เบิ่งตลาดเพื่อนบ้าน
เช้าวันที่ 4 น้องนัดว่าจะมารับไปรับประทานอาหารเช้าประมาณ 8.00 น. แต่ สว. ตื่นเช้าอาบน้ำแต่งตัวเก็บของเสร็จตั้งแต่ยังไม่ทัน 7 โมง มีเวลาอีกกว่าหนึ่งชั่วโมง เลยชักชวนกันลงไปเดินชมบริเวณใกล้ ๆ โรงแรมที่พัก เมื่อลงมา มองซ้ายมองขวาเห็นด้านตรงข้ามเป็นตลาดสด เลยตัดสินใจเป็น พระยาน้อยชมตลาดเช้า (เห็นป้ายที่จั่วอาคาร เขียนว่า อาคารสมเกียรติ) พอเดินเข้าไปบริเวณตลาดด้านหน้าก็เหมือน ๆ กับตลาดสดทั่ว ๆ ไป มีขายทั้งอาหารสด อาหารแห้ง ผักสด ผลไม้ เนื้อสัตว์และอื่น ๆ แต่พอเดินไปด้านในของตลาดก็ได้พบกับ แม่ค้าพ่อค้าขาย ผักผลไม้ และ ของที่ไม่ค่อยพบเห็นในตลาดสดทั่ว ๆ ไป เลยเดินดูสอบถามและถ่ายรูปมาหลายรูป แถมได้แลกเงินอีกด้วย ได้ไม้ดอกติดมือกลับมาด้วยสองชนิด ไม้ดอกไม้ประดับที่นำมาขายที่นี่ หลายอย่างผมเข้าใจว่าเป็นไม้ป่าที่ชาวบ้านไปเก็บมาจากธรรมชาติมาขาย บางอย่างน่าจะเป็นไม้สงวน ไม้ใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้นการซื้อไม้เหล่านี้ไปปลูกเลี้ยงจะเหมาะสมหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนครับว่า เป็นการช่วยกันอนุรักษ์หรือช่วยกันทำลายพรรณไม้เหล่านั้น
นอกจากพืชพรรณไม้ต่าง ๆ แล้ว ที่ท่าน Lin Hui สะดุดตาและสอบถามรายละเอียด รวมทั้งถ่ายรูปมาด้วย แถมแลกเงินนำมาชิมเป็นอาหาร(ก่อน)อาหารเช้าอีกด้วย ก็คือ ข้าวหลากสี ที่ผู้ขายบอกว่าเป็น อาหารญวน เรียกว่า ข้าวโซ้ย (ไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) รายละเอียดสงสัยต้องรอท่าน Lin Hui หรือ ท่านน้องบางทราย มาช่วยอธิบายเพิ่มเติมครับ ผมนำรูปมาให้ชมก่อน
สำหรับแม่ค้าขายผลไม้ท่านหนึ่งใจดีมาก ยินดีที่จะให้ถ่ายรูปผลไม้ที่เขาเอามาขายได้ โดยที่เราไม่ได้ซื้อ แถมผ่าและแกะผลไม้เพื่อให้ท่าน Lin Hui ถ่ายรูปด้านเนื้อในของผลไม้ทั้งสองชนิดอีกด้วย ผลไม้ทั้งสองชนิดชื่ออะไร (รูปล่าง) มีรสชาด ประโยชน์หรือสรรพคุณอย่างไร ? ท่านใดทราบช่วยมาเพิ่มเติมด้วยครับ
เมื่อพบกับน้องที่อยู่สกลนครมานาน สอบถาม ได้ความว่า ด้านหลังของตลาดสมเกียรติ ที่อยู่ตรงข้ามกับโรงแรมนั้น เป็นตลาดอีกตลาดหนึ่ง ที่คนที่นั่นเรียกว่า ตลาดลาว จึงเป็นที่มาของชื่อบันทึกนี้ครับ เราได้ไปตลาดประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) แถมได้อาหารประเทศเพื่อนบ้าน (ญวน) มาชิมด้วย….อิอิ
« « Prev : พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต
Next : อาหารที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร » »
5 ความคิดเห็น
อิอิ ของอร่อยท้างน๊านนนนนน
พี่ใหญ่ครับ ตลาดแห่งนี้ผมเคยมาเดินหลายครั้ง แต่ไม่เคยเห็นผลไม้ชนิดนี้เลยครับ แปลกดีครับ ตอนที่ผมไปเดินคงไม่ใช้ช่วงผลไม้นี้น่ะครับ วันหลังจะไปเดินใหม่ครับ
ใบ้ให้อีกสักนิดก็ได้ ถุงละสิบบาทที่สวนป่าครูบาก็มีค่ะ ส่วนที่เป็นพวงสีแดงๆ ดูเหมือนทางใต้ก็มี ดร.เม้งรู้จัแน่นอนค่ะ อิอิอิ
ส่วนข้าวโซ้ยนั้น ตามตำนาน เล่าขานกันว่า ชาวญวนอพยบมาทางเรือ รอนแรมมานาน อาหารก็หร่อยหรอ หมดลงทุกที คงเหลือแต่ข้าว นานา ชนิดที่นำติดตัวมา เพื่อหวังว่าขึ้นฝั่งได้เมื่อไหร่ ก็จะลงมือปลูกข้าวไว้กินไว้ใช้ต่อไปในอนาคต เมื่อ ไม่มีอาหารจะกิน ก็จำเป็นต้องใช้ข้าว นานาชนิดที่มีอยู่ ออกมาหุง กินแทนอาหารเพื่อประทังชีวิต แล้วโรยมะพร้าขูดที่ผสมเกลือ น้ำตาล และงา นอกจากนั้นก็มีถั่วเหลืองบดนึ่งโรยอีกที เป็นอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาสูง เป็นการดัดแปลงสูตรอาหารที่แสนฉลาดค่ะ ต่อมาเมื่อขึ้นฝั่ง ลงหลักปักฐานได้แล้ว ก็หวนคิดถึงอาหารสูตรนี้จึงทำกิน จนเป็นที่ติดอกติดใจ เลยทำขายคนไทยเสียเลย อิอิอิ
สงสัยว่าน้องบางทรายคงไปในช่วงที่ผลไม้นี้ไม่ออกผลนะครับ ลองไปช่วงนี้น่าจะได้เห็นนะครับ
ขอบคุณท่าน Lin Hui ที่มาเสริมความรู้เรื่อง ข้าวโซ้ย แถมบอกใบ้ เรื่องผลไม้อีกด้วย….อิอิ
…ข้าวโซ้ย… อืม ตอนอยู่สกลฯ ไม่มีโอกาสได้ลองชิม แต่ข้าวต้มญวน ที่เคยกินเด็ก ๆ จะใส่หมูสามชั้นและถั่วสีเหลืองแบบที่ทำ ขนมเต้าส่วน
…ลูกสีแดงเป็นพวง คือ “หมากพิผ่วน” จำรสชาติไม่ได้แล้วค่ะ ที่ตลาดเย็น เมืองร้อยเอ็ดก็เคยเห็นชาวบ้านเอามาขาย
…ลูกสีดำในถุง “หมากเก็น หรือ หมากเบ็ญ” เรียกตามแต่ละท้องถิ่นนะคะ รสชาติเมื่อสุกหวาน มีฝาดนิด ๆ
….ลูกไม้ป่าทั้ง 2 ชนิด ถ้าแต่ละภาคมีอาจเรียกไม่เหมือนกันค่ะ
ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ ค่ะ สนใจ ข้าวโซ้ยย ^_^