอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ
อ่าน: 2913ดร. สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร
ชุมชนาภิวัฒน์คือ Localization ใช่ไหม?
อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ
ใช่
อินเดียเป็นตัวอย่างที่ดี ถ้าเอาหลักทฤษฎีของตะวันตกมาหมดคงใช้ไม่ได้ เราถูกตะวันตกครอบงำมา 40 ปี การแก้ไขทีเดียวคงยาก ต้องค่อยๆลด ละ เลิก
ถ้าจะปรับโครงสร้างไม่สำเร็จหรอก
อาจารย์ถามกลับว่า ได้ข้อคิดบ้างไหม?
วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัทการบินไทย จำกัด
ได้ แต่มันช้าถ้าจะนำไปใช้
การสร้างเขื่อน ปักเสาไฟฟ้าแรงสูงผ่านที่ชาวบ้าน จะไปผ่านจุดที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ แต่ส่งกระแสไฟฟ้าให้คนที่อื่นใช้ ไม่รู้ว่าจะเอาภูมิปัญญาชาวบ้านตัวไหนมาใช้?
น่าจะเป็นการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน
นโยบายรัฐบาลที่ไปกระทบชาวบ้านไม่ได้ไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน
อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ
ชาวบ้านยังไม่เข้มแข็ง ต้องใช้เวลาอีกนาน ที่การรวมกลุ่มต่อสู้จะเข้มแข็ง การรวมกลุ่มภาคประชาชนเพื่อทำกิจกรรม ต้องหาข้อมูลและปลูกจิตสำนึกไปด้วย การรวมกลุ่มแบบไทยๆมันบิดเบี้ยวไป
ที่ทำกันไม่ใช่ Public Participation แล้วอันไหนใช่
การตีความของรัฐ การรวมกลุ่มแล้วให้แต่เทคนิค ไม่ได้ให้ความเป็นคน เป็นการจัดตั้งกลุ่ม การรวมกลุ่มต้องมี Public Information มี Public Consultation
เผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์ ผู้อำนวนการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ขอใช้สิทธิพาดพิง ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
การสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูง เดิมไม่ได้ให้ความรู้ ปัจจุบัน ช่วงสำรวจก็จะให้ความรู้ประชาชนไปล่วงหน้า ประมาณ 2 ปี
มีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเสริมให้ มีการชี้แจง แต่ชาวบ้านก็ไม่ค่อยอยากเปลี่ยนอาชีพ แต่ก็เพิ่มเรื่องการใช้ปุ๋ยธรรมชาติ เศรษฐกิจพอเพียง
การปักเสาพาดสาย 100 กิโลเมตร อาจกระทบชาวบ้าน 1,000 หลังคาเรือน ปัจจุบันใช้การมีส่วนร่วมและชดเชยการรอนสิทธิ มีการก่อสร้างสายส่งมากขึ้นเรื่อยๆตามแผน
อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ
ปกติก็พาชาวบ้านรบกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมาตลอด
ปตท. ก็ให้ NGO มาช่วยมาก CSR ได้รับการปฏิบัติมากขึ้น มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในระยะยาวอยากฝากเรื่อง Sustainbility (ความยั่งยืน) ไว้ด้วย
เผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์
มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ
ตะวันตกเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ตะวันออกเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ แต่ต้องใช้ร่วมกัน ต้องพัฒนาการมีส่วนร่วม
พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย
ขณะนี้ความหลากหลายของภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นจำกัดอยู่ในบางชุมชนเท่านั้น การขยายผลขึ้นไปอีกระดับหนึ่ีง ในฐานะที่ทำงานกับ กอ. รมน. มันติดเพราะระบบการบริหารราชการ ทั้งท้องถิ่น ภูมิภาค และรัฐบาลกลาง
ระดับจุลภาคดี แต่ขยายในภาพรวมไม่ได้ จะมีแนวทางหรือมาตรการอย่างไร?
อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ
มันเป็นจุลภาคจริงๆ ไม่เป็นมหภาค มีปัจจัยต่างๆทั้งที่เป็นปัจจัยของรัฐบาล และเป็นปัจจัยของชุมชนด้วย
คนไม่ค่อยสนใจเพราะมันเล็กไป แต่ปัจจุบัน นักวิชาการ NGO สกว. ก็อยากให้ทำวิจัยร่วม
มีนักวิชาการ (ดร.) บางคนไปฝังตัวทำงานอยู่ มีนโยบายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ Focus ตรงนี้ได้มั๊ย?
