Facilitator Lab - สถาบันพระปกเกล้า–3 World Cafe

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 14 กันยายน 2014 เวลา 0:01 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2812

ในการเข้ารับการฝึกอบรมครั้งนี้  แม้จะมีบางกิจกรรมที่เคยเข้าร่วมมาแล้ว  แต่เรียนรู้มาว่ากิจกรรมเดิมๆแม้เข้าร่วมอีก  ก็จะเรียนรู้เพิ่มเติมได้อีกทุกครั้งที่เข้าร่วม  ตัววิทยากรกระบวนการเองก็จะเรียนรู้เพิ่มเติมไปด้วย  เพราะจะมีประสบการณ์ใหม่ๆและความเห็นใหม่ๆจากการสะท้อน  แลกเปลี่ยนประสบการณ์หลังกิจกรรมต่างๆ

วันที่ 2 ของกิจกรรม อาจารย์พิมพ์รภัช ดุษฏีอิสริยวงศ์ และอาจารย์พีรานันต์ ปัญญาวรนันท์ได้ให้พวกเราฝึกหัดทำกิจกรรมต่างๆที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานของวิทยากรกระบวนการ เช่น World Café , Speed Dating, Timeline, Open Space และ Caravan

คงไม่เล่ารายละเอียดของกิจกรรม World Café นะครับ  แต่จะตั้งข้อสังเกตที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้  ถ้าเจ้าของร้านกาแฟทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการก็จะจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการพูดคุย  นอกจากนี้ก็จะต้องจับประเด็นที่สมาชิกของวงกาแฟพูดคุยกันแล้วนำเสนอหรือสรุปให้กลุ่มที่มาใหม่ฟัง  วิทยากรกระบวนการจึงต้องมีทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) คือมีความสามารถการจับประเด็นและการนำเสนอ  ในการจับประเด็นต้องอาศัยการฟัง (Deep Listening) ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีจากการสานเสวนาหรือสุนทรียสนทนา (Dialogue)

world-cafc3a92

เนื้อหาที่จะนำเสนอก็เป็นเรื่องราวที่วงสนทนาพูดคุยกัน  เจ้าของร้านหรือวิทยากรกระบวนการก็ต้องไม่ตัดทอนสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ  ไม่เห็นด้วยออกไป  รวมทั้งไม่นำความเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมเข้าไปอีก  ถ้าเป็นแบบนี้เวลานำเสนอ  เนื้อหาก็ควรจะเหมือนหรือคล้ายคลึงกันมาก  (ไม่งั้น Free Sex Shop คงหายไปจากการสรุปแล้ว  เพราะเจ้าของร้านไม่ชอบ  อิอิ)

กิจกรรม World Café ให้เวลาน้อยไปหน่อย  รอบแรกไม่มีปัญหาอะไร  แต่รอบถัดไปเจ้าของร้านต้องสรุปให้กลุ่มใหม่ฟังและต้องให้มีการสนทนาโดยกลุ่มใหม่อีกด้วย  เวลาที่น้อยไปทำให้กิจกรรมไม่ค่อยสมบูรณ์  การพูดคุยไม่ค่อยลื่นไหล  แต่ก็พอจะเรียนรู้ได้

Post to Facebook Facebook


Facilitation Lab -สถาบันพระปกเกล้า- 2

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 13 กันยายน 2014 เวลา 22:04 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3213

หลังจากที่ปรับแนวคิด  ปรับทัศนคติ ได้แล้ว  ถ้าสนใจที่จะเป็นวิทยากรกระบวนการก็ต้องหาความรู้และฝึกฝนต่อไปอีก  คงแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง

1. Hard Side - เสื้อผ้าหน้าผม  เครื่องมือต่างๆที่ใช้ (องค์ความรู้หรือชุดความรู้ที่วิทยากรกระบวนการพึงรู้)  รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตร  ออกแบบการฝึกอบรมหรือกิจกรรมที่ต้องการ (Ice Breaking, ความคาดหวัง, กฎกติกา ฯ)   การหาสถานที่  การคัดเลือกหรือสุ่มกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม  การเตรียมกลุ่มก่อนการอบรม ฯลฯ

ชุดความรู้ที่วิทยากรกระบวนการพึงรู้ เช่น Dialogue (สานเสวนา หรือ สุนทรียสนทนา), Knowledge Management (การจัดการความรู้), World Café, Speed Dating, Open Space, Caravan ………

2.  Soft Side - การพัฒนาด้านในหรือจิตใจของวิทยากรกระบวนการ  รวมถึงการฝึกปฏิบัติและฝึกทักษะด้วย  เพราะบางเรื่องเป็นเรื่องของปัญญาปฏิบัติ  ไม่ทำเองไม่รู้  ไม่เข้าใจ  มโนเอาเองก็ไม่ได้  เช่น

