อยากจะอบหัวใจเธอจังเลย

อ่าน: 4796

งานวิจัยไทบ้าน เรื่องความมั่นคงทางอาหาร

หมู่นี้มีการพูดถึงการเตรียมตัวเรื่องภัยพิบัติอยู่บ้าง ในฐานะผู้สอดรู้สอดเห็นก็เก็บเอามาคิดว่า ระดับอย่างเราๆจะเริ่มต้นตรงจุดไหนดี บังเอิญพี่แต๋วคุยเรื่องเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผมก็ไม่ทราบว่าสองสาวเขาคุยตกปล่องร่องชิ้นกันยังไง มาทราบว่าก็อีตอนที่มีการสั่งซื้อเตาอบพลังงานแสงแดด และมาเห็นของจริงก็ตอนที่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าใจดีบรรทุกมาส่งให้ถึงบ้าน โอ้โฮ ผมนึกว่าจะเล็กๆ ใหญ่แทบเต็มกะบะรถบรรทุกเล็กเลยละครับ เมื่อมีปัจจัยการทดลองอย่างนี้แล้ว ผมก็เลียบเคียงถามโฉมยงว่าคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เธอบอกว่าจะเอามาอบสมุนไพร แล้วแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพราะเรามีวัตถุดิบทั้งปี ใครไปใครมาก็จะเอามาให้ทดลอง ถ้าคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับก็จะทำการเผยแพร่ต่อไป

(ทดลองอบกล้วย)

เธอว่า การที่มีเครื่องมือให้ทดลองทำให้ความคิดเดินออกจากการครุ่นคิดคำนึง

เช้านี้ เธอทดลองเอากล้วยสุกสามเครือ ปอกเปลือกแล้วแช่น้ำปูนใส

เอามาวางเรียงในตู้อบ เป็นการทดลองจากของจริงฉลองเป็นปฐมฤกษ์

เมื่อได้ทำอะไรเชิงปฏิบัติการ ง า น ที่ สั ม ผั ส ไ ด้ ส ะ ท้ อ น ค ว า ม รู้ สึ ก นึ ก คิ ด เธออธิบายเป็นฉากๆว่า ถ้าเรามีเครื่องอบชนิดนี้สี่ตู้น่าจะพอดีกับงานเริ่มต้นแปรรูปเพื่อถนอมอาหาร สำหรับการป้องกันภัยพิบัติ

· ตู้แรกจะอบผลไม้

· ตู้ที่สองจะอบอาหารประเภทเนื้อ

· ตู้ที่สามจะอบสมุนไพร

· ตู้ที่สี่จะอบพืชผัก เห็ด ต่างๆ

เ ร า จำ เ ป็ น ต้ อ ง ใ ช้ ถึ ง สี่ ตู้ เ ล ย รึ

เธอบอกว่าที่จำเป็นเพราะเรามีวัตถุที่แตกต่างกัน

ก า ร แ ย ก ตู้ อ บ จ ะ ทำ ใ ห้ ก ลิ่ น อ า ห า ร ไ ม่ อ อ ก ม า ตี กั น

ที่จริงเธออยากได้ห้าตู้ด้วยซ้ำไป

อ้าว ตู้ ที่ ห้ า จ ะ เ อ า ม า อ บ อ ะ ไ ร เธอบอกว่าประเภทของวัตถุดิบมีความแห้งระเหยไม่เท่ากัน ถ้าไม่มีตู้สำรองเราก็จะรอคอยนาน งานไม่ต่อเนื่อง ที่ทดลองวันนี้ ตู้ดังกล่าวจะรองรับกล้วยสุกได้ประมาณหกเครือ ถ้าทดลองจนได้สูตรแน่ใจอาจจะต้องขยายเป็นโดมขนาดใหญ่ เครื่องมือชุดนี้จึงเหมาะสมมากที่จะเอามาฝึกทักษะการถนอมอาหารต้นทาง ต่อ เ มื่ อ ชำ น า ญ แ ล้ ว เ ร า ค่ อ ย ข ย า ย ผ ล เ ป ลี่ ย น กิ จ ก ร ร ม เ ป็ น กิ จ ก า ร

(มันเลือด-เผือก-กล้วย ปลูกไว้เยอะจะเอามาอบทำแป้งไว้เจี๊ยะยามยากหรือเกิดภัยพิบัติ)

ส่วนผมนั้นมองอีกแบบหนึ่ง ถ้าเรามีเครื่องอบอย่างนี้ ช่วงที่ผมขุดมันเลือด ขุดเผือก เก็บเมล็ดถั่วพู ถั่วเขียว เมล็ดถั่วลิสง และข้าวโพด เราก็สามารถเอามาอบให้แห้งแล้วป่นเป็นแป้งเก็บไว้ได้ เป็นการถนอมเอาไว้ในยามยาก เมื่อได้แป้งแต่ละชนิดแล้วเราก็จะนำมาเรียนรู้ประกอบอาหารเมนูต่างๆ เครื่องมือพวกนี้จึงเป็นอุปกรณ์การค้นคว้า หาทางออกเกี่ยวกับอาหารยามภัยพิบัติในเชิงการวิจัยแบบไทบ้าน ถ้าเราประมวลความรู้ดั่งเดิมมาต่อยอดกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมยุคสมัยใหม่ เราก็จะได้ชุดความรู้ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สำคัญมันบ่งบอกว่า แนวคิดนี้ได้ประยุกค์ขึ้นตามครรลองของวิถีไทย

ถ้าไม่มีตรงนี้ เราก็จะนึกถึงแต่มาม่า

ข้าวกล่องที่บูดง่าย

โดยหาคำตอบไม่ได้ว่าในแต่ละท้องถิ่นจะพึ่งตนเองได้อย่างไร?

