บทพิสดาร

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ วันอังคาร, 21 เมษายน 2009 เวลา 14:58 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 8194

คู่มือบทนี้ ที่จริงไม่ได้มีอะไรพิสดาร เพียงแต่ผู้ที่ไม่ได้ใช้ลานปัญญาบ่อย อาจจะคิดว่ายาก หรือหาทางออกเองไม่ได้

มาเป็นสมาชิกใหม่ แต่ไม่เห็นมีใครมาให้ความคิดเห็นเลย

เมื่อท่านสมัครเป็นสมาชิกลานปัญญา และเปิดบล็อกใหม่ ระบบจะเปิดบล็อกให้ และจะเขียนบันทึกตัวอย่างไว้ให้หนึ่งบันทึก ท่านความทดลอง “แก้ไข” บันทึกนั้นดูเพื่อทำความคุ้นเคยกับ Visual Editor ก่อน แต่หากท่านแน่ใจว่าใช้งาน Visual Editor ได้ง่ายๆ ขอแนะนำให้เขียนบันทึกใหม่ แนะนำตัวเองทันที

การแนะนำตัวเอง อาจไม่จำเป็นในบางสังคม แต่ในลานปัญญาที่สมาชิกเก่าไม่รู้จักท่านมาก่อน ท่านจะให้เขามาแลกเปลี่ยนอะไรกับท่าน?

ในหลายกรณี ชื่อบล็อกที่ท่านเลือก อาจส่งสัญญาณบางอย่าง ที่ทำให้สมาชิกคิดว่าท่านเป็นคนที่รู้จักกันมาก่อน และอาจมาแสดงการต้อนรับ *แต่ว่า* ความคิดเห็นนั้นจะยังไม่ปรากฏขึ้นท้ายบันทึก เพราะเป็นการเขียนความคิดเห็นครั้งแรก ซึ่งท่านในฐานะเจ้าของบล็อกยังไม่เคยอนุมัติ

ดังนั้น เมื่อเปิดใช้งานบล็อกใหม่ๆ จึงควรเข้าระบบบ่อยๆ เมื่อเข้า Dashboard อาจจะเห็นตัวเลขสีส้ม อยู่เหนือข้อความ “ความคิดเห็น” ทางด้านบนขวาของจอ — นั่นคือจำนวนความคิดเห็นใหม่ที่มีผู้เขียนมาแล้ว แต่ยังรอให้ท่านอนุมัติ ถ้าท่านไม่อนุมัติ ความคิดเห็นเหล่านั้น จะไม่ปรากฏขึ้น

ต่อเมื่อท่านอนุมัติความคิดเห็นเหล่านั้นแล้ว ความคิดเห็นจากสมาชิกท่านนั้น จะไม่ต้องให้ท่านอนุมัติอีก (ยกเว้นว่าท่านตั้งค่าบล็อกให้ Administrator ต้องอนุมัติทุกความคิดเห็น)

ลืมรหัสผ่าน

เมื่อสมัครลานปัญญาแล้ว ไม่ได้ใช้บ่อย ก็อาจลืมรหัสผ่าน (password)

วิธีแก้ไขก็ง่ายมากคือ ให้ไปที่หน้าแรกของลานปัญญา http://lanpanya.com/ แล้วคลิกตรง ลืมรหัสผ่าน? (Lost your password?) จากนั้นใส่บัญชีชื่อผู้ใช้ (username ที่ใช้ล็อกอิน) หรือไม่ก็อีเมลที่ใช้สมัครลานปัญญาลงไป ระบบจะส่งวิธีการตั้งรหัสผ่านใหม่กลับไปให้ตามอีเมลที่ใช้สมัครสมาชิกลานปัญญา

อนึ่ง ลานปัญญามี widget แต่งบล็อกที่ใช้สำหรับการล็อกอินอยู่สองอัน คือ Meta และ Sidebar Login

Sidebar Login ดีกว่า Meta มีฟังก์ชั่นการใช้งานครบถ้วน ทั้งการกรอกบัญชีชื่อผู้ใช้ (Username) รหัสผ่าน (Password) ตลอดจนลิงก์ให้คลิกเมื่อลืมรหัสผ่าน แล้วเมื่อล็อกอินได้แล้ว ก็ยังมีลิงก์เข้า Dashboard การแก้ไข Profile ออกจากระบบ (Logout) และ Recent Posts ซึ่งแสดงบันทึกล่าสุดและจำนวนความคิดเห็นที่เขียนขึ้นจากทุกบล็อกในลานปัญญาในช่วง 96 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แต่เมื่อเปิดใช้งานบล็อกใหม่ ระบบจะติดตั้ง Meta มาให้โดยไม่ใช้ Sidebar Login เพราะว่าไม่แน่ว่าสมาชิกจะเลือกธีมที่สนับสนุนการใช้ Sidebar หรือไม่

หากสมาชิกใช้ธีม Syrup ตามคำแนะนำ เวลาแต่งบล็อก (ออกแบบบล็อก) อย่าลืมเลือก Sidebar Login มาใช้ แล้วเอา Meta ออก

ผู้ช่วย

สมาชิกลานปัญญามีความแตกต่าง และโดดเด่นกันคนละด้าน ในบางกรณีจึงต้องการผู้ช่วยในการจัดการกับบันทึกหรือบล็อก

ระบบของลานปัญญาจัดการเรื่องนี้ได้อย่างปลอดภัยและคล่องตัวพอสมควร โดยเจ้าของบล็อก สามารถเพิ่ม “ผู้ใช้” (Users) ที่มีสิทธิต่างๆ เข้าไปได้ผ่าน Dashboard

สิทธิ (Role) กับระดับของผู้ใช้ มีรายละเอียดซึ่งหาอ่านได้ที่นี่ ซึ่งอาจกล่าวโดยย่อได้ดังนี้

  1. ระบบลานปัญญา แบ่ง “ผู้ใช้” ออกเป็น 5 ระดับสำหรับแต่ละบล็อก ผู้ใช้ระดับอะไรก็ตามในบล็อกหนึ่ง อาจจะเป็นผู้ใช้ระดับอื่นในบล็อกอื่น เพราะทุกบล็อกนั้นแตกต่างกัน
  2. “ผู้ใช้” 5 ระดับประกอบไปด้วย
    1. Subscriber — อ่านได้ - ใช้ในกรณีที่เจ้าของบล็อกระบุไว้ว่าผู้อ่านจะต้องเป็นสมาชิกของบล็อกเท่านั้น
    2. Contributor - เขียนบันทึกได้ แต่เผยแพร่ไม่ได้ เขียนแล้วติดอยู่เป็น Draft จะต้องให้ผู้ใช้ที่มีสิทธิสูงกว่ามาอนุมัติให้เผยแพร่
    3. Author — เขียนและเผยแพร่บันทึกของตัวเองในบล็อกได้ แต่จะไปยุ่งกับบันทึกของผู้อื่นในบล็อกนั้นไม่ได้ ตัวอย่างของ Author คือสมาชิกภาพในลานเจ๊าะแจ๊ะ
    4. Editor — เขียน/แก้ไขบันทึกของผู้อื่นในบล็อกนั้นได้ทั้งหมด แต่จัดการเกี่ยวกับบล็อก (ปลั๊กอิน ธีม ฯลฯ) ไม่ได้
    5. Administrator — ทำได้หมดทุกอย่างในบล็อกนั้น รวมถึงการเพิ่ม “ผู้ใช้” อื่นๆ เข้ามาในบล็อกด้วย
  3. เมื่อเปิดบล็อกขึ้นใช้งาน ผู้เปิดบล็อกจะกลายเป็นผู้ใช้คนแรกและคนเดียว โดยมีสิทธิเป็น Administrator

ดังนั้น แทนที่จะบอกรหัสผ่านของตัวให้ผู้อื่นเข้ามากระทำการแทน เจ้าของบล็อกควรพิจารณาว่าจะให้ใครช่วยในเรื่องอะไร เช่น

