ออกหน่วย Mobile รับใช้ชุมชน

1 ความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 26 เมษายน 2010 เวลา 20:32 ในหมวดหมู่ งานบริการวิชาการ, สุขภาพ #
อ่าน: 2374

          วันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา (24 - 25 เม.ย. 53) ดิฉัน พร้อมกับ อาจารย์กอล์ฟ (ผศ.ศุภวิทู  สุขเพ็ง) และอาจารย์เอ (อาจารย์สาวิตรี  สุวรรณสิงห์)  ไปออกหน่วยบริการวิชาการเคลื่อนที่ฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 4/53 ณ  โรงเรียนบ้านบุ่งคล้า  ตำบลบุ่งคล้า  อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์  โดยขนเครื่องตรวจมวลกระดูก ไปให้บริการตรวจมวลกระดูกแก่ชุมชนค่ะ

          ก่อนวันเดินทาง พวกเราได้สอบถามเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าโรงเรียนบุ่งคล้าอยู่ไม่ไกลจาก มน. มากนัก  ขับรถใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงก็ถึง  ที่ตั้งโรงเรียนก็ติดถนนใหญ่ ไป- มาสะดวก ดังนั้นเราจึงตัดสินใจเอารถ(ของ อ. เอ)ไปกันเอง   เพราะไม่อยากนอนค้าง

          ออกเดินทางจากหน้าคณะ เวลา 6.30 น.  และแวะรับประทานอาหารเช้ากลางทาง แล้วแต่ใจจะพาไป  ไม่ต้องกะกาณณ์ล่วงหน้า  เหมือนไปเที่ยววันหยุดสุดสัปดาห์  อย่างเมื่อวันอาทิตย์ เราแวะที่นี่ค่ะ

           เป็นร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวหลงฤดูอย่างเรา  เข้าไปในร้านจะเห็นวิวทิวทัศน์สวยงามอย่างนี้  สาวๆ คงแอบหมายตาว่าคราวหน้าจะต้องชวนเพื่อนคู่ใจมาแวะซึ้งกันสักหน่อย

  

  

แล้วก็สั่งข้าวต้มปลามาทานกันร้อนๆ

  

          ที่นี่เขามีเมนูแปลก คือดอกลั่นทมทอด ด้วยค่ะ เห็นหน้าร้านมีต้นลั่นทมต้นเบ่อเริ่มเป็นแหล่งวัตถุดิบ ถ่ายรูปอาหารจานเด็ดมาให้ดูเฉยๆ เพราะยังไม่มีโอกาสชิมกัน ต้องรีบเดินทางให้ทันเวลาค่ะ

 

น่าอร่อยไหมคะ?

          ชุมชนที่ให้บริการคราวนี้ดูไม่ได้อยู่ในที่ลำเค็ญ ทุรกันดารใดใด  ดิฉันจึงมั่นใจว่าคงมีผู้มารับบริการไม่มากนัก  แต่ผิดคาดค่ะ  วันแรกปาเข้าไป 51 คน (ที่จริงมากกว่านี้  แต่เครื่องชักร้อนและรวนแล้ว จึงขออั้นไว้ก่อน) วันที่ 2 เครื่องไม่รวน จึงรับถึง 80 คน มากเป็นประวัติการณ์ ในรูปดูคนไม่เยอะ เพราะกว่าจะมีเวลาถ่ายรูป ก็บริการเกือบหมดแล้ว

เครื่องนี้แหละค่ะที่ใช้หลักการของเอกซเรย์พลังงานสองค่าในการวัดมวลกระดูกของแขนข้างที่ไม่ถนัด
เวลาวัดก็เพียงแต่วางแขนตรงช่องที่ทำเป็นร่องไว้
ชื่อภาษาอังกฤษของเครื่องนี้เรียกว่า Dual Energy X-Ray Bone Densitometer :DEXA

   

          น้องๆ ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องวัดและกรอกข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนดิฉันทำหน้าที่รายงานผล ซึ่งสามารถรายงานผลได้ทันทีหลังจากที่เครื่องวัดเสร็จ  โดยจะรายงานว่าจากค่าที่เครื่องวัดได้  หมายถึงว่าท่านอยู่ในภาวะกระดูกปกติ  หรือกระดูกบาง หรือกระดูกพรุน แล้วก็ให้คำแนะนำกัน  ซึ่งเราทำเป็นคู่มือแจกด้วย

          แต่เอาเข้าจริง ดิฉันต้องทำหน้าที่เหมือนหมอออร์โธปิดิกส์ และนักกายภาพบำบัด  เพราะผลที่ได้ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะกระดูกบางถึงพรุน  ดังนั้น ลุง ป้า น้า อา ตา ยาย จะบ่น ปวดหลัง  ปวดเข่า ปวดแขน ฯลฯ เสริมให้ฟังและถามว่าจะทำอย่างไรดี ???  

