การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐกับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

โดย จอมป่วน เมื่อ 3 มกราคม 2012 เวลา 23:17 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14222

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

3-1-2555 21-10-16

3-1-2555 21-03-02

6189241502_d11ef4a0a0

3-1-2555 21-02-12

3-1-2555 21-05-06

3-1-2555 21-05-33

ข้อมูลจาก Deep South Watch  http://www.deepsouthwatch.org/

อาจารย์ให้ข้อมูลเหตุการณ์ จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

สมัยรัฐบาลที่แล้วมีโครงการ Microproject ย่อยๆ เต็มไปหมดเพื่อยกระดับรายได้  แต่ชาวบ้านเอาไปกินหมด  เป็นการให้แบบ Top Down

สาเหตุที่โครงการพัฒนาต่างๆไม่สำเร็จเพราะ

1. การกระจายไม่เท่าเทียมกัน  เพราะกระจายผ่านท้องถิ่น

2. ความไม่โปร่งใส การทุจริตของข้าราชการ

3. การจัดการไม่ดี

4. ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม

การใช้งบประมาณจำนวนมากลงไปพัฒนาแล้วได้ผลไม่เต็มที่  แต่ก็ไม่ควรเลิก  ควรปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีทำงาน

กิจจา อาลีอิสเฮาะ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

ดูกราฟผู้เสียชีวิตเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ค่อนข้างสูงเป็นเพราะเหตุใด ?

เมื่อต้นสัปดาห์ไปรับฟังข้อมูลและสถานการณ์ในอาเจะห์  อินโดนีเซียที่สถานฑูตอินโดนีเซีย  เทียบกับประเทศไทย  ถ้าประชาชนต้องการปกครองตนเอง  ต้องการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เอง  สามารถทำได้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไหม?

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่ทำงานด้านความมั่นคงเสียชีวิตมากเพราะ

- ส่วนใหญ่ทำงานอย่างแข็งขันในการทำงานให้รัฐ  เป็นสาย  แจ้งข่าวให้กับทางราชการ

- อาจมีเรื่องส่วนตัวบ้าง

- กลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากโครงการของรัฐ

กรณีอาเจะห์  ข้อเรียกร้องในการปกครองตนเองและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเองก็มีการพูดคุยถกเถียงกันมาก  เป็นข้อเรียกร้องที่สำคัญอันหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้ง  ในการจัดการปัญหาชายแดนภาคใต้  แต่เหตุการณ์ความรุนแรงยังสูงมาก  เลยมีการเสนอเรื่องเขตปกครองพิเศษเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหา

กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้  เรื่องอัตลักษณ์  เชื้อชาติ  ศาสนาจะชัด  แต่เรื่องทรัพยากรธรรมชาติยังไม่ชัดเจน

อาเต็ป โซ๊ะโก ประธานเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน

มีการเลือกเป้าหมายไหม?  ในหมู่บ้านที่ย้ายถิ่นลงไปอยู่ใหม่น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของขบวนการฯ

การพูดคุยกันยังมีปัญหาในประเทศไทย  แต่เป็นงานการข่าวมากกว่า  บรรยากาศยังไม่ส่งเสริมการพูดคุย

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

Peace Talk มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องแต่ไม่เปิดเผย  สมช. รับผิดชอบ  มีการพบปะกัน

หน่วยงานที่ทำงานในพื้นที่ก็ดำเนินการเฉพาะงานในพื้นที่  การพูดคุยกันยังต้องผ่านการสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจกันก่อน  ซึ่งยังไม่ประสบความสำเร็จ

จากการถอดบทเรียนจากต่างประเทศ  ความรุนแรงจะสูงมาก  แล้วผ่านกระบวนการต่างๆให้เกิดจุดเปลี่ยน (Turning Point) ก่อน

ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงอยากเจรจาหาทางออกอย่างเต็มที่

ปัญหา: สถานการณ์ในประเทศไทยมาถึงจุดเปลี่ยน (turning Point) หรือยัง?  อาจารย์คิดว่ายังไม่ถึงจุดนี้  เพราะฝ่ายขบวนการคิดว่ายังไปต่อได้  รัฐก็คิดว่ามาถูกทางแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่ยอมรับการเจรจากัน

การเจรจาต้องมีหลายช่องทาง (หลาย Tracts )

มีขบวนการจงใจทำร้ายคนไทยพุทธโดยเฉพาะที่เป็นไข่แดงในชุมชนมุสลิม  โดยเฉพาะนิคมสร้างตนเองในพื้นที่ที่มีการอพยพของชาวอีสาน

อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน  สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

การใช้ พรบ.ความมั่นคง เหมือนเป็นซ้อนรัฐ  ทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำงานได้ตามนโยบาย  เพราะมีรัฐ (กอ.รมน.) ทำงานอยู่   การปกครองส่วนภูมิภาคก็เป็นปัญหาในการกระจายอำนาจ  แล้วยังมาเจอรัฐซ้อนรัฐอีก

สมัยก่อน ศอ. บต. ควบคุมทหาร  ปัจจุบันคุมไม่ได้  การตรวจสอบการใช้งบประมาณก็ลำบากมาก  การใช้งบประมาณด้านความมั่นคงมีลักษณะเอาใจ  มีการทัศนศึกษาดูงาน  แต่เม็อเงินตกข้างนอกพื้นที่

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

มาจาก กอ.รมน.  เรื่องรัฐซ้อนอำนาจรัฐ  รัฐมีความสับสนในการกำหนดนโยบาย  แสดงออกทางการใช้กฎหมาย

รัฐมี พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  ให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ   มี พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ให้ กอ.รมน. รับผิดชอบ  แต่รัฐใช้ทั้ง 2 เลย

ข้อเสนอ

1. ยกเลิก พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

2. ยกเลิกกฏอัยการศึก

3. ปรับปรุง  พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551

รัฐยังมองปัญหาไม่ชัด  นโยบายเลยไม่ชัด

พล.ต.ต. วิศิษฐ์ เอมประณีตร รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

Deep South Watch มีประโยชน์มาก  นอกจาก Watch แล้ว  มีการ Take Action อะไรบ้าง ?  มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอย่างไร?

เห็นด้วยว่าความไม่มีเอกภาพของรัฐบาลทำให้การทำงานไม่ได้ผล  ไม่มีการบูรณาการ  ขาดการประเมินผล  ขอความเห็นจากอาจารย์

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

รัฐซ้อนรัฐ ของ อับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ กฏหมายความมั่นคงมีทั้งผลบวกและลบ  รัฐบาลใช้กฎหมาย 4 ฉบับพร้อมๆกัน

1. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ.อาญา)

2. พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

3. พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551

4. กฎอัยการศึก

พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรต่างจาก พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  คืออำนาจการจับกุมไม่มีระบุไว้  แต่มีอำนาจในการตรวจค้น  เป็นการจงใจไม่ให้มีการละเมิดประชาชนมากเกินไป  มีความยืดหยุ่นสูง  สามารถมามอบตัว  ลบล้างความผิดได้ซึ่งกำลังมีการทดลองใช้อยู่

องค์กรต่างๆมีข้อเสนอแนะและผลการศึกษาวิจัยในกรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากมาย  แต่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ไม่ได้นำเอาไปใช้ทั้งหมด  มีการนำไปใช้บ้าง

ระยะหลังในกรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการใช้ผลการวิจัยมาปรับนโยบายและยุทธศาสตร์มาก  น่าจะทำให้ประสบความสำเร็จได้

พล.ต.ต. วิศิษฐ์ เอมประณีตร รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ตั้งแต่ปี 2547 มีการย้ายถิ่นฐานมากน้อยแค่ไหน?  เพราะขบวนการมีนโยบายลดการต่อต้าน  คือดำเนินการให้มีการย้ายถิ่นฐานออกจากพื้นที่

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตตภิรมย์ศรี

มีการศึกษา  แต่ตัวเลขยังไม่ชัดเจน  ตัวเลขประชากรที่หนี  มีอยู่แล้วจากการย้ายออกไปทำงานนอกพื้นที่ค่อนข้างสูง

คนมุสลิมไปทำงานที่มาเลเซีย 1-2 แสนคน

ชาวไทยพุทธที่ย้ายออกจากพื้นที่ก็มีมากเพราะบุตรหลานจะไปเรียนนอกพื้นที่  จบแล้วไม่กลับบ้าน  เลยหาตัวเลขยาก

ปี 2546  สำรวจแล้วมีประชากร 1.8 ล้านคน  เป็นไทยพุทธ 20%  มุสลิม 80%

จากข้อมูลประมาณการ  มีการย้ายออกของชาวไทยพุทธประมาณ 1 ใน 3   ก็หายไปประมาณ 1 แสนคน     มุสลิม 2  แสนคน  แต่เป็นการออกไปทำงานนอกพื้นที่

แนวร่วมไม่ทราบแต่ประมาณว่าน่าจะมี 8-10%  ของประชากร  ข้อมูลทางตำรวจคาดว่ามีแกนนำ 8-9 พันคน

Silent Majority จะเป็นผู้ตัดสิน  ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็แย่งชิงมวลชนกันอยู่แล้ว

พล.ต.ต. วิศิษฐ์ เอมประณีตร รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ยุทธวิธีเปลี่ยนไป  ขบวนการจะลงมือน้อยครั้งลง  แต่ความรุนแรงและความสูญเสียจะสูงขึ้นมาก  เกิดจากอะไร?