มหาวิทยาลัยต่างๆสู้มห่วิทยาลัยราชภัฏไม่ได้ เพราะราชภัฏศึกษาชุมชนมาตลอด แต่ก็ขาดบุคลากร คงต้องใช้เวลาอีกนาน แต่ราชภัฏก็ทำแบบครู ขาด Participation ต้องอาศัยพลังอีกมาก ที่จะทำให้มันเป็น Macro
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล อาจารย์สุธาวัลย์ เสถียรไทย และอีกหลายๆท่านก็พยายามอยู่ ทั้ง สกว. สสส. พอช. ก็พยายามอยู่ ต้องใช้วิธีพัฒนาชุมชน ต้องทำงานกับคน ต้องปรับเรื่องการวิจัย
เรามัวแต่แก้ปัญหา แต่ไม่นำปัญญามาใช้ ไม่ได้ Intregate จะเอาองค์ความรู้ไปพัฒนาชุมชนอย่างไร?
รศ. ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นฐานรากที่สำคัญของสังคมไทย ท้องถิ่น ชาวบ้านมีความขัดแย้งทางด้าน
- ทรัพยากรธรรมชาติ
- เศรษฐกิจ
- การเมือง
การเมืองท้องถิ่นต้องต่อสู้กันอย่างรุนแรง
อยากถามว่า การขับเคลื่อนเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ไขความขัดแย้งในท้องถิ่น มีหลักการ มีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จบ้างไหม?
จะนำไปสู่ความเข้าใจและปฏิบัติอย่างไร?
อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ
ตอนแรกก็ประเมินว่าแก้อย่างอื่นได้หมด แต่คงแก้การเมืองไม่ได้ แต่ 4-5 ปีมานี้ ที่ตำบลควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา มีตัวอย่างการปรองดองของชาวบ้าน มีกระบวนการ แบบเกิดปาฏิหาริย์ วิธีการน่าจะนำมาเสนอ มันมีภูมิปัญญาซ่อนอยู่ แต่ยังถอดออกมาไม่ได้
รศ. ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์
กรณีควนรู จังหวัดสงขลาเป็นตัวอย่างการแก้ไขความขัดแย้งด้านการเมืองท้องถิ่น อบต. นี้ตายกันมาเยอะ ยิงกันตายไปมาก ชาวบ้านเลยจัดระบบ ผู้ที่จะเข้าสู่อำนาจ ผู้ที่จะมาเป็นผู้นำท้องถิ่น ต้องได้รับฉันทานุมัติจากชาวบ้านก่อน จึงจะลงเลือกตั้งได้ ถ้าใครสนใจก็ลงไปศึกษาได้
อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ
คุณสมนึก หนูเงิน ประธานสภาองค์กรชุมชนที่ควนรูทำเรื่องยาเสพติดและอีกหลายๆเรื่อง นอกจากเรื่องการเมืองท้องถิ่น
ที่ควนรูสามารถทำด้าน
- ป้องกัน
- บำบัดรักษา ฟื้นฟู
- ป้องปราม ไม่ใช้คำว่าปราบปราม เน้นบำบัดรักษาโดยชุมชน ประสบความสำเร็จมาก
ที่อื่นๆ พูด แต่ไม่ทำ
อาจารย์พูดถึงเรื่อง “กำปง ตักวา” หรือ เครือข่ายชุมชนศรัทธา กรณีใช้ศาสนาพัฒนาชุมชน คำว่า ตักวา หรือความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า อาจหมายความถึงศรัทธา
ความแตกต่างของ ตักวา ของแต่ละบุคคลหมายถึงความแตกต่างหลากหลายของความเชื่อ
พันเอก เอื้อชาติ หนุนภักดี นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก
เห็นปัญหาความเป็นจริง ภูมิปัญญาท้องถิ่นกำลังต่อสู้กับโลกาภิวัฒน์ การใช้ Social Media ข้อมูลข่าวสาร ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลับสู้โลกาภิวัฒน์ไม่ได้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วย ถ้าจะเอาแต่พออยู่ พอกิน คงไม่พอ จะผลิตเหลือกินแล้วแจกกัน ยังขายไม่เป็น ถ้าไม่ขายก็ทำไม่ได้ ต้องสนใจศึกษาตลาด ภูมิปัญญาจะยั่งยืนต้องมีตลาด
อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ
สังคมไทยชอบลอกเลียนแบบกัน เรื่อง CSR นิด้าก็จะทำ CSR นิด้าไม่ใช่องค์กรทางเศรษฐกิจ ไม่ได้เอากำไรมาแบ่ง นิด้าไม่มีกำไร
« « Prev : ภูมิปัญญาท้องถิ่น: ต้นทุนทางสังคมไทยในการจัดการความขัดแย้ง(2)
ความคิดเห็นสำหรับ "เปิดเวทีพูดคุยกับอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ"