แม่สายบัวเชิญทางนี้
โดย sutthinun เมื่อ 9 กุมภาพันธ 2010 เวลา 12:39 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ การจัดการความรู้, การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย, การเมือง การปกครอง กฎหมาย, การเสริมสร้างสังคมสันติสุข, ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง, ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม, ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์, มหาชีวาลัยอีสาน, สวนป่าฮาเฮ, สังคม ครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 1726 ตื่นมากลางดึก ทำไมมันเงียบเชียบอย่างนี้นะ
นอนอ่านหนังสือต่อ เจอเรื่องดี ๆ อีกแล้ว
เขาเขียนว่าโลกต้องการความช้า
..ตื่น มางัวเงีย รีบอาบน้ำ แต่งตัว กินข้าวคงไม่ทัน คว้าขนมปังสักแผ่น นมอีกกล่องติดมือวิ่งขึ้นรถ ขับฝ่าการจราจรอันคับคั่ง อาศัยจังหวะรถติดคว้าอาหารมากิน ถึงที่ทำงาน รีบจอดรถ กระหืดกระหอบไปตอกบัตรให้ทันเวลาเข้าทำงาน ประชุมงานอย่างคร่ำเคร่ง พร้อมกับกินอาหารกลางวันกลางที่ประชุม ตกบ่ายรีบเคลียร์งานสารพัดบนโต๊ะ ถ้าไม่ทันต้องอยู่ต่ออีกสักสองชั่วโมง ก่อนจะออกไปเผชิญรถติดบนท้องถนน กว่าจะถึงบ้านได้เข้านอนก็เที่ยงคืน นาฬิกาชีวิตของคนเมืองแทบทุกแห่งบนโลก ดูจะไม่แตกต่างกันเท่าใด เพราะต่างตนต่าง”รีบ” จนดูเหมือน 24 ชั่วโมงต่อวัน ไม่เคยเพียงพอ
อ่านเรื่องนี้แล้วเห็นใบหน้าพวกเราหลายคนลอยมา
ขณะเดียวกันก็นึกถึงคนโชคดีที่เกิดมามีเวลาให้กับตนเอง
ผมชอบที่ Logos ตัดสินใจผ่าตัดเวลาได้
เคยยุหลายท่านให้เออรี่รีไทน์
พอท่านบ้ายุ ทำสำเร็จก็แทบจะไชโย
คนเราจะทำอะไรกันนักหนาก็ไม่รู้นะ
ใช้เวลาหมดไปกับเรื่องอื่น ๆ มากกว่าเรื่องงาน
บางทีสิ่งที่เรียกว่างาน มันก็ไอ้แค่นั้นแหละ
สามารถที่จะจัดการให้สะดวกได้ง่าย แต่ก็ทำให้มันยุ่งและยากเข้าไว้
ไม่มีใครเสียดายเวลาอย่างจริงจัง
โดยลืมคิดว่าเงินแสนล้านก็ซื้อลมหายใจห้วงสุดท้ายไม่ได้
..คลื่นแห่งการพัฒนา ถาโถมเข้าสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะที่ผ่านมา และการพยายามปรับตัวให้ให้ทันต่อความเจริญของสังคมโลก ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงขึ้นในสังคมไทย แม้จะเห็นได้ชัดเจนถึงความเจริญก้าวหน้าในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต แต่เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ทั้งหมดนี้ต้องแลกด้วยทรัพยากรธรรมชาติอย่างมหาศาล ทั้ง ๆ ที่โลกเจริญทางวัตถุมากขึ้น แต่มีผู้คนจำนวนไม่น้อยสัมผัสได้ถึงความเสื่อมถอยของคุณภาพ และสุนทรียภาพในชีวิต
ผมโชคดี ที่เกิดมาสมัยที่ยังไม่มียานพาหนะพลุกพล่านเหมือนทุกวันนี้ จะไปสวนก็ต้องเดินด้วย 2 ขาตัวเอง เรียกว่าเดินจนขาขวิด ตั้งนานสองนานถึงจะมีจักรยานมาขี่ไปสวน สมัยนั้นพ่อแม่ขี่ม้าไปทำไร่ บางทีก็ขี่ไปกลับเช้าเย็น ที่บ้านจึงเลี้ยงม้า 2 ตัว เป็นม้าไทยตัวเล็ก ๆ เวลาวิ่งมาถึงปลายทางจะเห็นเหงื่อชึมไปทั้งตัว ผมเคยโดนม้าพาห้อเป็นพายุครั้งหนึ่ง เด็ก ๆ ไม่รู้เรื่อง พอน้าแกอุ้มขึ้นนั่งอานม้า เราจับเชือกบังเหียนไม่ตึง ม้ามันคงรู้ว่าคนที่นั่งบนหลังอ่อนหัด มันจึงพาวิ่งตะบึงสุดฤทธิ์สุดเดช เป็นระทางประมาณ 2 กม. และไม่ได้วิ่งบนถนนทางตรงนะครับ โจนทะยานไปตามทางเดินคดเคี้ยวกลางป่านู่น ยังดีที่พอมาถึงกระท่อมที่สวนม้าหยุดวิ่ง ผมกระย่องกระแย่งลงจากอานมายืนหน้าซีดอยู่นานสองนาน เข็ดขี้แก่ขี้อ่อนมาจนเท่าทุกวันนี้
จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติความเร็วคือ การหวลรำลึกถึงชีวิตที่เรียบง่าย
และมีสมดุลแห่งจังหวะชีวิต และกลมกลืนกับธรรมชาติ
จากคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ฝั่งหนึ่งของโลก
ปัจจุบันแนวโน้มของผู้คนที่มีแนวคิดดังกล่าวนี้
ได้ขยายตัวไปทั่วทุกภูมิภาค และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
จนกลายเป็นแรงกระเพื่อมทางสังคมที่สำคัญ
สวนกระแสแห่งความเร็วของสังคมผู้บริโภค
กว่าจะมีรถมอเตอร์ไซค์เข้ามาวิ่งในตัวตลาด ผมก็มีอายุรุ่นกระทงแล้ว พ่อค้าในตลาดจะทยอยซื้อมากันเรื่อย ๆ แต่ก็เป็นรถของครอบครัว ไม่ได้มีเกลื่อนถนนเหมือนทุกวันนี้ พวกลูก ๆ จะต้องแอบทีเผลอเอาไปทดลองขับกัน สมัยนั้นถนนดินบางแห่งมีทรายลอยอยู่ผิวหน้า มือใหม่หัดขับก็ถลาแถกไถหงายเก๋งให้เห็นบ่อย ๆ หมออนามัยเรียกว่า “โรคซูซูกิ โรคฮอนด้า” เตี่ยผมคงจะเบื่อเลี้ยงม้า ทดลองฝึกขี่จักรยานก่อน แต่ก็ไม่ชำนาญ สุุดท้ายเตี่ยไม่ได้ขี่มอเตอร์ไซด์จนแล้วจนเล่า มาสบายตอนที่มีรถปิคอัพเข้ามา แต่ถนนยังเป็นถนนดิน ต่อมาลงลูกรัง เพิ่งจะมีถนนลาดยางปีนี้เอง ตอนครูปูกับกามนิตหนุ่มนั่งรถมอเตอไซด์หัวฟูเข้ามาครั้งแรก ยังเจอฝุ่นแดงปะแป้งให้ตลอดทาง
ถ้าเฉลี่ยอายุมนุษย์อยู่ที่ 80 ปี มนุษย์จะมีเวลาอยู่บนโลกนี้ 700,800 ชั่วโมง
หากแม้ว่าเรายังไม่สามารถหยุดความเร่งรีบในเวลาทำงานลงได้
อย่างน้อยเราก็ควรคำนึงถึงอีก 584,000 ชั่วโมงที่เหลือ
ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตส่วนนี้
เพื่อให้เป็นการดำรงอยู่บนพื้นฐานของการไม่ทำลายธรรมชาติ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์
ผู้คนร่้วมสังคม และสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงเรื่องการประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง
อันหมายถึงการไม่ทำร้ายโลก มาตุภูมิ ที่มีบุญคุณต่อเราทุกคน
หรือคุณยังสมัครใจที่จะเร่งรีับตลอด 700,800 ชั่วโมงของชีวิต?
สมัยทำสวนแรก ๆ ที่สวนจะเลี้ยงควายไว้ไถสวนจำนวนมาก รถไถเดินตาม รถแทรกเตอร์กว่าจะมีมาใช้ก็อีกหลายสิบปี ตอนเด็ก ๆ ดูคนงานใช้ควายไถร่องสวนไล่กันที่ละ 10 ตัว เช้าหนึ่งก็ได้พื้นที่หลายไร่ สมัยนั้นปลูกนุ่นไว้ 400 ไร่ ต้องไถปีละ 2 ครั้ง กลางฤดู กับปลายฤดูฝน เพื่อกลบวัชพืชและป้องกันไฟป่าหน้าแล้ง สรุปว่าผมดำเนินรอยสภาพสังคมตั้งแต่ ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม มาจนถึงยุค น้ำขึ้นให้รีบตัก
แนวคิด Slow City เกี่ยวกับ “ความช้า” ในการใช้ชีวิตอีกหลากหลายด้าน อาทิ
Slow Shopping: ลดการชอบปิ้ง เลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่ควรซื้อ หรือใช้ของเก่าซ้ำ เลือกซื้อสินค้าในท้องถิ่น หรือสินค้าแฮนด์เมทที่ต้องใช้เวลาในการผลิต ซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาล เพื่อช่วยลดปรากฎการณ์เรือนกระจกจากมลพิษที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการขนส่ง สินค้าทางไกล รวมถึงการใช้บริการร้านค้าใกล้บ้าน
