Ulem ตอนถัดมาอีก (3)

Tuesday, March 10, 2009 22:59
By Logos

สืบเนื่องจาก ULEM ตอนต่อมา (2) ผมพอมีเวลาว่างก่อนไปงานตีแตกอีสาน (เฮฯ ๗) และไปน่าน เลยไปเดินช็อบปิ้งหาวิธีลดราคา ระบบควบคุม Ulem ให้ถูกลงมากๆ

ราคาที่บริษัทขายอยู่สำหรับหัวจ่ายน้ำ 10 ชุด คือ

  • ระบบควบคุมชุดใหญ่ ราคา 6,060 บาท
  • e-valve ท่อควบคุมการจ่ายน้ำ ใช้ไฟ 12V ราคา 1,120
  • เครื่องแปลงไฟเป็น 12V ขนาด 20A ราคา 3,200
  • มอเตอร์ และจาน Ulem 10 ชุด ราคารวม 3,000

รวม 13,380 บาท เอื๊อก ม่ายไหว แพงมาก

ถ้าเป็นระบบหัวจ่ายสองชุด ก็เป็น

  • ระบบควบคุมชุดเล็ก ราคา 2,300 บาท
  • e-valve ราคา 1,120
  • มอเตอร์ และจาน Ulem 2 ชุด ราคารวม 600

รวม 4,020 บาท

สืบราคามาดังนี้ครับ (จาก ณัฐพงษ์ เซลล์แอนด์เซอร์วิส www.mynpe.com)

  • กล่องพลาสติกกันนำ้ รุ่น B-6 ราคา 149 บาท
  • programmable timer ยี่ห้อ Toshino ขนาด 2300W ราคา 545 บาท
  • ไวริ่งโพสต์ 2 ตัว ราคา 26 บาท
  • Switching power supply 12V 5A ราคา 860 บาท
  • ปัมป์น้ำตู้ปลา ขนาด 150 ลิตร/ชม ราคา 90 (www.smilepetshop.com)
  • มอเตอร์ และจาน Ulem 2 ชุด ราคารวม 600

รวม 2,270 บาท อาจจะมีค่าสายไฟ ค่าแรง ค่าอุปกรณ์อีกนิดหน่อย แต่ยังถูกกว่าเก่าเป็นพันบาท อาจเป็นโอกาสทางธุรกิจได้

programmable timer รับไฟ 220V และจ่ายออกมาเป็นไฟ 220V ตามเวลาที่ตั้งไว้; ไฟ 220V หลังสวิทช์ จ่ายให้กับปัมป์น้ำ และ switching power supply; ไฟ 12V จาก switching power supply จ่ายผ่าน wiring posts ให้กับมอเตอร์ Ulem; น้ำจากปัมป์น้ำ จ่ายน้ำจากถังเก็บให้กับมอเตอร์

ถ้าเปลี่ยนเป็นชุดควบคุมสำหรับหัวจ่าย 4 ชุด (สำหรับสวนป่า ซึ่งส่งไปแล้วสี่หัว) ก็เปลี่ยน switching power supply เป็น 12V 10A จากราคา 860 บาทเป็น 1,600 บาท บวกกับค่ามอเตอร์และจานเพิ่มอีก 600 บาท (ราคารวมแพงขึ้นเป็น 3,610 บาท)

Tags:

6 ความคิดเห็น

  • #1 handyman ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 March 2009 เวลา 6:44

    ขอบคุณครับ
    เข้ามาอ่านเก็บข้อมูลแล้วตั้งแต่เมื่อวาน  แต่ตอน Post ความเห็นดันไปวางในตอน 2 … ชักงงๆครับ
    เรื่องนี้ยอมรับว่าสนใจครับ .. เคลียร์ปัญหาใกล้ตัวอีกสักหน่อย พอให้หายใจสะดวก จะหาทางร่วมสนุกด้วยครับ
    นอกจากเรื่องนี้  ถ้าจะเปิดเวทีคุยกันหลายๆคน แบบสหเฮด ท่าจะมันดีนะครับ คงได้เรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่อง คุยแล้วก็กลั่นความคิดมาลองทำ
    ทั้งวิจัย ทั้งคลำๆ(แบบมีหลักการ)  เดี๋ยวเดียวก็ได้ผลงานมาให้ได้ร่วมชื่นชม  และก่อประโยชน์แก่สาธารณชน คนที่จะได้รับอานิสงส์ จากความสนุกเราๆของชาวค่าย DIY ครับ

  • #2 handyman ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 March 2009 เวลา 6:47