ถ้ามันไม่เกิดภับพิบัติ ก็ยังเดินหน้าระบบการพัฒนาอาหารสำเร็จรูปได้

จะเห็นว่า เครื่องมือที่จะนำไปสู่คำตอบไม่ได้แพงมากมายวายป่วงอะไร

ถ้ามีผู้สนับสนุนในจุดที่มีความพร้อม ความต้องการ ความมุ่งมั่น

ตู้อบอาหารแสงอาทิตย์มันไม่ใช่จะเอามาทำแต่เนื้อแดดเดียวหรอกนะเธอ

เ ร า จ ะ อ บ ทุ ก อ ย่ า ง ที่ ข ว า ง ห น้ า

โดยเฉพาะหัวใจคนโลเล อยากจะอบทำแห้งไว้จะได้ไม่ออกไปเพ่นพ่านหลอกใครๆ

เ ป็ น ก า ร บ้ า น ที่ ท้ า ท า ย ไ ห ม ล ะ พี่ แ ต๋ ว จ๋ า อิ อิ


จะเอายังไงกับภัยพิบัติ

อ่าน: 1700

จะเอายังไงกับภัยพิบัติ

· พิษภัย เภทภัย ภัยพิบัติ ภัยวิบัติ สารพัดภัย แวะเวียนมาเยี่ยมเราบ่อยขึ้น สาเหตุเพราะมนุษย์เราไปนี่แหละไปทำลายความปกติของธรรมชาติ เมื่อสภาพสมดุลของโลกเสียหาย กลไกของระบบธรรมชาติได้รับผลกระทบ ความเป็นปกติก็ต้องแปรเปลี่ยนเป็นธรรมดา และส่วนมากก็เป็นไปทางลบมากว่า สองสามปีมานี้อากาศผิดปกติทั่วประเทศอย่างเห็น เป็นไปได้ไงครับ ที่อีสานอากาศจะเย็นสบายกว่าเชียงใหม่ ภาคเหนือทั้งหมดทุกรมด้วยควันไฟป่าปีละสองเดือน รู้ทั้งรู้ที่เห็นตำตาก็แก้ไขอะไรไม่ได้

แ ล้ ว สิ่ ง ที่ ซุ ก ซ่ อ น อ ยู่ น อ ก ส า ย ต า จะเป็นยังไง

มันจะไม่บูดเน่าแล้วบูดเน่าอีกรึครับ

เรื่องพวกนี้พูดไปคนก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่

ขนาดปีที่แล้วเจอน้ำท่วมแทบตาเหลือกก็ยังอยู่อย่างประมาทกันต่อไป
อย่าเชื่อ นักการเมืองกระล่อนจะช่วยดูแลอะไรเราได้

แผนงานป้องกันภัยต่างๆก็ทำแบบเด็กอมมือ

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนั่นแหละดีที่สุด

· ช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมา ผมออกจากลานปัญญามาจีบสาวๆสนุกสนาน ต่อไปนี้ก็จะกลับเข้าบ้านแล้วครับ แต่ไม่ต้องห่วงนะ ยังไงๆก็จะโพสต์ข้อความโยงมาถึงเฟสบุกส์อยู่ดี แต่เนื้อหาอาจจะเปลี่ยนไปบ้าง คงจะเข้าสู่กระบวนการของหมู่บ้านโลกเป็นหลัก ถ้าใครติดตามอ่าน”ลานซักล้าง” จะเห็นว่าคอนดรั๊กเตอร์ ทำการบ้านรอมาเป็นระยะๆ วันนี้เดินมาถึงหมู่บ้านโลกตอนที่ หก แล้วนะเธอ

· คอนดรั๊กเตอร์ เขาจะทำเรื่องหลักการ ส่วนข้าน้อยจะทำเรื่องกระบวนการ ถ้าสนใจก็เข้าไปอ่านลานปัญญา คอนดรั๊กเตอร์ พูดถึงภาพรวมของการเกิดภัยพิบัติ ถ้าเรายังสนิมสร้อยอยู่อย่างนี้ คงจะช่วยตัวเองได้น้อย ปกติภัยที่ว่านี้มันก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาแล้วละครับ เพียงแต่เราไม่ใส่ใจกันอย่างจริงจัง เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ภาคเหนือทั้งหมดถูกรมด้วยไฟไหม้ป่าอย่างที่เกริ่นนำ ต่อมาอากาศร้อนแล้งมหาโหด ลำปาง สี่สิบกว่าองศา ถามว่า มีใครแก้ไขเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมได้รือไม่ เจ้าภาพอยู่ที่ไหน คนรับผิดชอบมีหน้าตาอย่างไร

สุดท้ายก็ได้คำตอบว่า “มั น ก็ แ ค่ นั้ น แ ห ล ะ ต๋ อ ย ”

สังคมไทยอยู่กันอย่างลูบหน้าปะจมูก สนุกกับการกลบข่าวไปวันๆ อ้าว! เมื่อรู้แล้วจะทำยังไงละ หมู่บ้านโลกก็เดินหน้าต่อไปทุกวัน เมื่อเร็วๆนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตส่งเครื่องอบพลังงานแสงอาทิตย์มาให้ ผมก็นึกว่าเครื่องเล็กๆ ที่ไหนได้ มันเพียงพอที่จะนำมาศึกษาเรื่องความมั่นคงด้านอาหารอย่างดีเลยละครับ เมื่อคืนโฉมยังมาบีบนวดหัวไหล่ให้ สงสัยจะเกิดจากการสะพายกระเป๋าหนักผิดท่า ตอนนี้หัวไหล่ทั้งซีกยังบ่มีแฮง เพลียๆยังไงไม่รู้นะครับ ข น า ด อ ยู่ ใ ก ล้ ชิ ด กั บ ค น รู้ ใ จ ก็ ยั ง ไ ม่ ก ร ะ เ ตื้ อ ง เออ ไม่รู้จะทำยังไงดี วันนี้จะลองนวดครีมที่ผลิตจากลำไย ถ้าหายเธอเอ๋ย จะกระดี๊กระด๊าไปได้อีกนาน

โฉมยงได้ของถูกใจ เล่าให้ฟังว่าจะเอาสมุนไพรมาอบมาทดลอง เมื่อก่อนลูกมะกรูดหล่นทิ้งเต็มพื้น เก็บมาบดปั่นทำครีมอาบน้ำบ้าง บำรุงผิวบ้าง แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว เขาจะลองเอามาอบแห้งแล้วบดๆๆๆ เอาไปทดลองเรื่องอื่นๆได้กว้างขวางขึ้น

ส่วนผมก็คิดในมุมผม

-ช่วงที่ผักออกเยอะๆผมจะเอามานึ่งแล้วส่งเข้าไปอบแห้ง เก็บไว้ในรูปของการถนอมอาหาร

-ช่วงที่ขุดมันเลือด เผือก เยอะๆก็จะเอามาแปรรูป อบแห้ง บดๆๆเก็บไว้ในรูปแป้ง

-ช่วงที่ผลไม้ออกเยอะๆ เสาวรส มะม่วง ขนุน กล้วย ก็จะลองอบแห้งไว้

-ช่วงที่เมล็ดธัญพืชออกมากๆ ถั่วพู ทานตะวัน ถั่วเขียว ก็จะเอามาอบๆ เก็บไว้

-ช่วงที่มีเนื้อสัตว์ ปลา ทำเนื้อแดดเดียว ก็จะลองทำแบบหลายๆแดด

-ช่วงที่มีสมุนไพรออกมามากๆ ก็จะเอามาอบๆๆและอบให้แห้ง ทำชา ทำประคบ ใส่แค๊ปซูล ก็ว่ากันไป

เรื่องเหล่านี้เรายังต้องเรียนรู้อีกมาก

ท่านผู้สันทัดกรณี จ ะ อุ ป ก า ร ะ ค ว า ม รู้ ก็ เ ชิ ญ เ ล ย น ะ ค รั บ

· ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็คิดในแง่ของการเตรียมภัยพิบัติ ถ้ามันไม่เกิดขึ้นกับตัวเราเอง แต่มันไปเกิดขึ้นกับพื้นที่ของญาติผม คนที่ผมรัก ผมก็จะส่งของพวกอาหารกึ่งสำเร็จรูปเหล่านี้แหละไปปลอบใจเธอ ช่วยเหลือเธอให้เขยื้อนปัญหาได้สะดวกใจยิ่งขึ้น หรือถ้าเรามีมากๆเราก็ยังจะส่งไปช่วยที่อื่นได้อีก

ถามว่า ถ้าเกิดภัยพิบัติมาอีกรอบ เราจะแก้ปัญหาหลักๆกันอย่างไร

ด้านอาหาร ด้านพลังงาน สิ่งอุปโภคบริโภค ได้คำตอบแล้วหรือยัง

คอนดรั๊กเตอร์ ฉุกคิดว่า ถึ ง ส ว น ป่ า จ ะ เ ต รี ย ม ก า ร อ ะ ไ ร ๆ ไ ว้ ดี

แต่คณะญาติไม่สามารถเดินทางมาถึงได้หรอก

น้ำท่วม สะพานพัง ถนนขาด ไปมาหากันไม่ได้จะทำยังไง!!!!

โธ่! จะยากอะไรละครับ

คอนฯก็ควักกระเป๋าซื้อ เ ฮ ลิ ค อ ป เ ต อ ร์ ไ ว้ สั ก ลำ

ถึงเวลาก็ขนพวกเรา บิ น ขึ้ น พั บ พั บ พั บ

อ ย่ า ลื ม เ รี ย ก ไ อ่ แ ห้ ว ติ ด ม า ด้ ว ย ก็ แ ล้ ว กั น

เดี๋ยวไม่มีคนคั้นน้ำเสาวรสให้ชิม

แคว๊กๆ


ร้อยรู้มิสู้หนึ่งทำ

อ่าน: 1518
  • การเรียนรู้ใดๆในโลกนี้ คงไม่มีวิธีไหนดีที่สุด ถ้าปล่อยให้เป็นธรรมชาติ เราก็ควรสังเกตุว่าในธรรมชาติเป็นอย่างไร ทุกวินาทีไม่มีการหยุดนิ่ง ไม่มีต้นไม้ มด แมลง ตัวไหนขี้เกียจ เท่าที่เห็นต่างขมักเขม้น เมล็ดไม้ร่วงหล่นลงมา ได้ความชื้นจากเมล็ดฝน เปลื่อกนอกที่ห่อหุ้มนุ่มนิ่ม กระบวนการภายในเริ่มขยับขยายที่ละเล็กละน้อย ออกเป็นตุ่มไตเล็กๆแล้วยืดขยายขึ้นตามลำดับ ได้น้ำได้ปุ๋ยได้แสงแดด ก็จะยืนหยัดยั่งรากแก้วแทงทะลุชั้นดินดาน เป็นเสมือนเสาเข็มยึดลำต้นให้แข็งแรง ส่วนรากฝอยนั้นเล่า แผ่ขยายไปตามผิวพื้นดินเพื่อดูดอาหารทั้งน้ำทั้งปุ๋ย ลำเลียงผ่านท่อขึ้นไปให้ใบปรุงอาหารที่เราเรียกว่าการสังเคราะห์แสง ใบยังช่วยกระจายความชื่นผ่านรูใบ ต่อเมื่อใบแก่ก็ร่วงหล่นลงมาปกคลุมผิวดิน รอวันเป็นปุ๋ยให้ดูดซับขึ้นไปเลี้ยงตัวเอง กิ่งก้านที่โตขึ้นเป็นเสมือนโครงเหล็กที่ยื่นออกไปรอบๆลำต้น ค่อยๆแผ่ขยายพื้นที่ร่มเงาให้เกิดความชุ่มชื้น ผิวดินไม่แห้งกระด้าง ทำให้รากฝอยอาหารได้สะดวก เรือนยอดนอกจากจะขยายด้านข้างแล้วยังขยับขึ้นไปเบื้องบนตามลำดับ เมื่อได้อายุตามสมควรก็จะออกดอกออกผลแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป

มนุษย์เรามีความรู้เกี่ยวกับระบบของธรรมชาติแค่หางอึ่ง

ถ้าศึกษาเอาแบบอย่างสังคมป่าไม้มาใช้

โลกใบนี้จะน่าอยู่กว่านี้สักล้านเท่ากระมัง

  • ความรู้ของมนุษย์ปนเปื้อนไปด้วยกิเลส

เอาผลประโยชน์แทรกซ้อนมาสังเคราะห์สังคม

บางประเทศโหยหา ดิ้นรน เรียกร้องไอ่อย่างเลวกลับมาเป็นผู้นำ

มนุษย์ปั่นหัวปลุกกิเลสกันทุกเมื่อเชื่อวัน

ลองนึกดูเถิด นางพญาปลวก จ่าโขลงช้าง หรือแม้แต่นางพญาผึ้ง

ล้วนมีภาวะผู้นำที่เสียสละเพื่อเผ่าพงศ์ของตนแทบทิ้งสิ้น

ไม่ได้กอบโกย ไม่ได้ทำลายระบบคุณธรรมของชาติ ไม่ได้ทำลายสถาบัน

สังคมใดที่มีจ่าโขลง มีนางพญาระยำตำบอน ..จะอยู่ จะแข่งขันกับใครเขาได้

มีแต่จะนำพาชาติพันธุ์ของตนเองเข้าสู่่ห้วงหายนะ

  • ตรงกันข้ามกับสังคมธรรมชาติที่อยู่กันด้วยความเอื้ออาทร ไม้เล็กไม้ใหญ่พึ่งพากันได้ ถึงแม้จะมีระบบการแข่งขัน เช่น การสูงชะลูดขึ้นไปเพื่อหาแสงแดด แบบแผนของธรรมชาติก็จัดสรรกันอย่างยุติธรรม ทำให้เกิดพืชเครือเถาว์เกี่ยวกระหวัดลำต้นไม้ใหญ่ไต่ขึ้นไปหาแสงแดดได้ ต้นไม้ไม่มีกลอุบายเลวร้ายใดๆต่อกัน ไม่อย่างนั้นป่าไม้จะร่มรื่นเป็นที่อาศัยของสรรพสิ่งในโลก เผื่อแผ่อ็อกซิเจนให้เราได้หายใจรึครับ
  • ถ้าจะมองหามิตรไมตรี ความเอื้ออาทร ความดีความงาม คุณประโยชน์และการสร้างประโยชน์ได้ปราศจากเงื่อนไข เธอไม่ต้องไปแสวงหาทฤษฎีบ้าๆบอๆที่ให้ยุ่งยากหรอก เข้าเรียนรู้หลักการและวิธีการของธรรมชาติ ให้ถ่องแท้ มนุษยชาติก็จะมีชุดความรู้ที่เป็นระบบโยงใยถึงกันสร้างความปกติสุขและสันติสุขได้ ไม่ต้องอยู่ด้วยการเอารัดเอาเปรียบด้วยการใส่หน้ากากหากัน
  • จริตของมนุษย์แต่ละประเทศที่เราเห็นๆนั้น

ล้วนเป็นมายาของมนุษย์ที่พยายามจะหลอกกันเอง

เมื่อต่างฝ่ายต่างมีจริตด้วยกันมันก็เลยกลายเป็นวัฒนธรรมของมนุษยชาติที่นำไปสู่ความเสื่อม

ความรู้ที่มนุษย์มี..เป็นความรู้ที่ไม่สะอาดและปลอดภัยพอ

ทุกกลุ่มความรู้ล้วนมีมลภาวะเป็นเงาแอบแฝงไว้ด้วยทั้งสิ้น

  • ไม่ จำ เ ป็ น ต้ อ ง เ ชื่ อ ต า ม ที่ เ ล่ า นี้ ห ร อ ก น ะ ค รั บ

ในเมื่อเราต่างก็มีดีเอ็นเอสายพันธุ์ของเจ้าสัตว์ที่ชื่อว่ามนุษย์กันทุกคน

รึเรามีสติจำกัดที่จะเรียนให้หลุดพ้นได้

รึเรากำลังมะงุ้มมะง่าหราอยู่กับสันดานตนเอง

รึเราตาใจบอดสีไม่มีวาสนาพอที่จะนำพาตนเองมากอดต้นไม้

  • เธอไม่มีใจให้แก่ผู้ที่ประกอบการสิ่งดีงามให้เธอ
  • เธอต่างก็รู้เห็นความงดงามตามธรรมชาติ
  • เธอเห็นแล้ว..ก็งั้นๆ..กระตู้วู้นิดหน่อย..แล้วก็กระด้างเหมือนเดิม
  • เธอ เธอ และเธอ ..มี หั ว ใ จ เ ป็ น พ ล า ส ติ ก ไปเสียแล้ว


เธออยู่ไหนตอนไฟดับ

อ่าน: 1375

 บ่ายวันนี้ รามสูรย์อาละวาดอีกแล้ว เที่ยวไล่ขว้างขวานก่อกวนเมฆขลาจนได้เรื่อง ลมบนโหมพัดกระหน่ำ มองดูยอดไม้ใหญ่โอนเอนวืดๆตามพายุ ไม้กิ่งเล็กกิ่งน้อยหักปลิวเกลื่อนพื้น เมล็ดไม้แก่แตกตกเรี่ยราดฝังตัวที่ผิวดิน ออกหน่อยคงจะแตกหน่ออ่อนเจริญพันธุ์ทั่วไป ถ้าเรามีแม่ไม้อายุมาก ธรรมชาติของป่าไม้ก็ขยายพันธุ์เองได้อยู่แล้ว โดยที่มนุษย์ไม่ต้องไปปลูก เพียงแต่จะถึงจุดนี้ได้ คุณภาพของสภาพแวดล้อมต้องยืนอยู่ในจุดที่เป็นบวกทางนิเวศน์

