น้ำท่วม กทม : สามทิศเสี่ยงต่อการโจมตีของน้ำและจุดที่ต้องให้ความแข็งแรงเป็นพิเศษ

อ่าน: 63674

เรียนทุกท่าน

======================= ภาพล่าสุดจากการจำลอง อัพเดต 27 ต.ค. 2554 เวลา 18.02 น. =======================

สมมติฐานของการจำลอง

1. คันกั้นน้ำสูง 3 เมตร จากระดับความสูงของพื้นดิน และสมมติว่าคันกั้นน้ำนั้นมีความแข็งแรงมาก

2. ปล่อยน้ำไหลลงมาสมทบกับปริมาณน้ำที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ จากทางทิศเหนือของ กทม.

ต้องการจะดูว่า จุดตรงไหนบ้างที่น้ำจะล้นและทะลักเข้ามาด้านในของคันกั้นน้ำบ้าง ท่านจะสามารถเห็นจุดน้ำล้นคันกั้นน้ำได้ เพื่อวางแผนการจัดการเสริมคันกั้นน้ำ แม้ว่าจะเป็นวิธีการที่ไม่ใช่ดีที่สุดก็ตาม

ภาพนี้จากแถบสีเป็นดังนี้

สีฟ้า - น้ำสูง น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
สีเหลือง - น้ำสูง 20-50 เซนติเมตร
สีส้ม - น้ำสูง 50-100 เซนติเมตร
สีแดง - น้ำสูงเกิน 100 เซนติเมตร

เนื่องจากโปรแกรมมีการปรับค่าสีตามความลึก เทียบกับความลึกสูงสุด อาจจะทำให้ความลึกเทียบกับสีคลาดเคลื่อนได้บ้าง

ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ KMZ เพื่อนำไปเปิดด้วย Google Earth ได้ครับ เพื่อดูสถานการณ์ของพื้นที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเขตและถนนครับ

http://www.pbwatch.net/Flood/BKKFloodSimLatest.kmz

ข้อมูลความสูงต่ำของพื้นที่ กทม. และพื้นที่รอบนอก

สีเขียวอ่อน สูงจากระดับน้ำทะเล 1-2 เมตร
เขียวเข้ม สูงจากระดับน้ำทะเล 2-5 เมตร
น้ำตาล สูงจากระดับน้ำทะเล มากกว่า 5 เมตร
ลองเทียบๆ ดูเองได้นะครับ
สำหรับสีฟ้าม่วงคือ พื้นที่น้ำครับ

ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ KMZ นำไปเปิดด้วยโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธ ได้จาก

http://www.pbwatch.net/Flood/BKKElevation.kmz

============================================================================

ผมกำลังจำลองโมเดลอยู่ต่อในขณะนี้ แต่ผลยังไม่เรียบร้อยจึงขอวิเคราะห์จุดเสี่ยงต่อการโจมตีของน้ำที่จะไหลเข้า กทม. ไว้ดังรูปต่อไปนี้ครับ

จากประสบการณ์ผมที่เล่นและจำลองอยู่กับน้ำเค็ม น้ำในแม่น้ำ การกัดเซาะชายฝั่ง และน้ำท่วม จึงขอเขียนจุดที่ควรจะเฝ้าระวังเป็นพิเศษตามลูกศรสีเหลืองเหล่านั้นครับ เพราะน้ำเป็นของเหลวที่มีพลัง นิ่มนวล อ่อนโยน รวมพลัง มีพลัง หมัดหนัก แยกกันเราลด รวมกันเราสูง และน้ำเป็นคลื่นที่เลี้ยวได้

และในขณะเดียวกัน การมีคันกั้นน้ำแนวขวางจะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการพังทลายของคันกั้นน้ำได้ง่าย เมื่อแตกเพียงจุดเดียวเล็กๆ น้ำนิ่งๆ จากพลังงานศักย์ที่รอจะเป็นพลังงานจลน์นั้นจะแสดงอิทธิฤทธิ์ทันที จากน้ำไหลในทุ่งจะแปลงพลังเป็นสึนามิทุ่ง ได้สบายๆ จินตนาการดูจากคนทำนา เคยกั้นน้ำไว้ในบึงนา แล้วเราทำร่องน้ำไว้ดักปลาดักกุ้ง ขนาดน้ำลึกแค่เข่ายังทรงพลังขนาดนั้น อันนี้น้ำสูงเป็น 1-3 เมตร จะทรงพลังขนาดไหนครับ

