การประเมินผลผลิตข้าว

อ่าน: 2449

การประเมินผลผลิตในนาข้าว โดยเฉพาะนาดำด้วยเครื่องปักดำ เนื่องจากสามารถปลูกเป็นแถว ที่ตั้งระยะระหว่างแถว และระหว่างกอได้ตามความต้องการ ในการทำแปลงนาดำสาธิต หนึ่งไร่ครึ่ง เป็นนาข้าวหอมมะลิ105 ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รับความอนุเคราะห์ทั้งกล้าข้าวหอมมะลิ 105 อายุ 15วัน พร้อมเจ้าหน้าที่นาสาธิต และรถปักดำจากบริษัทสยามคูโบต้าคอร์เปอเรชั่น จำกัด มาช่วยปักดำให้เป็นการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นภาระกิจส่วนหนึ่งของการตอบแทนสังคม

อาม่าได้ขอตั้งเครื่องปักดำ ดังนี้ คือ

  1. ปักดำที่ละสามต้น(หนึ่งกอ)
  2. ตั้งระยะห่างระหว่างแถว 30 ซม.
  3. ตั้งระยะห่างระหว่างกอ 20 ซม.

ในพื้นที่หนึ่งไร่ จะมีเนื้อที่ 1,600 ตารางเมตร  หากเราปักดำข้าวตามข้อกำหนด จะมีข้าว 15 กอ/หนึ่งตารางเมตร

การประเมินผลผลิตข้าวอย่างคร่าวๆ โดยการคำนวนผลผลิตในเนื้อหนึ่งตารางเมตร

อ่าม่าสุ่มเก็บรวงข้าวมาจำนวนหนึ่ง นับเมล็ดข้าว/ต่อรวง เฉลี่ยแล้วได้ข้าว 207 เมล็ด / รวง ซึ่งเป็นค่าที่สูงทีเดียว

นับเมล็ดข้าว

เลือกพื้นที่กลางนา วัดเนื้อที่ หนึ่งตารางเมตร ตัดข้าวทั้งหมดที่อยู่ภายในเนื้อที่หนึ่งตารางเมตร เพื่อมานับจำนวนลำข้าวที่ออกรวง

ตัดข้าวในหนึ่งตารางเมตร

เด็กๆ ที่สามารถนับเลข หนึ่งถึงสิบได้ มาช่วยกันนับรวงข้าว กองละสิบรวง ผู้ใหญ่จะมารวมเป็นกำละ ห้าสิบรวง เพื่อสะดวกแก่การนับจำนวนรวงข้าวในหนึ่งตารางเมตร ทั้งนี้อาม่าให้โอกาสเด็กๆ ได้ม่ส่วนร่วมในการประเมินผลผลิตข้าวในแปลงนานี้ สร้างความสนุกสนานให้กับเด็กๆ ด้วย และได้เรียนรู้ว่าการนับรวงข้าวนี้ได้ประโยขน์อะไร ผลปรากฏว่าได้ข้าวทั้งหมด 234 รวง

จากนั้นอาม่าจะประเมินผลผลิต/ไร่ได้สะดวกขึ้น จากประสบการณ์การคาดคะเนผลผลิต ทุกครั้งที่ทำการเก็บเกี่ยวข้าว จะเกิดความเสียส่วนหนึ่งจากการเก็บเกี่ยว และความไม่สม่ำเสมอของรวงข้าว และจำนวนเมล็ดข้าวลีบส่วนหนึ่ง ต้องไม่ลืมหักความเสียหายออกก่อนการคำนวน จึงใช้ค่าเมล็ดข้าวดีสองค่าคือ  150 เมล็ด / รวง และ 100 เมล็ด / รวง ในการคำนวนผลผลิตข้าวในหนึ่งตารางเมตร และใช้จากข้อมูล ข้าว 1,000 เมล็ดหนัก  30 กรัม(ชาวนาวันหยุด)ในการคำนวนในดังนี้

  1. ในกรณี  ใช้ ตัวเลขข้าว 150 เมล็ด / รวง  ในการคนวนข้าวต่อหนึ่งตารางเมตร  234×150x30/1,000 = 1.053 กก. ในนาหนึ่งไร่จะผลผลิตข้าว 1.053 x 1,600 = 1,684.8 กก.
  2. ในกรณี ใช้ ตัวเลขข้าว 100 เมล็ด / รวง  ในการคนวนข้าวต่อหนึ่งตารางเมตร   234×100x30/1,000 = .702 กก. ในนาหนึ่งไร่จะผลผลิตข้าว  .702 x 1,600 = 1,123.2 กก.

