โปรแกรมคำนวณปริมาณสารอะฟลาทอกซินในข้าวสาร

โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 22 กุมภาพันธ 2010 เวลา 7:17 (เย็น) ในหมวดหมู่ การศึกษา, คณิตศาสตร์, เทคโนโลยี #
อ่าน: 8117

สวัสดีครับทุกท่าน

สบายดีนะครับทุกท่าน ผมรู้สึกดีเสมอเมื่อมีโอกาสได้ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานหากเราได้มีโอกาสใช้วิทยาการที่เรามีในตัวนำออกมาสร้างเป็นเครื่องมือให้ได้ใช้กัน ไม่ต้องยิ่งใหญ่หรือใหญ่โตอะไรมากแต่ใช้ได้จริง อีกอย่างไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ หากเครื่องมือบางส่วนเสียหรือชำรุดแล้วสามารถนำผลเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ทางด้านการประมวลผลภาพ ก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งครับ

สำหรับวันนี้ผมจะนำเสนอโปรแกรมในการวิเคราะห์หาสารอะฟลาทอกซินในข้าวสาร ซึ่งภาพนำเข้าเป็นภาพจากการทดลองกระบวนการทางเคมีมาก่อนครับ แล้วนำภาพเหล่านี้เข้ามาประมวลผลอีกรอบแล้วใส่ข้อมูลพื้นฐานให้กับส่วนควบคุม จากนั้นก็เอาไปวิเคราะห์ส่วนที่ยังไม่ทราบค่า จะว่าไปมันก็แค่คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษานะครับ คือการเทียบบัญญัติไตรยางค์นั่นเอง แต่เพียงกว่าจะเทียบบัญญัติไตรยางค์ได้ ก็ใช้พลังทางการะบวนการคิดเพื่อหากลุ่มข้อมูลกลุ่มสีซึ่งได้จากการเลือกจากผู้ใช้ในการใส่เข้าไปด้วยการคลิกลากเม้าส์แล้วเลือกขอบเขตไปวางในที่ที่เหมาะสมครับ ทำอย่างไรให้น่าใช้และสะดวกรวดเร็วทันใจเมื่อเลื่อนกรอบที่ต้องการหาค่าร้อยละของสารอะฟลาทอกซินครับ

ลองมาดูภาพตัวอย่างกันเล่นๆ นะครับ

ภาพทางด้านซ้ายเป็นหลุมๆ นั่นเป็นภาพนำเข้าในโปรแกรมที่ได้จากห้องปฏิบัติการครับ ต่อไปก็คือหน้าที่ของผมคือทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ว่า ปริมาณสีต่างๆ ในแต่ละหลุมนั้นมีสารอะฟลาทอกซินในระดับไหน ซึ่งอาจารย์นงนุชท่านบอกว่า หากข้าวสารมีสารอะฟลาทอกซินเกิน 20 % ก็ไม่สามารถจะรับประทานได้ เมื่อก่อนผมคิดว่าจะมีแต่ในพวกถั่วบดตอนกินก๋วยเตี๋ยว แต่พอมาทราบว่าในข้าวสารก็มีด้วย เลยกลัวเลยครับ ว่าตัวเองจะเจอสารพวกนี้ไหมหนอ เพราะว่ากินข้าวทุกวัน และชักให้ห่วงที่บ้านด้วยครับ เพราะว่าที่บ้านสีข้าวสารเองจากข้าวที่ปลูกกันเองครับ

โปรแกรมนี้จะวิเคราะห์ % ให้เรียบร้อยพร้อมบันทึกข้อมูลจากการวิเคราะห์ให้เรียบร้อยครับ พร้อมแสดงกราฟหน้าตาว่าสีมีระดับปริมาณไหนแต่ละค่าครับ