Slow Design: ลดความเป็นวัตถุนิยม หรือการแต่งเติมที่มากเกินไป ใช้วิจารณญาณมากขึ้นในการกิน ดื่ม อยู่อาศัย และการสร้างสัมพันธ์กับคนในชุมชน
Slow Travel: เดินทางท่องเที่ยวแบบพินิจพิเคราะห์ ใส่ใจและพร้อมเรียนรู้ความเป็นมาของสถานที่และวัฒนธรรมชุมชน เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ตลอดเส้นทาง ไม่ใช่ไปเฉพาะจุดหมายปลายทาง หากท่องเที่ยวด้วยการขับรถ ควรใช้อัตราความเร็วที่เหมาะสม เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง
Slow Living: ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ใส่ใจรายละเอียดรอบตัว สร้างสมดุลทั้งใจและกาย นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีและสังคมสงบสุข
Slow Working ทำงานแบบไม่เร่งรีบ คิดและทำอย่างรอบคอบ คลื่นสมองที่ทำงานช้าลงจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย สามารถคิดสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
Slow Morning: สัมผัสกับความสดชื่นของยามเช้า และความอร่อยของอาหารมื้อแรกอย่างไม่รีบร้อน ทำให้เราดึงประสิทธิภาพสมองมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เล่าฮูมาเดินชมสวนเที่ยวนี้ บอกว่าดิน ที่สวนป่าได้ฟื้นคืนสภาพแล้ว ผมเองก็สังเกตเห็นเช่นนั้น เพราะจะมีลูกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่สูญหายไปกลับมาเกิดใหม่ ๆ ทุกปี แมลง นกก็เพิ่มมากขึ้น ปีนี้จึงไม่ต้องทำอะไรมาก ไม้ยืนต้น ไม้ติดแผ่นดินแน่นแล้ว สางพื้นที่ไว้ 1 ไร่ เพื่อปลูกผักผลไม้ ไม้ดอกไม้ใบ ทำเรื่องใหญ่ ๆ ให้กระชับลง บางคนใช้คำว่าถอดบทเรียน แต่ผมคิดว่าน่าจะต่อแต้มบทเรียนเก่า ๆ มาสู่สิ่งที่เรียนรู้ใหม่ ๆ จะพบสิ่งดี ๆ ที่เกิดจากการสังเกตมากมาย เห็นประโยชน์และคุณค่าของธรรมชาติชัดเจนขึ้น กำลังออกแบบทำที่นั่ง ๆ นอน ๆ ใต้ชายคาหลังบ้าน ถ้าเสร็จแล้วเอาโต๊ะเก้าอี้ไปวาง ต่อไปก็จะไปนั่ง ๆ นอนอยู่ตรงนี้แหละ มีโอกาสอยู่ท่ามกลางต้นไม้ จะไปบ้านั่งอยู่ในห้องทำไม ออกมาอยู่ท่ามกลางกลิ่นไอของท้องฟ้าและหมู่มวลแมกไม้ ฟังเสียงนกเสียงกา หาสัจจธรรมแห่งชีวิตตามสไล์คนแซ่ฮา ได้หามุมของตัวเองเจอแล้ว มีที่จะนั่ง ๆ นอน ๆ ทอดหุ่ยแล้ว มีกระถางบัวตั้งอยู่รอบตัวด้วยแล้ว ใครไปใครมาก็จะรับแขกตรงนี้แหละ
ให้เป็นที่รู้กันว่า “มุมคนป่า”
ทำเรียบร้อยแล้วจะถ่ายรูปมาอวด
แคว๊กๆ
Next : เมื่อครูบาเป็นการ์ตูน » »
4 ความคิดเห็น
ดูเหมือนจะโชคดีที่ทำงานอยู่ในบ้าน
ดูเหมือนจะโชคร้ายที่งานมาถึงตัวได้ตลอดเวลา..555
ดีๆ..ร้ายๆ..คงอยู่ที่ใจจะต้อนรับกับงาน..
บางวัน..สติมาทัน..ความร้อนรนก็คลายลง..
บางวัน..งานรุม..น็อตหลุด..หลงลืมเวลากิน..แต่ไม่ค่อยลืมนอน..
ยังดี..ที่มีต้นไม้ใบหญ้า..ฟ้ากว้าง..ไว้ให้ผ่อนพักใจ
มีใครๆ เขียนบันทึกให้ได้แอบอ่าน..แล้ววิ่งหนีไป..โดยไม่ค่อยคอมเม้นต์..อิอิ
เรื่องสุขภาพ..ไม่รู้จะว่ายังไง เพราะคนเขียนก็พอๆกัน
ต้องระวังเรื่องเผลอ ลืมกิน ลิมคลายน๊อดตตตต
นะครูอึ่ง อิอิ
เพิ่งไปให้ช่างเปิดเสียงในโน๊ตบุกส์ได้
เลยได้ชมรูปและเสียงที่รอกอดส่งมาให้ชม-ฟัง
บังเอิญแท้ๆ
ภาพสวย เพลงไพเราะมาก
ถ้าเปิดให้นกยูงได้ฟังจะเป็นยังไงนะ อิอิ