    แก้ไขครับ  เดี๋ยวจะงงกัน
    …. จากความสนุกเราๆของชาวค่าย —-> จากความสนุกของเราๆชาวค่าย

  • #3 วัต ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 March 2009 เวลา 12:24

    ลองทำเองมั้ยครับ
    ผมใช้ทำเอง ก็ไม่ยากเท่าไรนะครับ
    มอเตอร์ DC แล้วแต่จะหาได้ หากได้รอบจัดก็จะดีมาก
    ใช้ท่อ PVC มาสวมตัวมอเตอร์ไว้ กันน้ำ ใช้ปืนกาวช่วยในการซีลย์
    ตัวจาน ตัวนี้สำคัญสุด ผมใช้แผ่น DVD (ยี่ห้อ prin– ดีสุดครับ) ที่เสียแล้วมาทำ
    วิธีทำจาน จุดสำคัญของจานก็คือต้องมีขอบในลักษณะลาดเอียงขึ้น
    ผมนำ DVD มาวางบนท่อเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว (ตัดมาเป็นวงสูงประมาณ 2 CM.)
    ใช้เครื่องเป่าลมร้อนเป่าให้แผ่น DVD ร้อนสักเล็กน้อย
    นำแก้วน้ำหรือตัวรองแก้วน้ำก็ได้ แต่ควรเป็นแก้วจะได้มองเห็น ให้เลือกขนาดที่เล็กกว่าวงเหล็กที่เป็นฐานวาง DVD สักเล็กน้อย นำมาวางทับลงไปบนแผ่น DVD เล็งให้อยู่ตรงกลางแผ่นพอดี (หากไม่ใช้แก้ว จะเล็งยาก)
    หาวัสดุน้ำหนักพอประมาณมาวางทับลงไปอีกที
    ใช้เครื่องเป่าลมร้อน เป่าลงไปรอบๆ แก้วที่กดทับแผ่น DVD อยู่ วนเป่าไปเรื่อยๆ หากน้ำหนักที่กดทับน้อยเกินไป อาจใช้มือช่วยกดไปเล็กน้อย สังเกตุแผ่น DVD จะเริ่มยุบตัวลงไป ก็ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ปรับ ให้ยุบสม่ำสเมอกัน ดูว่าพอใช้ได้เกิดส่วนขอบสูงสัก 5-7 cm. ก็พอแล้วครับ
    ลอกแผ่น DVD ออกจากกัน (เป็น 2 ชั้นซ้อนกันอยู่) ผมเลือกใช้แต่แผ่นชั้นล่าง (มียี่ห้อพิมพ์ติดอยู่) ซึ่งส่วนนี้จะทนกว่า
    ใช้กรรไกรตัดเหล็ก ตัดขอบส่วนเกินทิ้งไป ได้เป็นแผ่นจาน
    นำแผ่นจานไปติดกับมอเตอร์ โดยอาจจะต้องตัดแผ่นพลาสติกเล็กๆ (จากที่ตัดทิ้งตะกี้นี้) มาปิดรูตรงกลางของแผ่นจานที่ได้เพื่อให้ยึดกับแกนของมอเตอร์ได้ง่ายขึ้น อันนี้แล้วแต่มอเตอร์ที่ได้มา หากได้มอเตอร์ที่ปลายแกนมีการยึดพูลเล่ หรือเฟืองไว้แล้วก็ทำง่ายขึ้น

    จากนั้นก็เดินท่อน้ำมาที่จาน ให้ปลายท่อน้ำติดกับจานให้มากที่สุดแล้วก็ให้ใกล้แกนมอเตอร์ให้มากที่สุด
    วาร์วปรับระดับน้ำใช้ของตู้ปลาก็ได้ ที่เค้าใช้ปรับออกซิเจนปลานะครับ

    น่าจะใช้ที่เป่าผมเป่าได้เหมือนกัน หากไม่มีเครื่องเป่าลมร้อน
    ลองดูกันนะครับ ไม่ยาก

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 March 2009 เวลา 12:53

    ขอบคุณมากครับ สหเฮดอย่างนี้ จึงสมกับเป็นลาน DIY

    แหล่งจ่ายไฟ DC ไม่จำเป็นต้องเรียบกริบ เพราะเราจ่ายให้มอเตอร์ซึ่งไม่ใช่อุปกรณ์ละเอียดอ่อนอะไร แต่ต้องจ่ายกระแสได้สูงๆ

