แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของ ศอ.บต.
อ่าน: 1907วันที่ 23 กันยายน 2554 13.30-16.30 น.
ว่าที่ร้อยตรี สมโภชน์ สุวรรณรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้: ศอ.บต.
เริ่มที่ ว่าที่ร้อยตรี สมโภชน์ สุวรรณรัตน์ พูดถึงบทบาทหน้าที่ของ ศอ.บต.ว่า ศอ.บต.ไม่ใช่กุญแจในการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ องค์กรหลักคือ กอ.รมน. ภาค 4
ศอ.บต. 3 ยุค
ยุคแรกยุคก่อตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ซึ่งจะประกอบด้วย 2 ด้านคือด้านการพัฒนาดำเนินการโดย ศอ.บต. ภายใต้การกำกับดูแลของปลัดกระทรวงมหาดไทย และ พตท.43 หรือกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 ขึ้นกับแม่ทัพภาคที่ 4 ดูแลด้านการปราบปราม
ยุคที่ 2 ยุบ ศอ.บต. เมื่อ 30 เมษายน 2545 โดยโอนอำนาจของคณะกรรมการการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ อำนาจ ศอ.บต.เป็นของกระทรวงมหาดไทย อำนาจของ พตท. 43 เป็นของกองทัพภาคที่ 4/กอ.รมน.ภาค 4
ยุคที่ 3 จัดตั้ง ศอ.บต.ใหม่ในพ.ศ. 2549 และ 30 ธันวนคม พ.ศ. 2553 ได้มีพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีหน่วยงานสำนักงานคือ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นนิติบุคคล ไม่ขึ้นต่อสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีโดยตรง
มีคณะกรรมการที่ปรึกษา ศอ.บต. ด้านการเมืองและการปกครอง และด้านเศรษฐกิจและสังคม
สถานการณ์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆแต่ไม่ใช้คำว่าก่อการร้าย ใช้คำว่าก่อความไม่สงบเพราะเป็นเรื่องภายในประเทศ ไม่อยากให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามายุ่ง เป็นการปรับบทบาทการทำงานเพราะถ้าให้ศอ.บต.ขึ้นกับ กอ.รมน.หรือทหาร ภาพออกมาว่าเป็นการใช้ความรุนแรง มีการอุ้ม คนหายไปโดยไม่รู้สาเหตุเป็นการสร้างเงื่อนไขใหม่เพราะมีญาติจำนวนมาก ทำให้มีศัตรูมากขึ้น เลยใช้มิติการพัฒนาโดย ศอ.บต.
มีสมมติฐานว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เหมือนจังหวัดที่เหลือยุทธศาสตร์ก็ต้องแตกต่างออกไป ถ้าหน่วยงาน กระทรวงทบวงกรมยังใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ วิธีคิดน่าจะผิด ศอ.บต.เป็นหน่วยงานทางยุทธศาสตร์ (Strategic Unit) ไม่ใช่หน่วยงานสั่งการหรือหน่วยงานปกครอง
ตาม พรบ. ใหม่ ศอ.บต.เป็นนิติบุคคล ตั้งงบประมาณเอง ถ้าอยู่กับ กอ.รมน.ขั้นตอนมันยาว ตอนนี้เวลาทำงานก็มีส่วนที่เกี่ยวข้องคือ ศอ.บต. ทหาร ตำรวจ ภูมิภาค คือจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ซึ่งเป็นนิติบุคคลด้วย)
มีการพูดถึงการตั้งเขตปกครองพิเศษแต่นายกองค์การบริการส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการก็เป็นมุสลิมในสัดส่วนที่สูงมากแล้ว
คู่ขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีองค์กรความขัดแย้งคือฝ่ายรัฐ ฝ่ายขบวนการ(ซึ่งอาจจะมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะเป็นใคร ใครเป็นผู้นำ?) และประชาชนหรือภาคประชาสังคม
ศอ.บต. มีหน้าที่ทำให้ประชาชนอยู่กับฝ่ายรัฐ ซึ่งขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้(กพต.) ใช้ยุทธศาสตร์รบด้วยปัญญา ชนะด้วยความรู้ ศอ.บต. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งการให้หน่วนงานต่างๆทำ แต่ถ้าเจอข้าราชการที่มีปัญหาก็เอาออกนอกพื้นที่ได้เลย
« « Prev : สันติวิธีกับการแก้ปัญหาชายแดนใต้ (3)
Next : แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของเทศบาลนครยะลา » »
ความคิดเห็นสำหรับ "แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของ ศอ.บต."