  • แต่งบล็อก — เพิ่ม Administrator ขอให้ระมัดระวังการเพิ่มสิทธิอันนี้ให้มาก เพราะทำได้ทุกอย่างรวมทั้งยึดอำนาจ/ไล่เจ้าของบล็อกออกด้วย
  • แก้ไขตัวสะกด — เพิ่ม Editor
  • ช่วยเขียน — เพิ่ม Author หรือ Contributor แล้วแต่ว่าเจ้าของบล็อกต้องการตรวจบันทึกก่อนเผยแพร่หรือไม่
  • ส่วน Subscriber นั้น อาจไม่มีความจำเป็นเลย ยกเว้นจะใช้กับสมาคมลับ

ลานคู่มือลานปัญญา มี Administrator 2 คน มี Editor 2 คน มี Author 8 คน รวมสมาชิก 12 คน มีผู้ที่ยังไม่ได้เขียนบันทึกเลย 6 คน

ทำอย่างไรจึงจะปะเพลง/หนังในความคิดเห็นได้

สมาชิกทำอย่างนั้นไม่ได้

แต่เคยเห็นมีเพลง/หนังอยู่ในความคิดเห็นนะ

ใช้ลิงก์ไปต้นทางก็สะดวกดีแล้ว ส่วนการ embed เพลง/หนัง ต้องใช้กำลังภายในสูง ไม่เหมาะกับสมาชิกทั่วไป


คู่มือลานปัญญา บทที่ 11 การจัดการความคิดเห็น

3 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ วันเสาร์, 18 เมษายน 2009 เวลา 15:07 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 10739

เรียนทุกท่าน ส่วนที่ผมเขียนนี้ เรียนตามตรงว่า ยังหยาบมาก แต่คิดว่าเอาขึ้นมาก่อน แล้วค่อยๆหาเวลาทำให้ละเอียดและง่ายต่อการเข้าใจมากขึ้นครับ หากจะทำให้สมบูรณ์ทีเดียวเกรงว่าจะยังคงไม่ได้เอามาขึ้นเดี๋ยวนี้ หรือตามกำหนดที่สัญญาไว้กับท่านจอมป่วน

________________________________________________

สำหรับ ธีม (Theme) ในลานปัญญาที่นิยมให้กันนั้น ผู้ออกแบบได้จัดการสร้างลูกเล่นไว้หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือหัวข้อ ความคิดเห็น ทำให้เราเกิดความสะดวกในการจัดการความคิดเห็นทั้งของตัวเราเองและของเพื่อนที่แสดงความเห็นต่อบันทึกของเรา ดูไดอะแกรม ขั้นตอนการเข้าถึงสาระต่างๆของ การจัดการความคิดเห็น

รูปที่ 1 ไดอะแกรมแสดงขั้นตอนการเข้าถึงการจัดการความคิด(ขออภัยที่ไม่ชัด)

รูปที่ 2 แสดงหน้าจอ Blog ตามปกติที่เราต้องการเข้าไปจัดการความคิด

แสดงหน้าจอ Blog ของเราที่ต้องการเข้าไปจัดการเรื่องความคิดเห็น เราก็เข้าไปที่ Dashboard

รูปที่ 3 แสดงให้เห็น Blog ต่างๆที่เราต้องการเข้าถึงด้วยวิธีเข้าถึงโดยตรง

เมื่อเราคลิกที่ Dashboard แล้วเราจะได้หน้าจออย่างที่เห็น จากนั้นเราก็เลือกว่าเราต้องการเข้าไปจัดการความคิดเห็นใน Blog อะไรของเรา หากเรามี Blog เดียวก็คลิกที่ชื่อ Blog นั้นเลย ในกรณีที่เรามีหลาย Blog ที่เราสร้างขึ้นมาก็มีสองวิธีที่เราจะเข้าถึง คือ เลือกชื่อ Blog จากแถบชื่อ Blog จากแถบ Menu ดูรูปที่ 3

รูปที่ 4 การเข้าถึง Blog ด้วยวิธีเข้าทางเมนูรวม Blog

แสดงให้เห็น Blog ต่างๆที่เราต้องการเข้าถึงด้วยวิธีเลือก Blog จากเมนูรวม Blog (All my blogs)

