กล้วยไม้ออกดอกช้าเกินไป
อ่าน: 1450
“ เ ป้ า ห ม า ย ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ตั ว บ่ ง ชี้
ก า ร ป ฏิ รู ป ก า ร ศึ ก ษ า ใ น ท ศ ว ร ร ษ ที่ ส อ ง “
( พ. ศ. 2 5 5 2 – 2 5 6 1 )
คนไทย ไ ด้ เ รี ย น รู้ ต ล อ ด ชี วิ ต อ ย่ า ง มีคุณภาพ
กระทรวงศึกษาธิการ อาบน้ำทาแป้งแต่งตัวออกแขกเรื่องปฏิรูประบบการศึกษาครั้งที่2มาเป็นระยะๆ ในชั้นของนโยบายที่คณะกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติรับผิดชอบ ในสมัยฯพณฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประชุมเป็นครั้งที่3 คราวนี้ย้ายสถานที่ประชุมจากสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ มาที่ห้องราชวัลลภภายในกระทรวงศึกษาธิการ ผลงานต่างๆทยอยออกมาให้เป็นรูปธรรมบ้างแล้ว เช่น การยกระดับครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน(กศน.)ให้เป็นข้าราชการทั่วประเทศ สร้างเสริมโรงเรียนดี1ตำบล1อำเภอ การเรียนฟรี ฯลฯ >>> ส่วนสาระหลักสำคัญๆยังอยู่ในห้องประชุม เตรียมยกร่างการปฏิรูปการศึกษาเสนอคณะรัฐมนตรีให้ทันภายในเดือนสองเดือนนี้
วันนี้โจทย์สำคัญอยู่วาระที่3 ที่คณะกรรมการสภาฯได้ให้คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา โดยมี ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ สุ ร พ ล นิ ติ ไ ก ร พ จ น์ เป็นประธาน ซึ่งมีรายละเอียดมากมายสามารถค้นได้เว็ปไซด์ของ สกศ.
เช่น
-ดำเนินการถ่ายโอนอำนาจทางการคลังควบคู่กับการถ่ายโอนการจัดบริการสาธารณะ(รวมด้านการศึกษา)ไปสู่อปท.ควบคู่กับการเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการบริหารจัดการศึกษาและการหารายได้ของอปท. โดยมีการวางแผนขั้นตอนและกรอบระยะเวลาของการโอนที่ชัดเจน
-ส่งเสริมให้อปท.จัดการศึกษาทุกระดับ/ประเภท/และให้การสนับสนุนทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาใน อปท.เพิ่มขึ้น
-ส่งเสริมภาคเอกชน ธุรกิจ สถานประกอบการ และทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมลงทุน การปรับปรุงแก้กฎหมาย กฎระเบียบ เป็นต้น
-จัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวบนฐานของต้นทุนมาตรฐานต่อหัวอย่างเท่าเทียมกันระหว่างผู้เรียนในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเข้าเรียนตามความต้องการ
-บังคับกฎหมายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติระหว่างสถานศึกษาของรัฐและเอกชน และผ่อนคลายระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหรือสนับสนุนการจัดการศึกษาของเอกชน อปท.และทุกภาคส่วน
-ศึกษาหาแนวทางการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในรูปแบบของหลากหลาย เช่น การจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีสุรา บุหรี่ เพื่อการศึกษา เป็นต้น
-ปฏิบัติต่อสถานศึกษาของรัฐ-เอกชน ด้วยมาตรฐานเดียวกัน
-จัดระบบการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่น เข้าถึงง่ายและเปิดโอกาสให้กำลังคนเข้ามาเรียนรู้และออกไปประกอบอาชีพ ควรเพิ่มคำว่าว่ามีความหลากหลาย เพื่อให้เป็นทางที่เป็นทางเลือกมากขึ้น รวมทั้งควรเพิ่มเรื่องการจัดการระบบการศึกษาในท้องถิ่น
-ควรส่งเสริมภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานควบคู่กับการเรียนหรือการฝึกงาน และควรเป็นการฝึกงานอย่างแท้จริง รวมทั้งควรมีมาตรการสร้างแรงจูงใจที่เป็นทั้งเชิงบวกเชิงลบ ควรนำเรื่องนี้หารือกับนายกรัฐมนตรี ในคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน(กรอ.) เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง3สถาบัน คือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย
-ปัจจุบันการแก้ไขปัญหาความยากจน การแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ที่ยังคงมีปัญหาเรื้อรังมาหลายสิบปี ก็เพราะเราให้ความสนใจเรื่องการประกอบอาชีพของชุมชนท้องถิ่นน้อยเกินไป นอกจากนี้ปัจจุบันพบว่าแรงงานต่างชาติไหลเข้ามาประเทศไทยจำนวนมาก
หลังจากการนำเสนอจบลง คณะกรรมการสภาฯซึ่งล้วนแต่เป็นจอหงวนของแต่ละสำนักให้ข้อคิดเห็นอย่างน่าสนใจยิ่ง ทุกท่านมีประสบการณ์ในการบริหารการศึกษามายาวนาน จึงมีมุมมองที่กว้างไกลและกระจ่างชัด มองเห็นจุดอ่อนจุดแข็งและทิศทางที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูง ผมได้ความรู้จากการประชุมครั้งนี้มาก
สรุปว่าที่ประชุม ให้ความเห็นว่าข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯยังมีจุดอ่อน จึงมีข้อเสนอที่ดีๆใหม่ๆเข้ามาอีกยุบยับ ผมก็เลยไม่รู้ว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จะลงเอยได้อย่างไร ในเมื่อโจทย์ไม่นิ่ง แตกเหล่าผ่ากอออกไปเรื่อยๆ พยายามคิดวิเคราะห์ตามก็มองไม่เห็นฝั่ง เกรงว่าเรือจะชนหินโสโครกจมทะเลความคิดเสียก่อน
อาจารย์สุรพล กิตติไกรพจน์ สรุปเป็นครั้งสุดท้ายว่า เรื่องทั้งหมดที่เสนอมานี้ ตั้งประเด็นเพื่อให้เห็นว่าเราจะทำเมื่อไหร่ และควรจะเริ่มในกรอบ 3 เรื่อง ดังนี้
1 มีการสนับสนุนทรัพยากรมากขึ้น
2 มีอิสระในการใช้งบประมาณ / คล่องตัว
3 ออกแบบการติดตามวัดความสำเร็จอย่างไร?
เท่าที่รับฟังท่านผู้ทรงคุณวุฒิ
ได้ให้แค่คิดเรื่องกฎหมายที่แก้ยากและชักช้า
เงินงบประมาณมีเพียงพอที่จะขับเคลื่อนทุกโครงการที่เสนอไหม?
การยุบโรงเรียนขนาดเล็กเท่ากับเป็นการไล่เด็กออกจากท้องถิ่น
การกระจายอำนาจ กระจายความรับผิดชอบ การให้อิสระโรงเรียนมากขึ้น
จะจัดให้เกิดการแข่งขันได้อย่างไรในเมื่อระบบราชการเป็นเงื่อนไขเสียเอง
ไม่ควรจะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก (มีเด็ก50-60คน/โรง) จำนวน 5-10,000 โรง
การประชุมดำเนินไปจนถึงเวลาแจกกล่องอาหารกลางวัน ผ ม ย ก มื อ >> รัฐมนตรีว่าการฯ ขอให้ออกความเห็นเป็นคนสุดท้าย >>ผมขออนุญาตให้ข้อสังเกตดังนี้ ถ้าเปรียบเทียบการปฏิรูปของกระทรวงสาธารณสุข ทีทำการยกสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลชุมชน คณะกรรมการประชุมกันในประเด็นที่กระชับและเป็นไปได้ เช่น การผลิตแพทย์พยาบาลมารองรับ การจัดสรรงบประมาณ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ในกรณีที่ต้องการเพิ่มตำแหน่งบุคลากร คณะกรรมการชงเรื่องให้รัฐมนตรีเสนอขอครม.ขอ 30,000ตำแหน่ง การรักษาโรค30บาทบัตรทอง เปลี่ยนมาเป็นบัตรประชาชนและครอบคลุมโรคต่างๆมากขึ้น กรอบกระชับๆ ทำให้การดำเนินงานก้าวหน้า มองเห็นเป็นรูปธรรม
แต่การปฏิรูปการศึกษา ที่เต็มไปด้วยความห่วงใย เยื้อใย และชักใย โยงกันไปโยงกันมาไม่จบสิ้น ม อ ง แ ต่ ค ว า ม เ ป็ น เ ลิ ศ ไ ม่ ม อ ง จุ ด พ อ ดี พ อ ไ ด้ แ ล ะ เ ป็ น ไ ป ไ ด้ ทำให้ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาเต็มไปด้วยคำว่า “แต่” สุดท้ายก็จะกลายเป็นแต่ช้าแต่.. ฟันธงไม่ได้
· เราควรจะมองเรื่องต้นทุนที่แท้จริง งบประมาณมีหน้าตักแค่ไหน ทำได้แค่ไหน ไม่ใช่คิดทำใหญ่โตแต่ไม่มีเงิน
·ควรคำนึงถึงวัฒนธรรมขององค์กร มีความเข้มแข็ง-แข็งแรงที่จะก้าวเดินได้ระดับใด ไม่ใช่เอาเต่ามาวิ่ง100เมตร
· เงื่อนไขต่างๆ ทั้งที่เป็นมรดกตกทอด และที่แฝงเร้นจะบริหารจัดการอย่างไร?
