ไทยเอ๋ยไทยแลนด์

อ่าน: 1826

ถ้าติดตามข่าวชาวบ้านรวมตัวกันคัดค้านการเปิดปิดประตูระบายน้ำแล้ว เราจะเห็นความห่างเหินระหว่างข้าราชการกับราษฎร มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมชาวบ้านถึงออกมาประกาศกร้าวพร้อมจะปิดถนน ถ้ารัฐฯยังไม่ยอมเปิดประตูระบายน้ำเต็มที่ เกมส์ท้าชนอย่างนี้ ไม่เป็นผลดีกับฝ่ายไหนทั้งสิ้น ชาวบ้านไม่ได้ทำทีเล่นที่จริง แต่ลงมือขุดปีกประตูระบายทั้ง2ข้างให้น้ำทะลักออกไปมากขึ้น

เกิดเรื่องอย่างนี้ เจ้าหน้าที่ก็ตาเหลือกนะสิ รัฐบาลรีบส่งข้าราชการระดับสูงไปไกล่เกลี่ยเป็นการด่วน มีการต่อรองว่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้แล้วกลับ หลังจากนั้นก็ไม่ใส่ใจดำเนินการตามสัญญา แหม มาผิดคำพูดช่วงเข้าด้ายเข้าเข็มอย่างนี้ มันหวาดเสียวสุดๆเลยละครับ ถ้าเราเอาหัวอกชาวบ้านที่แช่น้ำเป็นเดือนๆมาใคร่ครวญ ก็จะเข้าใจถึงเบื้องหลังของการปะทุอารมณ์

กลุ่มคนที่อดทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

ได้โป้งๆออกมาว่า..ไม่ มี ใ ค ร ม า เ ห ลี ย ว แ ล อ ะ ไ ร พ ว ก เ ร า เ ล ย

ร้องขออะไรก็ไม่เคยได้

พลังชาวบ้านจึงเด็ดขาดกว่าข้าราชการที่ออกไปเจรจาตามใบสั่ง

เรื่องอย่างนี้ ถ้าเข้าไปหากันโดยสุจริตใจ

มันไม่น่าจะต้องตกเป็นข่าวขายขี้หน้าชาวพารา

ชาวบ้านก็บอกโต้งๆอยู่แล้วว่า..

เ ข า น้ อ ย ใ จ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ก า ร ดู แ ล จ า ก ใ ค ร เ ล ย

เรื่องนี้ ถ้าผู้ไปเจรจากับชาวบ้าน มีเรือสัก 15 ลำ บรรทุกข้าวปลาอาหารสิ่งจำเป็นใส่ลงไปให้เต็มลำเรือ แล้วส่งไปยังชุมชนดังกล่าว พร้อมๆกับเปิดอกเจรจา..ขออภัย ..น้ำท่วมใหญ่เกินที่จะวิ่งรอกดูแลไหว วันนี้ เมื่อทราบความทุกข์ร้อนของพี่น้องแล้ว จึงจัดสิ่งละอันพันละน้อยมาช่วยเหลือเบื้องต้น ถ้าขาดเหลืออะไรก็จะจัดเสริมมาให้อีก หลังน้ำท่วมก็จะยังดูแลประคับประคองกันต่อไปอีก

ควรไปอย่างญาติ ไม่ใช่ไปอย่างราชการเต็มขั้น

ชวนมูลนิธิปอเต็กตึ้งไปด้วย

ชวนนักข่าวช่อง3 ชวนโก๊ะตี๋ไปด้วย

ชวนหลวงพี่ติ๊กไปด้วย

ชวนพี่ๆน้องๆนักศึกษาสสสส.ทุกรุ่นไปด้วย

ควรให้ลุงเอกเป็นหัวหน้าทีม

สถาบันพระปกเกล้าสอนมาแล้วนี่ครับ

การเสริมสร้างสังคมสันติสุข (สสสส.)

ออกไปแสดงฝีมือในสนามจริงบ้างเป็นไร

ไปแบบวัดใจกันเป็นตัวอย่าง

แต่ก็นั่นแหละ..คนไม่มีหน้าที่ > >ห้ามยุ่ง !

คนไทยไม่ได้ใจไม้ไส้ระกำอะไรหรอก

ชาวชุุมชนต่างรู้ดีว่าบ้านใกล้เรือนเคียงตกอยู่ในอาการประมาณไหน?