          อาศัยว่า ดิฉันก็ย่างเข้าสู่วัยที่ประสบปัญหาเดียวกันนี้  จึงเข้าใจ เห็นใจ และพอจะช่วยแนะนำได้บ้าง ตามที่ตัวเองได้เคยศึกษาเพื่อบำบัดตัวเองมาก่อน เช่น อาการปวดส้นเท้า  อาการปวดเข่า  อาการปวดหลัง (เป็นมาหมดแล้วจ้า รวมทั้งกระดูกพรุนด้วย)

          สนุกดีค่ะ  ได้เห็นปัญหาของชาวบ้าน  ได้พูดคุยกับชาวบ้าน  กลับมาบ้านก็ต้องหาความรู้มาเสริม คราวหน้าจะได้แนะนำได้ดียิ่งขึ้น

ปล. มีเพื่อนจากคณะอื่น และหน่วยงานต่างๆ ไปด้วย  แต่ไม่ค่อยมีโอกาสได้เสวนากัน เพราะต่างฝ่ายต่างยุ่งกับงานของตน ได้แก่

  • คณะทันตแพทยศาสตร์
  • สถานอารยธรรมโขงสาละวิน
  • วิทยาลัยนานาชาติ
  • สถานบริการเทคโนโลยีฯ(IT)
  • กองบริการวิชาการ
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์
  • สถานการศึกษาต่อเนื่อง
  • คณะเกษตรศาสตร์ฯ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยพลังงานทดแทน
  • สำนักหอสมุด
  • กองบริหารการวิจัย
  • คณะพยาบาลศาสตร์  (ออกเยี่ยมผู้ป่วยในครัวเรือน)
  • คณะเภสัชศาสตร์  (ออกเยี่ยมผู้ป่วยในครัวเรือน)
  • คณะสถาปัตยกรรมฯ  (ลงศึกษาพื้นที่เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และร่วมเวทีเสวนาภาษาชุมชน)
  • สถานบริการเทคโนโลยีอวกาศ  (ลงศึกษาพื้นที่เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และร่วมเวทีเสวนาภาษาชุมชน)
  • คณะสังคมศาสตร์ (ลงศึกษาพื้นที่เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และร่วมเวทีเสวนาภาษาชุมชน)
  • สถาบัน NICE  (ลงศึกษาพื้นที่เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และร่วมเวทีเสวนาภาษาชุมชน)

———————————–

บันทึกเพิ่มเติม วันที่ 5 พฤษภาคม 2553

สรุปการออกให้บริการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาสุขภาพและอาชีพประชาชน   ครั้งที่ 4/2553

วันที่ 24-25 เมษายน  2553

ณ  โรงเรียนบ้านบุ่งคล้า  ตำบลบุ่งคล้า  อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์

          การออกให้บริการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาสุขภาพและอาชีพประชาชน   ครั้งที่ 4/2553  ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน 2553 ณ  โรงเรียนบ้านบุ่งคล้า  ตำบลบุ่งคล้า  อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ มีผู้มารับบริการตรวจวัดความหนาแน่นกระดูกสรุปได้ดังนี้

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้ารับบริการ

  • ผู้เข้ารับบริการรวมทั้งสิ้นจำนวน 120 คน (วันที่ 24 จำนวน 47  คน,วันที่ 25 จำนวน 73  คน) 
  • เป็นเพศหญิง 103 คน 
  • เพศชาย 17  คน  
  • อายุของผู้เข้ารับบริการ อยู่ระหว่าง 20-80  ปี  อายุเฉลี่ยเท่ากับ 51.18 ± 11.18 ปี
  • น้ำหนักของผู้เข้ารับบริการอยู่ระหว่าง 32-88  กิโลกรัม น้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 59.92 ± 9.85 กิโลกรัม 
  • ส่วนสูงของผู้เข้ารับบริการอยู่ระหว่าง 143-176 เซนติเมตร  ส่วนสูงเฉลี่ยเท่ากับ 155.96 ± 6.39 เซนติเมตร 

 2. ความชุกของภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุน

ค่าที่วัดได้จากการตรวจวัดความหนาแน่นกระดูกบริเวณกระดูกข้อมือ ด้วยเครื่อง DEXA   พบว่า

