ทำอย่างไร ถึงจะไม่ไปตกม้าตายที่ลาว

โดย sutthinun เมื่อ 3 ธันวาคม 2010 เวลา 3:52 ในหมวดหมู่ สวนป่าฮาเฮ #
อ่าน: 3679

“เรียบง่ายและสบายแท้พี่น้องลาว”

คือคำที่ได้ยินจากคณะอาจารย์ที่ไปลุยสปป.ลาวมา ขอเปิดผ้ากั้งเรื่องนี้สักเล็กน้อย>> หลังจากที่คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามไปเซ็นMOU.กับมูลนิธิชัยพัฒนาเมื่อเร็วๆนี้ หลังจากนั้นก็มีการบ้านตามมาติดๆ ถู ก เ กี่ ย ว ก้ อ ย ให้เข้าไป เ กี่ ย ว ข้ อ ง กับโครงการที่สมเด็จพระเทพฯ จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือคนลาวในแขวงสุวรรณเขต ในวาระที่สปป.ลาวฉลองครบรอบ450ปี ซึ่งฝ่ายไทยได้ไปลงหลักปักฐานบางส่วนไว้แล้ว เช่น ไปสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เมื่อต้นเดือนนี้เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯประกอบด้วยผู้สันทัดกรณีจากกรมกองต่างๆได้ชวนกันไปศึกษาข้อมูล เตรียมการก่อนที่ท่านประธานฯ ดร.สุ เ ม ธ ตั น ติ เ ว ช กุ ล จะลงไปในกลางเดือนนี้

ต่อหน้า ก่ อ ง ข้ า ว น้ อ ย- ไ ก่ ย่ า ง- แ ล ะ ล า บ ป ล า คั ง- ที่ร้านโต้งไก่ย่าง เรานั่งล้อมวงฟังดร.ศั ดิ์ พ ง ศ์ ห อ ม ห ว น- อ า จ า ร ย์ เ ล็ ก และทีมงาน สรุปให้ฟังว่าสถาบันอุดมศึกษาไทยจะเข้าไปในบทบาทอะไร? คณะผู้ก่อการดีเล่าว่า >>

>เพิ่งกลับมาสดๆร้อนๆ

ต้องรีบเขียนรายงานชี้ลงไปว่าจะเข้าไปเป็นตัวต่อในเรื่องใด

คณะอื่นทำเรื่อง-ดิน-น้ำ-ป่า-ทรัพยากรฯ

.ราชภัฏมหาสารคามจะทำเรื่องคน เรื่องการจัดการความรู้ ฯลฯ

ใ น ส า ย ต า ค น ไ ท ย ไ ป เ ห็ น ห มู ล า ว เ ลี้ ย ง แ บ บ บุ ฟ เ ฟ่ ต์ ปล่อยให้เดินเพ่นพ่านหากินตามอำเภอใจ บ้านไหนมีเศษอาหารอะไร ก็เอามาเทไว้ หมูใครเดินมาเจอก็เ จี๊ยะได้ ถึงเวลาคุณอู๊ดเหล่านี้ก็จะเดินกลับบ้านใครบ้านมัน ไม่เหมือนสุกรไทยที่ยกระดับขึ้นไปนอนแอ้งแม้งอยู่ในฟาร์ม ได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารข้นอย่างดี เกิดมาสุขสบายกินนอนอย่างเดียว ไม่ต้องเดินค้นหาอาหารเหมือนหมูกี้ฝั่งลาว เรื่องลักษณะนี้ละเอียดอ่อน กว่าที่เขาจะค้นพบภูมิปัญญาการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย มันมีที่ไปที่มา ผ่านการตรวจสอบทาง ก า ย ภ า พ และทาง ชี วี ภ า พ อย่างถึงแก่น เรื่องสุกรนั้นไซร้ไม่ใช่หมูน้อยธรรมดา ในแถบหมู่บ้านชาวเขาภาคเหนือของเรา เช่นที่ดอยปุยบนดอยสุเทพเชียงใหม่ สมัยที่ผมขึ้นไปเที่ยวแรกๆก็เห็นประชากรหมูเดินปนเปอยู่กับนักท่องเที่ยว บางตัวที่ดื้อหน่อยโดนเอาเชือกมัดช่วงขาหน้าล่ามไว้ ไม่ต้องทำคอก ถึงจะตัวเล็กโตช้า แต่การกินอาหารน้อยไม่เรื่องมาก แสดงว่าเขาเห็นจุดดีในจุดด้อยเช่นกัน ดังนั้น การที่จะเอาชุดความรู้อะไรใส่เข้าไป ถ้าไม่เนียนสนิทละเอียดลออมีหวังตกม้าตาย วิ ช า พั ฒ น บู ร ณ า ก า ร ศ า ส ต ร์ คนไทยสอบตกมานักต่อนักแล้ว รวมทั้งผมเองนี่แหละ ทุกวันนี้ก็ ยั ง เ ป็ น ผู้ เ รี ย น แ ล ะ นั ก เ รี ย น ที่ ส อ บ ต ก ทุ ก ที

