ไปไหว้พระธาตุเชิงชุม

อ่าน: 5351

        

       พระธาตุเชิงชุม เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานรูปสี่เหลี่ยม สูงประมาณ 24 เมตร ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม มียอดฉัตรทองคำเหนือองค์พระธาตุเชิงชุม ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนัก 247 บาท มีซุ้มประตู 4 ด้าน ข้างในทึบสร้างครอบรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ซึ่งหมายถึง กุกสันโธ โกนาคมโน กัสสะโป และโคตมะ   (คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ชาวพุทธศาสนิกชนเคารพสักการะบูชาอยู่ทุกวันนี้) สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัด แต่นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสกลนครมาแต่โบราณ ภายในวิหารใกล้พระธาตุเชิงชุม เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์แสนอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดสกลนคร ทุกวันพระในตอนค่ำจะมีประชาชนไปบูชากราบไหว้พระธาตุ และหลวงพ่อองค์แสนเป็นจำนวนมาก งานประจำปีของพระธาตุเชิงชุมจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ของทุกปี (กำหนดตามจันทรคติ) พระธาตุเชิงชุม อยู่ภายในวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ซึ่งมีพื้นที่ 18 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา  ตั้งอยู่ริมหนองหารในเขตเทศบาลสกลนคร อยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง มีอาณาเขต ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับหนองหารหลวงและบ้านเรือนชาวคุ้ม ทิศตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับ ถนนเจริญเมือง

ประวัติความเป็นมา
    กล่าวว่า วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดชาวเมืองหนองหาร  และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัสสะโป และโคตมะ ซึ่งก่อนจะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุกพระองค์  พระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรีอาริยเมตตรัย องค์ที่ 5 ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน เชื่อกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุม เป็นวัดแรกที่พระยาสุวรรณภิงคาระ พระนางนารายณ์เจงเวง และเจ้าคำแดง อนุชาพระยาสิวรรณภิงคาร มาสร้างขึ้น  อย่างไรก็ตามจากหลักฐานเสมา หินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม และหลักฐานแท่นบูชารูปเคารพ ตลอดจนศิลาจารึกตัว อักษรขอมในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ซึ่งอยู่ ติดผนังทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชั้นใน) ซึ่งก่อเป็นพระธานุหรือ สถูปขนาดเล็ก หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุมได้มีชุมชนเกิดขึ้นต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะศิลาจารึกที่กรอบประตู ทางเข้าปรางค์ขอมหรือสถูป ซึ่งมีความกว้าง 49 ซ.ม. ยาว 52 ซ.ม. เขียนเป็นตัวอักษรขอมโบราณ เนื้อความกล่าวถึงบุคคลจำนวนหนึ่ง ได้พากันไปชี้แจงแก่หัวหน้าหมู่บ้าน พระนุรพิเนา แสดงว่าที่ดินที่ราษฎรหมู่บ้านพะนุรนิเนามอบให้นี้มี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินในหลักเขต ให้ขึ้นกับหัวหน้าหมู่บ้านพระนุรพิเนา นอกจากเรื่องการมอบที่ดินแล้ว ข้อความตอนท้ายของจารึก ได้กล่าวถึง โขลญพลที่ได้อุทิศตน สิ่งของที่นาแด่เทวสถาน  กล่าวโดยสรุป  บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุมคงถูกปกครอง โดยคนกลุ่มขอมที่พากันสร้างวัด โดยอุทิศที่ดิน บริวาร ข้าทาส ให้ดูแลวัด หรือศาสนสถานแห่งนี้ ซึ่งอาจเป็นศาสนสถานตาม คติพราหมณ์หรือพุทธมหายานก็ได้

