ต่อล้อต่อถ้อย

อ่าน: 3930

(รู้อะไรถ่ายทอดกันสดๆจะๆ ณ ที่นั้นๆ)

คนพิเศษ

^^ ในตัวตนคนใดคนหนึ่งมีเรื่องพิเศษซ่อนอยู่มากมาย

กว่าจะผ่านร้อนผ่านหนาวเติบโตมา

ย่อมเผชิญกับกระบวนสะสมความรู้

สะสมแล้วสะสางมากขึ้น มากโข มากต่อมาก

คำว่าอย่ามองข้ามคน

คงหมายถึงอย่ามองข้ามสิ่งที่อยู่ในตัวคน

คนสกุลเฮจะไปทำกิจกรรมกับชาวปกากะญอ

จึงควรเรียนรู้วิถีชุมชน

ปัญหาอยู่ที่ ..ยังไม่รู้เขารู้เรา

ใครสันทัดกรณีเกี่ยวกับชาวปากะญอช่วยแนะนำด้วย

(แตงโมผ่าซีกขวาเป็นของจำลอง คิดได้ยังไงก็ไม่รู้)

^^ ก่อนที่จะพัฒนาใคร ควรพัฒนาตัวเราก่อน

เตรียมกึ๋น เตรียมใจ เตรียมการให้พอ

ถ้าไม่พอ ก็จะกลายเป็นพวกพอกะเทิน

(เห็ดเผาะเล็กใหญ่ แก่-อ่อน ได้ทั้งนั้น แล้วแต่วาสนาผู้ซื้อ)

^^ โชคดีคราวนี้พี่น้องชาวเฮไปสัมผัสมาบ้าง

ทำให้ฉุกคิดในสิ่งที่ได้พบเห็นช่วงสั้นๆ

ถ้าเราสงสัยว่า..

ทำไมงานด้านการพัฒนาสังคมมันถึงอีลุบตุ๊บป่อง

จะทำให้เราเฉลียวใจยิ่งขึ้น

ไม่อย่างนั้นเรานั่นแหละจะไปซื่อบื้อเสียเอง

(ชอบมาก แทนที่จะจำหน่ายเป็นเมล็ด ก็เพาะเป็นกล้ามาขายเสียเลย)

> ไม่ดูตามม้าตาเรือ

> ไม่ฟังเสียงนกเสียงกา

> เอาหูไปนาเอาตาไปไร่

> เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน

(สังเกตุการเขียนตัวหนังสือ ไม้เอกจ๊าบส์มาก)

^^ ที่ไปอยู่ลำพูนหลายวันก็เพราะตีบทไม่แตก ต้องอาศัยสติปัญญาของชาวเราทั้งมวล ..นั่งรถคุยกัน ลงรถมาแล้วก็ยังคุยกันต่อ คุยไปคุยมาก็มองหาตัวช่วย อุ้ยไปประสานงานกับอาจารย์มช.ท่านหนึ่งที่สนใจศึกษาเรื่องบริบทสังคมชนเผ่าต่างๆ นอกจากนั้นผมยังนึกถึงท่านปา-ลี-ยอน ท่านบางทราย คุณหมอจอมป่วน น้าอึ่ง ครูอึ่ง ครูอาราม หนูเบิร์ด ออต และพี่น้องชาวเฮทุกท่าน ถ้าได้มารู้โจทย์ที่วัดพระบาทห้วยต้ม พวกเราจะได้เรียนเต็มหลักสูตร ว่าด้วยเรื่องปากะญอ เจ้าเป็นไผ

(ใส่งอบไปเที่ยวน้ำตก แฟชั่นใหม่ อิ อิ)

