ซักถาม: - ความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์และแนวทางสันติวิธีในการจัดการปัญหาความรุนแรง: กรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

โดย จอมป่วน เมื่อ 3 มกราคม 2012 เวลา 19:57 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1878

ณัฎฐ์ วัลลิโภดม ผู้อำนวยการพรรคกิจสังคม

ฟังแนวคิดของวิทยากรแล้วทำให้เข้าใจอะไรๆมากขึ้น  แต่ปัจจุบันแนวคิดแบบนี้หายไป

คนในชนบทนับถือสรรพสิ่ง  แต่คนกรุงเทพฯ คนในเมืองไม่รู้จะเอาอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว  หรือจะเป็นพุทธพาณิชย์

อยากถามความคิดเห็นกรณีของความขัดแย้งระหว่างกะเหรี่ยงที่เพชรบุรีกับทางราชการ

พ่อหลวงจอนิ

จะอยู่ไปวันๆหรือมีอะไรมากกว่านี้

คนเรามี 5 กลุ่ม

1. อยู่ไปวันๆ

2. หาทางออก

3. ไปตามกระแส

4. กลุ่มเรียกร้อง

5. ต้านกระแส

คน 100 คนจะเหลือ 20 คน  ต้านกระแส

อยู่บ้านเลี้ยงความก็เรียนหนังสือได้  เข้าเมืองเรียนหนังสือเป็นคน 2 วัฒนธรรมก็ได้

กรณีเพชรบุรี  ทางราชการถือว่ามีการทำไร่เลื่อนลอย  ทำลายป่า  แต่ความเป็นจริงกะเหรี่ยงอยู่ที่ไหนป่ายังอยู่ ที่ที่ไม่มีกะเหรียง ป่าหมด

ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากกลุ่มนายทุนที่บุกรุกที่ดินปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนานใหญ่  และทำรีสอร์ต  คนรุ่นใหม่อยากได้เงินเลยเกิดปัญหา

เมื่อร้อยกว่าปีก่อนเอาป่าไม้ขายให้ฝรั่ง  อธิบดีป่าไม้ 2-3 คนแรกๆเป็นฝรั่ง  ป่าหมดเลยโทษกะเหรี่ยง  กะเหรียงรุ่นใหม่บางคนก็มีปัญหาจริง  แต่อย่าเหมารวมกันหมด

แต่กะเหรี่ยงถูกอพยพออกมาหลายกลุ่ม  บอกว่าให้ที่ทำกิน 5 ไร่  แต่จริงๆมีแค่ 5 งาน  เลยไม่มีข้าวกิน  วิถีชีวิตคนในป่ากับคนในเมืองมันคนละวิถี  คุยกันไม่รู้เรื่อง

กะเหรี่ยงไม่ได้อยู่ไปวันๆ  ต้องมีภูเขา มีสวน มีนา มีบ้าน มีวัว  มีควาย  ต้องมีประชาธิปไตยที่กินได้  สันติวิธีแบบชาวบ้าน  ทำความเข้าใจไป  พูดคุยกันไป  สาปแช่งไป  เรียกร้องไป

อ. ตีละพี อะตะบู

พูดเรื่องสถาบันครอบครัว  การบ่มเพาะความรู้ให้กับลูกหลาน  กระบวนการ 5 ร. เพื่อแก้ปัญหาในครอบครัวและสังคม

อย่าด่วนสรุปปัญหาแต่ใช้กระบวนการ 5 ร.  รู้จักเหตุเพื่อแก้ปัญหาที่เหตุ

อิสลามก็สอนให้แก้ปัญหาอย่างมีหลักเกณฑ์  ประชาธิปไตยเริ่มจากในสถาบันครอบครัว  ในครอบครัวมีพ่อ แม่ ลูก  มีประชาธิปไตยในครัวเรือนอยู่แล้ว  ถ้าไม่มีก็จะรู้สึกถูกกดดัน  ต้องมีการพูดคุยกันในเวลาที่เหมาะสม

คนโบราณในภาคใต้  สอนให้มีสมาธิอยู่กับตัว  แน่วแน่  ไม่เครียด  จะเกิดสติตามมา  สติมาปัญญาเกิด  ปัญญาก็ทำให้ควบคุมอารมณ์ได้