เท่าที่คุยกันพบว่า พี่ป้าน้าอาลาวเลี้ยงไก่แต่ชอบกินไข่เป็ด ถามว่าทำไมไม่เลี้ยงเป็ด บอกว่าไม่มีน้ำให้เป็ดว่ายเล่น จึงเอาไข่ไก่ไปขายแล้วซื้อไข่เป็ดมากิน >> อ้าว! ทำไมไม่เลี้ยงเป็ดเทศละ ยังเคยมีการพูดเล่นว่า.. “เป็ดบกตกน้ำตาย” ดูเผินๆเหมือนเรื่องตลก เส้นผมบังภูเขาเส้นนี้มีเบื้องหลังอยู่ตรงไหน? แต่ละโจทย์มันสนุกจนไม่รู้ที่จะร้องไห้หรือหัวเราะ ความชอบ ความต้องการของคนเราไม่เหมือนกัน เรื่อง ไ ข่ ก็ ยั ง ต้ อ ง ต อ บ โ จ ท ย์ ใ ห้ ดี ในงานเลี้ยงหรือในภัตตาคารในเวียงจันทร์ เมนูที่ทางร้านภูมิใจเสนอคือ “ลาบไก่งวง” และ อาหารที่ปรุงจากเนื้อแพะ ถ้าชวนพื้นที่ตรงนั้นเลี้ยงไก่งวง กับ แพะ พี่น้องลาวจะสนใจไหม? รึจะชวนมาลองเลี้ยงด้วยกัน อันดับแรก ต้องอุ้มไก่งวงไปลาบ อุ้มแพะไปต้มแกง อิ่มแล้วนั่งคุยกัน อร่อยไหม ชอบไหม ดีไหม แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะเอาไม่เอาอะไร?

(การกินไก่งวง มรดกตกทอดมาจากฝรั่งเศส)

เรื่องจะไปพัฒนาใครโดยที่ไม่รู้เขารู้เรานั้นยากนัก วิถีของลาวที่ค่อยๆกระเถิบมาสู่ความเจริญ ทุกบ้านดูทีวีไทยเห็นแสงสีศิวิไลซ์ก็อยากจะเป็นอย่างพี่ไทยบ้าง หารู้ไม่ว่า>>ความเจริญแบบไทยๆนั้นแฝงไว้ด้วยภาพเสมือนจริง ลอยหน้าลอยตาไปอย่างนั้นเอง ปัญหาอยู่ที่ จ ะ ข ยั บ ค ว า ม จ ริ ง ของ ไ ท ย ใ ห้ ฝ่ า ย ล า ว ร ะ มั ด ร ะ วั ง ชั่ ง ใ จ ไ ด้ อ ย่ า ง ไ ร สังคมเอาอย่างกำลังรุมเร้าจิตใจคนลาวอย่างหนัก หนุ่มสาวเดินทางมาทำงานในบางกอกก็ไม่น้อย แถมยังเข้ามาได้อย่างเนียนสนิทกว่าคนพม่าคนเขมรเสียอีก ทั้งหน้าตาและภาษาแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันกับคนอีสาน ลาวเริ่มทิ้งพ่อแม่และเด็กๆให้อยู่ข้างหลัง ต่างมุ่งหวังว่าจะมาขุดทองในไทย

