พูดคุย ซักถามกับอาจารย์มารค ตามไท

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 31 กรกฏาคม 2011 เวลา 20:49 ในหมวดหมู่ การจัดการขยะมูลฝอย, จอมป่วน, สุขภาพ #
อ่าน: 2272

อาจารย์มารค ตามไทจะทำความเข้าใจและเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง  แล้วจะเปิดโอกาสให้ซักถาม พูดคุยแสดงความคิดเห็น  ตามสไตล์ของหลักสูตร 4ส

เริ่มด้วย พอ. เอื้อชาติ หนุนภักดี นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก  แสดงความคิดเห็น

ลักษณะของสังคมสันติสุข …ไม่ใช่สังคมอุดมคติ  ไม่ใช่สังคมในอดีต

คนไทยมักจะอยากกลับไปสงบสุขเหมือนเก่า  เดิมคนไทยก็ไม่รักสงบ  ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเราก็ไม่สงบสุข  มีการรบราฆ่าฟันกันเองมาตลอด

เราไม่ระวัง  คิดว่าเรามีสันติมาตลอด

อ. มารค ตามไท

ถูกหมด วิธีแก้คือ ความรู้ รู้ว่าอดีตเราคืออะไร?

เรารู้แต่จากประสบการณ์ของเรา  แต่ประสบการณ์ของคนอื่นเราไม่รู้เลย เรื่องอดีตของสังคมไทย  ประวัติศาสตร์ไทยต้องมาเรียนรู้กันใหม่หมด  ต้องสนใจเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา

ภาพยนต์ เพลง ก็ไม่มีกล่าวถึง  ยกเว้นแต่เพลงลูกทุ่ง  ถึงมีก็ไม่ค่อยตรงกับความจริง

ประวัติศาสตร์ในหนังสือก็เอามาจากหนังสือ 5 เล่มที่เขียนมา 100 กว่าปีมานี้เอง  เพื่อปลุกกระแสรักชาติในสมัยล่าอาณานิคมในสมัยนั้น

ที่ว่าอยากกลับไปอดีตที่สงบสุขก็ไม่จริง  ต้องเรียนรู้  แต่จะเรียนรู้จากที่ไหน? อย่างไร?

สมัยก่อนอาจมีปัญหาน้อยกว่าปัจจุบัน  ถ้ามีข้อขัดแย้งคนเราก็พยายามเลี่ยงหนี  ย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น  ย้ายไปเรื่อยๆ  เข้าป่าไป

แต่ปัจจุบันไม่มีที่จะไปแล้ว มีพรมแดน  บางที่ก็เป็นป่าสงวน  การโยกย้ายของชุมชนทำไม่ได้แล้ว  ต้องอยู่เผชิญหน้าความขัดแย้ง  มันหนีกันไม่ได้

ปัจจุบันการเลือกตั้งอาจทำให้เกิดผลกระทบกับคนอื่นที่อยู่คนละที่กัน  ผลกระทบผ่านกลไกการเมืองการปกครอง  เป็นลักษณะของโลกปัจจุบัน  จึงมีความพยายามศึกษาเรื่องสันติวิธี

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

ถาม การแก้ไขความขัดแย้งที่ยั่งยืน อาจารย์มีมุมมองอย่างไรต่อปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยในปัจจุบัน ?  อะไรเป็นรากเหง้า ?

ตอบ เป็นคำถามที่ยากมาก  ปัญหาอยู่ที่ไหน?   ถ้ารู้ก็จะแก้ได้

จริงๆปัญหามันเป็น multifactor

  • สังคมไทยไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจที่จะเผชิญกับของใหม่  ไม่กล้าเสี่ยง  ไม่หลุดจากกรอบเดิม  ความพร้อมที่จะเสี่ยงต้องมั่นใจในตัวเอง  สังคมไม่เคยคิดเอง  มีแต่คนอื่นคอยคิดให้  เสี่ยงร่วมกันทำไม่เป็น
  • ปัญหาระบบอุปถัมภ์เก่า  กลไกของรัฐอ่อนแอ  ก็จำเป็นต้องใช้ระบบอุปถัมภ์  นานๆเข้าก็ทำให้สังคมอ่อแอ
  • เป็นระบบที่หาผู้ใหญ่มาช่วย
  • ปัญหาปัจจุบันต้องร่วมกันแก้ปัญหา

อาจารย์ก็บอกว่าอาจารย์ก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร?

  • ต้องทำให้เกิดความมั่นใจกับสังคม  ไม่ใช่ตัวบุคคล  ถ้าเป็นตัวบุคคลก็ลองได้  แต่ถ้าเป็นเรื่องของสังคมจะลองได้ไหม?
  • ภาคธุรกิจ ไม่ติดกับดักสังคมไทยเพราะต้องแข่งขันทั่วโลก  จึงมีการปรับตัว  แต่สังคมเจ๊ง  ทำยังไง?

อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

31-7-2554 20-35-30

ถาม สันติวิธี ต้องมีการหาข้อเท็จจริง  หาข้อสรุป  ชำระประวัติศาสตร์  มีการลงโทษ  มีการขอโทษ  มีการยกโทษ  ภาคใต้มีปัญหามานาน  จะทำอย่างไร?

ตอบ ต้องแยกเป้าหมายออกจากวิธีการ  เราสับสนระหว่างเป้าหมายกับวิธีการสร้างความสมานฉันท์  เราต้องการให้ได้เป้าหมายคือสมานฉันท์  ส่วนที่พูดมาเป็นวิธีการ  อยู่ที่วิธีการไหนเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ของแต่ละสังคม

การหาข้อเท็จจริง  การหาข้อสรุป  การจับคนผิดมาลงโทษ  การนิรโทษกรรม  ต้องแยกแยะความผิดทางการเมืองไม่ใช่ความผิดทางอาญา

แต่ละประเทศ สถานการณ์ก็แตกต่างกัน เช่นในเขมร ราวันดา แอฟริกาใต้

สังคมต้องค้นหาและไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  ไม่ได้มีวิธีเดียว  จะใช้วิธีไหนก็ลึกซึ้งมาก

ในอเมริกาใต้ยึดหลักจับตัวมาลงโทษ  แอฟริกาใต้เน้นการอภัยโทษ

ความเชื่อทางศาสนาก็มีส่วน  มีผล  ขึ้นอยู่กับความเชื่อของสังคมว่า ลึกๆจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร?

Conflict Transformation ต้องมีการเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของสังคม

พิเศษ นาคะพันธุ์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

31-7-2554 20-38-08

ถาม ขอความเห็นของอาจารย์  ความขัดแย้งทางการเมือง  ตั้งแต่ 10 เมษายน 2553,   28 เมษายน 2553, 19 พฤษภาคม 2553 ที่ราชประสงค์

การแก้ปัญหาที่ผ่านมา  มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างไรบ้าง ?

ตอบ ขอตอบแบบคนที่รู้ไม่หมด

ภาพสรุปคือไม่มีความพยายามพอที่จะแก้ไขปัญหา  ไม่มีความรู้พอที่จะจัดการความขัดแย้ง

ถ้าจะแก้ปัญหา  ต้องรู้วิธี  ไม่ใช่แค่อยากจะทำ  ในฐานะคนดูแลรับผิดชอบต้องมีความสามารถมากกว่านี้

คนที่ทำงานด้านสันติวิธี  ยังไม่สามารถ convince รัฐบาลให้ยอมรับเรื่องราวเหล่านี้  เพราะเป็นเรื่องใหม่ของสังคม

เวลามีปัญหาคนสู้กันไม่ต้องโทษคู่กรณี  แต่ปัญหาอยู่ที่คนจัดการ  แต่เผอิญกรณีดังกล่าวรัฐบาลเป็นคู่กรณี  รัฐบาลและ ศอฉ. เป็นคู่กรณีเสียเอง  ไม่มีเจ้าภาพที่จะไปแก้ไขปัญหา  เป็นเรื่องที่ยากมาก  ตอนเกิดเหตุการณ์คงทำอะไรไม่ได้มาก  แต่ที่สำคัญคือ  อย่าให้เกิดอีก

พลตำรวจตรี อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ

31-7-2554 20-39-16

ถาม ถ้ารัฐบาลใหม่มอบหมายให้อาจารย์รับผิดชอบ

  1. ปัญหาภาคใต้ จะเสนอแนะรัฐบาลอย่างไร?  ประเมินอย่างไร?
  2. ถ้ามีเหตุการณ์ชุมนุมคัดค้านเกิดขึ้น  จะมีข้อเสนอแนะอะไรให้รัฐบาล

