ความขัดแย้ง - อำนาจ - ความรุนแรง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 17 กรกฏาคม 2011 เวลา 11:21 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 14230

ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ

9 กรกฎาคม 2554  13.30 น.- 16.30 น.

บรรยากาศสนุกมาก เพราะอาจารย์เริ่มแบบเล่าเรื่องชิวๆ  นักศึกษาเริ่มซักถามและแสดงความคิดเห็น  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในบรรยากาศที่ไม่ใช้ความรุนแรง

อาจารย์เริ่มด้วยเรื่อง

- ทฤษฎีเป็นเพียงกรอบแนวคิด  เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

- ความรุนแรงในการเลือกตั้งในรูปแบบต่างๆ

- Post Election Stress Syndrome

- ความขัดแย้งทางการเมืองก็เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของความขัดแย้ง

- Domono Effect ที่เริ่มจากการปฏิวัติในประเทศตูนีเซีย หรือปฏิวัติดอกมะลิ (The Jasmine Revolution)

tunisia-revolution-babes-425x432

ซึ่งเริ่มจากนายโมฮัมหมัด บูอะซิซี่ บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวเมืองซิดี บูซิส วัย 26 ปี ได้ตัดสินใจเผาตัวตายประท้วง หลังจากที่เขาถูกตำรวจหญิงไล่ไม่ให้ขายผลไม้ในรถเข็นเพื่อเลี้ยงครอบครัว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 ซึ่งหลังจาการเสียชีวิตของนายโมฮัมหมัด เพียง 18 วัน ก็เกิดการปฏิวัติดอกมะลิขึ้น โดยหนุ่มสาวที่ทราบเหตุการณ์ดังกล่าว ได้สร้างเครือข่ายของการปฏิวัติประชาชนขับไล่รัฐบาลเผด็จการผ่านสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์

อิทธิพลของการปฏิวัติดอกมะลิลุกลามไปใน เยเมน ซูดาน จอร์แดน อียิปต์ และลิเบีย  ทำให้รัฐบาลของอีกหลายๆชาติ เช่น จีน สิงคโปร์ พม่า.. เริ่มจับตามองด้วยความกังวล

- ความขัดแย้งเป็นรื่องธรรมชาติในปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และในสังคมการเมือง

ความขัดแย้ง และความรุนแรงไม่ใช่เรื่องเดียวกัน  ความขัดแย้งไม่จำเป็นต้องใช้หรือยุติด้วยความรุนแรง

ความขัดแย้งเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมหรือเป็นบ่อเกิดของการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของสังคมด้วยซ้ำ

การดำรงอยู่ของความจัดแย้งไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ถึงความล้มเหลวของสังคมหรือระบบการเมือง  การจัดการความขัดแย้งอย่างไรต่างหากที่เป็นตัวชี้วัด  ป้ญหาอยู่ที่วิธีหรือกลไกที่จะป้องกัน  แก้ไข  และเยียวยา  หลายๆประเทศเรียนรู้ที่จะจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี  ไม่ใช้ความรุนแรง

ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ  ไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นโทษ

ความขัดแย้งในประเทศไทยยังไปไม่ถึง Failed State  ยังไม่เกิด Civil War หรือสงครามกลางเมือง  ทั้งๆที่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้ง

เรายังมีความหวัง คาดว่าการเลือกตั้งจะช่วยแก้ปัญหา  แต่กลายเป็นเริ่มเกิดความรุนแรงในการเลือกตั้ง  แถมติดตามมาด้วย Post Election Stress Syndrome แต่ก็ยังไม่รุนแรงจนจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ?

สังคมเผด็จการจะควบคุมสื่อ  ทำให้ข้อมูลข่าวสาร ความจริงไม่ปรากฏ

ความขัดแย้งแต่ละกรณีมีลักษณะเฉพาะ  การวิเคราะห์ต้องคำนึงถึงบริบทที่เฉพาะเจาะจงของความขัดแย้งนั้นๆ

ความขัดแย้งมักจะไม่ได้มีสาเหตุเดียว (Mono-causal Phenomena) แต่มีหลายเหตุปัจจัยเชื่อมโยงกัน ( a set of interconnected conflict factors) และไม่หยุดนิ่ง ((Dynamics)

“……Conflicts are not mono-causal phenomena and arise from a set of interconnected conflict factors and dynamics.

การวิเคราะห์ความขัดแย้ง  ต้องพิจารณา

  • Issues  ประเด็นของปัญา
  • Stakeholders  ผู้มีส่วนได้เสีย  ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • Content  บริบทของความขัดแย้ง  สภาพแวดล้อมทางการเมือง  เศรษฐกิจ วัฒนธรรม กฏหมาย  และความสนใจของสื่อมวลชน

ประเภทของความขัดแย้ง

  1. Data Conflict  ชนิด ปริมาณ การตีความ
  2. Interest Conflict  วัตถุ เงิน ทรัพยากร บุคลากร
  3. Structural Conflict  อำนาจ หน้าที่ การตัดสินใจ
  4. Relationship Conflict  ทัศนคติ การสื่อสาร ความประพฤติ
  5. Values Conflict  ความเชื่อ ระบบค่านิยม

Post to Facebook Facebook


Global Conflict

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 16 กรกฏาคม 2011 เวลา 17:16 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1429