  • ผู้เข้ารับบริการมีค่ามวลกระดูกในช่วงปกติ  (T- score มากกว่า  -1 SD ) มีจำนวน  45  คน (ร้อยละ 37.5)
  • ผู้เข้ารับบริการที่มีค่ามวลกระดูกบาง  (T- score อยู่ระหว่าง -1 ถึง -2.5 SD) มีจำนวน  34 คน  (ร้อยละ 28.3)
  • ผู้เข้ารับบริการที่มีค่ามวลกระดูกพรุน (T- score ต่ำกว่า  -2.5 SD) มีจำนวน 41 คน (ร้อยละ 34.2)

ภาวะของมวลกระดูก จำแนกตามช่วงอายุต่าง ๆ พบว่า

  • ผู้รับบริการที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มีภาวะกระดูกบาง และกระดูกพรุน เท่ากับ ร้อยละ 11.11  และ ร้อยละ 27.78 ตามลำดับ
  • ผู้รับบริการที่มีอายุตั้งแต่ 41-50 ปี มีภาวะกระดูกบาง และกระดูกพรุน เท่ากับ ร้อยละ 30.77 และ ร้อยละ 28.21 ตามลำดับ
  • ผู้รับบริการที่มีอายุตั้งแต่ 51-60 ปี มีภาวะกระดูกบาง และกระดูกพรุน เท่ากับ ร้อยละ 29.27 และ ร้อยละ 36.59 ตามลำดับ
  • ผู้รับบริการที่มีตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป มีภาวะกระดูกบาง และกระดูกพรุน เท่ากับ ร้อยละ 36.36 และ ร้อยละ 45.45 ตามลำดับ

 รายชื่อผู้ออกให้บริการ : ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร

  1. รศ.มาลินี  ธนารุณ
  2. ผศ.ศุภวิทู  สุขเพ็ง
  3. อ.สาวิตรีสุวรรณสิงห์
  4. น.ส.นฤปกรณ์  บังแสง 
  5. น.ส.ภูมิศิริ  ภิรมรัมย์


รางวัลสิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้สูงอายุดีเด่น

ไม่มีความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 25 เมษายน 2010 เวลา 22:41 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 3740

          เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 ดิฉันไปร่วม งานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี ๒๕๕๓ “พลังผู้สูงวัยสร้างสังคมไทยรู้รักสามัคคี”  ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี-รังสิต กรุงเทพฯ  พร้อมกับรับมอบรางวัลสิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้สูงอายุดีเด่นจากนายกรัฐมนตรี (ท่านนายกฯ ติดม๊อบเสื้อแดงมาไม่ได้ ท่าน รมต. กท.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บอกว่าท่านนายกฝากมาให้ คริ  คริ….)

          ก็เป็น “อุปกรณ์ช่วยจัดท่าถ่ายภาพอกซเรย์ข้อเข่าด้วยระบบไฮโดรลิก” ที่ออกงานมาแล้วหลายครั้งนั่นแหละค่ะ  เจ้าอุปกรณ์นี้ดิฉันขยันพาไปออกงานหลายงาน  อันที่จริงไม่นึกว่าเจ้าของงานจะให้รางวัลอะไร  แต่อาจเป็นเพราะไม่ค่อยมีคนส่งผลงานมากเท่าไหร่กระมังคะ  ดิฉันจึงโชดดีและกลายเป็นนักล่ารางวัลโดยไม่รู้ตัว 

  

  

          สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลอื่นๆ อีก เช่น

  • ศิลปะเปลือกไข่ จากกทม.   
  • จักรยานเอื้ออาทร  จากเชียงใหม่
  • อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ จากพะเยา
  • อุปกรณ์นวดร่างกายแบบพึ่งพาตนเอง จากกทม.
  • สิ่งประดิษฐ์จากน้ำตาล “บุหงา บุหลา”   จากสตูล
  • เครื่องห่อผลไม้ จากเชียงใหม่
  • รถจักรยานสามล้อไฟฟ้าพาเหลิน จากสุพรรณบุรี
  • ประดิษฐกรรมในขวดแก้ว จากสมุทรสงคราม
  • เครื่องออกกำลังกายทำจากไม้ไผ่ จาก ม.ราชภัฏนครสวรรค์

          ไปร่วมงานในปีนี้ ทำให้ดีใจเป็นสองเท่าที่ได้ทราบว่า ศาสตราจารย์ระพี  สาคริก ได้รับคัดเลือกเป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓  ด้วยวัย 87 ปี ท่านดูแข็งแรง เดินเหินได้อย่างมั่นคง และขึ้นกล่าวบนเวทีด้วยน้ำเสียงทุ้มนุ่มนวล มีพลัง ไม่ต่างจากเมื่อสมัยที่ดิฉันได้ยินจากทีวีตอนที่เป็นเด็กๆ  ท่านกล่าวเน้นถึงการทำตัวให้เป็นคนติดดิน  เป็นอยู่อย่างง่ายๆ  และปฏิบัติธรรมด้วยการทำงาน  ท่านคือชาวพุทธที่แท้ในดวงใจดิฉัน


ลาก่อน KM ในบทบาทของผู้บริหาร

7 ความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 25 เมษายน 2010 เวลา 21:05 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 2620

          พอบทบาทหน้าที่หลักเปลี่ยนจากผู้บริหารเป็นอาจารย์  ดิฉันก็จำจะต้องขอบอกลา KM ในบทบาทของผู้บริหารเสียที  และแสวงหายุทธวิธีใหม่ในการใช้ KM ให้เป็นประโยชน์เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ ที่เป็นอยู่

          แต่ก่อนที่ความรู้จากประสบการณ์เดิมจะจืดจางห่างหาย และไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อันใดได้อีก  ดิฉันรู้สึกโชคดีมีวาสนาอยู่บ้าง ที่ท่านรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ (รศ.ทัศนีย์  ศิริวรรณ) ได้ให้เกียรติเชิญดิฉันไปเล่าประสบการณ์ KM ในหัวข้อ “วิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้” ให้ฟัง  ในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (PSRU : KM PLAN) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ณ ทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์โฮเต็ล อ.วังทอง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2553 

          ครั้งนี้ ดิฉันตั้งใจว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะพูดเรื่องนี้ เพราะดิฉันห่างเหินจากการปฏิบัติจริงมานานพอสมควรแล้ว (ประมาณ 6 เดือน) ถ้าขืนพูดต่อไป จะเหมือนคนแก่ที่ไม่ยอมลืมความหลังในอดีต และพูดแต่สิ่งที่เคยทำแต่ไม่ได้ทำจริงในปัจจุบัน มันน่าละอายแก่ใจ

          ในวันนั้น ตั้งแต่ 9.00 - 12.00 น. ดิฉันเล่าประสบการณ์ด้วยการยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม แต่หลักใหญ่ใจความพอสรุปได้ว่า

  1. ให้บูรณาการการจัดการความรู้เข้าไปในแผนปฏิบัติการประจำปีของคณะฯ  ในทุกภารกิจ  หากจะทำเป็นแผนจัดการความรู้แยกออกมาต่างหาก  ก็เพียงนำโครงการ/กิจกรรม ที่ระบุว่ามีลักษณะกิจกรรมแบบ KM มาประมวลเข้าด้วยกันตามลำดับเวลา
  2. ถ่ายทอดแนวทางและวิธีการใช้เครื่องมือจัดการความรู้แบบต่างๆ  แทรกซึมไปกับภารกิจประจำทุกด้าน เช่น
    1. คณบดีและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องจะทำเป็นแบบอย่าง เป็นวิทยากรกระบวนการ ในกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาแก่บุคลากรภายคณะ  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ออกแบบให้บุคลากรของคณะ เป็นทั้งผู้ประเมิน  และผู้ถูกประเมิน
    2. ส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนแสดงศักยภาพ ด้วยการเป็นวิทยากรกระบวนการ เมื่อมีผู้มาเยี่ยมชมคณะ
    3. ผลักดันให้บุคลากรสายสนับสนุนบันทึกการทำงานบน Blog แทนการเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดีความชอบ
    4. สร้าง AHS Planet เพื่อเป็นศูนย์รวม Blog ของบุคลากรของคณะ โดยผู้บริหารเขียน Blog เป็นประจำ
    5. กระตุ้นให้บุคลากรสายสนับสนุนทำงานวิจัยจากงานประจำ และบุคลากรสายอาจารย์ทำงานวิจัย  คนละไม่น้อยกว่า 1 เรื่องต่อปี  เพื่อให้ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำของภาระงานด้านวิจัยของอาจารย์ที่คณะกำหนด  อีกทั้งให้ทุนสนับสนุนการทำวิจัย  ตลอดจนให้รางวัลเมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ฯลฯ  ประกอบกับการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานวิจัย  ด้วยวิธี  peer assist , show & share, story telling ฯลฯ
  3. วิธีปฏิบัติที่สำคัญที่บ่งชี้ความเป็น Good practice
    1. ใช้  KM  เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาการดำเนินงานในทุกภารกิจหลักของคณะอย่างเนียนในเนื้องานผ่านระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่ได้วางรากฐานของวัฒนธรรมคุณภาพแก่บุคลากรไว้แล้ว  โดยเสริมให้เกิดวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวัฒนธรรมชื่นชมยินดีต่อกัน  เพื่อธำรงรักษาคุณภาพของงานให้ยั่งยืน
    2. ใช้  KM  ควบคู่กับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย  โดยเฉพาะระบบการสื่อสารไร้พรมแดนที่เป็นที่นิยม  เหมาะสมกับสภาพของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์
    3. ใช้  KM  เสริมสร้างคุณค่าของทรัพยากรบุคคลระดับปัจเจกทุกระดับ  ทั้งด้านความคิด  ทัศนคติ  ภาวะผู้นำและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล   ตลอดจนทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระตุ้นให้เป็นบุคคลเรียนรู้  มีวิสัยทัศน์  ยอมรับความแตกต่าง  และปรับตัวเก่ง