ตอบ

1. ปัญหาภาคใต้ก็ทำงานร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติอยู่แล้ว  มีทิศทางที่ดำเนินการอยู่ ใช้ Conflict Resolution  กับ  Conflict Transformation ควบคู่กันไป

มีการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล มีกระบวนการทำงานร่วมกับภาคสังคม  ที่สำคัญที่สุดคือ  คนที่อยู่ที่นั่น

การประเมินผลก็ยากมาก  ผลเป็นอย่างไร? วัดอย่างไร? เป็นคำถามที่ตอบยากมาก  จะประเมินด้วยตัวเลขศพ ?  สถานการณ์จริงๆไม่ Linear แบบนั้น

การทำงานให้สำเร็จองค์ประกอบต่างๆต้องครบ  เช่นแนวคิดด้านการเมืองการปกครอง  การปรับโครงสร้าง..ฯ  ถ้าทำสำเร็จบางส่วน  ยังไม่ครบองค์ประกอบ  มันก็ยังไม่จบ

2. ถ้าเกิดราชประสงค์ภาค 2 มีข้อแนะนำอย่างไร?

อย่ารอให้เกิดปัญหาแล้วขยับ  ต้องเริ่มทำงานตั้งแต่บัดนี้

รัฐบาลกำลังใช้อำนาจบริหาร  ถ้ามัวแต่ไล่แก้ปัญหาโดยมีเวลาเป็นข้อจำกัดก็จะยาก  ต้องทำการบ้านล่วงหน้า  และน่าจะเป็นของใหม่  วิธีใหม่  ไม่น่าจะเป็นเหตุการณ์ วิธีการเดิม

ต้องป้องกัน  ทำไมจะมีการชุมนุม?  ชอบธรรมมั๊ย?   จะมีมาทุกรูปแบบ  น่าจะมีทีมงานคิดตั้งแต่แรก

กิจจา อาลีอิสเฮาะ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

31-7-2554 20-40-23

ถาม ภาคใต้มีเจ้าหน้าที่รัฐ  ขบวนการ  ประชาชน  ต้องลดความรุนแรง  จะเริ่มอย่างไร?

ตอบ ปัญหาไม่ใช่ไม่รู้ว่าจะคุยกับใคร? แต่ปัญหาคือมีหลายกลุ่มมาก  ต้องคุยกับหลายๆฝ่าย  ภาครัฐก็ยังไม่มีเอกภาพระหว่างฝ่ายนโยบายกับฝ่ายปฏิบัติ  ไม่ใช่ไม่รู้  รู้  แต่เหตุการณ์มัน Dynamic

เกียรติเกริกไกร ใจสมุทร รองเลขาธิการมูลนิธิอัศนี พลจันทร์(นายผี)

31-7-2554 20-41-12

ถาม บทบาทนักสันติวิธี มีบทบาท มีศักยภาพในการจูงใจประชาชนและรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน?

ตอบ ปัญหาอาจอยู่ที่ชื่อ “นักสันติวิธี” มันไม่ใช่แค่องค์ความรู้  ทฤษฎี  แต่เป็นเรื่องการปฏิบัติ  เป็นคนที่ต้องทำหลายอย่าง  ในการปฏิบัติเหมือนงานช่าง  เป็นงานใหม่ในสังคมไทย

เดิมมีผู้ใหญ่คอยไกล่เกลี่ย  ลดความขัดแย้งของตัวเอง  ทำมานานแล้ว  แต่คราวนี้เป็นเรื่องความขัดแย้งที่ใหญ่  เดิมก็แค่คุยกัน  ขอร้องแล้วก็ใช้อำนาจ  แล้วก็จบได้

แต่ปัจจุบัน  ความขัดแย้งซับซ้อนขึ้น  ขนาดใหญ่ขึ้น

งานของนักสันติวิธี เริ่มมาสิบกว่าปี เดิมก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้  ตอนนี้เริ่มรู้ว่าอะไรไม่ใช่  เป็นเรื่องของการปฏิบัติ  แต่อะไรใช่ก็ยังไม่รู้

ตอนนี้อยู่ในระยะที่ต้องพิสูจน์ตัวเอง  งานแบบนี้สงวนไว้ให้หน่วยงานความมั่นคง  คนนอกจะเข้าไปไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  ไม่ใช่เรื่องที่จะมาลองกัน

มีความคิดที่จะสร้างนักสันติวิธีในหน่วยงานเลย แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้

กองทัพอเมริกาก็พยายามดึงนักสันติวิธีไปคุยกับกลุ่มตาลีบัน

สังคมไทยก็อยู่ในระยะที่ให้โอกาสลองทำงานดู

นักสันติวิธีก็มีจรรยาบรรณ

  1. Do no harm
  2. ไม่ใช่เรื่องของมือสมัครเล่น
  3. มีเครือข่าย  ปรึกษาหารือกัน - Networking & Consultation (แต่วงการสันติวิธีทุกประเทศจะหวงงาน…ปัญหาอยู่ที่เงิน)

Post to Facebook Facebook


สันติวิธีในสังคมไทย:การรับรู้และความเข้าใจ–ศ. ดร. มารค ตามไท

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 31 กรกฏาคม 2011 เวลา 18:27 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1897

22 กรกฎาคม 2554   13.30-16.30 น.

sssDSC_0589

ก่อนอื่นอาจารย์ก็พยายามทำความเข้าใจกับนักศึกษาก่อนที่จะลงรายละเอียดต่อไป

อยู่ดีๆประเทศไทยเราจะกระโดดไปสร้างสังคมสมานฉันท์คงไม่ได้  เพราะ concept หรือความหมายของสังคมสมานฉันท์ก็ยังไม่ตรงกัน  แต่จะมุ่งไปหาวิธีทำกันแล้ว

คำถามคือ

  1. สังคมสมานฉันท์มีลักษณะอย่างไร?
  2. จะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมสมานฉันท์ได้อย่างไร?

ความคิดของอาจารย์คือ ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป

ในการสร้างสังคมสมานฉันท์เรากำลังมุ่งสร้างสังคมแบบไหน?

อาจารย์เริ่มจากที่ไม่ใช่ก่อน

  1. ไม่ใช่สังคมอุดมคติ (ต้องทำได้จริง และคงจะไม่ง่ายแน่นอน)
  2. ไม่ใช่สังคมในอดีต  (เราอาจมองว่าสังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่สงบสุข สมานฉันท์  แจ่อาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้  เราคงไม่รู้ความทุกข์ของอีกหลายภาคส่วน ในอดีตอาจมีความอึดอัด  แต่ประชาชนไม่แสดงออกหรือไม่สามารถแสดงออก)
  3. ไม่ใช่สังคมที่ทุกคนในสังคมรักและห่วงใยกัน (เอาแค่ทุกคนเคารพกันน่าจะง่ายกว่า  แต่ก็ยังคงยาก)

ลักษณะของสังคมสมานฉันท์

  1. มีความหลากหลายทางความคิดในเรื่องต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง  การปกครอง  หรือนโยบายสาธารณะต่างๆ สามารถแสดงออกได้เพื่อให้มีการถกกัน (ถ้าพูดไม่ได้  เก็บกดก็จะเกิดความรุนแรง)
  2. ทุกคนในสังคมรู้สึกว่าวัฒนธรรมเฉพาะของตนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมรวมของสังคมเท่าๆกับวัฒนธรรมอื่นในสังคม (คือยอมรับว่าสังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม)
  3. ทุกภาคส่วนของสังคมเข้าใจและพยายามใช้หลักสันติวิธี  ในการจัดการกับความขัดแย้งในสังคม (มีวิธีจัดการกับความเห็นที่แตกต่างกัน  หาวิธีอยู่กับความเห็นที่แตกต่างกัน)
  4. ทุกคนในสังคมมีสถานะเป็นพลเมืองเต็มที่  รวมทั้งรับทราบในสิทธิและความรับผิดชอบต่างๆที่ตามมา (เข้าใจและยอมรับกติกาเดียวกัน  รวมถึงวิธีที่จะเปลี่ยนกติกา)
  5. ทุกคนในสังคมมีความหวังในการที่จะปรับฐานะทางเศรษฐกิจของตัวเองและครอบครัวให้ดีขึ้นได้

สังคมไทยจะไปสู่สังคมสมานฉันท์ดังกล่าวได้อย่างไร?

