จะดับไฟใต้ได้อย่างไร ?
อ่าน: 14458
4 ตุลาคม 2554 17.00-19.00 น. โรงแรมซีเอส ปัตตานี
เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้
สว. อนุศาสตร์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี
อ. โซรยา จามจุรี ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
อ. อับดุลเลาะ หะยียามา นายกสมาคมปัญญาชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
อ. อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง อดีตกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
อ. ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ รักษาการประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้
นายลีโอ เจ๊ะกือลี ผู้แทนเครือข่ายเยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
สว. อนุศาสตร์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี
ความรุนแรงเป็นรูปแบบสัญญลักษณ์
- 25 มกราคม พระภิกษุที่ออกบิณฑบาตรถูกยิงเสียชีวิต
- 3 กุมภาพันธ์ ที่ปอนาเละ 5 ศพ มีศึกษานิเทศก์ 1 คน
- 11 กุมภาพันธ์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ครู สามีภรรยา 1 คู่ ถูกยิงแล้วเผา
- 3 มีนาคม โต๊ะอิหม่ามถูกยิง
- 5 มีนาคม พระสงฆ์ถูกยิงขณะบิณฑบาตร เสียชีวิตและบาดเจ็บ
- 3 พฤษภาคม มีการกราดยิง 4 ศพที่บันนังสะตา
เป็นการตอบโต้ เอาคืน ล้างแค้น
อ. ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ รักษาการประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้
ครูตายไป 148 คนแล้ว จะดับไฟใต้อย่างไร? คุยกันมา 38-39 ปีแล้ว เป็นแบบนี้มา 100+ ปีแล้ว คนที่อยู่จะช่วยอะไรได้บ้าง ? การจะดับไฟใต้ต้องศึกษาให้รู้ชัดก่อนว่าตัวคนที่ก่อเหตุเป็นใคร ?
ฟันธง บทบาทนี้เป็นของขบวนการแบ่งแยกดินแดน BRN คนในพื้นที่ทราบหมดแต่ไม่กล้าพูดเพราะเจ้านายไม่เชื่อ ถ้าทราบความจริงจะตกตะลึง
เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้ายังใช้แว่นอันเดิมดู เสียหายแน่ ฝ่ายขบวนการจบ ปริญญาโท ปริญญาเอก ไม่ใช่เด็กติดยา ต้องเห็นให้ชัดก่อนว่าใครก่อเหตุ เรามัวแต่รักษาอาการข้างเคียง
เมื่อรู้คู่ต่อสู้ต้องทำ 3 เรื่อง
1. ต่อสู้ทางความคิด
2. ต่อสู้ทางการเมือง
3. ต่อสู้ทางทหาร
ต้องจัดองค์กรที่เหมาะสมเพื่อทำงาน เพราะที่ผ่านมาหมดเงินไปหลายแสนล้านบาทแล้ว ท่านปรีดีเสนอ การขยายประชาธิปไตย การพัฒนาคุณภาพชีวิต การดูแลความยุติธรรมและการดูแลวัฒนธรรม แต่ไม่มีใครทำ
คนที่มาทำงานด้านนี้จะรู้ทุกอย่างเมื่อเกษียณอายุราชการ คนที่อยู่ภาคใต้มาตลอดชีวิต ถ้าไม่สนใจก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน พ่อแม่เด็กที่เสียชีวิตในการก่อความไม่สงบก็ยังไม่รู้เรื่องเลย เหตุการณ์รุนแรงขึ้น ไม่ดีขึ้น
แก้ไขมา 8 ปีแล้วไม่ดีขึ้น เพราะแก้ปัญหาไม่ถูกทาง โรงเรียนที่สอนอยู่เคยมีเด็ก 800 คน หลังปี 47 มี 300กว่าคน ปัจจุบันเหลือเด็ก 27 คน
อ. อับดุลเลาะ หะยียามา นายกสมาคมปัญญาชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
เคยเป็นครู เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด เคยกินข้าวแดง ที่อาจารย์ประสิทธิ์พูดเป็นความจริง ที่มีเหตุการณ์รุนแรงเพราะต้องการแยกดินแดน ดูจากที่มีการติดป้าย เขียนตามถนน
ข้อเท็จจริง ดินแดนแถบนี้เคยเป็นดินแดนที่มีอธิปไตยมาก่อน แทบทุกประเทศก็จะมีปัญหาแบบนี้ สิ่งที่สำคัญคือต้องมาพูดคุยกัน
นอกจากด้านประวัติศาสตร์ที่ขัดแย้งกันแล้ว การปกครองของรัฐไทยก็ไม่มีความยุติธรรม ตั้งแต่การสอบเข้าเรียน การสอบเข้ารับราชการ เด็กทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะไม่ค่อยรู้ภาษาไทย การจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่ก็ไม่เป็นธรรม การขาดการศึกษาและความยากจนทำให้มีปัญหา
การแก้ปัญหา เอกสารการวิจัยทั้งของ มอ. สถาบันพระปกเกล้า หรือต่างประเทศก็มีมากมาย ถ้าจะแก้ปัญหาต้องดูว่า เขาอยากได้อะไร ? อยากได้เอกราช ให้ได้ไหม? ถ้าให้ไม่ได้ก็ต้องพูดคุยกัน เหตุการณ์ร้ายที่ยิงทหารกลางวันแสกๆต้องใช้คนมากกว่า 30 คนในการทำงาน
อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ก็ต้องมานั่งพูดคุยกัน ทำความเข้าใจกัน ต้องเข้าใจความเป็นคนมลายูของคนที่นี่ ดูเรื่องความเสมอภาคในการเมืองการปกครอง ด้านการศึกษา
นายลีโอ เจ๊ะกือลี ผู้แทนเครือข่ายเยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ฝ่ายความมั่นคงมองเยาวชนไปในทางลบ ต้องดูกันยาวๆ ไม่ใช่ดูแค่วันสองวัน
ฝ่ายรัฐเห็นว่าเป็นการก่อความไม่สงบ แต่ชาวบ้านมองว่าเป็นองค์กรปลดปล่อยหรือเป็นการปฏิวัติ รัฐต้องวิเคราะห์อย่างละเอียด
ฝ่ายก่อความไม่สงบสามารถทำได้หลายๆจุดในเวลาเดียวกันเพราะเป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี จึงเป็นงานหนสักของเจ้าหน้าที่ การปฏิวัติมีการเสียสละ เจ้าหน้าที่ต้องเสียสละเป็น 2 เท่าของพวกปฏิวัติ
องค์กรปฏิวัติต้องการอะไร? มียุทธวิธีอย่างไร? ขบวนการมีการวิเคราะห์ที่ดีมาก ไม่ใช่ความผิดของทักษิณ มีการวางแผนมาก่อนแล้ว เพียงแต่เป็นโอกาสที่ที่ดี ขบวนการมีการวางแผนอย่างรอบด้าน
เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เป็นแนวทางของในหลวง แต่เจ้าหน้าที่เอามาทำกลับกัน ไม่มีคำว่ารัก ถ้าไม่มีคำว่ารัก จะไม่มีวันเข้าใจ เข้าถึง
ขบวนการมีการเสียสละเพราะความรู้สึกรักในความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน อุดมการณ์ร่วมกัน เข้าถึง หน่วยราชการเข้าไม่ถึง แต่ขบวนการเกาะติดในพื้นที่
การดับไฟใต้ต้องคุยกันยาวมาก การแก้ปัญหาในพื้นที่ไม่ใช่แก้ด้วยการหยิบยื่นให้ แต่ต้องให้ประชาชนกำหนดชะตากรรมเอง เป็นความสงบระยะยาว
การแยกเป็นอิสระ ขบวนการก็ไม่มีความสามารถในการปกครอง ก็ยังคงมีปัญหาอยู่ดี
อ. โซรยา จามจุรี ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
ทำงานด้านการเยียวยามามาก ไม่ใช่แค่เสียชีวิต 4,000 กว่าคน แต่การเป็นกำพร้า หม้ายก็เป็นปัญหาในพื้นที่ ตอนหลังคุณหมอเพชรดาว โต๊ะมีนา ก็มาทำงานด้านการเยียวยาแทน
ผู้หญิงเสียชีวิตในเหตุการณ์ 333 คน บาดเจ็บ 1,606 คน และยังเป็นเหยื่อทางอ้อม ผู้หญิงและเด็กไม่น่าจะต้องมาเป็นเหยื่อทางอ้อม มีหญิงหม้ายประมาณ 2,000 คน เด็กกำพร้าอีก ประมาณ 5,000 คน เป็นปัญหาครอบครัวและด้านจิตใจ
มีการจัดหานมให้เด็กทารก ทุนการศึกษาให้ลูก จักรเย็บเพื่อให้ประกอบอาชีพ ระยะหลังรัฐก็เริ่มเข้ามาดูแลเรื่องเหล่านี้
ตอนหลังนี้มาทำงานด้านการลดความขัดแย้งของคน 2 ศาสนา ใช้เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ มีการสื่อสารออกไปเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น แล้วก้าวข้ามเหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างไร ?
มีรายการวิทยุ “เสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้” มีเรื่องราวของเด็กสาวชาวไทยพุทธที่พ่อและปู่ตาย แต่ไม่โกรธ ไม่เกลียดมุสลิม
มีผู้หญิงมุสลิมที่สูญเสียสามีแต่ก็ยังใช้สันติวิธี
มีผู้คนจากทุกศาสนาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ถ้าไม่แก้ไขจะเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคต การแก้ปัญหาก็ไม่ใช่แบบ “ไวไว”
ต้องเจรจากับฝ่ายขบวนการ แต่เป็นใครล่ะ ? รัฐต้องแสวงหาแนวทางใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหา รัฐบาลใหม่ควรส่งสัญญาณด้านบวกในการแก้ปัญหา เช่น
- การให้ใช้ภาษามลายูควบคู่กับภาษาไทย
- การเตรียมให้พร้อมกับประชาคมอาเซียนก็ต้องให้ใช้ภาษามลายู พูดเรื่องนี้สมัยก่อนก็คงมีคนต่อต้าน แต่ปัจจุบันคงเห็นด้วย ภาษาเป็นหัวใจของอัตลักษณ์
- มองที่ตัว Actor
มีมวลชนอยู่ได้ตั้ง 7-8 ปีอย่างไร?
โครงสร้างอำนาจรัฐไม่เป็นธรรมอย่างไร?
ความคิด ทำไมคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ทำไมประชาชนจำนวนหนึ่งจึงยังสนับสนุน
มองด้านวัฒนธรรม ศาสนา
ถ้ายังไม่เข้าใจตรงนี้ก็คงจะแก้ปัญหาไม่ได้ การคิดว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดนก็อาจใช้ยาแรงไป ใช้กำลังในการปราบปรามก็ไปกระทบประชาชนผู้บริสุทธิ์
« « Prev : สถานการณ์ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Next : ช่วงซักถาม- จะดับไฟใต้ได้อย่างไร? » »
ความคิดเห็นสำหรับ "จะดับไฟใต้ได้อย่างไร ?"