ยาผีบอก
(ชวนนักวิจัยระดับอ๋องมาชมงานวิจัยไทบ้าน)
1 ความสอดคล้องกับทุนนวมินทร์
1.1 สถานีเรียนรู้มหาชีวาลัยอีสาน มีเป้าประสงค์ทางด้านการสร้างปัจจัยความรู้เพื่อการถ่ายทอดความรู้เชิงประจักษ์ เช่น การปลูกต้นไม้หลากหลายวัตถุประสงค์ การสะสมแม่ไม้พันธุ์ดี การเลี้ยงสัตว์ การค้นหาคำตอบในการพึ่งตนเองในระดับชุมชน การวิจัยชนิดหญ้า การวิจัยพืชพลังงาน การวิจัยไม้โตเร็ว
1.2 ค้นหาวิธีแก้ไข้ปัญหาความแห้งแล้ง ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การผลิตปุ๋ย การผลิตน้ำส้มควันไม้ การปลูกสมุนไพร การปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษ เพื่ออธิบายการอยู่แบบพอเพียงและปลอดภัย โดยมีแนวคิดว่า..คนเราอยู่ในพื้นที่แห่งไหนก็ควรมีความรู้ที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์ มีความก้าวหน้าความเจริญตามลำดับ ซึ่งสังเกตุได้จากความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
1.3 ชุดความรู้ที่สร้างขึ้นมา มีความเหมาะสมต่อเกษตรกรรายย่อยที่มาศึกษาดูงาน เช่น การสับไม้ใบเลี้ยงโค การผลิตปุ๋ย การกลั่นน้ำมันยูคาลิปตัส การเผาถ่าน การทำเฟอนิเจอร์ การเพาะพันธุ์ไม้ การปลูกผักยืนต้นระบบชิด ฯลฯกระบวนการเหล่านี้มาจากการปฏิบัติ ไม่ใช่มีอยู่ในตำรา ทุกกิจกรรมจะนำเกษตรกรทดลองเชิงกระบวนการ
1.4 ในส่วนของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ได้เสนอรูปแบบการทำเกษตรประณีต ในเนื้อที่ 1 ไร่ เพื่อที่จะได้ดูว่าเกษตรกรที่อบรมไปแล้ว สามารถนำไปใช้จริงได้ระดับใด เพื่อให้การประเมินผลชัดเจน จึงออกกุศโลบายให้เกษตรกรทดลองทำกิจกรรมในพื้นที่ๆกำหนด
(มหาชีวาลัยอีสานเป็นเจ้าภาพร่วมการประเมินการใช้งานผลงานวิจัยของ วช.)
2 คุณค่าทางปัญญา
2.1 หัวหน้าโครงการฯ ได้รับการคัดเลือกเป็น เ ก ษ ต ร ก ร ดี เ ด่ น แ ห่ ง ช า ติ สาขาปลูกสร้างสวนป่า ปี 2533 และ เ ก ษ ต ร ก ร ดี เ ด่ น ข อ ง FAO. เ นื่ อ ง ใ น วั น อ า ห า ร โ ล ก ในปี 2524 ในหัวข้อ“ฟ า ร์ ม ต้ น ไ ม้ หัวหน้าโครงการฯได้รับเลือกให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1 ของสภาการศึกษาแห่งชาติ และได้ประมวลผลความรู้ผ่านหนังสือที่ชื่อ “คนนอกระบบ” ซึ่งสภาการศึกษาแห่งชาติได้ออกทุนจัดพิมพ์ เคยได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการยกร่างหลักสูตรระดับปริญญาโท “วิชาสูตรภูมิสังคม” ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเป็นผู้ร่วมพิจารณายกร่างหลักสูตรคณะเกษตร ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกให้เป็น วิ พุ ท ธิ ย า จ า ร ย์ อ า ส า ของหลักสูตรนี้ ซึ่งจะต้องเดินทางไปสอนนักศึกษาเป็นระยะๆ กล่าวโดยรวมมหาชีวาลัยอีสานมีภูมิหล้งเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจากการปฏิบัติพอสมควร
วันที่ 7 กรกฎาคม 2554 ได้รับเชิญจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ เป็นผู้อภิปรายนำกลุ่ม 3 ในภาคบ่าย เรื่อง “ก้าวใหม่สู่ความมั่นคงอาหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ของการประชุมประจำปี ของ สศช. เรื่อง “แผน11..สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี
วันที่27 สิงหาคม 2554 มหาชีวาลัยอีสาน ได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ไปเป็นวิทยากรในการประชุม การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ2554 (Thailand Research Expo 2011) ในหัวข้อเรื่อง “งานวิจัยไทบ้าน”
2.2 มหาชีวาลัยอีสาน เคยทำโครงการร่วมให้กับสำนักงานการจัดการความรู้เพื่อสังคม ศึกษาเรื่องการดูแลดินและการจัดการดินเพาะปลูกของเกษตรกร สำนักงานจัดการความรู้ได้นำไปพิมพ์เป็นตำราชื่อว่า “ดินดิ้นได้”