สรุปผลผลิตต่อไร่ ไม่ต่ำกว่า หนึ่งตันแน่นอน

ในที่สุดการชั่งน้ำหนักข้าวในนาแปลงนี้ (หนึ่งไร่ครึ่ง)เกิดขึ้นหลังจากตากข้าวสี่วันจนแห้ง ได้น้ำหนัก 1,502 กก. ซึ่งเป็นน้ำหนักแห้ง ที่สูญเสียน้ำหนักอย่างน้อย 10 % ดังนั้นน้ำหนักวันเก็บเกี่ยว  1,652.2 กก. สรุปได้ข้าวจริงๆ เกินหนึ่งตัน ต่อไร่ค่ะ


เก็บเกี่ยวข้าวในแปลงนาสาธิต

อ่าน: 2457

เสาร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ แปลงนาสาธิต การทำนาดำอินทรีย์ บ้านใหม่อุดม ต. บ้านใหม่ อ. หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา อาม่าในฐานะวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ. นครราชสีมา ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ให้ครอบครัวชาวนา ทำนาให้ได้ข้าวให้พอกินตลอดทั้งปี และมีเมล็ดพันธุ์พอเพียงที่จะปลูกในฤกาลต่อไป อย่างมั่นคง จึงทำแปลงนาสาธิต เพื่อสอนให้ชาวนาทำนาที่เป็นมิตกับสิ่งแวดล้อม ถีงเวลาเก็บเกี่ยว อาม่าประสานขอความอนุเคราะห์รถเก็บเกี่ยวข้าวจาก บริษัทสยามคูโบต้า คอร์เปอเรชั่น จำกัด ซึ่งได้รับความร่วมมือดีอย่างดียิ่งค่ะ

แม่เสมเจ้าของนาคนที่ยืนดูนา

อาม่ากำลังโบกมือ

แม่เสมเจ้าของนา ปราบปลื้มกับผลผลิตที่ได้ ตอนปักดำให้ด้วยรถปักดำของคูโบต้า ใช้กล้าข้าวหอมมะลิ  ๑๐๕ อายุ ๑๕ วัน แม่เสมมาสารภาพกับอาม่าว่า ตอนแรกจะถอดใจแล้ว เพราะต้นข้าวต้นเล็กมาก แล้วเหี่ยวคิดว่าต้องตายแน่ๆ หลังจากปักดำดำไปได้หนึ่งอาทิตย์เริ่มให้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำฉีดพ่น เพิ่มเสริมสร้างรากให้แข็งแรง จากนั้นข้าวเริ่มตั้งตัวได้ แม่เสริมทำตามคำแนะนำ และสังเกตุว่าหลังฉีดปุ๋ยครั้งแรก ไม่มีหญ้ามารบกวน จึงเรียกปุ๋ยน้ำว่ายา อาม่าต้องอธิบายให้ฟังว่า เป็นปุ๋ยน้ำอินทรีย์ที่ผลิตโดยเครือข่ายของอาม่า ให้ไว้ทั้งหมด ๖ ถัง (ถังละ๑ลิตร) ทีมงานอาม่าอธิบายวิธีใช้ ให้ชาวนาได้รับฟัง ซึ่งมีสองสูตร สูตรที่หนึ่งใช้กับต้นข้าวอายุน้อยกว่าสองเดือน และสูตรที่สองหลังจากต้นข้าว มีอายุสองเดือนขึ้นไป แม่เสมก็ทำตามคำแนะนำ คือ ฉีดปุ๋ย ทุก ๑๕ วัน รวมฉีดปุ๋ยทั้งหมด หกครั้ง และยอมรับว่าทำนาแบบนี้ไม่เหนื่อยเลยและออกรวงสวยงามจนเป็นที่โจทย์จันกันใน หมู่ชาวนา ตอนแรกนึกว่าจะไม่ได้ข้าวแน่ๆ แต่กลับกลายเป็นาข้าวที่สวยที่สุดในระแวกนี้ ถึงกับจะมาขอแลกข้าวไปปลูกบ้าง

รถเก็บเกี่ยวข้าวคูโบต้า

แปลงนาข้าวนี้ มีเนื้อที่แค่ไร่ครึ่ง ไม่ถึงสองไร่ค่ะ เพราะอีกครึ่งไร่อยู่เหนือขึ้นไปเป็นอีกแปลง ใชักล้าข้าวที่เตรียมมาสองไร่ไปดำที่แปลงน้อยด้วย และดูแลเหมือนนาแปลงใหญ่

ถ่ายข้าวใส่รถ

เก็บไปได้ส่วนหนึ่งเต็มรถเก็บเกี่ยว(เท่ากับน้ำหนักข้าวหนึ่งตัน ) ต้องถ่ายขึ้นรถบรรทุกข้าว แล้วเก็บเกี่ยวส่วนที่เหลือต่อจนหมด ซึ่งได้ข้าวอีกมากเกือบเต็มรถ คาดว่าต้องได้ข้าวเกือบสองตัน ในนาไร่ครึ่งค่ะ


ผลการศึกษาปลูกข้าวต้นเดี่ยวในท่อซีเมนต์

4442 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ พฤศจิกายน 5, 2011 เวลา 21:30 ในหมวดหมู่ ปลูกข้าวต้นเดี่ยว, เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 42395

การปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

ผลการ การทดลองศึกษาการปลูกข้าวต้นเดี่ยวในภาชนะชนิดต่างๆ

๑. การปลูก(ปักดำ)ข้าวในท่อซีเมนต์ ใช้ข้าวหอมมะลิ ๑๐๕ ทั้งสองท่อค่ะ แต่ท่อที่หนึ่งขังน้ำได้ ท่อที่สองขังน้ำไม่อยู่ จึงเป็นข้อดีได้เปรียบเทียมกันได้ง่ายขึ้น เหมือนจำลองนาลุ่มและนาดอน

ปรากฏว่าข้าวทั้งสองท่อ มีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน ตั้งแต่ เมษายน - เดือนสิงหาคม

พอเข้าสู่เดือนกันยายน เริ่มมีความแตกต่าง ในท่อนาดอนข้าวเริ่มใบแห้งเนื่องจากท่อเก็บน้ำไม่อยู่ต้องเติมน้ำวันละสองครั้ง

ข้าวในท่อนาลุ่มยังดูแข็งแรงเริ่มลำอวบออกอาการว่าพร้อมที่จะตั้งท้องช่วงกลางกันยายน พอเข้าเดือน ตุลาคมก็ออกดอกสวยงาม

จนปลายเดือนตุลารวงข้าวแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้

จึงทำการเก็บเกี่ยวในวันที่ ๓๐ ตค. ๒๕๕๔ และตากรวงให้แห้ง

พอรวงแห้งรวบรวม และนับจำนวนรวงทั้งหมดได้ ๑๐๓ รวง เป็นรวงหักก่อนที่ข้าวจะแก่ รวง จึงมีรวงข้าวที่มีข้าวทั้งหมด ๙๘ รวง ทำการทะยอยนับเมล็ด ที่แยกข้าวออกจากรวง ที่ละรวง โดยแยกนับเมล็ดข้าวดี  และข้าวลีบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดทุกรวง


สรุปผลการศึกษาปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ ในท่อซีเมนต์ท่อแรก(นาลุ่ม) ปลูกหกต้นเสียหายไปสามต้น เหลือสามต้นแตกกอกว่าร้อยลำแต่หักไปส่วนหนึ่งเหลือทั้งหมด ๑๐๓ ลำให้รวงทั้งหมด ๑๐๓ รวงแต่รวงหักไปก่อนที่เมล็ดจะพัฒนาต่อไป คงได้รวงที่มีเมล็ดข้าวแค่ ๙๘ รวง ได้เมล็ดข้าวทั้งหมด ๑๕,๕๘๓ เมล็ด เป็นข้าวเมล็ดสมบูรณ์ ๑๑,๕๑๘ เมล็ด
สรุปลงทุนปลูกข้าวเมล็ด(ต้นตายไป ต้น)  ได้ข้าวทั้งหมด ๑๑, ๕๑๘ เมล็ดค่ะ

ส่วนข้าวในท่อซีเมนต์ที่สอง ข้าวเริ่มจะแก่แล้ว คงเก็บเกี่ยวได้ประมาณกลางเดือนตุลา แต่ผลผลิตจะต่างกับท่อแรกอย่างเห็นได้ชัด แล้วจะสรุปผลหลังเก็บเกี่ยวค่ะ


ประวัติการขุดคลองต่างๆ

130 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ พฤศจิกายน 4, 2011 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ การจัดการน้ำ, ประวัติการขุดคลอง, เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 3194

เป็นข้อมูลที่เพื่อนส่งมาให้ ประกอบกับการที่ได้เห็นและรับทราบข่าวจากทีวีในช่วงเวลาที่กรุงเทพเผชิญกับวิฤติน้ำท่วมในปีนี้ จึงอยากเก็บไว้ ศึกษา และแบ่งปันค่ะ
คลองแสนแสบ
เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเจ้าพระยา กับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปีพ.ศ. 2380 ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบและเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวนซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี และมีชื่อเรียกว่า “สงครามอันนัมสยามยุทธ”

คลองมหาสวัสดิ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุด คลองมหาสวัสดิ์ ขึ้น เพื่อเชื่อมระหว่างแม่น้ำนครชัยศรีกับแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ และเป็นเส้นทางคมนาคม โดยให้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำบุนนาค) และ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุด เริ่มลงมือเมื่อวันที่ 13 กันยายนปีเดียวกัน เสร็จเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม รวมเป็นเงินค่าแรงทั้งสิ้น 1,101 ชั่ง 10 ตำลึง คลองมหาสวัสดิ์ยาว 28 กิโลเมตร ปัจจุบันคลองมหาสวัสดิ์ยังคงมีสภาพธรรมชาติที่งดงาม น้ำในคลองยังใสสะอาด สองฝั่งคลองเต็มไปด้วยสวนผลไม้ สวนกล้วยไม้ อีกทั้งนาบัวที่ผลิดอกชูช่อน่าชม กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ อ่านต่อ »



Main: 0.8626229763031 sec
Sidebar: 6.7026360034943 sec