ยังมีเรื่องที่ลุงเอกไม่ได้เล่าให้ฟัง  แต่บอกว่าถ้ามีเวลาจะค่อยๆเล่าให้ฟัง ถ้ามีเวลาก็ศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้  เพื่อเป็นแนวทางที่จะทำความเข้าใจในกระบวนการสร้างสังคมสันติสุขในประเทศไทย

Global Conflict

ในปัจจุบันก็มีเรื่องราวต่างๆที่ขัดแย้งกัน เช่น

Globalisation & Localisation

Hard Power & Soft Power

Americanization & Islamization

Capitalization & Socialization

High Technolgy & Low Technology

Tangible & Intangible

Physical & Mental or Spiritual

National Resources

สาเหตุความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

ปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเมืองในตะวันออกกลาง

การปฏิวัติในตะวันออกกลาง

นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

สถานการณ์การก่อการร้าย

เหตุการณ์ 911

ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดเป็น ยุทธศาสตร์ แบบ 4-2-1

โดยให้ความสำคัญต่อ East Asia, North East Asia, South East Asia และ Europe

4-2-1 คือ สามารถยับยั้งภัยคุกคามได้ 4 ภูมิภาค, เอาชนะได้อย่างรวดเร็วใน 2 ภูมิภาค และเอาชนะได้อย่างเด็ดขาดอย่างน้อย 1 ภูมิภาค

ยุทธศาตร์ทหารของสหรัฐอเมริกา  แนวคิด Sea Basing

องค์กรเดินเรือระหว่างประเทศ – International Marintime Organizatiom (IMU)

เรื่องราวของประเทศมุสลิม

ตัวอย่างของความขัดแย้งจากทั่วโลก เช่น

ไอร์แลนด์เหนือ ที่เกิดขึ้นหลังประชาชนถูกฆ่า 19 คน กลายมาเป็นการต่อสู้ที่ทั้งสองฝ่ายต้องสูญเสียเกือบสี่พันคน ใช้เวลาหาความจริงนานถึง 12 ปี  ใช้เงินไปไม่ต่ำกว่า 9,000 ล้านบาท  ใช้เวลาแก้ไขความขัดแย้งยาวนานถึง 37 ปี (เรื่องนี้ไม่มีเวลาพูดคุยกัน  ลุงเอกเลยส่งเอกสารมาให้อ่าน)

เรื่องราวในอาเจะห์ Ache- Indonesia

กรณีศึกษา Rwanda

บทเรียนอนุญาโตตุลาการชุมชน ตำบลเขาพนม อ. อ่าวลึก จังหวัดกระบี่

***ปัญหาเขตแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านไม่จำเป็นต้องสงคราม****

อันนี้เป็นหัวข้อการบรรยายพิเศษที่กองประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเก​ล้า ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุด​าฯ พระองค์ท่านทรงเป็นผู้อำนวย​การกองฯ และพระองค์ทรงเลือกวิทยากรม​าบรรยายพิเศษเอง และทรงประทับรับฟังพร้อมนัก​เรียน จปร. และทรงซักถามและอธิบายเพิ่ม​เติมเอง นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิกุล​ที่สูงสุดของชีวิตอันติดดิน​ของลุงเอก

ลุงเอกพยายามโยงให้เห็นว่าความขัดแย้งของสังคมโลกก็จะมีผลกระทบสู่ประเทศไทย  ลงไปถึงระดับรากหญ้าของสังคมไทย ทั้งหมดคงเป็นแค่จุดประเด็นให้คนที่สนใจเรื่องความขัดแย้งและแนวทางสร้างสังคมสันติสุข  จะได้เริ่มศึกษาทั้งทฤษฎี ตัวอย่างต่างๆทั่วโลก  ก่อนจะเริ่มศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างจริงจังใน 9 เดือนข้างหน้า  ซึ่งจะส่งผลให้กล้าที่จะเริ่มปฏิบัติด้วยตัวเอง กับคนรอบข้าง ในหน่วยงาน  ในสังคม  และร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆเพื่อขยายผลการเสริมสร้างสันคมสันติสุขต่อไป

Post to Facebook Facebook


บทสรุปจากภาพอนาคตประเทศไทย 2562

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 16 กรกฏาคม 2011 เวลา 10:54 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1338

ใครจะเห็นอนาคตประเทศไทยไปทางไหน  จะเป็นเกาเหลาไม่งอก  น้ำพริกปลาทู หรือต้มยำกุ้งน้ำโขงก็ว่้ากันไปนะครับ  แต่ที่สนใจคือยุทธศาสตร์ต่างๆที่จะช่วยสนับสนุนให้ภาพที่พึงประสงค์เกิดขึ้นและเป็นจริง  รวมทั้งแนวคิดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภาพที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น

ทั้งสามภาพอนาคตก็จะมียุทธศาสตร์หรือแนวคิดร่วมกัน ดังนี้

-ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยและการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย

-ให้ความสำคัญในการแก้ไขความขัดแย้งภายในประเทศอย่างจริงจัง

-เสรีภาพ ความเป็นธรรม ความเท่าเทียมกัน

-ปฏิรูปการศึกษา  พัฒนาคนไทยให้ยอมรับความแตกต่างและพร้อมในการแข่งขันและอยู่ร่วมกัน