20140911_074241 1410600627796

สติ หรือ Mindfullness  บางคนก็ฟังบรรยาย อ่านตำรา  จนจำได้หมด  แต่ก็ไม่ค่อยขมีสติ  เพราะขาดการฝึกปฏิบัติ

ฉันทามติ หรือ Consensus  คืออะไรก็พูดๆกันไป  อาจารย์ให้ทำประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation)  บอกว่าให้หลีกเลี่ยงการโหวตหรือลงคะแนนเสียง  อาจใช้ sticker dot เพื่อจัดลำดับความสำคัญ…….เผลอแป๊บเดียว  คุยกันว่าลงคะแนนลับดีหรือเปิดเผยดี

Dialogue  (สานเสวนาหรือสุนทรียสนทนา) ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและต้องฝึกฝน  ขนาด Guru บอกว่าถ้าได้มีโอกาสร่วมสนทนาในวงสนทนาที่ดีๆสัก 40 ครั้งก็จะเริ่มเข้าใจว่ามันคืออะไร? (ตอนนี้ก็ได้แค่ 39 ครั้งก็เลยยังไม่เข้าใจ อิอิ)

1410600332430 1410600345172

คนที่ ขาดการพัฒนา Soft Side เอาชุดวิชาและเครื่องมือต่างๆไปใช้ก็เหมือนคนที่ไม่มีกำลังภายใน  ใช้วิชาหมัดมวยหรือวิชากระบี่ร่ายรำแต่ก็ขาดพลัง  ย่อมทำงานไม่สำเร็จ

Post to Facebook Facebook


Facilitation Lab –สถาบันพระปกเกล้า - 1

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 13 กันยายน 2014 เวลา 17:47 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1449

หลังจากห่างหายจากการเขียนบันทึกมานาน อาจเป็นเพราะเป็นช่วงท่องเที่ยวพเนจรหาวัตถุดิบในการเขียน หาแรงบันดาลใจ ในที่สุดก็อยากเขียน

เริ่มจากการสมัครเข้าอบรมหลักสูตร “Facilitation Lab:ฝึกทักษะวิทยากรกระบวนการ” จัดโดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า วันที่ 8-11 กันยายน 2557 ที่กนกรัตน์รีสอร์ท สมุทรสงคราม

วิทยากรประกอบด้วย

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เมธัส อนุวัตรอุดม

ชลัท ประเทืองรัตนา

ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์

พิมพ์รภัช ดุษฏีอิสริยวงศ์

พีรานันต์ ปัญญาวรนันท์

มีน้องโอ๊ตและน้องโอปอคอยอำนวยความสะดวก (กินอิ่ม นอนอุ่น)

บทเรียนที่ได้รับบทแรกได้จากคำถามของ พี่อุ๋ย (พันตรีหญิง รัชดาวัลย์ นิสสัยเจริญ) ที่ถามว่าการทำงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆโดยใช้วิทยากรกระบวนการจะใช้กับวงการทหารได้หรือไม่ ?

จากคำถามนี้ก็นำไปสู่การเรียนรู้ว่า ศรัทธา ความเชื่อต่อกระบวนการ (Process) นี้มีความสำคัญต่อคนที่จะเป็นวิทยากรกระบวนการ อาจารย์ประกายรัตน์ก็เน้นว่าคนที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานการประชุมในการประชุมกลุ่มเยียวยาหรือการไกล่เกลี่ยเยียวยา หรือในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) นั้นก็ต้องมีทัศนคติและทำบทบาทของวิทยากรกระบวนการเหมือนกัน

ดังนั้นก่อนจะอบรมหรือเรียนรู้เครื่องมือต่างๆที่ใช้บทบาทของวิทยากรกระบวนการ ควรปรับทัศนคติ ศรัทธา ความเชื่อและเข้าใจบทบาทของวิทยากรกระบวนการก่อน

**** Chaos Theory : Chaordic Organization vs Ortholic Organization ***

การที่จะทำให้เข้าใจบทบาทของวิทยากรกระบวนการและมีศรัทธา ความเชื่อต่อกระบวนการนี้จึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรกๆของการจะพัฒนาตัวเองเป็นวิทยากรกระบวนการ (กระบวนกร) – Facilitator

ส่วนจะทำอย่างไรนั้น  ถ้าเป็นคนที่ ego น้อยก็ไม่ค่อยยาก  แต่ถ้า ego สูง  ก็ต้องใช้ศาสตร์ชั้นสูงในการจัดการคนทะเล้น (How to Manage Talent People)

หมายเหตุ: ใครแวะมาอ่านกรุณาทิ้งร่องรอยด้วยการแสดงความคิดเห็นไว้ด้วย เป็น Virtual Reflection หรือ Virtual Dialogue…….อิอิ

Post to Facebook Facebook


ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก …..ขอคิดด้วยคน

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 13 พฤษภาคม 2013 เวลา 15:53 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 13897

ประเด็นเรื่องการยุบโรงเรียนขนาดเล็กมีมานานแล้ว แต่กลายมาเป็นประเด็นร้อนขณะนี้ ความเห็นคงมีแตกต่างกันไปซึ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับสังคม ถ้าการแสดงความคิดเห็นเป็นไปอย่างสร้างสรรค์

…………….