ในอดีตเราไม่มีทั้ง 5 ข้อดังกล่าว อดีตเป็นเหมือนเมฆที่ทอดเงาคลุมสังคมอยู่  สิ่งที่เราต้องทำคือ  ต้องหาวิธีออกจากเงานี้ให้ได้  เพื่อแสงสว่างจะได้ส่องลงมาถึง  แล้วเราก็จะสามารถเริ่มสร้างสังคมสมานฉันท์ที่เหมาะสมกับกาลเวลาได้ สังคมตะวันออก อดีตผูกมัดผู้คนไว้แน่น  ออกไม่ได้

สันติวิธีในสังคมไทย:การรับรู้และความเข้าใจ

ความเข้าใจสันติวิธีแตกต่างกัน  บางคนเห็นเป็นเรื่องตลก

อาจารย์อธิบายว่า คำว่าสันติวิธีมีความหมาย 3 อย่างที่แตกต่างกัน ภาษาอังกฤษใช้ศัพท์ 3 คำที่แตกต่างกัน  แต่ภาษาไทยใช้คำคำเดียวกัน  คือ

  1. สันติวิธีในบริบทของการต่อสู้เรัยกร้อง (ชุมนุมอย่างสันติ)
  2. สันติวิธีในบริบทของการรักษาความสงบ (รักษาความสงบโดยไม่ใช้ความรุนแรง)
  3. สันติวิธีในแง่ของการจัดการความขัดแย้ง (พยายามจัดการความขัดแย้งโดยหลักสันติวิธี)

1. สันติวิธีในการต่อสู้เรียกร้อง

Civil Disobedience -อารยะขัดขืน

  • ทำเพื่อเรียกความสนใจของมวลชน เป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชน สังคม (แต่ประชาชน สังคมอาจโกรธ ไม่พอใจเลยไม่เกิดการศึกษา)
  • เป็นวิธีแสดงออกของประชาสังคม
  • ต้องยอมรับโทษที่ตามมา ทำด้วยจิตใจที่มั่นคง มีเป้าหมายทางบวก

ตัวอย่างเช่น

  • การต่อสู้ให้สตรีมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง เดิมสตรีไม่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง  เกิดขบวนการเรียกร้องโดยสตรี  มีการเสนอให้แก้กฏหมายแต่ก็ไม่รับฟัง ต้องชุมนุมอย่างสันติ ทำผิดกฏหมายจนได้ผล  เป็นการต่อสู้ของประชาชน(สตรี)
  • สหภาพแรงงาน กว่าจะตั้งสหภาพแรงงานให้ถูกต้องตามกฏหมายได้ ก็มีการเรียกร้องจากกลุ่มคนที่มีอำนาจต่อรองน้อยกว่าในสังคม  มีการเคลื่อนไหว  มีการล้อมโรงงาน  จนเกิดสหภาพแรงงานที่ถูกกฏหมาย
  • แรงงานเด็ก เดิมการใช้แรงงานเด็กไม่ผิดกฏหมาย มีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิเด็กจนสำเร็จ
  • คนสีผิว เรื่องนี้ก็มีเรื่องราวของการต่อสู้จนสำเร็จ

สันติวิธี ความหมายของสันติวิธีของแต่ละสังคมก็แตกต่างกันไปตามบริบทของสังคมนั้นๆ  ต่างก็มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป

แต่ละสังคมต้องกำหนดและมีข้อตกลงร่วมกันให้ได้ว่าการกระทำแบบไหนเป็นสันติวิธีในสังคมนั้นๆ  โจทย์นี้ค่อนข้างยาก  เพราะแค่ในห้องนี้ก็เข้าใจไม่ตรงกัน  แล้วสังคมล่ะ?

บางสังคม ด่ากันเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางสังคมยอมรับไม่ได้

สังคมไทยล้อชื่อพ่อก็ต่อยกัน  สังคมอื่นเห็นว่าแปลก  ตลกมาก

หลากหลายวิธีที่ “สันติ” แต่อาจแตกต่างกันไปตามบริบทของสังคม ลองพิจารณาดูว่าเห็นด้วยไหม?

  • เขียนป้ายติดตามแหล่งสาธารณะต่างๆ
  • ให้รางวัลประชด
  • จัดพิธีกรรมทางศาสนา
  • ถอดเสื้อผ้าตามที่สาธารณะ
  • ทำลายทรัพย์สินของตัวเอง
  • ทำป้ายตั้งชื่อถนนและตึกใหม่
  • แสดงท่าทางและพูดหยาบคาย
  • เจาะจงบุคคลเฉพาะเพื่อกดดันโดยการล้อเลียนหรือยืนเฝ้าหน้าบ้านต่อเนื่อง
  • ทำพิธีหลอกเกี่ยวกับการตายของบุคคลต่างๆ
  • ไม่จ่ายค่าเช่า
  • นัดกันหยุดงาน
  • ถอดป้ายชื่อราชการ
  • ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ยุติการชุมนุม
  • ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายที่คิดว่าไม่เป็นธรรม
  • ฯลฯ

2. สันติวิธีในแง่ของการรักษาความสงบก็มีปัญหาเหมือนกัน  แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม

อาจารย์ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เมืองเวโก รัฐเทกซัส  มีกลุ่มคนจับคนไปขังไว้  เผชิญหน้ากับตำรวจนาน 2 เดือน  มีการเจราจากันตลอด  สุดท้ายก็ตายกันหมด  ตำรวจก็ตาย

เกิดอะไรขึ้น ผลการศึกษาพบว่า  ตลอดเวลา 2 เดือนที่คุยกัน  มีการพูดกันแต่ไม่ได้ยินเสียงของกันและกัน  คือต่างฝ่ายต่างไม่ฟังกัน

คน 2 กลุ่มนี้คุยกันแบบคนละโลกทัศน์ กลุ่มหนึ่งมุ่งประเด็นทางศาสนา  อีกกลุ่มหนึ่งมุ่งรักษากฏหมาย  รักษาความสงบ

การเจรจาไม่ใช่งานของมือสมัครเล่น

3. สันติวิธีในบริบทของการจัดการความขัดแย้ง

Conflict Resolution เป็นการระงับความขัดแย้ง  เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ชั่วคราว  ลดความร้อนแรง  ลดความรุนแรง  การเจรจาขณะที่เกิดความรุนแรงแล้ว  ฆ่ากันแล้วเป็นเรื่องชั่วคราว  แต่ไม่ยั่งยืน  ต้องเสริมด้วย

Conflict Management คือบริหารความขัดแย้ง  อาจจะแค่ควบคุมสถานะการณ์ได้  แต่ไม่ยั่งยืน

Conflict Transformation แก้ไขที่ระดับรากเหง้าของความขัดแย้ง

แต่มีความขัดแย้งบางอย่างที่เกิดมานานแล้ว  ลุกลามไปไกลแล้ว  เหมือนมะเร็งปอด  เป็นแล้วถึงหยุดสูบบุหรี่ก็ไม่หาย  แต่อาจช่วยลูกหลานได้

ความขัดแย้งที่ทิ้งไว้นาน  ลุกลามไปไกลแล้วต้องหาวิธีใหม่ๆ

งานสันติวิธียังมีเรื่องของวัฒนธรรม  ไม่ใช่แค่ไปเรียนรู้มาจากที่อื่นแล้วนำมาใช้ได้เลย  แต่ต้องประยุกต์กับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

Post to Facebook Facebook


แนวคิดเอกนิยม-Monism vs พหุนิยม-Pluralism

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 31 กรกฏาคม 2011 เวลา 17:07 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2424

ขณะเรียนเรื่อง “สังคมพหุวัฒนธรรม” กับอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม และเรื่อง “สันติวิธีในสังคมไทย : การรับรู้และความเข้าใจ” จาก ศ.ดร. มารค ตามไท  ก็เกิดกรณี 2011 Norway Attacks คือมีการวางระเบิดสถานที่ราชการในกรุง Oslo และกราดยิงที่เกาะ Utoya โดยนาย Anders Behring Breivik เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 93 คน

31-7-2554 12-05-48    220px-Anders_Behring_Breivik_in_diving_suit_with_gun_(self_portrait)

จะเห็นได้ว่าประเทศนอร์เวย์ซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  มีการแบ่งเป็น 19 เขตการปกครองกับอีกหนึ่งเขตการปกครองพิเศษ  มีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล 435 แห่ง  รัฐบาลมีนโยบายที่จะยอมรับสังคมพหุนิยม มีคนต่างชาติที่ได้รับสัญชาตินอร์เวย์อยู่ประมาณร้อยละ 8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (จำนวน 364,981คน สถิติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548) ส่วนมากเป็นชาวปากีสถาน ชาวเคิร์ด โซมาเลีย และเวียดนาม)

แนวคิดของผู้ก่อเหตุออกมาแนวชาตินิยม ขวาจัด  ไม่ชอบให้มีผู้อพยพต่างชาติมาอาศัยอยู่ในประเทศ แนวคิดนี้ก็เริ่มมีคนสนับสนุนมากขึ้น

ข้อความออนไลน์ 1,500 หน้า ที่มีเนื้อความต่อต้านศาสนาอิสลามเป็นข้อความที่นายแอนเดอร์ส เบห์ริง เบรวิก ชาวนอร์เวย์ วัย 32 ปี เผยแพร่ก่อนวางระเบิดในกรุงออสโลและกราดยิงบนเกาะ สังหารผู้คนรวมไม่ต่ำกว่า 93 คน

ข้อความออนไลน์ยังบรรยายการวางแผนก่อเหตุร้าย การทำระเบิดและความคิดรุนแรงถูกเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่นายเบรวิกก่อเหตุสะเทือนขวัญ เขาตั้งชื่อข้อความว่า “2083-การประกาศเอกราชยุโรป” มีประโยคเช่น “เมื่อตัดสินใจโจมตีก็ควรฆ่าให้มากเข้าไว้ดีกว่าฆ่าไม่พอ ไม่เช่นนั้นการโจมตีจะก่อผลทางความคิดตามที่ต้องการได้น้อยลง” เขายังเขียนวิจารณ์แนวคิดการทำให้ยุโรปตะวันตกเป็นอิสลาม การเติบโตของวัฒนธรรมมาร์กซิสต์และพหุวัฒนธรรม

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทางแนวความคิดของผู้คน  ประเทศที่เจริญแล้วเช่นนอร์เวย์  มีแนวนโยบายพหุนิยมก็เกิดปัญหาจากผู้คนที่คิดต่างออกไปได้

ในขณะเดียวกันเป็นไปได้ไหมว่าประเทศไทยมีแนวคิด Centralism (การปกครองหรือการควบคุมจากศูนย์กลาง) พยายามสร้างเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย  ไม่ยอมรับสังคมพหุนิยม หรือพหุวัฒนธรรม  จึงทำให้เกิดปัญหากับกลุ่มคนที่แตกต่างทางชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม ทำให้ให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบและเกิดปัญหาต่างๆขึ้นประเทศ

หรือแม้แต่คนเชื้อชาติเดียวกัน ศาสนาเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกัน  ก็มีความขัดแย้งเพราะมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน  ประเทศไทยเราก็ยังหาวิธีที่จะป้องกัน  จัดการและเยียวยาความขัดแย้งดังกล่าวไม่ได้

คงถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกภาคส่วนจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวร่วมกัน  แต่ทุกคนก็ตั้งคำถามว่า 

  • แล้วจะเริ่มต้นอย่างไร?
  • เริ่มต้นจากเรื่องอะไรดี?
  • ใครเป็นคนเริ่ม ?
  • เริ่มเมื่อไหร่ดี?
  • เริ่มที่ไหนดี?

&#)^*@)(+_^()+!+_%+_+^))#*&&*@^T

 

 

Post to Facebook Facebook


พูดคุย ซักถามกับอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 22:41 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 4078

อาจารย์จะเล่าเรื่องให้ฟังตามเวลาที่กำหนดแล้วเปิดโอกาสให้พูดคุย ซักถามกับอาจารย์

เริ่มคำถามโดยคุณนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม หรือคุณเอ

เอ (Small)

คำถาม ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นทางรอดของประเทศไทย  จะต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ได้อย่างไร?  มีตัวอย่างไหม?

ตอบ ทางรอดของมนุษย์ในกระแสโลกาภิวัฒน์ อยู่ที่ Small Group หรือกลุ่มเล็กๆ

โลกาภิวัฒน์มีมานานแล้ว  การล่าอาณานิคมก็เป็นโลกาภิวัฒน์  ก็ต้านด้วยชาตินิยม

การต้าน Globalization คือ Localization  ต้องแยกแยะสองอย่างนี้ออกจากกันได้  ต้องใช้ท้องถิ่นนิยม การมีสำนึกร่วม  การอยู่รอดร่วมกันต้องมีกลไกการจัดการ Fraction คือกระบวนการสมานฉันท์  ต้องปลุกกระแส  คุณตายร่วมกันในท้องถิ่นนี้ท่ามกลางความหลากหลาย

กลุ่มเล็กๆไปด้วยกันได้  Mechanical Model อาชีพเดียวกัน พวกเดียวกัน

กลุ่มใหญ่เป็นการพึ่งพาอาศัยกัน Organic Model

อินเดียมี Class System หรือ วรรณะ  จำเป็นสำหรับอินเดีย  แต่ละวรรณะก็มีหน้าที่แตกต่างกันแต่ก็พึ่งพาอาศัยกัน  ไม่ Cross กัน  เป็น Organic Model

ท้องถิ่น เมือง ต้องเป็น Organic Model ต้องพึ่งพากัน  สร้างสำนึกร่วมกัน  ว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน

คนในชุมชนต้องสร้างประวัติศาสตร์ของตัวเอง  มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น  ให้เด็กได้เรียนรู็ความหลากหลาย  จะได้รู้จักตัวเอง  รู้จักเพื่อนบ้าน  รู้จักโลก

ชุมชนจะเข้มแข็งได้ต้องทำเอง คนอื่นมาช่วยขับเคลื่อนได้ (Empowerment) แต่ทำให้ไม่ได้  ต้องให้ชุมชนทำกันเอง  สร้างโดยชุมชน  รัฐบาลต้องปล่อยการศึกษาให้ท้องถิ่นโดยเฉพาะเรื่องของชีวิตและวัฒนธรรม

ประเทศภูฏาน เป็นต้นแบบการใช้ดัชนีวัดความสุขของประชาชน (GNH –Gross National Happiness) แทนดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) คนภูฏานอยู่กับที่  ไม่ปฏิเสธคนนอก  แต่คนนอกจะกลายเป็นคนต่างถิ่น

สังคมอุตสาหกรรมมีการเคลื่อนย้าย ต้องยอมรับโลกาภิวัฒน์  แต่มีกระบวนการ Localization เช่นศาสนาจากอินเดียมาไทย  แต่วรรณะไม่มา  เพราะ Localization การรับเอาสิ่งต่างๆจากภายนอกแตกต่างกัน

ต้องเข้าใจคำว่า Local Autonomy  ไม่เหมือนหรือไม่ใช่ Independence

ตามด้วยคำถามจาก พอ. เอื้อชาติ หนุนภักดี (Great) นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก

เอื้อชาติ (Small)

คำถาม กระบวนการปลูกฝังทางประวัติศาสตร์มีถูก  มีผิด  มีมิตร  มีศัตรู  แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร?

ตอบ ประวัติศาสตร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างความเป็นชาตินิยม

ประวัติศาสตร์นิพนธ์  แต่เราถูกทำให้เชื่อว่าเป็นความจริง  ต้องเป็นประวัติศาสตร์ที่ชุมชนสร้างขึ้นมา  เช่นบางระจัน ขุนรองปลัดชู  ไม่จริงทั้งหมด  แต่ก็มีเค้าโครงเรื่องอยู่บ้าง

ลิลิตตะเลงพ่าย ก็เป็นเรื่องที่มองเห็นคน  มีเรื่องราวของพระมหาอุปราชให้เราเรียนรู้มากในฐานะที่เป็นคน

ที่เหมาะควรเป็น Culture Hero แต่ถูกดันไปเป็น National Hero

พระเจ้าบุเรงนอง  ในสังคมเถรวาท  ไม่ได้มากดขี่ข่มเหง  แต่ต้องการถวายความเป็นจักรพรรดิราช  ถวายพระพุทธเจ้า  เหมือนพระเจ้าอโศก

ปัตตานีเดิมอยู่ในดินแดนมลายู  ชาติพันธุ์เป็นมาเลย์  เหนือขึ้นมาจึงเป็นสยาม สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นประเทศราช  ท้องถิ่นปกครองกันเอง  รัชกาลที่ 5 เป็นอีกแบบหนึ่ง  คือส่งคนจากส่วนกลางไปปกครอง

Culture Hero ท้องถิ่นเคารพยกย่อง  แต่รัฐถือว่าไม่ดี  ให้ประหารชีวิต

พระเป็นที่พึ่งพาของชาวบ้าน  แต่รัฐมองไปอีกแบบหนึ่ง

ดร. สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร (หมาย)

สมหมาย

คำถาม ความเป็นมนุษย์ต้องมีความเชื่อ  บางคนไม่นับถือศาสนา เป็นมนุษย์หรือไม่ ?

