สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้าไทย
อ่าน: 3689Geopolitics - ภูมิรัฐศาสตร์
พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
9 กรกฎาคม 2554 9.30 น. – 12.30 น.
ลุงเอกเริ่มต้นด้วย Learn How to Learn พยายามอธิบายอีกครั้งถึงการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสันคมสันติสุข รุ่นที่ 3 ว่าเป็นการเรียนแบบ Case Based (กรณีศึกษา) และ Student Center (นักศึกษาเป็นศุนย์กลาง) อาจารย์เป็น Facilitator หรือกระบวนกร นักศึกษาต้องเรียนเองและเรียนจากเพื่อนนักศึกษา เรียนจากลงพื้นที่จริง ไปเก็บข้อมูล ความจริงและความรู้สึก การเรียนเป็นปัจจัตตัง
และเตือนเรื่อง กาลามสูตร
หนังสือ Learn How to Learn หรือ ให้ความรักก่อนให้ความรู้ ของ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ
ลุงเอกเล่าว่าจะพูดถึง 3 วิชาที่เมืองไทยไม่มีเรียน คือ
Geopolitics - ภูมิรัฐศาสตร์
Future Studies - อนาคตศึกษา
National Power
Geopolitics - ภูมิรัฐศาสตร์
ยกตัวอย่าง เช่น มาบตาพุดอยู่ในเขตร้อนชื้นควรทำการเกษตร แต่เอาไปทำอุตสาหกรรม
ลุงเอกพูดถึง ใจโลก (ทฤษฎีดินแดนที่เป็นหัวใจ – Heart Land Theory) และขอบโลก (ทฤษฎีขอบดินแดน –Rimland Theory)
** จาก ภูมิรัฐศาสตร์ - มิติของความมั่นคงที่ไม่เคยเลือนหาย
ใจโลกหรือ ดินแดนหัวใจ (Heart Land) ทฤษฏีนี้นำเสนอโดย แมคคินเดอร์ ในปี พ.ศ. 2447 โดยบทความชื่อ “The Geographical Pivot of History”
“ใจโลก” (Heartland) เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์มาก ทั้งน้ำมัน ถ่านหิน แร่ยูเรเนียม เริ่มจากทะเลบอลติกและทะเลดำทางตะวันตกไปจนถึงเขตไซบีเรียทาง ตะวันออก และทางเหนือจากมหาสมุทรอาร์กติกลงจนถึงเทือกเขาหิมาลัยทางใต้ รวมส่วนใหญ่ของที่ราบสูงอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้และที่ราบสูงมองโกเลียทางตะวันออกเฉียงใต้
บริเวณนี้กำลังทางเรือจะเข้าได้ยากมาก ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาล้อมรอบถือเป็นชัยภูมิที่ดี และยังสามารถเคลื่อนกำลังเข้าไปยึดครองยุโรปตะวันออกและตะวันตก
ใจโลก จะถูกล้อมด้วยทวีปยุโรปและเอเซีย มีประเทศ จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ ล้อมรอบ ซึ่ง แมคคินเดอร์ เรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า “ดินแดนรูปวงเดือนริมใน” (Inner Marginal Crescent)
ดินแดนถัดมา คือ ทวีปอัฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ โดยเรียกบริเณนี้ว่า “ดินแดนรูปวงเดือนริมนอก” (Outer, Insular Crescent)
แมคคินเดอร์ ได้กล่าวไว้ว่า “Who rules East Europe commands the Heartland, Who rules the Heartland commands the World-Island, Who rules the World-Island commands the World.”
ทฤษฏีขอบดินแดน” (Rimland Theory) นำเสนอ โดย นิโคลัส เจ สปีกแมน ศาสตราจารย์ผู้สอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยเยล ซึ่งมีมุมมองที่แตกต่างออกไป
สปีกแมน มองว่าดินแดนที่อยู่ถัด ดินแดนรูปวงเดือนริมใน ออกมา ทั้งนี้ไม่รวมตะวันออกกลาง ตะวันออกใกล้ ตะวันออกไกล และ เอเซียอาคเนย์ ต่างหากที่เป็นภูมิประเทศทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะเป็นบริเวณกันชน (Buffer Zone) ซึ่ง สปีกแมน เรียกว่า “ขอบดินแดน” หรือ ขอบโลก
และยังได้กล่าวไว้ว่า “Who controls the rimland rules Eurasia; Who rules Eurasia controls the destinies of the world.” โดยถอดความเป็นภาษาไทยได้ว่า “ผู้ใดสามารถควบคุมขอบดินแดนได้จะได้ครองยูเรเซีย ผู้ใดควบคุมยูเรเซียได้ผู้นั้นจะครองโลกในที่สุด”
ลุงเอกบอกว่า “ใจโลก” และ “ขอบโลก” จะไม่มีวันสงบสุข เพราะเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และทางผ่านเพื่อนำทรัพยากรเหล่านี้ออกมาใช้
นอกจากนี้ยังสามารถมองว่าประเทศไทยมีภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมในอนุภูมิภาค (เอเซียตะวันออกเฉียงใต้) นี้ เป็น Heart Land ของภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็น
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านประชากร
ปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ
ปัจจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอื่นๆ
ทำให้ประเทศไทยมีความเหมาะสมที่จะเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆ เช่น เป็น
ศูนย์กลางด้านการขนส่ง (Transportation Hub)
ศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ (Logistics Hub)
ศูนย์กลางด้านการประชุม สัมมนา และการแสดงสินค้านานาชาติ (International Conference, Saminar, and Exhibition Hub)
แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรง เป็นอุปสรรคคอยสกัดกั้นขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
…….คอยติดตามตอนต่อไป
« « Prev : Post Election Stress Syndrome
Next : สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้าไทย (2) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้าไทย"