การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้่า

โดย Lin Hui เมื่อ กันยายน 28, 2010 เวลา 9:08 ในหมวดหมู่ เกษตรประณีต, เรื่องเล่าของLin Hui, เศรษฐกิจพอเพียง #
อ่าน: 2014

สติ ปัญญา ประสบการณ์ เป็นตัวช่วยค่ะ แต่ยังไม่พอ ต้องมี…..คือการทำบุญ การทำงานเพื่อประเทศชาติ สนองคุณแผ่นดินการสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางฯ เพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้เป็นยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ของไทย พระองค์เป็น KING OF THE KING ปรัชญญาเศรษฐกิฐพอเพียง ที่นานาชาติได้น้อมนำไปปรับใช้กับประเทศชาติของตัวเอง จนเป็นที่รู้จักทั่วโลก ..แต่น่าเสียดายมีคนไทยทุกภาคส่วนอีกไม่น้อยไม่ใส่ใจ ไม่เข้าใจ และไม่สามารถปรับตัวได้  ก็ไม่ว่ากัน เพราะความพร้อมของคนไม่เสมอกันค่ะ


เอาเป็นว่าการทำอะไรจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด อย่าเพิ่งคาดหวัง ทั้งๆ ที่แจ้งล่วงหน้า ว่าต้องการใช้ อินเตอร์เน็ตประกอบการพูด บนเวที  แต่ไม่มีอินตอร์เน็ตใช้ คนแรกที่คิดถึง คือท่านเทพฯ ซึ่งเป็นที่พึ่งให้ความกระจ่างเรื่องเทคโนโลยีเสมอมา โอ้พระเจ้าช่วยทันใดนั้น มีวุฒิอาสาฯ ท่านหนึ่ง ได้ยินเสียงบ่น เรื่องไม่สามารถหาอินเตอร์เน็ตใช้ประกอบการบรรยายในโรงแรมใหญ่ๆ ในเมืองกรุงฯ ได้ ท่านรีบบอกว่าท่านนำโน็ดบุ๊คมาและบลูทูตมา ต่อเน็ตผ่านมือถือได้แต่จะช้ามาก ถ้าเอาแอร์การ์ดมาคงช่วยอาม่าได้มาก การสนทนาบนโต๊ะอาหาร จึงได้มากกว่าอาหารอิ่มท้องค่ะ เพราะอาหารสมอง และได้อาหารใจ เห็นความเอื้ออารีย์จากท่าน วุฒิฯ จากเพขรบุรี ท่าน เบญจวรรณ ยินดียม ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ ในการขึ้นพูดของอาม่า จึงมีเน็ตใช้ถึงช้า แต่มีวิธีการฯ… ในที่สุดความร่วมแรงแข็งขยันของสามประสาน อีกท่านคือวุฒิฯ ท่าน วรรณ แสงเจริญวัฒนะ จากเพชรบุรี อีกเช่นกัน ร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือ จน สามารถ ทำให้ทุกคนทีเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เห็นการประชุมที่มีการรายงานสด ผ่านอินเตอร์เน็ต ทำให้คนเห็นเครื่อข่ายของชาวลานปัญญา ที่ร่วมด้วยช่วยกัน เห็นการสื่อสารออนลายน์ข้ามทวีป ได้เห็นบันทึกการทำงานที่ เป็นรูปมธรรม และเป็นหลักฐานการทำงานในพื้นที่จริงในแต่ละชุมชน ไม่ต้องเสียเวลาในการพูดในหัวข้อ “เรื่องวิธีการทำงาน” หากแต่ที่ต้องเน้นปัญหาจริงของแต่ละพื้นที่ ซึ่งหนีไม่พ้นสองประเด็นหลัก คือ ทรัพยากรมนุษย์ ( คือปัญหาของคน )กับปัญหาของธรรมชาติ(คือทรัพยากรชาติ)ที่เป็นอยู่จริง และสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง ตามฤดูกาล ความรุนแรงของภัยธรรมชาติ แล้วเราจะแก้ไขได้อย่างไร ทำอย่างไร เมื่อไร “ใคร” คือคนที่ควรจะต้องลงไปแก้ไข จำเป็นต้องลงไปพร้อมกันทุกหน่วยงานหรือไม่อย่างไร แล้วต้องพิจารณาต่ออีกว่าลงไปแก้ ปัญหา ไม่ใช่ไปเิพิ่มปัญหา  ทำได้หรือไม่ หากเกินกำลัง ก็ควรหาพัธมิตร มีสถาบันไหนที่จะเป็นที่พึ่งได้ หากต้องพึ่งเทคโนโลยี องค์ความรู้ที่ต้องผ่านการศึกษาวิจัยและได้ทำสำเร็จแล้ว (เพราะต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง) เราก็ควรจะขอควมช่วยเหลือไปโดยตรงได้

อย่างที่อาม่าทำอยู่ในขณะนี้ คือเข้าไปทุกชุมชนที่เป้าหมาย ร่วมกับ สศช. และวุฒิอาสา ธนาคารสมองฯ จึงไม่มีข้อสงสัย เพราะเข้าใจ เข้าถึง จึงหาทางช่วยเหลือ ให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงที่มีความแตกต่างในแต่ละชุมชน จึงได้ขอความร่วมมือยังสถาบันการศึกษา ไปยังเทคโนธานี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อันเป็นสถาบันการศึกษาที่อาม่า และ อ.แพนด้า เป็นอาจารย์รุ่นบุกเบิก(ลุยโคลน)   อ.แพนด้าทำงานจนเกษียณอายุที่นี่ แต่ สำหรับอาม่าไปทำงานที่ โครงการส่วนพระองค์ “โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืช” สวนจิตลดา ตั้งแต่ 2542-2546 พอดี 60 ปี แล้ว ควรกลับมาดูแลบ้าน เพราะลูกทุกคน จบการศึกษา และมีหน้าที่การทำงานที่ต้องทำในกรุงเทพฯค่ะ

กลับมาอยู่โคราชก็คบกับปราชญ์ชาวบ้านเป็นเพื่อน อันที่จริงคบมานานแล้ว ที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน และ ข้าราชการบางท่านที่ลาออกมา ลงมือปฏิบัติจริง ตามพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เกษตรทฤษฎีใหม่ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไม อาม่า มีพันธมิตร ที่หลากหลาย การลงมือทำจริงมันยิ่งกว่าอะไรทั้งสิ้น แค่พูดอย่างเดียวคงไม่พอขอให้ลงมือ ลงแรง(ปัญญา) ลงใจ(จริง) ทำเพื่อตนเองเถอะ คือทำดีต่อแผ่นดินเกิดค่ะ

« « Prev : ช่วยด้วย…อาม่าขอร้อง!!!

Next : พระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.080824851989746 sec
Sidebar: 0.055221080780029 sec