-ปฏิรูปสื่อมวลชนให้มีบทบาทในการเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของสังคม

-พัฒนาระบบธรรมภิบาลในระดับผู้นำหรือผู้บริหาร

-ลดอำนาจรัฐ กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

-เอาจริงเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-ปรับปรุุงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

-ดูแลคนไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวให้ดี

ดูแล้วก็เป็นเรื่องเก่าที่รู้และทำกันมานานแล้ว  แต่ทำแล้วไม่สำเร็จ  ไม่เคยเอะใจว่าทำไมทำแล้วไม่ได้ผล

ผู้ที่รับผิดชอบไม่เห็นด้วย  ไม่เต็มใจทำ  หรือทำไม่เป็น  หรือทั้งไม่เต็มใจทำและทำไม่เป็นด้วย

เราวิเคราะห์ถึงรากเหง้าของปัญหาหรือเปล่า ?

เพราะถ้าตั้งโจทย์ผิด  คำตอบก็ผิด

ทำมาตั้งนาน  ไม่ได้ผล  ไม่เอะใจบ้างหรือ?

ที่ใหม่ๆก็น่าจะเป็นเรื่องปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เราเดินตามนโยบายของบางประเทศมากเกินไปหรือเปล่า?

BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ที่จะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในอนาคต  เรามีความสัมพันธ์ระดับไหน  การค้าขายกับประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนเท่าไหร่?

ความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคอินโดจีน  หรืออาเซียนเป็นอย่างไร?

การดูแลคนไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวให้ดีขึ้น  อันนี้ก็ยากครับ  คนไทยด้วยกันยังไม่เข้าใจกัน  ยังดูแลกันแบบนี้  เริ่มมองกันเหมือนไม่ใช่คน?  แล้วคนไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวจะเหลือหรือ?

แล้วจะเริ่มยังไง ?  ทำยังไงกันดี ?  ใครเป็นคนทำ?    ?????

………อิอิอิอิ

Post to Facebook Facebook


ต้มยำกุ้งน้ำโขง

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 16 กรกฏาคม 2011 เวลา 10:13 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2078

ต้มยำกุ้งน้ำโขง

ภาพนี้คงได้อิทธิพลจากประชาคมอาเซียน (ASEAN community)และ BRIC (Brazil, Russia, India และ China)

เหตุการณ์

รายละเอียด

ประชาคมอาเซียน จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน มีการเปิดเสรีทางการค้าขึ้น  มีการเคลื่อนย้ายทั้งการค้า  การลงทุน  แรงงาน  องค์ความรู้  ภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
บริษัทต่างๆของคนไทยต้องแข่งขัน
มีการเย่งชิงบริการขั้นพื้นฐานและสาธารณูปโภคจากรัฐ  ระหว่างแรงงานไทยและต่างด้าว
พันธมิตรทางการค้าใหม่ BRIC น่าจะเป็นพันธมิตรทางการค้าใหม่ของไทย
AFTA  น่าจะมีผลกับประเทศไทยค่อนข้างมาก
การกลับมาของพม่า พม่ามีความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก  ที่ตั้งของประเทศเชื่อมต่อทั้งจีนและอินเดียซึ่งจะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในอนาคต
เมืองหลวงเชิงเศรษฐกิจ ต้องมีการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศในภูมิภาค
มีการพัฒนาพื้นที่ตามศักยภาพทางเศรษฐกิจ  และกระจายความเจริญไปทุกภูมิภาคของประเทศ
กระจายความเจริญออกจาก กทม. เกิดศูนย์กลางระดับภาคขึ้น เป็นเมืองหลวงเชิงเศรษฐกิจใหม่ๆขึ้นในประเทศ
ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ - จากไทยสู่อาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนจะช่วยเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งดังกล่าว
International School/College สถาบันการศึกษานานาชาติมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากรองรับการเคลื่อนย้าย
สามเหลี่ยมวัฒนธรรมอินโดจีน เกิดความร่วมมือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนและอินเดีย
เกิดมหาวิทยาลัยภูมิภาคระดับอินโดจีนขึ้นในประเทศไทย เพื่อรองรับนักศึกษาจากภูมิภาคในแถบอินโดจีน  ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัยทางสังคม  วัฒนธรรม  และการพัฒนาพื้นที่ในภูมิภาค

 

ภาพอนาคตที่เล่าให้ฟังมีทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์  แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์จึงมีทั้งที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาพในอนาคตนั้นเกิดขึ้นและเป็นจริง  และแนวคิดเชิงป้องกันไม่ให้ภาพที่ไม่พึงประสงค์นั้นเกิดขึ้นได้

1. ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน

- สร้างความตื่นตัวในการรับรู้ถึงความสำคัญและผลกระทบจากประชาคมอาเซียนให้กับสังคม

- เตรียม SME ให้พร้อมรับมือกับการแข่งขัน

- พัฒนาความพร้อมทั้งด้าน Logistic และ Technology  รองรับการแข่งขัน

 

2.  ยุทธศาสตร์ภาคีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางพาณิชย์ให้เป็นเครือข่ายพันธมิตรทางการค้า

 

3. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงภายใน

- ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบภายในประเทศอย่างจริงจัง

- ผลักดันการกระจายอำนาจบริหารจัดการสู่ท้องถิ่นตามความต้องการของประชาชน  เพื่อบริหารจัดการและดูแลตัวเอง ตามบริบทของท้องถิ่นซึ่งมีความต้องการแตกต่างกัน

 

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคน

- พัฒนาสถาบันการศึกษานานาชาติ และปรับหลักสูตรให้พร้อม ปูพื้นฐานมี่จะเป็น ASEAN Citizen

อ่านมาถึงตรงนี้ยิ่งหนักใจมากขึ้น  แค่เอาตัวรอดให้ผ่านวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองก็หนักหนาแล้ว  ยังต้องมาพัฒนาให้พร้อมกับการแข่งขันอีก……อิอิ

  

Post to Facebook Facebook


น้ำพริกปลาทู

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 16 กรกฏาคม 2011 เวลา 9:13 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 1671

เป็นภาพอนาคตประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 อีกแบบหนึ่ง ด้วยแนวคิดที่ว่า  จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้ภาครัฐมีบทบาทน้อยลง  ภาคประชาชนเข้มแข็งและเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย

มีการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นในรูปแบบที่เหมาะสมต่อบริบทของท้องถิ่น  เกิดเขตการปกครองพิเศษที่เป็นนวัตกรรมทางการเมือง

นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบายหลัก มีการใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม

เหตุการณ์

ราบละเอียด

สังคมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ สถาบันการศึกษาปรับบทบาทเป็น “นักจัดการความรู็”
เกิดนวัตกรรมกระบวนทัศน์ว่าด้วยการจัดการเรียนรู้มี่ตอบสนองต่อประชาชนในทุกกลุ่ม
การปฏิรูปเศรษฐกิจไทย เน้นตลาดภายในประเทศ
เป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วน GDP ของตลาดในประเทศต่อตลาดส่งออกสูงขึ้นเป็น 60:40 ภายในปี 2562
Carbon Credit Trading ในทุกระดับ สนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
zero waste technology
สังคมเกษตรอินทรีย์ เน้นการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศเป็นหลัก
การเมืองสีรุ้ง ภาคการศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนทำความเข้าใจถึงความแตกต่างหลากหลายทางการเมือง
ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม และเพศสภาวะ
กระจายอำนาจการปกครอง
ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเรื่องปกติ
เขตปกครองพิเศษ กระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ
เน้นธรรมาภิบาล สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ชาติพันธุ์
ประชาชนเรียนรู้รูปแบบการมีส่วนร่วมกับภาคการปกครองและการบริหารจัดการท้องถิ่นด้วยตัวเอง

แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์สู่เป้าหมาย

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาพลเมืองสร้างสรรค์

- ปฏิรูประบบการบริหารจัดการการศึกษาให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

- สร้างการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งทั้งพื้นที่และรูปแบบให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน

- ปฏิรูปสื่อมวลชนให้มีบทบาทในการเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของสังคม

2. ยุทธศาสตร์การปฏิรูปเศรษฐกิจไทยบนฐานเกษตรอินทรีย์

- ขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดเป็นรูปธรรม

3.  ยุทธศาสตร์การสร้างฐานคิดประชาธิปไตย

- ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยและการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย

- ขับเคลื่อนการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคหรือท้องถิ่นบนฐานของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

- พัฒนาระบบธรรมภิบาลในระดับผู้นำหรือผู้บริหาร

- ปรับบทบาทภาครัฐให้เป็นผู้สนับสนุนและผู้ประสานให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ

ภาพนี้ดีมากๆ เป็นภาพในฝันเลย  แต่น่าหนักใจมากเพราะยุทธศาสตร์ที่ว่ามาแต่ละยุทธศาสตร์ดูแล้วความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จน้อยมาก  เช่นปฏิรูปการศึกษา  การกระจายอำนาจ  ปรับบทบาทภาครัฐให้เป็นผู้สนับสนุนและผู้ประสานงานให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือ ฯ เพราะคุ้นเคยกับภาพผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม  ทางการเขาสั่งมาว่า……….  อิอิ

Post to Facebook Facebook


เกาเหลาไม่งอก

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 15 กรกฏาคม 2011 เวลา 23:53 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2361

จาก ภาพอนาคตประเทศไทย 2562 ที่สถาบันคลังสมอง ของชาติ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ด้วยความร่วมมือของศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ  ได้ใช้กระบวนการของการมองอนาคต (foresight)  ระดมความคิดเห็นจากผู้รู้จำนวน 91 คนที่มีความหลากหลายทั้งวัย อาชีพ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3 ครั้งในปี 2552 นำมาสู่ภาพอนาคตประเทศไทย ปี 2562  จำนวน 3 ภาพ  คือ

1. เกาเหลาไม่งอก มีเรื่องสังคมกลียุค คนไร้สัญชาติก่อความไม่สงบ มาตรฐานการศึกษาตกต่ำ

2. น้ำพริกปลาทู ออกแนวเศรษฐกิจพอเพียง  พึ่งพาตัวเองเป็นหลัก

3. ต้มยำกุ้งน้ำโขง ออกแนวต้องแข่งขันกับนานาชาติ นั้น

ก็เลยลองถอดดูว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้ผู้คนมองว่าน่าจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งมีทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์   และมองว่าควรทำอย่างไรเพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์

