ช่วงซักถาม- จะดับไฟใต้ได้อย่างไร?

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 9 มกราคม 2012 เวลา 0:06 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2366

วิชชุกร คำจันทร์ นักบิน บริษัท การบินไทย จำกัด

สนใจที่ลีโอพูด  มันสะท้อนให้เห็นถึงความกังวล  ถ้าเยาวชนถูกครอบงำจะเป็นอันตรายมาก  แต่แสดงว่าขบวนการยังไม่สามารถครอบงำเยาวชนได้  การแบ่งแยกดินแดน  ถ้าได้มาแล้วไม่สงบก็ไม่อยากได้

ถามอาจารย์ว่าคนในพื้นที่จบปริญญาตรีเพียง 4% ทำไม?  อะไรเป็นอุปสรรค ?  เรื่องภาษาหรือนโยบายภาครัฐ

อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน  สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

สถานการณ์ความไม่สงบ  ทำให้มีผลต่อการศึกษาที่ตกต่ำจะแก้ไขอย่างไร?  ปอเนาะมีปัญหาอะไร?  จะแก้ไขอย่างไร?

เกียรติเกริกไกร ใจสมุทร รองเลขาธิการมูลนิธิ อัศนี พลจันทร (นายผี)

ปัยหาคลุมเครือไม่ชัดเจน  เข้าใจแตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ  แนวทางของกลุ่มเชื่อมโยงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ไหม? เช่นกลุ่มคิดว่าควรเจรจา  ประชาชนคิดอย่างไร?

อาเต็ป โซ๊ะโก ประธานเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน

ถ้าต้องคุยเพื่อเปลี่ยนความคิดจะทำอย่างไร ?

เคยลงพื้นที่  ชาวบ้านไม่ต้องการความรุนแรง  ไม่ต้องการแบ่งแยกดินแดน  แต่มีความสนใจในเขตปกครองพิเศษ  อยากได้การปกครองตนเอง

ทำไมขบวนการอยู่ได้ ?  มีกองกำลัง 3,000 คน  มีสมาชิกกับแนวร่วมอีกมาก  จะเปลี่ยนความคิดอย่างไร?  หรือจะปราบปรามอย่างไร?

นายลีโอ เจ๊ะกือลี ผู้แทนเครือข่ายเยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

การสรุปอาจเป็นนามธรรมมาก  ไม่ใช่ปัญหาของภาคใต้  แต่เป็นปัญหาทางเหนือ  อีสาน  ภาคกลางด้วย  เพราะมนุษยธรรมหายไปเรื่อยๆ  ปัจจุบันมนุษยธรรมขาดหายไป  เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยถูกใช้อย่างไม่มีความเมตตา  นายทหารระดับสูงไม่มีมนุษยธรรม  มองชีวิตลูกน้องไม่มีค่า

มนุษยธรรมจะก้าวข้ามศาสนา  ความขัดแย้ง  ในระยะยาวปัญหาจะลุกลามไปที่อีสาน  จะมีการใช้อาวุธก่อความรุนแรงขึ้นอีก  เยาวชนเป็นเหยื่อของความรุนแรง  ถูกจับมาก

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหามาก  ถ้าขบวนการใช้ยาเสพติดจะเป็นกองกำลังที่น่ากลัวมาก  เยาวชนจะมาไถ่บาปด้วยการต่อสู้กับรัฐ

อ. ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ รักษาการประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้

การศึกษาขนาดเอามาเรียนด้วยกันมานาน (พุทธกับมุสลิม) ยังพูดกันไม่รู้เรื่อง  ตอนนี้ให้เอกชนสอนตั้งแต่อนุบาลไปถึงระดับมหาวิทยาลัย  เด็กต่างวัฒนธรรมไม่ได้เรียนร่วมกันกับคนต่างวัฒนธรรม  อะไรจะเกิดขึ้นใน 20 ปีข้างหน้า  กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้คิดเรื่องนี้เลย

ทางภาคใต้ผู้ปกครองกลัวเด็กจะหลงทางจึงอยากให้สอยศาสนา

เด็กหลงผิดต้องการชดใช้ด้วยชีวิต  เป็นทางลัดไปสวรรค์  เด็กเรียนปริญญาตรีน้อย  การชี้นำอยู่ที่โรงเรียน  ไม่ให้มาเรียนกับ”ซีแย”  มหาวิทยาลัยของรัฐ  รัฐเปิดโอกาสแต่เด็กไม่มาเรียนเอง

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

ทุกคนพยายามหาจุดร่วม  ความหลงผิดในความคิดความเชื่อ  การไม่เปิดใจในการรับรู้หรือเรียนรู้  อาจเชื่อว่าเป็นบาป  จึงมุ่งเรียนทางศาสนามากกว่า  ทำให้ขบวนการใช้เยาวชนจากการหล่อหลอมจากสถานศึกษา  มีการบ่มเพาะจากครูสอนศาสนาบางคนทำให้เกิดความเข้าใจผิด

การให้ความรู้กับผู้สอนน่าจะมีความสำคัญ  ต้องทำไปพร้อมกับการพัฒนาความเป็นอยู่  สถานภาพของครูผู้สอนศาสนา  จะไม่มีการถ่ายทอดสิ่งที่ผิดไปสู่เยาวชนต่อไป

อ. อับดุลเลาะ หะยียามา นายกสมาคมปัญญาชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้

ทางรัฐบาลส่งครูที่มีคุณภาพเข้ามาประจำที่หน่วยงานของ สพฐ.  ภาษาไทยดีมาก  แต่ทำให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขาด

การบริหารโรงเรียนต้องมองด้านความมั่นคง  ปัจจุบันแย่มาก  ภาษาไทยแย่มาก  อยากให้ส่งครูภาษาไทยมาช่วยภาคใต้มากๆ  ปัจจุบันที่ว่ามีการชี้นำไม่ให้เรียนด้านวิชาชีพ  การเรียนในศาสนาอิสลามมีวิชาที่บังคับในศาสนา  แต่วิชาแพทย์ วิศวะ  การบริหารจัดการก็ไม่ค่อยนิยมเรียนกัน

คนที่เก่งๆทางใต้จะไปเรียนที่มาเลเซีย  เรียนจบก็ไม่กลับมา  เป็นบุคคลสำคัญๆที่มาเลเซีย

สว. อนุศาสตร์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี

การศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเน้นปริมาณ  ไม่เน้นคุณภาพเพราะเงินอุดหนุนจากรัฐบาล  เม็ดเงินที่ลงไปสูงมาก  แต่ขาดการดูแล  คุณภาพมีปัญหา

มิติของความรุนแรง  มีความเกลียดชัง ความโกรธแค้น  ความหวาดระแวงระหว่างคน 2 ศาสนาที่รุนแรงและขยายตัวมากขึ้น

Mini Civil War  อาจเกิดขึ้น  อ้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  มีการติดอาวุธให้กับประชาชน  ตาต่อตา  ฟันต่อฟัน  อาจเกิดขึ้น

อ. โซรยา จามจุรี ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพชายแดนใต้

มีปัญหาความยุติธรรม  รัฐบาลตั้งหน่วยงานมาดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์  เรื่อง พรก. ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด

ผู้ต้องขังเป็นนักโทษการเมือง  ผู้ที่ถ฿กควบคุมตัวตาม พรก. พรบ. โดยไม่มีความผิด  ไม่มีการเยียวยา  คนเหล่านี้ขาดโอกาสทางการศึกษาและอาชีพการงาน  เสียชื่อเสียงและเสียโอกาส

ทั้งฝ่ายรัฐและขบวนการก็อ้างประชาชน  ต้องสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชน  ให้อิสระพอที่ขะบอกว่า  ต้องการอะไร?

สามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

อยู่มาหมดแล้วทั้ง 5 จังหวัด   ไม่อยากให้ shock กับความรู้สึกคำว่าขาดมนุษยธรรม  ภาคอื่นๆอาจเกิดเหตุการณ์ขึ้น  ประเทศไทยมีความสมานฉันท์สูงมาก

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาส ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล  สถาบันพระปกเกล้า

ปัจจุบันการศึกษามีปัญหาที่ต้องหาทางแก้ไข  ทหารเองก็หลงผิด  ไม่ใช่เฉพาะคนในพื้นที่ที่หลงผิด  อย่าเอาใจตัวเองเป็นที่ตั้ง  อยากให้เขาเหมือนเราจะหลงทาง  ต้องเอาใจเขาเป็นที่ตั้ง  ต้องศึกษาคนทางใต้ให้มากขึ้นกว่านี้

Post to Facebook Facebook


จะดับไฟใต้ได้อย่างไร ?

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 8 มกราคม 2012 เวลา 22:52 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14457

 

4 ตุลาคม 2554 17.00-19.00 น.   โรงแรมซีเอส ปัตตานี

เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

สว. อนุศาสตร์ สุวรรณมงคล  สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี

อ. โซรยา จามจุรี  ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพชายแดนใต้

อ. อับดุลเลาะ หะยียามา  นายกสมาคมปัญญาชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้

อ. อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง  อดีตกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ

อ. ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ  รักษาการประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้

นายลีโอ เจ๊ะกือลี  ผู้แทนเครือข่ายเยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ประชาสังคม

สว. อนุศาสตร์ สุวรรณมงคล  สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี

ความรุนแรงเป็นรูปแบบสัญญลักษณ์

- 25 มกราคม  พระภิกษุที่ออกบิณฑบาตรถูกยิงเสียชีวิต

- 3  กุมภาพันธ์  ที่ปอนาเละ  5 ศพ  มีศึกษานิเทศก์ 1 คน

- 11 กุมภาพันธ์  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ครู  สามีภรรยา 1 คู่ ถูกยิงแล้วเผา

- 3  มีนาคม  โต๊ะอิหม่ามถูกยิง

- 5 มีนาคม  พระสงฆ์ถูกยิงขณะบิณฑบาตร  เสียชีวิตและบาดเจ็บ

- 3 พฤษภาคม  มีการกราดยิง 4 ศพที่บันนังสะตา

เป็นการตอบโต้  เอาคืน  ล้างแค้น

 

อ. ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ  รักษาการประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้

ครูตายไป 148 คนแล้ว  จะดับไฟใต้อย่างไร?  คุยกันมา 38-39 ปีแล้ว  เป็นแบบนี้มา 100+ ปีแล้ว  คนที่อยู่จะช่วยอะไรได้บ้าง ?   การจะดับไฟใต้ต้องศึกษาให้รู้ชัดก่อนว่าตัวคนที่ก่อเหตุเป็นใคร ?