แนว คิดที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กมีมานานแล้ว หลายรัฐบาลที่ผ่านมาก็มีแนวคิดที่จะยุบ เป็นประเด็นขึ้นมาบ้างพอสมควร แต่ก็เฉพาะแวดวงผู้คนที่สนใจการศึกษา แต่ครั้งนี้อาจมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาร่วมด้วยจึงร้อนแรงเป็น พิเศษ…….ถ้าประชาชนคนไทยสนใจการศึกษาแบบนี้จริงๆจังๆและต่อเนื่อง มีการพูดคุยเรื่องนี้ไปตลอด มีส่วนร่วมช่วยกันดูแลการศึกษา อนาคตเมืองไทยคงจะโชติช่วงชัชวาลแน่ๆ
อ่านต่อ »

Post to Facebook Facebook


3D+1 อีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 13 พฤษภาคม 2013 เวลา 15:48 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 12298

เคยเขียนเรื่อง 3d+1 ไว้ (หาไม่เจอละ…อิอิ)

3d ก็มี Debate, Discuss และ Dialogue ฝรั่งว่าไว้ ไอ้ +1 คือ Da ภาษาไทยคือ ด่า (ผมว่าเอง)

หน้าที่ พลเมืองไทยในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ คนไทยขาดมีหลายประการ วันนี้เอามาคุยกันแค่ 2 เรื่องคือพลเมืองขาดการคิดวิเคราะห์และไม่วิพากษ์การเมือง

การ คิดวิเคราะห์คือการคิดที่มีเหตุผล คิดเป็นองค์รวม( Systems Thinking คนละอันกับ Systematic Thinking นะครับ) มีข้อมูลที่เพียงพอ ถ้าสงสัยก็ศึกษากาลามสูตรคงจะพอไหว

การวิพากษ์การ เมืองต้องทำความตกลงกันหน่อย ถ้าพูดคุยกันแบบ Dialogue คงจะง่าย เพราะแค่คุยกัน คนที่มาคุยกันยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน คิดต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา ฟังเหตุผล ข้อมูลของคนอื่นบ้าง แต่เราจะเชื่ออะไรก็เรื่องของเรา เขาจะเชื่ออะไรก็เรื่องของเขา เราพูดก็แค่เล่าให้ฟังว่าเรามีข้อมูลแค่นี้ เชื่อว่าเป็นอย่างนี้ คนอื่นจะเชื่อยังไงก็เรื่องของเขา ไม่มีใครมั่นใจ 100% ว่าข้อมูลเขาครบถ้วน หรือความเข้าใจ ความเชื่อของเขาถูกต้อง 100% หลังการพูดคุยแต่ละคนก็อาจจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติม ส่วนแนวคิดจะเป็นอย่างไรก็ไม่ว่ากัน ไม่คาดหวัง ขอแค่คุยกันแล้วมีปัญญาเพิ่มขึ้นบ้างก็พอ

ถ้าพูด คุยกันบ่อยๆ มากๆ (รู้จักคิดวิเคราะห์) พลเมืองไทยก็จะเป็นเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีเหตุมีผล ยอมรับความแตกต่างทางความคิด ไม่เห็นคนที่คิดต่างเป็นศัตรูที่ต้องเข่นฆ่า สามารถกำหนดให้มีกติกาของสังคมที่ดีที่ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้

แต่ ถ้าขาดข้อมูล ขาดความคิดวิเคราะห์ ไม่รู้จริง ไม่เก่งจริงแต่คิดว่าสิ่งที่ตนได้ยินมา รู้มาถูกต้อง 100% เวลาคุยก็จะออกแนว Debate หรือ Discuss พูดคุยวิจารณ์เหมือนเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่พอถามเข้าจริงๆก็ปรากฏว่าไม่รู้จริง ……ได้ยินมา ….เขาว่า เพื่อนๆใน facebook เขา post เขา share มา โดนใจเลยเชื่อ ) (^#)*@_+^+@+_+^+%@!%+!^)@^

เวลาพูดคุยหรือ post ใน Social Media เลยไม่เป็นการวิพากษ์การเมือง แต่ออกแนว +1 หรือ Da (ด่าลูกเดียว)