หลังจากลมและฝนถล่มสวนป่านาน1ชั่วโมง

คณะเราไม่รู้จะทำอะไร ไฟฟ้าดับWIFI.ก็พลอยเดี้ยงไปด้วย

จึงพากันจัดโต๊ะอาหารมื้อเย็นเลี้ยงคุณคอนฯกับน้องชาย

ผมทำไก่อบโอ่ง แห้วเอาปลาทูจากสุราษฎร์มาประชัน

ก็อิ่มหมีพีมันไปตามเหตุและปัจจัย 

นั่งคุยกันรอไฟฟ้าจน3ทุ่มไฟฟ้าก็ยังมาไม่เต็มที่ ยังดีที่เปิดทีวีดูภาพได้ แต่เสียงไม่มีนะ ดูทีวีใบ้ไม่รู้เรื่อง จึงหยิบไฟฉายมาค้นหาตัวเสริมกำลังไฟฟ้าให้กับไอโฟน ส่วนโน๊ทบุกค์มีไฟพอที่จะเขียนอะไรๆได้ค่อนคืน น่าจะเขียนเรื่องราวแล้วโพสต์ให้คุณคนสวยอ่านก่อนนอนคืนนี้ได้ บางคนเห็นเป็นยากล่อมประสาท ถ้าไม่มาเจ๊าะแจ๊ะในFB.อารารมณ์ค้าง ตาค้าง ใจค้าง..เป็นงั้นไป

ปกติถ้าสวนป่าฝนตกแรงขนาดนี้  อึ่งอ่างจะร้องระงม แต่คืนนี้เงียบกริบ แปลกแท้ๆ รึว่าอึ่งอ้างก็ติดนิสัยประท้วงมาจากที่ไหนสักแห่ง ตั้งใจว่าจะไม่นอนดึก พรุ่งนี้แห้วจะขับรถไปส่งที่มหาวิทยาลัยอุบล มีคิวไปโม้ให้นักศึกษาป.โทที่เรียนภาคฤดูร้อนทางด้านชีวะ/วิทยาศาสตร์ เรียกถูกรึเปล่าก็ไม่รู้นะ บอกเขาเองแหละว่า..ไม่ต้องส่งหนังสือเชิญเป็นทางการ ถ้าผมรักอาจารย์ที่เชิญก็ไปให้อยู่แล้ว อาจารย์บอกว่ากำลังตรวจเช็คตารางบินให้ ดูแล้วผมจะต้องบินอ้อมไปลงที่สุวรรณภูมิแล้วต่อไปลงอุบล

ผมบอกไม่ต้องเลย ข้าน้อยจะไปเองนะขอรับ

ไฟก็ไม่มี จะต้องออกเดินทางไปตอนเช้า ต้องเตรียมสื่่อไปประกอบการโม้ น่าจะนอนพิจารณาว่าจะเอามะพร้าวห้าวไปขายสวนทำนองไหน ถึงจะคุ้มค่าสมราคาของทุกฝ่าย เวลาของนักศึกษามีค่าควรแก่การให้ความสำคัญอย่างมาก 

ผมต้องถามตัวเองว่า..

ถ้าผมเป็นครูสอนวิชาชีวะวิทยา

ผมควรจะสอนอย่างไรเด็กๆถึงจะสนใจและตระหนักต่อวิชานี้

 

ผมก็จะถามลูกศิษย์ว่า..

นี่เธอรู้ไหม  ทำไมเราถึงต้องมาเรียนวิชานี้

วิชานี้มีความหมายความสำคัญอย่างไร

จึงได้รับการบรรจุเข้ามาในวิชาเรียนของเรา

พวกเราตระหนักและเข้าใจเกี่ยวกับวิชานี้อย่างไร

ใครจะช่วยอธิบายแนะนำให้คุณครูได้ ยกมือขึ้น!

หลังจากผ่านสารบัญนี้ไปแล้ว ผมอยากจะหยิบเนื้อหาวิชาเรียนที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเด็กๆ ให้เด็กเห็นองค์ประกอบ และได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของวิชานี้ จะได้สนใจและใส่ใจช่วยพัฒนาบรรยากาศและวิธีเรียนให้มีชีวิตชีวา

วิชาชีวะจะไปสอนแห้งๆเหมือนกระดาษทรายไม่ได้หรอก

ถ้าทำให้วิชานี้จืดชืดเหมือนน้ำล้างหัว-ล

มันจะเป็นทุกข์มากกว่าเป็นสุข

การเรียนรู้ทำไมต้องทุกข์ด้วย..

ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือผิดนะครับ

แหม..ถ้าอยู่ใกล้ๆจะอยากชวนคนสวยไปด้วย

ไปคอยหิ้วปีกเข้ามุม..

 

ตะกี้นี้เปิดดูFB. เจอคุณพรพรรณ ศรีวิชัย

คนสวยแห่งสันป่าตองมาขอเป็นเพื่อน

นึกๆแล้วก็แปลกใจ

เราเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่วัยกระเตาะเมื่อสัก40กว่าปีได้ละมัง

ทำไมจะต้องมาสมัครเป็นเพื่อนกันอีกเล่า

อยากจะบอกว่าเคยแอบรักอย่างไรก็ยังมั่นคงสม่ำเสมอมิลืมเลือน

นี่แหละน๊า..เทคโนโลยีมันไม่ยอมรับรู้เบื้องหน้าเบื้องหลังของใครๆ

ถ้าอยากจะเป็นเพื่อนกันก็ต้องมาตั้งต้นตามกติกาที่วางไว้

เอ๊ะ..รึมันจะบังคับให้เราทวนความหล้ง

ก็ดีนะ..จะได้เขียนเรื่องรักหลังวัยเกษียณนั้นเป็นฉันใด

“เพื่อนเก่าคนนี้ฮักตั๊วขนาดเน๊อพรเน้อ”

 แคว๊กๆ

 

 

แคว๊กๆ..