ฟันธง  บทบาทนี้เป็นของขบวนการแบ่งแยกดินแดน BRN คนในพื้นที่ทราบหมดแต่ไม่กล้าพูดเพราะเจ้านายไม่เชื่อ  ถ้าทราบความจริงจะตกตะลึง

เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ถ้ายังใช้แว่นอันเดิมดู  เสียหายแน่  ฝ่ายขบวนการจบ ปริญญาโท  ปริญญาเอก  ไม่ใช่เด็กติดยา  ต้องเห็นให้ชัดก่อนว่าใครก่อเหตุ   เรามัวแต่รักษาอาการข้างเคียง

เมื่อรู้คู่ต่อสู้ต้องทำ 3 เรื่อง

1. ต่อสู้ทางความคิด

2. ต่อสู้ทางการเมือง

3. ต่อสู้ทางทหาร

 

ต้องจัดองค์กรที่เหมาะสมเพื่อทำงาน  เพราะที่ผ่านมาหมดเงินไปหลายแสนล้านบาทแล้ว  ท่านปรีดีเสนอ  การขยายประชาธิปไตย  การพัฒนาคุณภาพชีวิต  การดูแลความยุติธรรมและการดูแลวัฒนธรรม  แต่ไม่มีใครทำ

คนที่มาทำงานด้านนี้จะรู้ทุกอย่างเมื่อเกษียณอายุราชการ  คนที่อยู่ภาคใต้มาตลอดชีวิต  ถ้าไม่สนใจก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน  พ่อแม่เด็กที่เสียชีวิตในการก่อความไม่สงบก็ยังไม่รู้เรื่องเลย  เหตุการณ์รุนแรงขึ้น  ไม่ดีขึ้น

แก้ไขมา 8 ปีแล้วไม่ดีขึ้น  เพราะแก้ปัญหาไม่ถูกทาง  โรงเรียนที่สอนอยู่เคยมีเด็ก 800 คน  หลังปี 47 มี 300กว่าคน    ปัจจุบันเหลือเด็ก 27 คน

อ. อับดุลเลาะ หะยียามา  นายกสมาคมปัญญาชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้

เคยเป็นครู  เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด  เคยกินข้าวแดง  ที่อาจารย์ประสิทธิ์พูดเป็นความจริง  ที่มีเหตุการณ์รุนแรงเพราะต้องการแยกดินแดน  ดูจากที่มีการติดป้าย  เขียนตามถนน

ข้อเท็จจริง  ดินแดนแถบนี้เคยเป็นดินแดนที่มีอธิปไตยมาก่อน  แทบทุกประเทศก็จะมีปัญหาแบบนี้  สิ่งที่สำคัญคือต้องมาพูดคุยกัน

นอกจากด้านประวัติศาสตร์ที่ขัดแย้งกันแล้ว  การปกครองของรัฐไทยก็ไม่มีความยุติธรรม  ตั้งแต่การสอบเข้าเรียน  การสอบเข้ารับราชการ  เด็กทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะไม่ค่อยรู้ภาษาไทย  การจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่ก็ไม่เป็นธรรม    การขาดการศึกษาและความยากจนทำให้มีปัญหา

การแก้ปัญหา  เอกสารการวิจัยทั้งของ มอ.  สถาบันพระปกเกล้า  หรือต่างประเทศก็มีมากมาย  ถ้าจะแก้ปัญหาต้องดูว่า  เขาอยากได้อะไร ?  อยากได้เอกราช  ให้ได้ไหม?  ถ้าให้ไม่ได้ก็ต้องพูดคุยกัน  เหตุการณ์ร้ายที่ยิงทหารกลางวันแสกๆต้องใช้คนมากกว่า 30 คนในการทำงาน

อะไรทำได้  อะไรทำไม่ได้ก็ต้องมานั่งพูดคุยกัน  ทำความเข้าใจกัน  ต้องเข้าใจความเป็นคนมลายูของคนที่นี่    ดูเรื่องความเสมอภาคในการเมืองการปกครอง  ด้านการศึกษา

นายลีโอ เจ๊ะกือลี  ผู้แทนเครือข่ายเยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ฝ่ายความมั่นคงมองเยาวชนไปในทางลบ  ต้องดูกันยาวๆ  ไม่ใช่ดูแค่วันสองวัน 

ฝ่ายรัฐเห็นว่าเป็นการก่อความไม่สงบ  แต่ชาวบ้านมองว่าเป็นองค์กรปลดปล่อยหรือเป็นการปฏิวัติ  รัฐต้องวิเคราะห์อย่างละเอียด

ฝ่ายก่อความไม่สงบสามารถทำได้หลายๆจุดในเวลาเดียวกันเพราะเป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี  จึงเป็นงานหนสักของเจ้าหน้าที่  การปฏิวัติมีการเสียสละ  เจ้าหน้าที่ต้องเสียสละเป็น 2 เท่าของพวกปฏิวัติ

องค์กรปฏิวัติต้องการอะไร?  มียุทธวิธีอย่างไร?  ขบวนการมีการวิเคราะห์ที่ดีมาก  ไม่ใช่ความผิดของทักษิณ  มีการวางแผนมาก่อนแล้ว  เพียงแต่เป็นโอกาสที่ที่ดี  ขบวนการมีการวางแผนอย่างรอบด้าน

เข้าใจ เข้าถึง  และพัฒนา เป็นแนวทางของในหลวง  แต่เจ้าหน้าที่เอามาทำกลับกัน  ไม่มีคำว่ารัก   ถ้าไม่มีคำว่ารัก  จะไม่มีวันเข้าใจ  เข้าถึง

ขบวนการมีการเสียสละเพราะความรู้สึกรักในความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน  อุดมการณ์ร่วมกัน  เข้าถึง   หน่วยราชการเข้าไม่ถึง  แต่ขบวนการเกาะติดในพื้นที่

การดับไฟใต้ต้องคุยกันยาวมาก  การแก้ปัญหาในพื้นที่ไม่ใช่แก้ด้วยการหยิบยื่นให้   แต่ต้องให้ประชาชนกำหนดชะตากรรมเอง  เป็นความสงบระยะยาว

การแยกเป็นอิสระ  ขบวนการก็ไม่มีความสามารถในการปกครอง  ก็ยังคงมีปัญหาอยู่ดี

 

อ. โซรยา จามจุรี ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพชายแดนใต้

ทำงานด้านการเยียวยามามาก  ไม่ใช่แค่เสียชีวิต 4,000 กว่าคน  แต่การเป็นกำพร้า  หม้ายก็เป็นปัญหาในพื้นที่  ตอนหลังคุณหมอเพชรดาว  โต๊ะมีนา ก็มาทำงานด้านการเยียวยาแทน

ผู้หญิงเสียชีวิตในเหตุการณ์  333 คน  บาดเจ็บ 1,606 คน  และยังเป็นเหยื่อทางอ้อม  ผู้หญิงและเด็กไม่น่าจะต้องมาเป็นเหยื่อทางอ้อม  มีหญิงหม้ายประมาณ 2,000 คน  เด็กกำพร้าอีก ประมาณ 5,000 คน  เป็นปัญหาครอบครัวและด้านจิตใจ

มีการจัดหานมให้เด็กทารก  ทุนการศึกษาให้ลูก  จักรเย็บเพื่อให้ประกอบอาชีพ  ระยะหลังรัฐก็เริ่มเข้ามาดูแลเรื่องเหล่านี้

ตอนหลังนี้มาทำงานด้านการลดความขัดแย้งของคน 2 ศาสนา  ใช้เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพชายแดนใต้   มีการสื่อสารออกไปเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น  แล้วก้าวข้ามเหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างไร ?

มีรายการวิทยุ “เสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้”  มีเรื่องราวของเด็กสาวชาวไทยพุทธที่พ่อและปู่ตาย  แต่ไม่โกรธ  ไม่เกลียดมุสลิม

มีผู้หญิงมุสลิมที่สูญเสียสามีแต่ก็ยังใช้สันติวิธี

มีผู้คนจากทุกศาสนาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์  ถ้าไม่แก้ไขจะเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคต  การแก้ปัญหาก็ไม่ใช่แบบ “ไวไว” 

ต้องเจรจากับฝ่ายขบวนการ  แต่เป็นใครล่ะ ?  รัฐต้องแสวงหาแนวทางใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหา  รัฐบาลใหม่ควรส่งสัญญาณด้านบวกในการแก้ปัญหา  เช่น

- การให้ใช้ภาษามลายูควบคู่กับภาษาไทย

- การเตรียมให้พร้อมกับประชาคมอาเซียนก็ต้องให้ใช้ภาษามลายู  พูดเรื่องนี้สมัยก่อนก็คงมีคนต่อต้าน  แต่ปัจจุบันคงเห็นด้วย  ภาษาเป็นหัวใจของอัตลักษณ์

- มองที่ตัว Actor 

มีมวลชนอยู่ได้ตั้ง 7-8 ปีอย่างไร?  

โครงสร้างอำนาจรัฐไม่เป็นธรรมอย่างไร?

ความคิด  ทำไมคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม  ทำไมประชาชนจำนวนหนึ่งจึงยังสนับสนุน

มองด้านวัฒนธรรม  ศาสนา

ถ้ายังไม่เข้าใจตรงนี้ก็คงจะแก้ปัญหาไม่ได้  การคิดว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดนก็อาจใช้ยาแรงไป  ใช้กำลังในการปราบปรามก็ไปกระทบประชาชนผู้บริสุทธิ์   

 

Post to Facebook Facebook


สถานการณ์ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 8 มกราคม 2012 เวลา 20:10 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 13131

4 ตุลาคม 2554  10.15 –12.00 น. ศุนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่  โดยกรรมการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch)

ผศ. ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

มูฮำมัดอายุบ ปาทาน (ผู้สื่อข่าวมติชน, Bangkok Post  ประจำจังหวัดยะลา)

พันธกิจของ Deep South Watch 8nv

1. จัดการข้อมูล ความรู้

2. สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้สังคม

3. เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมในการร่วมคลี่คลายปัญหาความขัดแย้ง

ซึ่งต้องทำงานร่วมกันระหว่างภาควิชาการ  ภาคประชาสังคมและภาคสื่อสารสาธารณะ

มูฮำมัดอายุบ ปาทาน

การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ใช้ฐานคิดแบบความรู้สึกไม่พอต้องใช้ความรู้ด้วย

มีการเรียกร้องจากคนในพื้นที่  คนข้างนอกจะว่าอย่างไร?

