แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของเทศบาลนครยะลา
อ่าน: 224730 กันยายน 2554 09.30-12.30 น.
พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา
ท่านเป็นนายกเทศมนตรีมาตั้งแต่ ปี 2546 อาศัยอยู่ในย่านตลาดเก่าซึ่งมีมุสลิมอยู่ถึง 90% เหตุการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นตั้งแต่ปี 2547 มีเหตุการณ์ปล้นปืน และกรณีกรืเซะ ตอนนั้นก็คิดว่าสักพักคงจะดีขึ้น แต่นี่ก็เจ็ดปีเศษแล้วยังไม่สงบเลย
ถ้าจะพูดถึงสาเหตุก็ถูกหมดทุกข้อ ไม่ว่าจะเป็นความไม่เป็นธรรม ส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่เรื่องของศาสนา มีชาวมุสลิมในอเมริกามาพบผู้ใหญ่บ้านเรา ก็ตั้งข้อสงสัยว่าเมืองไทยให้การสอนศาสนาแฝงการก่อความไม่สงบ ตั้งแต่ปี 2529 มีขบวนการปลูกฝังอุดมการณ์ใหม่มาตลอด โดยอาศัยศาสนาเป็นเครื่องมือ
ในการทำงานยึดความเป็นธรรม แต่ในเชิงความรู้สึกจะยาก ทางราชการบอกว่าเหตุการณ์ดีขึ้น แต่ความรู้สึกของประชาชนสวนทางกัน มีการแจกมากมายแต่ความรู้สึกไม่ดีขึ้นเลย ในเชิงประจักษ์ มีความรู้สึก Inferior เป็น Second Class Citizen มีความรู้สึกถูกแบ่งแยก ได้รับการปฎิบัติที่ไม่เท่าเทียม มีความไม่เสมอภาคด้านโอกาส
เหตุการณ์ในวันนี้เป็นผลพวงจากการกระทำในอดีต ในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา จังหวัดยะลาถูกกำหนดเป็นศูนย์กลางการประมง ศูนย์ต่างๆอีกมากมาย แต่ก็ถูกดึงไปที่อื่นหมด
เดิมพื้นที่ ศอ.บต. กำหนด 3 จังหวัด แต่มีความพยายามดึงสงขลา สตูลเข้ามา ก็จะถูกดึงงบประมาณไปหมด เป็นเรื่ีองการช่วงชิงทรัพยากรที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ในอดีต ถูกเอาเปรียบสั่งสมมาตลอด
ชาวไทยพุทธก็สงสัยว่าทำไมมุสลิมได้อะไรๆมากกว่าชาวพุทธ
ด้านคุณภาพชีวิต เด็กปัตตานี นราธิวาส IQ อยู่อันดับท้ายๆ รายได้ประชากรก็ต่ำ ปัจจุบันอยู่ได้เพราะเม็ดเงินของข้าราชการทหาร ตำรวจที่ลงไปในพื้นที่ ถ้าเลิกก็จะมีปัญหา
กรณีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสมัยเสียงปืนแตกก็มี 2 สาเหตุหลักๆ
1. ความเป็นธรรม
2. คุณภาพชีวิต
แต่ภาคใต้ยังมีเรื่องของอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ มีคนพูดว่าจีนให้เสรีภาพด้านอัตลักษณ์แต่ไม่ให้เสรีภาพในด้านศาสนา ไทยให้เสรีภาพด้านศาสนาแต่ไม่ให้เสรีภาพในเชิงอัตลักษณ์
ในต่างประเทศจะมีการควบคุมไม่ให้ใช้ศาสนาไปบิดเบือน ประเทศไทยเป็นเมืองที่ไม่มีกติกา ควรแก้ไข
มองด้านการปกครอง
การปกครองเป็นแบบ One Size Fit For All กรณีมีการทำผิด 1 รายจะมีการลงโทษ ออกกฎระเบียบเพื่อดึงอำนาจกลับส่วนกลาง
การกระจายอำนาจถอยหลังหมดเลย มองจากการจัดสรรงบประมาณจะเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องวิ่งเต้นเอางบประมาณ ทำตามรัฐบาลหมด
การถ่ายโอนภารกิจของกระทรวงทบวงกรมต่างๆก็มีแต่การชะลอการถ่ายโอน อำนาจไปโป่งที่ส่วนภูมิภาคหมด ซึ่งไม่มีความเข้าใจประชาชน
เทศบาลต้องการซื้ออินทผาลัมในเทศกาลศ๊ลอด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตีความว่าไม่ได้เพราะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล สตง. ห้ามซื้อทั้ง 3 จังหวัด แล้วการจัดเทศกาลกินเจทำไมทำได้ ?
แนวโน้มและทิศทางน่าจะมีการถ่ายโอนภารกิจมากขึ้น มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ต้องมีการเตรียมประชาชนให้พร้อม เสน่ห์ของท้องถิ่นคือความรับผิดชอบทางการเมือง ถ้าน้ำท่วม จัดการดูแลไม่ดี เลือกตั้งสมัยหน้ามีปัญหาแน่ๆ
นครรัฐปัตตานีไม่ใช่คำตอบ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบก็ไม่เคยแสดงความเห็น
คนใน ศอ. บต. ยังไม่เข้าใจเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีพอ
พอมีเหตุการณ์ไม่สงบ สังคมก็เริ่มมีความแตกแยก ชาวไทยพุทธและมุลิมก็เริ่มแตกแยก เหมือนกรณีเสื้อเหลืองเสื้อแดง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดการไม่งั้นอยู่ไม่ได้ ทำอย่างไรจะทำให้ผู้คนอยู่กันได้ด้วยความรักความเข้าใจ เทศบาลนครยะลาได้รับรางวัล “City For Peace” จาก UNESCO ท่ามกลางเสียงระเบิด แต่เขาดูที่ความพยายาม “Learn to live Together Better”
เทศบาลนครยะลาเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในสังคมพหุวัฒนธรรม ใช้การศึกษา กิจกรรมทางวัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อม ทำ“สภาประชาชน” ให้ชาวบ้านมาวิจารณ์ เสนอแนะนายกเทศมนตรี มีทีมงานหาความต้องการของประชาชนด้วย
โครงการ “เทศบาลสัญจร” ทำเวลากลางคืน Focus ในแต่ละชุมชน ได้ข้อมูล ได้ทำความเข้าใจ แก้ไขปัญหาได้เลย
“สภากาแฟประชาชน” เติมเต็มส่วนที่ไม่เป็นชุมชน
การประชุมร่วมกับภาคประชาสังคมและการประชุมชุมชน หัวหน้าส่วนการงานต้องเข้าร่วม
มีการจัดทำ “Gross Municipality Happiness”
ด้านการศึกษา มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย “พหุปัญญา พหุวัฒนธรรม” หยิบเอางานวิจัยของคนที่ได้รับรางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการ มีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อสร้างค่านิยมร่วม “Core Value” มีการจัดกิจกรรมให้เด็กพุทธและมุสลิมได้ร่วมกันทำกิจกรรม เช่นยะลา Youth Camp
ตั้งวง Orchestra เยาวชนเทศบาลนครยะลา เพื่อสอนให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
« « Prev : แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของ ศอ.บต.
Next : แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของภาคประชาสังคม » »
ความคิดเห็นสำหรับ "แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของเทศบาลนครยะลา"