บุรีรัมย์ตำน้ำกิน *****

อ่าน: 2943

ตอนเด็กๆผมตื่นใจมากกับเรื่องขงเบ้งดูดาว แล้วยังทำนายทายทักเรื่องลมฟ้าอากาศได้แม่นยำ นำมาวางกลยุทธหลอกล่อโจโฉจนตกน้ำป๋อมแป๋ม ตอนบ่ายคุณชายมาบอกว่าวันสองวันนี้จะหนาวแล้วละนะ จึงฉุกคิดว่า..เออ คุณชายนี่นะ..แกเก่งพอๆกับขงเบ้งนั้นแหละ บอกเรื่องลมฟ้าพยากรณ์แม่นยำทุกที คนขี้หนาวรู้แล้วก็เตรียมตัวเตรียมใจสิครับ อาบน้ำเอาลูกมะกรูดมาขัดถูทุกซอกทุกมุม เผื่อหนาวจริงๆจะได้ใช้สูตร 7 วันอาบน้ำหนเดียว

ตอนหัวค่ำจะดูบอลไทย-สิงคโปร์ เปิดทีวี ..มันทะลึ่งบอกว่า..ให้ใส่รหัส อ้าว! รหัสบ้าอะไรอีกละใส่ไม่เป็น ก็เลยอดดู ไม่ดูก็ไม่ลงแดงตายหรอกว่ะ ไอ้พวกมนุษย์ขี้เหม็นมันก็สร้างเงื่อนไขสารพัดอย่างนี้แหละเธอ ..เอาโคมมาจุด1ใบส่งเคราะห์ส่งโศกให้ไอ้พวกหากินกับทีวี หาเสื้อหนาวกับหมวกไหมพรมที่คนใจดีส่งมาให้สวมฉับ แล้วก็กลับมามุดมุ้งนอน

ตื่นขึ้นมากลางดึก ..ลมหนาวกรูเกรียวมาวูบหนึ่ง ลมหนาวมาเปิดชายมุ้งมากระทบขอบเตียง เออ..หนอ ใครนะส่งลมเย็นมาปลุกเรา ลุกขึ้นจัดชายมุ้งให้เรียบร้อย ดึงผ้านวมมาคลุมจะนอนต่อ..แต่ตากับใจตื่นเสียแล้ว จึงเอาโต๊ะพับมากางกลางเตียง แล้วก็นั่งทำการบ้านในหัวข้อที่ว่า..คุณเป็นคนบุรีรัมย์รึเปล่า เมื่อก่อนก็ไม่เคยคิดอย่างนี้ ..ทำไมเราถึงได้มาเกิดอยู่ที่นี่ นั่นนะสิ จะถามใครละ คิดไปก็เท่านั้น คนเรานี่นะเธอ ต่อให้ไปเกิดบนสวรรค์ ถ้าไม่คิดทำอะไรให้กับถิ่นฐานบ้านเกิดตนเองมันก็ไอ้แค่นั่นแหละ

โจทย์นี้ค้างใจมาตั้งแต่ดร.พิสมัย ประชานันท์ มาชวนไปงานวันบุรีรัมย์โป๊ะเช๊ะ ในวันที่5 มกราคมที่จะถึงนี้ การจัดงานเสวนาต้นปีก็ดีนะเธอ เราจะได้ตั้งต้นคิดร่วมกันว่า ปีใหม่นี้เราจะคืนอะไรให้กับบุรีรัมย์ ค น บุ รี รั ม ย์ จ ะ ช่ ว ย กั น ก ว า ด บ้ า น ปั ด ฝุ่ น ใ ห้ บ้ า น เ มื อ ง ตั ว เ อ ง ผ่ อ ง ใ ส เ รี่ ย ม แ ร้ ไ ด้ อ ย่ า ง ไ ร ? เมื่อเค้าโครงความคิดออกมาอย่างนี้ ก็มีคำถามตามมา คนบุรีรัมย์จะทำอะไรให้บุรีรัมย์รึ ที่ผ่านมาจังหวัดนี้ก็ดูไม่ค่อยจะมีอะไรโฉ่งฉ่าง เงียบๆเหงาๆเหมือนที่เขาเรียกขานว่า

บุรีรัมย์ตำน้ำกิน

บุรีรัมย์ไม่ตำน้ำกิน จะตำอะไร? แค่ตำนานเกี่ยวกับเมืองนี้ มันก็หดหู่ดูแห้งแล้งในความรู้สึกแล้วนะเธอ เอาเถอะนะ ใครจะเรียกอย่างไรเราไปเปลี่ยนไม่ได้หรอก แต่เราแก้ไขได้ แทนที่จะบอกว่าบุรีรัมย์ตำน้ำกิน เราก็เปลี่ยนมาเป็น บุรีรัมย์ตำส้มตำปูดองอร่อยเหาะ-ตำน้ำพริก-ตำซุปหมากมี่-ตำลูกยอ-ตำข้าวเม่า-ต้มยำตำแกง เอาให้ตำตาตำใจแก่อาคันตุกะผู้มาเยือน

ทำให้ฮือฮากันไปเลย..

บุรีรัมย์มีเมนูอาหารอร่อย สะอาด ปลอดภัย

ใครได้มาชิมติดใจเป็นกำไรของกระเพาะ อิ อิ..

ภาคบ่ายมีหัวข้อเสวนา “เรื่องเครือข่ายชาวบ้านกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ได้หัวข้อนี้ชักเข้าเค้าแล้วสิเธอ แต่ไหนแต่ไรมาแล้ว คนไทยมักจะเห็นเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องตายเรื่องเล็ก สงสัยสืบเชื้อสายมาจากอีตาชูชก เราจึงเห็นการบริโภคอย่างมูมมาม เมื่อก่อนเจี๊ยะจอบเจี๊ยะเสียม สมัยนี้เจี๊ยะสะพาน เจี๊ยะถนนลาดยาง เจี๊ยะโครงการต่างๆ ต่อไปก็เจี๊ยะประเทศ

ในชั้นเราๆชาวบ้านนี่นะเธอ น้อยนักที่จะใส่ใจเรื่องการบริโภค ทั้งๆที่ต้องกินอยู่ทุกวันนี่แหละ มี สั ก กี่ ค น ที่ รั บ ป ร ะ ท า น อ า ห า ร ถู ก วิ ธี ไม่ใช่แค่กินร้อนช้อนกลางเท่านั้นหรอกนะเธอ คุณภาพอาหารนี่เป็นเรื่องใหญ่ วิธีรับประทานอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญ ค น ไ ท ย ป่ ว ย ทั้ ง ป ร ะ เ ท ศ ก็ เ พ ร า ะ เ รื่ อ ง กิ น ไ ม่ เ ป็ น นี่ แ ห ล ะ แต่..การนำเสนอเชิงนโยบายเช่นนี้คงไม่มีเวลาสาธยายอะไรได้มากนัก จะลงขั้นกระบวนการก็ยากอีก ต้องมานั่งใคร่ครวญว่าจะออกแบบการนำเสนออย่างไร?

การกินเป็นนำไปสู่การคิดเป็น

ในงานพัฒนาสังคมปกติ เราก็เห็นการใช้ทางลัดจำนวนมากเพื่อหวังผลที่รวดเร็ว โดยเฉพาะการขับเคลื่อนนโยบาย นโยบายใดๆก็ตาม มักจะเกิดจากตัวอย่างระดับชุมชนเล็กๆ มาก่อน เมื่อหลายคนเห็นดีเห็นงามก็ผลักดันให้เป็นนโยบาย นโยบาย เป็นทางลัดที่จะเพิ่มพื้นที่การทำงานอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่ถูกหยิบยกไปเป็นนโยบายส่วนหญ่ มักหยิบไปไม่หมด มักจะหยิบไปแค่ผลผลิต ไม่สนใจกระบวนการ สนใจผลสำเร็จ ไม่สนใจวิธีทำ โดยหาสำนึกไม่ว่า วิธีทำนั่นเองที่จะกำหนดว่าผลผลิตจะออกมาดีหรือเลว

ที่เห็นจะๆ คือหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นทันที เพราะโดยปกติทุกประเทศไม่มีเงินพอที่จะแจกประชาชนอยู่แล้ว ก็ต้องกู้หนี้ ใช้เงินในอนาคตมาใช้จ่ายวันนี้ ประเทศในยุโรปที่ล่มสลายหนี้สินล้นพ้นตัวหลายประเทศอยู่ในเวลานี้ ก็มาจากการจ่ายเกินตัว คือแจกเงิน แจกโครงการ เรียกคะแนนเสียงนี่แหละ ความเสียหายก้อนใหญ่ที่จะฝังรากลึกในวัฒนธรรมการเมืองก็คือ การพึ่งพาภายนอกของชาวบ้านที่ไม่มีที่สิ้นสุด

งานนี้จะแจกความรู้ แจกความรัก แจกความปรารถนาดี ถ้าต้องการเห็นบุรีรัมย์บรรเจิด เราก็ไม่ควรจะทำแบบไฟไหม้ฟาง เพราะหลังจากวูบวาบแล้วมันก็จะเหลือแต่ขี้เถ้า ถูกลมกระโชกก็ไม่รู้ปลิวหายไปไหนหมด แทนที่จะสมวัตถุอย่างเดียว ก็ชวนกันมาสะสมประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แค่เปลี่ยนวิธีกินของคนบุรีรัมย์ให้เห็นเป็นตัวอย่าง สุขภาพคนไทยก็จะแข็งแรงขึ้นทั้งประเทศแล้วละครับ