7 ปีที่ผ่านมาบอกอะไรกับสังคมใหญ่ ?  แล้วจะเอาอย่างไรต่อไป ?

คิดแบบง่ายๆ  โจรกระจอก!!  ขาดการมองมิติทางวัฒนธรรม  ในต่างประเทศบางกรณีใช้ทหารเป็นล้านคนยังยุติปัยหาไม่ได้

การคิดจากคนข้างนอก  ใช้ฐานความรู้สึก  เป็นการคิดแบบเหมารวม  คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่ประเทศไทย  แต่เป็นคนกลุ่มใหญ่(ทางด้านภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม)ในเอเซีย  ไม่ว่าจะชอบไม่ชอบ  แต่พื้นที่เป็นมลายู  ถ้าลงพื้นที่จริงก็จะเห็น  ถ้านอนในโรงแรม  ไปไหนก็มีกำลังคุ้มกันก็จะไม่เห็น

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมีการจัดตั้ง  มีที่มาที่ไป  มีเป้าหมาย  ไม่ใช่ทำแบบงี่เง่า  เปลี่ยนการรบในป่ามาเป็นรบในเมือง  กระจายไปทุกที่  ทหารก็คงเอาไม่อยู่

ในปี 2547 มีขบวนการปล้นปืน  มีการก่อความไม่สงบ  ถ้าวิเคราะห์ดูถ้าขบวนการสามารถปล้นปืนได้  เหตุการณ์ต่างๆเด็กดี  เด็กเรียนมีส่วนร่วม  แต่มีการสร้างเรื่องราวเป็นเด็กติดยา ฯ

สิ่งที่กังวลคือ

1. ความรุนแรงในภาคใต้จะรุนแรงและเรื้อรัง  ความขัดแย้ง ความรุนแรงมีผลกับความรู้สึกของผู้คน  จะพัฒนาไปเรื่อยๆทั้ง 2 ฝ่ายซึ่งเป็นเรื่องที่อันตราย

2. การแก้ปัญหาภาครัฐ มีเจ้าภาพมาก  หลายหน่วยงานซึ่งเป็นเรื่องที่ดี  แต่ขาดการบูรณาการ  มีกฏหมายพิเศษหลายฉบับ

3. การละเมิดสิทธิมนุษยชนมาจากทั้ง 2 ฝ่ายทั้งรัฐและขบวนการ

ขบวนการคือใครก็มองไม่ตรงกัน  7 ปีแล้วยังไม่รู้ใครทำ  มีการทำ Scenario ก็พบว่า  ถ้ารัฐไม่ปรับ  ขบวนการไม่ปรับก็แหลก

การกระจายอำนาจน่าจะเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา  การแก้ปัญหาต้องร่วมกันทุกภาคส่วน

ชาวต่างชาติสนใจเรื่องภาคใต้มากขึ้น  ทำไม?

การทำงานทางการเมืองไม่น่าจะบรรลุผลถ้าดูจากข้อมูลเหตุการณ์  ด้านการทหารใช้กำลังพลจำนวนมากรวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์  แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น  มีการสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งสักวันหนึ่งอาจถึงจุดที่นานาชาติจะเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย

สังคมใหญ่อธิบายภาคใต้จากความรู้เก่า  การศึกษาวิจัยก็ฉาบฉวย  ยังอธิบายไม่ได้ว่าขบวนการใช้อะไรยึดโยงกิจกรรม  สังคมใหญ่ต้องเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น  ต้องสนใจ  ปล่อยให้ต่อสู้กันเองต่อไปไม่ได้  ต้องช่วยกันผลักดัน  ขบวนการไม่ต้องการแตกหักทางการทหารแต่ต้องการแตกหักทางการเมืองเพราะต่างชาติเริ่มให้ความสนใจ

รัฐไทยมีปัญหาในการจัดการคนกลุ่มน้อยในประเทศ  แต่เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่  สันติธานีให้ไปดูที่ Big C  Big C ใช้ภาษามลายู  เอกชนไปไกลกว่า  ภาษามลายูไม่ใช่ภาษาของผู้ก่อการร้าย  เป็นภาษาไทยภาษาหนึ่ง  เป็นภาษาพ่อภาษาแม่ของคนในพื้นที่

ถ้าจะดูตัวชี้วัดก็ดูง่ายๆว่าถ้าสถานการณ์ปกติจะมีคนมาขายไก่ปิ้งอยู่ที่หน้าโรงพัก  ไม่ใช่มีรั้วลวดหนาม  กระสอบทราย  อาวุธยุทโธปกรณ์เต็มโรงพัก

ฝ่านรัฐเริ่มจะเปลี่ยน  ต้องเปิดพื้นที่ให้คนเห็นต่างมาพูดคุยกัน  สร้างขบวนการพูดคุย  กระจายอำนาจให้ประชาชนมีส่วนร่วม  ต้องปรับโครงสร้างทางการเมือง

กิจจา อาลีอิสเฮาะ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

Deep South Watch เป็นศุนย์ที่รวบรวมข้อมูล  ได้รับการยอมรับ  อยากถามว่ารัฐบาลไม่ค่อยยอมรับฟังภาคประชาสังคมทั้งๆที่หน่วยราชการรายงานไม่ครบ

Deep South Watch ศึกษาว่าไม่ควรต่อ  พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แต่รัฐบาลก็ต่อ  เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การแก้ปัญหาไม่สำเร็จ

ผศ. ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

ข้อเสนอจากประชาชน ภาคประชาสังคมมักไม่ได้รับการยอมรับจากเจ้าหน้าที่ของรัฐแบบว่าเข้าทางโจร เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำงานในพื้นที่นานๆจะปรับตัวเริ่มใช้นโยบายสันติสุข  มีการเรียนรู้เกิดขึ้น

แม่ทัพภาค 4  ปัจจุบันเน้นต้องไม่ใช้ความรุนแรง  แต่ก็ยังมีคนที่เชื่อว่าต้องใช้ความรุนแรง  แต่หลายๆคนก็เริ่มเห็นตรงกันว่าจะไปถึงทางตัน

การกระจายอำนาจเริ่มเป็นแนวทางแก้ปัญหา  กฏหมายพิเศษก็มีปัญหาต้องปรับ

Deep South Watch ไม่ได้เสนอให้เลิกกฏหมาย  แต่ใช้อันอื่นได้ไหม?  คนที่ถูกจับกุมจะแก้ไขอย่างไร?  การไกล่เกลี่ยจะทำอย่างไร?  อยู่ที่กระบวนการเรียนรู้

Mindset ของเจ้าหน้าที่รัฐต้องเปลี่ยน  รัฐก็พยายามเปลี่ยน ก็ยังพอจะมีความหวังอยู่

ปัญหาเริ่มมานานแล้ว  ไม่ใช่เริ่มเกิดในปี 2547  รัฐไม่ต้องการให้ต่างชาติเข้ามายุ่ง  จึงพยายามเปลี่ยนภาพของขบวนการ   ไม่ต้องการยกระดับการต่อสู้  ให้เห็นว่าเป็นปัญหาของท้องถิ่น  ไม่ใช่ปัญหาระดับโลก

การเจรจาต้องให้คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศมาช่วยด้วย  แนวทางของขบวนการชัด  แต่อาจต่อรองได้  คนที่จับอาวุธขึ้นมาต่อสู้อย่างยาวนาน  เอาชีวิตตัวเองเข้าแลกแล้ว  คงจะให้จบง่ายๆไม่ได้  ต้องมีขบวนการพูดคุย ซึ่งจะนำไปสู่ขบวนการเจรจา

อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน  สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

ฟังมูฮำมัดอายุบ ปาทาน  ดูจากสถิติแล้ว  รัฐ  ขบวนการ  ภาคประชาสังคมก็ปรับต้ว

รัฐบาลใหม่  นโยบายภาคใต้ยังไม่ชัดเจน  แต่ทหารก็ปรับตัวมาก  การซ้อมทรมานก็ลดลง  องค์กรเอกชนเริ่มเข้มแข็งขึ้นในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ

โครงสร้างภาครัฐชัดเจนแต่ขาดการบูรณาการ  ถ้ารัฐไม่มีเอกภาพ  ปัญหาไม่จบ

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

ทางทหารก็พยายามทำอยู่ภาครัฐมีจุดยืนในการมองปัญหาแบบ Top Down   การแก้ปัญหาภาคใต้ต้องใช้มิติทางสังคม  คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการอะไร ?  รูปแบบการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ  ทำไมยังตอบสนองความต้องการของประชาชนไม่ได้

อยากฝาก Deep South Watch ต้องจัดทำข้อมูลที่มีคุณภาพมาตรฐาน  ต้องส่งสัญญาณทิศทางที่ควรจะเป็นว่ารัฐควรปรับนโยบายอย่างไร?  เพราะหน่วยงานของรัฐไมาสามารถประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พญ. เพชรดาว โต๊ะมีนา

เป็นคนที่อยู่ในพื้นที่และเป็นนักศึกษาหลักสูตรสร้างเสริมสังคมสันติสุขรุ่นที่ 2  ทำเรื่องสันติธานี มูฮำมัดอายุบ ปาทาน  ตั้งโจทย์ว่า  สังคมใหญ่มองปัญหานี่อย่างไร?  คนในพื้นที่ห้ามเลือด  เช็ดเลือด  นับศพ

การลงพื้นที่ดูงานจำเป็นมาก  นักศึกษารุ่นที่ 2 ก็ลงพื้นที่ดูงานแล้วก็พบเห็นว่าสิ่งที่เป็นอยู่ไม่ตรงกับที่เคยเข้าใจ  ฝ่านรัฐต้องการอำนาจ  ความมั่นคง  ฝ่ายขบวนการต้องการเอกราช

ประชาชนต้องการอะไร? การกระจายอำนาจ  ท้องถิ่นลักษณะพิเศษ  เขตปกครองพิเศษ  แบ่งแยกดินแดน  ……คำตอบคืออะไร?   อะไรจะตอบโจทย์ข้อเรียกร้อง 7 ข้อของหะยีสุหลง  ซึ่งเป็นคุณปู่

Post to Facebook Facebook


การศึกษาดูงานภาคใต้ตอนล่าง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 8 มกราคม 2012 เวลา 15:35 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1865

สันติสุข

ในการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุขของสถาบันพระปกเกล้า  นอกจากมีการเชิญนักวิชาการ  ผู้ที่รับผิดชอบทำงานด้านความมั่นคง  เจ้าหน้าที่ระดับนโยบายและผู้ปฏิบัติ ภาคประชาสังคม ปราชญ์ชาวบ้าน  ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบมาเป็นวิทยากรแล้ว  ยังมีการลงพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้ง  เพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสบรรยากาศจริงในพื้นที่  ได้รับฟังจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ที่อาจไม่สดวกที่จะเดินทางมาเป็นวิทยากร  การศึกษาดูงานในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรนี้

การศึกษาดูงานที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี  ยะลาและนราธิวาสในวันที่ 4-7 ตุลาคม 2554  ก็มีรายการ

- รับฟังสถานการณ์ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกรรมการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch)  ที่ห้อง Conferrence ศูนย์ประชุมนานาชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

- มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้  ในประเด็น “จะดับไฟใต้ได้อย่างไร?”

- ไปพบปะชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบๆมัสยิดกรือเซะ

- ไปเยี่ยมชมปอเนาะภูมีและเรียนรู้ชีวิตในวิถีปอเนาะ ที่อำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี

- ไปรับฟัง การอยู่ร่วมกันในวิถีพหุวัฒนธรรมที่ชุมชนทรายขาว ต.ทรายขาว อ.โตกโพธิ์ จ. ปัตตานี

- ไปเยี่ยมชมชุมชนสันติสุข บ้านบุดีฮีแล ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา

- ไปเรียนรู้วิถีปอเนาะที่ปอเนาะป่าพร้าว อ.กาบัง จ.ยะลา

- ไปอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็น ระบบการศึกษาตามวิถีอิสลาม ที่โรงเรียนดารุลกุรอานิลการีม  ต.ตะปอเยาะ อ.ยี่งอ  จ.นราธิวาส

- อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นระบบการศึกษาตามวิถีพหุวัฒนธรรม ที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส

- อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นบทบาทมัสยิดต่อวิถีชีวิตชุมชน กับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ที่มัสยิดกลางประจำจังหวัดนราธิวาส

- รับฟังบทบาทนาวิกโยธินต่อการสร้างสันติสุขในชุมชน ณ ค่ายจุฬาภรณ์ จ.นราธิวาส

- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็น จะดับไฟใต้ได้อย่างไร? กับเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวแทนกองทัพภาคที่ 4 ณ ค่ายสิริธร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

รายการเต็มเหยียด  แถมด้วยการถอดบทเรียนในกลุ่มนักศึกษากันเองในภาคกลางคืน

Post to Facebook Facebook


การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐกับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 3 มกราคม 2012 เวลา 23:17 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14221

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

3-1-2555 21-10-16

3-1-2555 21-03-02

6189241502_d11ef4a0a0

3-1-2555 21-02-12

3-1-2555 21-05-06

3-1-2555 21-05-33

ข้อมูลจาก Deep South Watch  http://www.deepsouthwatch.org/

อาจารย์ให้ข้อมูลเหตุการณ์ จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

สมัยรัฐบาลที่แล้วมีโครงการ Microproject ย่อยๆ เต็มไปหมดเพื่อยกระดับรายได้  แต่ชาวบ้านเอาไปกินหมด  เป็นการให้แบบ Top Down

สาเหตุที่โครงการพัฒนาต่างๆไม่สำเร็จเพราะ

1. การกระจายไม่เท่าเทียมกัน  เพราะกระจายผ่านท้องถิ่น

2. ความไม่โปร่งใส การทุจริตของข้าราชการ

3. การจัดการไม่ดี

4. ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม

การใช้งบประมาณจำนวนมากลงไปพัฒนาแล้วได้ผลไม่เต็มที่  แต่ก็ไม่ควรเลิก  ควรปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีทำงาน

กิจจา อาลีอิสเฮาะ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

ดูกราฟผู้เสียชีวิตเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ค่อนข้างสูงเป็นเพราะเหตุใด ?

เมื่อต้นสัปดาห์ไปรับฟังข้อมูลและสถานการณ์ในอาเจะห์  อินโดนีเซียที่สถานฑูตอินโดนีเซีย  เทียบกับประเทศไทย  ถ้าประชาชนต้องการปกครองตนเอง  ต้องการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เอง  สามารถทำได้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไหม?

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่ทำงานด้านความมั่นคงเสียชีวิตมากเพราะ

- ส่วนใหญ่ทำงานอย่างแข็งขันในการทำงานให้รัฐ  เป็นสาย  แจ้งข่าวให้กับทางราชการ

- อาจมีเรื่องส่วนตัวบ้าง

- กลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากโครงการของรัฐ

กรณีอาเจะห์  ข้อเรียกร้องในการปกครองตนเองและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเองก็มีการพูดคุยถกเถียงกันมาก  เป็นข้อเรียกร้องที่สำคัญอันหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้ง  ในการจัดการปัญหาชายแดนภาคใต้  แต่เหตุการณ์ความรุนแรงยังสูงมาก  เลยมีการเสนอเรื่องเขตปกครองพิเศษเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหา

กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้  เรื่องอัตลักษณ์  เชื้อชาติ  ศาสนาจะชัด  แต่เรื่องทรัพยากรธรรมชาติยังไม่ชัดเจน

อาเต็ป โซ๊ะโก ประธานเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน

มีการเลือกเป้าหมายไหม?  ในหมู่บ้านที่ย้ายถิ่นลงไปอยู่ใหม่น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของขบวนการฯ

การพูดคุยกันยังมีปัญหาในประเทศไทย  แต่เป็นงานการข่าวมากกว่า  บรรยากาศยังไม่ส่งเสริมการพูดคุย

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

Peace Talk มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องแต่ไม่เปิดเผย  สมช. รับผิดชอบ  มีการพบปะกัน

หน่วยงานที่ทำงานในพื้นที่ก็ดำเนินการเฉพาะงานในพื้นที่  การพูดคุยกันยังต้องผ่านการสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจกันก่อน  ซึ่งยังไม่ประสบความสำเร็จ

จากการถอดบทเรียนจากต่างประเทศ  ความรุนแรงจะสูงมาก  แล้วผ่านกระบวนการต่างๆให้เกิดจุดเปลี่ยน (Turning Point) ก่อน

ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงอยากเจรจาหาทางออกอย่างเต็มที่

ปัญหา: สถานการณ์ในประเทศไทยมาถึงจุดเปลี่ยน (turning Point) หรือยัง?  อาจารย์คิดว่ายังไม่ถึงจุดนี้  เพราะฝ่ายขบวนการคิดว่ายังไปต่อได้  รัฐก็คิดว่ามาถูกทางแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่ยอมรับการเจรจากัน

การเจรจาต้องมีหลายช่องทาง (หลาย Tracts )

มีขบวนการจงใจทำร้ายคนไทยพุทธโดยเฉพาะที่เป็นไข่แดงในชุมชนมุสลิม  โดยเฉพาะนิคมสร้างตนเองในพื้นที่ที่มีการอพยพของชาวอีสาน

อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน  สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

การใช้ พรบ.ความมั่นคง เหมือนเป็นซ้อนรัฐ  ทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำงานได้ตามนโยบาย  เพราะมีรัฐ (กอ.รมน.) ทำงานอยู่   การปกครองส่วนภูมิภาคก็เป็นปัญหาในการกระจายอำนาจ  แล้วยังมาเจอรัฐซ้อนรัฐอีก

สมัยก่อน ศอ. บต. ควบคุมทหาร  ปัจจุบันคุมไม่ได้  การตรวจสอบการใช้งบประมาณก็ลำบากมาก  การใช้งบประมาณด้านความมั่นคงมีลักษณะเอาใจ  มีการทัศนศึกษาดูงาน  แต่เม็อเงินตกข้างนอกพื้นที่

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

มาจาก กอ.รมน.  เรื่องรัฐซ้อนอำนาจรัฐ  รัฐมีความสับสนในการกำหนดนโยบาย  แสดงออกทางการใช้กฎหมาย

รัฐมี พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  ให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ   มี พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ให้ กอ.รมน. รับผิดชอบ  แต่รัฐใช้ทั้ง 2 เลย

ข้อเสนอ

1. ยกเลิก พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

2. ยกเลิกกฏอัยการศึก

3. ปรับปรุง  พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551

รัฐยังมองปัญหาไม่ชัด  นโยบายเลยไม่ชัด

พล.ต.ต. วิศิษฐ์ เอมประณีตร รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

Deep South Watch มีประโยชน์มาก  นอกจาก Watch แล้ว  มีการ Take Action อะไรบ้าง ?  มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอย่างไร?