มันขึ้นอยู่กับวิธีและท่าทีที่แข็งทื่อของราชการ

เ ค ย ใ ช้ แ ต่ พ ร ะ เ ด ช ม า ก ก ว่ า พ ร ะ คุ ณ

ก า ร เ จ ร จ า จึ ง ต ก ม้ า ต า ย

ถ้านั่งลงเจรจาระดับคนที่เท่ากันถึงคนที่เท่ากัน

อธิบายว่า ทำไมถึงต้องเปิดประตูระบายน้ำเป็นขยักๆ

ถ้าเปิดเต็มที่จะเป็นอย่างไร

ถ้าเปิดตามที่มีการคำนวณไว้จะเป็นอย่างไร

ชาวชุมชนก็จะเข้าใจว่า การปกป้องพื้นที่กรุงเทพฯด้านในสำคัญอย่างไร ส่งผลต่อใครบ้าง ใครได้ประโยชน์ใครเสียประโยชน์ คนบางกอกที่อยู่จุดไข่แดงปกติสุขฝ่ายเดียวอย่างนั้นหรือ ชี้ให้เห็นว่าคนไทยไม่ว่าจะอยู่จุดไหน ต่างก็ช่วยเหลือกันอุตลุดอยู่แล้ว พวกจิตอาสาเหล่านี้ ไม่มีเขามีเรา ช่วยอะไรได้ก็ทุ่มเทช่วยกันคนละไม้ละมือ ภาพข่าวที่ออกทีวีก็เห็นใช่ไหมละ ไทยด้วยกันรักกันมั่นคงก็ยังมี อย่าให้อคติมาแบ่งแยกแบ่งรัก เรายังจะอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขบนผืนแผ่นดินนี้ไปอีกนาน

อย่าให้ตกเป็นข่าวกลบสิ่งดีๆที่ภาคภูมิใจของไทยทั้งผอง

เราต้องช่วยกันรักษาหน้าตาของประเทศไทย

อย่าให้สำนักข่าวต่างประเทศเอาไปโพทะนา

เห็นชาวญี่ปุ่นไหมละครับ

ถึงจะประสบเคราะห์กรรมมหาโหดอย่างไร

ประเทศญี่ปุ่นกลับได้รับการชื่นชมจากทั่วโลก

พี่ยุ่นสะท้อนความรักใคร่กลมเกลียวกันอย่างแน่นแฟ้น

ชนชาติญี่ปุ่นได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมการร่วมทุกข์ร่วมสุขประชาชาติได้อย่างบรรเจิด

สิ่งเหล่านี้ใช่ว่าจะปลุกกระแสขึ้นมาได้ในเร็ววัน

มันผ่านการกลั่นกรองออกมาจากสำนึกดีของคนในชาติ

เขาฝึกอบรมกันมาอย่างไร

เขาสืบทอดกันมาอย่างไร

เขาพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้บรรลุได้อย่างไร

การเมืองญี่ปุ่นเองก็ล้มลุกคลุกคลานไม่แพ้ของเรา แต่ทำไมการเมืองญี่ปุ่นดึงเอาสังคมมาเป็นเครื่องมือ พรรคการเมืองเขาแยกกันชัดเจน การเมืองก็เรื่องของการเมือง การบ้านก็เรื่องของการบ้าน น่าคิดไหมละครับ การแข่งขันในประชาคมโลก นอกจากจะสู้กันในด้านต่างๆแล้ว ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจะเป็นต้นทุนสำคัญของชาตินั้นๆ ในยุคแห่งการแข่งขันของประชาคมโลก ที่นับวันจะชิงดีชิงเด่นกัน ถ้าผู้คนในชาติเอาแต่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ทำแต่เรื่องลิงหลอกเจ้า อนาคตของชาติบ้านเมืองจะเลวร้ายกว่าน้ำท่วมหลายร้อยเท่านัก

เครดิตของประเทศมีเท่าไหร่

ถ้าความเป็นไทยเหลือน้อยเข้าไปทุกที

ในที่สุดประเทศไทยจะเหลืออะไรครับ

อย่าบอกนะว่า..เหลือแต่น้ำลายกับน้ำเน่า..