การฉุกคิดจากจุดเล็กๆ เหมือนการเติบโตของต้นไม้ คนบุรีรัมย์ร่วมด้วยช่วยกันเติมความคิดความรู้ เพิ่มแรงบวกแรงใจให้แก่กัน ใช้ความเป็นคนบุรีรัมย์บ้านเฮามาเป็นแรงบวก เอาความรักบ้านเกิดมาเป็นตัวคูณ ปั้นบุรีรัมย์ให้พริ้งบรรเจิด ภายในครรลองที่พอเหมาะพอควรกับศักยภาพแห่งตน

“พระเจ้าอยู่หัว ทรงตอกย้ำเสมอว่า ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไม่ได้เปลี่ยนทรัพยากรมาเป็นเงินเป็นทอง แต่เปลี่ยนมาเป็นอาหาร เป็นของใช้ เป็นที่อยู่อาศัยให้พอดีพอเหมาะกับฐานะของคน ประเทศเราจึงอยู่มาได้โดยไม่เสื่อมทรุดเลย แต่ยุคหลังเราเปลี่ยนมันเป็นเงิน เราเปลี่ยนแผ่นดิน เปลี่ยนตันไม้ เปลี่ยนกุ้งหอยปูปลาเป็นสินค้า แล้วแผ่นดินก็ถูกทำลายลงในช่วงอายุคนรุ้นเดียวเท่านั้น”

เรามีภูเขา มีทุ่งนา มีป่า มีชายฝั่งทะเลที่มีทรัพยากรมั่งคั่ง แค่คนยุคเราเขลาเกินไปที่จะเก็บรักษาไว้ เราพยายามพัฒนาประเทศไปสู่ความร่ำรวย มีอุตสาหกรรมมากขึ้น มีรีสอร์ตมากขึ้น มีนักท่องเที่ยวมากขึ้น แต่เราลืมมองไปว่า แหล่งผลิตอาหารกำลังเสื่อมโทรมและใกล้จะหมดไป แล้วเราจะหาอาหารคุณภาพดีๆได้จากที่ไหน ต่อให้ร่ำรวยเพียงใด ไม่มีอาหาร ไม่มีความมั่นคง แล้วสงครามแย่งชิงก็จะเกิดขึ้น จนกลายเป็นสงครามโลกในยุคอันใกล้นี้

ถ้าเรายังไม่เริ่มทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ

ต่อไปคนในกลุ่มเกษตรกรเรานี่แหละ

จะเป็นคนกลุ่มแรกที่สะสมสารเคมีไว้ในร่างกายมากที่สุด

แล้วปัญหาในระยะยาวเกี่ยวกับการรักษา

ที่วันนี้ผู้ป่วยล้นมืออยู่แล้ว

ก็จะยิ่งมีมากขึ้น

เรากำลังเดินไปสู่อนาคตที่อปราะบางกันรึเปล่า

วันที่5 ควรจะเป็นวันที่คนเมืองแป๊ะ มาแปะโป้งร่วมกัน

เลิกเล่นเป่าหยิงฉุบกันเถิดนะ

เพื่อที่พวกเราจะได้ส่งมอบบุรีรัมย์ที่ไฉไลให้กับลูกหลานเราต่อไป

คนเรามีหนี้ด้วยกันทั้งนั้น บางคนก็ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ผ่อนจิปาถะ แต่หนี้ก้อนหนึ่งที่เราควรจะรับผิดชอบร่วมกัน คือหนี้บุญคุณแผ่นดิน หนี้บ้านเกิดเมืองนอน ผมหนี้เรื่องนี้เยอะเลย ทบต้นทบดอกสะสมมานาน ยังไม่ได้ใช้คืนทุนรักบ้านเกิด งานนี้ละครับ จะได้เริ่มทยอยคืนนี้เสียที ผมออกแบบอย่างนี้ครับ นอกจากจะนำงานวิจัยไทบ้านไปเสนอแล้ว ผมจะไปขายความคิด ผ่านหนังสือ บุรีรัมย์โมเดล เจ้าเป็นไผ เพื่อคนบ้านเอ็ง กะจะลดแลกแจกแถม

ท่านใดซื้อหนังสือเล่มหนึ่ง สามารถเลือกของแจกได้ 1 อย่าง เช่น หน่อกล้วย –เมล็ดหญ้าม้า-ลูกมะสัง-เมล็ดถั่วพูสีม่วง-เมล็ดน้ำเต้าสายพันธุ์ต่างๆ-เมล็ดอัญชันพันธุ์ดอกซ้อน-เมล็ดชมจันทร์-พันธุ์เผือกยักษ์ –ฯลฯ อยากจะขนไปแจกสักรถสิบล้อ แต่ก็เกรงใจเรื่องสถานที่ คิดว่าอย่างน้อยก็มีแจก1,000 ชิ้น ละครับ เสียดายที่เมล็ดไม้ช่วงนี้ยังไม่แก่ ที่สวนป่ามีของดีนะครับ เราตั้งเป็นธนาคารแม่ไม้ ปีนี้มี-เมล็ดสะเดา-เมล็ดอาคาเซีย-เมล็ดยูคาลิปตัส-ไม้แดง-ไม้ยางนา –พันธุ์ดีที่สุดในโลก เสียดายที่ช่วงนี้เมล็ดยังไม่แก่ ไม่งั้นจะขนไปแจกๆๆ และแจก จะได้ช่วยๆกันปลูก ตามนโยบาย..

“จังหวัดบุรีรัมย์เป็นแหล่งผลิตอาหารคุณภาพชั้นยอด มีสภาพแวดล้อมธรรมชาติชั้นเยี่ยม”

วันที่ 5 สวนป่าพร้อม ขาดแต่คนสวยมาช่วยโปรยยิ้มแถมการขายหนังสือ

ถ้าของแจกหมด

ก็ จ ะ แ จ ก ล า ย เ ซ็ น แ จ ก ก อ ด ดีไหมละครับ อิ อิ


บริบทสุขภาวะแห่งจิตใจ ****

อ่าน: 2884

เรื่องที่จะเล่าในวันนี้นะเธอ เป็นตอน:จากห่วงโซ่อาหารมาเป็นความห่วงใย

มาจะกล่าวบทไป ถึงเรื่องอาหารการกินของมนุษย์เรา ชนชาติที่สนใจเรื่องนี้น่าจะยกให้คนจีน เจอหน้ากันก็จะทักทาย กินข้าวแล้วหรือยัง ส่วนคนไทยเราจะเน้นที่ความสุขสบาย สบายดีไหม ความห่วงใยแสดงออกถึงความเป็นไปของสังคมนั้นๆ คนไทยนั้นโชคดีนัก ไม่ค่อยจะเดือดร้อนเรื่องอาหารการกินสักเท่าไหร่ พิจารณาดูสำรับกับข้าวของคนไทย จะแตกต่างกว่าคนอื่นเขา มีอาหารคาวและของหวาน ตามด้วยน้ำปรุงรสปรุงใจอีกไม่น้อย คนไทยเสียเวลากับการประกอบอาหารแต่ละมื้อไม่น้อยเลย สังเกตดูรายการอาหารบนโต๊ะดูเถิด ของคาวก็ใช่ว่าจะมีชนิดเดียว ประเภทต้มยำตำแกงครบครันไม่มีตกหล่น วัฒนธรรมทางอาหารของไทยนั้นบ่งบอกถึงความหมายในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แผ่นดินของเราอุดมสมบูรณ์

คนไทยจะมีผักสวนครัวหลังบ้าน มีนิยามมากมาย ผักริมรั้ว ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก สวนครัวหมายถึงในสวนมีสิ่งที่ครัวต้องการครบถ้วน ไม่ต้องวิ่งไปซื้อหาให้เมื่อยตุ้ม เห็นว่าจำเป็นต้องมีพืชผักอะไรก็ปลูกเหน็บไว้ที่โน่นที่นี่ ในตู้เย็นมีอะไร ในสวนครัวมีมากกว่า แถมยังสดๆอีกต่างหาก

การเด็ดพริกขี้หนูเด็ดมะนาวสดๆจากต้นมาตำน้ำพริกกะปินี่นะเธอ

เราจะได้รสของความอร่อยจากความสดแตกต่างจากของซื้อค้างคืนมากนัก

ถึงจะมีวิธีถนอมอาหาร มีตู้แช่ต่างๆ..มันก็ชดเชยไม่ได้หรอก

เป็นแต่ข้อจำกัด หรือมีความจำเป็น..ก็หยวนๆกันไป

ทำให้คนสมัยนี้ลืมเสน่ห์ของคำว่า..ผักสวนครัวไปอย่างน่าเสียดาย

ในวาระที่คณะวิทยากรจัดโครงการเรื่อง การบริการความรู้สุขภาวะเชิงรุก ปลุกกระแสให้ประชาชนดูแลตัวเองและอนามัยสิ่งแวดล้อม มาจัดที่มหาชีวาลัยอีสานคล้ายกับกินยาถูกโรคเลยทีเดียวละครับ เพราะประเด็นและปัจจัยแวดล้อมพร้อมอยู่แล้ว คณะวิทยากรที่ประกอบด้วยแพทย์หญิงรุ่นใหญ่-อาจารย์พยาบาล-นักจัดการความรู้-ครูอาจารย์นักบริหาร-ผสมผสานกับนักกายภาพบำบัด-แม่ครัวหัวป่าส์-คุณป้าชาวบ้านที่รักการปลูกผักเป็นชีวิตจิตใจ เรามีคุณชายซึ่งเป็นชาวกรุงทั้งแท่ง ที่สัมผัสวิถีชีวิตชนบทแบบถึงลูกถึงคนน้อยมาก แต่ในสมองเต็มไปด้วยโจทย์ที่ตกคลักมานาน..ได้นำพาตัวเองมาเรียนรู้เรื่องสุขภาวะของชนบทอย่างถึงลูกถึงคน ถึงเป็นคณะเล็กๆแต่คุณภาพคับครัวด้วยประการละฉะนี้นะเธอ เพราะเขาเหล่านี้มีความเข้าใจในจุดประสงค์ตรงกันอย่างยิ่ง จะคิดจะชวนกันทำกิจกรรมเชิงรุกเรื่องอะไร มันดูเป็นปี่เป็นขลุ่ยลื่นไหล ไม่ต้องมานั่งประชุมคัดเลือกเรื่องที่จะทำ ใครเสนออะไรมามันเข้าที่เข้าทางแลดูง่ายๆไปเสียหมด