2.3 จากชุดความรู้ที่สะสมเรื่อยมา พร้อมกับกิจกรรมตัวอย่าง ทำให้มีกลุ่มผู้สนใจทั้งภาคธุรกิจเอกชน ครูบาอาจารย์ นักวิจัย เกษตรกรเดินทางมาดูงาน และเข้าค่ายอบรม ทำให้ได้นำสิ่งที่สภาวิจัยเรียกว่าคุณค่าแห่งปัญญา ออกมาถ่ายทอดให้แก่สาธารณชนสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการกระจายผลงานวิจัยออกไปอย่างกว้างขวางอย่างเป็นธรรมชาติ
(วิจัยไทบ้าน เอาใบไม้มาสับให้วัวกิน วัวอ้วนจนแทบเป็นหมัน)
3. ผลกระทบของการวิจัย
3.1 ที่มาของโครงการวิจัยชุดนี้ เกิดจากการเสนอวิจัยจากตัวนักวิจัยไทบ้าน ที่เห็นปัญหาเกิดขึ้นในวิถีชีวิต จึงต้องการศึกษาหาคำตอบเพื่อนำมาแก้ปัญหาด้วยตนเอง แต่มีปัญหาเรื่องการตีความ ปัญหาเรื่องการอธิบายเชิงวิชาการ โครงการฯจึงขอความร่วมมือให้นักวิชาการในสถาบันการศึกษาบางแห่งมาร่วมเป็นที่ปรึกษา ความพิเศษของโครงการนี้จึงเป็นการย้อนศร แทนที่จะให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยมาเป็นพระเอก ชาวบ้านเสนอขอเป็นพระเอกเสียเอง ให้นักวิชาการมาเป็นเพื่อนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งตรงกับนโยบายของคณะกรรมการอุดมศึกษา ที่ต้องการให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยออกไปร่วมเรียนรู้กับชุมชน แทนที่จะไปบอกความรู้อย่างที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งก็จัดเจนแล้วว่าไม่ได้ผล
3.2 โครงการฯนี้จะเป็นตัวพิสูจน์เรื่องความร่วมมือการวิจัย ระหว่าง นักวิจัยไทบ้าน กับ อาจารย์/นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งน่าจะเป็นกรณีตัวอย่างในพิจารณาแนวทางการส่งเสริมการวิจัย ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้อย่างกว้างขวางทุกภาคส่วน เหตุผล เพราะผู้วิจัยเป็นผู้ต้องโจทย์ เป็นผู้ต้องการผลวิจัยมาแก้ไขในเนื้องานของตนเอง แทนที่จะรอให้โครงการวิจัยจากภายนอกมาบอกเล่า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกาไม่ถูกที่คัน สิ่งที่โครงการนี้เสนออาจจะ ช่ ว ย บ ร ร เ ท า ปั ญ ห า ง า น วิ จั ย ขึ้ น หิ้ ง ไ ด้ อี ก ท า ง ห นึ่ ง
3.3 จุดพิเศษ อีกประการหนึ่งของโครงการฯ จะรายงานการดำเนินกิจกรรมผ่านบล็อกลานปัญญาเป็นระยะ เพื่อให้เครือข่ายผู้รู้ผู้สนใจเข้ามาเสนอแนะ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ในการดำเนินการวิจัยแบบเปิดกว้าง
3.4 คำว่า “วิจัยแห่งชาติ” จะเป็นแห่งชาติไม่ได้เลย ถ้าไม่เปิดกว้างให้ประชากรในประเทศนี้ได้มีส่วนร่วมในการทำวิจัย ให้โอกาสสำหรับผู้ต้องการที่จะยกระดับการจัดการความรู้ -การพัฒนาความรู้ -เพื่อนำไปสู่สังคมอุดมปัญญาอย่างเป็นรูปธรรม เราพูดถึงความร่วมมือ พูดถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดถึงการสังเคราะห์ พูดถึงการนำผลความรู้ไปใช้อย่างคุ้มค่า เป้าหมายของมหาชีวาลัยอีสานตระหนักในเรื่องนี้เช่นกัน การที่คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้กรุณาให้มหาชีวาลัยอีสานเสนอโครงการวิจัย ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญต่อการพัฒนากระบวนการวิจัยของประเทศนี้
(หวดข่า ผลไม้ป่าที่งานวิจัยไทบ้านเอามาหมักทำไวน์ไว้เลี้ยงโค)
« « Prev : แผนผังวิถีชีวิตเกษตรกร
4 ความคิดเห็น
จัดทำแบบสรุปข้อมูลเรียบร้อยพร้อมจัดส่งเรียบร้อยแล้วเช่นกันขอรับ หุหุหุ ;)
โห แห้ว ทะลุจอจริงๆ อิอิ
เสียดายแต่ไวน์หวดข่านี่แหละ มันหรอยดีนะผมว่า แต่จะเอาไปให้งัวกินเสียหมด เอาหวดข่าไปขายฝรั่งนั่งเครื่องบินขวดละพัน แล้วเอาเงินมาซื้อเชี่ยงชุนขวดละห้าสิบ ให้วัวกินจะดีกว่าไหมครับ อิอิ
ส่วนน้าเต้ายักษ์นั้นผมว่าน่าทำอะไรได้มาก เช่น หมักมันในตัวเลย คือใช้เปลือกตัวเองเป็นถังหมัก สิ่งที่ได้คืออาหารสัตว์หมัก หรือ อะไรก็ค่อยว่ากันต่อ อาจกลายเป็นไวน์น้ำเต้าก็ได้นะครับ
ปีหน้าเอาใหม่ท่านจอหงวน จะเก็บหวดข่ามาฝากสักรถ10 ล้อ อิ