เชิญเข้าห้องสอบ

อ่าน: 2433

ยามชีวิตฉุกละหุก

ต้นทุนที่สะสมไว้กับตนเองจะมีความสำคัญอย่างมาก

วันนี้เชิญชวนคนไทยมาทำข้อสอบวิชาพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง

เรียนมาแล้วนี่ครับ วิชาเศรษฐกิจพอเพียง

(ถามกันได้ แต่ห้ามลอกข้อสอบ)

ข้อละ10 คะแนน เวลา 1 วัน

:: ข้อสอบวันแรก

ข้อสอบ ภาคเช้า

จงตอบคำถามต่อไปนี้ เวลา 3 ชั่วโมง

1 ในภาวะฉุกเฉินท่านต้องการความรู้อะไรมากที่สุด

2 ท่านตระหนักเรื่องน้ำท่วมครั้งนี้แค่ไหน

3 ท่านติดตามข่าวเกี่ยวกับน้ำท่วมอย่างไร

4 ท่านมีประสบการณ์เกี่ยวกับน้ำท่วมมากน้อยอย่างไร

5 ท่านเตรียมตั้งรับสถานการณ์อย่างไร

6 ท่านปรับตัวอยู่กับสถานการณ์อย่างไร

7 ท่านคิดวิธีช่วยเหลือตัวเองได้ในเรื่องไหนบ้าง

8 เรื่องใดที่ท่านช่วยเหลือตนเองไม่ได้

9 ท่านไปขอรับการช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง

10 ท่านได้รับ/ไปขอรับความช่วยเหลือจากใคร

11 เรียงลำดับความจำเป็นและต้องการเร่งด่วน 10 ข้อ

12 เรียงลำดับเรื่องที่ท่านต้องการเสนอแนะ 10 ข้อ

ข้อสอบภาคบ่าย

: จงตอบคำถามต่อไปนี้ เวลา 3 ชั่วโมง

1 ท่านนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในประเด็นใด

2 ท่านใช้จ่ายในระหว่างน้ำท่วมไปประมาณเท่าใด

3 ถ้าคะแนนเต็ม 10 ท่านให้ราคาผลงานกลุ่มรายชื่อข้างล่างนี้เท่าใด

3.1 คณะรัฐมนตรี

3.2 นักการเมือง ฝ่ายค้าน/ฝ่ายรัฐบาล

3.3 นักวิชาการ/นักวิจัย/อาจารย์ในมหาวิทยาลัย

3.4 ข้าราชการระดับกระทรวง

3.5 กองทัพไทย/ตำรวจ/ทหาร ทุกหมู่เหล่า

3.6 ข้าราชการระดับกรม/กอง

3.7 ข้าราชการระดับภูมิภาค

3.8 ข้าราชการส่วนท้องถิ่น

3.9 อบต.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

3.10 เครือข่ายชุมชน/ญาติ/เพื่อนฝูง

3.11 บริษัท/ห้างร้าน

3.12 มูลนิธิ/องค์กรการกุศล/อาสาสมัคร

3.13 ตัวท่านเอง

3.14 อื่นๆ

ข้อสอบภาคกลางคืน

: จงตอบคำถามต่อไปนี้ เวลา 3 ชั่วโมง

1 ท่านเข้าใจว่าสาเหตุน้ำท่วมเที่ยวนี้เกิดจากอะไร

2 ท่านมีความเห็นว่าจะแก้ไขปัญหาในระต้นระยะกลางระยะยาวอย่างไร

3 ท่านจะปรับเปลี่ยนอาชีพ/หน้าที่การงานหรือไม่อย่างไร

4 เรื่องใดบ้างที่เป็นวิกฤติมากที่สุดสำหรับครัวเรือนของท่าน

5 หลังจากน้ำท่วม ท่านจะร้องขอความช่วยเหลือในเรื่องใด มูลค่าเท่าใด

6 นอกจากความเห็นใจแล้ว ท่านต้องการได้รับเรื่องใดเป็นพิเศษ