แต่ก็นั่นแหละเธอ..กว่าที่ขบวนการจะเดินทางมาถึงตรงจุดนี้ได้

มันมีที่ไปที่มาของการสะสมต้นทุนในเรื่องเหล่านี้

เธอรู้ไหม? กว่าจะเกิดกว่าจะเป็นคณะที่มีศักยภาพครบเครื่องเรื่องการวิจัยอัตลักษณ์สังคม มันไม่ใช่ว่าจะเกิดจะมีกันง่ายๆ ใช่ว่าคณะวิทยากรเพิ่งจะเจอกันครั้งสองครั้ง เราขลุกกันมานานจนมองตาก็รู้ใจ ได้แลกเปลี่ยนความรักความรู้ทั้งทางตรงทางอ้อม หลายปีมาแล้วที่นัดมาซ้อมฝีมือกันเป็นระยะๆ ถ้ า ท่ า น ติ ด ต า ม อ่ า น ก ร ะ บ ว น ก า ร ข อ ง ช า ว เฮฮาศาสตร์ในลานปัญญา ก็จะเข้าใจเข้าถึงในบริบทที่กล่าวถึงนี้ จากบทความที่เกริ่นถึงความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง”  ตัวนี้แหละสำคัญนัก คนเราถ้าชอบพอชอบใจคบกันจนคุ้นเคยกันอย่างญาติ ทุกอย่างก็เปิดโล่งสะดวก การทำกิจกรรมที่เส้นทางสว่างโล่ง มันจึงได้เรื่องได้ราวระดับมีชีวิตชีวาก้าวกระโดดโลดเต้นได้ ทุกเรื่องที่ทำ..

§ เราใช้ดุลยพินิจเสวนาภาคปฏิบัติแบบไม่ได้แยกส่วน

§ เรามองถึงต้นทุนชีวิตและบริบทของสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง

§ เรามองถึงความเป็นไปในมิติของชีวิตโดยรวมแห่งยุคสมัย

§ เรามองถึงความเป็นอยู่ที่เป็นสุขภาวะทั้งมวล

เรามองจาก-ก้นครัวไปหา-สวนครัว-ไปสู่กระบวนของการกินอยู่กับปาก-ความลำบากไปอยู่ที่ท้อง-“คนเราเอาอะไรใส่ปาก ผลก็ออกมาเป็นอย่างนั้น การชี้ให้เห็นจุดพลิกผันที่เปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนดีและส่วนด้อย ยกตัวอย่างเช่น การคุยกันถึงเรื่องยา มีผู้สันทัดกรณีให้ข้อมูลในวงกว้าง ว่าประเทศนี้บริหารหยูกยากันอย่างไร นับตั้งแต่ต้องพึ่งพาอาศัยนำเข้ายาจากต่างประเทศ การกำหนดเงื่อนไขให้แก่ผู้รับบริการ กฎเกณฑ์การใช้ยาในสภาพและสภาวะต่างๆ ประเทศเราต้องมีรายง่ายเพิ่มขึ้นปีละหลายหมื่นล้านบาท

การดูแลรักษาและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บมันไปโยงกับความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย

คนไทยมีชุดความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะในระดับใด?

ถ้ามีความรู้ถูกต้องและพอเพียง ก็จะช่วยให้กระแสการดูแลตนเองในภาคประชาคมมีความเป็นไปได้มากขึ้น

ปัญหาอยู่ที่จะ ค้นหาความรู้ดังกล่าวได้จากที่ไหน?

ใครเป็นเจ้าภาพหลัก เจ้าภาพรอง เจ้าภาพร่วม

ประเทศนี้ จะต้องหางบประมาณมาสร้างสุขภาวะสังคมเท่าไหร่มันถึงจะพอ ถ้าเรายังให้น้ำหนักกับการพึ่งพาภายนอกจนสุดโต่งในสภาพเตี้ยอุ้มค่อยเช่นนี้ การที่ ดร. จันทรัตน์ เจริญสันติ แห่งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใส่ใจในเรื่องนี้ มันจึงเสมือนการจุดคบเพลิงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกนั่นแหละเธอ เรื่องนี้ไม่ใช่จะสรุปอะไรได้ง่ายๆ เป็นแต่ขอเปิดประเด็นให้ฉุกคิดในมุมสร้างสรรค์ เราคนไทยเราสามารถจะทำอะไรช่วยเหลือตัวเองและช่วยกันเองได้

ถ้าพิจารณาให้ดี เรามีบริบทที่เป็นทุนในเรื่องนี้ไม่น้อยหรอก ถ้ารู้จักเอาวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาไทยมาเคาะสนิมโดยผู้ที่เข้าใจ เรื่องความเป็นไปของโลกเก่าและวิทยาการใหม่ๆ อนึ่ง ท่านเหล่านี้ต่างก็มีบทบาทเกี่ยวข้องในหน้าที่การงานอยู่แล้ว จึงพอจะมองเห็นแผนภูมิของสุขภาวะเชิงรุก ว่าจะรุกคืบกันอย่างไร?

เจอหน้ากันตอนเช้าก็รำพึงถึงเรื่องมุมมองเกี่ยวกับยาของคนสมัยนี้

คนยุคนี้รู้จักยาในลักษณะของ-เม็ด-ผง-แค็ปซูล-ในหลอดยาฉีด หรือที่เรียกว่ายาสำเร็จรูป อ้าว! แสดงว่ามียาที่ไม่สำเร็จรูปอยู่ด้วยสิ มันอยู่ที่ไหนละ ในเมื่อเกิดมาก็เห็นแต่ยาสำเร็จรูป เจ็บป่วยไปโรงพยาบาลก็เจอการตรวจการจ่ายยาใส่ซองเล็กๆ ยาที่เป็นใบไม้ดอกไม้รากไม้แก่นหรือกระพี้ไม่รู้จัก ทั้งๆที่ตนเองก็สัมผัสอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผักผลไม้ที่รับประทานไม่ได้รู้สึกรู้สาว่ามันเป็นยารักษาอะไร นึกว่ากินเข้าไประงับความหิว บางครั้งไม่หิวก็ต้องกินเพราะเป็นเรื่องค่านิยมไปแล้ว ไม่ได้ฉุกคิดว่า..ร่างกายไม่หิว..อาจจะประเมินได้ว่า..ร่างกายยังไม่ต้องการอาหาร ฝืนกินเข้าไปตามความอยากความอร่อย มันก็พุงโย้สิเธอ ..วินัยในการรับประทานอาหารเป็นเรื่องที่ต้องว่ากันยาว ถ้าคลิกตรงจุดนี้ได้ สุขภาพของคนไทยก็เดินมาถูกทางหน่อยหนึ่งและเธอ

เรื่องกินเรื่องใหญ่ ทำให้มันเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่ต้องสร้างความตระหนัก

เพราะมันเป็นบ่อเกิดและต้นเหตุสำคัญของการดำรงชีวิตและการมีคุณภาพของชีวิตที่ดี เรามาพิจารณาการกินอยู่ของคนไทยยุคนี้ดูสิเธอ มีจุดไหลที่จะตะล่อมเข้าทางตามหัวข้อเสวนาปฏิบัติการครั้งนี้ได้ เพื่อไม่ให้เสียเวลา เราก็เอาช่วงที่เรามาอยู่ร่วมกันนี้และเปิดบทเรียนสารบัญหน้าแรก

มื้อเช้าชวนกันเข้าสวนครัว ผมพาไปเดินชมผักพื้นที่ถิ่นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ช่วงฝนดีอย่างนี้ ยอดอ่อมแซบ ยอดตำลึง ยอดโสม ยอดกระดุมเงิน ยอดมะรุม ยอดมะกล่ำ ยอดชะอม ยอดมะระขี้นก ยอดน้ำเต้า ถ้าจะเขียนทั้งหมดก็เสียเวลา มะ..ชวนกันถือตะร้ากับกรรไกรเดินกันฉับๆไปข้างบ้าน เลือกตัดเอาสิ เขียวพรึดเต็มสวนอย่างนี้ อยากจะชิมอะไรก็ตัดฉับๆๆไม่ถึง 10 นาทีก็ได้ครบสารพัดผักที่จะผัดไฟแดงกินกับข้าวต้ม เวลาที่เหลือก็โม้ชี้ชวนกันให้ดูสภาพสวนครัวธรรมชาติ นี่ๆๆๆไม่ได้ปลูกเองสักกะหน่อย ที่เดินลุยมานั้นย่ำบนผักทั้งนั้น มันเหลือเฟือไหมละบรรณาการจากจากธรรมชาติ  อ่อมแซบที่เห็นตรงหน้านี้ตัดไปผัดกระทะร้อนได้สัก500กระทะมะละมัง เลี้ยงคนได้เป็นพันใช่ไหมละเธอ

