คุณเป็นนักฟังแบบไหน ?

อ่าน: 2227

    วันนี้นั่งดูทีวีไป ฟังไป เกิดรายการ ปิ๊งแว๊บ ขึ้นมา เรื่องของการฟัง ต่อเนื่องมาจากเมื่อหลายวันก่อนดูทีวีรายการหนึ่งเรื่อง การฝึกโยคะแบบที่เรียกว่า โยคะบ้านภายใน ที่มีการล้อมวงจิบน้ำชาคุยกัน ฝึกการฟังแบบที่เรียกว่า การฟังอย่างตั้งใจ หรือ การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) เป็นอะไรที่คล้ายกับการเรียนรู้ที่ผมเคยผ่านการฝึกอบรมด้าน การจัดการความรู้ หรือ KM  เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา จากค่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าย “วงน้ำชา” ของสถาบันขวัญเมืองของอาจารย์ใหญ่  รายการสนทนา “จิบน้ำชา” ของท่าน อาจารย์ไร้กรอบ (ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ) ได้เห็นว่าเรื่องการฟังอย่างตั้งใจนี้เดี๋ยวนี้แพร่หลายเข้าไปแทรกซึมอยู่ในแวดวงต่าง ๆ รวมทั้งการฝึกโยคะด้วย ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจและเห็นพัฒนาการของ การฝึกโยคะ จากที่เดิมดูเหมือนจะเน้นเรื่องของการฝึกด้านร่างกายเป็นส่วนใหญ่ ได้มาผสมประสานการฝึกด้านจิตใจอย่างเช่นการฝึกการฟังอย่างตั้งใจนี้ด้วย 

            ในสมัยเด็ก ๆ เคยได้รับการอบรมสั่งสอนว่า เวลาฟังหรืออ่านหนังสือ จะต้องฟังหรืออ่านเพื่อจับใจความสำคัญให้ได้ มีวิชาอย่างเช่น วิชาอ่านเอาเรื่อง คือให้อ่านเรื่องแล้วสามารถสรุปใจความสำคัญ ออกมาให้ถูกต้อง หรือการฟังก็เช่นเดียวกัน ให้ฟังแล้วจับใจความสำคัญให้ได้  หรือผมจะเรียกว่า การฟังแบบ “จับความ”  แต่การฟังอย่างตั้งใจที่ได้รับการเรียนรู้มาในปัจจุบัน เน้นให้ฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ หรือฟังอย่างลึกซึ้ง จนสามารถรับรู้ถึงความคิดความอ่าน  อารมณ์ หรือ ความในใจของผู้พูดที่ต้องการจะสื่อให้เราได้รับทราบ การฟังแบบนี้ ผมจะเรียกสั้น ๆ ว่าฟังแบบ “จับใจ”  เป็นการฟังที่หลาย ๆ วงการ นำมาเพื่อ พัฒนาคน พัฒนางาน และองค์กร กันมากในปัจจุบัน ซึ่งการฝึกแบบสนทนาแบบนี้ในบางครั้งก็เป็นสิ่งที่ผมเรียกว่า การสนทนาภาษาดอกไม้ (Dialogue) หรือ สนทนาแบบ ดอกอะไร ของอาจารย์ไร้กรอบ  การฟังอีกแบบที่ผมพบบ่อยเหมือนกัน โดยเฉพาะการฟังของ พวก “หมี” ในผู้นำสี่ทิศ ผมเรียกพวกฟังแบบนี้ว่าฟังแบบ “จับผิด”  คือฟังไปบ่นไปว่าเขาพูดผิดอย่างโน้นอย่างนี้ คนที่นั่งฟังหรือดูทีวีด้วยต้องคอยรับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งเกือบตลอดเวลา ในวงสนทนาคนพวกนี้ก็จะ ค้านหรือโต้แย้งการพูดของคนอื่น ๆ เกือบตลอดเวลา  ฟังโดยมีเสียงจากภายในของตนเองตัดสินการพูดของผู้อื่น โดยมีความคิดหรือประสบการณ์ของตนเองที่เชื่อหรือยึดมั่น ไม่ได้ฟังด้วยใจที่เป็นกลางหรือใจที่ว่าง

      คุณเป็นคนฟังแบบไหนครับ ?  ฟัง แบบจับความ แบบจับใจ หรือ แบบจับผิด

« « Prev : เรียนจากปฏิทิน : น้ำตกแม่ยะ ทีลอซู และ นางรอง

Next : กาแฟช่วยลดโลกร้อน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

7 ความคิดเห็น

  • #1 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 มกราคม 2010 เวลา 20:06

    เป็นคนฟังทุกอย่าง ฟังแม้กระทั่งมุสาวาจา ฟังแม้กระทั่งคำพูดของเราที่ถูกถ่ายทอดส่งต่อๆ แล้ววกกลับมาสู่เรา เคยเป็นผู้ฟังหลายแบบมาแล้ว ที่บางครั้งรับได้น้อยมาก จึงฝึกตั้งสติ แล้ว 5 ม.นี่แหละเป็นยาขนานเอกเลยค่ะ และใช้ได้ทุกสถานะการ
    การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น มีการสร้างบรรยายกาศ เป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ควบคุมด้วยพลังจิตได้ บางครั้งอาจถึงระดับสะกดจิตก็มี เพื่อช่วยคลายปมที่ฝังลึกในใจ ให้ปลดปล่อยออกมา เป็นวิธีการเยียวทางจิต ที่ได้ผลทางกายอย่างน่าอัศจรรย์ และเป็นศาสตร์ที่มีการเรียนกันอย่างจริงจังค่ะ
    การฝึกจิตให้สงบ จะทำให้มีสติรู้ตัว ปัญญารู้ใช้ ค่ะ