คน ที่เขาเข้าใจ เวลาพูดคุยหรือ post ก็จะทำด้วยจิตใจที่ยอมรับความแตกต่าง รักในเพื่อนมนุษย์ ต้องการสร้างสรรค์ ไม่นิยมความรุนแรง คนฟังคนอ่าน ผู้ร่วมสนทนาหรือมาแสดงความเห็นก็จะมีปัญญามากขึ้น

ความ รุนแรงไม่ใช่แค่ความรุนแรงทางกายภาพเท่านั้นนะครับ ความคิด การแสดงออก(การพูด การเขียน) ก็เป็นการใช้ความรุนแรง (มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม) ถ้าสังคมมีพลเมืองแบบนี้มากจะนำไปสู่ความรุนแรง และเป็นตัวอย่างให้ลูกหลานต่อไป

บางคนบอกว่าเรื่องการเมือง เป็นเรื่องสกปรก ไม่อยากวิพากษ์ แต่ชอบ post ชอบ Like ชอบ comment ชอบ Share ชอบด่าเป็นไฟ ถ้าเริ่มด้วยความคิด การพูด การเขียนแล้วนำไปส่ความรุนแรง ต้องถามตัวเองก่อนนะครับว่าเป็นสิ่งที่ต้องการจริงๆหรือไม่? เคยเห็นของจริงหรือไม่? ถ้าต้องฆ่ากันจริงๆ เราพร้อมจะฆ่าด้วยหรือไม่? หรือแค่อยากให้คนอื่นฆ่ากันแต่เราไม่ฆ่าด้วย ()#&^*!(*!#+_)^+!^^=

เวลาคุย เวลา like post comment หรือ share คนอื่นเขารับรู้อารมณ์ความคิดเรานะครับ

……เราจะส่งมอบอนาคตแบบไหนให้ลูกหลานของเรา ?

Post to Facebook Facebook


การประเมิน

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 20 ธันวาคม 2012 เวลา 23:59 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 13978

เคยแสดงความคิดเห็นบ่อยๆเกี่ยวกับการประเมิน

เราต้องการประเมินผลสำเร็จของการทำงาน (ไม่ว่าจะเป็น Output หรือ Outcome ) แต่ด้วยความเป็นห่วงกลัวว่าจะผู้ปฏิบัติจะทำไม่เป็นก็เลยใส่การประเมินขั้นตอน กระบวนการทำเอาไว้ด้วย ซึ่งน่าจะเป็นแค่แนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ แต่ส่วนมากก็ยึดเป็นขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติไปเลย มีการให้คะแนนขั้นตอนต่างๆเหล่านี้เอาไว้ด้วย อันนี้เป็นแนวคิดของพวก Ortrolic Organization ที่คิดว่าถ้าจะทำอะไรให้สำเร็จมีวิธีเดียวและต้องทำให้เหมือนกันด้วย

เช่นถ้าจะทำโครงการหรืองานชิ้นนี้ให้สำเร็จ ต้องทำกิจกรรม 1 2 3 4 5 และ 6 โดยให้คะแนนแต่ละกิจกรรมไว้

ถ้ามีคนทำ A B และ C แล้วสำเร็จได้ผลดีกว่า เร็วกว่า ประหยัดกว่า (คิดนอกกรอบ แบบพวก Chaordic Organization) ก็จะตกการประเมิน เพราะไม่ได้ทำ 1 2 3 4 5 และ 6 เวลาประเมินจึงไม่ได้คะแนนตามตัวชี้วัด (กะปิ –KPI) ซึ่งเป็นความเชื่อของพวก Ortrolic Organization ไม่เชื่อว่ามีวิธีอื่นที่ได้ผลดีกว่าที่เคยทำมา

ซึ่งความจริงแล้วน่าจะประเมินผ่าน ได้คะแนนยอดเยี่ยมเพราะเป็นนวัตกรรม เป็นต้นแบบที่ต้องถอดบทเรียน แล้วนำไปขยายผล ให้คนอื่นได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดและ Process แทนที่จะยึด Content หรือกิจกรรม พิธีกรรมแบบที่เคยทำกันมา

Post to Facebook Facebook


บทเรียนจากการไปกวางเจา - กวางเจาตอนที่ 4

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 เวลา 23:37 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 17560

จากการเดินทางไปร่วมงาน 2012 Guangzhou International Award for Urban Innovation ครั้งนี้ได้เรียนรู้หลายเรื่อง

DSC_4482 (Medium) DSC_4420 (Medium)

การจัดงานของผู้จัด  อาจทุ่มทุนมากไปหน่อย  ใช้คนมากไปหน่อยแต่เราก็ได้เรียนรู้หลายๆเรื่อง  ทางจีนคนต้องการสร้างภาพและชิงความเป็นผู้นำโดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศต่างๆทั่วโลก  มีบทเรียนให้จีนได้เรียนรู้จากเมืองต่างๆทั่วโลก  และเป็นการฝึกคนของจีนเองให้มีประสบการณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติเอง

กรณีการทำงานของนักศึกษาอาสาสมัคร  พบว่ามีการฝึกอบรมกันมาล่วงหน้า  มีการคัดคนที่ใช้ภาษาของแต่ละประเทศมาเป็นผู้อำนวยความสดวกให้เมืองต่างๆ  จากเทศบาลนครเชียงรายนักศึกษาอาสาสมัครพูดภาษาไทยได้ชัดมาก(มีอาสาสมัครดูแลคนละชุดกับเทศบาลนครพิษณุโลก)  นักศึกษาที่มาดูแลเทศบาลนครพิษณุโลกพูดภาษาอังกฤษได้ดีมาก  และดูจะมีวุฒิภาวะสูงทั้งๆที่ยังเรียนอยู่ปี 2 ปี 3 กัน

สังเกตการทำงาน  จะไม่เห็นอาจารย์มายุ่มย่ามกับเด็กๆเลย  แต่จะมีการสรุปมอบหมายงานกันมาก่อน  สามารถโทรศัพท์ปรึกษาได้ตลอดเวลา  และมีสรุปการทำงานกันทุกวันเพื่อเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน  ก่อนเข้านอนจะพบเด็กๆยืนเข้าแถวสรุปงานประจำวันกัน

DSC_4967 DSC_4968 DSC_4971 (Medium)

ความเจริญของบ้านเมือง พบว่าสามารถทำตามยุทธศาสตร์และแผนงานที่วางไว้  เช่นในการเป็นเจ้าภาพ Asian Games  ก็สามารถเนรมิตที่พักนักกีฬาและสนามแล้วเสร็จใน 6 เดือน (ไม่เปรียบเทียบกับเมืองไทยเรานะครับ)  ไม่นับรวมที่นครอื่นๆที่สามารถพัฒนาได้ตามเป้าหมายที่วางไว้  เช่น เซี่ยงไฮ้  ในการเตรียมการจัดงาน Expo 2010 Shanghai อาจารย์ ดร.นิกร วัฒนพนม  เคยกล่าวไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้วว่า  ในอนาคตจีนจะเป็นมหาอำนาจของโลกทางด้านเศรษฐกิจ  ซึ่งก็เป็นความจริงแล้ว

มีโครงการให้นักศึกษาเรียนเกษตรกรรม  เรียนจบแล้วก็ส่งกลับไปเป็นผู้ใหญ่บ้าน  เด็กพวกนี้ก็ใช้วิชาที่ร่ำเรียนมาพัฒนาการเกษตร ด้วยการพัฒนาการผลิต  การแปรรูป  บรรจุภัณฑ์  การตลาด  การขนส่ง  ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีฐานะดีขึ้น  เด็กพวกนี้ก็มีโอกาสไต่เต้ามาเป็นกรรมการบริหารพรรคในท้องถิ่น  เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ (ฟังเรื่องนี้แล้วคิดถึงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่น่าเสียดายที่หลักสูตรนี้ยังไม่สามารถสร้างเครือข่ายกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และดึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาช่วยให้หลักสูตรนี้เข้มแข็งขึ้น

คุณสุนี (ไกด์ท้องถิ่นที่แอบพาเราออกไปท่องเมืองบ้างตามสมควร) เล่าให้ฟังว่า  รถจักรยานยนต์เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุสูงมาก  เสียงดังและเป็นบ่อเกิดของอาชญากรรม วิ่งราว  ทางนครกวางเจาจึงเริ่มบังคับให้ย้ายโชว์รูมออกไปอยู่นอกเมือง  ไม่ต่อทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่ใช้อยู่บริเวณในเมือง  จนปัจจุบันนี้ไม่มีจักรยานยนต์วิ่งในนครกวางเจาแล้ว  แต่นอกเมืองยังคงอนุญาตให้ใช้

การเดินทางครั้งนี้มีโอกาสแว๊บไปซุกซน  เดินตะลอนๆตามตลาดหรือดาวน์ทาวน์น้อยมาก  แต่ทุกสถานที่ที่ไปจะพบว่าจีนมีการพัฒนาขึ้นมาก  มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วซึ่งสังเกตได้แทบทุกครั้งที่มีโอกาสไปเยี่ยมจีน  เสียดายไม่มีโอกาสใช้บริการรถไฟใต้ดินของกวางเจาซึ่งมีถึง 8 สาย  สถานีก็อยู่ใกล้ๆโรงแรมที่พัก

ทางด้านวิชาการ  มีการนำเสนอแนวคิดและโครงการต่างๆที่นครและมหานครอื่นๆดำเนินการ  เช่น