นอกจากจะได้ชิมผัดผักสดๆอร่อยแล้ว

ผักพวกนี้ปลอดสารพิษปลอดมลภาวะใดๆ

เป็นอาหารอันโอชะที่เข้าข่ายสุขภาพท้องไส้ยิ่งนัก

จุดสุดท้ายขึ้นอยู่กับฝีมือการควงตะหลิวของแม่ครัวแล้วละเธอ

อยากจะอร่อยแค่ไหนพลิกแพลงอย่างไรก็เชิญ

นอกจากข้าวต้มแล้ว ผัดผักกระทะร้อนแล้ว ยังมียำผลไม้ที่หนูฝนบรรจงแสดงฝีมือ เธอเก็บผลไม้นานาชนิดมาลงจาน ตบแต่งสวยงามด้วยใบชะพลูและดอกอัญชัน ได้รับคำชมอื้ออึงว่าอร่อย..ยังมีน้ำซุปผักและอาหารที่เป็นบรรณาการจากสวรรค์อีกนะเธอ ป้าสอนนะสิ.. ตื่นไปเก็บเห็ดมาให้เต็มตะกร้า มีเห็ดหลายชนิด แต่ครูอารามสนใจเห็ดผึ้งขมยูคาฯ จึงชวนป้าสอนไปทำลาบเห็ดยูคา ใส่เครื่องลาบตำรับชาวเหนือที่เตรียมมา แค่นี้แหละเธอเอ๋ย ได้เรื่องเลยยย..เห็ดยูคาที่ต้มเอาความขมออกคลุกเล้ากับเครื่องลาบ โดยผู้สันทัดกรณีอาหารพื้นถิ่นเมืองลำพูน กินกับแคบหมูกรอบที่เอามาด้วย ตามได้ผักจิ้มลาบอีสาน มันเป็นอะไรที่ต้องเขียนไปน้ำลายหยดแม๊ะ มันเข้าเครื่องเข้ารสเด็ดสระระตี่จนเล่าไม่ถูก

รู้แต่ว่า ณ บัดนี้เราค้นเจอเมนูเห็ดจานเด็ดขึ้นแล้ว

ถ้าใส่ข้าวคั่วแบบลาบอีสานเข้าไปด้วยจะเป็นยังไงละ

ถ้านำไปวิเคราะห์ถึงสารอาหารจานนี้จะเป็นยังไงละ

ถ้านำเอาตำรานี้ไปชี้ชวนคนอีสานลาบกินทุกหมูบ้านมันจะอร่อยเหาะขนาดไหน

เราได้เห็นบริบทของคำว่าเชิงรุกหน่อยแล้วใช่ไหมละเธอ

มาถึงมื้อกลางวัน ตั้งใจว่าจะทำอาหารจานเดียว จึงวางแผนทำก้วยเตี๋ยวกัน ระดับแม่ครัวหัวป่าส์จะทำตามก้นคนอื่นได้ไปทำไมละ เราก็พลิกแพลงทำให้อร่อยขึ้นได้รับประโยชน์มากขึ้น ไม่งั้นจะเรียกว่าเชิงรุกเรอะ..โฉมยงกับเจ้าหนูฝนเป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้ ผมรับหน้าที่เพาะถั่วงอกมาสมทบ โห! ก้วยเตี๋ยวมื้อนี้หอมฉุยตลบไปทั้งบ้านด้วยกลิ่นว่านสาวหลง หมูมักเนื้อนุ่ม น้ำซุปมี2แบบ แบบน้ำซุปกระดูกไก่ กับน้ำซุปเห็ด6ชนิด สำหรับท่านที่จะชิมก้วยเตี๋ยวมังสะวิรัติ ยังมีเส้นให้เลือกอีก3ชนิดนะเธอ  เส้นเล็ก-เส้นหมี่-เส้นก้วยจับ ปรุงกันชุลมุม สุดท้ายก็ชิมกันทั้ง2แบบ ล่อกันจนตาค้างและพุงกางทั่วหน้า ให้รู้ฤทธิ์เสียบ้างว่าก้วยเตี๋ยวภาคพิศดารที่อร่อยที่สุดในโลกนั้นเป็นอย่างไร?

อ้าว! คุณชายยังเอาไก่อบมาสมทบอีก

หลังจากผ่านมื้อเที่ยงไปแล้ว ช่วงบ่ายอย่าให้ไปทำอะไรเลย ปล่อยให้นอนสบายๆสักคนละงีบ เดี๋ยวตื่นมาก็ได้เรื่อง หาเรื่องทำกันเองอีกนั่นแหละ ผมก็งีบเหมือนกันนะ อิ่มในสภาวะอากาศเย็นๆอย่างนี้ ใครจะถ่างตาไหว หลับกันเป็นแถวนะสิเธอ

คนที่ตื่นก่อนไปก่อไฟ เด็ดมะเขือยาวมาปิ้ง หมอเจ๊นัดครูอึ่งตำส้มมะละกอ ได้ยินเสียงโป๊กๆ เสียงแห่งความอร่อยเปิดฉากแล้ว ครูอารามรับอาสาปรุงยำมะเขือยาว ผมช่วยลอกเปลือกมะเขือ ครูอึ่งช่วยปิ้ง อุ้ยเอาเศษอาหารไปเลี้ยงวัว เล่าว่าสนุกมากที่เห็นวัวอร่อยไปพร้อมๆกับเรา

วัวเดินมาหาน้ำลายหยดติ๋งๆเลยนะครูบา

เออ หนอ ถ้าพยาบาลเลี้ยงวัวถ้าจะดี

ย า ม วั ว ท้ อ ง แ ก่ ก็ จ ะ ไ ด้ ทำ ค ล อ ด ใ ห้ ด้ ว ย

เมนูมื้อเย็น มียำมะเขือยาวกับส้มตำรสเด็ดไปนอนเอ้งเม้งอยู่ในท้องเรียบร้อย ทุกอย่างผ่านไปอย่างชื่นมื่น อุ้ยปอกลูกพลับใส่กล่องแช่เย็นไว้ หนูฝนเป็นคนเอามาบริการ อิ่มจนอืดอีกแหละพี่น้อง หลังจากนั่งคุยให้พุงคลายตัว ก็ชวนกันไปชมพระจันทร์ที่สุกสกาวที่หมู่บ้านโลก เราปิดไฟฟ้าได้ทุกดวง ลมพัดเย็นๆอย่างกะอยู่ชายทะเล นั่งเล่นเน็ทบ้าง คุยกันบ้าง เล่นลูกยิงใบพัดที่ติดไฟไอซีดวงเล็กๆให้หมุนติ้วแข่งกัน จนกระทั้งลูกข่างใบพัดวิทยาศาสตร์พุ่งไปค้างอยู่บนยอดไม้ ส่งแสงวับแววเหมือนหิ่งห้อยในเทพนิยาย

ได้เวลาพอสมควรชวนกันไปเยี่ยมคุณชาย

แล้วก็บ่ายหน้ามาอาบน้ำพักผ่อน

ก่อนนอนอุ้ยจับผมฉีดยาที่ก้น

แล้วก็สวดมนต์พร้อมกับนวดไปด้วย

เป็นกรรมวิธีชวนให้นอนหลับที่ดีที่สุดในโลก

ผ ม ฟั ง เ สี ย ง ส ว ด แ ล ะ ค ล้ อ ย ต า ม น้ำหนักมือที่นวดผ่อนคลายเบาๆ

เผลอไปไหว้พระอินท์ตอนไหนก็ไม่รู้

ตื่นกลางดึกเข้าห้องน้ำ..เห็นน้าอึ่งนอนขดบนสื่ออยู่ข้างๆ

ทั้ ง ๆ ที่ มี ที่ ห ลั บ ที่ น อ น บ น ฟู ก สุ ข ส บ า ย

คุณน้าแห่งชาติก็จะมีสไตล์คงเส้นคงวายังงี้แหละ

ม า ส ว น ป่ า ค ร า ใ ด ก็ จ ะ ค ว้ า เ สื่ อ ม า ปู น อ น ห ลั บ ง่ า ย ๆ

ตอนดึกๆก็จะคอยดูว่าผมห่มผ้าดีไหม? ถ้าไอค๊อกๆ จะเอาน้ำอุ่นมาให้

บ ริ บ ท ที่ เ ล่ า ม า โ ด ย สั ง เ ข ป นี้ ก็ เ พื่ อ จ ะ บ อ ก ว่ า

คณะวิจัยชุดนี้นี้ปฏิบัติงานเชิงรุกนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในโครงการมากนัก

เพราะทั้งหมดทั้งมวลนี้นับได้ว่าเป็นสุขภาวะแห่งหัวใจ

รุกเข้าไปจนถึงจิตใจ..เชียวนะเธอ

เรื่องอย่างนี้คนล่าช้า คิดช้า อ้อยอิ่ง ไม่ได้แอ้มหร็อก จะบอกไห่

อย่างเก่งก็ทำได้แค่..เชิงลุกลี้ลุกลน เท่านั้น !!   อิ อิ..


ชีวิต 3 เด้ง

อ่าน: 2802

ชีวิต3 เด้ง! ตอน ความรู้เล็กๆน้อยๆ****

 

คนเรานี่นะเธอ
ถ้าค่อยๆสะสมความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นวันละเล็กละน้อย เราก็จะมีความรู้รอบตัวมากขึ้นๆ
วันดีคืนดีก็งัดออกมาทดลองปฏิบัติ
แล้วขยายผลไปสู่การคลี่ความรู้เชื่อมโยงให้เบิกบานสู่ภายนอก ในบริบทของ”ผู้สู่รู้”
พัฒนาต่อไปก็จะเป็น   ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้
..ค ว า ม รู้ จ ะ เ พิ่ ม ท วี คู ณ ไ ด้ น ะ ค น ส ว ย
ถ้ายังอ้อยอิ่งกับความรู้ ไม่จัดการความไม่รู้
ความไม่รู้ก็จะสะสมอยู่ตัวเช่นกัน สุดท้ายก็จะโดนแซวว่า
..