^^ ผมนั่งรถกับ CEO. 2 ต่อ 2 หลายวัน

ระหว่างขับรถ ชมนกชมไม้

ปากคุยสมองคิดๆๆ ง่วงก็หลับ

แต่คนขับ ง่วงยังไงก็หลับไม่ได้

ทนปวดเมื่อย ปวดเอว หลังพวงมาลัย

สิ่งชดเชยอยู่ตรงที่ได้คุยกันระยะประชิด

ติดใจเรื่องอะไร สงสัยถาม

ถ้าลูกทุ่งก็ต้องร้องว่า..แบบนี้มันต้องถอน

^^ ระหว่างเดินทางเข้ากรุง

โชเฟอร์รีๆรอๆหาที่เหมาะๆ

จอดพักรถพักคน

แต่ก็มาเรื่อยๆเรียงๆ

จนกระทั้งมาถึงจุดเอ้าท์เล็ตของฟลายนาว สิงห์บุรี

115 กม.จาก กทม.จึงแวะ

เป็นครั้งแรกที่ผมได้มาเยื้องย่าง

เป็นอะไรๆที่โดนใจมาก เช่น

ไม่บ้าไปตั้งอัดอยู่ในเมืองเพิ่มความจอแจเช่นห้างฯอื่นๆ

โครงสร้าง รูปแบบ บริหารจัดการได้เยี่ยมมาก

ทั้งภูมิทัศน์ กลุ่มกิจการ อาหาร สินค้า

โปร่ง สบาย สะดวก น่าเชื่อถือว่าจะไม่โดนแหกตา

คาดว่าอีกปีสองปีห้างลักษณะนี้จะเป็นที่นิยมมาก

คนหัวโตซื้อคูปองมาแจก ไปเลือกแลกอาหารมาชิม

อิ่มอร่อยพอประมาณ ขึ้นรถกลับบ้าน

^^ เป็นโอกาสดีที่ได้ปรึกษากัน

ท่านอาจจะสงสัยว่า..เจอกันแทบทุกวัน ไม่คุยกันรึ

แต่บางเรื่อง..ก็ต้องอาศัยจังหวะ

รอประเด็นผลุบโผล่ บรรยากาศ ช่วยได้จริงนะ

ดังนั้นลองหาโอกาสปลูกต้นไม้ ปลูกความคิด

ในวันที่ 20 มิถุนายน ก็ดีนะครับ

^^ กิจกรรมที่วัดพระบาทห้วยต้ม เอาตามสะดวกนะครับ

ว่างก็ไป ไม่ว่างก็ส่งใจไป

ยังมีเรื่องที่จะเจอะเจอกันอีกมาก

ช่วงรายการไปร่มธรรม

ผมอยากจะพาท่านที่รักไปสำนักงานใหญ่แตงโม

อยู่ที่นครปฐมนี่เอง มีอะไรดีๆที่อยากให้ได้ไปชม

ลองคิดการบ้านล่วงหน้าดีไหมครับจะเอายังไง

หรือใครจะไปเที่ยวศีรษะอโศก จ.ศรีสะเกษก็ยกมือสูงๆ

^^ แต่วันนี้ขอลุยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินก่อน

เขากริ๊งมาบอกว่า..

สนใจสิ่งที่เรากำลังจะทำกับชาวปากะญอ

ยังไม่รู้รายละเอียดเท่าที่ควร

ขอไปต่อล้อต่อถ้อยก่อนนะครับ

เดี๋ยวข้าน้อยจะกลับมารายงาน อิออิ

^^

0 0

« « Prev : เรื่องนี้โป๊

Next : โจทย์จากลูกชายโทน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

10 ความคิดเห็น

  • #1 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 เวลา 11:54

    สงสัยว่า เห็ดเผาะ น่าจะเป็น เห็ดหน่วยหนุน (เห็ดเม็ดขนุน) แถวบ้าน เพียงแต่แถวบ้านเม็ดจะไม่ดำมากขนาดนี้…

    ยี่สิบปีก่อนเคยอยู่วัดบนดอยที่ลำปาง ก็เคยเจอเห็ดหน่วยหนุนเหมือนกัน แสดงว่ามันจะอยู่ได้ทั้งภาคใต้และภาคเหนือ…

    เห็ดหน่วยหนุน มักขึ้นใต้ร่มไม้เตี้ยๆ ที่เป็นพุ่มสูงไม่เกินสองเมตร ซึ่งจะเป็นดินร่วนปนทราย โดยจะมีบางหน่วยโผล่พ้นพื้นมานิดหน่อย พอเกลี่ยๆ ดินก็จะเจออีกจำนวนหนึ่งฝังอยู่ในดิน และจะขึ้นที่เดิมในแต่ละปี ตอนเด็กๆ เก็บได้ที่ใต้ต้นไหนก็มักจะจำไว้เพื่อจะได้ไปเก็บอีกในปีต่อไป…