ขอปลูกไผ่ในหัวใจเธอได้ไหม

อ่าน: 3755

เพาะเมล็ดไผ่ 

มิตรภาพแห่งไมตรีของญาติออนไลน์เรากำลังงอกงาม และจะค่อยๆงดงามต่อๆไป ถ้าเราเอาวิถีไทยมาใช้ ถ้อยทีถ้อยอาศัยหล่อเลี้ยงน้ำใจกัน เป็นพื้นที่แห่งความสุขความหวัง ที่พอจะช่วยกันก่อเกิดพลังใจระหว่างกัน ไปเยี่ยมยามถามข่าว ส่งเรื่องราวและของฝากแบ่งปันกัน สังคมแห่งความเอื้ออาทรกำลังจะผลิบานน้อยๆแต่มั่นคง อาจจะแซวกันบ้างเพื่อความสนิทสนม ที่นี่ไม่มีเขามีแต่เรา ทุกคนเป็นตัวคูณของกันและกัน บางจังหวะได้อ่านการโต้ตอบ..แบบกอร่อกอติกก็ถือว่าเป็นอายิโน๊ะโม๊ะโต๊ะเสริมบรรยากาศ ที่เป็นเสน่ห์ของการเขียนแบบฉบับของหมู่เฮา เราไม่ได้เขียนเชิงวิชาการไม่ได้เขียนวิทยานิพนธ์ แต่เรากำลังเขียนแบบปะปนความซาบซึ้งให้กัน จึงขอขอบคุณกองเชียร์ที่คอยอ่านคอยให้กำลังใจ

เรามาให้กำลังใจกันเถิด

อ่านแล้วก็มีแก่ใจคอมเมนท์บ้าง

นึกถึงหัวอกคนอื่นบ้างก็ดีนะ

น้ำใจก็มีคนทุกคน..ควรนำไปรดไมตรีให้งอกเงย..

ถ้าเราเริ่มกระชับพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เข้าหากัน ใครติดขัดสงสัยประเด็นไหนก็ส่งโจทย์ขึ้นมา ข้าผู้น้อยพอรู้บ้างแค่หางอึ่งก็จะปะติดปะต่อให้ฟัง ทำไมละครับ  ไม่เป็นกูรูก็เว้าวอนสู่กันฟังได้ ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มก็ถ่างขยายให้กว้างขึ้น ละเอียดขึ้น ไม่อย่างนั้นเราจะ..เข้ามาใช้FB.ให้เสียเวลาทำไมละครับ

ผมสังเกตุว่า..ในFB.เราจับกลุ่มกันมากมาย ใครใคร่เข้าไปเป็นเพื่อนกลุ่มไหนก็สมัครใจเข้าไปตามอัธยาศัย ดูเหมือนมันจะมีเค้าโครงหลวมๆอยู่พอประมาณ กลุ่มสวนป่าก็กระดี๊กระด๊าหาบริบทของตนเอง ค่อยๆเรียนรู้ค่อยๆเติบใหญ่ จนเมื่อชัดเจนกระจ่างใจแล้ว ก็จะเกิดเป็นวัฒธรรมของกลุ่ม พัฒนาเป็นขององค์กรในลำดับต่อไป

ผมเชื่อว่ากลุ่มเรา..คงจะไม่ช้าเป็นเต่าเตาะแตะอยู่อย่างนี้หรอก

อีกหน่อยความสามารถในตัวท่านทั้งหลาย

ก็จะช่วยกันติดเทอร์โบให้เต่าตัวนี้

วิธีที่ดีและง่ายที่สุดก็คือสร้างนิสัยคอมเมนท์ให้กันและกัน
สิ่งนี้เป็นตัวชี้วัดว่า..ท่านสนใจจะเป็นผู้เรียนแล้วหรือยัง

ไม่ต้องคอมเมนท์แบบเอาเป็นเอาตายอะไรหรอกนะครับ

มาอิๆเอ๊ะๆกันบ้างก็นับว่าได้หล่อเลี้ยงน้ำใจให้กันแล้ว..

ช่วยกันสร้างวัฒนธรรมการคอมเมนท์กันหน่อยได้ไหมคนสวย

ไผ่หม่าจู

เพื่อขยายความที่เยิ่นเย้อข้างบน  วันนี้จะเขียนข่าวเล่าแจ้ง“เรื่องไผ่” ด้วยมีคนสวยสนใจอากจะให้เขียนเรื่องนี้ เมื่อคนดีต้องการ เราก็บริการให้กันสิครับ การที่มีผู้ข้อร้อง ผู้ตั้งโจทย์ให้ เป็นจุดเริ่มที่สำคัญ ดีกว่าการเขียนเปะปะตามอำเภอใจ แสดงว่า..รูปรอยของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เริ่มเข้าสู่บทที่1แล้ว..จึงขอนำเสนอเรื่องตามที่มีการร้องขอ ณ บัดนี้..

วันนี้จะเล่าเรื่องไผ่ฉบับย่อตามบริบทที่สวนป่าได้ถูลู่ถูกังมา

..กล่าวนามตามท้องเรื่อง..นับตั้งแต่บรรพบุรุษได้มาหักร้างถางพงจับจองพื้นที่ตรงนี้ หลังจากเคลียพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่กสิกรรมแล้ว สิ่งแรกที่ลงมือก็ทำลงมือปลูกก็คือปัจจัยที่จำเป็นเบื้องต้น ..สร้างกระต๊อบขึ้นมาพำนัก สร้างคอกควาย ตัวพลังงานหลักในขณะนั้น ปลูกพืชอาหารที่จำเป็น เช่น มะกรูด มะนาว ตะไคร้ ข่า พริก มะเขือ แมงลัก กระเพรา กล้วย อ้อย หลังจากนั้น มะพร่้าว มะม่วง ขนุน น้อยหน่าก็ตามมา พร้อมกับหน่อไผ่มาลงไว้ที่มุมสวน เป็นไผ่พันธุ์มีหนามลำใหญ่ที่ครัวเรือนไทยอีสานปลูกกันทั่วไป เพื่ออาศัยคุณสมบัติของไม้ชนิดนี้ได้สารพัดประโยชน์ จักสานก็ได้ ใช้ทั้งลำมาเป็นเค้าโครงกระต๊อบก็ดี หน่อยังแกงป่าเด็ดสะระตี่นัก

ควรนึกด้วยว่าในป่าสมัยนั้นไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆเลย

เกษตรกรต้องคิดพึ่งพาตัวเอง100%

ไม่มีเพื่อนบ้าน อยู่เดี่ยวโดดกลางป่า

เกิดอะไรขึ้นมา  ต้องการอะไร

มีวิธีเดียว ให้ถามตัวเอง

แสดงว่าในอดีตเราทำเรื่องความพอเพียงอย่างถึงพริกถึงขิงมาแล้วละครับ

 