เห็นด้วยว่าความไม่มีเอกภาพของรัฐบาลทำให้การทำงานไม่ได้ผล  ไม่มีการบูรณาการ  ขาดการประเมินผล  ขอความเห็นจากอาจารย์

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

รัฐซ้อนรัฐ ของ อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ กฏหมายความมั่นคงมีทั้งผลบวกและลบ  รัฐบาลใช้กฎหมาย 4 ฉบับพร้อมๆกัน

1. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ.อาญา)

2. พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

3. พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551

4. กฎอัยการศึก

พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรต่างจาก พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  คืออำนาจการจับกุมไม่มีระบุไว้  แต่มีอำนาจในการตรวจค้น  เป็นการจงใจไม่ให้มีการละเมิดประชาชนมากเกินไป  มีความยืดหยุ่นสูง  สามารถมามอบตัว  ลบล้างความผิดได้ซึ่งกำลังมีการทดลองใช้อยู่

องค์กรต่างๆมีข้อเสนอแนะและผลการศึกษาวิจัยในกรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากมาย  แต่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ไม่ได้นำเอาไปใช้ทั้งหมด  มีการนำไปใช้บ้าง

ระยะหลังในกรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการใช้ผลการวิจัยมาปรับนโยบายและยุทธศาสตร์มาก  น่าจะทำให้ประสบความสำเร็จได้

พล.ต.ต. วิศิษฐ์ เอมประณีตร รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ตั้งแต่ปี 2547 มีการย้ายถิ่นฐานมากน้อยแค่ไหน?  เพราะขบวนการมีนโยบายลดการต่อต้าน  คือดำเนินการให้มีการย้ายถิ่นฐานออกจากพื้นที่

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตตภิรมย์ศรี

มีการศึกษา  แต่ตัวเลขยังไม่ชัดเจน  ตัวเลขประชากรที่หนี  มีอยู่แล้วจากการย้ายออกไปทำงานนอกพื้นที่ค่อนข้างสูง

คนมุสลิมไปทำงานที่มาเลเซีย 1-2 แสนคน

ชาวไทยพุทธที่ย้ายออกจากพื้นที่ก็มีมากเพราะบุตรหลานจะไปเรียนนอกพื้นที่  จบแล้วไม่กลับบ้าน  เลยหาตัวเลขยาก

ปี 2546  สำรวจแล้วมีประชากร 1.8 ล้านคน  เป็นไทยพุทธ 20%  มุสลิม 80%

จากข้อมูลประมาณการ  มีการย้ายออกของชาวไทยพุทธประมาณ 1 ใน 3   ก็หายไปประมาณ 1 แสนคน     มุสลิม 2  แสนคน  แต่เป็นการออกไปทำงานนอกพื้นที่

แนวร่วมไม่ทราบแต่ประมาณว่าน่าจะมี 8-10%  ของประชากร  ข้อมูลทางตำรวจคาดว่ามีแกนนำ 8-9 พันคน

Silent Majority จะเป็นผู้ตัดสิน  ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็แย่งชิงมวลชนกันอยู่แล้ว

พล.ต.ต. วิศิษฐ์ เอมประณีตร รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ยุทธวิธีเปลี่ยนไป  ขบวนการจะลงมือน้อยครั้งลง  แต่ความรุนแรงและความสูญเสียจะสูงขึ้นมาก  เกิดจากอะไร?

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

กำลังของรัฐลงไปในพื้นที่มากขึ้น  มีการลดระดับความรุนแรงลง  แต่ระยะยาวไม่ได้ผล  สงครารมเวียตนามก็เหมือนกัน  มันจะเปลี่ยนรูปไป (Transform) เป็นความรุนแรงที่ยืดเยื้อ  เหตุการณ์เกิดขึ้นน้อยครั้งแต่ความรุนแรงสูงจะทำให้รักษาฐานการสนับสนุนเอาไว้ได้

ประชาชนคิดว่าถ้าถอนกำลังออกเหตุการณ์จะดีขึ้น  แต่ทางรัฐไม่มั่นใจ  การเพิ่มกำลังลงไปในพื้นที่เป็นการเพิ่มเงื่อนไขใหม่

สันติภาพจะเกิดขึ้นได้จากการรบชนะ  (Victorious Peace)  หรือจากทางการเมือง

การรบชนะ (Victorious Peace) จะทำได้ไหม?  ไม่น่าจะทำได้  อันตรายมาก

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

รูปแบบการปกครองท้องถิ่นทำไมไม่สามารถสนองความต้องการในจังหวัดชายแดนภาคใต้  มีการกระจายอำนาจมาก  แต่ทำไมยังไม่เป็นที่พอใจ ?

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

นายก อบต.  80% เป็นมุสลิม  กระจายอำนาจแล้วทำไมมีการเสนอเรื่องท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอีก ?

ภายใต้การปกครองปัจจุบัน  อำนาจยังไม่กระจายจริง  ยังถูกควบคุมจากรัฐบาลกลางและส่วนภูมิภาคสูงมาก

การกระจายอำนาจยังไม่สมบูรณ์

ยังมีโครงสร้างอำนาจทางวัฒนธรรมครอบงำอยู่  ทำให้เกิดความเข้าใจว่าเขตปกครองพิเศษหรือท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอาจจะทำให้เงื่อนไขดีขึ้น  ลดความรุนแรงลงได้ในระยะยาว

เงื่อนไขของความรุนแรง

เงื่อนไขเชิงโครงสร้าง(Structural Violence) ความไม่เท่าเทียมกัน  ความด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ

เงื่อนไขเชิงสัญญลักษณ์ (Symbolic Violence) อัตลักษณ์  ภาษา  วัฒนธรรม  ประวัติศาสตร์  ชาติพันธุ์  ศาสนา

สามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

เป็นคนที่อยู่ในพื้นที่มาตลอด  การปกครองท้องถิ่นทุกรูปแบบเป็นที่ชื่นชมของประชาชน  กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็หันมาทาง อบต. มากขึ้น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีอำนาจเต็มที่  คนยังมองว่าภูมิภาค  มหาดไทยยังมีอำนาจอยู่ซึ่งไม่เป็นความจริง  ปัจจุบันนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องไปหาท้องถิ่น

ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำได้ทุกอย่าง  แต่ก็มีกรอบการใช้งบประมาณอยู่

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

การคลุกคลีในพื้นที่ไม่เห็นความจำเป็นต้องเป็นเขตปกครองพิเศษ  เป็นการมองจากภายนอกเข้าไปหรือไม่?  ตามพรบ.แผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ในอนาคตบทบาทของภูมิภาคต้องไปอยู่ที่ท้องถิ่นอยู่แล้ว

Post to Facebook Facebook


ซักถาม: - ความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์และแนวทางสันติวิธีในการจัดการปัญหาความรุนแรง: กรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 3 มกราคม 2012 เวลา 19:57 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1877

ณัฎฐ์ วัลลิโภดม ผู้อำนวยการพรรคกิจสังคม

ฟังแนวคิดของวิทยากรแล้วทำให้เข้าใจอะไรๆมากขึ้น  แต่ปัจจุบันแนวคิดแบบนี้หายไป

คนในชนบทนับถือสรรพสิ่ง  แต่คนกรุงเทพฯ คนในเมืองไม่รู้จะเอาอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว  หรือจะเป็นพุทธพาณิชย์

อยากถามความคิดเห็นกรณีของความขัดแย้งระหว่างกะเหรี่ยงที่เพชรบุรีกับทางราชการ

พ่อหลวงจอนิ

จะอยู่ไปวันๆหรือมีอะไรมากกว่านี้

คนเรามี 5 กลุ่ม

1. อยู่ไปวันๆ

2. หาทางออก

3. ไปตามกระแส

4. กลุ่มเรียกร้อง

5. ต้านกระแส

คน 100 คนจะเหลือ 20 คน  ต้านกระแส

อยู่บ้านเลี้ยงความก็เรียนหนังสือได้  เข้าเมืองเรียนหนังสือเป็นคน 2 วัฒนธรรมก็ได้

กรณีเพชรบุรี  ทางราชการถือว่ามีการทำไร่เลื่อนลอย  ทำลายป่า  แต่ความเป็นจริงกะเหรี่ยงอยู่ที่ไหนป่ายังอยู่ ที่ที่ไม่มีกะเหรียง ป่าหมด

ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากกลุ่มนายทุนที่บุกรุกที่ดินปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนานใหญ่  และทำรีสอร์ต  คนรุ่นใหม่อยากได้เงินเลยเกิดปัญหา

เมื่อร้อยกว่าปีก่อนเอาป่าไม้ขายให้ฝรั่ง  อธิบดีป่าไม้ 2-3 คนแรกๆเป็นฝรั่ง  ป่าหมดเลยโทษกะเหรี่ยง  กะเหรียงรุ่นใหม่บางคนก็มีปัญหาจริง  แต่อย่าเหมารวมกันหมด

แต่กะเหรี่ยงถูกอพยพออกมาหลายกลุ่ม  บอกว่าให้ที่ทำกิน 5 ไร่  แต่จริงๆมีแค่ 5 งาน  เลยไม่มีข้าวกิน  วิถีชีวิตคนในป่ากับคนในเมืองมันคนละวิถี  คุยกันไม่รู้เรื่อง

กะเหรี่ยงไม่ได้อยู่ไปวันๆ  ต้องมีภูเขา มีสวน มีนา มีบ้าน มีวัว  มีควาย  ต้องมีประชาธิปไตยที่กินได้  สันติวิธีแบบชาวบ้าน  ทำความเข้าใจไป  พูดคุยกันไป  สาปแช่งไป  เรียกร้องไป

อ. ตีละพี อะตะบู

พูดเรื่องสถาบันครอบครัว  การบ่มเพาะความรู้ให้กับลูกหลาน  กระบวนการ 5 ร. เพื่อแก้ปัญหาในครอบครัวและสังคม

อย่าด่วนสรุปปัญหาแต่ใช้กระบวนการ 5 ร.  รู้จักเหตุเพื่อแก้ปัญหาที่เหตุ

อิสลามก็สอนให้แก้ปัญหาอย่างมีหลักเกณฑ์  ประชาธิปไตยเริ่มจากในสถาบันครอบครัว  ในครอบครัวมีพ่อ แม่ ลูก  มีประชาธิปไตยในครัวเรือนอยู่แล้ว  ถ้าไม่มีก็จะรู้สึกถูกกดดัน  ต้องมีการพูดคุยกันในเวลาที่เหมาะสม

คนโบราณในภาคใต้  สอนให้มีสมาธิอยู่กับตัว  แน่วแน่  ไม่เครียด  จะเกิดสติตามมา  สติมาปัญญาเกิด  ปัญญาก็ทำให้ควบคุมอารมณ์ได้

ศาสนาอิสลามแบ่งอารมณ์เป็น 7 ขั้น  อารมณ์ที่เป็นอารมณ์ที่ดีมากๆจะนำเราไปสู่สวรรค์

มุสลิมก็มีการฝึกสมาธิ  มุสลิมกับพุทธคล้ายหรือเหมือนกันมาก

ประชาธิปไตยต้องมีสมาธิทุกต้องมีสมาธิ เกิดสติ เกิดปัญญา  ควบคุมอารมณ์ได้  ต้องมาเป็นขั้นตอน

ประชาธิปไตยแบบชาวบ้านเป็นประชาธิปไตยที่มีชีวิต  มีอิสระ เป็นจริงได้  ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับชาติ  เป็นวิธีคิดแบบสันติวิธี  คนเราจะอยู่ด้วยกันแล้วแก้ปัญหาร่วมกันอาศัย สมาธิ สติ ปัญญา และการควบคุมอารมณ์ระดับต่างๆ

นิทานของพ่อหลวงจอนิก็เห็นสรรพสิ่งมีชีวิต  ล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัว

คนในเมืองคิดเรื่องใกล้ตัวแค่ไหน?  มีความพร้อมที่จะเผชิญปัญหาและพร้อมที่จะแก้ปัญหาโดยไม่เครียดได้ไหม?