    เห็ดหน่วยหนุน ถ้าอ่อน เนื้อภายในจะเต็ม แต่ถ้าแก่แล้ว ภายในจะกลวง นิยมนำมาแกงเลียงรวมกับผักอื่นๆ หรือผัดน้ำมันก็ได้ อร่อยดี…

    เจริญพร

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 เวลา 13:20

    แจ้งลุงเอกแล้วครับ ไม่รู้ว่าจะไปได้หรือไม่เพราะงานเข้าจริงๆ แต่ก็แจ้งไปแล้วว่าเป็น 20 มิุนายน

    อ้อ จอดที่เอ้าท์เล็ตของฟลายนาวแถวสิงห์บุรีครับ

  • #3 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 เวลา 13:23

    น่าจะตรงกันครับพระคุณเจ้า

  • #4 silt ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 เวลา 15:04

    ตางเหนือฮ้องเห็ดถอบน่อครับ ตอนออกใหม่ๆช่วงต้นฤดูเม็ดโตกว่าข้าวสารหน่อยก็เก็บมากินแล้ว ช่วงแรกๆหาได้น้อยต้องแกงใส่ใบมะเม่า พอหาได้มากๆเอาเห็ดอ่อนมาต้มจิ้มน้ำพริกหนุ่ม ส่วนเห็ดแก่เอาคั่วกินกับดอกข่า ลำแต้ๆ

    วิถีชาวปะกากะญอ เป็นชนเผ่าที่พึ่งพิง และรักษ์ธรรมชาติมากครับ ลองศึกษาการการทำไร่หมุนเวียนของพี่น้อง ที่ยืนยันว่าไม่ใช่การทำไร่เลื่อนลอยไปเรื่อยๆอย่างที่เข้าใจกันผิดๆ เขาทิ้งไว้สามสี่ปีก็วนกลับมาที่เดิม และระหว่างที่รอพื้นที่ฟื้นตัว ซึ่งเราเรียกว่า “ไร่ร้าง หรือ ไฮ่เฮื้อ”ที่มีป่าหญ้าคาปกคลุมนั้น ผมไปวิจัยพบว่าเป็นระยะที่ยอดดอยมีการชะล้างหน้าดินน้อยที่สุด น้อยกว่าป่าไม้สมบูรณ์เสียอีกครับ
    พี่น้องปะกากะญอ ถือเป็นชาวเผ่าที่ใกล้ชิดกับคนไทพื้นราบมากที่สุด ครูบาเจ้าศรีวิชัยท่านก็เคยไปโปรดอยู่เสมอ ครูบา และชาวเฮฯได้เดินตามรอยท่านแล้วครับ 
    ผมเองก็เพิ่งได้รับการร้องขอให้ไปช่วยงานที่ลี้เหมือนกันครับ อาจมีโอกาสแวะไปวัดเหมือนกัน แต่เวลาอาจไม่ตรงกัน
    ว่าแต่งานนี้ ปะกากะญอ อำเภอสองพี่น้อง “นอจีญ่า”น่าจะมาดูของจริงเด้อ

    ปล. ที่สวนดอก เคยมีนางฟ้าชาวปะกากะญอชื่อ น่อเป คอยบริการชาวดอยทุกคนที่มาตรวจมารักษา ไม่ทราบว่าตอนนี้ยังอยู่หรือไม่ ต้องถามอุ้ยดู 

  • #5 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 เวลา 15:27

    ข้อคิด ข้อมูล ปาลียอน จ๊าบส์มาก ขออีก
    ประเด็น  แนวทางเลือกที่จะไปช่วยพัฒนาแบบ วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง (หมายถึงการมีส่วนร่วม)
    ควรจะมีเคล็ดไม่ลับอะไรบ้าง ขอกรณีตัวอย่างด้วย

