เบิ่งตาแลไทยแลนด์ในอีก20ปีข้างหน้า****

อ่าน: 4756

 

 

คนบ้านป่าได้รับการชี้ชวนให้มองเมืองไทยในอนาคต20ปีข้างหน้า นับว่าเป็นโจทย์ที่น่าใคร่ครวญไม่เบาเลยนะครับ ล อ ง ค า ด ห วั ง สิ ว่ า ป ร ะ เ ท ศ ของฉัน จ ะ เ ป็ น ฉั น ใ ด ? . . มองสังคมมองประเทศไม่เหมือนมองคนสวยหรอกนะเธอ มันมีมุมให้พิเคราะห์พิจารณายุบยับไปหมด โดยเฉพาะการมองแบบคาดการณ์นี่สิ ถึงตอนนั้นผมไม่มีโอกาสได้ทราบผลการคาดคะเนที่ว่าไว้ จะใกล้เคียงหรือเอนเอียงไปสุดกู่ประการใดก็ไม่อาจทราบได้

อีก20ปี ใ น ห มู่ เ ร า รุ่ น เ ก๋ า ส์ กึ๊ ก ก็ ค ง แ ย ก ย้ า ย ไ ป เ ป็ น ธ า ตุ อ า ก า ศ ที่ ไ ห น ก็ ไ ม่ รู้ จะยังชีพอยู่ก็แต่รุ่นสวยสะพรั่งตอนนี้ แต่ตอนนั้นก็คงนมยานจนเอาพาดบ่าได้แล้วละ เรื่องอย่างนี้มองคนเดียวไม่กระจ่างหรอก มั น ย า ก ก ว่ า ต า บ อ ด ค ลำ ช้ า ง ห ล า ย เ ท่ า นั ก ..เมื่อรับการบ้านมาก็ต้องทำการบ้านสิเธอ แต่มีปัญญาแค่หางอึ่งจะทำอะไรได้ จึงมองหาตัวช่วย..สมาชิกชาวFB.และลานปัญญาโปรดสะท้อนทัศนคติช่วยผมด้วย อย่าปล่อยให้คนป่าไปขายขี้เท่อบนเวทีเลยนะแม่คุณ

 

เมื่อเร็วๆนี้ได้รับซองเอกสาร เปิดอ่าน..สะดุ้งโหยง!..เรื่อง ขอเรียนเชิญไปเป็นองค์ปาฐกถาบรรยายพิเศษ ..ด้วยวโรกาศมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร์รามาธิบดี จักรนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมราชบพิตร เจริญพระชนมพรรษา 84 สำนักงานสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง9แห่งทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงพร้อมใจกันจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติภายใต้โครงการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ “การยกระดับคุณภาพชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น อาเชียน” ครั้งที่ 1 (International Symposium on Local Wisdom and Improving Quality of Life) ในระหว่างวันที่ 8-11สิงหาคม 2555 ณ อุทยานหลวงราชพฤษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเชิญชวนภาคประชาชน ผู้ปฏิบัติ นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศกลุ่มประชาคมอาเชียนและประเทศภูฐาน,จีน,ญี่ปุ่น,อินเดีย,เกาหลี,ไต้หวัน,มานำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาทิ Mr. Muhammad Yunus ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ในการบรรยายเรื่อง”การพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน”

หลายปีผ่านมานี้ ผมไปเกี่ยวข้องกับงานคล้ายๆกันนี้ในหลายเวที สิ่งใดที่เป็นงานถวายเทิดพระเกียรติพ่อหลวงของเรา ผมยินดีไปขยายขี้เท่อสุดฤทธิ์สุดเดช แต่ด้วยข้อจำกัดของสติปัญญาที่จำกัดจำเขี่ยและร่อยหรอบริบททางวิชาการ ก็ได้แต่น้อมถวายความจงรักภักดีพ่อหลวงตามมีตามเกิด ทั้งๆที่ตั้งใจไว้เปี่ยมล้นที่จะทำหน้าที่พกนิกรที่ดีของพระองค์

แต่ก็นั่นแหละเธอ..

บ้านเราตอนนี้มีพสกนิกรหลายสายพันธุ์

พูดไปก็กระเทือนทรางกันเปล่าๆ

เรามาช่วยกันเทิดพระเกียรติพ่อพระในดวงใจสไตล์เราๆชาวFB.ดีไหมครับ

 

เท่าที่สนทนาเบื้องต้น ผมเห็นความมุ่งมั่นที่จะสนองพระราชดำริเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินอย่างเต็มสติปัญญาก็น่าชื่นใจ เมื่อวานให้เจ้าหนูฝนไปประสานงาน ก็ได้งานมาเต็มหน้าตัก ดร.ฝน เล่าว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาต้องการจะสรุปงานในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะในบทสรุปของ20มิตรประเทศที่สะท้อนความเห็น จึงทาบทามมาว่าเราจะอาสารับทำให้ได้ในรูปของพ็อกเก็ตบุกส์ให้ได้ไหม?

เห็นไหมละครับ..วิธีคิดของฝ่ายดำเนินงานบรรเจิดขนาดไหน?

ในฐานะตัวแทนประเทศไทย ถ้าผมสรุปมุมมองประเทศใน20ปีก็คงงั้นๆแหละ แต่ถ้าพี่น้องชาวFB.และลานปัญญาช่วยกันลงขันความคิดช่วยผม เขยเชียงใหม่คงจะไม่ตกม้าตายที่ดอยสุเทพแน่นอน ช่วยๆเขยเชียงใหม่หน่อยนะครับ

เพียงแค่แย้มพรายเรื่องออกมานิดๆ..

ใบหน้าของพี่น้องก็ลอยฟ่องมาเต็มอากาศ

ท่านใดจะอาสา ขอได้โปรดเอามือลง..

แล้วก็เริ่มวางศิลากฤษ์เบิกตัวอักษรได้เลย

รีบๆตะครุบ..ระวังตัวหนังสือจะกระโดดออกมาจากหน้ากระดาษ!

 

อนึ่ง. ช่วงที่เขยเชียงใหม่ไปอยู่หลายวัน น้าอึ่งอ๊อบ ครูอึ่ง ครูอาราม อุ๊ยจันตา เจ้าหนูฝน ฯลฯ อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว คงไม่ยากนักที่จะไล่กอด ยังหนักใจแต่ญาติทางไกล ทำยังไงจะนัดมาพบปะกันสักวันหนึ่ง ในช่วง7-11 สิงหาคมนี้ เ ร า ม า ก ร ะ ดี๊ ก ร ะ ด๊ า กั น ดี ไ ห ม ค รั บ ? คุณหมอจอมป่วน เจ้าตาหวาน พี่บางทราย ท่านอัยการชาวเกาะ รอกอดส์ หมอเบริด์ หมอเจ๊ แหม..ถ้าจะให้ล่ารายชื่อทั้งหมดคงไม่ต้องกินข้าวเช้าแน่ ผมคิดไปถึงลุงเอก พระอาจารย์ไร้กรอบแห่งนาซา และผองญาติในลานปัญญาทุกท่าน ไม่ให้กระเด็นเล็ดลอดหายไปได้สักคนหรอกหนา อยากจะขออนุญาตจับเข่าถามว่า..มาเที่ยวเชียงใหม่กันไหม?

 

เ ป็ น ไ ป ไ ด้ ไ ห ม ค รั บ ที่เราจะนัดจัดงานวันเฮฮาศาสตร์ ฉบับมินิในช่วงดังกล่าว ถ้าตัดสินใจร่วมกันว่าจะลุย ท่านที่มีเวลาก็มาเที่ยวมาชมและมาคุยงานกัน หลังจากจบงานนี้ก็ค่อยไปนั่งละเลียดความครุ่นคิดคำนึง ดึงเอาความรักความคิดถึงมาแชร์กันคนละเข่งสองเข่ง

เรื่องนี้สำคัญนะครับ มุมที่มองต่างอาชีพและประสบการณ์นั้นมีเสน่ห์ยิ่งนัก โ ด ย เ ฉ พ า ะ ค ว า ม มี อิ ส ร ะ แ ห่ ง ตั ว ต น ..ไม่ได้เขียนเสนอผลงานวิชาการ หรือเขียนแบบรายงานเจ้าสำนัก แต่..เป็นการเขียนตามใจฉันที่เห็นและเข้าใจ ขออนุญาต..ฉ ะ อ้ อ น ฉ อ เ ล า ะ ม า ถึ ง ที่ รั ก ส ม่ำ เ ส ม อ เมื่อบรรลุจุดประสงค์ปลงใจแล้ว ทั้งรูปหล่อและรูปสวยกรุณาบอกกล่าวเล่าแจ้งFB.และลานปัญญาด้วยเถิด

โปรดเปลี่ยนความเข้าใจ ให้เป็นความตั้งใจโดยพลัน ! อิ อิ..

