แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของภาคประชาสังคม
อ่าน: 1858อ. อังคณา นีละไพจิตร
30 กันยายน 2554 9.30-12.30 น.
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมยกเว้นโทษให้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถ้าไปเกิดในพื้นที่ที่ละเอียดอ่อน จะนำไปสู่ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม
วีรบุรุษของรัฐไม่เป็นที่รักของคนในพื้นที่ บางครั้งวีรบุรุษของรัฐเสียชีวิตแต่ชาวบ้านเชือดแพะ เชือดแกะฉลอง
การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติหลายกรณีที่มีปัญหากับชาวบ้านในพื้นที่ เช่นนายทุนกับประมงพื้นบ้าน มีการใช้ความรุนแรง ประชาชนมีความรู้สึกขมขื่นกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ชาวบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียกข้าราชการว่า “นาย” ตลอด เวลาประชุมเจ้าหน้าที่นั่งเก้าอี้ ชาวบ้านนั่งกับพื้น
รัฐหวาดระแวงเช่นกรณีศาสนา จะทำอย่างไรที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
“วิธีคิด” เจ้าหน้าที่ของรัฐมองความมั่นคงของรัฐมากกว่าความมั่นคงของมนุษย์…..ทำอย่างไรให้ประชาชนมีชีวิตอยู่ได้อย่างสงบ ปกติสุข ภายใต้ความมั่นคงของรัฐ
การใช้กฎหมายพิเศษหลายฉบับ เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจ มีการใช้ที่ไม่เป็นธรรม มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีเรื่องของการพนัน ยาเสพติด ค้าของเถื่อนชายแดน เป็นเรื่องของผลประโยชน์
มีโครงการนำประชาชนในหมู่บ้านมาฝึกอาวุธ ทหารพราน อส. อม. ฯ จริงๆมีได้แค่ปืนลูกซอง แต่บางหน่วยมีอาวุธสงคราม รวมทั้งมีการฝึกอาวุธให้ผู้หญิงและเยาวชนด้วย
มีการให้สัญญาแล้วไม่รักษาสัญญา อาจทำไม่ได้ด้วยข้อจำกัดหลายประการ ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ ไม่เชื่อถือ เบื่อหน่าย
มีการปลูกฝังความเกลียดชัง ให้ร้าย ใน Social Media ก็มีการโพสต์ข้อความในลักษณะปลูกฝังความเกลียดชัง แม้กระทั่งในสื่อของรัฐ
การที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขต้องร่วมมือกันทำงาน เยียวยาบาดแผล รักษาสัญญา
ทำอย่างไรที่จะเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
ผู้หญิงไทยพุทธก็มีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในสังคมที่มีปัญหา ผู้หญิงที่อยู่ในป่า ในขบวนการทุกคนมีความขมขื่น ปวดร้าวมาตลอดเป็นเวลานาน แทบทุกคนมีสามีหรือลูกถูกจับหรือเสียชีวิต
ธรรมาภิบาลเป็นสิ่งสำคัญในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ธรรมาภิบาลอาจไม่พอ ต้องมีคุณธรรม ยึดถือการมีส่วนร่วม ให้ทุกคนยอมรับที่จะหาทางออกร่วมกัน
« « Prev : แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของเทศบาลนครยะลา
Next : ซักถาม - แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ » »
ความคิดเห็นสำหรับ "แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้จากมุมมองของภาคประชาสังคม"