          วิธีดังกล่าวข้างต้น  เป็นการดำเนินการแบบลูกทุ่ง คือคิดเองเออเอง ไม่รับประกันความถูกต้องเหมาะสมนะคะ  เพราะดิฉันทราบมาว่า ถ้าทำแผนจัดการความรู้ตามวิธีการที่ กพร. กำหนด ก็จะไม่ใช่กระบวนการแบบนี้  อ้อ! อาจเป็นเพราะ วิธีการของ กพร. เขาให้ใช้กับระดับมหาวิทยาลัย  ซึ่งวิธีการที่ดิฉันเล่าให้ฟัง ใช้ในการบริหารระดับคณะ จึงต่างกันเป็นธรรมดาค่ะ

          เอาละ…..ต่อแต่นี้ ดูซิว่าคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย จะใช้ KM ในการสอน  วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกันได้ด้วยวิธีไหน อย่างไรบ้าง ???? ……คิด  คิด  คิด  คิด 


โครงการ “ส่งเสริมสุขภาพ ใจ-กาย ผู้สูงวัยท่าโพธิ์”

11 ความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 24 เมษายน 2010 เวลา 22:48 ในหมวดหมู่ การศึกษา, สุขภาพ #
อ่าน: 3354

          ในช่วงเดือนมีนาคม 2553 ที่ผ่านมา  ดิฉันได้จัดโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพใจ-กาย ผู้สูงวัยท่าโพธิ์” ขึ้น ณ อาคารปฏิบัติการภาควิชารังสีเทคนิค  คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร   

          เป็นโครงการให้บริการวิชาการ ประจำปี 2553 ที่ดิฉันได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย (งบประมาณแผ่นดิน) มีกิจกรรมหลักคือ ให้บริการการถ่ายภาพเอกซเรย์ข้อเข่า เพื่อประเมินภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชนท่าโพธิ์  จังหวัดพิษณุโลกซึ่งเป็นเขตพื้นที่ชุมชนเดียวกับมหาวิทยาลัยนเรศวร  รวมทั้งหมด 11 หมู่บ้าน 

          การดำเนินงานคราวนี้  เป็นประสบการณ์สัมผัสชุมชนที่อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยที่ทำให้ดิฉันประทับใจมาก  นับตั้งแต่ อบต.ท่าโพธิ์  ท่านนายก อบต. (คุณธวัช  สิงหเดช)  และเจ้าหน้าที่ของ อบต. ท่าโพธิ์ ทุกท่าน โดยเฉพาะคุณชัชฎิล  ที่ช่วยประสานงานการประชาสัมพันธ์และการจัดหารถรับส่งผู้สูงวัย  ประธานชมรมผู้สูงวัยท่าโพธิ์ (อาจารย์สนิท  เพ็งหัวรอ) ที่ให้โอกาสดิฉันเข้าไปร่วมกิจกรรมสังสรรค์ประจำเดือนกับผู้สูงอายุในชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ  ตลอดจนคุณเสาวนีย์  มีมาก หัวหน้าสถานีอนามัยท่าโพธิ์ ที่ให้ความกรุณาประสานกับ อสม. ของทุกหมู่บ้าน

          ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับแจก คู่มือผู้สูงวัยพลานามัยสมบูรณ์ ที่ดิฉันเรียบเรียงขึ้นด้วยนะคะ  (หน้าปกออกแบบโดยเจ้าพลอย ลูกสาวคนเล็ก)

  