 

ผมโชคดีที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนถึงวันนี้ ถึงชีวิตจะลุ่มๆดอนๆเพราะโดนสังคมจับเหวี่ยงจนกายาบอบช้ำ แต่หัวใจยังกระชุ่มกระช่วยกระยิ่มยิ้มย่องได้อยู่นะเธอ ..ก่อนที่จะมองไปข้างหน้า20ปี ก็ขอมองย้อนหลังไป20-30-40ปี ในช่วงชีวิตของเราๆท่านๆนี่แหละ สังคมไทยเปลี่ยนแปลงแบบพุ่งกระฉูด หลายเรื่องเป็นเสมือนมีอภินิหาร แต่หลายเรื่องก็พาลพาโลจนเกินความคาดหมาย ตอนผมเป็นเด็กๆ เตี่ยแม่ได้สร้างบ้านเป็นลักษณะร้านค้าเล็กๆในตัวกิ่งอำเภอที่ไกลปืนเที่ยง เป็นบ้าน2ชั้นด้านล่างเทพื้นปูนซีเมนต์

<· เจ้าพื้นซีเมนต์นี่แหละครับที่มันบ่งบอกความหัศจรรย์อย่างเอกอุให้แก่คนชนบท ผู้คนแถบนั้นตั้งแต่เกิดมาก็เพิ่งจะได้เห็นพื้นบ้านแข็งแกร่ง-ดูเรียบและเย็น-เ ด็ ก ๆ ช า ว บ้ า น ต่ า ง พ า กั น ม า ลู บ ม า น อ น ก ลิ้ ง เอาไปโจดขานกันเป็นเรื่องแปลกใหม่

<· <!–[endif]–>วิทยุก็เข้ามา ยุคที่ใช้ถ่านไฟฉายเป็นลังๆนั่นละครับ ชาวบ้านก็มารุมดูกันอีก แปลกใจตู้อะไรนะทำไมมันรายงานข่าว/ร้องเพลง/ประกาศเลขหวยออกอากาศ

<!· <!–[endif]–>ต่อมามีทีวีมันยิ่งมาขยายความอึ้งทึ่งๆและทึ่ง สมัยนั้นใช้ไฟปั่น ยังแพร่ภาพออกอากาศเป็นขาว-ดำ เด็กๆตื่นเต้นมาเฝ้าดูกันจนไม่กินข้าวกินปลา เลิกง้อรถหนังขายยา ไม่ต้องวิ่งตามโฆษกประกาศรอบหมู่บ้าน..ฮัลโหลๆ..คืนนี้จะฉายหนังกลางแปลงที่หน้าสุขศาลา กินข้าวกินปลาแล้วรับมากันนะครับ

<· <!–[endif]–>พาหนะใช้เกวียนบรรทุกสิ่งของ ต่อมาก็มีรถจิ๊ปลากไม้ รถมอเตอร์ไซด์ มาแทนรถจักรยาน ก่อนที่จะรู้จักรถอีตุ๊กอีแต๋นอยู่หลายสิบปี

<!· <!–[endif]–>เจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาประชุมประจำเดือน ล้วนขี่ม้าบักจ้อนมาประชุม หน้าที่ว่าการอำเภอจะมีหลักสำหรับผูกม้าไว้ใต้ร่มไม้ เด็กๆไปเกี่ยวหญ้าม้ามาขาย หอบละ50 สตางค์ อีตอนเลิกประชุมทุกคนต่างกลับบ้านนี่สิครับ มีม้าวิ่งฝุ่นตลบออกทุกทิศทุกทาง มองดูคล้ายๆกับในหนังคาวบอย

สภาพการณ์ดังกล่าวนี้ มีมาก่อนหน้าเพลงผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม พ..2504 หลังจากนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับต่างๆก็ทยอยออกมา ในช่วงแผนพัฒนาฉบับที่8 ก่อนหน้าช่วงฟองสบู่แตก ในแผนฯมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่พอเศรษฐกิจมีปัญหาเราก็ปรับแผนฯมาเน้นเรื่องความเป็นนิกส์ ลดความสำคัญของการพัฒนาการศึกษา ผลเป็นประการใดท่านทั้งหลายก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้ว

 