7 ท่านวางแผนแก้ไขเรื่องภายในครอบครัวหลังน้ำท่วมอย่างไร

8 ในระหว่างวิกฤตท่านได้ใช้ความรู้ในเรื่องใดมากที่สุด

9 ท่านเชื่อไหมว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

10 ในช่วงที่เกิดวิกฤติหน้าที่ประชาคนคนไทยควรปฎิบัติตัวอย่างไร

11 โปรดเล่าเรื่องที่ท่านประทับใจที่สุด 1 เรื่อง

12 ท่านชื่นชมและอยากขอบคุณหน่วยงานใดเป็นพิเศษ

หมายเหตุ :: รับสมัครอาจารย์คุมห้องสอบ จำนวน 10 ท่าน


ดีกว่านั่งหายใจทิ้ง

อ่าน: 1679

ถ้าสถานการณ์เฉพาะหน้าสำคัญ

สถานการณ์เฉพาะหลังก็สำคัญไม่แพ้กัน

เห็นข่าวและภาพกำแพงต้านน้ำที่เร่งทำกันอย่างโกลาหล การถุงทรายทำกำแพงใช้ได้ผลดี ทำสะดวกแล้วยังกู้กลับคืนได้ง่าย แต่เหมาะกับสถานการณ์น้ำท่วมธรรมดาๆ ไม่สามารถที่จะเอามาใช้ป้องกันน้ำท่วมระดับมหาวิปโยคได้ ถ้าน้ำพุ่งกระฉูดหนุนเนื่องมหาศาล บางทีการเซาะซึมข้างล่างก็เป็นจุดเปราะบางได้ ความสูงความแรงความดันของน้ำคราวนี้เกินกำลังของกำแพงทรายจะต้านได้ การใช้ดินหรือหินเกล็ดก็มีจุดอ่อนเหมือนกำแพงทราย เพราะไม่สามารถสร้างสูงๆให้แข็งแรงได้

สรุปว่า ต้องหาวิธีสร้างกำแพงใหม่ที่แข็งแรง ทำง่าย ทำเร็ว

ผมลองคิดเล่นๆ แต่อยากให้ทดลองทำดู

โดยเอา ตู้ ค อ น เ ท น เ น อ ร์ เก่ามาใช้

เอารถเครนยกตั้งๆๆเรียงๆๆตามจุดที่กำแพงพัง

จุดที่จำเป็นต้องเร่งสร้างกำแพงใหม่

หรือจำต้องเร่งสร้างเสริมแนวป้องกัน

เรียงตู้ฯตามแนวตั้งในจุดที่น้ำลึก

เรียงตู้ฯตามแนวนอนในจุดที่น้ำตื้น

ถ้าเกรงว่าน้ำจะพัดตู้คอนเทนเนอร์ไหลไปตามน้ำ

ให้เอาดินหรือทรายใส่ลงบางส่วนถ่วงน้ำหนัก

เมื่อตั้งเข้าที่แล้วจึงเอาวัสดุหนักๆใส่ข้างในให้เต็ม

ถ้าสร้างตามแนวคิดนี้จะทำกำแพงได้เร็ว

หลังจากน้ำลดยังกู้คืนได้ง่าย

ตู้ ร ถ บ ร ร ทุ ก สิ น ค้ า เ ก่ า ร ถ ไ ฟ ก็ เ อ า ม า ใ ช้ เ ส ริ ม ไ ด้

ที่ช่วยคิดช่วยลุ้นอย่างนี้

เพราะเป็นห่วงพื้นที่กรุงเทพฯด้านใน

บ้านญาติโกชาวเฮก็อยู่ในนี้ไม่ใช่น้อย

จะขนถุงทรายจากบุรีรัมย์ไปฝากก็คงไม่ทันการ

จะชวนแห้วเปิดร้านขายทรายถุง..ก็ออกจะเกินไป

ผมชอบใจที่นักศึกษาเทคโนโลยีแห่งหนึ่ง (เสียดายจำชื่อไม่ได้) ที่อาจารย์/นักศึกษาช่วยกันประดิษฐ์เครื่องบรรจุทราย ได้นาทีละ10กระสอบ แถมยังใช้แรงงานไม่กี่คน เรื่องนี้สมควรชื่นชมที่สถาบันการศึกษาเอาวิชาความรู้มาช่วยคลี่คลายปัญหาอย่างตรงจุด