  • #2 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 มกราคม 2010 เวลา 10:35

    สมัยเด็กเคยถูกสอนให้ฟัง(อ่าน)จับใจความ ก็เอาไปใช้ฟังlecture(การสอนวิธีเดียวของสมัยนั้น)ทำไปเรื่อยๆเกิดติดนิสัยฟังไม่ค่อยครบเพราะพอได้ใจความก็รู้ว่าเดี๋ยวข้อสอบออกตรงนี้แน่ๆ ก็แค่ทำ short note แล้วก็พอ
    ตอนหลังหัดฟังแบบจับใจอย่างอาจารย์ว่า รู้สึกว่ายากค่ะ เพราะไม่เคยสนใจฟังใครจริงจังมาก่อน(ยิ่งมาอยู่เป็นอาจารย์แล้วยังคิดผิดอีกว่าต้องสอนๆ เลยยิ่งไม่ได้ฟัง และพอฟังก็ยังฟังแบบจับผิดเขาอีกค่ะ..บาปจริงๆ)
    ตอนนี้เลยตั้งใจเป็นนักเรียนหัดฟังให้เป็น ..หัดๆๆ อยู่ค่ะอาจารย์

  • #3 Panda ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 มกราคม 2010 เวลา 7:55
    • ขอบคุณ อาม่า   ที่มา ให้ความรู้ ความคิด เพิ่มเติมครับ  เอแล้ว 5 ม. ยาขนานเอกนี่มันเป็นยังไงหน้อ…..
    • ขอบคุณ อุ๊ย
       มาก ๆ ครับที่มาเล่าประสบการณ์ตรงของตัวเองให้เป็นข้อคิดดี ๆ   การฟังให้เป็น เป็นสุดยอดของการสนทนาครับ…..ต้องใช้เวลาและจิตใจ ในการฝึกปฏิบัติอยู่เสมอ จึงจะค่อย ๆ ดีขึ้น เป็นสิ่งที่จะทำให้เราได้ยินคนอื่นพูดว่าอะไร  โดยเฉพาะ อาจารย์ที่ จบปริญาเอก และเป็น ศ. หรือ รศ. ทั้งหลาย ยื่งต้องฝึกให้มาก ๆ ครับ เพราะจะมีสิ่งที่ ท่านอาจารย์ไร้กรอบเรียกว่า VOJ มาก
  • #4 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 มกราคม 2010 เวลา 10:46

    โอ๊ะโอ ก็อาม่าแค่ฝึกฟังแบบคนที่ไม่รู้อะไรเลย เป็นแก้วที่ไม่มีน้ำ(ไม่ใช่แก้วรั่ว) ก็ฝึก 5 ม.นี่แหละค่ะเป็นตัวเตือนสติ เมื่อก่อนใช้ความโง่ของตัวเอง ซื้อความฉลาดของคนอื่นค่ะ ก็ได้ผลมากระดับหนึ่ง แต่ 5 ม.ถือว่าดีที่สุดในขณะนี้ค่ะ เกรงว่าผู้ผ่านการฝึกเรื่อง KM หรืออะไร ต่อ มิอะไรมามากที่อาจเรียกชื่ออย่างอื่นที่แตกต่างกันไป  อาจร้อง ..จ๊าก…เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนก็ได้  เมื่อหมียักษ์อยากรู้ แน่นอนที่สู๊ด ..อาม่าต้องจัดให้ค่ะ 5. ม. คือ

    1. ไม่ ต้าน…………
    2. ไม่โทษ………..
    3. ไม่ตัดสิน…………
    4. ไม่ยึดติด………..
    5. ไม่แบ่งแยก
    ค่ะ……

    ควรไปปรับเอาเองค่ะ ให้มันเข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือ วงสนทนาในขณะนั้น
    ขอแถมอีกนิด การเปิดใจกว้างรับฟังได้ทุกเรื่อง ใช้เครืองมือ ห้าไม่ แล้วไม่เลือกปฏิบัติ เป็นเครื่องเบรคความอคติของตัวเอง แล้วคุณจะรู้ว่าโลกนี้น่าอยู่ น่าเบิกบานใจ ทุกคนก็ทำได้ค่ะ

  • #5 Panda ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 มกราคม 2010 เวลา 13:14
    • ขอคารวะ ท่าน Lin Hui สองจอก….อิอิ
  • #6 ลานอุ๊ยสร้อย » อดบ่อได้ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 มกราคม 2010 เวลา 8:15

    [...] คิดว่า ถ้าเราอยากรู้ให้ลึกซึ้งว่าทำไมคนๆหนึ่งถึงทำ หรือเป็นอย่างนั้น ก็ต้องทำความรู้จักและเข้าใจอย่างวางอคติจากความจำเดิมๆ และใช้ 5ม ของอาม่า ที่อธิบายไว้ในลานไผ่ของท่านแพนด้าจะดีกว่านะคะ  Loading … [...]

  • #7 Panda ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 มกราคม 2010 เวลา 13:15
    ขอบคุณ อุ๊ยจ๊าดนัก….ที่นำเพลงดี ๆ มาฝาก….อดบ่อได้….แม่นแล้ว

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.9284679889679 sec
Sidebar: 0.69757199287415 sec