ดังนั้นถ้าจะตั้งข้อสังเกต พอให้ได้ข้อสรุปหยาบๆในการพิจารณาวันข้างหน้า ก็คงจะมองสภาพการณ์บ้านเมืองในเวลานี้กระมังครับ สังคมบ้านเรามีข้อดีข้อด้อยประการใด มันก็จะไปส่งผลในอนาคตภายหน้าครบเครื่องเรื่องกลไกของสังคม พอจะประมาณได้ว่า

“ถ้าจะดูวันหน้า ก็ควรดูวันนี้”

“ทำวันนี้ให้ดี วันข้างหน้าก็จะออกมาดี”

<!· วันนี้..เราทำหน้าที่พลเมืองไทยแล้วหรือยัง!<!–[endif]–>

<!· วันนี้<!–[endif]–>..เราเป็นพกสกนิการที่ดีแล้วหรือยัง!

<!· วันนี้<!–[endif]–>..เธอเล่นบทไหนในฐานะประชาชนคนไทย!

อย่างน้อยคนไทยก็ควรทำหน้าที่ 2 ประการ

1 ทำ ห น้ า ที่ ก า ร ง า น ข อ ง ต น ใ ห้ เ รี ย บ ร้ อ ย ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งอะไรก็ขอให้มีความรับผิดชอบ

2 ทำ ห น้ า ที่ พั ฒ น า แ ล ะ ดู แ ล สั ง ค ม ถ้ายังเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปล่อยให้กระแสเถื่อนลากจูงสังคมเข้ารกเข้าพง สร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย ถามว่าสังคมเราเกิดอะไรกันครับ

“ถ้าเราลอยเพสังคม สั ง ค ม ก็ จ ะ ล อ ย เ พ เ ร า ”

สั ง ค ม ที่ ถู ก ล อ ย เ พ วั น นี้ วันข้างหน้าจะไม่เพแตกรึครับ!

หลายท่านอาจจะตัดช่องน้อยแต่พอตัว ฉันรวย ฉันพร้อมเผ่น ฉันพร้อมแก้ปัญหาด้วยตนเอง เรื่องของสังคมก็ปล่อยให้เป็นสวะลอยไปในน้ำเน่าปล่อยให้เหตุการณ์บ้าๆบอๆล้วงควักประเทศชาติกันไป บางกลุ่มคนก็อึ้งกิมกี่ด้วยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ได้แต่เข้าวัดเข้าวาสงบจิตสงบใจ บางกลุ่มก็ถือโอกาสชุลมุนแย่งชิงฉกฉวยประโยชน์ สถาบันต่างๆคลอนแคลน เกิดสภาวะวิกฤติศัทธา กาวใจไร้ประสิทธิภาพ ทั้งๆที่ประชาชนคนไทยโชคดีที่สุดในโลก ก็ลองนึกดูสิเธอ

<!1. คนไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่พระประมุขทรงทุ่มเททำงานให้แก่คนไทยตลอดพระชนชีพของพระองค์ ทรงยอมเหนื่อยยากเพื่อให้พกสกนิกรกินอิ่มนอนอุ่น ทรงทำหน้าที่พระมหากษัตริย์จนเป็นเลิศเป็นแบบอย่างทั้งโลก ได้รับการยกย่องและชื่นชมเสมอมา ทั้งในระดับราชวงศ์ ระดับประมุขของประเทศ และระดับสหประชาชาติ

<!2. คนไทยมีสถาบันศาสนา เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ศาสนาเป็นวินัยทางสังคมที่ผู้คนน้อมปฏิบัติ มีวัฒนาธรรมจารีตประเพณีและครรลองครองธรรมเป็นหลักชัยให้ดำเนินรอยตาม

<!3. คนไทยมีความเป็นชาติ ชาติที่มีความพร้อมมีอัตลักษณ์ มีความเป็นไท มีปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพและพัฒนา

<!4. คนไทยมีความเป็นไท ยิ้มสยามเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของจิตใจและอารมณ์ มีความเอื้ออาทรกัน “ข้าวบ้านเหนือ เกลือบ้านใต้” บ่งบอกถึงความสมานไมตรีจิตทุกระดับ มีภูมิปัญญาคอยดูแลวิถีไทให้ปกติสุขเรื่อยมา