จากภาพคันกั้นน้ำ แนวกั้นน้ำทั้งหลาย พบว่า กทม.มีจุดเสี่ยงจากแนวทางที่จะโดนถูกโจมตีในครั้งนี้ ตามลูกศรเส้นสีเขียว โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกมีความเสี่ยงมาก (ผมพูดบนพื้นฐานที่ผมไม่รู้ว่าคันกั้นน้ำมีความแข็งแรงขนาดไหนครับ) แต่ถือว่าจุดนี้เป็นจุดอ่อนเหมือนที่เราเคยเห็นภาพอนุสาวรีย์ชัยเคยโดยน้ำท่วมแล้วมีคนพายุเรือ จำได้ไหมครับ ผมเชื่อว่าน้ำทะลักได้ง่าย เพราะตรงตำแหน่งนี้ น้ำจะถูกอุ้มได้คันกั้นสีแดงเหล่านั้น มันจะย้อยเป็นรังผึ้งและรวมพลังเข้าไว้เพื่อจะพังกำแพงเหล่านั้นในการโจมตีฝั่งตะวันตกได้ง่าย สำหรับทางออกผมคิดว่า เราไม่ควรจะมีแนวกั้นตามขวาง และแนวรังผึ้งห้อยตรงนั้น กั้นในแนวเหนือใต้คงจะดีกว่า แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพูดคุยกับชาวบ้านใต้คันกั้นน้ำสีแดงแนวขวางด้านตะวันตกของ กทม. เพราะว่าตรงนั้นหากปล่อยน้ำไป น้ำจะค่อย ไหลลงไป แต่หากคันกั้นน้ำแตกคราวนี้จะเสียหายมากกว่าเดิมครับ

สำหรับแนวลูกศรทิศตะวันออกเฉียงเหนือนั้น เป็นจุดเปราะบางเช่นกัน เพราะจริงๆ แล้วมีแนวถนนและคันกั้นน้ำอีกเส้น แต่ผมไม่ได้ใส่ไว้ในภาพ ซึ่งจะเป็นการเชิญน้ำเข้า กทม.ได้ในทิศทางลูกศรเส้นนี้เช่นกัน ทางออกคือให้เอาออกจะดีที่สุดจะทำให้น้ำไหลลงด้านล่างได้ง่ายขึ้น แทนที่น้ำจะวิ่งเข้าไปโจมตี กทม.ด้านทิศตะวันออก ในขณะเดียวกันน้ำจะหักล้างกับทิศทางน้ำจากทิศตะวันออกจากปราจีนด้วยน้ำทางทิศเหนือที่ไหลลงมาจากปทุมธานี หรือนครนายกครับ

สำหรับรัฐบาล กระผมคิดว่า รัฐบาลน่าจะมีการประกาศหยุดเช่น 20 วัน ในเขตน้ำท่วม เพื่อให้คนเดินทางกลับเท่าที่จะทำได้ครับ แล้วรัฐจะมีโอกาสในการจัดการบริหารน้ำให้ไหลลงทะเลได้เร็วขึ้น ป้องกันการสูญเสียชีวิตน่าจะคือเป้าหมายมากสุด ส่วน โรงพยาบาลหรือตึกตรงไหนที่รับคนไปพักได้เป็นเบื้องต้นก็ควรจะทำ ซึ่งจะช่วยให้เราดูแลคนที่ป่วยอะไรได้ชัดขึ้น คนปกติก็อาจจะไปพักบ้านญาติหรือมีจังหวัดใจบุญรอบนอกทำหน้าที่รับดูแลพี่น้องที่ได้รับผลจากน้ำท่วมก็คงจะดีครับ

