กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหารควรเป็นผู้มีคุณสมบัติอย่างไร?

Comments Off โดย ถัง เมื่อ 27 เมษายน 2010 เวลา 20:49 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1866

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร ของมหาวิทยาลัยนเรศวรมีทั้งหมด 3 ท่าน มาจาก 3 คณะในแต่ละกลุ่มสาขา คือ

  1. กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ  
  2. กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  และ
  3. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

เมื่อวันที่  23  เม.ย. ที่ผ่านมา  กรรมการจำนวน 2 ใน 3 ท่านหมดวาระลง และอีก 1 ท่านได้ขอลาออกจากตำแหน่งคณบดี  ทำให้หมดสภาพเป็นกรรมการสภาฯ ประเภทผู้บริหารไปโดยปริยาย

การเลือกผู้บริหารมหาวิทยาลัยไปเป็นกรรมการสภาฯ แทนทั้ง 3 ท่านดังกล่าว จึงเกิดขึ้น

ดิฉันไม่ทราบเรื่องราวใดใด จนกระทั่ง มีผู้ปรารถนาดีแจ้งว่า ให้ไปดูเรื่องที่ post บน Home Page ของคณะศึกษาศาสตร์

ทำให้วันนี้ดิฉันมีเรื่องเด็ดมาบันทึกประจำวันอีกแล้ว………………



          ดิฉันทราบแต่เพียงว่า  วันเสาร์ที่ 24 เม.ย. มีการประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อลงมติในเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ดังนั้นการดำเนินการต่างๆ ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย  จึงมีผลโดยตรงกับการลงมติในเรื่องดังกล่าว

          ดิฉันจึงได้เรียนรู้มากขึ้นถึงการวางแผนยุทธศาสตร์ของการให้ได้มาซึ่งอำนาจ  นี่หากการวางยุทธศาสตร์การบริหารงานเฉียบคม  หลักแหลม ดุจเดียวกัน  มหาวิทยาลัยคงเจริญรุดหน้าแบบฉุดไม่อยู่แน่ๆ เชียว

ปล.  คราวนี้บอกตรงๆ ว่าเขียนอย่างประชดประชัน        


รางวัลสิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้สูงอายุดีเด่น

ไม่มีความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 25 เมษายน 2010 เวลา 22:41 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 3744

          เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 ดิฉันไปร่วม งานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี ๒๕๕๓ “พลังผู้สูงวัยสร้างสังคมไทยรู้รักสามัคคี”  ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี-รังสิต กรุงเทพฯ  พร้อมกับรับมอบรางวัลสิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้สูงอายุดีเด่นจากนายกรัฐมนตรี (ท่านนายกฯ ติดม๊อบเสื้อแดงมาไม่ได้ ท่าน รมต. กท.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บอกว่าท่านนายกฝากมาให้ คริ  คริ….)

          ก็เป็น “อุปกรณ์ช่วยจัดท่าถ่ายภาพอกซเรย์ข้อเข่าด้วยระบบไฮโดรลิก” ที่ออกงานมาแล้วหลายครั้งนั่นแหละค่ะ  เจ้าอุปกรณ์นี้ดิฉันขยันพาไปออกงานหลายงาน  อันที่จริงไม่นึกว่าเจ้าของงานจะให้รางวัลอะไร  แต่อาจเป็นเพราะไม่ค่อยมีคนส่งผลงานมากเท่าไหร่กระมังคะ  ดิฉันจึงโชดดีและกลายเป็นนักล่ารางวัลโดยไม่รู้ตัว 

  

  

          สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลอื่นๆ อีก เช่น

  • ศิลปะเปลือกไข่ จากกทม.   
  • จักรยานเอื้ออาทร  จากเชียงใหม่
  • อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ จากพะเยา
  • อุปกรณ์นวดร่างกายแบบพึ่งพาตนเอง จากกทม.
  • สิ่งประดิษฐ์จากน้ำตาล “บุหงา บุหลา”   จากสตูล
  • เครื่องห่อผลไม้ จากเชียงใหม่
  • รถจักรยานสามล้อไฟฟ้าพาเหลิน จากสุพรรณบุรี
  • ประดิษฐกรรมในขวดแก้ว จากสมุทรสงคราม
  • เครื่องออกกำลังกายทำจากไม้ไผ่ จาก ม.ราชภัฏนครสวรรค์

