แผนงานปลูกต้นไม้ในหัวใจคนห้วยต้ม
โจทย์
ชาวบ้านจะสร้างถิ่นฐานตามสไตล์แห่งตนให้ดีขึ้นและยั่งยืนอย่างไร
มีงานอะไรบ้างที่ควรทำเพื่อลดรายจ่าย
มีงานอะไรบ้างที่ทำเพื่อพึ่งตนเอง
มีงานอะไรบ้างที่ทำเพื่อนาคต
มีงานอะไรบ้างที่ทำเพิ่อชดเชยสิ่งที่ยังขาดแคลน
แผนแม่บทชุมชนชาวปาะญอมีไหม จำเป็นไหม
^^ กำหนดการปลูกป่าปลูกใจปากะญอ
วันที่ 16 ทีมหมูไม่กลัวน้ำร้อนออกเดินทางไปก่อน มีรอกอด ครูบา
วันที่ 17 ประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้องวางผังปลูกต้นไม้ และเตรียมการในส่วนจำเป็น
วันที่ 18 กล้าไม้ไปถึงสำนักงานโครงการหลวง ลงดูจุดปลูก เตรียมนัดหมายฯ
วันที่ 19 ผม รอกอด เดินทางเข้าเชียงใหม่ พบปะนักศึกษา มช. บ่ายๆกลับ
วันที่ 19 ชาวคณะแซ่เฮ ที่จะปลูกต้นไม้นัดชุมนุมกันที่เมืองลำพูน
วันที่ 20 ลงมือปลูกต้นไม้ เสร็จแล้วเที่ยวชมวัด กลับมานอนลำพูน
วันที่ 21 เดินทางกลับ >> ท่านใดจะร่วมรายการนี้ลงชื่อในเจ๊าะแจ๊ะด้วยนะครับ
ุุุ^^^^^น้าอึ่งรวบรวมรายชื่อให้ด้วยเน้อ
ระยะที่ 1
แนวทางการปลูกต้นเอกมหาชัย
1. ปลูกต้นไม้ตามที่ผู้นำชุมชนออกแบบ
2. ปลูกในพื้นที่ของวัด/นอกกำแพงวัด เพื่อเป็นตัวอย่าง ในกรณีที่ชาวบ้านยังไม่เข้าใจ/ไม่ปลงใจ
3. ปลูกในบริเวณที่ว่างในวัด
4. ปลูกเป็นที่ระลึกในสำนักงานโครงการหลวง
วิธีปลูก
1. ขุดหลุมด้วยรถแมคโคร ใส่ปุ๋ยรองพื้น ปักหลักกันโยก
2. ขอบหลุม 4 ด้าน ปลูกผักล้มลุก เช่น พริก มะเขือ ฟักทอง หรือผักที่ชาวปากะญอชอบ
3. นอกจากปลูกเป็นแนวขอบรั้วแล้ว
4. ปลูกในแปลงพืชไร่ ระหว่างแถว 15 เมตร ระหว่างต้น 6 เมตร ตามทิศตะวันขึ้น/ตะวันตก
5. ในกรณีการดูดซึมน้ำได้ช้า อาจจะต้องพูนดินกลางหลุมหลังปลูก
6. ขุดหลุมด้วยจอบตราจระเข้ หรือใช้เสียมขุด ตามวิธีของชาวบ้าน เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ เป็นการทำวิจัยชุมชนไปในตัว ในกรณีการทดลองเปรียบเทียบระหว่างชุดความรู้เดิมชุมชน กับชุดความรู้จากภายนอก เพื่อการเลือกและพัฒนาความรู้ใหม่/เก่า
ชนิดไม้ที่ปลูก
นอกจากเอกมหาชัยแล้ว ไม้ผักยืนต้นมาทดลองปลูกด้วย บางชนิดถึงชาวบ้านจะยังไม่นิยม แต่ปลูกเพื่อการจำหน่ายในอนาคตได้ รวมทั้งไผ่ชนิดต่างๆตามที่รอกอดตั้งข้อสังเกตุ
หมายเหตุ
ระยะปีแรก ควรมีผู้ดูแลรับผิดชอบสัญจร 1 คน ถ่ายภาพ/รายงานเดือน
ละ1ครั้ง ควรใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง
ระยะที่ 2
หลังจากปีแรกผ่านไป ควรมีการเสวนาเรื่องทัศนคติทั่วๆไป รับฟังความคิดเห็น
ของชาวบ้าน ถ้าพอใจ สนใจเดินหน้าต่อ เราจะชวนคิดเรื่องปลูกต้นไม้เพื่อ
ชีวิตและเพื่อแผ่นดินที่อยู่อาศัย ช่วยกันทำหน้าตาที่ดินให้ร่มรื่นได้ประโยชน์
ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยอาจจะทำแปลงปลูกไม้ยืนต้นตัวอย่าง 1-2
แปลง ที่มีลักษณะกลุ่มไม้หลากหลายดังนี้
1 กลุ่มไม้ติดแผ่นดิน ปลูกเพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืน คำนึงถึงชนิด
ไม้ในพื้นถิ่นเป็นหลัก เสริมไม้ยืนต้นเพื่อการทดลองผสมลงไปด้วย เช่น