เศรษฐกิจคงไม่เสียหายไปมากกว่านี้แล้ว ตอนนี้การป้องกันน้ำทำได้แค่เฝ้าระวังคันกั้นน้ำไม่ให้พังและเสริมครับ แต่เมื่อแตกแล้วกู้ยากมากครับ หรือไม่ก็จะกู้ได้ก็ต่อเมื่อน้ำไหลเข้าไปในพื้นที่จนน้ำเกือบนิ่งแล้วครับ ทำอย่างไรจึงจะระบายน้ำได้เร็วและคนไม่เสียชีวิตครับ ผมถือว่าการที่คนไม่เสียชีวิต หรือเสียน้อยสุดเป็นการดีที่สุดครับ

และประเด็นนี้คงเลิกคิดสีธง สีเสื้อ สีเชื้อ สีผิว สีพรรคกันได้แล้วครับ ถ้าถอดเสื้อออกให้หมดก็จะพบว่าคุณคือคนไทยเหมือนๆ กันครับ

ถัดจากนี้ เราคงทำงานร่วมกันมากขึ้น น้ำท่วมครั้งนี้เราจะเข้าใจความหมายของคำว่า บูรณาการกันมากขึ้น

แต่ละกระทรวงคงต้องให้ความรู้คนมากขึ้น ติดอาวุธทางปัญญากันมากขึ้นครับ ชีวิตใครใครก็รัก แต่การรักชีวิตตนเองและรักชีวิตผู้อื่นด้วยเป็นสิ่งประเสริฐ เราไม่สามารถจะอยู่ในสังคมนี้เพียงแค่ตัวเราผู้เดียว เห็นหัว เห็นใจ เห็นปัญญา เห็นความดีของกันและกัน ลิงยังอุ้มลูกสุนัขหนีภัยเลยครับ แล้วเราจะไม่อุ้มคนที่เป็นคนได้อย่างไร?

จึงขอให้ข้อมูลเบื้องต้นเพียงแค่นี้ครับ

ด้วยความเป็นห่วงและด้วยมิตรภาพ

คนไทยคนหนึ่ง

====================================================================

จากวิเคราะห์ภาพจำลองจากโมเดลด้วยโปรแกรม VirtualFlood3D ซ้อนกับโปรแกรม Google Earth ดังผลต่อไปนี้ พร้อมทิศทางเสี่ยงต่าง ๆ ในสามทิศทางใหญ่ๆ ดังทิศทางลูกศรสีเขียว

หรือภาพรายละเอียดดังต่อไปนี้

รายละเอียดทิศทางน้ำกรณีน้ำล้นหรือคันกันคลื่นแตกในสองทิศทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ กทม.

และรายละเอียดทิศทางที่มีความเสี่ยงในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือของน้ำจาก อ.บางใหญ่ ไหลเข้าพื้นที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรณีที่แนวกั้นน้ำทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไม่สามารถรับแรงน้ำได้

ถ้าทิศทางของน้ำในสามทิศเป็นไปตามที่คาดการณ์นี้ อาจจะส่งผลให้เกิดการรวมกันของน้ำทั้งสามทิศมารวมกันเพื่อไหลออกอ่าวไทย ซึ่งในภาวะนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรมากหากน้ำล้นริมตลิ่ง

หมายเหตุ… ผลที่ได้จากการจำลองนี้เป็นผลจากโมเดลที่ใช้สมการ Shallow Water Equation ด้วยโปรแกรม VirtualFlood3D (  http://www.youtube.com/watch?v=HwS212eBDL8  ) เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการระบายน้ำลงสู่ทะเลในโอกาสต่อ

============================ ภาพเคลื่อนไหวครับ ============================

http://www.youtube.com/watch?v=AWPOR6lHKww

ด้วยมิตรภาพครับ

สมพร ช่วยอารีย์



Credits : ภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่น้ำท่วมจาก GISTDA, Google Earth, ESRI, VirtualFlood3D by Anurak Busaman and Somporn Chuai-Aree, ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, แหล่งข้อมูลจากทีวี TPBS, Nation