คนในเมืองอย่ามองคนต่างวัฒนธรรมอย่างเหมารวม

ชาวเขาไม่ได้ทำลายป่าหมดทุกคน  ใช้ปัญญาชาวเขามาช่วยรักษาป่า

ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่าเหมารวมว่าชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นขบวนการก่อความไม่สงบไปหมด

สุมล สุตะวิริยะวัฒน์  สมาชิกวุฒิสภา

สุมล 1

เป็นชาวเพชรบุรี  ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ได้รังแกชนกลุ่มน้อย  แต่ต้องการรักษาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  ต้องการให้ชนกลุ่มน้อยอยู่เป็นหลักแหล่ง  หัวหน้าอุทยานฯ คนแรกเป็นคนเมืองเพชร  แต่คนต่อๆมาไม่ทำตามนโยบาย  เลยเกิดปัญหา

ปัจจุบัน หัวหน้าอุทยานฯ เป็นคนเมืองเพชรอีกครั้ง  ต้องการดูแลชนกลุ่มน้อย  พยายามให้ชาวกะเหรี่ยงมาอยู่ที่บ้านโป่งลึกและบ้านบากอย

มีพวกที่ข้ามมาจากต่างชาติ  มีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยแต่ไม่มีคนอยู่อาศัย  ไม่มีการทำกิน  เลยต้องรื้อและเผาทิ้งเพราะกลัวเป็นแหล่งซ่องสุม  ที่อำเภอหนองหญ้าปล้องก็เป็นชนกลุ่มน้อยเกือบทั้งหมด

พ่อหลวงจอนิ

ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้ มีข้าวกิน

ญี่ปุ่นที่โตเกียวที่ดินแพงมาก  ต้องทำความอบอุ่น  แต่ที่บ้านอยู่กันมา 300 กว่าปีแล้ว  ไม่ต้องมีเครื่องทำความร้อน  ไม่ต้องมีแอร์  ประหยัดไปเยอะ

ที่สำคัญต้องสร้างความภูมิใจ  ต้องเข้าใจ  กะเหรี่ยงอยู่ทั้งไทยทั้งพม่า  ภาคใต้คนมลายูก็อยู่ทั้ง 2 ประเทศ  ที่น่านก็มีขมุอยู่ทั้ง 2 ประเทศ   “ทั่วโลก ทุกสิ่งมีชีวิต มีตากลม”

ณัฎฐ์ วัลลิโภดม ผู้อำนวยการพรรคกิจสังคม

ทุกศาสนามีประชาธิปไตยของตัวเอง  ประชาธิปไตยเริ่มจากครอบครัว  ขยายสู่สังคม

ปกากะญอ  เกิดจากความเชื่อจิตวิญญาณอยู่กับธรรมชาติจนกลายเป็นประชาธิปไตย  มีกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน

คนกรุงเทพฯ ก็ใช้กฎหมาย  แต่พอมีความแตกแยกทางความคิดก็ไม่รู้จะทำอย่างไร?

Post to Facebook Facebook


ความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์และแนวทางสันติวิธีในการจัดการปัญหาความรุนแรง: กรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 2 มกราคม 2012 เวลา 15:35 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2784

14 ตุลาคม 2544  9.30-12.30 น.

อ.จิราพร บุนนาค

พ่อหลวงจอนิ นักสู้แห่งขุนเขาเพื่อสิทธิที่ทำกินของชาวกะเหรี่ยง ในอ.แม่วิน จ.เชียงใหม่

อาจารย์ตีละพี อะตะบู ครูภูมิปัญญาไทย ศิลปกรรมพื้นบ้าน (การทำกริช)

เริ่มจากคำถาม “ถามพ่อหลวงจอนิ  เรื่องน้ำท่วม  ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร?”

พ่อหลวงจอนิ

จอนิ

60 กว่าปีที่แล้วก็มีฝนตกหนักขนาดนี้ แต่ตกถึงเดือนธันวาคม  ปัญหาจึงแตกต่างออกไป

900 กว่าปีก่อน  อุกาบาตเคยตกใกล้บ้าน

หลายร้อยปีก่อนมีหินถล่ม น้ำท่วม เสียชีวิตกันมากมาย

สมัยนี้เราเรียนความรู้ด้านต่างๆมากเกินไป  แต่เรียนรู้ภาษาธรรมชาติน้อยเกินไป  เดิมยกบ้านสูงเวลาน้ำมาก็ลอยๆกระทงสนุกสนานกันเป็นวัฒนธรรม  ปัจจุบันเลยเครียดรู้แต่เทคโนโลยี  มาอยู่ที่ราบแต่สร้างบ้านติดดิน  ลืมเรื่องเหล่านี้ไป  ต้องมีแก้มลิง  ต้องสนุกกับน้ำท่วม

มัวแต่ห่วงทรัพย์สมบัติ  ห่วงมือถือ  ห่วงไฟฟ้า (ก็มันมีกลางวันกลางคืนอยู่แล้ว)

ที่ทะเลาะกันมี 5 ปัจจัย

1. ความเชื่อ

2. ทรัพยากรธรรมชาติ

3. อำนาจ

4. สิทธิ ชายหญิง สิ่งมีชีวิต

5. ผลประโยชน์ เงินตรา

ทางแก้ไข  ความเชื่อปกากะญอบอกว่า ความเป็นจริงคือร้องไห้  ร้องตั้งแต่เกิด  ถ้ายิ้มมาตั้งแต่เกิดก็ผิดปกติ  แต่งงาน  ตายก็ร้องไห้  ถ้าลืมไปก็จะร้องไห้ไม่เป็น  เพราะเอาเงินตราเป็นที่ตั้ง

ในโลกมีความเชื่อมากมาย ต้องแบ่งปันกัน ทรัพยากรก็ต้องแบ่งปันกัน  อำนาจก็ต้องแบ่งปันกัน  สิทธิชายหญิงก็เช่นกัน  ผลประโยชน์ เงินตราก็ต้องแบ่งปันกัน

พื้นที่ก็ต้องแบ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์  ทำกิน  อยู่อาศัย  แบ่งเป็นป่าช้า เลี้ยงผี ฯ

อย่าหวังน้ำบ่อหน้า  ต้องหวังน้ำบ่อหลัง

ไปลอนดอน ญี่ปุ่นก็เห็นมันมีขอทาน  มันก็มีตากลมๆ  มันก็อยู่บนดิน  มันก็กินข้าว

ตัวพ่อหลวงจอนิก็เป็นพุทธครึ่งนึง  เป็นคริสต์ครึ่งนึง  เป็นพวกนับถือผีอีกส่วนหนึ่ง

อาจารย์ตีละพี อะตะบู

อะตะบู

อาจารย์อยู่ที่ อ.รามัญ จ.ยะลา  ลุ่มน้ำสายบุรี

มีปัญหาน้ำท่วมเหมือนกัน  เดิมคนก็อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำ  ริมแม่น้ำ ริมคลอง  บ้านก็ยกสูงและทุกครัวเรือนมีเรือ  เดิมน้ำท่วมก็อยู่กันได้  ปัจจุบันปลูกบ้านติดดิน  เวลาน้ำท่วมก็คือท่วมหลังคาบ้าน  เพราะฝืนธรรมชาติ   ไม่เข้าใจวิถี

พูดเรื่องความเข้มแข็งของชุมชนขอยกเอาเรื่องมือมาคุย

นิ้วมี 5 นิ้วคือกระบวนการ 5 ร. ซึ่งได้มาจากการวิจัยเรื่อง กริช

สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่สอน ภาษา วัฒนธรรม  วิถีชีวิต

มือเป็นอวัยวะที่มีกำลัง  มี ม. ม้า คือกำลังหรือพลัง (ฝรั่งก็ใช้ Horse Power)    มีสระ อิ  คือใบไม้  มาช้อน มาหุ้ม  มาห่อ   มีสระอื  เหมือนตะเกียบแปลว่ามีนิ้ว    มี อ. อ่างเท่ากับมาตัก  มาตวง

ช่างทำกริชห้ามสอน  ห้ามถ่ายทอดวิชาให้คนที่ประวัติไม่ดี  ความประพฤติไม่ดี

การแก้ปัญหาชีวิต  ใช้กระบวนการ 5 ร. คือ รู้จัก รู้ใจ  รู้จริง  รู้รักสามัคคี  รู้จักทำงานหรือทำงานเป็น

นิ้วก้อย คือรู้จัก  นิ้วนางคือรู้ใจ  นิ้วกลางคือรู้จริง  นิ้วชี้คือรู้รักสามัคคี  และนิ้วหัวแม่มือคือรู้จักทำงานหรือทำงานเป็น

ขบวนการ 5 ร. เป็นวิชาของสถาบันครอบครัวในทุกเชื้อชาติ

อ.จิราพร บุนนาค

ความเชื่อมโยงของขบวนการ  5 ร. เริ่มจากสถาบันครอบครัว  เป็นขบวนการสันติวิธี

พ่อหลวงจอนิก็พูดถึงสาเหตุของความขัดแย้ง 5 ประการที่ต้องแบ่งปันกันเหมือนนิ้วทั้ง 5 ของมือ

ปัญหา 5 ประการก็มีแนวทางแก้ไขปัญหามาตั้งแต่อดีต

ฐานรากของประชาชนจะเข้มแข็งได้  ถ้าไม่ละทิ้งปรัชญา  ภูมิปัญญา  วิถีชีวิต  จะหวังน้ำบ่อหน้าก็อย่าลืมน้ำบ่อหลัง