เกาเหลาไม่งอก

เกาเหลาไม่งอก

เหตุการณ์

รายละเอียด

สังคมกลียุค

สงครามกลางเมืองในกทม. และเมืองใหญ่ในภูมิภาค ความขัดแย้งทางการเมือง
ระบบอุปภัมถ์
ความยากจน  ช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม
การทุจริต คอร์รัปชั่น
สังคมเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันหลัก
การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เท่าเทียมกัน
สื่อมวลชนที่มีคุณภาพลดลง
ส่วนกลางเพิ่มอำนาจกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอ่อนแอลง
คนไร้สัญชาติก่อความไม่สงบ การบริหารจัดการของภาครัฐที่เลือกปฏิบัติ ทั้งสิทธิ สถานะ และสวัสดิภาพ
การเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ การศึกษา สาธารณสุข และกระบวนการยุติธรรม
วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์
มาตรฐานการศึกษาตกต่ำ ระบบการศึกษาของรัฐไม่อาจเป็นที่พึ่งในการพัฒนาคน
ความเชื่อมั่นและการยอมรับของสังคมต่อระบบการศึกษาลดลง
ช่องว่างระหว่างชนชั้นทางสังคมขยายกว้างขึ้นและถูกแบ่งโดยการศึกษา
สังคมหันไปนิยมการศึกษาหลักสูตรสองภาษา หรือโรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนกวดวิชา Home School

แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ก่อนที่จะสายเกินไป

1. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการภาครัฐ

-เพิ่มกลไกการคัดเลือก ประเมิน ตรวจสอบผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพ

-ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น

-ปฏิรูประบบตำรวจและทหาร  แบ่งแยกหน้าที่เฉพาะสำหรับตำรวจและทหาร

-ลดตำแหน่งระดับสูงในกองทัพลงและจำกัดบทบาท

2. ยุทธศาสตร์การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและวัฒนธรรม

-สร้างสำนึกและปลูกฝังพฤติกรรมอันควร เช่นจิตสำนึกสาธารณะ ธรรมาภิบาลทั้งในระบบราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาชน

-พัฒนาจรรยาบรรณของสื่อมวลชน  เพื่อให้การบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร (abuse) น้อยลง

3. ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาและพัฒนาคน

-สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการคิดในทางบวกและสร้างสรรค์ชของเด็กและเยาชน

-สอนเรื่องวินัยและธรรมาภิบาลตั้งแต่อนุบาล

-ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

-ให้วงการศึกษามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนชุมชนและสังคมตามบริบทของพื้นที่/ท้องถิ่น

4. ยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำ

-บริหารจัดการและกระจายการถือครองที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม

-ดูแลคนไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวด้วยความเป็นธรรม

-รัฐต้องกระจายอำนาจ รวมทั้งความรู้และทรัพยากรที่เพียงพอลงสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ปัญหาก็มีอยู่ว่า

ไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้

ทราบแต่ไม่เชื่อ

เชื่อแต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี  หน้าที่ใครทำ  เริ่มยังไงดี

โจทย์คงไม่ง่ายเหมือนที่บางคนคิด

-  ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะมีกลุ่มคนที่ไม่ดี  จัดการกลุ่มคนที่ไม่ดีเสียก็จบ  แล้วกลุ่มไหนล่ะที่ไม่ดี?

-  คนที่เกี่ยวข้องมีไม่กี่คน  เอาแค่หัวหน้าของ 2 กลุ่ม  3 กลุ่มมาคุยกันก็จบ  แล้วมันมีกลุ่มไหนมั่งล่ะ ?  ใครเป็นหัวหน้าที่แท้จริงล่ะ ?

-  ฟังจากที่อาจารย์วิเคราะห์ให้ฟังค่อยข้างจะน่าเป็นห่วง เพราะความขัดแย้งมันลุกลามไปถึงมวลชนแล้ว  ในแต่ละกลุ่มก็มีกลุ่มย่อยๆที่แนวคิดแตกต่างกันในบางประเด็น  การเจรจาคงจะยากขึ้นๆไปเรื่อยๆ

ก็แค่เอาที่เขานั่งคุยกันแล้วพยายามนำเสนอเป็นภาพอนาคตของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2562 มาเล่าให้ฟังเฉยๆนะครับ  อ่านแล้ว คิด  ไม่ต้องเชื่อก็ได้นะครับ

ยังไม่จบครับ  ยังเหลือ น้ำพริกปลาทู และต้มยำกุ้งน้ำโขงอีกนะครับ

Post to Facebook Facebook


Scenario - กระบวนการฉายภาพฉากทัศน์อนาคต

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 14 กรกฏาคม 2011 เวลา 21:53 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 6993

ในเรื่อง อนาคตศึกษา (future Study) หนึ่งในวิธีคาดเดาอนาคตคือ Scenario หรือกระบวนการฉายภาพอนาคต

โครงการมองต์เฟลอร์ (Mont Fleur Scenario) จาก ประสบการณ์สร้างความสมานฉันท์ของประเทศแอฟริกาใต้ในโครงการ Mont Fleur Scenario -siamintelligence.com