ไผ่กิมซุง

ไผ่เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆที่ควรลงไว้ ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้น นักส่งเสริมการเกษตร พ่อค้าพันธุ์ไม้ ผู้สนใจเรื่องพันธุ์ไม้ ได้นำไผ่สายพันธุ์ดีเข้ามาขยายในประเทศเรา เมื่อ50ปีที่แล้ว ชาวบ้านฮือฮากันมากกับไผ่ตงจากเมืองจีน จะไม่ตาโตยังไงละเธอ แต่ละหน่อโตเท่าโคนขา ออกหน่อครึดรอบกอไปหมด เอามาต้มใส่กระดูกสุกรก็หวานฉ่ำ เอาไปผัดเอาไปใส่ห่อหมกอร่อยเหาะ เรียกว่าเอามาทำอาหารจะโดนใจกว่าหน่อไผ่รวกหน่อเล็กๆของเราว่างั้นเถอะ

ยังไม่จบแค่นี้หรอกเธอ

ไผ่พันธุ์ดีๆแปลกๆจากทั่วโลกทยอยเข้ามาสู่แผ่นดินไทยไม่น้อยหน้าพันธุ์ไม้อื่นๆ

ผมในฐานะเกษตรกรที่ปลูกสร้างสวนป่า รับรางวัลจากในหลวงด้วยนะเธอ ผมจึงสนใจพันธุ์ไม้แปลกๆทุกชนิด สนใจซื้อหามาทดลองปลูกหลายหลาก ปลูกแล้วก็รอชื่นชม สมัยเมื่อ30กว่าปีที่ผมมาปักหลักปลูกป่า ผมก็ได้พันธุ์ไผ่บงจากศูนย์เพาะชำกล้าไม้มาปลูกเป็นแนวรั้ว ปัจจุบันเป็นทิวไผ่ให้ใช้ประโยชน์ได้ไม่อั้น ถัดมา20ปี ไผ่บงหวานมีผู้นำมาจากจังหวัดเลยมาเสนอขายหน่อละ30บาท ผมสั่งมาปลูก30หน่อ ไผ่บงหวานก็ขึ้นรอบๆบ้าน ให้อาศัยร่มเงาอาศัยลำต้นและอาศัยหน่อ จุดพิเศษของไผ่บงหวานก็คือ หักเปาะออกมาปอกเปลือกออกเคี้ยวกินสดๆได้เลย ไม่มีรสขื่นแม้แต่นิดเดียว  นับว่าอัศจรรย์ไม่เบาในสมัยนั้น จะเอาไปต้ม/ไปผัด/ไปยำ/กรอบอร่อยไปหมด

ไผ่หม่าจู

ถัดมาอีก10ปี มีไผ่แปลกๆใหม่ๆที่หน่วยราชการส่งเสริม เช่น ไผ่หม่าจู หม่าจูเป็นไผ่ที่มีหน่ออร่อยมาก ที่เราเห็นตุ๋นไผ่ในร้านข้าวต้มในภัตตาคารล้วนเป็นหน่อไผ่ชนิดนี้ โครงการหลวงขายหน่อสดก.ก.ละ60บาท ขายลำต้นราคาลำเล็ก-ใหญ่ตามขนาด ราคาตั้งแต่100-400บาท/ลำ ส่วนหน่อกิ่งตอนราคาอยู่ที่ 150-200 บาท เป็นไผ่ที่มีลำเปลาตรง ไม่มีกิ่งก้านเกะกะเหมือนไผ่อื่น มีความแข็งแรงทนทาน นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดี

 

ไผ่บงหวานเมืองเลย

3 ปีต่อมามีไผ่เข้ามาเขย่าวงการอีกชนิดหนึ่ง เป็นไผ่ที่ปลูกกินหน่อ ถ้าใส่ปุ๋ยรดน้ำจะออกหน่อรอบโคนทั้งปี ไผ่ชนิดนี้โดนใจคนอีสานเข้าเต็มๆ พวกชอบกินซุปไผ่ชอบใจมาก บางคนถึงกับเอามาตั้งชื่อใหม่ว่า  “ไผ่แม่ลูกดก” ชื่อเป็นทางการคือ “ไผ่กิมซุง” คุณคอนฯซื้อมาฝาก5หน่อ ปลูกรอด4หน่อ ตอนออกมาใหม่ๆราคากิ่งพันธุ์ละ 250-500 บาท ตอนนี้เป็นแตกกอใหญ่ยืนต้นถาวรแล้ว

ปีที่แล้วทดลองขยายพันธุ์ตามสไตล์ของผม

ให้ลูกน้องไปตัดลำต้นกลางแก่กลางอ่อนมาเป็นท่อนๆยาว 2 เมตร

เอาสว่านเจาะหลุม ใส่ปุ๋ย แล้วหย่อยท่อนพันธุ์ลงปลูก

เดินท่อน้ำหยดช่วยรดใน 2 เดือนแรก หรือยามฝนทิ้งช่วงบ้าง

ผ่านไป1ปี ไผ่20หลุมเหลือรอดมาเติบใหญ่18 หลุม

วิธีนี้ง่ายจริงๆ..แต่เหมาะกับการขยายพันธุ์ในพื้นที่ (ตัดปุ๊บปลูกปั๊บ)

ต่อๆมาผมก็ยังปลูกไผ่พันธุ์ใหม่ๆ ไผ่เหลือง ไผ่ซางนวล ไผ่บงเขียวปราจีน ไผ่บงพันธุ์ศรีสะเกษ ผมยังรักษาพันธุ์ไผ่ป่าไว้ด้วยนะ.. เธอเอ๋ยมันมีหนามยุบยับไปทั้งกอ หนามแหลมคมซะด้วย สมัยก่อนเขาปลูกล้อมบ้าน ปลูกเป็นรั้วล้อมคอกวัวควาย โจรขะโมยเห็นหนามไผ่มิดชิดถึงกับหมดปัญญาบุกมาย่องเบา