ระหว่างน้ำท่วม นักศึกษาหลายสถาบันมาช่วยเหลือประชาชนอย่างแข็งขัน

หลังน้ำท่วม นักศึกษาสายช่างต่างๆจะช่วยได้อย่างมาก

จะสอนวิชาจิตอาสาก็ต้องเลือกโจทย์สดๆร้อนๆอย่างนี้แหละ

ช่างไม้ ช่างปูนฯ ช่วยซ่อมบ้าน

ช่างก่อสร้าง ข่วยสร้างบ้านตัวอย่าง

ช่างอ๊อกช่างเชื่อม ช่วยปะผุงานเหล็ก

ช่างไฟฟ้ ช่วยดูระบบไฟฟ้าในครัวเรือน ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ช่างยนต์ ช่วยซ่อมเครื่องยนต์ รถยนต์ มอเตอร์ไซด์

ช่างสี ช่วยซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์

ช่างเย็บปักถักร้อย ช่วยซ่อมแซมงานผ้า ที่นอนหมอนมุ้ง

ช่างโภชนาการ ช่วยแนะนำเมนูอาหารที่ปลอดภัยราคาถูก

ช่างศิลปะ ซ่อมแซมโบราณสถาน

ช่างโยธา ช่วยเรื้อเก็บวัสดุที่เกะกะกำแพงสู้น้ำ

ช่างออกแบบ ช่วยวางแผนวางผังการแก้ไขทางน้ำ/ร่องน้ำ/ถนน

ช่างเถอะ..ชวนไปเก็บขยะ ทำความสะอาดบริเวณทั่วไป

ช่างเขียน..ชวนมาเขียนบล็อกในลานปัญญา

ช่างคุย.. ไล่ไปเล่น Facebook..อิ อิ


หนังสือที่น่าจะฝากแม่ยาย

อ่าน: 2141

คำนำ

ท่านที่รัก ลองนึกดูเถิด ถ้าเราเกิดมาในสมัยบ้านป่าดงเถื่อน ยุคที่ยังไม่มีการคิดค้นเรื่องตัวอักขระ ไม่มีตัวหนังสือมาให้ฝึกหัดอ่านเขียนเรียนรู้ พวกเราจะมีวิถีชีวิตอยู่เยี่ยงไร คงไม่ต่างกับลิงค่างทโมนที่ห้อยโหนตามกิ่งไม้ใช้เสียงแผดโหยกู่เรียกหากัน

บัดนี้ เราอ่านออกเขียนได้ สืบค้นความรู้ได้ ต่อยอดและถ่ายทอดทักษะและวิชาการให้กันได้ ทำให้เราก้าวล่วงไปสู่ความรอบรู้ที่ไม่มีวันจบสิ้น นับว่าโชคดีนักแล้ว ที่เราๆท่านๆทั้งหลายเกิดมารู้ภาษา อยู่กับภาษา ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการค้นทุกสิ่งทุกอย่าง ปัจจุบันยังมีสื่อด้านไอทีให้เจาะหาความรู้ได้รวดเร็วอย่างน่าอัศจรรย์ ..

ผมสะเปะสะปะกับวิธีควานหาความรู้ พยายามทำตัวเป็นผู้เรียน สนใจสงสัยใคร่รู้สิ่งใดก็ลงมือค้นหาคำตอบ ฉุกคิดเสมอว่า..ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าเราเรียนรู้ได้ ไม่ทราบว่าจะเป็นคำตอบหรือเปล่านะครับ ถ้าจะมองว่า หนังสือเล่มนี้เป็นการประมวลงานหยาบๆของมนุษย์คนหนึ่ง สิ่งที่บอกผ่านคือกิจกรรมของคนบ้านป่า หยิบเอาสิ่งละอันพันละน้อยมาเรียงถ้อยรำพัน เพื่อบอกเล่าว่าชีวิตที่ผ่านมาได้หลงทิศหลงทางอะไรไปบ้าง เผื่อคนเดินตามหลังจะไม่ได้ซ้ำรอยโง่ มีประเด็นบางส่วนที่ทดลองทำวิจัยแบบไทบ้าน มีทั้งหัวกะทิและหางกะทิให้เลือกตามอัธยาศัย

เหตุผลส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากอาการร้อนวิชา

จึงเขียนเอง พิมพ์เอง แจกเอง ขายเอง

ถ้าไม่ขาดทุนก็จะกล้าหาญชาญชัยเขียนเล่มที่2-3ตามมาอีก

ลิเกเขามีแม่ยก ..