สรุปว่า>>ใครๆก็อยากมีเงิน

ถามว่าผิดไหม? ไม่ผิดหรอก

เพียงแต่ว่าวิธีให้ได้มาซึ่งเงิน

จะต้องแลกด้วยอะไรถึงจะไม่ขาดทุนวิถีชีวิตและสังคม

อาจารย์เล็กเล่าว่า>>คนฝั่งโน้นสบายจังเลย อยู่กันเรียบง่าย ถึงไม่มีถนนลาดยาง น้ำประปา แต่ไปไหนไม่ต้องปิดประตูบ้าน อยู่ง่ายกินง่ายนอนง่าย เสียอย่างเดียวตรงที่ไม่มีเงิน และอยากได้เงิน แหม>>ใครๆก็อยากมีเงินกันทั้งนั้นแหละ แต่ถ้าอยากได้เงินแบบพี่ไทย ก็เห็นแล้วว่าประเทศไทยต้องเอาอะไรไปแลกกับ ค ว า ม เ จ ริ ญ และ ค ว า ม ยั บ เ ยิ น ที่ไม่มีขีดจำกัด ราสูญเสียต้นทุนทางธรรมชาติและวัฒนธรรมไปมากมาย แทนที่จะรักใคร่ปองดองอยู่กันอย่างพี่อย่างน้อง สังคมไทยกำลังแตกดังโพละ นายกรัฐมนตรีจะลงมาขอนแก่น ยังต้องมีเตรียมการดูแลเข้มงวด ไอ่เรื่องอย่างนี้ทำอย่างไรถึงจะทำชี้ให้คนลาวเห็นและเข้าใจได้ว่า ค ว า ม เ จ ริ ญ แ ต่ เ ป ลื อ ก ของพี่ไทยนั้นไม่ได้ดีจริงทุกอย่างหรอกนะ ควรจะเลือกเอาตัวอย่างที่ดีที่พอมีอยู่บ้าง เช่น เ รื่ อ ง ก า ร พึ่ ง พ า ต น เ อ ง เรื่อง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ท า ง เ ลื อ ก ที่ เ ห ม า ะ ส ม อย่าไปยื่นมือให้เขามัด รักษาจมูกไว้ให้ดีมีอิสระ ควรชื่นชมตนเอง บอกว่าที่ลาวทำอยู่นี่ดีแล้ว ถ้าจะพัฒนาอะไรก็ควรทำในมิติในวิถีลาว สถาปนาสไตล์ลาวให้ได้ ทำให้เห็นอัตลักษณ์แห่งตน อย่าทำแบบหัวมงกุฎท้ายมังกรอย่างไทยแลนด์

เ ดิ น ดี ๆ อ ยู่ แ ล้ ว

จ ะ เ อ า เ ท้ า ไ ป เ ต ะ ขี้ ใ ห้ เ ห ม็ น ทำ ไ ม ?

ถ้าจะเอาตัวอย่างพี่ไทย ก็ควรศึกษาดูให้ดี ว่าจะได้จะเสียอะไร แล้วจะเกิดผลอะไรตามมา ไม่ควรติดใจกับภาพลวงตาในทีวี อย่าดูเฉพาะละครให้ดูข่าว ดูกรณีต่างๆในสังคมที่กำลังป่วนให้ครบถ้วนด้วย พูดเรื่องนี้แล้วนึกถึง พ่ อ ใ ห ญ่ เ ป ลี่ ย น ส ะ พ า ย ย่ า ม ลุ ย อ ยู่ ใ น ล า ว อ ย่ า ง โ ช ก โ ช น แ ล ะ ช่ำ ช อ ง คำนึงถึงที่ อ า จ า ร ย์ บ า ง ท ร า ย ที่ ถ่ า ง ข า ข้ า ม ไ ป ทำ ง า น ใ น ล า ว อ ยู่ เ ส ม อ ยังเขียนเล่าว่าไปเจอเพื่อนเก่าชาวต่างชาติสมัยเมื่อยังเป็นหนุ่มหล่อ และเรื่องอื่นๆที่เป็นสารประโยชน์ในแผ่นดินลาวอย่างน่าพิเคราะห์

ผ ม คิ ด ว่ า ถ้ า ค ณ ะ ทำ ง า น ฝ่ า ย ไ ท ย ไ ด้ อ่ า น เ รื่ อ ง ร า ว ท่ า น ทั้ ง 2 ใ น ล า น ปั ญ ญ า จ ะ เ ป็ น ป ร ะ โ ย ช น์ ไม่มากก็น้อย

ผมคิดอย่างนี้ครับ ห นั ง สื อ ที่ ท่ า น บ า ง ท ร า ย กำ ลั ง พิ ม พ์ เรียบร้อยเมื่อไหร่จะขออนุญาตให้ท่านบางทรายได้มอบท่านประธานมูลนิธิชัยพัฒนา และถวายสมเด็จพระเทพฯในโอกาสที่พระองค์ท่านเสด็จมาถวายปริญญาบัตรก็ได้ หรือในคราวที่พระองค์จะเสด็จไปดูโครงการฯในสองสามเดือนข้างหน้า รวมทั้งมอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามไว้เป็นคู่มือตะลุยลาว ดีไหมครับ?