ตอบ ตะวันตกไม่ให้ความสนใจสิ่งเหนือธรรมชาติและท้าทายจักรวาล  พยายามให้เป็นวิทยาศาสตร์  เช่นโรมัน ยุโรป

ตะวันออกแตกต่างออกไป  มองสมดุล (Harmony) กับจักรวาล

มนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูง  เชื่อว่ามนุษย์จะสามารถใช้วิทยาศาสตร์ควบคุมธรรมชาติได้

การอธิบายสิ่งต่างๆ ก็คือความเชื่อ

ตะวันตกหันมาสนใจแนวตะวันออกมากขึ้นๆ  แต่ตะวันออกกลับขั้ว  หันไปทางตะวันตกมากขึ้น

การปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำลายธรรมชาติ  โดยเฉพาะภาคใต้ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน เกษตรอุตสาหกรรมจะไปลงที่ภาคใต้  การต่อต้านก็จะมากขึ้น  ความยุ่งยากจะเริ่มจากภาคใต้

การปฏิวัติจะเกิดจากข้างล่าง  ไม่นานนี้ ??

อีสานก็มีปัญหาแร่โปแตซ

เวียตนามฟื้นจากข้างล่าง  ใช้ประวัติศาสตร์สร้างสำนึกคน  อนุสาวรีย์สร้างจากหลุมศพของวีรชน  จากครอบครัว  จากท้องถิ่น  เวียตนามมีสำนึกของความเป็นเวียต  การเป็นชาติต้องมาจากข้างล่าง

อาจารย์อวยชัย คูหากาญจน์(ซุ่น) คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

อวยชัย

คำถาม เราให้ความสำคัญกับท้องถิ่น  แต่แนวโน้มในการเลือกตั้งที่ผ่านมา  พรรคการเมืองมีการใช้ภาคต่างๆเป็นฐาน  เช่นภาคเหนือภาคอีสานก็พรรคหนึ่ง  ภาคใต้ก็อีกพรรคหนึ่ง  การคำนึงถึงท้องถิ่นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้ชาติแตกแยกมากขึ้นหรือไม่ ?

ภาคอีสานที่มีคนมาก  จำนวน สส. มากก็จะมีอำนาจในการปกครองประเทศ  จะเป็นการตอกย้ำคนภาคใต้ที่มี สส. น้อย  อาจเกิดการไม่ยอมรับ

ตอบ รู้สึกคุณจะมองการปกครองแบบรวมศูนย์ซึ่งมักไม่เข้าใจท้องถิ่น

การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น  ท้องถิ่นแต่ละแห่งจะมีอำนาจในตัวเอง  จะมีการต่อรองกันเองเพื่อความอยู่รอด  มีสำนึกร่วมกันของความเป็นชาติไทย  ความเป็นชาติไม่ได้มาจากข้างบน

ยกตัวอย่างมาเลเซียก็แบ่งออกเป็นหลายรัฐก็ยังคงความเป็นชาติไว้ได้

คุณมองว่าประชาธิปไตยต้องมาจากข้างบน  ความจริงเมืองไทยมีความหลากหลาย  พื้นฐานของทางอีสานเป็นลาว  ทางใต้เป็นพวกมลายู แต่ส่วนกลางไปกด  โดยใช้คำว่าสยามไปครอบเขา  มีการสร้างกระแสว่าท้องถิ่นนิยมเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ตั้งแต่สมัยจอมพล ป. แล้ว

อ.อวยชัย สมัยก่อนปัญหาไม่มาก  แต่ปัจจุบันการใช้อำนาจจากส่วนกลาง  อาจเกิดความไม่เสมอภาค  เลยมีความรู้สึกอยากแบ่งแยก  ถ้ากินดี อยู่ดี มีความสุข ก็จะไม่มีปัญหา

แต่ถ้ามีความทุกข์เกิดขึ้นก็จะมีการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหา

ขณะที่พยายามกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น  แต่ท้องถิ่นเองโดยเฉพาะผู้บริหารท้องถิ่นจะเป็นตัวก่อปัญหาหรือไม่ ?

ตอบ ตั้งแต่สมัยก่อน  ท้องถิ่นถูกครอบด้วยนโยบายประชานิยมมาตลอด เอาเงินไปให้เขา  ให้เขาแย่งกันเอง  แบบนี้ถือว่าไม่ได้มีท้องถิ่น  ท้องถิ่นต้องการเอาตัวรอด  เขาไม่ได้คิดทำลายชาติ  ไม่ได้คิดแบ่งแยกดินแดน

ทางใต้คิดว่าก็ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน  ต้องอ่านบทความของ หะยี สุหลง  ซึ่งก็ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน  ต้องการแค่ Autonomy  แต่ถ้ามองจากส่วนกลางก็จะเข้าใจว่าต้องการแบ่งแยกดินแดน

สังคมภาคเหนือ  ภาคอีสานเป็นชาวนา  ไม่ใช่สังคมอุตสาหกรรม  อีสานมีแต่คนแก่กับเด็กอยู่  คนหนุ่มสาวเข้ามาทำงานในเมือง ในกรุงเทพฯ  เวลาระบบอุปถัมภ์เข้าไปก็ไปอุปถัมภ์พ่อแม่เขา  การจะแก้ปัญหาต้องตรึงคน  ดึงคนให้อยู่ในพื้นที่ได้ระดับหนึ่ง   แล้วให้ไปต่อรองกันเอง  แต่เราไปเน้นเรื่องเศรษฐกิจการเมืองกันมากเกินไป

ต่างกับประเทศเวียตนาม  ลาว จีน  ระบบท้องถิ่นเขาแข็งแรง

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัฐชาการกองทัพไทย

พิเชษฐ

คำถาม การต่อสู้ทางแนวความคิดในมุมมองมิติทางสังคมและวัฒนธรรม  กับมิติทางเศรษฐกิจและการเมือง  สังคมไทยพร้อมที่จะรับ  แต่จะปฏิบัติได้ไหม?

ในอดีตคนไทยเชื่อในศาสนาพุทธ  ปัจจุบันก็เปลี่ยนความเชื่อไป  วิธีคิดแบบมิติสังคมและวัฒนธรรมเริ่มที่ท้องถิ่น  จะเป็นไปได้ไหม?

ตอบ 2 นิเวศน์มากระทบกัน ปัจจุบันโลกเราเจอ Humanitarian Crisis  เริ่มมี demoralization  ซึ่งนำไปสู่  Dehumanization

มิติทางสังคมและวัฒนธรรม  ความเป็นมนุษย์  ซึ่งมีเรื่องของมนุษยธรรม ศีลธรรม  และจริยธรรมต้องต่อรองกับภาคเศรษฐกิจและภาคการเมือง

ประเทศไทยเราเป็นสังคมเกษตร

อดีตเราเป็นชุมชน ต้อง Go Back to Basic ต้องกลับไปเริ่มที่ตัวเอง  ครอบครัว  ชุมชน สังคม เมือง ประเทศ

Post to Facebook Facebook


อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม: แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 20:14 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1865

ต่อ……

wanlipodom

อาจารย์พูดถึงการศึกษาของประเทศไทย

กระทรวงศึกษาธิการ  ไม่เห็นความเป็นคน  ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ชอบเงิน ชอบอำนาจ  ชอบคุกคาม  ไม่ยอมกระจายอำนาจ  มีแนวคิดและนโยบายที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก

ถ้าจะแก้ปัญหาต้องหลุด  ให้ชุมชนมีส่วนในการจัดการศึกษาเอง

ต้องเริ่มจากให้รู้จักตัวเอง  แล้วรู้จักสังคม  แล้วรู้จักโลก  แต่การศึกษาบ้านเราให้รู้จักโลก  แต่ไม่รู้จักสังคม  ไม่รู้จักตัวเอง

สิ่งที่ถูกทำลายคือ ศาสนา และสถาบันการแต่งงาน ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่ wedding แต่เป็น Mating

สมัยก่อนสังคมเครือญาติและชุมชนจะช่วยดูแลครอบครัวและสังคม

การแก้ไขต้องนำความเป็นมนุษย์กลับมา

มิติของความเป็นคน

  • คน  คนค้นคน  ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  หรือเราต้องรู้จักตัวเองได้ว่าเราเป็นคนอย่างไร เราเคยอยู่ในแผ่นดินเกิดที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน เป็นครอบครัว เป็นชุมชน เป็นสังคม แต่ว่ากระแสโลกาภิวัตน์ทำสังคมเป็นปัจเจก การเป็นปัจเจกนั่นคือการทำลายความสัมพันธ์ของมนุษย์
  • คนกับธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับพื้นที่  กับสิ่งแวดล้อม
  • ความเชื่อ  หรือความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ หมายถึงความเชื่อเชื่อในเรื่องศาสนาซึ่งเป็นสถาบันสากลของมนุษย์และไสยศาสตร์ เป็นความเชื่อที่ช่วยจรรโลงศาสนา สิ่งเหล่านี้ได้ถูกทำลายไป  เป็นเรื่องของจิตวิญญาณ  ไม่ใช่แค่สัญชาติญาณความเชื่อ - สิ่งเหนือธรรมชาติ

มิติทางสังคมไทยมีพุทธ พราหมณ์ และผี  เป็นความเชื่อที่เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์

อาจารย์พูดถึงโลกภูมิ ชาติภูมิและมาตุภูมิ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยชอบไปเปลี่ยนแปลงประเพณีเพื่อการท่องเที่ยว  เช่นประเพณีแห่ผีตาโขน ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญประเพณีใหญ่ที่เรียกว่า “งานบุญใหญ่” หรือ “งานบุญผะเหวด”  ซึ่งเป็นงานของท้องถิ่นที่มีความหมายทางจิตวิญญาณ  เป็นเรื่องของผีผสมพุทธ แต่คนจากข้างนอก  ข้างบน  เข้าไปยุ่ง  เข้าไปจัดการ  ก็ไปทำลายประเพณีโดยไม่เข้าใจ

อาจารย์พูดถึงสมดุลของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา (เหมือน Soft Side กับ Hard Side ที่ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญพูดถึง)  พุทธศาสนาอยู่กึ่งกลางระหว่างอัตตากับอนัตตา

แนวคิดใหม่เรื่องคน  ปัจจุบันเรามองคนพหุวัฒนธรรม  ชุมชนเป็นหลายชาติพันธุ์  (Ethnic City)

ท้องถิ่นจะสร้างกลไกอะไรที่จะ

  • เกิดการอยู่ร่วมกัน
  • สมานฉันท์
  • เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสำนึกร่วม  เพราะไม่มีชาติพันธุ์ไหนบริสุทธิ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมกับพื้นที่ทางการปกครองไม่ทับซ้อนกันเลย

เพราะสังคมจะเริ่มจากบ้าน  ไปสู่เมือง  และไปสู่นครรัฐ

การจะสร้างสังคมสันติสุข ให้ผู้คนในพื้นที่ทำกันเอง  อย่าไปทำให้เขา

Post to Facebook Facebook


อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม: แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม (1)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 18:48 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14401

แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม

22 กรกฏาคม 2554  9.30-12.30 น.

Photo983 (Small)

อาจารย์ตั้งคำถามว่าสังคมพหุวัฒนธรรมในมุมมองของเราคืออะไร?

  • คนทั่วไปจะมองประเทศเป็นเอกลักษณ์
  • มองภาคใต้เป็นสังคมที่แตกต่าง มองจากข้างบนลงไปข้างล่าง  หรือ มองจากเมืองไปสู่ท้องถิ่น  มองจากข้างนอกเข้าไปข้างในอาจมองไม่เห็น
  • สังคม วัฒนธรรม คือคน  ไม่ใช่อาคาร  เขตการปกครอง  มองด้วยมุมมองด้านเศรษฐกิจและการเมืองอย่างเดียวไม่ได้
  • มองแบบ Bird’s eye view อย่างเดียวไม่ได้  ต้องมองด้วยมุมมอง Worm’s eye view ด้วย
  • จริงๆประเทศไทยเรามีสังคมพหุวัฒนธรรมอยู่แล้ว  แต่เรามองไม่เห็นเอง
  • คนชั้นกลางเราถูกฝรั่งครอบในแง่ประชาธิปไตย  มองจากข้างบนลงมา  เอากฏหมายรัฐธรรมนูญไปทำลายวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ข้างล่างเต็มไปด้วยความหลากหลาย  คนหลายกลุ่มมาต่อรองเพื่ออยู่ร่วมกัน สร้างสำนึกร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย
  • จะอยู่ร่วมกันต้องเริ่มจากเล็กๆ  จากข้างล่างขึ้นมา  ไม่มองผ่านเศรษฐกิจและการเมืองด้านเดียว  ต้องมองมิติด้านสังคมและวัฒนธรรม
  • ต้องมองเห็นคน  ต้องเข้าถึงคน

การศึกษาก็ไม่ได้ทำให้ คน เห็น คน อาจารย์ไม่เห็นด้วยกับคำว่าทรัพยากรมนุษย์  เพราะคนไม่ใช่ทรัพยากร  มนุษย์เป็นสัตว์สังคม  ไม่ใช่สัตว์เดรฉาน

การแก้ไขต้องเริ่มแก้จากตัวตนของเรา  กลุ่มเครือญาติและชุมชน เน้นที่ความสัมพันธ์ว่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร?

อาจารย์ยกตัวอย่างประเทศอินเดียว่าเป็นประเทศหลากสี  เป็นตัวอย่างที่ดี  เป็นสังคมพหุลักษณ์  เป็นสังคมอหิงสาที่คนต่างเชื้อชาติ  ต่างศาสนาอยู่ร่วมกันได้

ไทย พม่า มาเลเซีย เดิมก็เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมแต่ระบบเศรษฐกิจและการเมืองเข้ามาแทรก เลยยุ่ง

อาจารย์ยกตัวอย่างชาวบ้านที่เริ่มมองจากข้างล่าง ขณะที่หลายคนมองจากข้างบน  เช่นที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง  ชาวบ้านนับถือ  “เจ้าพ่อขุนตาน” เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่คนลุ่มน้ำแม่ตานต่างให้ความ เคารพยำเกรงและเชื่อมั่นว่าสามารถปกปักรักษาและดลบันดาลให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ไหลหล่อเลี้ยง พอเพียงแก่การดื่มกินและทำนา

เป็นการใช้อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นมิติทางจิตวิญญาณประกอบพิธีกรรมร่วมกันเป็นประเพณี  เกิดสันติสุข  สร้างขึ้นโดยคนที่อยู่ด้วยกัน  อยู่ร่วมกัน

หรือกรณีที่ฟิลิปปินส์  มีหลายชนเผ่า  รบกัน ฆ่ากัน  มีการล่าหัวมนุษย์  แต่ก็จบลงด้วยการที่ชนเผ่ามานั่งคุยกัน

เมืองไทยเราแต่เดิม  เป็นเรื่องของบ้าน  เรื่องของเมือง  คืออยู่กันที่บ้าน  มีวัดเป็นศูนย์กลางของสังคม  เกิดความเป็นชุมชน  มีองค์กร  พระสงฆ์  ผู้สูงอายุ  ผู้อาวุโส  มีการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน  มีครู

ถ้าเกิดความขัดแย้งในชุมชน  ในสังคมก็ไม่ใช่เรื่องของ ขาวหรือดำ  ถูกหรือผิด  แต่มีการไกล่เกลี่ย (สมานฉันท์-Conciliation)

ถ้ามีความรุนแรงมากก็ใช้กฏหมายบ้านเมือง

ประสบการณ์ภาคใต้  อาจารย์เล่าว่าทางภาคใต้เค้าต้องการองค์กรชุมชนกลับคืนมา  เช่นสภาอูลามาอ์  โต๊ะครูมีบทบาท  เป็นภาคประชาสังคม (Civic Group)  กลุ่มแบบนี้ถูกทำลายไปโดนการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ (Internal Colonization)  ซึ่งไปทำลายองค์กรท้องถิ่น

