ความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์และแนวทางสันติวิธีในการจัดการปัญหาความรุนแรง: กรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

โดย จอมป่วน เมื่อ 2 มกราคม 2012 เวลา 15:35 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2730

14 ตุลาคม 2544  9.30-12.30 น.

อ.จิราพร บุนนาค

พ่อหลวงจอนิ นักสู้แห่งขุนเขาเพื่อสิทธิที่ทำกินของชาวกะเหรี่ยง ในอ.แม่วิน จ.เชียงใหม่

อาจารย์ตีละพี อะตะบู ครูภูมิปัญญาไทย ศิลปกรรมพื้นบ้าน (การทำกริช)

เริ่มจากคำถาม “ถามพ่อหลวงจอนิ  เรื่องน้ำท่วม  ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร?”

พ่อหลวงจอนิ

จอนิ

60 กว่าปีที่แล้วก็มีฝนตกหนักขนาดนี้ แต่ตกถึงเดือนธันวาคม  ปัญหาจึงแตกต่างออกไป

900 กว่าปีก่อน  อุกาบาตเคยตกใกล้บ้าน

หลายร้อยปีก่อนมีหินถล่ม น้ำท่วม เสียชีวิตกันมากมาย

สมัยนี้เราเรียนความรู้ด้านต่างๆมากเกินไป  แต่เรียนรู้ภาษาธรรมชาติน้อยเกินไป  เดิมยกบ้านสูงเวลาน้ำมาก็ลอยๆกระทงสนุกสนานกันเป็นวัฒนธรรม  ปัจจุบันเลยเครียดรู้แต่เทคโนโลยี  มาอยู่ที่ราบแต่สร้างบ้านติดดิน  ลืมเรื่องเหล่านี้ไป  ต้องมีแก้มลิง  ต้องสนุกกับน้ำท่วม

มัวแต่ห่วงทรัพย์สมบัติ  ห่วงมือถือ  ห่วงไฟฟ้า (ก็มันมีกลางวันกลางคืนอยู่แล้ว)

ที่ทะเลาะกันมี 5 ปัจจัย

1. ความเชื่อ

2. ทรัพยากรธรรมชาติ

3. อำนาจ

4. สิทธิ ชายหญิง สิ่งมีชีวิต

5. ผลประโยชน์ เงินตรา

ทางแก้ไข  ความเชื่อปกากะญอบอกว่า ความเป็นจริงคือร้องไห้  ร้องตั้งแต่เกิด  ถ้ายิ้มมาตั้งแต่เกิดก็ผิดปกติ  แต่งงาน  ตายก็ร้องไห้  ถ้าลืมไปก็จะร้องไห้ไม่เป็น  เพราะเอาเงินตราเป็นที่ตั้ง

ในโลกมีความเชื่อมากมาย ต้องแบ่งปันกัน ทรัพยากรก็ต้องแบ่งปันกัน  อำนาจก็ต้องแบ่งปันกัน  สิทธิชายหญิงก็เช่นกัน  ผลประโยชน์ เงินตราก็ต้องแบ่งปันกัน

พื้นที่ก็ต้องแบ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์  ทำกิน  อยู่อาศัย  แบ่งเป็นป่าช้า เลี้ยงผี ฯ

อย่าหวังน้ำบ่อหน้า  ต้องหวังน้ำบ่อหลัง

ไปลอนดอน ญี่ปุ่นก็เห็นมันมีขอทาน  มันก็มีตากลมๆ  มันก็อยู่บนดิน  มันก็กินข้าว

ตัวพ่อหลวงจอนิก็เป็นพุทธครึ่งนึง  เป็นคริสต์ครึ่งนึง  เป็นพวกนับถือผีอีกส่วนหนึ่ง

อาจารย์ตีละพี อะตะบู

อะตะบู

อาจารย์อยู่ที่ อ.รามัญ จ.ยะลา  ลุ่มน้ำสายบุรี

มีปัญหาน้ำท่วมเหมือนกัน  เดิมคนก็อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำ  ริมแม่น้ำ ริมคลอง  บ้านก็ยกสูงและทุกครัวเรือนมีเรือ  เดิมน้ำท่วมก็อยู่กันได้  ปัจจุบันปลูกบ้านติดดิน  เวลาน้ำท่วมก็คือท่วมหลังคาบ้าน  เพราะฝืนธรรมชาติ   ไม่เข้าใจวิถี

พูดเรื่องความเข้มแข็งของชุมชนขอยกเอาเรื่องมือมาคุย

นิ้วมี 5 นิ้วคือกระบวนการ 5 ร. ซึ่งได้มาจากการวิจัยเรื่อง กริช

สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่สอน ภาษา วัฒนธรรม  วิถีชีวิต

มือเป็นอวัยวะที่มีกำลัง  มี ม. ม้า คือกำลังหรือพลัง (ฝรั่งก็ใช้ Horse Power)    มีสระ อิ  คือใบไม้  มาช้อน มาหุ้ม  มาห่อ   มีสระอื  เหมือนตะเกียบแปลว่ามีนิ้ว    มี อ. อ่างเท่ากับมาตัก  มาตวง

ช่างทำกริชห้ามสอน  ห้ามถ่ายทอดวิชาให้คนที่ประวัติไม่ดี  ความประพฤติไม่ดี

การแก้ปัญหาชีวิต  ใช้กระบวนการ 5 ร. คือ รู้จัก รู้ใจ  รู้จริง  รู้รักสามัคคี  รู้จักทำงานหรือทำงานเป็น

นิ้วก้อย คือรู้จัก  นิ้วนางคือรู้ใจ  นิ้วกลางคือรู้จริง  นิ้วชี้คือรู้รักสามัคคี  และนิ้วหัวแม่มือคือรู้จักทำงานหรือทำงานเป็น

ขบวนการ 5 ร. เป็นวิชาของสถาบันครอบครัวในทุกเชื้อชาติ

อ.จิราพร บุนนาค

ความเชื่อมโยงของขบวนการ  5 ร. เริ่มจากสถาบันครอบครัว  เป็นขบวนการสันติวิธี

พ่อหลวงจอนิก็พูดถึงสาเหตุของความขัดแย้ง 5 ประการที่ต้องแบ่งปันกันเหมือนนิ้วทั้ง 5 ของมือ

ปัญหา 5 ประการก็มีแนวทางแก้ไขปัญหามาตั้งแต่อดีต

ฐานรากของประชาชนจะเข้มแข็งได้  ถ้าไม่ละทิ้งปรัชญา  ภูมิปัญญา  วิถีชีวิต  จะหวังน้ำบ่อหน้าก็อย่าลืมน้ำบ่อหลัง

พ่อหลวงจอนิเล่านิทานให้ฟัง  สรุปได้ว่า  คนสมัยก่อนจะทำงานด้วยการอาศัยข้อมูลคือรู้จริงในสิ่งที่ทำ  มีการประเมินทุก 7 วันว่าอะไรดี  อะไรไม่ดี  สำรวจทั้งร่างกายและจิตใจตัวเอง

Post to Facebook Facebook

« « Prev : ซักถาม - แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้

Next : ซักถาม: - ความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์และแนวทางสันติวิธีในการจัดการปัญหาความรุนแรง: กรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์และแนวทางสันติวิธีในการจัดการปัญหาความรุนแรง: กรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.49051809310913 sec
Sidebar: 0.34034895896912 sec