รูปที่ 5 การเลือก Blog จากเมนู

เมื่อเราคลิกที่ All my blogs ก็จะปรากฏเมนู Choose a blog:……………. ขึ้นมา เราก็สามารถเลือกชื่อ Blog ที่เราต้องการได้โดยการกดคลิกที่เครื่องหมาย V ก็จะปรากฏชื่อ Blogs ที่เรามีทั้งหมดมาให้เราเลือก เราก็เลือก Blog ที่ต้องการ

รูปที่ 6

เมื่อเลือกชื่อ Blog ที่เราต้องการได้แล้วก็กด Go เราก็จะได้หน้าจอตามรูปที่ 6 พร้อมที่จะดำเนินการต่อไป

รูปที่ 7

ที่แถบเมนูใต้ชื่อ Blog ที่เราเลือกไว้นั้น เราก็เลือกคลิกที่ ความคิดเห็น หรือที่ หมายเลข (1) เราก็จะได้หน้าจอ Blog ดังรูปที่ 7 นี้

  • หน้าจอนี้จะปรากฏการลำดับการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก Blog ทั้งหมดที่มีต่อ Blog ของเราตั้งแต่ปัจจุบันย้อนไปสู่ Blog ของเราในอดีตทั้งหมด ในเมนูจะบอกว่าเป็นการ แสดงทุกความคิดเห็น ตามลำดับดังกล่าว ซึ่งจะรวมถึงความคิดเห็นเราที่ตอบหรือแลกเปลี่ยนกับเพื่อนเหล่านั้นด้วย
  • หากเราต้องการทราบว่ามีเพื่อนสมาชิกท่านใดเข้ามาแสดงความเห็นต่างๆแก่ Blog ของเราทั้งหมดบ้างก็เข้ามาที่นี่ เราก็จะทราบทันที ทั้งนี้แล้วแต่ประสงค์ของท่านจะใช้ เช่น อยากดูประเด็นที่เพื่อนสมาชิดเข้ามาแลกเปลี่ยน อยากตรวจสอบว่าเราในฐานะเจ้าของ Blog ได้ตอบหรือโต้ตอบความคิดเห็นของเพื่อนครบถ้วนแล้วหรือยัง

รูปที่ 8

รูปที่ 9

เมื่อเราต้องการตรวจสอบว่ามีความเห็นของเพื่อนสมาชิกที่เข้ามาแสดงความเห็นไว้แต่ระบบจัดการ lock หรือที่เรียกว่า รอคอยการพิจารณา ความคิดเห็นนั้นไว้ให้ผู้เป็นเจ้าของ Blog ตรวจสอบก่อนว่าจะอนุมัติให้ความคิดเห็นจากเพื่อนั้นเข้าไปแสดงในระบบความคิดเห็นของ Blog นั้นๆหรือไม่ ระบบนี้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันความคิดเห็นที่เจ้าของ Blog เห็นว่าไม่สมควรเอาขึ้นสู่สาธารณะได้ เป็นการจำกัดสิทธิ์ให้แก่เจ้าของ Blog

นอกจากนี้แล้วตรง รอคอยการพิจารณายังแสดงจำนวนความคิดเห็นที่รอการอนุมัติด้วยว่ามีจำนวนเท่าไหร่ รอคอยการพิจารณา(0) โดยจะมีจำนวนความคิดเห็นที่รอการพิจารณาในวงเล็บหลังข้อความ รอคอยการพิจารณา และเราสามารถดูข้อความนั้นตรงหมายเลข 2 ในรูปที่ 9 ซึ่งจะลำดับความคิดเห็นนั้นๆไว้

รูปที่ 10

ในรูปที่ 10 นี้ต่อเนื่องมา เราจะเห็นว่ามีการแสดงลำดับความคิดเห็นไว้ หากความคิดเห็นนั้นถูก lock เพื่อให้เจ้าของ Blog พิจารณาความเห็นก่อน หากเจ้าของ Blog พิจารณาแล้วเห็นว่าความคิดเห็นนั้นๆสามารถเอาเผยแพร่ได้ เราก็ไปทำเครื่องหมาย หรือคลิกในสี่เหลี่ยมเล็กๆหน้าความเห็นนั้นๆ แล้วแต่จำนวน เสร็จแล้วเราก็ไปคลิกตรง อนุมัติ ตามรูปที่ 10 นี้