นคร Melbourne  นำเสนอ “Innovation needs Information” แนวคิดมาจากการนั่งดื่มกาแฟแล้วแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆกันอย่างง่ายๆ  ชิวๆ  เลยพัฒนา application ในมือถือเพื่อใช้ควบคุมอาคาร –Herritage Control  เรียกว่า Heritage Smartphone app. สามารถใช้ได้ทั้งการท่องเที่ยว  การอนุรักษ์อาคาร  การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  ฯ  ทั้งนี้เป็นการให้บริการข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชน  ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้่อมูลข่าวสารได้สดวกและรวดเร็ว

18-11-2555 23-23-58

ฯลฯ ……………….เล่าไม่ไหว  อิอิ

คนไทยจำนวนมากยังยึดติดกับความคิดเดิมๆว่าจีนเป็นคอมมิวนิสต์  ประเทศล้าหลัง  ไม่เจริญ  มีคนกล่าวว่าคนไทยชอบดูถูกคนชาติอื่น  ทั้งๆที่บางครั้งเราก็เจริญสู้เขาไม่ได้

ไม่ได้ชอบหรือชื่นชมจีนหรือประเทศอื่นอย่างออกหน้าออกตานะครับ  อะไรของเขาดีก็นำเอามาประยุกต์ ปรับใช้  อะไรไม่ดีก็เป็นบทเรียนที่ดีของเรา  ดีกว่าถ้าถูกใจก็ชอบ  ชื่นชมอย่างไม่มีเหตุผล  ไม่ถูกใจก็ด่าว่าเขาอย่างไม่มีเหตุผล   สุดท้ายสังคมไทยถึงเป็นแบบนี้

จบยังงี้ได้ไงเนี่ย…….อิอิ

Post to Facebook Facebook


ใครจะกล้าเป็นเจ้าภาพต่อจากกวางเจา - กวางเจาตอนที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 เวลา 17:10 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 15811

การจัดงาน 2012 Guangzhou International Award for Urban Innovation ที่กวางเจาครั้งนี้  เห็นความพร้อมของเจ้าภาพที่จัดงานตั้งแต่การเตรียมงาน  การประสานงานแล้วครับ  มีหนังสือเชิญมาเป็นทางการ  มีหนังสือนำเพื่อนำไปมอบให้ที่สถานฑูตหรือสถานกงศุลจีนถ้าจำเป็นต้องไปขอวีซ่า(กรณีไม่ใช้หนังสือเดินทางของทางราชการ) ที่ระบุชื่อ  นามสกุล  และข้อมูลต่างๆครบถ้วน  มีกำหนดการมาให้ศึกษาล่วงหน้า ฯลฯ

มีสติ๊กเกอร์ติดหน้าอกและกระเป๋าเดินทางระบุว่าเป็นแขก VIP   ป้ายชื่อ ของทางนครกวางเจาส่งมาล่วงหน้า  ผ่านสดวกทุกขั้นตอนทั้งตรวจคนเข้าเมือง  ศุลกากร   มีอาสาสมัครซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่นครกวางเจามาเข็นกระเป๋าให้และดูแลตลอดทุกขั้นตอน  ส่งเข้าห้องพักในโรงแรม  แถมขอร้องแกมบังคับไม่ให้แตกแถวด้วย

GZ01

ระหว่าเดินทางจากสนามบินไปโรงแรมที่พัก  น้องๆนักศึกษาอาสาสมัครก็แจกโทรศัพท์มือถือพร้อมซิม  ชาร์ตแบตเตอรีเต็ม  พร้อมใช้งาน  ที่สำคัญคือน้องๆนักศึกษาอาสาสมัครที่ดูแลพวกเราจะบันทึกรายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของเราทั้งกลุ่มรวมทั้งของอาสาสมัครไว้ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว  เอาไว้ให้พวกเราติดต่อกันเองและติดต่อกับอาสาสมัครได้ตลอด 24 ชั่วโมง  นอกจากนี้ยังมีศูนย์บริการ (Service Center) ที่ lobby โรงแรมให้บริการ 24 ชั่วโมงด้วย

Gz03

เวลาจะประชุมหรือออกไป City Tour จะคอยแจ้งกำหนดเวลาและสถานที่นัดหมายให้ทราบอีกครั้งหนึ่งเพื่อกันลืม  มีการแจ้งว่าทีมเราจะขึ้นรถคันที่เท่าไหร่  ติดสติ๊กเกอร์หมายเลขกลุ่มและรถเพื่อกันปัญหาขึ้นรถผิดคัน  ลงจากรถก็จะมีกำแพงอาสาสมัครคอยบังคับให้เข้างานแบบแว๊บไม่ได้เลย  ถ่านรูปเพลินนึกว่าจะหลงกลุ่มก็มีอาสามสมัครคอยติดตามตลอดเวลา