โครงการมองต์เฟลอร์ (Mont Fleur Scenario) ของแอฟริกาใต้  ซึ่งดำเนินการโดยนักจำลองสถานการณ์ชื่อ อดัม คาเฮน (Adam Cahen) ซึ่งเป็นอดีตนักจำลองสถานการณ์ ที่เคยทำงานให้บริษัทน้ำมันเชลล์

SIU มองว่า โครงการนี้ อาจเป็นทางออกหนึ่งในการสร้างความสมานฉันท์และลดความขัดแย้งในสังคมไทยได้ จึงจุดประกายเรื่องนี้ขึ้นมาในงานเสวนา ก้าวข้ามความขัดแย้งของสังคมไทย ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ผู้คนหลากหลายอาชีพ 22 คนได้ร่วมกันในวงสนทนาและสรุปการฉายภาพอนาคตออกมาเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้

1. นกกระจอกเทศมุดหัวลงในพื้นทราย (Ostrich) เป็นรูปแบบที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมเจรจา ทุกฝ่ายเผชิญกันด้วยความรุนแรง

2. เป็ดง่อย (Lame Duck) เป็นรูปแบบที่ทุกฝ่ายหันหน้ามาคุยกันเกิดรัฐบาลผสมหลายพรรค ปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ ฯ ยังคงอยู่

3. อิคารัส (Icarus) รัฐบาลผิวดำชนะด้วยนโยบายประชานิยม ทำให้ขาดดุลงบปรัมาณจำนวนมาก  จนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจและปัญหาสังคมตามมา

4. นกฟลามิงโกโบยบิน (Flight of the Flamingos) เป็นอนาคตที่ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน สามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพสูงได้ มีธรรมาภิบาล ไม่มีการคอร์รัปชั่น มีการพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

Omar Ashour อาจารย์ด้านการเมืองตะวันออกกลางจากมหาวิทยาลัย Exeter ในอังกฤษ เขียนบทความแสดงความเป็นไปได้ (scenario) แบบต่างๆ ของลิเบีย 4 แบบ ลงในเว็บไซต์ BBC

……

1. กัดดาฟีถล่มด้วยอาวุธเคมี

2. รัฐประหารโค่นกัดดาฟี

3. สงครามชนเผ่า

4. การแทรกแซงจากต่างชาติ

และที่น่าสนใจคงจะเป็น วิสัยทัศน์ประเทศไทย 2020 ในสายตานักอนาคตศาสตร์ และ ภาพอนาคตประเทศไทย 2562

สถาบันคลังสมองของชาติ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ด้วยความร่วมมือของศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ  ได้ใช้กระบวนการของการมองอนาคต (foresight)  ระดมความคิดเห็นจากผู้รู้จำนวน 91 คนที่มีความหลากหลายทั้งวัย อาชีพ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3 ครั้งในปี 2552 นำมาสู่ภาพอนาคตประเทศไทย ปี 2562  จำนวน 3 ภาพ  คือ

1. เกาเหลาไม่งอก มีเรื่องสังคมกลียุค คนไร้สัญชาติก่อความไม่สงบ มาตรฐานการศึกษาตกต่ำ

2. น้ำพริกปลาทู ออกแนวเศรษฐกิจพอเพียง  พึ่งพาตัวเองเป็นหลัก

3. ต้มยำกุ้งน้ำโขง ออกแนวต้องแข่งขันกับนานาชาติ

แต่ทุกกรณีก็ได้มีการวิเคราะห์แนวทางแก้ไข  ปรับตัวให้พร้อมที่จะรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

เกาเหลาไม่งอก ภาพเกาเหลาไม่งอก จาก ภาพอนาคตประเทศไทย 2562 ฉบับสมบูรณ์

สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเองนะครับ

Post to Facebook Facebook


สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้าไทย (3)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 14 กรกฏาคม 2011 เวลา 0:13 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2268

การทำสงครามจะต้องเผด็จศึกในเร็ววัน  ไม่ควรเนิ่นช้า……

National Power: พลังอำนาจของชาติ

พลังอำนาจของชาติแต่เดิมมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ การเมือง สังคมและการทหาร  แต่ปัจจุบันมีด้านเศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา สารสนเทศ ภูมิรัฐศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และประชากร

ประเทศไทยมีความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้มีผลต่อเศรษฐกิจ การทหาร

สังคมจิตวิทยา สารสนเทศ ก็เป็นเหตุให้ความขัดแย้งรุนแรงขึ้นจนน่าเป็นห่วง

ความขัดแย้งหรือสงครามที่ยืดเยื้อไม่มีประโยชน์อันใดต่อประเทศชาติ  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจะสูงจนการคลังของประเทศมีปัญหา

รูปแบบของการใช้กำลังอำนาจในแต่ละยุคสมัย

1. Military Power กำลังทหาร

2. Politics Power  ใช้การเมือง

3. Economics Power  ใช้เศรษฐกิจ

4. Sociological Power-Religion,Culture ศาสนาและวัฒนธรรม

5. Medias Power - Facebook,Twitter,Vdolink,Mobile Phone, TV , Radio

ประเทศไทยเราน่าจะหันมาดูปัจจัยต่างๆที่จะเป็นพลังอำนาจของชาติ

เรามีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ เริ่มใช้ความรุนแรง ทำให้ขาดเสถียรภาพทางการเมือง  จะมีผลกระทบเชื่อมโยงไปกระทบถึงปัจจัยที่เป็นพลังอำนาจของชาติด้านอื่นๆ