<!5. คนไทยอาศัยอยู่ในพื้นที่ๆมีความหลากหลายทางชีวภาพ จึงมีสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศความชุ่มชื้นพอเหมาะต่อการเพาะปลูก ภาคการเกษตรได้ทะนุบำรุงภาคอุตสาหกรรมจนรุ่งเรือง

<!6. คนไทยมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้ก้าวทันโลกภายนอก ชนบททุกวันนี้มีไฟฟ้าทุกซอกทุกซอย มีประปาหมู่บ้าน มีถนน2เลน4เลนบรรจบกันทั่วประเทศ มีวิทยุทีวีไม่รู้กี่ร้อยช่อง มีอินเตอร์เน็ท และกำลังแจกเท็บเล็ทให้เด็กนักเรียนชั้นประถมทั่วประเทศ มีสพานข้ามแม่น้ำเชื่อมประเทศเพื่อนบ้านหลายจุด มีสนามบินทันสมัยไม่แพ้ประเทศใดในโลกนี้

ถ้าพิเคราะห์ถึงต้นทุนและปัจจัยในการพัฒนาประเทศ โดยเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ประเทศของเราได้เปรียบทางด้านกายภาพมาก ถ้ารัฐบาลและคนไทยใส่ใจเรื่องเทคโนโลยีที่เหมาะสม ส่งเสริมการผลิตบุคลากรทางด้านเทคนิคอย่างเป็นรูปธรรม โดยพิจารณาโครงสร้างทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ลูกหลานไทยที่ศึกษามาทางด้านอาชีวะ นอกจากจะไม่เป็นปัญหาสะสมให้ระบบการพัฒนาสังคมแล้ว ยังเป็นตัวคูณที่ไปเสริมสร้างความเข้มแข็งที่ทรงพลัง ไปเกื้อหนุนให้แรงงานช่างที่ขาดแคลนในประเทศและในต่างประเทศ จุดสำคัญดังกล่าวนี้จะช่วยการสร้างงานสร้างชาติให้ดำเนินไปได้อย่างเท่าทันกับสถานการณ์โลก

ถ้าระบบการศึกษาเน้นมาทางด้านสายอาชีวะ มากกว่าที่จะไปเน้นทางสายสังคม ที่ผลิตกันจนเกร่อแถมยังด้อยคุณภาพอีกต่างหาก ขอเสนอให้ปรับปรุงบางสถาบันที่สอนสายสังคม ให้เปลี่ยนมาสอนสายอาชีวะให้ได้สัดส่วนระหว่างอาชีวะกับสายสังคม70:30 ไม่อย่างนั้น ประเทศนี้จะสะสางเรื่องแรงงานช่างเทคนิคขาดแคลนด้วยวิธีไหนละครับ

ปัญหาอยู่ที่..ค่านิยมเต่าล้านปีของผู้ปกครอง ต้องการให้ลูกเรียนสายสามัญ -เรื่องเงินค่าหัว ทำให้แต่ละโรงเรียนกักเด็กไว้นาน ไม่แนะนำให้เด็กไปเรียนปวช.ปวส. –นโยบายเชิงโครงสร้างของสถาบันอาชีวะควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง-ข่าวด้านลบของเด็กอาชีวะ ทำให้เกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีในสายตาสังคม -วิธีการเรียนการสอนเน้นทฤษฎี ทำให้เด็กมีคุณสมบัติเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ไม่สนใจทำงานที่ใช้แรงงาน ไม่นิยมไปฝึกงานฝึกทักษะ ต้องการเรียนแบบจบง่ายๆได้กระดาษเปื้อนหมึกพอใจแล้ว หลังจากนั้นก็ถูลู่ถูกังกระเสือกกระสนเอาตัวไม่รอด ตกงาน เลือกงาน อู้งาน เบื่องาน แบบมือขอตังส์ ให้พ่อแม่เลี้ยงไปจนโข่ง

 

จุดยักแย่ยักยันเรื่องการผลิตบุคลากรทางด้านสายอาชีวะ

จะยกเครื่องกันอย่างไร? ใครเป็นพระเอก ใครเป็นพระรอง

นโยบายที่เป็นรูปธรรม ความรับผิดชอบ มีประสิทธิผลแค่ไหน?

ในยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างดุเดือดนี้ การแข่งขันขึ้นอยู่กับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ในประเทศนั้นๆเป็นสำคัญ

ถามว่า คุณภาพคนไทยอยู่ในระดับไหน มีศักยภาพเป็นอย่างไร?