ด้านการรักษาความปลอดภัยตามโรงแรม ห้องประชุมและงานเลี้ยงก็จะใช้นอกเครื่องแบบ  ไม่เห็นอาวุธ  แต่ถ้าออกนอกโรงแรม  ไปดูงานจะมีรถนำ  ใช้กำลังตำรวจและอาสาสมัครจราจรจำนวนมาก  ทุกสี่แยกและจุดทางม้าลายคอยกันคนเดินเท้าและจักรยาน

Gz04

ห้องประชุม เอกสารประกอบการประชุมน้องๆนักศึกษาอาสาสมัครนำมาแจกให้ถึงห้องพักตั้งแต่วันที่มาถึงแล้ว   อุปกรณ์ทุกอย่างพร้อม  มีการแปล 5 ภาษา  อุปกรณ์หูฟังก็ไม่ต้องคอยเซ็นชื่อยืม  แจกไว้ประจำที่นั่งของแต่ละคนเลย  โต๊ะอาหารงานเลี้ยงจัดที่นั่งให้ทุกคน  มีป้ายชื่อเรียบร้อยว่านั่งโต๊ะไหน  มีอาสาสมัครคอยดูแลให้  แต่จากเอกสารที่อาสาสมัครแจกให้ก็ทราบตั้งแต่แรกแล้วว่านั่งรถหมายเลขอะไร  นั่งโต๊ะที่เท่าไห่  แนบผังโต๊ะนั่งมาให้เรียบร้อย

GZ05

ขากลับ แต่ละคณะก็มีอาสาสมัครชุดเดิม(เพราะชุดเดิมดูแลตลอดตั้งแต่ลงเครื่องจนขึ้นเครื่อง) พาออกจากโรงแรมที่พักไปส่งที่สนามบิน  ช่วยเช็คอิน  มีการขอการบินไทยที่นั่นอนุญาตให้เราเช็คอินที่เคาน์เตอร์ Busuness Class ทั้งกลุ่ม  ทั้งๆที่ก่อนหน้าเราไม่นานเพิ่งมีการไล่ผู้โดยสารที่เข้ามาเช็คอินผิดเคาน์เตอร์ออกไป  นักศึกษาอาสาสมัครของเราเดินอาดๆเข้าไปขอเจ้าหน้าที่ดื้อๆ  พอเห็นเจ้าหน้าที่ยิ้ม  พยักหน้าก็โล่งอก  เพราะคิวยาวเหยียดเลยครับ

ดูการทุ่มทุน (เฉพาะรางวัลก็เมืองละ 20,000 US แล้ว)  และคนในการจัดงานครั้งนี้แล้ว  หนักใจว่าใครจะกล้าเป็นเจ้าภาพจัดต่อจากhttp://www.youtube.com/watch?v=C2YbcfPMeqA&feature=relmfuกวางเจา

Post to Facebook Facebook


ต้นแบบ–Guangzhou Award (กวางเจาตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 เวลา 15:20 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 16414

ผลการตัดสินอย่างเป็นทางการ  เมืองที่ได้รับรางวัล  2012 Guangzhou International Award for Urban Innovation   5 เมือง ได้แก่ Kocaeli (Turkey), Lilongwe (Malawi), Seoul (Korea), Vancouver (Canada), Vienna (Austria)…….รายงานผลการตัดสินโดย CNBC

Kocaeli (Turkey) นำเสนอเรื่อง “ Prepare Before It’s Too Late: Learn to Live with Earthquake”

เมืองนี้เคยประสบเหตุแผ่นดินไหวมีผู้เสียชีวิตถึง 18,000 คน  จึงเริ่มเอาจริงกับการเตรียมตัวทั้งด้านเทคโนโลยีที่จะเฝ้าระวังและการให้ความรู้แก่ประชาชน   มีความร่วมมือกันทุกภาคส่วน  สถาบันอุดมศึกษา  องค์กรเอกชน ศูนย์วิจัย  และรัฐบาลท้องถิ่น

Lilongwe (Malawi) นำเสนอเรื่อง “ Lilongwe/Johannesbyrge: Cities Mentorship Program”

เป็นการนำเสนอความร่วมมือที่เมือง Johannesburge เป็นพี่เลี้ยงให้เมือง Lilongwe  ช่วยในการวางแผนยุทธศาสตร์  (ทั้งด้านเศรษฐกิจ ผังเมือง โครงสร้างพื้นฐาน การจัดการฯ)   ทำให้เกิดความโปร่งใส  ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลง  ทำให้สามารถปรับปรุงบริการสาธารณสุขและน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับคนยากจน  สร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการที่ยากจน  ชุมชน  และกลุ่มสตรี

Seoul (Korea) นำเสนอเรื่อง “ Citizen Participation-oriented Youth Prostitution Prevention Project through Regional Networks”  และเรื่อง “ Healthy Seoul Free from Internet  Addictions of Children and Adolescents”

DSC_4849 (Medium) DSC_4850 (Medium)

