เกาเหลาไม่งอก

โดย จอมป่วน เมื่อ 15 กรกฏาคม 2011 เวลา 23:53 ในหมวดหมู่ จอมป่วน #
อ่าน: 2435

จาก ภาพอนาคตประเทศไทย 2562 ที่สถาบันคลังสมอง ของชาติ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ด้วยความร่วมมือของศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ  ได้ใช้กระบวนการของการมองอนาคต (foresight)  ระดมความคิดเห็นจากผู้รู้จำนวน 91 คนที่มีความหลากหลายทั้งวัย อาชีพ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3 ครั้งในปี 2552 นำมาสู่ภาพอนาคตประเทศไทย ปี 2562  จำนวน 3 ภาพ  คือ

1. เกาเหลาไม่งอก มีเรื่องสังคมกลียุค คนไร้สัญชาติก่อความไม่สงบ มาตรฐานการศึกษาตกต่ำ

2. น้ำพริกปลาทู ออกแนวเศรษฐกิจพอเพียง  พึ่งพาตัวเองเป็นหลัก

3. ต้มยำกุ้งน้ำโขง ออกแนวต้องแข่งขันกับนานาชาติ นั้น

ก็เลยลองถอดดูว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้ผู้คนมองว่าน่าจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งมีทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์   และมองว่าควรทำอย่างไรเพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์

เกาเหลาไม่งอก

เกาเหลาไม่งอก

เหตุการณ์

รายละเอียด

สังคมกลียุค

สงครามกลางเมืองในกทม. และเมืองใหญ่ในภูมิภาค ความขัดแย้งทางการเมือง
ระบบอุปภัมถ์
ความยากจน  ช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม
การทุจริต คอร์รัปชั่น
สังคมเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันหลัก
การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เท่าเทียมกัน
สื่อมวลชนที่มีคุณภาพลดลง
ส่วนกลางเพิ่มอำนาจกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอ่อนแอลง
คนไร้สัญชาติก่อความไม่สงบ การบริหารจัดการของภาครัฐที่เลือกปฏิบัติ ทั้งสิทธิ สถานะ และสวัสดิภาพ
การเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ การศึกษา สาธารณสุข และกระบวนการยุติธรรม
วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์
มาตรฐานการศึกษาตกต่ำ ระบบการศึกษาของรัฐไม่อาจเป็นที่พึ่งในการพัฒนาคน
ความเชื่อมั่นและการยอมรับของสังคมต่อระบบการศึกษาลดลง
ช่องว่างระหว่างชนชั้นทางสังคมขยายกว้างขึ้นและถูกแบ่งโดยการศึกษา
สังคมหันไปนิยมการศึกษาหลักสูตรสองภาษา หรือโรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนกวดวิชา Home School

แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ก่อนที่จะสายเกินไป

1. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการภาครัฐ

-เพิ่มกลไกการคัดเลือก ประเมิน ตรวจสอบผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพ

-ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น

-ปฏิรูประบบตำรวจและทหาร  แบ่งแยกหน้าที่เฉพาะสำหรับตำรวจและทหาร

-ลดตำแหน่งระดับสูงในกองทัพลงและจำกัดบทบาท

2. ยุทธศาสตร์การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและวัฒนธรรม

-สร้างสำนึกและปลูกฝังพฤติกรรมอันควร เช่นจิตสำนึกสาธารณะ ธรรมาภิบาลทั้งในระบบราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาชน

-พัฒนาจรรยาบรรณของสื่อมวลชน  เพื่อให้การบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร (abuse) น้อยลง

3. ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาและพัฒนาคน

-สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการคิดในทางบวกและสร้างสรรค์ชของเด็กและเยาชน

-สอนเรื่องวินัยและธรรมาภิบาลตั้งแต่อนุบาล

-ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

-ให้วงการศึกษามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนชุมชนและสังคมตามบริบทของพื้นที่/ท้องถิ่น

4. ยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำ

-บริหารจัดการและกระจายการถือครองที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม

-ดูแลคนไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวด้วยความเป็นธรรม

-รัฐต้องกระจายอำนาจ รวมทั้งความรู้และทรัพยากรที่เพียงพอลงสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ปัญหาก็มีอยู่ว่า

ไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้

ทราบแต่ไม่เชื่อ

เชื่อแต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี  หน้าที่ใครทำ  เริ่มยังไงดี

โจทย์คงไม่ง่ายเหมือนที่บางคนคิด

-  ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะมีกลุ่มคนที่ไม่ดี  จัดการกลุ่มคนที่ไม่ดีเสียก็จบ  แล้วกลุ่มไหนล่ะที่ไม่ดี?

-  คนที่เกี่ยวข้องมีไม่กี่คน  เอาแค่หัวหน้าของ 2 กลุ่ม  3 กลุ่มมาคุยกันก็จบ  แล้วมันมีกลุ่มไหนมั่งล่ะ ?  ใครเป็นหัวหน้าที่แท้จริงล่ะ ?

-  ฟังจากที่อาจารย์วิเคราะห์ให้ฟังค่อยข้างจะน่าเป็นห่วง เพราะความขัดแย้งมันลุกลามไปถึงมวลชนแล้ว  ในแต่ละกลุ่มก็มีกลุ่มย่อยๆที่แนวคิดแตกต่างกันในบางประเด็น  การเจรจาคงจะยากขึ้นๆไปเรื่อยๆ

ก็แค่เอาที่เขานั่งคุยกันแล้วพยายามนำเสนอเป็นภาพอนาคตของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2562 มาเล่าให้ฟังเฉยๆนะครับ  อ่านแล้ว คิด  ไม่ต้องเชื่อก็ได้นะครับ

ยังไม่จบครับ  ยังเหลือ น้ำพริกปลาทู และต้มยำกุ้งน้ำโขงอีกนะครับ

Post to Facebook Facebook

« « Prev : Scenario - กระบวนการฉายภาพฉากทัศน์อนาคต

Next : น้ำพริกปลาทู » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "เกาเหลาไม่งอก"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.1930890083313 sec
Sidebar: 0.066518068313599 sec