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

กำลังของรัฐลงไปในพื้นที่มากขึ้น  มีการลดระดับความรุนแรงลง  แต่ระยะยาวไม่ได้ผล  สงครารมเวียตนามก็เหมือนกัน  มันจะเปลี่ยนรูปไป (Transform) เป็นความรุนแรงที่ยืดเยื้อ  เหตุการณ์เกิดขึ้นน้อยครั้งแต่ความรุนแรงสูงจะทำให้รักษาฐานการสนับสนุนเอาไว้ได้

ประชาชนคิดว่าถ้าถอนกำลังออกเหตุการณ์จะดีขึ้น  แต่ทางรัฐไม่มั่นใจ  การเพิ่มกำลังลงไปในพื้นที่เป็นการเพิ่มเงื่อนไขใหม่

สันติภาพจะเกิดขึ้นได้จากการรบชนะ  (Victorious Peace)  หรือจากทางการเมือง

การรบชนะ (Victorious Peace) จะทำได้ไหม?  ไม่น่าจะทำได้  อันตรายมาก

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

รูปแบบการปกครองท้องถิ่นทำไมไม่สามารถสนองความต้องการในจังหวัดชายแดนภาคใต้  มีการกระจายอำนาจมาก  แต่ทำไมยังไม่เป็นที่พอใจ ?

ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

นายก อบต.  80% เป็นมุสลิม  กระจายอำนาจแล้วทำไมมีการเสนอเรื่องท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอีก ?

ภายใต้การปกครองปัจจุบัน  อำนาจยังไม่กระจายจริง  ยังถูกควบคุมจากรัฐบาลกลางและส่วนภูมิภาคสูงมาก

การกระจายอำนาจยังไม่สมบูรณ์

ยังมีโครงสร้างอำนาจทางวัฒนธรรมครอบงำอยู่  ทำให้เกิดความเข้าใจว่าเขตปกครองพิเศษหรือท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอาจจะทำให้เงื่อนไขดีขึ้น  ลดความรุนแรงลงได้ในระยะยาว

เงื่อนไขของความรุนแรง

เงื่อนไขเชิงโครงสร้าง(Structural Violence) ความไม่เท่าเทียมกัน  ความด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ

เงื่อนไขเชิงสัญญลักษณ์ (Symbolic Violence) อัตลักษณ์  ภาษา  วัฒนธรรม  ประวัติศาสตร์  ชาติพันธุ์  ศาสนา

สามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

เป็นคนที่อยู่ในพื้นที่มาตลอด  การปกครองท้องถิ่นทุกรูปแบบเป็นที่ชื่นชมของประชาชน  กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็หันมาทาง อบต. มากขึ้น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีอำนาจเต็มที่  คนยังมองว่าภูมิภาค  มหาดไทยยังมีอำนาจอยู่ซึ่งไม่เป็นความจริง  ปัจจุบันนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องไปหาท้องถิ่น

ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำได้ทุกอย่าง  แต่ก็มีกรอบการใช้งบประมาณอยู่

พันเอก ดร. พิเชษฐ คงศรี นายทหารปฏิบัติการกองบัญชาการกองทัพไทย

การคลุกคลีในพื้นที่ไม่เห็นความจำเป็นต้องเป็นเขตปกครองพิเศษ  เป็นการมองจากภายนอกเข้าไปหรือไม่?  ตามพรบ.แผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ในอนาคตบทบาทของภูมิภาคต้องไปอยู่ที่ท้องถิ่นอยู่แล้ว

Post to Facebook Facebook

« « Prev : ซักถาม: - ความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์และแนวทางสันติวิธีในการจัดการปัญหาความรุนแรง: กรณีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Next : การศึกษาดูงานภาคใต้ตอนล่าง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐกับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.16203117370605 sec
Sidebar: 0.036216020584106 sec