    ผมไปหาทรานส์ฟอร์เมอร์มา ก็ไม่เห็นมีแบบที่จ่ายกระแสที่ขดทุติยภูมิสูงๆ เลยเลี่ยงไปใช้ switching power supply ไปเลยครับ ไม่อย่างนั้นเริ่มทดลองไม่ได้; เปรียบเทียบราคา พบว่า power supply แบบ 13.8 VDC ราคาถูกกว่าแบบ 12 VDC ที่ระดับกระแสเท่ากัน แต่ไม่เอา 13.8 V มาเพราะเกินเรตติ้งของมอเตอร์

    จานที่ปั่นละอองน้ำ ให้ละอองน้ำละเอียด เมื่อละอองน้ำตกลงที่ผิวหนัง ยังรู้สึกได้ แต่ที่พื้นต้องใช้เวลาประมาณครึ่งนาที จึงจะเห็นว่าเปียก เป็นพลาสติกฉีด ราคาสองจาน 100 บาทครับ (ขายคู่)

  • #5 handyman ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 March 2009 เวลา 16:25

    สวัสดีครับ
       ชอบใจเรื่องราวจากคุณ วัต มากครับ  ผมก็ชอบเอาของเหลือใช้ ใกล้ตัวมาตัดต่อ ดัดแปลงทำโน่นทำนี่  ทำได้ก็ภูมิใจว่าช่วยให้ประหยัด และได้ช่วยลดขยะในโลกลงไปด้วย แม้เพียงจุดเล็กๆ  แต่ที่สำคัญคือความสนุกตอนกำลังคิดว่าจะหยิบอะไร มาทำอย่างไรจึงจะได้ผล
       จากประสบการณ์  บางอย่างหากลองทำใช้เองหรือเผื่อแผ่ใคร เพียงชิ้น สองชิ้นก็ไม่มีปัญหา  ครั้นจะทำจำนวนมากเพื่อสนองตอบต่อความต้องการที่มีมากขึ้น  ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ  ตลอดจนวัสดุที่เลือกใช้ไปอีกบ้างในบางส่วน เพื่อให้ทำงานได้คล่องตัว รวดเร็วขึ้น  เรียกว่าใช้เงินเพิ่มอีกนิดก็ต้องยอม เพื่อประสิทธิภาพการทำงาน และ ความ Reliable ของผลิตภัณฑ์
        เรื่อง DC. Power Supply นั้นผมมักใช้ชนิดที่หาได้ง่าย  ราคาถูก  คุณภาพดี เมื่อจ่ายกระแสพอก็หยิบมาใช้ ส่วนเรื่อง Volt นั้นหาก Load ดึงกระแสต่ำกว่า 1 A. ก็หันไปพึ่ง Voltage Regulator IC ตระกูล 78XX  เช่น 7806 เมื่อต้องการ Output 6 V. เป็นต้น  ที่ต้องระวังก็เรื่อง Heat Sink ระบายความร้อนที่ต้องให้มีพื้นที่มากพอ  IC จะได้ไม่ร้อนจนเป็นปัญหาครับ

  • #6 วัต ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 March 2009 เวลา 10:33

    ที่ลองทำส่วนจานเองนั้นก็เนื่องจากว่าเห็นข้อดีของ ULEM ที่เค้านำไปติดออกงานกล้วยไม้ที่สวนสามพรานเมื่อ 2-3 ปีก่อน แล้วชอบใจ ลองสืบเสาะถามดูจากร้านค้ากล้วยไม้ที่มาออกงานนั้น คำตอบที่ได้รับ(เจ้าของสวนกล้วยไม้ที่มาออกร้าน)ผมยังจำติดหูเลยว่า “ลุงซื้อไม่ไหวหรอกราคาสูงเหลือเกิน” มอเตอร์+จาน 300 บาท ก็จริงนะครับ ก็เลยลองทำดู ประสิทธิภาพ ก็คงไม่ได้เท่า ULEM หรอก จากของเหลือๆ ที่มีอยู่ แล้วนำมาทำมันก็ภูมิใจดี
    เรื่อง Supply ผมใช้หม้อแปลง 220:12-0-12 ตัวโตกว่ากำปั้นหน่อยนึง Amp จริงเท่าไหร่ไม่ทราบ ไดโอดกับคาปาซิเตอร์ ฮาร์ฟเวฟ ธรรมดาๆ เลย ต่อกับมอเตอร์ 4 ตัว เปิดครั้งละ 10 นาที โดยประมาณ  สำหรับลูกไม้ที่เพาะไว้ แค่นี้ก็โอเคแล้ว


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Calendar

    November 2024
    M T W T F S S
    « Mar    
     123
    45678910
    11121314151617
    18192021222324
    252627282930