สวยแต่รูปจูบไม่หอม


ส ด ง ว่ า มี ค น แ อ บ ห อ ม อ ยู่ น ะ จ๊ ะ
..

อย่าลืมอาบน้ำประแป้งเป็นอันขาด!

เพลงลูกทุ่งยังโอดครวญว่า..แก้มนี่อย่าให้ใครมาจูบ แก้มนี้อย่าให้ใครมาลูบซ้ำรอย แหม!..พื้นที่ตรงนี้..ช่างเป็นเขตของหวงของห้ามเสียจริงนะเธอ
ทั้งที่การหอมแก้มแม่วันแม่ หรือหอมแก้วลูกวันลูก เอ๊ะ
! วันลูกมีรึเปล่า
อ๋อ
..วันเด็กยังไงละ ผมประทับใจในภาพที่ครูแมวหอมแก้มหนูขวัญหนูเพชร

ดังนั้นแก้มที่เธอมีไว้อย่าปล่อยปะละเลยให้เสียประโยชน์

ควรนำพื้นที่ๆเล็กๆนั้นสร้างสรรค์สันติสุขในครัวเรือน..

เรื่องความรู้  
ผมไม่ทราบว่าเขาเอาอะไรมาวัดว่าเป็นสิ่งเล็กๆหรือสิ่งใหญ่ๆ
เราแยกความรู้ให้เสียเวลาทำไมกัน ถ้ามีโอกาสก็ควรขวนขวายขยายความรู้
ทดลองโน่นนี้ทุกวัน เหมือนที่หนูกุลนทีประดิษฐ์โน่นนี่มาให้เราชมทุกวัน

ชี
วิ ต เ ธ อ ช่ า ง เ ต็ ม ส า ร ะ เ สี ย เ ห ลื อ เ กิ น

กับท่านอื่นก็ใช่ว่าจะนิ่งดูดาย

เพียงแต่บางท่านไม่ยอมเอามาอวด

ชอบเก็บตัว
เก็บใจ ไว้เงียบๆ แอบทำอะไรเพลินๆในมุมของตนเอง
..

 

ตั้งแต่บ่ายแล้วละครับ
ฝนปรอยๆมาแบบอีลุบตุ๊บป่องไม่ต่อเนื่อง หยอดมาเป็นระยะๆ
มีเพื่อนชาวสวนข้างๆกำลังปลูกยางพารา
..ก่อนหน้านี้ก็ลงมือลงแรงปลูกไปหลายแถว
เจอแล้งเข้ายางพาราก็อำลากลับบ้านเก่าไปหลายต้น คิดค่าเสียหายประมาณต้นละ
30บาท ปีนี้ฝนทิ้งช่วงด้วยสิเธอ ใครที่ปลูกยางพาราช่วงนี้จึงต้องมาคอยลุ้นว่าฝนจะตกไหม?
ผมเปิดคอมฯ
..ที่คุณชายตั้งโปรแกรมดูเมฆฝนทางดาวเทียมไว้ให้ ชี้ให้เขาดูกลุ่มเมฆกำลังพัดมาทางนี้ ดูไม่นานท้องฟ้าก็ครึ้ม
เมฆดำทะมึนลอยมาปกคลุมเหนือเรา ลมพัดอู้ๆ
..ลุ้นว่าอย่าพัดแรงพัดเร็วจนหอบเอาฝนหนีเสียละ
แ ล ะ แ ล้ ว พ ร ะ พิ รุ ณ ก็ เ ป็ น ใ จ
..ฝนตกมาจั๊กๆ..ถึงไม่หนักมากแต่ความชุ่มชื้นก็เกิดขึ้นกับต้นยางพาราเล็กๆที่กำลังปลูก
และหัวใจคนปลูกก็ย่อมชุ่มฉ่ำไปด้วย ตอนหัวค่ำก็ยังหยอดมาอีกชุดหนึ่ง
ก่อนหน้าที่ผมเขียนอยู่นี่ฝนก็เทลงมาอีกจนสะดุ้งตื่น ตื่นมาแล้วก็คิดถึงหนูกิ่งก้าน
ป่านฉะนี้ยังจะเป็นนกฮูก รึ
!คร๊อกฟี่ๆไปแล้ว ส่วนพี่วิไล..จะตื่นมาตอนตี3 ลุกเข้าห้องน้ำแล้วก็เข้าห้องFB.
พี่แต๋วเอาแน่ไม่ได้ บางคืนฝันหวานตื่นมาช่วงย่ำรุ่ง
บางทีก็นอนเสบยไปจนถึงรุ่งเช้า ตามมาตรฐานของผู้รักสุขภาพเป็นยอด

เมื่อวานทดลองเพาะถั่วงอกตามแนวคิดที่ว่า..รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

คุณชายบันทึกขั้นตอนส่งภาพขึ้นให้ชมแล้วนะครับ

พรุ่งนี้ก็จะย่างเข้าวันที่2 เอาไว้ฟ้าแจ้งจะรายงานอีกครั้ง

คนเรานี่นะเธอ..ถ้าเอากำลังใจผสมน้ำใจใส่อะไรก็งาม
อยากจะทำสิ่งดีๆให้สนุกๆ
..ปลูกต้นไม้สิเธอ เอาต้นไม้ลงดิน
พอมันตั้งตัวได้ ต้นไม้ก็จะหากินเอง ค่อยๆยืนหยัดเติบโตขึ้นตามลำดับ
โดยไม่ต้องให้ใครมาช่วยเหลือตลอดเวลา ต้นไม้พยายามพึ่งตนเอง
ไม่ว่าจะร้อนแล้งหรือโดนพายุโยกคลอน ต้นไม้แก้ปัญหาได้อย่างทรหดเสมอ
ไม้ในป่าไม่มีใครไปใส่ปุ๋ยรดน้ำให้หรอกนะเธอ ก็ยังมีป่าไม้ขึ้นมาปกคลุมโลก

ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้..เกี่ยวเนื่องกับมนุษย์ทั้งนั้น

นอกจากไม่ปลูกแล้วยังไปเที่ยวระรานทรัพยากรป่าไม้

เปลี่ยนสภาพธรรมชาติที่สมดุลไปเป็นพื้นที่เสื่อมโสโครก

แล้วก็จ่อมจมอยู่กับสภาพแวดล้อมแย่ๆ

คุณภาพชีวิตจึงห่วยแตกหรือประมาณ..

สังคมมนุษย์ก็จะอิหลักอิเหลื่อยังงี้แหละ

งมงายอยู่กับความรู้สะลึมสะลือ..

เหมือนไก่ตาฟางตอนย่ำรุ่งยังไงยังงั้น..

คนเรานี่นะเธอ..ถ้ามีความรับผิดชอบกันบ้าง ช่วยกันแต่งแต้มพื้นที่กระดำกระด่างคนละเล็กละน้อย
ต่างคนต่างพิจารณาจะปลูกอะไรลงไปในพื้นที่ๆตัวเองมี บริเวณบ้าน บริเวณหมู่บ้าน
บริเวณตำบลก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ปีนี้ถ้าจะแล้ง
นั่งรถผ่านมาเมื่อวานข้าวกล้าในนาหลายทีกำลังเหี่ยวเฉา
ช่วงนี้ถ้ามีดีเปรสชั่นเข้ามาสักลูกสองลูกท่าจะดี แต่ก็นั่นแหละเธอ เรื่องนี้มันอยู่ไกลและยากเกินที่จะแห่นางแมวขอฟ้าฝนได้
แต่ถ้ามีต้นไม้เป็นร่มเงาบ้างก็ยังช่วยชะลอความเศร้าซมได้
สีเขียวเป็นสีแห่งชีวิตใช่ไหมละเธอ
เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะไปจมอยู่กับสีช้ำเลือดช้ำหนองทำไมละ
ช่วยกันปลูกช่วยกันสร้างสีสันที่สดชื่นขึ้นมามากๆ

 

ตอนหัวค่ำฝนตกมาซู่หนึ่ง
ก่อนหน้านี้ก็ตกหนักตกเบาๆแบบเอาอกเอาใจคนปลูกป่า เช้านี้จึงชุ่มฉ่ำ
..นกเขามาจีบกันคันคูตั้งแต่ปลายฟ้าเปิด ส่วนไก่ชวนกันมาคุ้ยเขี่ยอาหารใกล้ เจ้าโต้งเขี่ยไปแล้วก็หยุดโก่งคอขัน
แสดงความอิสระแห่งชีวิตให้เราอิจฉา ไม่ต้องแต่งตัว ไม่ต้องขับรถ ไม่ต้องทนทรมานติดไฟแดง

ก ร ะ โ ด ด ล ง จ า ก ค อ น อ ย า ก จ ะ ไ ป ไ ห น ก็ ไ ป ไ ด้ ต า ม อำ เ ภ อ ใ จ
 เป็นไก่ในป่าก็ดียังงี้แหละน้อง เ พี
ย ง อ ย่ า ไ ป เ ป็ น ไ ก่ ใ น ฟ า ร์ ม ก็ แ ล้ ว กั น  ไก่ฟาร์มเปรียบเหมือนไก่ที่อยู่ในเรือนจำ
ถูกจำกัดจำเขี่ยสิทธิ์ทุกอย่าง ถึงจะมีอยู่มีกินแต่มันไม่มีอิสระ
ไม่ทราบว่าคนกรุงจะเปรียบเสมือนไก่ในฟาร์มได้ไหมนะ ยังมีบางคนแหกกรงบินออกมาได้บ้าง
ไม่ยังงั้นก็จมอยู่กับคำว่างาน งาน และ งาน

เคยพิจาณาไหมครับว่า..เรากำลังทำงานอะไร?