รูปที่ 11

สิ่งที่ผมชอบลูกเล่นของ ธีม นี้อย่างหนึ่งคือ เราสามารถ ลำดับความคิดเห็นทั้งหมดของสมาชิกที่เราต้องการทราบได้ ในทุก เรื่องที่เราบันทึก เช่นในรูปที่ 11 นี้ ลองพิมพ์คำว่า suthinun ลงไปแล้วคลิกที่ ค้นหาความเห็น แล้ว enter เครื่องก็จะลำดับความคิดเห็นของบุคคลนั้นให้เราตั้งแต่ปัจจุบันย้อนไปในอดีตทั้งหมด

และหากเราจะดูการ แสดงรายละเอียด ของความเห็นบุคคลนั้นๆ เราก็สามารถทำได้โดยไปคลิกที่ แสดงรายละเอียด เมนูด้านล่างก็จะลำดับความคิดเห็นท่านนั้นมาให้เราทั้งหมด แต่หากเราต้องการ ดูรายละเอียด ความคิดเห็นทั้งหมด ก็คลิกที่ ดูรายละเอียด เมนูด้านล่างจะแสดงรายละเอียดการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกท่านนั้นมาให้เราอ่านได้ทั้งหมด

ธีมนี้ นับว่ามีลูกเล่นหัวข้อนี้ เป็นที่น่าสนใจ ทำให้เราสามารถจัดการความคิดเห็นต่างๆของเพื่อนสมาชิกที่มีต่อบทบันทึกของเราทั้งหมดได้ดี เป็นประโยชน์ในการจัดการมากทีเดียวครับ


การทำสารบัญ

10 ความคิดเห็น โดย น้ำฟ้าและปรายดาว เมื่อ วันจันทร์, 13 เมษายน 2009 เวลา 17:26 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 13465

เห็นแว้บๆว่าพี่ตาคนสวยมอบหมายงานการทำสารบัญบล็อก เลยต้องรีบทำเดี๋ยวพี่ตึ๋งดุ อิอิอิ จริงๆก็ดึงมาจากคู่มือทำสารบัญอันเดิมของพี่รุมกอดนั่นแหละค่ะเพราะอธิบายไว้ชัดแล้ว อ่านต่อ »


เรื่องนี้เหมาะสำหรับคนขี้ลืมและคนที่อยากตามรอยความเห็นของตัวเองค่ะ

1 ความคิดเห็น โดย อุ๊ยสร้อย เมื่อ วันพฤหัสบดี, 9 เมษายน 2009 เวลา 22:51 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา #
อ่าน: 8853

ท่านจอมป่วนจะจัดเข้าประเภทไหนก็ไม่ทราบนะคะ

หลังโรง???

หรือ Tips??

…..

 

คำแนะนำนี้ อาจจะเหมาะสำหรับคนที่ขี้ลืมคือลืมว่าเคยไปให้ความเห็นของบันทึกใครที่ไหนแล้วบ้าง

และก็เหมาะสำหรับคนที่อยากติดตามความเห็นว่ามีใครมาต่อยอดความคิด หรือให้ความเห็นเพิ่มเติมในเรื่องที่ได้ไปทิ้งรอยนั้นหรือยังน่ะค่ะ

วิธีการก็คือ

เข้า Dashboard

จากนั้นก็ไปที่ “My comments” เมื่อคลิกแล้วก็จะได้รายการที่เคยไปให้ความเห็นไว้ที่ไหนอย่างไรบ้าง

 

เป็นการตามรอยความเห็นของตัวเองค่ะ….คราวหน้าจะได้ไม่ต้องคอยจำว่าไปออกความเห็นที่ไหนไว้ (เพราะจะจำก็ลืม…อิอิ)

 

ช่วยทำมาหากินก่อนสงกรานต์ค่ะ…

 

จบค่ะ

 

 



Main: 0.033415079116821 sec
Sidebar: 0.023003101348877 sec