               คณาจารย์ของภาควิชารังสีเทคนิคทุกท่าน รวมทั้ง TA เข้ามาร่วมโครงการนี้ด้วย  ช่วยกันคนละไม้ละมือ  ทุกวันอังคาร ถึงวันศุกร์  ผู้สูงอายุจะมาที่ภาควิชาแต่เช้า 9.00 น.  นั่งพักรับประทานของว่างและน้ำดื่มไปพลาง  ดู VDO เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม (ที่ดิฉันไปขอยืมมาจากสำนักหอสมุด) ไปพลางแล้วเราก็จะทยอยเรียกชื่อมาลงทะเบียนและซักประวัติ 

 

               นิสิตอาสาสมัคร ปี 2 และ 3 ก็มาช่วยด้วย  เขาชอบกันมาก เพราะได้เรียนรู้จากสภาพจริงๆ  และยังได้ฝึกแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สูงวัยผ่านกระบวนการสุนทรียสนทนา (สัมภาษณ์) ด้วย

  

               โดยการควบคุมของอาจารย์ นิสิตได้ฝึกจัดท่าถ่ายภาพเอกซเรย์ข้อเข่าก่อนจะเรียนจริงตอนเปิดเทอมหน้า  ได้ฝึกล้างฟิล์มในห้องมืด  และ QC ฟิล์ม  ครบถ้วนกระบวนการ  (สนุกกว่าตอนเรียนจริงๆ เสียอีก)

    

    

    

    

               พอสายๆ หน่อย อาจารย์ ดร.อรอุมา บุณยารมย์ อาจารย์จากภาควิชากายภาพบำบัด ก็จะมาแจมด้วย โดยอาจารย์จะมาคุยแบบเป็นกันเองอธิบายที่มาที่ไปของเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม รวมทั้งสอนกายบริหารข้อเข่าเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับข้อเข่าแก่ผู้สูงอายุด้วย  ท่านผู้สูงอายุสนุกกันมาก และไม่เบื่อเลยแม้อยู่ระหว่างการรอถ่ายภาพเอกซเรย์   

  

  

          ตอนเที่ยง เราก็ยังได้จัดอาหารเลี้ยงก่อนส่งท่านผู้สูงอายุก่อนพากลับบ้านด้วย  อาหารทุกมื้อรวมทั้งของว่าง ได้คุณขวัญเรือน  นักวิชาการพัสดุของคณะเป็นผู้ประสานและจัดการให้  จึงอร่อยและอิ่มแปร้ทุกมื้อ 

          ดิฉันสัญญากับท่านผู้สูงอายุก่อนกลับว่า  จะนำผลฟิล์มที่แพทย์ได้อ่านเรียบร้อยแล้วส่งไปให้ถึงมือ  โดยจะไปพร้อมคุณหมอด้วย  จริงๆ แล้ว  เรายังมีถุงทรายสำหรับให้ท่านได้ใช้บริหารข้อเข่าตามที่ได้เรียนจากอาจารย์ ดร. อรอุมา แจกให้อีกท่านละ 1 ชุด (ตอนนี้ยังอุบไว้ก่อน  จะให้เซอร์ไพร้สทีหลัง เพราะยังเย็บไม่เสร็จค่ะ)

          โครงการนี้ทำให้ดิฉันได้รู้จักกับคุณหมอที่น่ารัก และอัธยาศัยดีมากอีกท่านหนึ่ง คือ แพทย์หญิงพัชรินทร์  ปิงเมืองแก้ว  ซึ่งถามไถ่ไปมาก็จ๊ะเอ๋เป็นศิษย์เก่าคณะสหเวชฯ สาขาเทคนิคการแพทย์รุ่นที่ 1 ของเรานี่เอง  โชคดีจริงๆ

          คุ้มเหลือเกินนะคะกับการทำงานแบบลงมือ ได้รู้จักคนมากมาย  ได้สัมพันธภาพที่ดีกับชุมชนทั้งภายนอกมหาวิทยาลัยและภายในคณะ  ได้ฝึกฝนตนเอง ได้สอนลูกศิษย์ ได้ใช้เครื่องมือช่วยจัดท่าถ่ายเอกซเรย์ที่ประดิษฐ์ขึ้น  และแถมอาจนำข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดงานวิจัยได้อีกด้วย……… 

  


Reasons to smile !!!!

3 ความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 16 เมษายน 2010 เวลา 20:54 ในหมวดหมู่ ข้อคิด/ปรัชญา #
อ่าน: 2221

When life gives you a 100 reasons to cry,

show life that you have 1000 reasons to smile.

Face your past without regret.

Handle your present with confidence.