แต่หนังสือเล่มนี้ต้องการแม่หยิบ..

ช่วยๆกันหยิบอ่านกันหน่อยนะแม่นะ . .

เอ๊ะ! รึ หนังสือเล่มนี้เหมาะที่จะซื้อไปฝากแม่ยาย อิ อิ

ถึงจะกำพร้าแม่ยก แต่ยังดีที่เครือญาติแซ่เฮช่วยผลักดันให้หนังสือ”บุรีรัมย์โมเดล”ออกมาอยู่ในมือท่าน กราบขอบพระคุณ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ที่เมตตาเขียนคำนิยมให้เป็นมงคลแก่หนังสือเล่มนี้ ขอบพระคุณ “โครงการแทนคุณแผ่นดิน ปี2554” ที่มอบเงินรางวัลให้ได้นำมาสมทบทุนการจัดพิมพ์ ขอบคุณคุณชลิต ศรีพิสุทธิไพศาล ที่สมทบซองพลาสติกหุ้มหนังสือทุกเล่ม ขอบคุณท่านที่อุปการะและท่านผู้อ่าน ขอให้มีความสุขกับการอ่านนะขอรับ

สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

10 กันยายน 2554

มื้อเย็นวานนี้ ป้าหวาน แม่ใหญ่ คุณลูกสาวคุณลูกเขยแม่ใหญ่ ยกขบวนมาเลี้ยงข้าวมื้อเย็นที่โรงแรมโฆษะ ที่จริงเลือกร้านพิเศษๆไว้แล้ว แต่ฝนตกจังเลย จึงเจี๊ยะง่ายๆที่ไหนก็ได้ ขอแต่มีเจ้าภาพกับได้เจี๊ยะกับพี่น้องน้องแซ่เฮ ขอบคุณแม่ใหญ่มากเลยที่เลี้ยงคนจรหมอนหมิ่น ตอนเช้าไปดูบริเวณจัดงาน รับเอกสาร

(บอร์ดคณะกรรมการคัดเลือกผู้รับรางวัล)

อ้าว! ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล มาเป็นประธานแจกรางวัล

รางวัลอะไร รึ เมื่อคืนยังถามกัน

ผมก็เรียกไม่ถูกเพราะไม่มีข้อมูล

ได้รับการประสานงานทางโทรศัพท์

ผมเป็นคนใจอ่อนมือไว ใครให้อะไรก็รับไว้ทั้งนั้นละครับ

ทั้งๆที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนดีของแผ่นดงแผ่นดินอะไรหร๊อก

เป็นคนดีของอุ้ย น้าอึ่ง ครูอึ่ง ป้าหวาน แม่ใหญ่ ก็พอแล้ว อิอิ

(มอบสำเนาให้ท่านองคมนตรีอ่านเพื่อเขียนคำนิยม)

เหมือนสวรรค์มีตาที่จะได้เจอได้คุยกับท่านองค์มนตรี ที่ผมหมายตาไว้ให้ท่านเมตตาเขียนคำนิยมให้กับหนังสือ”อีสานโมเดล” ซึ่งตอนนี้เขียนต้นฉบับไปได้บ้างแล้วหลายบท จึงรบกวนป้าหวานให้ปริ้นๆๆๆๆออกมาใส่ซอง ใส่มือท่าน แบบทันดีทันด่วนสดๆร้อน

แหม..มีพี่น้องแซ่เฮก็ยังงี้ละครับ

อยากจะได้อะไรเป็นไปดั่งเนรมิต

ยิ่งกว่ามีแม่ยกสัก 100 คนเสียอีก อิอิ

2011-09-10


เที่ยวบินปฐมฤกษ์

อ่าน: 4518

:: มันเป็นเรื่องพิลึกกึกกือพอสมควร

ที่ได้เป็นลูกค้าคนแรกของบริษัท THAI REGIONAL AIRLINES

ในการเปิดบินไฟล์แรกของสายการบินที่ว่านี้

มีทั้งเรื่องต๊กกะใจและประทับใจ ..ไม่เล่าไม่ได้แล้ว

(ผู้โดยสารกับเจ้าหน้าที่และกัปตันเที่ยวบินปฐมฤกษ์)

อ่านต่อ »



Main: 0.077270984649658 sec
Sidebar: 0.080788135528564 sec