วิธีรักษาโรคเดี้ยง

โดย sutthinun เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 เวลา 11:07 ในหมวดหมู่ สวนป่าฮาเฮ #
อ่าน: 1858

เดี้ยงทั้งคืน ทำอะไรก็ไม่ถนัด มันขัดๆเคืองๆ นวดก็แล้ว ทายาก็แล้ว กินยาก็แล้ว ก็ยังไม่หาย อย่ากระนั้นเลย ปูเสื่อแล้วจัดหาโต๊ะตัวเล็กๆไปวาง หอบคอมพิวเตอร์ไปนั่งใต้ร่มไม้ แล้วเปิดกรงแพะให้ออกมาชมสวน ตั้งแต่เอามาเลี้ยงจับขังคอกตลอด เพื่อให้คุ้นชินกับที่อยู่ที่กิน ให้จดจำว่าคอนตัวเองประตูอยู่ที่ไหน กลางคืนจะต้องเข้าไปนอนในคอกแบบไม่งอแง

ทุกๆเช้าแพะจะร้องแง๊ๆเพราะอยากจะออกมาเดินหากินเอง เจ้าของเดิมเขาเลี้ยงปล่อยให้อยู่ในบริเวณรั้ว แพะฝูงนี้จึงเดินเพ่นพ่านไปไหนๆอย่างอิสระ ชอบเล่นกับเด็กๆ ไม่กลัวคน ไม่เกรงหมา วันนี้พิจารณาเห็นว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ที่จะเอาแพะออกมาอาบแดด จึงเปิดกรง > >

ถ้าเราอยากจะรู้เรื่องแพะ เราก็ควรคลุกคลีกับแพะ เพื่อสังเกตพฤติกรรมของแพะ พบว่าแพะเป็นสัตว์ที่ชอบกินทั้งใบไม้แห้งและใบไม้สดเท่าๆกัน มันจึงเหมาะที่จะเป็นสัตว์ที่ช่วยสะสางใบไม้ที่ตกเกลื่อนกราด แพะกินดะ ที่แปลกใจคือชอบกินใบขี้เหล็กแห้ง ใบไม้ที่มีรสขมแพะกลับชอบ แสดงว่าแพะไม่มีต่อมรับรสขมหรืออย่างไรก็ไม่ทราบนะครับ เมล็ดพริกแดงๆแพะก็ชอบนะครับ เจอสวนพริกจะลุยกินหน้าตาเฉย แสดงว่าต่อมเผ็ดก็คงไม่มีด้วยกระมัง

ถ้ามีใบไม้ใบหญ้าสมบูรณ์ เราสามารถใช้ใบไม้ใบหญ้าเลี้ยงแพะล้วน แพะจึงเลี้ยงง่ายต้นทุนต่ำ เหมาะแก่คนเบี้ยน้อยหอยน้อย จะช่วยอาหารเสริมบ้างก็ตอนขุนก่อนจำหน่าย1เดือน เพื่อให้แพะอ้วนท้วนเหมาะแก่การบริโรคและได้ราคาดี โดยทั่วไปแพะอายุประมาณ8-12เดือนเหมาะที่จะเอามาทำข้าวหมกแพะ แกงมัสมั่นแพะ ตุ๋นแพะยาจีน หรือจะทำแพะน้ำแดง แกงเผ็ดแพะ แกงเขียวหวานแพะ แพะย่าง แพะอบก็ได้ เนื้อแพะมีไขมันน้อยมาก แพะเป็นสัตว์มังสะวิรัต เนื้อแพะจึงแทรกด้วยสมุนไพรโดยธรรมชาติ คอแพะบอกว่ากินแพะตุ๋นหน้าหนาว นอกจากร่างกายจะอบอุ่นแล้ว ยังเตะปิ๊บดังอีกด้วย

หลังจากเปลี่ยนที่นั่งที่เขียนหนังสือ

พบว่าอากาศเดี้ยงค่อยๆดีขึ้น

ผมจึงเอ๋อโดยบังเอิญ

แสดงว่าการนั่งเขียนหนังสือในห้อง

ท้องแขนไปทับกับขอบโต๊ะ

ทำให้เลือดลมเดินไม่สะดวก

เลยล่วงไปยื้อระบบเส้นประสาท

ทำให้เกิดอาการปวดอาการชาไปถึงปลายนิ้ว

เรื่องนี้ไปตรงกับโจ๊กคุณหมอจอมป่วน

ที่นุ่งกางแกงในไซน์เล็กไปกดทับพวงไข่

ทำให้ปวดหลังชาไปทั้งตัว

ไปหาหมอ>> หมอจะจับผ่าหาว่ากระดูกทับเส้นประสาท

กว่าจะรู้ว่าที่แท้ใช้กางในผิดเบอร์ก็เกือบเดี้ยงไปทั้งชีวิต

เฮ้อ ถ้าลูกอันฑะพิการก็อาจจะเป็นขันทีโดยรู้เท่าไม่ถึงการ

อิ จริงๆเลยเรื่องนี้

« « Prev : นักพัฒนาหน้าโง่

Next : มังกรไสว » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 เวลา 12:45