Prepare for the future without fear.

Keep the faith and drop the fear.

The most beautiful thing is to see a person smiling…

And even more beautiful is, knowing that you are the reason behind it!!!

Enjoy your day with a heart of gratitude.

 


Be thankful for what you have..

1 ความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 16 เมษายน 2010 เวลา 20:40 ในหมวดหมู่ ข้อคิด/ปรัชญา #
อ่าน: 2252

          ชายตาบอดคนหนึ่งนั่งอยู่ที่เชิงบันไดตึกข้างถนน มีหมวกวางหงายอยู่บนพื้นข้างเท้าของเขา และมีป้ายเขียนว่า “ฉันเป็นคนตาบอด โปรดช่วยฉันด้วย” ภายในหมวกนั้น มีเหรียญสตางค์อยู่เพียงไม่กี่เหรียญ

          ชายคนหนึ่งเดินผ่านมา  เขาล้วงกระเป๋าหยิบเหรียญสตางค์จำนวนหนึ่งใส่ลงไปในหมวกของชายขอทาน  แล้วหยิบป้ายขึ้นมาดู  เขาพลิกป้ายนั้นกลับหลังแล้วเขียนข้อความบางอย่างลงไป  จากนั้นวางป้ายนั้นลงไว้ที่เดิม แต่คราวนี้ผู้ที่เดินผ่านไปมาจะเห็นข้อความใหม่บนป้ายนั้น  ไม่นาน  หมวกของชายขอทานก็เต็มไปด้วยเหรียญเพราะมีผู้ให้ทานจำนวนมากขึ้น

          ตกเย็น  ชายผู้เปลี่ยนข้อความบนป้ายกลับมาสำรวจความเปลี่ยนแปลง ชายขอทานจำเสียงฝีเท้าของเขาได้  จึงถามขึ้นว่า “ท่านคือผู้เปลี่ยนป้ายของผมเมื่อเช้านี้ใช่หรือไม่? ท่านเขียนข้อความอะไรบนป้ายนั้น?”

          ชายผู้นั้นตอบว่า  “ฉันเพียงเขียนสิ่งที่เป็นจริง บอกเรื่องเดียวกับที่เธอบอก แต่บอกคนละแนวเท่านั้น” ฉันเขียนว่า “วันนี้เป็นวันที่สวยงาม  แต่ฉันไม่สามารถมองเห็นได้”

          ป้ายทั้งสอง บอกผู้คนเหมือนกันว่า ชายผู้นั้นตาบอด แต่ป้ายแรกบอกเฉยๆ ว่า ตาบอด  ส่วนป้ายที่สอง บอกคนอื่นว่า พวกเขาโชคดีที่ตาไม่บอด 

          ป้ายที่สอง กระตุ้นความรู้สึกของผู้คนที่อ่านให้รู้สึกสงสารได้มากกว่า…………เพราะอะไร???

 ——————————————————————————-

love your job.


ทุเรียนเนื้อแดง

15 ความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 16 เมษายน 2010 เวลา 14:58 ในหมวดหมู่ ทั่วไป, ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 3926

เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของรัฐ Sabah ประเทศมาเลเซีย (เห็นเค้าว่าพบที่นี่ที่เดียวในโลก) รัฐนี้อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอเนียว กลิ่นไม่รุนแรงเหมือนทุเรียนทั่วไป

 

 

*** อ้างอิงไม่ได้  มาจาก Forward mail

———————————————————————————–

บันทึกเพิ่มเติมหลังจาก comment


ตอนจบของเทพนิยายในฝัน

1 ความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 16 เมษายน 2010 เวลา 14:40 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 2622

Cinderella

Snow White 

 

 Sleeping Beauty

Little Red Riding Hood

Jasmin (Aladdin)

Beauty (Beauty and the Beast)

Little Mermaid


ความปรารถนาครั้งสุดท้ายของอเล็กซานเดอร์มหาราช

ไม่มีความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 4 เมษายน 2010 เวลา 11:53 ในหมวดหมู่ ข้อคิด/ปรัชญา #
อ่าน: 1364

อเล็กซานเดอร์มหาราช  จักพรรดิ์ผู้เกรียงไกรแห่งกรีก  ตรัสแก่ข้าราชบริพารก่อนสิ้นพระชนม์ชีพว่า “จงฝังร่างของข้าโดยไม่ต้องสร้างอนุสาวรีย์  ปล่อยให้มือของข้าปรากฎออกมาภายนอก  เพื่อให้ผู้คนรู้ว่า  แม้ผู้ที่เคยมีชัยมาทั่วปฐพี  ก็มีเพียงมือที่ว่างเปล่าเมื่อยามละไปจากโลกนี้”

Alexander’s last word: “Burry my body, do not build any monument, keep my hands outside so that the world knows the person who won the world had nothing in his hands when dying”

 

The great Greek king, Alexander, after conquering many kingdoms, was returning home. On the way, he fell ill and he was bedridden for months. With death drawing close, Alexander realized how his conquests, his great army, his sharp sward and all his wealth were of no use.