          ไปร่วมงานในปีนี้ ทำให้ดีใจเป็นสองเท่าที่ได้ทราบว่า ศาสตราจารย์ระพี  สาคริก ได้รับคัดเลือกเป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓  ด้วยวัย 87 ปี ท่านดูแข็งแรง เดินเหินได้อย่างมั่นคง และขึ้นกล่าวบนเวทีด้วยน้ำเสียงทุ้มนุ่มนวล มีพลัง ไม่ต่างจากเมื่อสมัยที่ดิฉันได้ยินจากทีวีตอนที่เป็นเด็กๆ  ท่านกล่าวเน้นถึงการทำตัวให้เป็นคนติดดิน  เป็นอยู่อย่างง่ายๆ  และปฏิบัติธรรมด้วยการทำงาน  ท่านคือชาวพุทธที่แท้ในดวงใจดิฉัน


ลาก่อน KM ในบทบาทของผู้บริหาร

7 ความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 25 เมษายน 2010 เวลา 21:05 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 2626

          พอบทบาทหน้าที่หลักเปลี่ยนจากผู้บริหารเป็นอาจารย์  ดิฉันก็จำจะต้องขอบอกลา KM ในบทบาทของผู้บริหารเสียที  และแสวงหายุทธวิธีใหม่ในการใช้ KM ให้เป็นประโยชน์เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ ที่เป็นอยู่

          แต่ก่อนที่ความรู้จากประสบการณ์เดิมจะจืดจางห่างหาย และไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อันใดได้อีก  ดิฉันรู้สึกโชคดีมีวาสนาอยู่บ้าง ที่ท่านรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ (รศ.ทัศนีย์  ศิริวรรณ) ได้ให้เกียรติเชิญดิฉันไปเล่าประสบการณ์ KM ในหัวข้อ “วิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้” ให้ฟัง  ในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (PSRU : KM PLAN) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ณ ทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์โฮเต็ล อ.วังทอง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2553 

          ครั้งนี้ ดิฉันตั้งใจว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะพูดเรื่องนี้ เพราะดิฉันห่างเหินจากการปฏิบัติจริงมานานพอสมควรแล้ว (ประมาณ 6 เดือน) ถ้าขืนพูดต่อไป จะเหมือนคนแก่ที่ไม่ยอมลืมความหลังในอดีต และพูดแต่สิ่งที่เคยทำแต่ไม่ได้ทำจริงในปัจจุบัน มันน่าละอายแก่ใจ

          ในวันนั้น ตั้งแต่ 9.00 - 12.00 น. ดิฉันเล่าประสบการณ์ด้วยการยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม แต่หลักใหญ่ใจความพอสรุปได้ว่า

  1. ให้บูรณาการการจัดการความรู้เข้าไปในแผนปฏิบัติการประจำปีของคณะฯ  ในทุกภารกิจ  หากจะทำเป็นแผนจัดการความรู้แยกออกมาต่างหาก  ก็เพียงนำโครงการ/กิจกรรม ที่ระบุว่ามีลักษณะกิจกรรมแบบ KM มาประมวลเข้าด้วยกันตามลำดับเวลา
  2. ถ่ายทอดแนวทางและวิธีการใช้เครื่องมือจัดการความรู้แบบต่างๆ  แทรกซึมไปกับภารกิจประจำทุกด้าน เช่น
    1. คณบดีและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องจะทำเป็นแบบอย่าง เป็นวิทยากรกระบวนการ ในกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาแก่บุคลากรภายคณะ  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ออกแบบให้บุคลากรของคณะ เป็นทั้งผู้ประเมิน  และผู้ถูกประเมิน
    2. ส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนแสดงศักยภาพ ด้วยการเป็นวิทยากรกระบวนการ เมื่อมีผู้มาเยี่ยมชมคณะ
    3. ผลักดันให้บุคลากรสายสนับสนุนบันทึกการทำงานบน Blog แทนการเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดีความชอบ
    4. สร้าง AHS Planet เพื่อเป็นศูนย์รวม Blog ของบุคลากรของคณะ โดยผู้บริหารเขียน Blog เป็นประจำ
    5. กระตุ้นให้บุคลากรสายสนับสนุนทำงานวิจัยจากงานประจำ และบุคลากรสายอาจารย์ทำงานวิจัย  คนละไม่น้อยกว่า 1 เรื่องต่อปี  เพื่อให้ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำของภาระงานด้านวิจัยของอาจารย์ที่คณะกำหนด  อีกทั้งให้ทุนสนับสนุนการทำวิจัย  ตลอดจนให้รางวัลเมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ฯลฯ  ประกอบกับการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานวิจัย  ด้วยวิธี  peer assist , show & share, story telling ฯลฯ
  3. วิธีปฏิบัติที่สำคัญที่บ่งชี้ความเป็น Good practice
    1. ใช้  KM  เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาการดำเนินงานในทุกภารกิจหลักของคณะอย่างเนียนในเนื้องานผ่านระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่ได้วางรากฐานของวัฒนธรรมคุณภาพแก่บุคลากรไว้แล้ว  โดยเสริมให้เกิดวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวัฒนธรรมชื่นชมยินดีต่อกัน  เพื่อธำรงรักษาคุณภาพของงานให้ยั่งยืน
    2. ใช้  KM  ควบคู่กับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย  โดยเฉพาะระบบการสื่อสารไร้พรมแดนที่เป็นที่นิยม  เหมาะสมกับสภาพของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์
    3. ใช้  KM  เสริมสร้างคุณค่าของทรัพยากรบุคคลระดับปัจเจกทุกระดับ  ทั้งด้านความคิด  ทัศนคติ  ภาวะผู้นำและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล   ตลอดจนทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระตุ้นให้เป็นบุคคลเรียนรู้  มีวิสัยทัศน์  ยอมรับความแตกต่าง  และปรับตัวเก่ง