  • #6 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 เวลา 23:40

    อุ้ยไปหาอาจารย์ มช.นั้นถูกแล้ว น่าจะถูกคน เพราะที่นั่นมีศูนย์ศึกษาชาวเขา มีความรู้เรื่องชนเผ่าต่างๆ น่าที่จะต่อยอดความรู้นั้นได้

    กรณีพระบาทห้วยต้มนั้น ผมพิจารณาและคิดเบื้องต้นแบบที่ไม่รู้ข้อมูลมากว่า

    • ชาวปกากะญอที่นี่พิเศษกว่า หรือแตกต่างจากปกากะญอที่บนภูเขาในแง่ความเชื่อความศรัทธา คือ ปกากะญอบนภูเขาเชื่อเรื่องผี สิ่งเหนือธรรมชาติ และมีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของเขาอย่างที่ ปาลียน กล่าว แต่ ปกากะญอที่นี่ ศรัทธาพุทธศาสนา โดยเฉพาะตัวตนของครูบาวงศ์เป็นที่สุด
    • ผมไม่ทราบว่ายังนับถือผีคู่ขนานไปกับการนับถือพุทธศาสนา โดยเฉพาะครูบาวงศ์หรือไม่ แค่ไหน ฯลฯ
    • ความศรัทธาที่มีต่อคำสอนของครูบาวงศ์ต่อ ปกากะญอที่นี่นั้น อยู่ในระดับใด
    • แรงกระทำของสังคมภายนอกต่อชุมชนนี้มีมากแค่ไหน อย่างไร ไม่ทราบ พูดตรงๆคือ กระแสหลัก(ทุนนิยม)เข้าไปโน้มน้าวจิตใจชุมชนนี้มากน้อยแค่ไหน
    • ความศรัทธาที่ปกากะญอมีต่อครูบา่วงศ์สมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันที่ท่านมรณภาพไปแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน
    • พระที่มาเป็นเจ้าอาวาสแทนครูบาวงศ์นั้น ชาวปกากะญอให้ความศรัทธามากน้อยแค่ไหน
    • วิถีปฏิบัติของชุมชนนี้ในรอบวัน รอบฤดูกาล รอบปีทำอะไร เพื่ออะไร ต่างจากประชาชนคนเมืองทั่วๆไปอย่างไร หากต่าง เพราะอะไรจึงต่าง..
    • เป็นชุมชนดั้งเดิมหรือเป็นชุมชนย้ายเข้ามาเพราะศรัทธาครูบาวงศ์
    • ฯลฯ
    • คำถามเหล่านี้สำหรับคนนอกที่ไม่รู้เรื่องคนในชุมชนนี้ ครับ
    • แนวคิดก็คือ การเข้าไปคิดอ่านทำอะไรกับชาวปกากะญอกลุ่มนี้นั้นน่าที่จะแตกต่างจากชุมชนอื่นๆทั่วไป จึงไม่ง่ายนักที่จะแนะนำอะไรโดยไม่เข้าใจเขาดีพอครับ เพราะเป็นชุมชนพิเศษจริงๆ

    น่าสนใจที่เป็นชุมชนมังสวิรัติ เพราะความศรัทธาต่อครูบาวงศ์ เพราะครูบาวงศ์ท่านเป็นมังสวิรัติ บุญบารมีของท่านนั้นยิ่งใหญ่มาก
    โดยพื้นฐานก็คือ ไปดูที่วิถีชีวิตที่อยู่บนปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตนั้นเพียงพอแค่ไหน ถูกต้องเหมาะสมแบบพอเพียงแค่ไหน อย่างไร
    เช่น ทานมัีงสวิรัติ ก็ต้องอาศัยพืชผัก แล้วพืชผักนั้นปลอดภัย ถูกสุขลักษณะแค่ไหน อย่างไร  กลุ่มนี้โดยทั่วไปก็จะพึ่งสมุนไพรมากกว่ายาปฏิชีวนะ นักสมุนไพร นักเภสัชน่าจะช่วยให้คำแนะนำได้ว่า ตำหรับเหล่านั้นปลอดภัยในแง่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากน้อยแค่ไหน จะอนุรักษ์พืชพันธ์สมุนไพรเหล่านั้นได้อย่างไร…