ศาสนาอิสลามแบ่งอารมณ์เป็น 7 ขั้น  อารมณ์ที่เป็นอารมณ์ที่ดีมากๆจะนำเราไปสู่สวรรค์

มุสลิมก็มีการฝึกสมาธิ  มุสลิมกับพุทธคล้ายหรือเหมือนกันมาก

ประชาธิปไตยต้องมีสมาธิทุกต้องมีสมาธิ เกิดสติ เกิดปัญญา  ควบคุมอารมณ์ได้  ต้องมาเป็นขั้นตอน

ประชาธิปไตยแบบชาวบ้านเป็นประชาธิปไตยที่มีชีวิต  มีอิสระ เป็นจริงได้  ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับชาติ  เป็นวิธีคิดแบบสันติวิธี  คนเราจะอยู่ด้วยกันแล้วแก้ปัญหาร่วมกันอาศัย สมาธิ สติ ปัญญา และการควบคุมอารมณ์ระดับต่างๆ

นิทานของพ่อหลวงจอนิก็เห็นสรรพสิ่งมีชีวิต  ล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัว

คนในเมืองคิดเรื่องใกล้ตัวแค่ไหน?  มีความพร้อมที่จะเผชิญปัญหาและพร้อมที่จะแก้ปัญหาโดยไม่เครียดได้ไหม?

คนในเมืองอย่ามองคนต่างวัฒนธรรมอย่างเหมารวม

ชาวเขาไม่ได้ทำลายป่าหมดทุกคน  ใช้ปัญญาชาวเขามาช่วยรักษาป่า

ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่าเหมารวมว่าชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นขบวนการก่อความไม่สงบไปหมด

สุมล สุตะวิริยะวัฒน์  สมาชิกวุฒิสภา

สุมล 1

เป็นชาวเพชรบุรี  ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ได้รังแกชนกลุ่มน้อย  แต่ต้องการรักษาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  ต้องการให้ชนกลุ่มน้อยอยู่เป็นหลักแหล่ง  หัวหน้าอุทยานฯ คนแรกเป็นคนเมืองเพชร  แต่คนต่อๆมาไม่ทำตามนโยบาย  เลยเกิดปัญหา

ปัจจุบัน หัวหน้าอุทยานฯ เป็นคนเมืองเพชรอีกครั้ง  ต้องการดูแลชนกลุ่มน้อย  พยายามให้ชาวกะเหรี่ยงมาอยู่ที่บ้านโป่งลึกและบ้านบากอย

มีพวกที่ข้ามมาจากต่างชาติ  มีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยแต่ไม่มีคนอยู่อาศัย  ไม่มีการทำกิน  เลยต้องรื้อและเผาทิ้งเพราะกลัวเป็นแหล่งซ่องสุม  ที่อำเภอหนองหญ้าปล้องก็เป็นชนกลุ่มน้อยเกือบทั้งหมด

พ่อหลวงจอนิ

ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้ มีข้าวกิน

ญี่ปุ่นที่โตเกียวที่ดินแพงมาก  ต้องทำความอบอุ่น  แต่ที่บ้านอยู่กันมา 300 กว่าปีแล้ว  ไม่ต้องมีเครื่องทำความร้อน  ไม่ต้องมีแอร์  ประหยัดไปเยอะ

ที่สำคัญต้องสร้างความภูมิใจ  ต้องเข้าใจ  กะเหรี่ยงอยู่ทั้งไทยทั้งพม่า  ภาคใต้คนมลายูก็อยู่ทั้ง 2 ประเทศ  ที่น่านก็มีขมุอยู่ทั้ง 2 ประเทศ   “ทั่วโลก ทุกสิ่งมีชีวิต มีตากลม”

ณัฎฐ์ วัลลิโภดม ผู้อำนวยการพรรคกิจสังคม

ทุกศาสนามีประชาธิปไตยของตัวเอง  ประชาธิปไตยเริ่มจากครอบครัว  ขยายสู่สังคม

ปกากะญอ  เกิดจากความเชื่อจิตวิญญาณอยู่กับธรรมชาติจนกลายเป็นประชาธิปไตย  มีกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน

คนกรุงเทพฯ ก็ใช้กฎหมาย  แต่พอมีความแตกแยกทางความคิดก็ไม่รู้จะทำอย่างไร?

Post to Facebook Facebook

« « Prev : ความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์และแนวทางสันติวิธีในการจัดการปัญหาความรุนแรง: กรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Next : การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐกับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ซักถาม: - ความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์และแนวทางสันติวิธีในการจัดการปัญหาความรุนแรง: กรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.0430588722229 sec
Sidebar: 0.050203084945679 sec