ทำมากน้อยแค่ไหน
จำเจแค่ไหน?

ผลลัพธ์เป็นอย่างไร?

เพื่อใคร! มีช่องเว้นวรรคให้หายใจหายคอบ้างไหม?

หรือว่าเคยชินกับการเป็นหุ่นยนต์ไปแล้ว


ม่ คิ ด แ บ่ ง ง า น
แ บ่ ง ชี วิ ต ติ ดโ ช ค
อั พ
บ้ า ง เ ล ย ห รื อ เ ธ อ

รึว่า..ชีวิตถูกบังคับจนเหมือนไก่ในฟาร์มเสียแล้ว

รึอยากได้ชื่อว่า..แ ม่ ไ ก่ ย่ า ง ห้ า ด า ว  

ตกเป็นเหยื่อของอะไรก็ไม่รู้

ชีวิต
หนอ ชีวิต
เ กิ ด ม า เ พื่ อ ติ ด ยึ ด 

ติ
ด น็ อ ต ติ ด ห นึ บ
.. อ ย่ า ง กั บ ติ ด ก า ว
ต ร า ช้ า ง

ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรนักหรอกคนสวย

ที่เธอจะติดFB.และติดการตอบคอมเมนท์

  น ไ ห น ต อบ . . คนนั้นน่ารักเป็นบ้าเลยเธอรู้ไม๊..

ถ้าหัวใจเธอเป็นพลาสติก..ก็แล้วไป ขออภัยที่มาตอแย อิ อิ..

 

: เพิ่งได้อ่านร่างโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การปฏิบัติการสุขภาวะเชิงรุกปลุกกระแสให้ประชาชนดูแลตัวเองและอนามัยสิ่งแวดล้อม”
วันที่
31 สิงหาคม-2กันยายน 2555
ที่อุ้ย
(ผ..ดร.จันทรรัตน์ เจริญสันติ) แห่งคณะพยาบาลศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ได้กรุณายกร่างโครงการเซาะร่องที่สมบูรณ์แบบมาก

ผมเอามาเป็นแผนเชิงรับของที่นี่ได้อย่างลงตัว
ถ้าเจ้าหน้าที่บริหารกรมอนามัย หรือชาวอนามัยได้อ่านน่าจะเป็นประโยชน์มาก
กระบวนการอบรมดังกล่าวนี้น่าจะนำไปสู่นโยบายเชิงรุก
ที่ต้องการให้ประชากรมีความรู้พื้นฐานที่จะดูแลตัวเองและดูแลกันเองในระดับหนึ่ง
ซึ่งเป็นจุดสำคัญมากในการสร้างวินัยให้แก่สุขภาวะครอบครัวและชุมชน ถ้าดำเนินการได้ต่อเนื่องน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่นำไปสู่การขยายผล
ให้แต่ละหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆได้พิจารณา เพิ่มสัดส่วนการส่งเสริมเชิงกระบวนการ นอกเหนือจากการรับหลักการในห้องประชุมตามเวทีใหญ่ๆ
..

ยังไงๆ..การสร้างความตระหนัก ให้รักตนเอง รับผิดชอบตัวเอง
ก็ควรจะเป็นหลักการสำคัญในการที่จะนำไปสู่การสร้างกระแสสุขภาวะแบบองค์รวม ปัญหาอยู่ที่องค์กรที่เกี่ยวข้องพร้อมที่จะแอ็คชั่นแล้วหรือยัง
! แต่ก็มีนักพัฒนาสุขภาพบางแห่งติดต่อมาเหมือนกันนะครับ ยกตัวอย่าง เช่น..

“อาจารย์ขา
หนูบุษบา เป็นพยาบาลที่ ร
..ตระการ
ร่วมกลุ่มเครือข่าย ทั้งชาวสาสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชาวบ้านประมาณ
60 คน อยากไปเรียนรู้ เพื่อจัดการความรู้ด้วยตนเอง โดยชุมชน
เจ้าหน้าที่เป็นเพียงผู้สนับสนุน ก็เลยอยากจะไปเรียนรู้กับอาจารย์ ไม่ทราบว่า อ
.มีเวลาให้ได้ไหมค่ะ สัก2วัน1คืน
เดือนกันยายน
089-2814 822 mail Budsaba.k@hotmail.com

มีโปรแกรมคณะพยาบาล
.อุบล 22-24 ตุลาคม 2555 มากัน70ชีวิตอีกนะอุ้ย

ยังมีคณะขาจรย่อยอีก
รวมทั้งรายการเอาเถิดเอาล่อ

เฉพาะ
วันที่
6 กันยายน 2555

·       
มีประชุมสภาพัฒนฯประจำปี ที่บางกอก

·       
สัมมนาแทนคุณแผ่นดิน โดยบก.เครือเนชั่นที่ ม.ราชภัฏสุรินทร์

·       
มีกลุ่มผู้สนใจจากบางกอก
แจ้งผ่านคุณชายจะมาคุยด้วย

วั น เ ดี ย ว เ จ อ เ ข้ า ไ ป  3 เ ด้ ง

ใครจะมาช่วยหิ้วปีก ไปเป่าน้ำ ก็เชิญ นะครับ  


กรมอนามัยในวัย60ปี

อ่าน: 2535

อนามัยจะไฉไลต้องติดตามอ่านเรื่องนี้

กรมอนามัยไม่ใช่ธรรมดานะเธอ โอ้โห! ก่อตั้งมาจนครบ60ปี บางคนที่อ่านเรื่องนี้ยังไม่เกิดด้วยซ้ำ คิดดูสิเธอ..ยุคโน้นคนที่อยู่ในแวดวงกรมอนามัยจะเป็นยังไง อาจจะถีบจักรยานขี่เกวียนช้างม้าพายเรือไปทำหน้าที่บริการประชาชนก็ได้ สมัยที่เป็นเด็กๆผมเห็นนางผดุงครรภ์คนเดียวทำหน้าที่ในสุขศาลา ฉีดยูกฉีดยารักษาคนป่วยไข้ได้สารพัดอย่าง เรียกว่าเจ็บป่วยตั้งแต่แรกเกิดจนเข้าโลงนางผดุงครรภ์จัดการให้ได้ แสดงว่าคุณผดุงครรภ์ยกกระทรวงสาธารณสุขมาไว้ในชุมชนไกลปืนเที่ยง ดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยอย่างน่าอัศจรรย์ ทุกครัวเรือนได้พึ่งพาอาศัยความรู้ความสามารถของนักบริหารสุขอนามัยชุมชนครบวงจร ที่เรียกว่านางผดุงครรภ์

ตลอดเวลา60ปี บุคลากรกรมอนามัยเป็นหน่วยจรยุทธที่ตระเวนบำบัดทุกข์บำรุงสุขไม่น้อยหน้าข้าราชการกรมกองไหน การสะสมทักษะเรื่องการบริการสุขภาพของประชาชนนั้นมีความหมายมาก ถ้าจะมีการแกะรอยมาวางแผนพัฒนาการบริหารสุขภาวะอนามัยในปัจจุบัน
บทบาทใหม่ๆที่ชาวอนามัยควรจะระดมพลังให้ท่วงทันกับความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย ก็คือการบริการความรู้เชิงรุก เรื่องปลุกกระแสให้ประชาชนมีความรู้ที่จะดูแลตนเอง เรียนรู้ที่จะเข้าใจเข้าถึงการป้องกันและรักษาโรคเบื้องต้น ชี้ชวนให้รักตัวเองใส่ใจในการป้องกันโรคภัยต่างๆ รวมทั้งฝึกฝนทักษะในการดูแลครอบครัวและสังคมรอบข้างด้วย ถ้าไม่ยกระดับความรับผิดชอบและเฉลี่ยบทบาทเรื่องสุขภาวะเชิงรุกแล้ว สภาพการจัดการเรื่องอนามัยชุมชนก็เป็นภาระที่นักอึ้งของชาวอนามัย

ทำอย่างไร? การอนามัยจะมีเจ้าภาพร่วม อบต.อบจ.เทศบาล วัด โรงเรียน กลุ่มจิตอาสา เครือข่ายมูลนิธิ นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม นักพัฒนาสังคม รวมทั้งโครงการเพื่อสังคมต่างๆ จะมายืนเคียงข้าง แล้วร่วมด้วยช่วยกันกับชาวอนามัย ถ้าดึงกลุ่มภาคสังคมมาเป็นเพื่อนได้แล้ว งานบริหารบริการอนามัยในอนาคตก็จะเดินหน้าได้อย่างชื่นมื่น

ประเด็นดังกล่าวข้างต้น ผมคิดว่าชาวอนามัยก็ได้ทำการบ้านเชิงรุกมาโดยตลอด ศูนย์อนามัยในภูมิภาคต่างๆเป็นตัวแม่ มีศูนย์อนามัยจังหวัด,อำเภอ,ตำบล กระจายดูแลความเป็นไปของสุขภาวะที่นับวันจะมีปัญหาแทรกซ้อนและซับซ้อนมากขึ้น การทำงานเชิงรุก จะช่วยให้งานตั้งรับผ่อนคลายไปได้พอสมควร

ขอบอบคุณพี่สุวรรณ แช่มชูกลิ่น แห่งศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
ที่ประสานงานให้ได้ไปเรียนรู้กับชาวอนามัยทั่วราชอาณาจักร
ได้เปิดหูเปิดตาเรื่องอนามัยจนเต็มอิ่ม