เดิมองค์กรชุมชนมีองค์กรตรวจสอบ  ไม่ใช่บังคับ  การแก้ไขต้อง Back to The Base  ต้องหันกลับไปให้ความสำคัญของบ้านเกิดเมืองนอน  ท้องถิ่น กลุ่มประชาสังคมหรือเครือข่ายองค์กรชุมชน

สังคมปัจจุบันเป็นสังคมกดขี่  ต้องลดอำนาจรัฐ  กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)  กลุ่มประชาสังคมก็ต่อรองกับ อปท. กลุ่มประชาสังคมมีอำนาจ Sanction  แต่ไม่มีอำนาจบังคับใช้  ซึ่งก็ตรงกับที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) ซึ่งมีคุณอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธาน ประกาศแนวทางไว้  และ “ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ” ที่ คปร. ได้นำเสนอเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554  มีสาระบางตอนดังนี้……

………สำหรับข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ มีสาระสำคัญดังนี้

ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคลงทั้งหมด โอนอำนาจบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น, เศรษฐกิจท้องถิ่น, สังคมท้องถิ่น และการเมืองท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดย อปท.จะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับที่ดิน ป่า น้ำ ฯ การศึกษา การวางแผนพัฒนาของท้องถิ่น รวมทั้งสามารถกำหนดอัตราภาษีบางประเภทในท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ยังสามารถออกกฎเกณฑ์บางประการ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจของท้องถิ่นเอง เพื่อดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและการบังคับใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าว

ถ้าสนใจฉบับเต็มก็ดาวน์โหลดได้ที่นี่

…………….

ฟังแล้วคิดถึง Centralism ที่ อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์พูดถึง  และ เอกนิยม(monism)


Post to Facebook Facebook


ปรองดอง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 20 กรกฏาคม 2011 เวลา 23:26 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14341

เข้าเยี่ยม facebook ของสถาบันพระปกเกล้า แนะนำให้ไปดู ก้าวแรกรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์”…เดินหน้าปรองดอง ? ในรายการ Intelligence  มี

20-7-2554 19-13-30

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช อดีตสมาชิกวุฒิสภา

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

คุณสมชาย หอมลออ จากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ดำเนินรายการโดยคุณจอม เพชรประดับ

ย่อๆนะครับ  สนใจไปรับชมรับฟังเองนะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช…

การจะปรองดองคงต้องดูเหตุการณ์ทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะแรกตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญ 2540 จนถึงมีการปฏิวัติ ในปี 2549

ระยะที่ 2  ตั้งแต่หลังการปฏิวัติ รัฐบาลสมัยนายกฯ สมัคร  นายกฯ สมชาย

ระยะที่ 3  ตั้งแต่รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ จนถึงปัจจุบัน

การปรองดองก็มี 2 แนวทางหรือทฤษฎีง่ายๆ  คือลืมซะให้หมด กับจัดการให้ยุติธรรมให้หมด ซึ่งก็เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ทั่วโลก

พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ

กลุ่มที่มีปัญหาเรียกร้องเรื่องต่างๆมีมาก มีอยู่เดิมแล้ว  และยังไม่ได้รับการแก้ไข เยียวยา

กลุ่มใหม่ก็มีอีกหลายกลุ่มที่แนวคิดแตกต่างกัน  เป็นปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมืองอยู่ในปัจจุบัน

ในการที่จะปรองดองคงต้องหาความจริงก่อน  แต่มักจะใช้เวลานานมาก  ในต่างประเทศ บางกรณีใช้เวลาหลายสิบปี  และใช้บุคลากรและงบประมาณมากมาย  เพราะจะมุ่งหารากเหง้าของปัญา  รวมทั้งแนวทางป้องกันที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีก

แต่ความจริงประเทศไทยก็มีองค์กรต่างๆหลายองค์กรที่แยกกันทำงานแต่ก็มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน เช่น

คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ซึ่งมีท่านนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป  (คสป.) ซึ่งมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน

คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ถ้ารัฐบาลจริงใจก็สามารถนำข้อเสนอของคณะกรรมการที่ได้ศึกษาไว้เริ่มดำเนินการในส่วนที่ทำได้ไปเลย

คุณสมชาย หอมลออ

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ  และผู้เชี่ยวชาญจาก UN ทำการค้นหาความจริง

ต้องตรวจสอบค้นหาความจริง หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ? สาเหตุของความขัดแย้ง  คณะกรรมการไม่เชื่อทฤษฎีลืมให้หมด เพราะจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต  แต่ไม่ได้แปลว่าต้องลงโทษทั้งหมด  แต่เป็นเรื่องของแสวงหาความจริงให้สังคมเข้าใจ  เยียวยา ลงโทษ  ให้ความยุติธรรม  จะให้อภัยหรือนิรโทษกรรมก็ได้  แต่ประชาชนต้องมีความเข้าใจ

การปรองดองต้องให้มีส่วนร่วม  ความเห็นชอบจากทุกภาคส่วน เงื่อนไขที่สำคัญ 3 ประการของการปรองดองที่ยั่งยืนและถาวร  คือ

  1. ความจริง  ต้องตรวจสอบค้นหาความจริง  แม้จะมีบางฝ่าย  บางคนต้องเจ็บปวด
  2. ความยุติธรรม  ให้ความยุติธรรมกับคนที่ถูกคุมขังอยู่ ที่เสียชีวิต บาดเจ็บล้มตายไป  มีการเยียวยาซึ่งมีการลงโทษ  การขอโทษ การชดเชย  การให้อภัย
  3. การปรับปรุง  มีการปรับปรุงทั้งด้านโครงสร้าง  พรรคการเมือง  กองทัพ  ระบบราชการ  กลไกความยุติธรรม ฯ

ในเรื่องของการปรองดอง  คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะสอบสวนหาข้อเท็จจริงเท่านั้น

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ

รัฐบาลต้องมีความจริงใจในเรื่องนี้  จนทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น  ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้นำเอาสิ่งที่คณะกรรมการทั้ง 5 ชุดที่แต่งตั้งขึ้นมาทำให้เกิดความเชื่อมั่นเลย

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช

รัฐบาลต้องตั้งหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ปรองดองโดยตรงขึ้นมา  เพราะ คอป. เป็นแค่ Fact Finding Committee

คณะกรรมการหรือหน่วยงานนี้รัฐบาลใหม่ไม่ควรตั้งเอง  ต้องให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแลัเป็นที่ยอมรับของประชาชน

ต้องหา Model ที่ทุกฝ่ายยอมรับ

การปรองดองขึ้นอยู่กับการกระทำของรัฐบาล  ต้องสร้างบรรยากาศของความปรองดอง ตั้งแต่การเข้าสู่อำนาจอย่างพอเหมาะพอสม  ไม่แสดงความยิ่งใหญ่เกิน

การแต่งตั้งบุคลากรเข้ามาทำงาน  ต้องเป็นบุคลากรที่ประชาชนยอมรับ

การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ  ให้มีความเป็นธรรม

มุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจและเดินหน้สาเรื่องปรองดองไปด้วย

คุณสมชาย หอมลออ

ประเด็นนิรโทษกรรมเป็นเรื่องของการทำให้เกิดความยุติธรรม ทุกฝ่ายต้องได้รับความยุติธรรม

ประเด็นนิรโทษกรรมเป็นเพียงประเด็นหนึ่งของการปรองดอง

อย่าคิดว่าเสียงคนรากหญ้าเป็นเสียงนกเสียงกา  ยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว

20-7-2554 19-07-46

ถ้าสนใจก็รับชมรับฟังเองดีกว่านะครับ อิอิ

แนะนำบทความ ประจักษ์ ก้องกีรติ: ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน: เมื่อโลกไม่หันหลังให้โศกนาฏกรรม ของ อาจารย์ ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ  ก็มีประเด็นการปรองดองและประเด็นนิรโทษกรรมที่น่าสนใจครับ

Post to Facebook Facebook


สันติวิธี

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 20 กรกฏาคม 2011 เวลา 20:54 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 12496