He called his generals and said,  ”I will depart from this world soon. But I have three wishes. Please fullfill my wishes without fail.”  With tears flowing down their cheeks, the generals agreed to abide their king’s last wishes

“My first desire is that,” said Alexander, “my physicians alone must carry my coffin” “Secondly, when my coffin is being carried to the grave, the path leading to the graveyard should be strewn with gold, silver and precious stones which I have collected in my treasury. My third and last wish is that both my hands should be kept dangling out of my coffin.” The people who had gathered there wonder at the king’s strange wishes. But no one dareed to question. Alexander’s favorite general kissed his hand and pressed them to his heart. “O king, we assure you that your wishes will all be fullfilled. But tell us why do you make such stannge wishes?”

At this Alexander took a deep breath and said, “I would like the world to know of the three lessons I have just learnt. I want my physicians to carry my coffin because people should realize that no doctor can really cure anybody. They are powerless and cannot save person from the clutches of death. So let not people take life for granted.

The second wish of strewing gold and other riches on the way to graveyard is to tell people that not even a fraction of gold can be taken by me. Let people realize that it is a sheer waste of time to chase wealth.

And about my third wish of having my hands dangling out of the coffin, I want people to know that I came empty handed into this world and empty handed I go out of this world.”


เส้นแบ่งระหว่างเมตตากับกล้าเผชิญ

ไม่มีความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 4 เมษายน 2010 เวลา 9:46 ในหมวดหมู่ การบริหาร #
อ่าน: 1568

วันนี้   ดิฉันยังหดหู่อยู่เช่นเดิม

ชีวิตของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย  บ่อยครั้งที่ผลประเมินการเรียนรู้ของลูกศิษย์ที่สุดแสนจะเหลือขอ

ทำให้อาจารย์ต้องตกอยู่ในภาวะที่ต้องตัดสินใจว่าจะเมตตา ยอมให้ผ่าน ยอมให้จบการศึกษาไปประกอบอาชีพได้ หรือจะตัดอนาคตด้วยการให้ retire เพราะเขาก็ร่ำเรียนมาจนใกล้จบปีสุดท้ายพอดี

เราจะเมตตา หรือกล้าเผชิญกับความรู้สึกผิดที่มีส่วนทำให้วิถีชีวิตการงานของลูกศิษย์คนหนึ่งต้องดับวูบลง ไม่มีปริญญาบัตรแสดงความสำเร็จที่สังคมยอมรับ

(วกกลับมาที่สาเหตุจริงๆ ของความหดหู่ใจ ในวันนี้)

ดิฉันจึงเข้าใจดีว่า

หากผลการประเมินผู้บริหารออกมาว่า อยู่ในขั้นเหลือขอเช่นกัน  ผู้ใหญ่ที่ใหญ่กว่าคงต้องลำบากใจที่จะตัดสินออกมาในรูปแบบใด  รูปแบบหนึ่ง

ดังนั้น  ผลการเรียนที่ ได้ :  F  F  F  F  F  F  F  F  F  D  D  D  D  รวมๆ แล้วได้รับการประเมินให้ “ผ่าน” ได้

ฉันใด…ก็ฉันนั้น….

ผลการประเมินที่ได้ : ไม่ผ่าน  ไม่ผ่าน  ไม่ผ่าน  ไม่ผ่าน  ไม่ผ่าน  ไม่ผ่าน  ไม่ผ่าน  ไม่ผ่าน  ไม่ผ่าน  ผ่านแบบมีเงื่อนไข ผ่านแบบมีเงื่อนไข ผ่านแบบมีเงื่อนไข ผ่านแบบมีเงื่อนไข   รวมๆ แล้วได้รับการประเมินให้ “ทำงานต่อไป” ได้ เช่นกัน 

ในโลกแห่งความเป็นจริง  เมื่อยืนอยู่ระหว่างเส้นแบ่งของเมตตากับกล้าเผชิญ  มักไม่มีใครเลือกเผชิญความเป็นจริง

 

 



Main: 1.4962720870972 sec
Sidebar: 0.049544811248779 sec