ในวาระที่กรมอนามัยจัดประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่5 ประจำปี 2555 : ”กว่าจะถึงวันนี้..60 ปี กรมอนามัย” ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ถ้าใครได้มาเห็นมาร่วมงาน ก็จะทึ่งในพลังของชาวอนามัยและรับทราบบทบาทที่ก้าวหน้าทันต่อเหตุการณ์ บอร์ดงานวิจัย นิทรรศการที่ละลานตา ตำราเอกสารต่างๆมีมาแจกจ่ายเพียบ ของดีๆทั้งนั้นเธอเอ๋ย หอบกลับมานอนอ่านได้ประโยชน์เหลือหลาย งานนี้ผมได้พบจอมยุทธนักบุกเบิกงานด้านนี้ ทั้งที่เป็นบุคลากรในแวดวงอนามัย และเครือข่ายที่ชาวอนามัยไปจีบมาเป็นเพื่อนร่วมทาง เรียกว่าคนดีของดีอยู่ที่ไหนอนามัยไปเต๊าะมาเป็นพันธมิตรจนหมดสิ้น งานประชุมวิชาการคราวนี้Hall 9 จึงแทบโป่ง

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ได้มาประทานรางวัลแก่บุคคลประเทต่างๆ138รางวัล ที่แปลกกว่างานอื่นๆก็คือ รางวัลคุณแม่ดีเด่นด้านการดูแลบุตรด้วยนมแม่จากทั่วประเทศนั้น ได้อุ้มลูกเล็กเด็กแดงมาร่วมงานด้วย ส่วนมากจะเป็นเด็กเล็กอายุ1-2ขวบ คุณสามีจึงต้องติดตามมาด้วยทุกคู่ เพื่อจะช่วยกันดูแลคุณลูกในระหว่างเข้าร่วมพิธี เราประทับใจที่เห็นเด็กๆหัดเดินเต๊าะแตะในระหว่างเตรียมพิธีการรับรางวัล ธรรมชาติของเด็ก.. ถ้าคนหนึ่งร้องคนอื่นๆมักจะร้องตาม มีเสียงเด็กร้องพอๆกับรอยยิ้มของผู้เป็นพ่อแม่
คุณแม่..งัดนมเจ้าเต้า..สดๆปลอดภัยและสะดวกมาลดเสียงร้อง

กรมอนามัยจัดงานคราวนี้นับว่าอลังการมาก แต่ละศูนย์ได้คัดบุคคลและองค์กรต้นแบบด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, จังหวัดส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุดีเด่น, หน่วยงานดีเด่นด้านน้ำประปาได้มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภค, องค์กรปกครองท้องถิ่นต้นแบบด้านการจัดการสุขภาบิบาลอาหาร, องค์กรปกครองท้องถิ่นต้นแบบด้านการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, ครอบครัวต้นแบบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งสิ้น 138 ราย

มาร่วมงานกรมอนามัยเที่ยวนี้ได้รับเอกสาร ได้ความรู้เยอะแยะ เช่น
• อยู่อย่างไรภายใต้มลพิษ ตอน ผักผลไม้ต้านโรคต้านมะเร็ง
• ไม้ประดับดูดสารพิษ
• รู้ไว้เรื่องใกล้ตัว เตรียมตัวเตรียมใจรับภัยน้ำท่วม
• รู้เรื่องใกล้ตัว ทำอย่างไรให้ไกลโรค
• จะท่วมกี่ครั้งก็ยังรับไหว
• รื้อ ล้าง ..หลังน้ำลด
• ทำอย่างไรให้ส้วมสะอาด
• แผนที่..เส้นทางเรียนรู้ ร่วมลดโลกร้อน
งานนี้เจอคุณหมอสุธี เจ้าเก่าจากเทศบาลพิษณุโลกมารับรางวัลด้วย ได้เจอจอมยุทธถั่วงอกที่เคยพาชาวบ้านไปดูงานที่ลพบุรีเมื่อ8ปีที่แล้ว เหมือนสวรรค์จับยัดให้มานั่งลำดับติดกัน คุณนิมิตร์ เทียมมงคล จำได้ทักทายกันชื่นมื่น คุณนิมิตร์ได้มาออกนิทรรศการสาธิตด้วย พบว่ากิจการพัฒนาถั่วงอกระเบิดเทิดเทิงไปไกลมาก มีกรรมวิธีใหม่ๆที่น่าสนใจมากมาย เล่าว่า..ช่วงที่น้ำท่วมใหญ่ก็ได้ตระเวนไปฝึกสอนให้ชาวบ้านเพาะถั่วงอกใส่มาม่า ใช้เวลาเพียง3วันก็มีถั่วงอกสดๆรับประทานกันไม่อั้น
ได้พัฒนาการวิธีเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติก
ออกทีวี พิมพ์ตำรา เดินสายอบรมจ้าละหวั่น
เป็นนักสื่อสารสัมพันธ์ชั้นยอด
ใครได้ฟังล้วนประทับใจอ้าปากหวอออออ..
ผมตั้งใจว่ากลับสวนป่าครั้งนี้จะเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติกที่ได้รับคำแนะนำทันที ก็ขวดที่ป้าหวานส่งมาให้นั่นแหละเหมาะมาก เพาะถั่วงอกได้ทีละกาละมัง เอาไว้ปรุงอาหารคราที่มีคนมาดูงาน ถ้าจะเพาะถั่วงอกเจี๊ยะกันเองในครอบครัว เพาะด้วยขวดโค๊กลิตรก็พอเพียงแล้วละครับ ชาวมังสะวิรัติควรทดลองดูนะครับ

งานนี้มีของหวานอาหารแห้งอาหารคาวอร่อยๆจากทั่วประเทศ ที่แต่ละศูนย์อนามัยแต่ละเขตส่งมาประชันกัน คุณภาพหายห่วง ผมทั้งซื้อทั้งชิมก็แทบคลานกลับโรงแรม ระหว่างที่เขียนนี้ก็ยังอิ่มแบบอึกทึกอยู่ในท้องนะครับ ในงานนี้มีความรู้เด็ดๆมากมาย ผมเดินไปเจอเรื่องมะเขือพวงอบแห้ง ทำเป็นซองๆแบบซองน้ำชา รับประทานก็แบบชานั่นแหละ วันละซอง
คุณสมบัติแจกแจงว่าไว้ว่า..ช่วยควบคุมโรคเบาหวาน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดแข็งและตีบตัน ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ช่วยระบบขับถ่ายดีขึ้น มีรายละเอียดอธิบายเชิงวิชาการอีกมาก ถ้าดื่มวันละซอง..พบว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี เมื่อรวมกับการปรับพฤติกรรมการบริโภค ลดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้อย่างน่าพอใจ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ ไตพิการ จอตาพิการ ประสาทพิการ โรคที่เท้าและอวัยวะพิการ
มะเขือพวงสมุนไพร1ซอง ดื่มง่ายเพียงแช่ในน้ำร้อน (ชงได้ 3-4ถ้วย)
ชนิดซองนี้เหมาะกับคนที่ไม่ชอบรับประทานมะเขือพวงสด
ที่สวนป่าไม่เสียเวลามาชงหรอกนะครับ
เก็บมาปรุงอาหารทีละตะกร้า เบาหวานที่ไหนจะกล้ามาวอแว
แต่ยังงั้นก็เถอะ ผมจะปลูกมะเขือพวงเยอะ แล้วจะทดลองทำชามะเขือพวง
อ้อ งานนี้ซื้อมะอึกมาด้วย จะเอาเมล็ดไว้เพาะน่ะครับ

ยังไม่จบง่ายๆหรอกเธอ งานนี้เดินไปสะดุดเรื่องเด็ดอีก โอ้แม่เจ้า ..เรืองผักโขมจีน (Chinese Spinach) ของชอบที่ผมรับประทานแทบทุกวัน งานนี้มีวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตสมุนไพร บ้านเกาะลอย จังหวัดจันทบุรี ได้ผลิตผักโขมผงใส่ซองอย่างดรจำหน่าย สรรพคุณคับซองอีกแล้วละเธอ ..เป็นแหล่งวิตามินเอ วิตามินซี กรดอะมิโน สารต้านอนุมูลอิสระ และสารอื่นๆฯลฯ เป็นผักบำรุงน้ำนม ธาตุเหล็กทำให้สมองตื่นตัว มีสารเบต้าแคโรทีนสูง มีทั้งลูทีน และเซอักแซนทีน ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์ สารเหล่านี้ช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา ลดความเสี่ยงจากจอตาเสื่อม และการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ และยังมีสาร ซาโปนิน ช่วยลดคอลเลสเทอรอลในเลือดได้อีกด้วย มีเส้นใยอาหารมาก ช่วยระบบขับถ่ายได้ดีอีกต่างหาก ผักโขมจีนผง เหมาะกับคนไม่ชอบรับประทานผัก สามารถเอามาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น
• ใช้ผักโขมจีนผง2ช้อนชา ต่อไข่3ฟอง ผสมทำไข่เจียวไข่ตุน
• ผสมในเนื้อสัตว์ บด-สับ ประกอบอาหารเช่น ต้ม ทอด ผัด
• เติมต้มจืด ซุป ข้าวต้ม โจ๊ก ผัดต่างๆ บะหมี่สำเร็จรูป
• ผสมในขนม เช่น คุกกี้ พาย ขนมอบต่างๆ

เรื่องผักโขมจีนนี่นะเธอ ที่สวนป่าเกิดเองก็มี หว่านเมล็ดสายพันธุ์ใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ เป็นผักที่ปลูกง่าย โตเร็ว ผมชอบรับประทานอยู่แล้ว ตัดเอาส่วนยอดอ่อนมาปรุงน้ำซุป ผัด แกงจืด ไม่มากไม่น้อย..ตัดมาทีละตะกร้า ยิ่งตัดก็ยิ่งแตกยอดใหม่ๆอ่อนๆมา แต่แนวคิดเรื่องทำเป็นผงก็มีนะครับ
เอาไว้คุณชายทำโรงอบผักพลังงานแสงอาทิตย์ให้เมื่อไหร่?
ผมจะอบผักโขมจีนแห้งวันละรถสิบล้อให้ดู
เ ล็ ก ๆ ไ ม่ ใ ห ญ่ ๆ . . ช อ บ ค รั บ
อิ อิ..