เป็นเรื่องของการป้องกันไม่ให้เด็กสาวมาเป็นโสเภณีโดยอาศัยเครือข่ายและความร่วมมือทุกภาคส่วน  มีการตั้งโรงเรียน –Self-Empowerment School for teen Prostitutes  ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสังคมและผู้ประกอบการในการให้โอกาสฝึกงานและรับเข้าทำงาน

เรื่องที่เป็นปัญหาของทุกสังคมปัจจุบันคือ Internet Addictions  มีการดำเนินการเพื่อลดจำนวนผู้ที่ติดอินเทอร์เน็ตจำนวนสูงถึง 12% ของผู้ที่มีอายุ 9-30 ปี  ด้วยการตั้งศุนย์ “ I Will Centres” ขึ้นเพื่อบำบัด  ด้วยความร่วมมือของผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ

Vancouver (Canada) นำเสนอเรื่อง “ Visionary Vancouver: Creating a Welconimg and Sustainable Place for All ”

เริ่มจาก “ Greenest City 2020hy  ” พัฒนามาเป็น “ ( Zero Carbon, Zero Waste, and Healthy Eco-systems”

Vienna (Austria) นำเสนอเรื่อง “ Start Wien: A Programme for New Migrants to Help Them Settle In and Facilitate Their Intregation in Vienna ”

นอกจากการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างจริงจัง  กรุงเวียนนายังทำงานด้านสังคม  เพราะมีคนต่างชาติอพยพเข้ามาทำงานมาก  ด้วยการเปิด “ One Stop Shop Service” โดยบูรณาการหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน  ให้บริการข้อมูล การแนะนำ  สอนภาษา  ให้บริการเน้นเป็นรายบุคคล

Post to Facebook Facebook


Guangzhou International Urban Innovation Conferrence- กวางเจาตอนที่ 1

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 เวลา 0:38 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3966

122331703

เทศบาลนครพิษณุโลกได้รับหนังสือเชิญจากคณะผู้จัดงาน Guangzhou International Urban Innovation Conferrence  ซึ่งร่วมกันจัดโดย World Association of the Major Metropolises (Metropolis),  United Cities and Local Governments (UCLG)  และเทศบาลนครกวางเจา (City of Guangzhou)  ให้ไปร่วมงาน “2012 Guangzhou International Urban Innovation Conferrence” ที่จัดขึ้นที่นครกวางเจา สาธารณรัฐประชาชนจีน  ในวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2555  ทั้งนี้เทศบาลนครพิษณุโลกได้ส่งเรื่อง “ Education Park to build a knowledge-based society for all in the heart of the city’s economic area”  เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย

งานนี้มีนคร มหานครและเทศบาลต่างๆเข้าร่วม 153 แห่งจากมากกว่า 56 ประเทศทั่วโลก วัตถุประสงค์ของการจัดครั้งนี้ก็เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างนคร  มหานครและเทศบาลที่มีขนาดใหญ่และมีความเป็นเมืองทั่วโลก  ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน (Intercivilization dialogue to pool our wisdom together)  โดยเน้นเรื่องของนวัตกรรม – “ Innovation Shaping a Bright Future ”

นวัตกรรมทั้ง 8 ด้านได้แก่

การวางผังเมือง (Urban Planning)

การบริหารจัดการ(Administrative Management)

การจัดการสิ่งแวดล้อม (Ecological Environment)

เมืองที่ทันสมัยด้าน IT และเทคโนโลยี (Smart City)

ที่อยู่อาศัยและการขนส่ง (Housing and Transportation)

บริการสังคม (Social Services)

การมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน (Cooperation & Citizen Involvement)

การสร้างศักยภาพขององค์กรและชุมชน (Capacity Building)

DSC_4980 (Medium)

ในงานนี้ได้มีการพิจารณามอบรางวัล Guangzhou International Award for Urban Innovation  โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน คือ

บริการสาธารณะ (Public Services)

การจัดและการบริหารองค์กร (Organization and Management of Public Departments)

การมีส่วนร่วมของประชาชน (Partnership and Public Participation)

เมืองที่ทันสมัยด้าน IT และเทคโนโลยี (Smart City)

เมืองยั่งยืน (Sustainable City)

โดยมีเงื่อนไขว่า กิจกรรมที่นำเสนอต้องเป็นเรื่องที่เป็นนวัตกรรม ไม่เป็นเรื่องที่เน้นรายได้หรือกำไร  มีความยั่งยืนและเมืองอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

ผลการตัดสินอย่างเป็นทางการ  ได้แก่ Kocaeli (Turkey), Lilongwe (Malawi), Seoul (Korea), Vancouver (Canada), Vienna (Austria)

รายงานผลการตัดสินโดย CNBC

DSC_4910 (Medium)

Post to Facebook Facebook



Main: 1.4480359554291 sec
Sidebar: 0.10698699951172 sec