วันที่ 16-17 นี้

ทีมงานม.ราชภัฏมหาสารคามจะเข้ามาจับเข่าคุยกันที่สวนป่า

ผมก็จะบอกวิธีเรียนลัด

แทนที่จะงมหาสมมุติฐานในลาวอย่างยากเย็นแสนเข็ญ

ก็หาเวลามาจ๊ะจ๋ากับท่านทั้ง2จะดีไหม?

ช่วงนี้ ขอให้อ่านงาน-ศึกษาข้อมูล-ดูลู่ทาง-หรือขอข้อเสนอแนะ

ค ว ร แ ว ะ ล า น ปั ญ ญ า

มาคุยกับผมก็ไอ่แค่นั้นแหละ คุยกับพระเอกตัวจริงจะสมประโยชน์ตรงประเด็นและโดนใจมากกว่า เอาเป็นว่า จะขออัญเชิญให้ท่านผู้สันทัดกรณีลาวทั้ง2 ได้พบกับคณะฯที่จะลงไปลุยลาวสักครั้งหนึ่งเมื่อถึงเวลาอันควร ผมขออนุญาตเป็นนายหน้าจัดรายการก็แล้วกันนะครับ

อาจจะนัดจับเข่าคุยกันที่สวนป่า-สารคาม-หรือขอนแก่น

คอยว่ากันอีกทีดีไหมครับ?

« « Prev : สวนภูพนา ผ่ า น ม า อ ย่ า ลื ม แ ว ะ เ ด้ อ

Next : Ignite Thailand 3 » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

14 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 เวลา 8:54

    โห…พ่อครูครับ..โดนใจจริงๆ เอาทีละเรื่องครับ
    - หมู ผมเคยมีโอกาสไปเดนมาร์ค และมีโอกาสไปดูฟาร์มหมู..? เห็นหมูฝรั่งเขาเลี้ยงแบบปล่อยให้วิ่งในคอกกว้างๆ แถมที่จมูกหมูมีวงแหวนเหล็กห้อยอยู่ เหมือนพวกฮิปปี้ที่ชอบเจาะหู จมูกห้อยโน่นนี่ ผมงงว่านี่แม้แต่หมูก็เป็นฮิปปี้ไปด้วยหรือ..อิอิ เขาอธิบายว่า การเลี้ยงหมูแบบสร้างคอกให้มันวิ่งเล่นนั้น ทำให้จิตใจมันสบายและเนื้อหนังมังสาดีกว่าจับใส่คอกเล็กนิดเดียว หันขวาก็ติดหันซ้ายก็ติด เลยนอนทั้งวัน กินกะนอน ได้น้ำหนักก็ขาย เนื้อมันไม่อร่อย เนื้อไม่แดงก็เอาสารเคมีให้มันกิน เราก็กินสารเคมีที่สะสมในเนื้อมันอีก เอามาปล่อยในคอกมนัเดินเล่น วิ่งเล่นดีกว่า การใส่ห่วงที่จมูกนั้นเขาศึกษาพบว่าธรรมชาติหมูชอบใช้จมูกดุนพื้นดินหาของกินในดิน การมีห่วงที่จมูกให้มันนั้น ช่วยให้การดุนดินมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ เออ ฝรั่งนี่มันศึกษาเรื่องหลักการต่างๆ

    เดี๋ยวต้องไปก่อนแล้วจะมาคุยเรื่องอื่นต่อครับ

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 เวลา 10:01

    5555 >>> ได้เรื่องกิ๊บเก๋ไปทดลองที่ลาวแล้วละครับ
    โดนใจมาก ๆ ๆ ๆ ๆ
    ผมก็จะทดลองในสวนด้วย
    แต่..ห่วงที่ว่านี้ > > เราจะไปหาที่ไหนละครับ ?
    ผมเคยซื้อแต่ห่วงใส่จมูกวัว
    จมูกหมู ยังไม่เคย ถ้าไม่มีจริงๆ อาจจะดัดแปลงครับ
    หมูประเภท ชอบแต่งตัว ชอบซ่าส์ ขาใหญ่ อาจจะชอบก็ได้
    แคว๊กๆ ๆๆๆ