ส่งการบ้าน

อ่าน: 1588

เรียนคุณ
ศิริเพ็ญ ก่องแก้วรัศมี

E-mail:
siriphen@nationalhealth.or.th

ตามที่คณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็นเพื่อพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย
ประเด็นการปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ จัดประชุมฯดังเป็นที่ทราบอยู่แล้วนั้น

ผมมีความเห็นดังต่อไปนี้


ประเด็นเชิงนโยบาย ควรคำนึงถึงศักยภาพของผู้รับสนองนโยบายด้วย ถ้านโยบายดีแต่ผู้รับไปปฏิบัติมีข้อจำกัด
ไม่มีความพร้อม มีเงื่อนไขเฉพาะส่วนองค์กร จะทำอย่างไรให้แผนงานเหล่านี้ได้การยอมรับ
จุดพอดีพอเหมาะของนโยบายที่มีความเป็นไปได้เป็นอย่างไร?

ถ้าจะเตรียมความพร้อมเฉพาะเครื่องส่ง
แต่เครื่องรับไม่มีประสิทธิภาพ ยังติดขัดเงื่อนไขต่างๆ
จะพิจารณาในประเด็นนี้อย่างไร ความพร้อมของรัฐบาล ความพร้อมของงบประมาณ กลไกภายในของแต่ละสถาบัน
มีศักยภาพพร้อมที่จะดำเนินงานได้ในระดับใดด้วยหรือไม่

ถ้าไม่พร้อม
มีวิธีทำงานบนฐานความไม่พร้อมอย่างไร?

เท่าที่สอบถามภายนอก
ประเด็นผลประโยชน์ที่จะเปลี่ยนแปลงดูจะเป็นยาขมหม้อใหญ่
แต่ถ้าอธิบายให้เห็นเหตุผลข้อดีข้อด้อยให้กระจ่าง จะทำให้เกิดการยอมรับ แนวทางการแสวงหาความร่มมือและการยอมรับเป็นอย่างไร


ประเด็นของอาเซียน จะมีน้ำหนักต่อการยกร่างนโยบายการปฏิรูปวิชาชีพด้านสุขภาพอย่างไร
ในแง่ของข้อดีและข้อด้อยจะมีผลต่อการกระตุ้นความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่
ในแง่บวกในแง่ลบควรเอามาเป็นประเด็นแวดล้อมด้วยหรือไม่ เช่น การคาดการณ์กรณีสมองไหลจะเป็นไปในทิศทางที่เกิดปรากฎการณ์ใหม่ๆด้วยหรือไม่


ประเด็นเรื่องความแตกต่างในเมืองกับชนบท ที่บางกรณีมีการจัดการไม่เหมือนกัน
ยกตัวอย่างเรื่องการส่งเสริมการใช้จักรยาน ถ้าดำเนินการในเมือง
จะต้องสร้างถนนที่เอื้อต่อการใช้จักรยาน การตีเส้นทำเครื่องหมาย
ต้องติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดขอบเขตให้อยู่ในรั้วของมหาวิทยาลัย
เช่น ที่มหาวิทยาลัยมหิดลหรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มประชากรชาวมหาวิทยาลัยมีความเหมาะสมมากกว่าที่จะแนะนำให้ถีบจักรยานบนถนน
อนึ่ง นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถปลูกกระแสเป็นแบบอย่างได้
ถ้าตระหนักถึงบริบทของจักรยาน

ถ้าจะส่งเสริมเรื่องการขี่จักรยานในชนบท
จะมีข้อแตกต่างจากในเมือง ถ้าบ้านไหนมีจักรยานก็ถีบปร๋อได้เลย

ควรสร้างกระแสให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของการใช้รถจักรยาน ชี้ชวนให้หันมาถีบจักรยานเช่นในอดีต
เรื่องเหล่านี้ไม่ต้องไปสร้างถนนตีเส้นอะไร เน้นกลุ่มผู้สนใจในเบื้องต้น
ขยายผลไปยังเรื่องการประหยัด การลดใช้พลังงาน การออกกำลังกาย
โยงไปถึงเรื่องพึ่งตนเอง จุดเริ่มควรพิจารณาต้นทุนในพื้นที่ ยกตัวอย่างในจังหวัดบุรีรัมย์
มีชมรมนักขี่จักรยานหลายกลุ่ม ถ้าเอากลุ่มเหล่านี้มานำร่องช่วยกันขยายผล
แผนการก็จะเริ่มไต่ต่อแต้มไปได้ไม่ยาก
อาจจะชี้ชวนให้เกิดการรณรงค์ใช้จักรยานในหมู่บ้าน และในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ในพื้นที่นำร่องหรือพื้นที่ๆเหมาะสม

ควรศึกษาวิจัยว่าจะให้จักรยานหวนกลับมาสู่ครัวเรือนในชนบทได้อย่างไร?

ประเด็นจักรยาน
อาจจะนำไปสู่วิธีคิดเกี่ยวกับการผลิตแพทย์พยาบาลเพื่อสนองตอบประชากรในชนบท กระแสเมืองกำลังขยายตัวไปทั่วโลก
ที่กล่าวกันว่าจำนวนประชากรในเมืองจะมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่ากลไกการบริหารเศรษฐกิจและสังคมผิดตัวผิดฝา
ภาคการเกษตรอ่อนแอและอ่อนไหวจนไม่สามารถรักษาอัตลักษณ์ของตนไว้ได้ การบ้านสำหรับชนบทควรเรียงสะท้อนให้เห็นจุดดีที่แตกต่างกว่าเมื่อก่อน
ในระหว่างการศึกษา ถ้าได้นิสิตแพทย์ออกมาจัดค่ายในชนบทเช่นค่ายอาสานักศึกษาในอดีต
จะมีส่วนให้นักศึกษาได้สัมผัสความเป็นชนบทที่เปลี่ยนผ่านมาถึงในปัจจุบัน

วิกฤติจากน้ำท่วมใหญ่คราวที่แล้ว
ทำให้คนในเมืองและผู้คนในชนบทที่เข้าไปทำงานในกรุง เริ่มหวนกลับมาพิจารณาการมาอยู่อาศัยในชนบทมากขึ้น
ปัจจุบันเครื่องอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทาง
ร้านสะดวกซื้อ ทีวี อินเทอร์เน็ต รถทัวร์ รถตู้ เครื่องบิน
อีกหน่อยรถไฟหัวกระสุนก็จะมา ถนน๔เลนเริ่มขยาย
สิ่งเหล่านี้จะเป็นเงื่อนไขสนองต่อแผนการกระจายตัวของประชากรด้วยหรือไม่

พลังของความเปลี่ยนแปลง
จะเป็นตัวชี้วัดให้แก่สังคม พลังที่ว่านี้จะเอามาเป็นแรงผลักดันนโยบายได้อย่างไร? จากการที่ไปไปพบปะพูดคุยกับนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาโทหลักสูตรการพยาบาลและผดุงครรภ์
ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับข้อเสนอที่น่าสนใจหลายเรื่อง ในการยกร่างแผนฯถ้ามีการถามใจเธอดูก่อนในทุกองค์กรทุกสถาบันที่เกี่ยวข้อง
ว่าเขากำลังเผชิญปัญหาอะไร เขาคิดแก้ไขเรื่องของตนเองอย่างไร เขาขัดข้อง/เขามีข้อเสนอเชิงนโยบายอย่างไร
ถ้ารับฟังสิ่งเหล่านี้มาประกอบการร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย น่าจะทำให้แผนการต่างๆถูกจุดและสมบูรณ์ขึ้น
จึงควรรวบรวมข้อเสนอมาจากแหล่งต่างๆให้มากที่สุด ถึงจะได้ครอบคลุมทุกประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการกระจายอำนาจ

จะกระจายอำนาจให้เกิดประสิทธิผลต่อการยกระดับวิชาชีพด้านสุขภาพด้วยหลักการและกระบวนการอะไร?

: ประเด็นฝาก ในเมื่อพยาบาลบาลขาดแคลนเป็นจำนวนมาก
รัฐบาลควรลงทุนผลิตพยาบาลเชิงรุก หมายถึงเรื้อโครงสร้างเดิม
แล้วเดินหน้าทุ่มเทงบประมาณให้สถาบันที่เกี่ยวข้องผลิตพยาบาลในอัตราก้าวหน้า โดยตัดยอดหรือเกลี่ยงบประมาณจากหลักสูตรที่สอนด้านสังคมที่ล้นเกิน
เรียนแล้วตกงานสูญเปล่างบประมาณ มาเพิ่มให้หลักสูตรที่มีอนาคตเป็นที่ต้องการทั้งโลก
ไม่ดีกว่าหรือครับ?

โดย : krubasutthinun@gmail.com



Main: 0.078155994415283 sec
Sidebar: 0.048551082611084 sec