          วิธีดังกล่าวข้างต้น  เป็นการดำเนินการแบบลูกทุ่ง คือคิดเองเออเอง ไม่รับประกันความถูกต้องเหมาะสมนะคะ  เพราะดิฉันทราบมาว่า ถ้าทำแผนจัดการความรู้ตามวิธีการที่ กพร. กำหนด ก็จะไม่ใช่กระบวนการแบบนี้  อ้อ! อาจเป็นเพราะ วิธีการของ กพร. เขาให้ใช้กับระดับมหาวิทยาลัย  ซึ่งวิธีการที่ดิฉันเล่าให้ฟัง ใช้ในการบริหารระดับคณะ จึงต่างกันเป็นธรรมดาค่ะ

          เอาละ…..ต่อแต่นี้ ดูซิว่าคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย จะใช้ KM ในการสอน  วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกันได้ด้วยวิธีไหน อย่างไรบ้าง ???? ……คิด  คิด  คิด  คิด 


ทุเรียนเนื้อแดง

15 ความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 16 เมษายน 2010 เวลา 14:58 ในหมวดหมู่ ทั่วไป, ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 3930

เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของรัฐ Sabah ประเทศมาเลเซีย (เห็นเค้าว่าพบที่นี่ที่เดียวในโลก) รัฐนี้อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอเนียว กลิ่นไม่รุนแรงเหมือนทุเรียนทั่วไป

 

 

*** อ้างอิงไม่ได้  มาจาก Forward mail

———————————————————————————–

บันทึกเพิ่มเติมหลังจาก comment


ตอนจบของเทพนิยายในฝัน

1 ความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 16 เมษายน 2010 เวลา 14:40 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 2627

Cinderella

Snow White 

 

 Sleeping Beauty

Little Red Riding Hood

Jasmin (Aladdin)

Beauty (Beauty and the Beast)

Little Mermaid


การติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายของอธิการบดี

ไม่มีความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 31 มีนาคม 2010 เวลา 19:33 ในหมวดหมู่ การบริหาร, ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1828

          ท่านอธิการบดี ดำรงตำแหน่งครบ ๑ ปี เมื่อ วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓  ตรงกับของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โอบามา จำได้ง่ายทีเดียว

          ดิฉันพลัดหลงเป็นหนึ่งในคณะกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายของอธิการบดี : ท่านโอบามาแห่ง NU ด้วย

          มาตรการนี้ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนสรรหาอธิการบดีท่านใหม่ เมื่อปลายปี ๒๕๕๑  ว่า 

          ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยนเรศวร  ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร  จะต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามที่ได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อสภามหาวิทยาลัย จำนวน ๒ ครั้ง คือ

ครั้งที่ ๑  : ๖ เดือน  ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งฯ
ครั้งที่ ๒ : ๑ ปี ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งฯผู้ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี 

ดูเหมือนว่า…..การเป็นผู้บริหารในยุคสมัยนี้ ไม่ได้ง่ายและจะทำอะไรก็ได้ตามใจเหมือนอย่างสมัยก่อนอีกแล้ว

คณะกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายของอธิการบดี :  (กลุ่ม ๘ แต่ไม่ใช่ ๑๘ มงกุฏนะคะ)  ประกอบด้วย