ใ ค ร จ ะ เ ป็ น ค น รับผิดชอบ ต อ บ คำ ถ า ม นี้ ?

จุดเปราะบางของสังคมไทยอยู่ที่ความรู้ไม่พอใช้ ทำให้เราต้องนำเข้าวิชาความรู้ นำเข้าอุปกรณ์เครื่องมือ นำเข้าเทคโนโลยี นำเข้าทุน นำเข้าแม้กระทั้งวัฒนธรรมประเพณีที่มีทั้งเหมาะสมและซับซ้อน ที่ควรคำนึงก็คือ..เรายังนำเข้าปุ๋ยเคมีสารเคมี ยาฆ่าแมลง เครื่องจักรกลการเกษตร พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์และเมล็ดพันธุ์มีมูลค่าปีละหลายแสนล้านบาท หักลบกลบนี้แล้วคงจะเหลือแต่ถุงกระดาษ ที่ซ้ำร้าย..เรายังนำเข้าพืชผักผลไม้เพิ่มมากขึ้นทุกปี นี่แหละหนอความล่าช้าของการพัฒนาฝีมือแรงงาน

สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือการสอนวิชาทิ้งถิ่น

ลูกหลานไทยเรียนไปแล้วหาทางกลับบ้านไม่เจอ

ภาคการเกษตรกำลังง่อยเปลี้ยเสียขา

เด็กรุ่นใหม่ไม่นิยมศึกษาภาคการเกษตร

หรือที่ศึกษาจยไปแล้วก็ไม่ทราบว่าหายไปหาย

ปล่อยให้ภาคการเกษตรต่ำต้อยเป็นลูกเมียน้อย

ต้องแบมือขอทุน ขอความเอื้ออาทรอย่างน่าเวทนา

ถ้าเปลี่ยนจากลบเป็นบวกไม่ได้ เจ้าประคุณเอ๋ยไม่รู้จะออกหัวออกก้อย

อย่ามาชวนเป่าหยิงฉุบนะตัวเอง..

สรุปว่า..เราพัฒนามาจนถึงขั้นเลือกจะโชว์เบอร์โชว์ใจกันแล้ว ต่อไปจะเป็นยังไงคงต้องขอเวลาเขียนทบทวนอีกสักตั้ง ในชั้นนี้ขอรายงานช่วงจังหวะเวลาที่นัดพบปะ จะได้ไม่คลาดเคลื่อนและคลาดครากัน

ผมมีภาระกิจดังนี้

วันที่ 8 สิงหาคม 2555 บรรยายพิเศษกลุ่มย่อย หัวข้อ “ผู้ปฏิบัติจริงในชุมชนท้องถิ่น” เวลา 13.00-14.30 ณ อุทยานหลวงราชพฤษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 9 สิงหาคม 2555 บรรยายพิเศษในประเด็น “วิถีชีวิตชุมชนอยู่กันอย่างไร หากมองไกล 20 ปี” ในมุมมอง

v มิติต่างประเทศ โดย Mr. Muhammad Yunus ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน

v มิติประเทศไทย โดย หม่อมราชวงค์ดิศนัดดา ดิสกุล

v มิติชุมชนท้องถิ่น โดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

เวลา 09.00 เป็นต้นไป ณ อุทยานหลวงราชพฤษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วันที่10สิงหาคม 2555 ร่วมประชุมเสวนาโต๊ะกลม เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิตและภูมิปัญญาในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนในหัวข้อ “ชุมชนท้องถิ่นจะอยู่กันอย่างไร หากมองไกล20ปี” กับผู้นำในระดับชาติและกลุ่มอาเซียนประมาณ20-30คน เวลา 09.00-16.00.ณ อุทยานหลวงราชพฤษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วันที่11จะกลับบางกอกไฟล์บ่าย หรือจะเอ้อระเหยยังบ่แน่บ่นอน

 

ง า น นี้ ห นั ก ห น่ ว ง ทั้ ง ต อ น อ ยู่ บ น เ ว ที และ ล ง เ ว ที

ตั้งแต่นี้ไปคงต้องทำการบ้านแล้วละเธอ

ถ้าคนสวยว่างช่วยไปหิ้วปีกลงจากเวทีด้วยเน้อ มี ใ ห้ เ ลื อ ก ถึ ง 3 วั น

อิ อิ..



Main: 1.1102828979492 sec
Sidebar: 0.04883599281311 sec