ใครจะบ้าไปถางหนามไผ่หนาหลายเมตรบุกเข้ามาละครับ

ปีที่แล้วขาใหญ่ชวนไปเมืองจีน ไปดูเรื่องการปลูกไผ่ เพราะมีโครงการจะปลูกไผ่ขนานใหญ่ในประเทศไทยและประเทศลาว ก่อนปลูกก็พากันไปหาความรู้ ผมพาขาใหญ่ไปหาครูอึ่งที่ลำพูน ไปคุยกับนักอุตสาหกรรมไผ่มือหนึ่งของเอเซีย ที่ค้นคิดเทคนิคการแปรรูปไผ่ได้ดี ผลิตไม้ไผ่แผ่นแปรรูปส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก ในระยะใกล้เคียงกัน กรมป่าไม้จัดประชุมวิชาการประจำปี กรมฯเชิญไปบรรยายเรื่องการปลูกสวนป่า ได้โอกาสสอบถามนักวิชาการในกรมป่าไม้เรื่องไผ่เพิ่มเติม เขาแนะนำให้ไปดูงานที่ประเทศจีนชื่อ”แบมบูซิตี้” ซึ่งเป็นเมืองที่รวบรวมเรื่องไผ่ไว้ครบวงจรแห่งหนึ่งของโลก

ผมสงสัยมานานแล้ว..เวลาดูหนังกำลังภายใน

ผู้กำกับออกแบบคิวบู๊ให้พระเอกโผร่างละลิ่วฟันฉั๊วะฉะที่ยอดไผ่

นึกชมในใจว่าเกษตรกรจีนนี่นายแน่มาก

มีฝีมือในการปลูกไผ่ไม่ให้แน่นกอแผ่ขยายเป็นลำๆเหมือนต้นไม้ทั่วไป

พอไปเห็นกับตา อีโธ่อีถังเอ๋ย..มันเป็นไผ่พันธุ์ที่ขึ้นเป็นต้นๆไม่ได้ขึ้นเป็นกอ

ผมก็เพิ่งเคยรู้เคยเห็น โง่เป็นบ้าเลยละครับ

ที่เมืองจีนมันขึ้นเองตามภูเขา..จีนตัดเอามาทำนั่งร้าน ฯลฯ

กลับจากจีนก็กว้านซื้อพันธุ์ไผ่ซางนวลที่เมืองลับแล ได้พันธุ์ไผ่ไปหลายหมื่นกิ่ง ส่งไปปลูกที่เลยและข้ามไปปลูกที่ลาว บังเอิญช่วงที่ส่งพันธุ์ไผ่ข้ามโขง ตรงกับช่วงที่น้ำท่วมใหญ่บางกอก ที่ลาวเองก็ท่วมท้นเช่นกัน กระแสน้ำในลำโขงเชี่ยวกราก พัดเอาเรือขนกิ่งไผ่จมไปลำหนึ่ง พันธุ์ไผ่ถูกส่งไปปลูกในเมืองบาดาลเสียแล้ว เจ๊งไปหลายหมื่นกับลำที่จม ภายในเดือนหน้ากำลังหาเวลาว่างไปติดตามดูไผ่เสียหน่อย แทนที่จะนั่งฟังเพลงลูกทุ่งของไผ่ พงศธร เฉยๆ

ปีนี้ไผ่บงหวานเมืองเลยกอหน้าบ้านตายขุยก่อนตายไผ่ก็จะออกเมล็ดมาสืบทอดสายพันธุ์ เมล็ดไผ่เล็กๆคล้ายกับเมล็ดหญ้า สมัยก่อนตอนเจอภัยแล้งรุนแรงผู้คนอดอยาก ชาวบ้านป่าก็จะไปรวมรวมเมล็ดไผ่มาตำจะได้เหมือนเมล็ดข้าวเล็กๆ..เอามาหุงต้มผสมกับมันป่า แต่สมัยนี้ไม่ต้องแล้ว..ยามไผ่ออกเมล็ด..นกตัวเล็กๆจะยกโขยงมาปาร์ตี้เมล็ดไผ่จ๊อกแจ๊กทั้งวัน

เมล็ดไผ่หล่นเกลื่อนพื้น

ผมเอาน้ำรดไว้ ไม่นานนักหน่อไผ่เล็กๆก็งอก

เราก็ไปถอนมาชำในถาดเพาะชำ

อายุได้ 3 เดือนก็นำไปปลูกได้

ข้อดีก็คือจะได้นับอายุเลข1ของไผ่ชนิดนี้

 

: หมายเหตุ 

  • 1. ถ้าศึกษาจะรู้ว่าไผ่แต่ละชนิดอายุไม่เท่ากัน50-100ปี ถึงเวลาก็ตายพร้อมกัน
  • 2. ถ้าสนใจเรื่องไผ่เวลามาที่สวนป่า ก็อี๋อ๋อชวนเสวนาหาความรู้เพิ่มเติมได้
  • 3. ถ้าสนใจจะเพาะเมล็ดไผ่ มาช่วงนี้แหละได้เรียนปฏิบัติแน่ๆ
  • 4. ถ้าอยากจะชิมไผ่ ต้มไผ่ ผัดไผ่ แกงไผ่ ทำซุปหน่อไม้ ก็มาช่วงนี้แหละ
  • 5. ถ้าอยากรู้ว่าไม่แก่ดัดยากไม้อ่อนดัดง่าย ก็ลองมาดัดดู
  • 6. ถ้าจะนอนนวดเตียงไม้ไผ่นั่งในกระต๊อบไม้ไผ่ได้เลย หมอนวดให้นวดกันเอง
  • 7. ถ้าจะตามดู เรื่องดินขุยไผ่ หนอนรถด่วน เรียนการขยายพันธุ์มาได้เลย
  • 8. ถ้าจะอ่านอย่างเดียวไม่คอมเมนท์ นี่น่าโดนไม้เรียวไม้ไผ่

          แคว๊กๆ



Main: 1.6049168109894 sec
Sidebar: 0.30826210975647 sec