  1. ดร.สมนึก  พิมลเสถียร  เป็นที่ปรึกษากรรมการ
  2. ดร.พรชัย  นุชสุวรรณ  เป็นประธานกรรมการ
  3. พลเอกดร.ศิริ  ทิวะพันธุ์ เป็นกรรมการ
  4. ดร.นริศ  ชัยสูตร  เป็นกรรมการ
  5. นายแพทย์ธวัช  สุนทราจารย์ เป็นกรรมการ
  6. รศ.ดร.วิทยา  จันทร์ศิลา เป็นกรรมการ
  7. รศ.มาลินี  ธนารุณ  เป็นกรรมการ
  8. ดร.สำราญ  ทองแพง  เป็นเลขานุการ

          คณะกรรมการฯ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินไว้ด้วยว่า

  1. เพื่อให้การประเมินเป็นกลไกของการให้ข้อมูลป้อนกลับสู่ระบบการสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการบริหารมหาวิทยาลัยของอธิการบดีและผู้บริหารมหาวิทยาลัยโดยรวม
  2. เพื่อติดตามตรวจสอบการบริหารและการทำงานของอธิการบดีว่าบริหารงานมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่หรือไม่

วิธีการประเมิน แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑  ประเมินการบริหารงาน

  • ๖ เดือน :  อธิการบดีประเมินตนเองตามแบบประเมินที่กำหนด และกรอกแบบตรวจสอบรายการ การเป็นประธาน/กรรมการแก่หน่วยงานภายนอก
  • ๑ ปี :
    • อธิการบดีประเมินตนเองตามแบบประเมินที่กำหนด  และและกรอกแบบตรวจสอบรายการ การเป็นประธาน/กรรมการแก่หน่วยงานภายนอก
    • กลุ่มผู้ประเมิน ประเมินอธิการบดีตามแบบประเมินที่กำหนด

ส่วนที่ ๒ ประเมินผลการดำเนินงานตามแผน

  • ๖ เดือน : อธิการบดีเสนอแผนดำเนินงานตลอดระยะเวลาของการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี
  • ๑ ปี : อธิการบดีเสนอผลการดำเนินงานตามนโยบาย

          สรุปง่ายๆ ก็คือ  ๖ เดือนแรก ให้เสนอแผนมาให้ดูก่อน  พร้อมกับประเมินตนเองว่าบริหารงานเป็นอย่างไร  โดยสภาฯ จะพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง 

          พอครบ ๑ ปี ก็รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปีที่ ๑   และให้ทั้งท่านอธิการประเมินตนเองและให้กลุ่มผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับท่านอธิการบดีประเมินความพึงพอใจในผลงานของท่าน เพื่อเทียบเคียงกันด้วย

          ผลการประเมินรอบ ๖ เดือนแรก (๒๐ มกราคม ๕๒ - ๑๙ กรกฎาคม ๕๒) สภามีมติให้ เป็นความลับ (รู้กันแค่สภาฯ กับ ท่านอธิการ) ไม่ได้เผยแพร่ให้ชาว มน. ทราบ

          ผลการประเมินรอบ ๑ ปี (๒๐ มกราคม ๕๒ - ๑๙ มกราคม ๕๓) คณะกรรมการประเมินฯ เสนอให้สภาฯ พิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภาฯ

          วันที่ ๓ เมษายน ที่จะถึงนี้  เป็นวันที่กลุ่มเสื้อแดงจะประชุมครั้งใหญ่เพื่อให้ยุบสภาฯ อีกครั้ง  และก็พ้องกับ วันที่สภาฯ มน. จะประชุมพิจารณาผลการประเมินท่านอธิการฯ เช่นกัน

          สภาฯ ไหน จะถูกยุบ นะ……

—————————————————————-         

บันทึกเพื่อเก็บไว้ทวนความทรงจำในบทเรียนแห่งชีวิต เรื่อง “อำนาจ”        

—————————————————————-

How Different Countries Debate in Paliaments / Congress

  Italy

 Japan

  Mexico

  India

  Russia

  South Korea

  Taiwan

  Turkey

  Ukraine

 

 

แต่……

ที่นี่มีแต่ความสงบสุข  สันติ

.

.

.

.

.

.

 

  China

 

  


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส.ปีพุทธศักราช 2553 แก่ประชาชนชาวไทย

ไม่มีความคิดเห็น โดย ถัง เมื่อ 1 มกราคม 2010 เวลา 10:32 ในหมวดหมู่ ข้อคิด/ปรัชญา, ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1558

 



Main: 0.83267688751221 sec
Sidebar: 0.26140403747559 sec