และมีข้อมูลให้ดังต่อไปนี้ครับ

# Aflatoxin Analysis using Image Processing
ID Red Green Blue Gray % Aflatoxin
1 66 127 144 110 0
2 84 135 150 121 4
3 115 142 151 135 10
4 118 140 149 134 20
5 147 150 156 150 40
6 54 126 146 107 0
7 78 134 149 119 3.27
8 45 127 146 105 0
9 56 120 138 103 0
10 36 122 143 98 0
11 30 117 142 94 0
12 33 123 144 98 0
13 31 120 143 96 0
14 30 116 142 93 0
15 43 128 147 105 0
16 31 123 143 97 0
17 89 130 143 119 3.27
18 115 138 149 132 8.71
19 79 132 147 118 2.91
20 74 129 145 115 1.82
21 54 128 146 108 0
22 65 134 150 115 1.82
23 73 130 147 115 1.82
24 58 129 146 110 0
25 67 125 141 109 0
26 75 129 145 115 1.82
27 64 132 148 114 1.45
28 75 128 143 114 1.45
29 95 135 149 125 5.71
30 105 141 152 131 8.29
31 124 145 152 140 27.5
32 115 143 151 136 22.5

—————————————————-
email : csom...@bunga.pn.psu.ac.th

คงดูยากหน่อยครับในหน้านี้ครับ แต่ในผลของโปรแกรมจะดูง่ายกว่านี้ครับ

*** ผมพัฒนาต่อให้ดูภาพง่ายขึ้นโดยเอาหมายเลขและเปอร์เซ็นต์ใส่กำกับเข้าไว้กับแต่ละหน่วยทดลองครับ ดังภาพนี้ครับ

จะเห็นว่าสองภาพด้านบนนี้ กำหนดขนาดวงกลมในการหยิบข้อมูลขึ้นมาขนาดวงรีต่างกัน จะส่งผลต่อข้อมูลกราฟที่แตกต่างกันครับ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อ % อะฟลาทอกซินด้วยแน่นอนครับ ดังนั้นการนำภาพเข้าในระบบจึงมีความสำคัญมากเพื่อช่วยในการลดข้อผิดเพี้ยนครับ

วันนี้ทราบผลการพิจารณาโครงการที่ส่งเข้าไปเพื่อพิจารณา ปรากฏว่าผลการพิจารณตกหมดทั้งสองโครงการ แสดงว่าที่เราทำๆ อยู่มันยังไม่เข้าตากรรมการ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ต้องทำต่อไป ไม่ใช่หยุดตรงที่ไม่มีทุนสนับสนุน หากวันใดผมสามารถจะเชื่อมโยงระหว่างบริษัทเอกชนมาทำวิจัยร่วมกับสถาบันมหาวิทยาลัย วันนั้นคือวันที่ผมคิดว่าภารกิจทางการวิจัยผมเริ่มจะมีชีวิตจริงแล้ว เพราะนั่นคืองานต้องนำไปใช้ได้จริง มันเกินกว่าจะแค่ตีพิมพ์หรือขึ้นหอคอยครับ

ลืมบอกไปครับ ว่าโครงการที่ผมเสนอไปคืออะไร มันเกี่ยวข้องกับทะเล กระแสน้ำชายฝั่งในอ่าวปัตตานีและโยงไปถึงศึกษาการกัดเซาะทั้งอ่าวไทยและซูมเข้าไปดูในแต่ละพื้นที่ได้ครับ  และอีกโครงการเป็นการสร้างเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการใช้งานเครื่องมือที่เสื่อมสภาพแล้ว แต่หากพัฒนาต่อยอดให้ใช้งานได้ต่อ เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยียางครับ ซึ่งเครื่องมือมีราคาสูงกว่าล้านบาท หากเราสามารถเล่นแล้วพัฒนาให้ใ้ช้ต่อได้ ก็จะดีไม่น้อยครับ

งานวิจัยบางทีเริ่มจากอะไรเล็กๆ น้อยๆ ครับ แล้วค่อยๆ ต่อยอดให้พัฒนาสูงขึ้นครับ

ขอเป็นกำลังใจสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้น อย่างเช่นเดียวกับผมครับ จริงๆ เวทีในการวิจัยเดินมายาวพอสมควรครับ แต่เวทีการทำวิจัยแบบของบประมาณจากรัฐเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้นครับ

ด้วยมิตรภาพครับ

เม้ง

« « Prev : นานาประการที่การศึกษาล้มเหลว….

Next : จากปัตตานี ถึง NSC 2010 » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1093 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 5.2308158874512 sec
Sidebar: 0.035799026489258 sec