สันติวิธี (Nonviolent Action)  เรียนรู้เรื่องความขัดแย้ง – อำนาจ - ความรุนแรงมาแล้ว  ลองมาทำความเข้าใจเล็กๆน้อยๆกับเรื่องสันติวิธีดูบ้าง

คงไม่เริ่มด้วยคำจำกัดความ  แต่เอาว่าสันติวิธีมี 2 แบบ

สันติวิธีในการต่อสู้หรือเรียกร้อง (Peaceful Demonstration / protest)  เช่นอหิงสา  อารยะขัดขืน

อารยะขัดขืน (Civil Disobedience) เป็นการใช้สันติวิธีที่มุ่งเปลี่ยนแปลงกฏหมายหรือนโยบาบของรัฐบาล  โดยมุ่งกระตุ้นให้สังคมโดนรวมเห็นว่ามีความอยุติธรรมเกิดขึ้น  มีลักษณะเด่นอยู่ที่เป็นการละเมิดกฏหมาย เป็นการกระทำสาธารณะ  โดยแจ้งให้ทางบ้านเมืองทราบก่อน  และผู้กระทำผิดยอมรับผลของการละเมิดกฏหมายนั้น

***  บางคนเน้นที่จิตใจที่ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น  การไม่เบียดเบียนกันในทางร่างกายและด้วยวาจา

อาจรวมถึง สัตยาเคราะห์ หรือการเคารพในความจริงด้วย ***     

***  อ. ประมวล เพ็งจันทร์

สันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Peaceful Conflict Resolution)

ทั้งนี้ต้องไม่ลืมการป้องกัน  การแก้ไข  และการเยียวยาความขัดแย้งที่จะนำไปสู่การปรองดอง

 

 

Post to Facebook Facebook


ความรุนแรง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 20 กรกฏาคม 2011 เวลา 18:19 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 54141

 

ความรุนแรง (Violence)  เดิมในหลักสูตรจะเป็น ศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ สอนเรื่อง ความขัดแย้ง – อำนาจ - ความรุนแรง  ก็เลยไปค้นๆบทความของอาจารย์มาอ่านเตรียมตัว  เลยเอามาเล่าสู่กันฟังสักเล็กน้อยในเรื่องของความรุนแรง

ความรุนแรงก็คือการทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน  ซึ่งอาจเกิดจากธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือจากน้ำมือมนุษย์ก็ได้

ส่วนในอีกความหมายหนึ่ง  ความรุนแรงคือสิ่งที่มาสกัดกั้นศักยภาพของชีวิต

ความรุนแรงไม่ใช่อำนาจ

ความรุนแรงไม่ใช่ความขัดแย้ง

แต่อาจเป็นจุดจบของสิ่งเหล่านั้น

ฐานคิดเรื่องความรุนแรงให้มองที่ ประธาน กริยา กรรม

ประธาน - อาจเป็นตัวผู้กระทำเอง  หรือตัวโครงสร้าง

กริยา    - การทำให้เกิดความรุนแรงแบ่งออกเป็นทางกายภาพ (Anatomy) กับ Physiology เป็นความรุนแรงที่แทบมองไม่เห็นเลย เช่นการไม่ให้อาหาร  ไม่ให้น้ำ การทำให้น้ำเป็นพิษ การทำให้อากาศเสีย การไม่ให้ยา(ขายยาในราคาแพงหรือการแซงชั่น)

กรรม       - หรือเหยื่อก็แบ่งออกเป็นผลที่เกิดทางกาย  และผลที่เกิดทางใจ  และอาจส่งผลถึงบุคคลอื่นๆด้วย

องค์ประกอบของความรุนแรง

Input     - Intentional Physical Force

            - Sexual

            - Psychological

Victim    - Person, Individual

            - Group

            - Community

            - Society

Results  - Injury

           - Death

           - Psychological Harm

           - Maldevelopment / Deprivation or Neglect

 

Post to Facebook Facebook


ความขัดแยัง–อำนาจ - ความรุนแรง (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 17 กรกฏาคม 2011 เวลา 16:28 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 12868

ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ

อำนาจ  (Power) ความสามารถในการควบคุมผู้อื่นในด้านความคิดและพฤติกรรม

สิทธิอำนาจ (Authority) คืออำนาจที่มีความชอบธรรมด้วย

**** จาก สถาบันการเมืองการปกครอง

……..

คำว่า อำนาจ เป็นคำทั่วไปที่ใช้พูดกันเสมอ เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งหรือผู้ใดผู้หนึ่งสามารถกำหนดให้คนกลุ่มอื่นหรือ บุคคลอื่นกระทำไปตามที่ตนต้องการ แต่ในความเป็นจริงแล้วคำว่า อำนาจ สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบดังนี้
1. พลังอำนาจ (Power) คือ ความสามารถของคนหรือกลุ่มคนในการควบคุมหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำของบุคคล อื่นหรือกลุ่มคนกลุ่มอื่นแม้ว่าการกระทำที่เกิดขึ้นจะเป็นการให้ความร่วมมือ หรือไม่ก็ตาม อำนาจแบบนี้ทางสังคมวิทยาเรียกว่าอำนาจนอกกฎหมาย (Illegitimate power)
2. สิทธิอำนาจ (Authority) คือ ความสามารถของคนหรือกลุ่มคนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามตำแหน่งหน้าที่ในการควบ คุมหรือบังคับให้ผู้อื่นยอมรับและกระทำตาม อำนาจแบบนี้ทางสังคมวิทยาเรียกว่าอำนาจทางกฎหมาย (Iegitimate power)

…….

ฐานหรือที่มาของอำนาจ (Sources of Power)

- Coercive Power อำนาจในการลงโทษ

- Wealth อำนาจจากทุนทางเศรษฐกิจ

- Knowledge  อำนาจที่มาจากอุดมการณ์ ความคิด เหตุผล ความรู้

- Positional Power หรือ Legitimate Power  อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่

- Skill or  Expert Power  อำนาจจากทักษะหรือที่เกิดจากความชำนาญ

- Charisma  อำนาจจากบุคลิกลักษณะส่วนบุคคล

- Reward Power อำนาจที่เกิดจากการให้รางวัล

- Informational Power อำนาจที่เกิดจากการมีข้อมูลข่าวสาร

อาจารย์แสดงความคิดเห็นต่อความขัดแย้งของสังคมไทยในปัจจุบัน

ปัญหาของประเทศไทยไม่ใช่ปัญหาระหว่างพรรคการเมือง  สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน  จริงๆเป็นความขัดแย้งของกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งอิงกับ Traditional Power ( Charisma และประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อ )  กับกลุ่มที่อิงกับระบบประชาธิปไตย (อำนาจรัฐธรรมนูญ)  ซึ่งมีที่มาของฐานอำนาจคนละอย่าง

Traditional Power vs Modern Power

อำนาจที่เผชิญกันระหว่างรัฐ –Beurocratic/ ชนชั้นนำ/ประชาสังคม

พ.ศ. 2475-2516  การเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนำ ที่มีระบบราชการเข้มแข็ง  เป็นความขัดแย้งหลักระหว่างผู้นำซึ่งมักเป็นผู้นำในระบบราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหาร

พ.ศ. 2516-2549 เป็นความขัดแย้งทางการเมืองของชนชั้นนำ vs การเมืองมวลชน  หรือเป็นความขัดแย้งหลักระหว่างรัฐกับประชาสังคม เช่นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 , 6 ตุลาคม 2519, พฤษภาคม 2535  เป็นต้น

ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาก็ได้พัฒนามาเป็น

การเมืองชนชั้นนำ + มวลชน  vs การเมืองชนชั้นนำ + มวลชน

เป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำและขบวนการสังคมขนานใหญ่สองกลุ่ม

ปัจจุบันมีความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งลุกลามไปทุกภาคส่วนของสังคม  รวมทั้งนักวิชาการและภาคประชาสังคม

…………….

“…….คนที่อยู่ในประสบการณ์ตรงมาด้วยตัวเอง เขาไม่ใช่แต่ได้ยินหรือได้เห็น  แต่มันมีความรู้สึกด้วย…”

“……ไม่ต้องกังวลเรื่องภาพพจน์ไทยในสายตาชาวโลก สิ่งที่ต้องทำคือทำอย่างไรให้มันน่าอยู่สำหรับคนไทยก็แล้วกัน…”

…เอกพันธ์ ปัณฑวณิช

Post to Facebook Facebook



Main: 1.5635099411011 sec
Sidebar: 0.14314818382263 sec