· โครงสร้างขององค์กรที่อยู่ในระหว่างการยกเครื่อง ยังไม่ลงตัวจะทำอย่างไร?
· พลังทางสังคม การมีส่วนร่วม การแสวงหาตัวช่วย ทำได้แค่ไหน?
·ความชัดเจน ประเด็นที่กระชับๆทำได้ ควรออกแบบให้เกิดการทำงานแบบมีโชคอัพ ทำไปเรียนรู้ไป แก้ไขปัญหาไป
ท่านรัฐมนตรียกตัวอย่างการรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่นครสวรรค์ ว่าสามารถดำเนินการไปได้ดี และกระเซ้าผมว่า>> กล้วยไม้ออกดอกช้า >>
ก า ร ตั้ ง เ ป้ า ส ว ย แ ต่ รู ป จู บ ไ ม่ ห อ ม
เอวัง ก็มีด้วยประการละฉะนี้ แหละพี่น้อง อิ อิ
« « Prev : ผู้ชำนาญการสร้างรอยยิ้ม
8 ความคิดเห็น
อย่ายกสาธารณสุขเป็นตัวอย่างครับ หนักกว่าศึกษาอีกครับ อิอิอิอิ
อ้าว สาสุก น่าจะดีกว่า อย่างน้อยรัฐมนตรีก็เอานโยบายไปประกาศออกทีวีแล้ว
อิอิ
การศึกษาที่ดีที่สุด คือ การที่ครูกล้าให้ลูกตนเองเรียนที่โรงเรียนที่ตนเองสอน
น่าสนใจค่ะครูบา
การศึกษาเห็นผลช้า กว่าจะเห็นผลของการสร้างคนก็ปาเข้าไปเกือบยี่สิบป ซึ่งในระหว่างทางก็มีการพลิกผันเจอตัวแปรทางสังคมเข้ามาอีกมาก
เรื่องที่พูดวันนี้ อาจแก้ปัญหาเก่าได้ในระดับหนึ่ง แต่การป้องกันปัญหาของปีหน้าก็อาจจะยังไม่เต็มที่ แล้วอีกยี่สิบปีล่ะ
ในเมื่อสังคมเปลี่ยนโจทย์ตลอดเวลา
จะทำอย่างไรให้นักการศึกษาวางแนวกว้างหลวมๆ และใช้การวิจัยต่างๆ เช่นการวิจัยอนาคต เข้ามาทำในแนวรุกวางแผนป้องกัน
สาสุกอาจจะได้เปรียบตรงที่การวางแผนมีแนวทางของปัญหาสุขภาพเชิงระบาดวิทยาเข้ามาช่วยมาก แต่การปฏิบัติก็ปัญหาการจัดการศึกษาให้ทันต่อนโยบายเหมือนกันค่ะ
โอนไปท้องถิ่น น่าจะเหมาะกว่างุบงิบเอออวยห่วยหมกกันอยู่ในส่วนกลางครับ โอนงบไปด้วย อย่าทำเนียนเลยครับ
คนอยู่บนหอคอยงาช้าง อยู่ไกลจากเหตุการณ์ ออก “มาตรฐาน” บ้าบออะไรออกมาสักอันเพียงเพื่อให้เป็นผลงานของตัวเอง ทำบาปไว้กับเด็กทั่วประเทศไปหลายปี ดูแค่การสอบวัดมาตรฐานก็แล้วกันครับ เปลี่ยนกันจนมั่วไปหมดแล้ว
เฮ้อ บ่นอีกแล้ว อิอิ
อุ๊ย ครับ
ทั้งเรื่องสาธารณสุข/และการศึกษา