 
ความสำคัญต่อชุมชน
    หลักฐานการตั้งชุมชนบริเวณวัดพระ ธาตุเชิงชุมในสมัยรัตนโกสินทร์ค่อนข้างเด่น ชัด โดยเฉพาะพงศาวดาร ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ) กล่าวว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดผ้าจุ)าโลกมหาคาช โปรด เกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมไพร่พลตัวเลก มาตั้งเมืองรักษาพระธาตุเชิงชุม เมื่อมีผู้ คนมากขึ้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุ เชิงชุม ขึ้นเป็นเมืองสกลทวาปี เมื่อปี พ .ศ.2329 อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดศึก เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏใน พ.ศ .2370 เมืองสกลนครต้องโทษเป็นกบฎขัดขืนอาญา ศึก เจ้าเมืองฝักใฝ่กับเจ้าอนุวงค์ไม่ได้เตรียม กำลังไพร่พล กระสุนดินดำ เว้ให้ทัพหลวงตาม คำสั่ง พระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปีถูกประหาร ชีวิต ญาติพี่น้องเจ้าเมืองถูกกวาดต้อนไปอยู่ เมืองกบิลประจันตคาม จึงทำให้บริเวณวัดพระธาตุ เชิงชุม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองถูกทิ้งร้าง ชั่วคราวปล่อยให้หมู่บ้านรอบ ๆ 10 หมู่บ้าน เป็นข้าพระธาตุดูแลวัดแห่งนี้ หลังการกบฎของเจ้าอนุวงศ์ ราชวงศ์ (คำ) แห่งเมือง มหาชัยกองแก้วได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นพระประเทศธานี(คำ ) เจ้าเมือง และให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาดำรงตำแหน่ง อุปราช   ให้ท้าวบุตรเมืองกาฬสินธุ์เป็นราชวงศ์ มีการสร้าง กุฏิ ศาลาการเปรียญ ตั้งแต่นั้นมาวัดพระธาตุ เชิงชุมก็เจริญขึ้นตามลำดับ จึงถือว่าวัดพระธาตุเชิงชุม เป็นศูนย์กลางของเมืองสกลนคร มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุเชิงชุม
    วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร เป็นโบราณสถาน มีโบราณวัตถุสำคัญ ๆ นับแต่องค์พระธาตุเชิงชุม หลวงพ่อพระพุทธองค์แสน พระอุโบสถ พระวิหาร หอจำศีล ( สิมหลังเล็ก)   ฯลฯ   เฉพาะตัวสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน มีฐานสี่เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ มีซุ้มประตู 4 ด้าน คือ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ลักษณะประตูเป็นประตู ปิด - เปิดได้ แต่เปิดไม่ได้มากเพราะติดองค์สถูปภายใน ซึ่งเจดีย์องค์ใหม่สร้างครอบไว้ ส่วนด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้าสถูปภายในวิหารทรวดทรงของพระธาตุเชิงชุม เป็นทรงเจดีย์ สี่เหลี่ยมลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอดเป็น ช่วงๆ 3 ช่วงจนถึงเต้าระฆัง และรับด้วยดวงปลีที่ทำเป็นทรงบัวเหลี่ยมปักยอดฉัตรทองคำ ลักษณะการลดชั้นเจดีย์รับด้วยดวงปลีทรงบัวเหลี่ยม ทำให้องค์พระธาตุเชิงชุมมีความสวยงามกระทัดรัดไม่เทอะทะ  นอกจากนี้สถาปนิกยังสร้างซุ้มประตู 3 ด้าน เพื่อให้ประชาชนเห็นองค์พระธาตุ (สถูป) เดิมภายใน ต่อมาได้มีการนำพระพุทธรูปปางห้ามญาติ อิทธิพลจากล้านช้าง มาติดไว้ในซุ้มทั้ง 3 ด้าน นับว่าเป็นส่วนประกอบองค์สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และเป็นประติมากรรมแบบล้านช้างที่แท้จริง  องค์ประกอบสำคัญขององค์พระธาตุเชิงชุมคือ ซุ้มประตูทรงหอแก้ว เป็นลักษณะหอแก้วเฟื่อง คือ มีขนาดพองาม และในพื้นที่ครึ่งหนึ่งของปริมณฑล ทำให้พื้นที่ บริเวณฐานเจดีย์องค์พระธาตุสวยงาม ในส่วนรายละเอียดของซุ้มประตูนั้นเป็นงานสถาปัตยกรรมฝีมือช่างชั้นครู โดยเฉพาะลายของก้นหอยซึ่งทำขนาดใหญ่น้อยเรียงกันไปอย่างวิจิตรบรรจง

« « Prev : พิพิธภัณฑ์สิรินธร Thailand’s Top Destinations Awards 2009

Next : พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 กรกฏาคม 2009 เวลา 9:54

    มีเรื่องขำๆ เกิดขึ้นหลังจากทำบุญถวายสังฆทาน รับศีลรับพร ตอนกราบลาพระ มีการสนทนาที่น่าสนใจเกิดขึ้นค่ะ เรื่องนี้ควรให้หมียักษ์เล่าให้ฟังดีกว่า รับรองว่าได้ฮา แน่ๆ..อิอิอิ

  • #2 Panda ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 กรกฏาคม 2009 เวลา 10:42

    แฮ่ ๆๆๆๆ คิดว่าจะเล่าเอง…..
    ….หลังจากทำบุญถวายสังฆทาน รับศีลรับพร ตอนกราบลาพระ มีการสนทนาที่น่าสนใจเกิดขึ้น……

    หลวงพ่อ..มาจากที่ไหนกัน ?
    อาม่า…มาจากโคราชคะ
    หลวงพ่อ..จะกลับเมื่อไหร่ ?
    อาม่า…กลับวันนี้คะ

    เห็นท่าจะไม่รู้ตัว หมีเลย สะกิดบอก อาม่า….ดูหลวงพ่อพูดกับใคร……หลวงพ่อกำลังพูดโทรศัพท์ (มือถือ) อยู่…..555
    คุย สามฝ่าย สองระบบ พร้อมกันได้นิ…..จบข่าว.

  • #3 aram ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 กรกฏาคม 2009 เวลา 19:59

    หลวงพ่อมีญานวิเศษ สนทนาได้พร้อมๆกันครับ…  อาจารย์
    ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์พระธาตุเชิงชุมได้ปกป้องคุ้มครองรักษา   ให้อาม่าและอาจารย์ตลอดไปนะครับ

  • #4 Panda ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 กรกฏาคม 2009 เวลา 20:32

    ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์พระธาตุเชิงชุมได้ปกป้องคุ้มครองรักษา   อารามและครอบครัว  ตลอดไปเช่นกันครับ
    คงจะจริงเหมือน อาราม ว่าครับ หลวงพ่อคงมีความสามารถพิเศษ ในการสนทนา


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.26163196563721 sec
Sidebar: 0.17032289505005 sec