    มากมายครับที่จะคิดอ่าน แต่ทั้งหมดนี้ต้องรู้รายละเอียดของชุมชนเขาจริงๆทั้งด้านโครงสร้างและวัฒนธรรม..วิถี..
    เบื้องต้นก่อนนะครับพ่อครูบาครับ

  • #7 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 เวลา 1:40

    แต่ละข้อกังขา คำถาม แง่มุม เป็นประโยชน์มาก กำลังสะสมสิ่งนี้อยู่ครับ

  • #8 จันทรรัตน์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 เวลา 10:03

    ไม่ได้ไปหาอาจารยจากศูนย์ค่ะ เป็นอาจารย์พยาบาลที่ศึกษาวิถีสุขภาพของเขาและทำงานในชุมชน…อาจารย์บอกว่าวัฒนธรรมชนเผ่านี้
    เมื่อเกิดจะมีต้นไม้ประจำตัวทุกคน ต้องรักษาตันไม้ดูแลให้ค่อยๆโตไปด้วยกัน…ดังนั้น การที่เขาตอบว่าไม่ปลูกไม้ใหญ่…ก็เลยทำให้น่าสนใจว่า คำตอบที่แท้จริงอยู่ตรงไหนน่ะค่ะ

  • #9 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 เวลา 10:33

    “ต้นไม้ประจำตัว” เป็นข้อความที่ทรงพลังมากนะครับ

    เราควรจะไปถามเขา -> เป็นเชิงเตือนว่าควรจะปลูกต้นไม้ประจำตัว แล้วปลูกต้นไม้บริวารรอบๆ อีกแปดต้นด้วย ชุมชนหมื่นคน ได้ต้นไม้ใหญ่เก้าหมื่นต้น อิอิ ไปได้นานเลยครับ

  • #10 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 เวลา 11:00

    ครับ ผมก็ทราบมาว่า พี่น้องปกากะญอนั้นเมื่อเกิดมาพ่อแม่จะเอา “รก” ไปแขวนไว้ที่ต้นไม้ต้นหนึ่งที่หมายตาไว้ก่อนแล้ว และต้นนั้นก็จะเป็นต้นไม้ที่ไม่ตัด ไม่มีใครตัด ยกเว้นคนต่างถิ่นที่ไม่รู้เรื่อง รู้ราว จะเอาไม้อย่างเดียวก็ไปตัดเข้า ก็เป็นเรื่อง  เขาคนนั้นเมื่อโตขึ้นมาก็จะดูแลต้นไม้นั้นเป็นวิถีเขาตลอดไป ท่านนักบวชศาสนาคริสที่เชียงใหม่ อยู่ที่แม่ริม (อาจจะย้ายแล้ว) ท่านไปเผยแพร่ศาสนาและศึกษาปกากญออย่างละเอียด จนเขียนหนังสือขึ้นมาเรื่องวัฒนธรรมชุมชน พร้อมๆกับที่พี่บำรุง บุญปัญญาเขียนนั่นแหละ  สองคนนี้ทำให้เมืองไทยหันมาสนใจเรื่องวัฒนธรรมชุมชนกันมากเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาแล้ว  ใครไปทำกิจกรรมใดๆกับชุมชนต้องเข้าใจวัฒนธรรมเขาด้วย  มิเช่นนั้นอาจจะมีการพุดถึงเหมือนที่ผมเคยถูกกล่าวถึงมาก่อนสมัยไร้เดียงสาว่า เป็น “ผู้มีความตั้งใจดี เจตนาดีที่น่าสงสาร” ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆครับ

    นี่แหละ ท่าน อาจารย์ดร.มรว.อคิน รพีพัฒน์ จึงเขียนเรื่อง “คนนอก คนใน” ให้นักพัฒนาชุมชนเข้าใจ
    เห็นไหมว่า เฮฮาศาสตร์ ขยับ กิจกรรมไป เราก็เรียนรู้ไปด้วยกัน  อิอิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.16542410850525 sec
Sidebar: 0.11368608474731 sec