เรากำลังดำเนินการภายใต้สภาพผิดปกติ
อยู่ในช่วงการปรับตัวที่ขาดความพร้อมอย่างมาก
ผลลัพธ์จึงออกมาลุ่มๆดอนๆ
ที่ออต บอก
นั่นแหละตัวชี้วัดขนานแท้ แม้แต่ครูก็ไม่กล้ารับผลการสอนของตนเอง
เรื่องโอนไปให้ท้องถิ่น พูดมานาน และวันนี้ก็พูดอีก แต่พูดเฉยๆ พูดเพื่อให้ได้พูด จบ
ค่ะครูบา
ที่เราไม่พร้อมเพราะเราไม่ค่อยสนใจเรื่องของการเตรียมความพร้อม???
งานสาสุกในมหาวิทยาลัย(ในหน่วยอื่นไม่ทราบน่ะค่ะ)ใช้วิจัยเป็นตัวเปลี่ยนแปลงแผนทั้งด้านการศึกษาและการรักษาตลอดเวลา
โดยขับเคลื่อนในรูปแบบพลวัต คือใช้วิจัย การลงมือทำ และการใช้ทฤษฎีรวมทั้งสร้างทฤษฎี ต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องราวของโรค ของการดูแล มีแนวปฏิบติต่างๆ ที่ใช้ผลการวิจัยทั้งไทยและเทศ
มหาวิทยาลัยลงทุนเรื่องเอกสารเหล่านี้สูงค่ะ และมหาวิทยาลัยในประเทศพัฒนาแล้ว แทบจะรับวารสารจากทุกมุมโลกมาใช้เลย
และใช้ทุกรูปแบบของการวิจัยมาทำแบบ Mixed methods คือเอาจุดแข็งของการวิจัยแต่ละแบบมาใช้ประโยชน์ …และสาสุกทั้งโลกเชื่อมต่อกันได้หมด
ทางการศึกษาไทย….ไม่เคยเข้าไปดูตามมหาวิทยาลัยหลักทางการศึกษาค่ะว่า ใช้การวิจัยเป็นฐานด้วยหรือไม่ …เท่าที่สังเกต จะพบการวัดคุณภาพการศึกษาโดยใช้ตัวเลขหรือการวิจัยเชิงปริมาณ ซะเป็นส่วนใหญ่ หรือใช้โมเดลที่สร้างบนฐานตัวเลข ซึ่งไม่ค่อยจะตอบโจทย์ที่ซับซ้อนทางสังคมได้มากนัก
เท่าที่ติดตามอ่านบันทึกของครูบา เข้าใจว่าการศึกษาใช้ multidisciplinary approach หรือการใช้ความรู้ความเข้าใจแบบสหสาขาวิชา มาวางแผนร่วมกัน
แต่ไม่แน่ใจว่าอ่านเจอการใช้ผลวิจัยต่างๆ และรูปแบบการวิจัยที่หลากหลายมาใช้ประโยชน์อย่างไรค่ะ
ในการประชุมได้มีการนำเสนอในด้านนี้หรือไม่ค่ะ
ถ้าอาจารย์ทำวิจัย แล้วเอาผลวิจัยนั้นมาสอน
การศึกษาก็จะก้าวหน้ามั่นคง
แต่สไตล์ี่ไทยยังไงก็ได้ การศึกษาจึงชำรุด
คงต้องๆช่วยๆกันตามมีตามเกิดไปก่อนกระมัง
เพราะเป็นเรื่องที่นอกเหนือกึ๋นของเราที่จะไปทำอะไรได้
อุ้ยสบายดีนะครับ