จากปัตตานี ถึง NSC 2010

โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 22 กุมภาพันธ 2010 เวลา 8:09 (เย็น) ในหมวดหมู่ การศึกษา, คณิตศาสตร์, เทคโนโลยี #
อ่าน: 5130

สวัสดีครับทุกท่านครับ

เมื่อวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา ทาง ม.อ.ปัตตานี ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมโครงการในปีนี้จำนวน 2 โครงการ เป็นงานของนักศึกษาหนึ่งโครงการ และงานของระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิต ม.อ.ปัตตานี อีกหนึ่งโครงการครับ

โครงการของนักศึกษา เป็นโครงงานตามภาพด้านล่างนี้นะครับ

เป้าหมายที่ผมวางไว้คือ หากเรามีทรัพยากรบุคคลที่สามารถลุยงานได้ ผมอยากเห็นผลงานของนักเรียนมัธยมมีคุณค่าเทียบได้กับผลงานของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสามารถก้าวขึ้นไปเทียบได้กับระดับปริญญาโทครับ มีหลายๆ คนที่เดินชมงานอาจจะรู้สึกว่า เด็กมัธยมคนนี้ทำขนาดนี้เลยหรือ หรือทำไม นศ.คนนี้ทำในเรื่องลึกๆ ขึ้นไป แต่จริงๆ ยังอาจจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่ชัดเจนมากนักครับ เพราะงานยังต้องเดินทางต่อและทำต่อไปครับ วันหนึ่งผมเชื่อว่าหากเราต่อยอดเราจะเห็นเลือดและหัวใจทำงานเป็นระบบและระบบแอลนี้ก็จะมีการเคลื่อนไหวในหัวใจได้ นำไปสู่การใ้ช้งานจริงของหมอได้จริงๆ ครับ มีหลายๆ อย่างที่ฟังจากกรรมการพิจารณาครับ ซึ่งผมคิดว่าแพทย์ที่โปแลนด์ยินดีที่จะใช้โปรแกรมตัวนี้หากเราทำสำเร็จครับ สำหรับแพทย์ไทยผมไม่แน่ใจว่าจะยากเกินไปตามที่คณะกรรมการกล่าวไว้จริงหรือเปล่าครับ แล้วเราหวังว่าสิ่งนี้จะไปได้ถึงจุดนั้นครับ โครงงานการจำลองโครงสร้างเส้นเลือดในหัวใจด้วยระบบแอล เป็นงานของนักศึกษา สิริประภา ฤทธิ์รักษา ครับ

สำหรับโครงงานของ นักเรียนมัธยม น้องล่ำซำ ทองสีนุช เมื่อปีก่อนผมให้น้องล่ำซำซึ่งอยู่ ม.5 กับ นศ.ชั้นปี 4 ในสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์มานั่งเรียนเดลไฟด้วยกัน ผมสอบแบบไม่ยั้งครับ เพื่ออยากจะทราบว่าเพดานของแต่ละคนอยู่ตรงไหน และพบว่าสองคนนี้มีศักยภาพในการทำงานด้านนี้ ซึ่งปีที่แล้วน้องล่ำซำทางด้านการเปรียบเีทียบไฟล์ข้อมูลและเปรียบเทียบภาพว่าเหมือนกันหรือไม่ แต่ปีนี้เป็นโครงการใหม่คือ การเขียนลายมือเขียนเป็นเสียง ส่วนหลักของงานคือการเขียนลายมือแปลงเป็นข้อความภาษาไทย แล้วส่งข้อความภาษาไทยให้เป็นเสียงผ่านไลบรารี วาจา ของเนคเทค ครับ ซึ่งจะเขียนไลบรารีเสริมให้ส่งข้อมูลถึงกันได้โดยตรงจากโปรแกรมหลัก ในโปรแกรมนี้จะมีส่วนของการฝึกลายมือเก็บไว้เทียบเึคียงเมื่อทำการทดสอบกับระบบในภายหลังครับ

เมื่องานเสร็จแล้วทางภาควิชาก็เลยให้ นศ.ทั้ง 4 ชั้นปี เข้าฟังการเล่าประสบการณ์ของทั้งสองคน เพื่อสร้างแรงจูงใจ เผื่อว่าปีหน้าเราจะมีโอกาสส่งโครงงานที่น่าสนใจเข้ามาร่วมอีกครับ ผมคิดว่าหากนักศึกษาเล่นจริงจัง เราจะมีอะไรให้ออกมาตื่นเต้นได้อยู่เรื่อยๆ ครับ

ยังมีโครงงานอีกมากมายครับ ที่เราทำได้ในบ้านเรา และสุดท้ายขอขอบคุณคณะผู้จัดงานตั้งแต่รอบคัดเลือกจนถึงรอบสุดท้ายเป็นอย่างยิ่งครับ สิ่งที่ผมเห็นคือความสามารถของเด็กไทยกระจายอยู่ทั่วประเทศไทยครับ เพียงแต่เราจะมีการสนับสนุนและกระตุ้นให้ตรงจุดและต่อเนื่องขนาดไหนครับ ศักยภาพของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายในเรื่องของโปรแกรมมิ่งนั้นสำคัญมากๆ เลยครับ สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานที่ดีสำหรับมหาวิทยาลัยครับ

หากใครมีลูกหลานและชอบคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ผมยินดีเป็นที่ปรึกษาทางไกลให้นะครับ เพียงแต่เด็กอาจจะต้องรับผิดชอบต่องานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องครับ ผมเห็นแววของน้องๆ ในงานเต็มเลยครับ ขอให้ผู้ปกครองสนับสนุนนะครับ

ด้วยมิตรภาพครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

« « Prev : โปรแกรมคำนวณปริมาณสารอะฟลาทอกซินในข้าวสาร

Next : ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ยามสุริยันต์ทรงกลด » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

582 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 3.8491969108582 sec
Sidebar: 0.79534912109375 sec