ปัญหาทางการเมืองเป็นเหตุให้มีความอ่อนแทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีปัญหาเรื่องค่าครองชีพ ความเป็นอยู่ ด้านการทหารก็ขาดงบประมาณที่จะจัดซื้อยุทโธปกรณ์  ทำให้พลังอำนาจของชาติอ่อนแอลง

มีการใช้สังคมจิตวิทยาไปอย่างผิดทาง  กระทบไปสู่พลังอำนาจของชาติด้านอื่นๆด้วย

มีการนำเอางานสารสนเทศเข้ามาใช้ปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง กลายเป็นสงครามข้อมูลข่าวสาร ส่งผลให้สังคมไทยเต็มไปด้วยความแตกแยกและร้าวฉาน

คนไทยเราจะหันหน้ามาช่วยกันสร้างพลังอำนาจของชาติร่วมกันได้อย่างไร?

Post to Facebook Facebook


สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้าไทย (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 13 กรกฏาคม 2011 เวลา 23:24 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2102

ไม่มีที่ใดมีสันติภาพ หากปราศจากความยุติธรรม…….

Future Studies: อนาคตศึกษา

“อนาคตศึกษา”เป็นคำที่แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Futures Studies (*) ซึ่งหมายถึงวิชาสาขาใหม่ ที่ศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาอนาคต ตลอดจนระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษาแนวโน้ม และทางเลือกต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต (จุมพล พูลภัทรชีวิน, 2548) ทั้งนี้ที่มาของอนาคตศึกษา เริ่มมาจากมุมมองความเชื่อและความสนใจศึกษาถึงความเป็นไปได้ในอนาคตอย่างเป็นระบบ

การศึกษาถึงอดีตและปัจจุบันเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อกำหนดทิศทางและทางเลือกที่เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

เรื่องนี้ก็ยังใหม่สำหรับประเทศไทย มีคนสนใจไม่มากนัก การคาดการณ์อนาคตคงต้องอาศัยการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ร่วมกับการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลหลายๆด้าน ใช้ทฤษฎีต่างๆอีกมากมาย

เทคนิคการคาดเดาอนาคตมีหลายวิธี เช่น

Trend Analysis

Trend Extrapolation

Cross Impact Analysis

Future Wheels

Checklists

Monitoring

Time-Space

Delphi

Scenarios

Relevance Tree     ………..

John Naisbitt เขียนหนังสือ MEGATREND 2000 และ MEGATRENDS ASIA ไว้ โดนทำนายว่าเสือ 8 ตัวในเอเซียจะเปลี่ยนแปลงโลก  ซึ่ง John Naisbitt  ทำนายไว้ว่า

ความเจริญของโลกจะไหลกลับมาอยู่ที่ญี่ปุ่น จีน เกาหลีและอาเซียน

ธนาคารโลกวิเคราะห์ว่าปี 2025 จีนจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลก ตามด้วยสหรัฐฯ  อินเดีย และเยอรมัน

สหรัฐฯ ร่วมมือกับสหภาพยุโรปสกัดกั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน

ใช้มาตรการระเบียบโลกใหม่เข้ามากดดัน คือ สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย สิ่งแวดล้อม และ การค้าเสรี

….ฯลฯ

เจมส์ วูลเฟนซอห์น อดีตประธานธนาคารโลกพูดที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลศ์ ซิดนีย์….

ใน 25 ปี  จีนและอินเดียจะมี GDP รวมกันเกินกว่าชาติสมาชิกของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ชาติ (G 7)

ปี 2030-2040 จีนจะก้าวข้ามสหรัฐฯ ขึ้นมาเป็นชาติอันดับ 1 ทางเศรษฐกิจ

โลกกำลังจะอยู่ในมือของจีนและอินเดีย เตือนให้ชาติตะวันตกเร่งการเตรียมรับมือกับอิทธิพลทางเศรษฐกิจ

การแผ่ขยายอำนาจอย่างรวดเร็วจนถึงขั้นเปลี่ยนดุลอำนาจ

ชาติร่ำรวยจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสองประเทศนี้  ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ปี 2050 เศรษฐกิจของจีนและอินเดียมีแนวโน้มจะขยายตัวถึง 22 เท่า ขณะที่ชาติ G7 มีแนวโน้มขยายตัวเพียง 2.5 เท่าเท่านั้น

จีนและอินเดียเข้าไปลงทุนในแอฟริกาอย่างมาก

……

ทั้งหมดนี้ก็จะมีผลกระทบต่อรากหญ้าของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Post to Facebook Facebook


สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้าไทย

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 13 กรกฏาคม 2011 เวลา 22:01 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 3635

Geopolitics - ภูมิรัฐศาสตร์

พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ

9 กรกฎาคม 2554 9.30 น. – 12.30 น.