  • #3 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 เวลา 10:04

    ขออนุญาต ฝากเรื่องนี้ถึงเทวดา
    ช่วยหาข้อมูลเรื่องนี้ให้ด้วยครับ
    อยากเห็นภาพ
    ผมจะลองโทรถามบริษัทที่ขายเครื่องมือ/อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์

  • #4 krupu ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 เวลา 11:25

    เจออันนี้ค่ะ พ่อ
    http://www.pornchaiinter.com/C_Control.html
    โทรไปถามแล้ว มี 2 ไซส์ แต่ราคาเท่ากันคือห่วงละ 200 บาทค่ะ

    ส่วนที่นี่ http://www.jrpsteel.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5358285
    มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 นิ้วครึ่งเป็นต้นไป ราคาห่วงละประมาณ 60 บาทค่ะ

  • #5 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 เวลา 15:03

    ไม่เห็นมีชื่อร้านที่จะสั่งซื้อ อิอิ

  • #6 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 เวลา 18:17

    อ่านเรื่องการเลี้ยงหมูในลาว ทำให้ย้อนชีวิตตอนเด็กๆ คูขุดเมื่องสี่สิบปีก่อนก็เป็นทำนองนั้น และค่อยๆ สืบลำดับความเปลี่ยนแปลงมาจนกระทั้งปัจจุบัน…

    เมื่อมองครบทุกส่วน อะไรดีกว่าหรือแย่กว่า ก็ยากที่จะอธิบายได้ เฉพาะหมูที่ปล่อยเพ่นพ่านนั้น ย่อมถ่ายไว้ตามถนน ซึ่งมูลวัวมูลมูลที่อยู่ตามถนนนี้ จัดว่าเป็นของกลาง ใครว่างๆ ก็จะโกยมาเก็บไว้เพื่อสะสมเป็นป๋ยนาประจำปีต่อไป…
    ติดกับหมู่บ้านก็คือนาข้าว บางครั้งหมูพาฝูงไปกินต้นข้าว ก็อาจถูกไหม (สินไหม) เป็นค่าปรับความเสียหาย หรือบางครั้งก็ถูกเจ้าของนายิงตาย การขัดแย้งด้านนี้ สำคัญมากจนกระทั้งหมูปล่อยค่อยๆ หมดไป…
    ครอบครัวนอกจากเลี้ยงหมูแล้ว ยังค้าลูกหมูด้วย หมูป่าเดิมที่จับมาเลี้ยงเป็นหมูบ้านซึ่งเรียกว่าหมูขี้พร้า เดินพาท้องละดิน ค่อยๆ เสื่อมความนิยม เพราะโตช้า หมูพันธุ์ลาทไวท์เป็นต้นเริ่มเข้ามาแทนที่…

    นึกถึงเรื่องราวของฝรั่งคนหนึ่งที่ตะลุยอเมริกาเมื่อหลายสิบปีก่อน ไปเจอคนบางคนในสถานที่ห่างไกล เค้าไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ฟังวิทยุ… เมื่อก่อให้เกิดความแปลกใจ เค้าก็ตอบว่า “ยิงนก จับปลา และขึ้นต้นไม้ได้ ก็ฝันได้…)

    นึกถึงตอนพายุ เมื่อปลายเดือนก่อน ขาดน้ำปะปา ขาดไฟฟ้า ๒-๓ วัน ก็เป็นเรื่องสนุก ผู้เขียนและหลายๆ คน บอกว่า ถ้าไม่มีปะปาและไฟฟ้า จริงๆ แล้วพวกเราก็อยู่กันได้… แต่พอทุกอย่างเข้ามาสภาพปกติ ทุกอย่างก็เหมือนเดิม…