ผักสวนครัว ระเบียงพอเพียง

787 ความคิดเห็น โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 24 ตุลาคม 2009 เวลา 2:40 (เย็น) ในหมวดหมู่ การศึกษา, การเกษตร, ครอบครัว, ธรรมชาติ #
อ่าน: 6896

สวัสดีครับทุกท่าน

ผ่านไปหลายเดือนไม่ค่อยได้เขียนบทความบ่อยนักครับ วันนี้ถือโอกาสวันก่อนเปิดเทอมจึงขอนำเสนอความสุขเล็กๆ น้อยๆ กับชาวแฟลต ระเบียงพอเพียง

จากเคยนำเสนอ

มาวันนี้…. กาลเปลี่ยนมีพัฒนาการ

จากเป็นเมล็ด เริ่มแตกใบ ใต้เงาร่มระเบียงแฟลตนี้

รากที่ฝังลงกระถางใบนี้ ชีวิตนี้ไม่เคยอดตาย

เติบโตเต็มตาม ต้นใหญ่นั้น ร่มเงาใบงามสุขใจ

หลากชีวิตเรา หมุนเวียนเปลี่ยนไป ใต้ระเบียงไม่ใหญ่ แห่งนี้……

ด้วยมิตรภาพครับ

เม้งครับ


จากเธอที่ชุมทางเขาชุมทอง-ฉากเดิมต่างเวลา

19 ความคิดเห็น โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 18 ตุลาคม 2008 เวลา 11:38 (เย็น) ในหมวดหมู่ ครอบครัว #
อ่าน: 3657

ต้องจากเธอผู้นี้ ที่เขาชุมทอง

เธอคือดาวดวงน้อย ของพ่อ จับมือพ่อเอาไว้…..


เดือนเป็นจันทร์…จันทร์เหอขี้เห้อคายเหอ…ขี้เห้อคายคาย

อ่าน: 63249

สวัสดีครับ

เมื่อคืนได้ทราบจากพี่แสงเทียนว่าจะเกิดจันทรุปราคา เดือนนี้นับว่าเป็นเดือนดีนะครับ มีครบทั้งจันทรุปราคา และสุริยุปราคาครัีบ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2551 ก็วันเพ็ญจันทร์เต็มดวงครัีบ นั่นหากเราเห็นจันทร์ไม่เต็มดวงแสดงว่า เงาโลกไปบังดวงจันทร์เข้าแล้วนะครับ หลายคนอาจจะงงๆ ขออธิบายสั้นๆว่า

  • สุริยุปราคา เกิดจาก การเรียงแนวระนาบของ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก (เงาจันทร์บังโลก คนมองไ่ม่เห็นดวงอาทิตย์ เกิดกลางวัน โลกมืดชั่วขณะ)
  • จันทรุปราคา เกิดจาก การเรียงแนวระนาบของ ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ (เงาโลกบังดวงจันทร์ เรามองดวงจันทร์เสี้ยวทั้งๆ ที่เป็นเพ็ญสิบห้าค่ำ พระจันทร์เต็มดวง) เราเรียกกันว่า ราหูอมจันทร์ ทางใต้บางพื้นที่่เรียกว่า เดือนเป็นจันทร์

เมื่อคืนผมถามพี่คอนฯ ไปว่า อ่านต่อ »


วันแม่ทุกวัน วันพ่อทุกวัน วันดีทุกวัน

99 ความคิดเห็น โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 12 สิงหาคม 2008 เวลา 4:28 (เย็น) ในหมวดหมู่ ครอบครัว #
อ่าน: 2958

วันนี้วันแม่ วันแม่วันนี้

ลูกอยู่สบายดี สบายดีลูกอยู่

คุณแม่ตัวไกล ตัวไกลคุณแม่

ลูกคิดถึงเสมอ เสมอลูกคิดถึง

อ่านต่อ »


คำสอนพ่อ…นายสะตอ…จงจำ

13 ความคิดเห็น โดย มิสเตอร์สะตอฯ เมื่อ 24 กรกฏาคม 2008 เวลา 9:40 (เช้า) ในหมวดหมู่ ครอบครัว #
อ่าน: 2937



Main: 0.060086011886597 sec
Sidebar: 0.032119989395142 sec