ลุงเอกเริ่มต้นด้วย Learn How to Learn  พยายามอธิบายอีกครั้งถึงการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสันคมสันติสุข รุ่นที่ 3  ว่าเป็นการเรียนแบบ Case Based (กรณีศึกษา) และ Student Center (นักศึกษาเป็นศุนย์กลาง) อาจารย์เป็น Facilitator หรือกระบวนกร  นักศึกษาต้องเรียนเองและเรียนจากเพื่อนนักศึกษา  เรียนจากลงพื้นที่จริง  ไปเก็บข้อมูล  ความจริงและความรู้สึก  การเรียนเป็นปัจจัตตัง

และเตือนเรื่อง กาลามสูตร

รูปภาพ1

หนังสือ Learn How to Learn หรือ ให้ความรักก่อนให้ความรู้ ของ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ

ลุงเอกเล่าว่าจะพูดถึง 3 วิชาที่เมืองไทยไม่มีเรียน คือ

Geopolitics - ภูมิรัฐศาสตร์

Future Studies - อนาคตศึกษา

National Power

Geopolitics - ภูมิรัฐศาสตร์

ยกตัวอย่าง เช่น มาบตาพุดอยู่ในเขตร้อนชื้นควรทำการเกษตร แต่เอาไปทำอุตสาหกรรม

ลุงเอกพูดถึง ใจโลก (ทฤษฎีดินแดนที่เป็นหัวใจ – Heart Land Theory) และขอบโลก (ทฤษฎีขอบดินแดน –Rimland Theory)

** จาก ภูมิรัฐศาสตร์ - มิติของความมั่นคงที่ไม่เคยเลือนหาย

Tortaharn.net

ใจโลกหรือ  ดินแดนหัวใจ (Heart Land) ทฤษฏีนี้นำเสนอโดย แมคคินเดอร์ ในปี พ.ศ. 2447 โดยบทความชื่อ “The Geographical Pivot of History”

heartland_theory

“ใจโลก” (Heartland) เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์มาก ทั้งน้ำมัน ถ่านหิน แร่ยูเรเนียม   เริ่มจากทะเลบอลติกและทะเลดำทางตะวันตกไปจนถึงเขตไซบีเรียทาง ตะวันออก และทางเหนือจากมหาสมุทรอาร์กติกลงจนถึงเทือกเขาหิมาลัยทางใต้  รวมส่วนใหญ่ของที่ราบสูงอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้และที่ราบสูงมองโกเลียทางตะวันออกเฉียงใต้

บริเวณนี้กำลังทางเรือจะเข้าได้ยากมาก  ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาล้อมรอบถือเป็นชัยภูมิที่ดี และยังสามารถเคลื่อนกำลังเข้าไปยึดครองยุโรปตะวันออกและตะวันตก

ใจโลก จะถูกล้อมด้วยทวีปยุโรปและเอเซีย มีประเทศ จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ ล้อมรอบ ซึ่ง แมคคินเดอร์ เรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า “ดินแดนรูปวงเดือนริมใน” (Inner Marginal Crescent)

ดินแดนถัดมา คือ ทวีปอัฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ โดยเรียกบริเณนี้ว่า “ดินแดนรูปวงเดือนริมนอก” (Outer, Insular Crescent)

แมคคินเดอร์ ได้กล่าวไว้ว่า “Who rules East Europe commands the Heartland, Who rules the Heartland commands the World-Island, Who rules the World-Island commands the World.”

ทฤษฏีขอบดินแดน” (Rimland Theory) นำเสนอ โดย นิโคลัส เจ สปีกแมน ศาสตราจารย์ผู้สอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยเยล ซึ่งมีมุมมองที่แตกต่างออกไป

image002

สปีกแมน มองว่าดินแดนที่อยู่ถัด ดินแดนรูปวงเดือนริมใน ออกมา ทั้งนี้ไม่รวมตะวันออกกลาง ตะวันออกใกล้ ตะวันออกไกล และ เอเซียอาคเนย์ ต่างหากที่เป็นภูมิประเทศทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะเป็นบริเวณกันชน (Buffer Zone) ซึ่ง สปีกแมน เรียกว่า “ขอบดินแดน” หรือ ขอบโลก

และยังได้กล่าวไว้ว่า  “Who controls the rimland rules Eurasia; Who rules Eurasia controls the destinies of the world.” โดยถอดความเป็นภาษาไทยได้ว่า “ผู้ใดสามารถควบคุมขอบดินแดนได้จะได้ครองยูเรเซีย ผู้ใดควบคุมยูเรเซียได้ผู้นั้นจะครองโลกในที่สุด”

ลุงเอกบอกว่า “ใจโลก” และ “ขอบโลก” จะไม่มีวันสงบสุข เพราะเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ  และทางผ่านเพื่อนำทรัพยากรเหล่านี้ออกมาใช้

นอกจากนี้ยังสามารถมองว่าประเทศไทยมีภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมในอนุภูมิภาค (เอเซียตะวันออกเฉียงใต้) นี้ เป็น Heart Land  ของภูมิภาคนี้  ไม่ว่าจะเป็น

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ด้านประชากร

ปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ

ปัจจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอื่นๆ

ทำให้ประเทศไทยมีความเหมาะสมที่จะเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆ เช่น เป็น

ศูนย์กลางด้านการขนส่ง (Transportation Hub)

ศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ (Logistics Hub)

ศูนย์กลางด้านการประชุม สัมมนา และการแสดงสินค้านานาชาติ (International Conference, Saminar, and Exhibition Hub)

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรง เป็นอุปสรรคคอยสกัดกั้นขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

…….คอยติดตามตอนต่อไป

Post to Facebook Facebook



Main: 1.3575410842896 sec
Sidebar: 0.10160684585571 sec