    …………

    เจริญพร

  • #7 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 เวลา 18:56

    นมัสการ หลวงพี่
    ที่ลาวพื้นที่ยังกว้างขวาง ความเจญยังไม่มาเบียด
    วิถีดั่งเดิมจึงยังพอเห็นได้
    ต่อไปก็อาจจะเข้าอีหรอบเดีียวกับเรา
    หมูพันธุ์ท้องระพื้นเคยมีัวหนึ่ง
    ลูกๆอ้วน ออกมาวิ่งเร็วจ๊๋
    เสียดายเขาขายทิ้งตอนไม่อยู่บ้าน
    ยังอยากจะเลี้ยงไว้ดูเล่นนะขอรับ

    สาธุ

  • #8 silt ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 เวลา 19:57

    เสียดายที่วันที่ ๑๖ ๑๗ เราติดงานโฆษะกันเนาะพี่บูธ ไม่งั้นคงชวนกันไปร่วมวงเสวนาที่สวนป่าครับ

  • #9 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 ธันวาคม 2010 เวลา 1:06

    อยู่ที่โฆษะขอนแก่นแม่นบ่
    เฮ้อ เอาไงดี ขอคิดๆๆๆ ก่อนนะครับ
    ช่วงนั้นมีงานแข่งกีฬาอาจารย์มหาลัยราชภัฎ
    กลุ่มที่ว่านี้กะจะแว๊บ สวนป่า แทน
    เลยจะเสียดายไป เสียดายมา อิอิ

  • #10 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 ธันวาคม 2010 เวลา 23:34

    ตอนนี้ผมอยู่เมืองปากซันที่พักไม่มี wifi จะไปซื้อ air card ก็ไม่มี sim เลยใช้มือถือ ที่มีคลื่นเพียงเม็ดเดียว เดี๋ยวหลุดๆครับ

    16-17 ผมต้องจัดสัมมนาโครงการครั้งสุดท้ายที่โฆษะ อย่าวงที่อาวเปลี่ยนบอกครับ
    ส่วนหนังสือของผมที่ท่านรองเอาไปพิมพ์นั้นไม่ก้าวหน้าเลยครับ ผมคิดว่า หาก พ่อครูต้องการจริงๆ ผมจะทำแบบที่ให้พ่อครู แบบพิมพ์เอาใส่ห่วง ทำสำเนาสักจำนวนหนึ่งได้ครับ พ่อครูลองพิจารณาดูนะครับ หากแบบนี้พอได้ก็จะทำให้ครับ เพียงบอกจำนวนและวันที่ต้องการครับ

    จะกลับไทยวันที่ 7 ครับ

  • #11 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 ธันวาคม 2010 เวลา 23:36

    สำหรับเรื่องลาวนั้น อาวเปลี่ยนอยู่มานานจะเล่าเรื่องลาวได้มากทีเดียวครับ

  • #12 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010 เวลา 5:48

    ไม่ทราบว่าจะออกจากโรงพิมพ์เดือนไหน
    ผมมีรายการสัมมนาช่วงเดือนมีนา กับพฤษภา ครับ
    ถ้าพิมพ์เสร็จชช่วงนั้นน่าจะทัน
    เร็วๆนี้ก็ไม่มีอะไร ถ้าคุยกันเรื่อง ลาว
    ก็จะขอให้ผู้ที่จะเข้าทำงานในลาวเข้าไปค้นใน “ลานปัญญา” ครับ

    เออ แต่ของอาว์เปลี่ยนนี่น่าพิมพ์มากๆเลยนะครับ
    ทำไงดี อิอิ

  • #13 silt ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010 เวลา 9:23

    แอบมาบอกแบบขี้คุยเล็กๆว่า
    ลานของเรา มีเจ้านายหลายท่านในหงสา ไชยบุรี ติดตามเป็นแฟนพันธุ์แท้ทีเดียวครับ
    เพิ่งทราบจากลูกสาวท่านหัวหน้าสำนักงานจังหวัด ว่าพ่อชอบเปิดอ่านแล้วเรียกลูกๆให้มาอ่าน วิเคราะห์ตามว่าตัวลครที่ลุงเปลี่ยนนำมากล่าวถึงในบันทึกเป็นใคร
    แอบลุ้นว่าวันนี้ใครจะอยู่ในบันทึกอีก

    ทำเอาเกร็งๆไปเหมือนกัน โชคดีที่ไม่ได้นินทาท่านไว้ คริ คริ

  • #14 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010 เวลา 11:32

    รอดตัวไปแบบหวุดหวิด อิอิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.1849911212921 sec
Sidebar: 0.42800998687744 sec