พ่อหลวงจอนิเล่านิทานให้ฟัง  สรุปได้ว่า  คนสมัยก่อนจะทำงานด้วยการอาศัยข้อมูลคือรู้จริงในสิ่งที่ทำ  มีการประเมินทุก 7 วันว่าอะไรดี  อะไรไม่ดี  สำรวจทั้งร่างกายและจิตใจตัวเอง

Post to Facebook Facebook


ซักถาม - แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 2 มกราคม 2012 เวลา 13:35 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 12092

อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน  สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

สนใจเรื่องการกระจายอำนาจ  ปัญหาที่เกิดขึ้น  ผู้ว่าราชการจังหวัด  นายกเทศมนตรีเป็นแค่ Messenger

การศึกษา ถ้าจัดโดยเทศบาลจะดีมาก  แต่ถ้าเป็น อบต. ยังมีบทบาทน้อยมาก  ยังไม่มีคว่มเข้าใจในการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง

พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ  นายกเทศมนตรีนครยะลาฃ

การจัดสรรงบประมาณโดยหลักเกณฑ์ที่เหมือนกันทำให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหา  ได้เงินน้อยกว่าแต่รับผิดชอบมาก (เบี้ยเสี่ยงภัย)

การไม่บูรณาการทำให้เกิดปัญหา

การศึกษาต้องกระจายอำนาจลงไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การศึกษาล้มเหลวเพราะ

1. การถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นล่าช้า  คนมุสลิมไม่นิยมเรียนในระบบ  แต่ที่เทศบาลนครยะลาเด็กเพิ่มทุกปี  ผู้บริหารท้องถิ่นมีความรับผิดชอบทางการเมือง

2. การศึกษาที่จัดโดยเอกชนมี สช. ดูแล เป้าหมายสุดท้ายถ้าเป็นผลกำไร  ทำในเชิงธุรกิจก็จะมีปัญหา  ต้องพัฒนาหลักสูตรอีกมาก

3. การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ  ระบบ  หลักสูตร  สถานที่ บุคคลากรก็มีปัญหา  มีคำพูดของชาวบ้านว่า

“ อย่าไปเรียนโรงเรียนของรัฐบาล  ครูไม่สอนหนังสือ”…

“ผู้บริหารโรงเรียนประชุมในส่วนกลางจนไม่มีเวลาอยู่ในพื้นที่”…

“ ห้องเรียนอ่อนแอ (ห้องเรียนเป็น cell เล็กๆ)   โรงเรียนก็อ่อนแอ  การศึกษาก็อ่อนแอ”

ผลการประเมินระบบการศึกษา ทั้ง 3 ระบบของการศึกษาไทยเปรียบเทียบกัน

ผลการประเมิน โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีขึ้น  ต้องกระจายอำนาจ ต้องเป็น Bottom Up    ไม่ใช่  Top Down

แนวคิดให้ส่วนกลางมาประเมินความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการจัดการศึกษานั้นผิด  ต้องให้ประชาชนเป็นคนประเมิน  ต้องให้ประชาชนมามีส่วนร่วม

ยกตัวอย่างสถานีขนส่ง  ให้เทศบาลดูแลสถานีขนส่ง  แต่คิวรถตู้ไม่ต้องเข้าสถานีขนส่งเพราะไม่ให้เทศบาลกำกับดูแล

นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

ขอชื่นชมนายกเทศมนตรีนครยะลา  ถ้าผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแบบนี้หมด  การกระจายอำนาจคงไม่มีปัญหาอะไร

อยากทราบ

1. การตรวจสอบวิธีการใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. บทเรียนของกองทัพควรเป็นอย่างไร?  มีกระแสให้องค์กรชุมชนเข้มแข็ง  ถ้าถอนทหารออกมา  ท้องถิ่นจะอยู่กันได้ไหม?

พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา

1. การตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี สตง.  ท้องถิ่นมีทั้งดีและไม่ดี  ประชาชนรับรู้มากขึ้น  สถิติการเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังสุด  ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาสูงถึง >60%   สมัยนี้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำงาน  ต้องโปร่งใส

เทศบาลเมือง  เทศบาลนครไม่ค่อยมีปัญหา  เทศบาลตำบลคงต้องใช้เวลาพัฒนา  กระบวนการเลือกตั้งจะเป็นการขับเคลื่อนให้ดีขึ้น

2. บทบาทของกองทัพ

ไทยพุทธอยากให้อยู่  แต่อยู่อย่างไร?  อยู่ในค่ายทหารหรือออกไปปราบปราม

ผู้ว่าดี ผู้การดี  นายอำเภอดี  ผู้กำกับดี  ไม่จำเป็นต้องเป็นคนใต้  ถ้าให้เลือกอยากได้คนมลายู คนดี คนเก่ง  แต่ที่ต้องการมากที่สุดคือต้องการคนดี

แต่กองทัพกลับไปทำภารกิจที่ทำให้ความขัดแย้งสูงขึ้น

อ. อังคณา  นีละไพจิตร

เคยถามคนที่อยู่ในพื้นที่สีแดง  ต้องการคนที่มีคุณธรรม  รู้กฎหมาย  ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

นโยบายกองทัพจะถอนทหารออกเหลือทหารพรานไว้  แต่ชาวบ้านมองว่าทหารพรานมีปัญหา  ไม่อยากได้

การตรวจสอบทหารลำบากมาก  ในระบบทหารเองก็มีปัญหา  ทหารชั้นผู้น้อยจากเหนือ อีสานไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงหรือได้ไม่ครบ  มีการซ้อมทรมานพลทหาร  วัฒนธรรมเหล่านี้ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบได้  รวมทั้งการรวจสอบงบประมาณด้วย  สตง.ก็มีปัญหาในการตรวจสอบ

คนกลุ่มน้อยสามารถเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ไหม?  การเปิดโอกาสให้คนกลุ่มน้อยเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะสามารถลดความขัดแย้งลงได้  ในการสอบเข้ารับราชการตำรวจ ทหาร  คนทางใต้สอบไม่ค่อยได้เพราะภาษาไทยไม่ดี  ไม่ควรใช้มาตรฐานกลางมาใช้ในท้องถิ่น

ภาพพจน์ของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงไม่ค่อยดีโดยเฏพาะการคุกคามทางเพศ

ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

แนวทางยุทธศาสตร์ของเทศบาลนครยะลามีผลต่อทั้งจังหวัดอย่างไร?

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยมีบทบาทอย่างไร?

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆในพื้นที่ทำบ้างไหม?

พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา

ในสังคมพหุวัฒนธรรมไม่อยากให้พัฒนาไปเป็นสงครามกลางเมือง  เริ่มมีการเผาร้านค้า  การลอบฆ่ากันและกัน  เลยต้องทำให้สังคมพูดคุยกันได้ อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

การแก้ไขปัญหาคือการเจรจา –Dialogue  ……ต้องคุย

นายกรัฐมนตรีก็ส่งสัญญาณการเจรจาเพื่อหาความต้องการ  ประชาชนก็เบื่อ  ขบวนการก็เบื่อ  ทุกฝ่ายอยากพูดคุย  แต่กลุ่มที่ฉกฉวยสถานการณ์  เช่นค้ายาเสพย์ติด  ค้าของเถื่อน  ไม่อยากให้จบเพราะหากินลำบาก

เทศบาลนครยะลาก็ไปเป็นพี่เลี้ยง  ไปช่วยพัฒนาเทศบาลและ อบต.อื่นๆในพื้นที่

รศ. ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา

กลุ่ม S 4ส3 จะทำรายงานเรื่องของเยาวชนกับการจัดการความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ต้อง Empower เยาวชนให้เป็นพลังในการขับเคลื่อนสันติวิธี  ต้องปรับปรุงการศึกษาและประเด็นอื่นๆด้วย

นายกเทศมนตรีนครยะลาทำเรื่องการสร้างสันติภาพและขยายผลไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น  โดยใช้กิจกรรมเกี่ยวกับเยาวชนโดยเฉพาะการศึกษา  มีการจัดกิจกรรมที่คงอัตลักษณ์  แต่ให้ยอมรับในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม  เพื่อสร้างสังคมในอนาคต

ทางกลุ่มอยากเอากิจกรรมของเทศบาลนครยะลามาทำการศึกษาและนำเสนอต่อสังคมต่อไป  เพราะเป็นตัวอย่างในการบริหารที่น่าจะเป็นแนวทางที่จะลดความขัดแย้งในท้องถิ่น  ซึ่งสามารถขยายผลในระดับชาติต่อไป

พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา

ไม่ขัดข้อง  บริบทของแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน  ถ้าตั้งโจทย์ผิด  คำตอบก็จะผิด

20 ปีมานี้เยาวชนถูกแบ่งด้วยระบบการศึกษา  ทำให้เสียโอกาสที่เด็กจะอยู่ด้วยกัน  เรียนรู้ร่วมกัน  เพราะการเรียนในระบบกับแยกไปเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

อัตลักษณ์ก็สามารถพัฒนาไปทำเชิงธุรกิจได้  มีความเป็นศิลปะสูง  เช่นกรงนกหัวจุก  ถ้ามีอาชีพที่ดี  ปัญหาก็จะลดลง

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต้องเริ่มที่ชุมชน ยะลาใช้สภาซูรอ  การเลือกตั้งประธานชุมชนจะมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน  ปัจจุบันใช้ Dialogue ในชุมชน ลดความขัดแย้งลงได้

ถ้าชุมชนเข้มแข็ง  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเข้มแข็ง  ประเทศชาติก็จะเข้มแข็ง

Post to Facebook Facebook


แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของภาคประชาสังคม

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 2 มกราคม 2012 เวลา 12:03 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1857

อ. อังคณา  นีละไพจิตร

30 กันยายน 2554  9.30-12.30 น.

picweb_copy162

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมยกเว้นโทษให้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน  ถ้าไปเกิดในพื้นที่ที่ละเอียดอ่อน  จะนำไปสู่ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม

วีรบุรุษของรัฐไม่เป็นที่รักของคนในพื้นที่  บางครั้งวีรบุรุษของรัฐเสียชีวิตแต่ชาวบ้านเชือดแพะ เชือดแกะฉลอง

การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติหลายกรณีที่มีปัญหากับชาวบ้านในพื้นที่  เช่นนายทุนกับประมงพื้นบ้าน  มีการใช้ความรุนแรง  ประชาชนมีความรู้สึกขมขื่นกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ชาวบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียกข้าราชการว่า “นาย” ตลอด  เวลาประชุมเจ้าหน้าที่นั่งเก้าอี้  ชาวบ้านนั่งกับพื้น

รัฐหวาดระแวงเช่นกรณีศาสนา  จะทำอย่างไรที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

“วิธีคิด” เจ้าหน้าที่ของรัฐมองความมั่นคงของรัฐมากกว่าความมั่นคงของมนุษย์…..ทำอย่างไรให้ประชาชนมีชีวิตอยู่ได้อย่างสงบ ปกติสุข  ภายใต้ความมั่นคงของรัฐ

การใช้กฎหมายพิเศษหลายฉบับ  เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจ  มีการใช้ที่ไม่เป็นธรรม  มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน  มีเรื่องของการพนัน  ยาเสพติด  ค้าของเถื่อนชายแดน  เป็นเรื่องของผลประโยชน์

มีโครงการนำประชาชนในหมู่บ้านมาฝึกอาวุธ  ทหารพราน อส. อม. ฯ จริงๆมีได้แค่ปืนลูกซอง  แต่บางหน่วยมีอาวุธสงคราม  รวมทั้งมีการฝึกอาวุธให้ผู้หญิงและเยาวชนด้วย

มีการให้สัญญาแล้วไม่รักษาสัญญา  อาจทำไม่ได้ด้วยข้อจำกัดหลายประการ  ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ  ไม่เชื่อถือ  เบื่อหน่าย

มีการปลูกฝังความเกลียดชัง  ให้ร้าย  ใน Social Media ก็มีการโพสต์ข้อความในลักษณะปลูกฝังความเกลียดชัง  แม้กระทั่งในสื่อของรัฐ

การที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขต้องร่วมมือกันทำงาน  เยียวยาบาดแผล  รักษาสัญญา

ทำอย่างไรที่จะเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

ผู้หญิงไทยพุทธก็มีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในสังคมที่มีปัญหา  ผู้หญิงที่อยู่ในป่า  ในขบวนการทุกคนมีความขมขื่น  ปวดร้าวมาตลอดเป็นเวลานาน  แทบทุกคนมีสามีหรือลูกถูกจับหรือเสียชีวิต

ธรรมาภิบาลเป็นสิ่งสำคัญในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง  ธรรมาภิบาลอาจไม่พอ ต้องมีคุณธรรม  ยึดถือการมีส่วนร่วม  ให้ทุกคนยอมรับที่จะหาทางออกร่วมกัน

Post to Facebook Facebook


แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของเทศบาลนครยะลา

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 2 มกราคม 2012 เวลา 11:05 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2244

30 กันยายน 2554  09.30-12.30 น.

พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ  นายกเทศมนตรีนครยะลา

นายพงษศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ_resize

ท่านเป็นนายกเทศมนตรีมาตั้งแต่ ปี 2546  อาศัยอยู่ในย่านตลาดเก่าซึ่งมีมุสลิมอยู่ถึง 90%  เหตุการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นตั้งแต่ปี 2547 มีเหตุการณ์ปล้นปืน  และกรณีกรืเซะ  ตอนนั้นก็คิดว่าสักพักคงจะดีขึ้น  แต่นี่ก็เจ็ดปีเศษแล้วยังไม่สงบเลย

ถ้าจะพูดถึงสาเหตุก็ถูกหมดทุกข้อ  ไม่ว่าจะเป็นความไม่เป็นธรรม  ส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่เรื่องของศาสนา  มีชาวมุสลิมในอเมริกามาพบผู้ใหญ่บ้านเรา  ก็ตั้งข้อสงสัยว่าเมืองไทยให้การสอนศาสนาแฝงการก่อความไม่สงบ  ตั้งแต่ปี 2529 มีขบวนการปลูกฝังอุดมการณ์ใหม่มาตลอด  โดยอาศัยศาสนาเป็นเครื่องมือ

ในการทำงานยึดความเป็นธรรม  แต่ในเชิงความรู้สึกจะยาก  ทางราชการบอกว่าเหตุการณ์ดีขึ้น  แต่ความรู้สึกของประชาชนสวนทางกัน  มีการแจกมากมายแต่ความรู้สึกไม่ดีขึ้นเลย  ในเชิงประจักษ์  มีความรู้สึก Inferior  เป็น Second Class Citizen   มีความรู้สึกถูกแบ่งแยก  ได้รับการปฎิบัติที่ไม่เท่าเทียม  มีความไม่เสมอภาคด้านโอกาส

เหตุการณ์ในวันนี้เป็นผลพวงจากการกระทำในอดีต  ในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา  จังหวัดยะลาถูกกำหนดเป็นศูนย์กลางการประมง  ศูนย์ต่างๆอีกมากมาย  แต่ก็ถูกดึงไปที่อื่นหมด

เดิมพื้นที่  ศอ.บต. กำหนด 3 จังหวัด  แต่มีความพยายามดึงสงขลา สตูลเข้ามา  ก็จะถูกดึงงบประมาณไปหมด  เป็นเรื่ีองการช่วงชิงทรัพยากรที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ในอดีต  ถูกเอาเปรียบสั่งสมมาตลอด

ชาวไทยพุทธก็สงสัยว่าทำไมมุสลิมได้อะไรๆมากกว่าชาวพุทธ

ด้านคุณภาพชีวิต  เด็กปัตตานี  นราธิวาส IQ อยู่อันดับท้ายๆ  รายได้ประชากรก็ต่ำ  ปัจจุบันอยู่ได้เพราะเม็ดเงินของข้าราชการทหาร ตำรวจที่ลงไปในพื้นที่  ถ้าเลิกก็จะมีปัญหา

กรณีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสมัยเสียงปืนแตกก็มี 2 สาเหตุหลักๆ

1.  ความเป็นธรรม

2. คุณภาพชีวิต

แต่ภาคใต้ยังมีเรื่องของอัตลักษณ์  ประวัติศาสตร์  มีคนพูดว่าจีนให้เสรีภาพด้านอัตลักษณ์แต่ไม่ให้เสรีภาพในด้านศาสนา  ไทยให้เสรีภาพด้านศาสนาแต่ไม่ให้เสรีภาพในเชิงอัตลักษณ์

ในต่างประเทศจะมีการควบคุมไม่ให้ใช้ศาสนาไปบิดเบือน  ประเทศไทยเป็นเมืองที่ไม่มีกติกา  ควรแก้ไข

มองด้านการปกครอง

การปกครองเป็นแบบ One Size Fit For All  กรณีมีการทำผิด 1 รายจะมีการลงโทษ  ออกกฎระเบียบเพื่อดึงอำนาจกลับส่วนกลาง

การกระจายอำนาจถอยหลังหมดเลย มองจากการจัดสรรงบประมาณจะเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องวิ่งเต้นเอางบประมาณ  ทำตามรัฐบาลหมด

การถ่ายโอนภารกิจของกระทรวงทบวงกรมต่างๆก็มีแต่การชะลอการถ่ายโอน  อำนาจไปโป่งที่ส่วนภูมิภาคหมด  ซึ่งไม่มีความเข้าใจประชาชน

เทศบาลต้องการซื้ออินทผาลัมในเทศกาลศ๊ลอด  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตีความว่าไม่ได้เพราะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล  สตง. ห้ามซื้อทั้ง 3 จังหวัด  แล้วการจัดเทศกาลกินเจทำไมทำได้ ?

แนวโน้มและทิศทางน่าจะมีการถ่ายโอนภารกิจมากขึ้น  มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด  แต่ต้องมีการเตรียมประชาชนให้พร้อม  เสน่ห์ของท้องถิ่นคือความรับผิดชอบทางการเมือง  ถ้าน้ำท่วม  จัดการดูแลไม่ดี  เลือกตั้งสมัยหน้ามีปัญหาแน่ๆ

นครรัฐปัตตานีไม่ใช่คำตอบ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบก็ไม่เคยแสดงความเห็น

คนใน ศอ. บต. ยังไม่เข้าใจเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีพอ

พอมีเหตุการณ์ไม่สงบ  สังคมก็เริ่มมีความแตกแยก  ชาวไทยพุทธและมุลิมก็เริ่มแตกแยก  เหมือนกรณีเสื้อเหลืองเสื้อแดง  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดการไม่งั้นอยู่ไม่ได้  ทำอย่างไรจะทำให้ผู้คนอยู่กันได้ด้วยความรักความเข้าใจ  เทศบาลนครยะลาได้รับรางวัล “City For Peace” จาก UNESCO  ท่ามกลางเสียงระเบิด  แต่เขาดูที่ความพยายาม “Learn to live Together Better”

เทศบาลนครยะลาเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในสังคมพหุวัฒนธรรม  ใช้การศึกษา  กิจกรรมทางวัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อม  ทำ“สภาประชาชน” ให้ชาวบ้านมาวิจารณ์ เสนอแนะนายกเทศมนตรี  มีทีมงานหาความต้องการของประชาชนด้วย

โครงการ “เทศบาลสัญจร” ทำเวลากลางคืน  Focus ในแต่ละชุมชน  ได้ข้อมูล  ได้ทำความเข้าใจ  แก้ไขปัญหาได้เลย

“สภากาแฟประชาชน”  เติมเต็มส่วนที่ไม่เป็นชุมชน

การประชุมร่วมกับภาคประชาสังคมและการประชุมชุมชน  หัวหน้าส่วนการงานต้องเข้าร่วม

มีการจัดทำ “Gross Municipality Happiness”

ด้านการศึกษา  มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย “พหุปัญญา  พหุวัฒนธรรม”  หยิบเอางานวิจัยของคนที่ได้รับรางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการ  มีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อสร้างค่านิยมร่วม “Core Value”    มีการจัดกิจกรรมให้เด็กพุทธและมุสลิมได้ร่วมกันทำกิจกรรม เช่นยะลา Youth Camp

ตั้งวง Orchestra  เยาวชนเทศบาลนครยะลา  เพื่อสอนให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

Penang_1

Post to Facebook Facebook



Main: 0.15475702285767 sec
Sidebar: 0.059951066970825 sec