    ดีใจที่พ่อดีขึ้นแล้วนะคะ ^ ^

    พี่ตึ๋งชอบกินแพะ…แต่เหตุที่ชอบนั้นมิได้บอกไว้ อิอิอิ

    แถวบ้านเคยมีคนเลี้ยงแพะฝูงหนึ่งค่ะพ่อ เค้าก็เลี้ยงปล่อยให้กินต้นไม้ใบหญ้าไปเรื่อย เดินในถนน และแวะเข้าบ้านที่เจ้าของไม่ปิดรั้ว ซึ่งเรียบร้อยโรงเรียนแพะไป แถมยังเลียนแบบคุ้ยถังขยะแบบหมาอีก เบิร์ดชอบดูพฤติกรรมมันค่ะสนุกชะมัดเลย แต่หลังๆไม่เห็น ถามคนแถวนั้นเค้าบอกว่าสงสัยลงหม้อไปหมดแล้ว :(

    มีวันหนึ่งกลับบ้านเห็นเงาตะคุ่มๆยืนสองขาอยู่เกือบกลางถนนหน้าบ้าน ค่อยๆชะลอเข้าไปเป็นเจ้าจ่าฝูงตัวใหญ่เป้ง ยืนสองขายืดคอกินใบอินทนิลหน้าบ้าน เพิ่งรู้ว่ามันยืนสองขาได้นานด้วย !!

    นมแพะเดี๋ยวนี้ก็ใส่ขวดขายแล้วนะคะ :)

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 เวลา 15:56

    อิอิ แพะๆเอย แพะตุ๋น เป็นเมนูในอนาคต สำหรับหมอจอมป่วน
    กำลังมองหาพันธุ์แพะนม เหมือนกัน

  • #3 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 เวลา 22:10

    พาดพิงเรื่อยเลย ไปอังกฤษก็กินแกะไปสองมื้อเอง อิอิ

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 เวลา 2:33

    มาสวนป่าคราวหน้าจะผัดเผ็ดแกะใส่ยอดชะอม เมนูเด็ดนะนี่

  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 เวลา 3:12

    โค กระบือ แกะ แพะ ต่างเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีกระเพาะและระบบย่อยอาหารแบบเดียวกันครับ แต่ไม่รู้จะมีรสนิยมในใบไม้สับแบบเดียวกันหรือเปล่า

  • #6 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 เวลา 10:09

    ถ้าถามเรื่องรสนิยมตอบยาก กำลังอยู่ในขั้นสังเกต
    เรื่องใบไม้เลี้ยงสัตว์ เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจที่สุด
    -การให้ใบไม้กลุ่มหนึ่งประจำ อาจจะทำให้สัตว์คุ้นชิน ไม่เปลี่ยนแปลงทางด้านโภชนาการ ถ้าทดลองจริงจังก็น่าจะได้คำตอบ ว่าใบไม้หลักคืออะไร ใบไม้รองคืออะไร ควรใช้สัดส่วนผสมกันในอัตราใด
    -การให้ใบไม้ตามความสะดวก เช่น ช่วงที่มีการตัดอ้อย (เดือนธันวาคม-มีนาคม) เราอาจจะใช้ยอดอ้อยเป็นหลัก(ถ้ามี) ในแหล่งปลูกข้าวโพดฟักอ่อน ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกสับปะรด ฯลฯ เราก็อาจจะใช้เศษพืชดังกล่าวมาเลี้ยงเป็นช่วงๆตามวัตถุดิบที่มี ผสมกับหญ้าหรือใบไม้
    -ในบางพื้นที่ๆไม่มีเศษเหลือจากพืชผักพืชไร่ เราอาจจะใช้ใบไม้ทั่วไปเป็นอาหารหลัก ใบกล้วย ใบกระถิน ใบกล้วย ใบละกอ ใบก้ามปู ใบประดู่ ใบมะม่วง ใบมะขาม ใบขนุน ใบไผ่ ใบส้มเสี่ยว ใบมะกอก ใบพืชผักทั่วไป ฯลฯ ผสมหญ้าบ้าง หรือให้ใบไม้ล้วนๆก็ได้
    -ควรมีเกลือแร่ก้อนแขวนไว้ให้สัตว์ด้วย ถ้าจะให้อาหารอร่อยชวนชิม ก็ควรลาดโมลาสกากน้ำตาลรสหวานๆ สัตว์ชอบ
    -ถ้าจะเร่งขุนให้อ้วน ก็อาจจะใช้มันสำปะหลังป่น รำ กากเบียร์ ผสมเสริมในระยะ 1 เดือนก่อนจำหน่าย จะทำให้สัตว์อ้วนปึก ขายได้ราคาดี
    -วิธีดังกล่าวพัฒนาเป็นการเลี้ยงขุนได้ ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น
    -ช่วงนี้รอบๆสวนเริ่มมีการตัดอ้อย ขุดมันสำปะหลัง ลดการให้ใบไม้ ใช้เศษวัสดุเหลือจากพืชไร่แทน เพราะสะดวกกว่า
    -เรื่องนี้เพิ่งเริ่มต้น กำลังทดลองไปเรื่อยๆ แต่สังเกตได้ว่า วัวอ้วนท้วนดีกว่ากินหญ้า-ฟางเมื่อก่อนมากนัก
    -ท้องนาเกี่ยวข้าวแล้ว มีฟางสดใหม่ๆ ไปขนมาให้กินเล่นตอนเย็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.11159110069275 sec
Sidebar: 0.071877002716064 sec