วิจัยชุมชน
อ่าน: 2512ในแวดวงนักศึกษา นักวิชาการ หรือแม้แต่ผู้นำชุมชน หรือคนที่เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาอบรมต่างๆ มักจะเกี่ยวข้อง-ได้ยิน-หรือมีพันธกิจต้องกระทำ แต่..คำว่าวิจัยก็ยังเป็นยาขมหม้อใหญ่ ตีความไปต่างๆนานา ทั้งที่เรื่องที่ว่านี้มีอยู่ในวิถีไทย บางส่วนเรียกว่าบริบทภูมิปัญญาไทย ศึกษาให้ดีเถิดแล้วจะรู้ว่า..กว่าจะคล้องช้างป่ามาใช้งานได้นั้น ชาวกูยแถบจังหวัดสุรินทร์ต้องวิจัยในป่าแถวพนมดงรักขนาดไหน?
งานวิจัยสมัยนี้จะยอมรับกันว่ามีอยู่ที่สถาบัน หน่วยงาน นักวิชาการ ซึ่งก็มีผู้รู้มากมายที่ได้วิจัยเรื่องดีๆให้กับบ้านเมืองเรา หลายด้วยงานมีชุดความรู้ที่ดำเนินการขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง แต่ก็นั่นแหละ..วัฒนธรรมราชการ! จะถ่ายทอด จะนำไปสู่ประชาชน ดูมันยุ่งยากไปหมด บางท่านอาจจะไม่มองเรื่องการนำไปใช้ประโยชน์ในสังคมเท่าที่ควร วิจัยจบตัวเองได้ตีพิมพ์ ได้ชื่อว่าวิจัยเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็พอใจแล้ว ใครจะเอาไปใช้ไปทดลองต่อก็แล้วแต่ ไม่ได้คิดเผื่อตรงนี้ไว้ ..เพราะวิจัยกว่าจะปิดเรื่องลงได้ก็ทนทรมานมามากแล้ว
หลายปีที่ผ่านมา สวนป่ามหาชีวาลัยอีสาน ได้ทำทำวิจัยเรื่องโคพันธุ์ซาฮิวาล ร่วมกับกองบำรุงพันธุ์สัตว์ กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ กรมปศุสัตว์ ภาษาชาวบ้านเรียกว่าการวิจัยแบบถึงลูกถึงคน แต่เรื่องนี้เกี่ยวกับปศุสัตว์ จึงขอเปลี่ยนเป็น “วิจัยแบบถึงคนถึงคอก” เป็นเช่นนี้จริงๆนะครับ กระบวนการวิจัยได้นำโคพันธุ์แท้มาให้ผมเลี้ยงด้วยตัวเอง เจ้าหน้าที่ลงมาติดตามวิเคราะห์ปัญญา ตรวจสอบข้อมูล ติดตามดูการดำเนินการเลี้ยงทุกแง่มุม ได้แนะนำวิชาการที่จำเป็นต่อการเลี้ยงโคพันธุ์แท้เพื่อการรับรองพันธุ์ จะเห็นว่าการตั้งเป้าหมายในโจทย์วิจัยนั้น ต้องคมชัดและชัดเจนด้วยกันทุกฝ่าย ทุกส่วน ทุกคน มีบทบาทร่วมเรียงเคียงคู่กันเดินสู่สะพานการวิจัย จะเรียกว่าวิจัยแบบอี๋อ๋อจะดีไหมครับ?
โคพันธุ์ซาฮิวาลเป็นโคที่กรมปศุสัตว์นำเข้าต้งแต่ปี2533 จำนวนทั้สิ้น200ตัว เป็นเพศผู้25ตัว เพศเมีย175ตัว วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ผลผลิตและความสามารถทางความสมบูรณ์พันธุ์ ตลอดจนเป็นแหล่งพันธุกรรมโคนมสายเลือดอินเดีย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ทนร้อน ทนโรคและแมลงในเขตร้อน เลี้ยงง่าย สามารถปรับตัวและให้ผลผลิตในสภาพการผลิตที่ใช้อาหารหยาบคุณภาพต่ำได้
ปัจจุบันประเทศปากีสถานถือว่าโคพันธุ์ซาฮิวาลนี้เป็นทรัพยากรพันธุกรรมที่สำคัญ และห้ามมิให้นำออกนอกประเทศแล้ว เนื่องจากเป็นโคที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของสภาวะตลาดในปัจจุบัน จึงทำให้เกษตรกรมาขอซื้อโคที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ปากช่องในช่วงปี2545-2548ที่ขึ้นบัญชีจองไว้1,244ราย เป็นจำนวนโคเกือบ8,000ตัว
ถ้าเป็นหน่วยงานอื่น ใครจะมาสนใจ มาจอง ก็เอาสมุดเล่มหนึ่งมาวางให้ลงชื่อจองๆๆๆกันไป จองแล้วก็ไปนอนรอทั้งปีทั้งชาติ ไม่อีนังขังขอบอะไร เพราะทำตามหน้าที่อยู่แล้ว แต่..นักวิจัยกองบำรุงพันธุ์สัตว์ไม่ได้คิดเช่นนั้น ดร.วนิดา กำเนิดเพชร์ และคณะได้ร่วมกันเปิดโครงการฟาร์มเครือข่าย แสวงหาเกษตรกรในภูมิถาคต่างๆที่สนใจเลี้ยงโคพันธุ์แท้ เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายทีมวิจัยก็ลงไปพูดคุยแนวทางปฏิบัติที่ทั้ง2ฝ่ายจะช่วยกันคิดช่วยกันทำ โครงการนี้นับเป็นงานวิจัยเชิงรุก เชิงกระบวนการ ที่นำการมีส่วนร่วมของชาวบ้านมาเป็นพันธมิตรวิจัย เพื่อไต่ระดับไปสู่พันธมิตรวิชาการ
เรื่องอย่างนี้ถ้าเกิดขึ้นมากๆในประเทศของเราละเยี่ยมเลย
ประเด็นเหล่านี้ กรณีตัวอย่างที่เล่ามาข้างต้น
จะมีคณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ออกมาเยี่ยมยามมหาชีวาลัยอีสาน วันที่19-20 เดือนสิงหาคม 2551
จอมยุทธ45ชีวิต จะมานอนคุยกัน1คืน
มาดูสิว่า..มหาวิทยาลัยราชภัฏ จะเป็นศูนย์วิชาการเพื่อท้องถิ่นได้อย่างไร?