กลุ่ม ไม้อาคาเซีย ไม้ไผ่ ไม้ยางนา
2 กลุ่มไม้ที่เป็นแนวรั้ว “รั้วผักกินได้” ถามชาวบ้านนิยมอะไร เช่น รั้วชะอม รั้ว
กระถิน รั้วขี้เหล็ก รั้วตะไคร้ ฯลฯ
3 กลุ่มไม้ผล เท่าที่ดูแว๊บๆมีขนุน มะม่วง ถามชาวบ้านหรือเจ้าหน้าที่โครงการ
หลวง มีไม้ผลชนิดไหนบ้างที่ควรปลูกเสริม
4 กลุ่มไม้สมุนไพร มีทั้งไม้ยืนต้น และไม้ล้มลุก
5 กลุ่มไม้ผักยืนต้น ลองปลูกมะรุม เพกา สะเดา ฯลฯ
6 กลุ่มไม้ล้อม ไม้ประดับ เลือกไปบ้าง หาข้อมูลเพิ่มเติม
7 กลุ่มไม้เพื่อการใช้สอย เป็นเชื้อเพลิงชุมชน เช่น ขี้เหล็ก ไผ่ ถ้าใช้ไม้มาก
อาจจะเสริมยูคาลิปตัสเข้าไป
8 กลุ่มไม้เพื่อการวิจัย หรือไม้ชนิดพิเศษ ที่อยากจะทดลองในพื้นที่แห่งนี้
ข้อฉุกคิด
>> การปลูกต้นเอกมหาชัย เปรียบเสมือนไก่ต่อ ถ้าไก่ต่อดี ก็จะได้กินต้มไก่ป่าอีกเรื่อยๆ ถ้าไม่ดี ก็เอวังด้วย ประการละฉะนี้ งานนี้ผลลัพธ์ทั้งปวงอยู่ที่ชุมชน จะคิด จะเลือก จะทำ เราคงไม่ไปแบกโลกไว้คนเดียว
“รักดีหามจั่ว รักไม่ดีก็ดูเขาหามจั่ว”
บ่เป็นหยังดอก อิอิ
>> ขอบคุณท่านบางทราย ที่ลงแผนที่ดาวเทียมของวัดพระบาทห้วยต้ม
>> แต่นี้ต่อไป เรื่องปลูกต้นไม้ขออนุญาตเปิดอ้าซ่ารับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ จากทุกท่าน
เจดีย์ชาวเรา เจดีย์ชาวปากะญอ
เครื่องบูชาชาวเรา ชาวปากะญอทอผ้าไตรเป็นเครื่องบูชาหลวงปู่
วิธีสร้างเจดีย์ตามแบบฉบับชาวปากะญอ
ใช้ฟืนหุงต้ม ไม้เหล่านี้ปลูกเองหรือเปล่า ถ้าไม่ปลูกต่อไปจะเอาไม้ที่ไหนมาใช้สอย
ถ้าสภาพแวดล้อมติดลบ น้ำลดลงๆๆ จะปลูกต้นไม้ หรือจะย้ายบ้านไปหาน้ำ
ผักสวนครัว รั้วกินได้สไตล์ปากะญอ ถามว่าพอใจแค่นี้ใช่ไหม
ขนุนลูกโต -กะบะสี่เหลี่ยมสีดำขวามือเป็นแปลเพาะกล้าผัก -กล้วยไม่ไผ่ที่ปลูกในหลุมศิลาแลง
พื้นที่ปลูกต้นไม้มีเยอะแยะถ้าคิดที่จะปลูก
สำนักงานโครงการหลวงร่มรื่น พื้นที่หมู่บ้านร่มเย็น ต้นไม้ยังเล็ก เข้าใจว่าเพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่
^^
0 0
7 ความคิดเห็น
^^ ขอบคุณมากครับ
>> น้าอึ่งอ๊อบอ่านแล้ว บึ่งรถไปขอข้อมลล่วงหน้าไว้เลยก็ดีนะครับ
มีอะไรจะรบกวนอีกนะครับ
ป้าแดงเจอกันบ่อย แต่ตอนนั้นงานนี้ยังไม่เข้า ช่วงนี้อาศัยหัวหน้าโครงการหลวงในพื้นที่ไปพลางๆก่อน
แอบทดไว้ในใจแต่แรกว่า แว่ปไปได้ 19 - 21
อยู่ดี ๆ ค่ายธนะรัตน์ จ.ประจวบ เพิ่งจะมาคอนเฟิร์มเรื่องการนำ นศ.ไปเข้าค่าย 5 วันรวด
แห้ว แต้ ๆ ก่ะเจ้า :(
กำลังให้น้องที่ทำงานอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดลำพูน ลองหาข้อมูลที่พี่บางทรายบอกอีกทางหนึ่งด้วยค่ะ
เจ้าตัวอยู่กรุงเทพจะกลับมาลำพูนวันจันทร์และจะลองหาให้ค่ะ
.ใครชวดมางานนี้ คงต้องบอกว่าน่าเสียดาย
เรื่องข้อมูลจำเป็นต่อการวางแผนงานระยะสั้น/ระยะยาว
ขอบคุณครับ
จะพยายามลุ้นให้ไม่มีการอบรม 19-21 หากครูต่างชาติสมัครไม่ถึง 25 คนเขาจะไม่จัดครับ
โอม .. เพี้ยง ! อีกครั้ง
ทุกข์ของวิทยากร
มีทั้งต้องการให้คนสมัครอบรม และไม่สมัครอบรม อิอิ