แผนเตือนภัย-เตือนใจ

โดย sutthinun เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2010 เวลา 7:59 ในหมวดหมู่ สวนป่าฮาเฮ #
อ่าน: 1313

คนไทยดื้อตาใส

แผนเตือนภัยใดๆไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร

รอจนน้ำท่วมปากจึงอึกอักชักตาตั้ง

หลังจากนั้นก็เอะอะโวยวายจ้าละวั่น

ทำไมถึงทำกับฉันด๊ายยยย

โยนกลองมองหาคนรับผิดชอบ

ทั้งๆที่วิถีไทยสมัยก่อนไม่ได้เดือดร้อนมากมาย

เพราะรู้ตัวรู้ใจรู้ดินฟ้าอากาศ

ได้วางระบบแก้ไขภัยในวิถีชีวิตไว้ล่วงหน้า

ไม่มีใครบ้าสร้างบ้านชั้นเดียวในที่ลุ่มหรอก

พิจารณาดูบ้านทรงไทยสิครับ

น้ำหลากมายังพากันลงเรือร้องเพลงอีแซวจีบกันสนุก

ช่วงเกิดภัยพิบัติ ได้เรียนเรื่องการเตือนภัย-การแก้ไข-การร่วมใจ-จนอิ่มอื้อ วิกฤติเที่ยวนี้ทดสอบว่าไทยเข้มแข็งจริงหรือเปล่า งบประมาณที่ทุ่มเทอบรม/ทำถนน/ก่อสร้างสิ่งต่างๆ สร้างความเข้มแข็งได้ตรงจุดแล้วหรือยัง ธรรมชาติได้ตรวจสอบและประเมินความเข้มแข็งทางสังคมไทยอย่างตรงไปตรงมาไม่หมกเม็ดใดๆ น้ำท่วม น้ำเหนือ น้ำหนุน น้ำเน่า น้ำไม่มีดื่ม ลมพัด ดินถล่ม ต้นไม้ล้ม เรือกสวนล่มจม บ้านพัง สะพานทรุด รถยนต์จมน้ำ ของอยู่ของกินแพง ลมหนาวกำลังจะมาเขย่าทุกข์สมทบ ดูไปแล้วอ่วมระทมเกินครึ่งประเทศ เป็นทุกข์ตอแยยืดเยื้อแรมเดือน มีแถมมีผสมให้เกิดทุกข์เจ่าจุกกันไม่ร้างรา อ่อนล้าอ่อนโรยไปตามๆกัน ทั้งคนช่วยทั้งคนประสบภัย

หลังจากติดตามข่าวมานาน เกิดอาการคันความคิดเกี่ยวกับระบบเตือนภัย ขออนุญาตคิดจากล่างขึ้นบน ตามคนที่ไม่ประสีประสาเรื่องระบบหรือเรื่องเทคนิคเทคโนโลยี ได้แต่วิ่งรอกดูน้ำที่โน่นที่นี่ ไปเห็นน้ำโขงที่เวียงจันทร์แห้งก็ใจชื้น อย่างน้อยก็ไม่มีน้ำโขงท้นเอ่อปิดทางลงแม่น้ำมูล ไม่อย่างงั้นเธอเอ๋ย เรื่องนี้ดูไม่จืดเชียวแหละ รายการน้ำหลากภาคอีสานมาปฐมทัศน์รอบเดียวจบ ไม่เหมือนภาคใต้ภาคกลางเจอรอบแถมอยู่เรื่อย มีการบ้านใหม่ๆมาให้ใคร่ครวญ ถ้าคิดสะสางวางระบบป้องกันให้มั่นคงถาวรจะเริ่มต้นที่ตรงไหนอย่างไร?

1 แต่ละพื้นที่ย่อมรู้ตัวเองดีว่ามีจุดอ่อนอยู่ในประเภทไหนอย่างไร

-น้ำท่วมขังประจำ-น้ำหลากล้นไหลท้นผันผ่าน-น้ำท่วมประจำปีเพราะอยู่ริมแม่น้ำมีน้ำจากเหลือลงใต้-พื้นที่น้ำทะเลหนุน-พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม เคยถล่ม อาจจะถล่ม-พื้นที่มีโอกาสเสี่ยง ฯลฯ

จะเห็นว่า อุบัติภัยมีทั้งอุทกภัยและวาตภัย-ที่ต่ำน้ำท่วม ที่สูงดินพังทับ ที่ราบต้นไม้ล้ม เจอครบทุกขนาน-นี่ลมหนาวจะมาโหมกระหน่ำอีกระลอก

2 เป็นไปได้ไหม? ที่จะมีวิธีก่อให้เกิดการเตือนภัยตนเอง-เตือนภัยกันเอง-ปรึกษาหารือในหมู่กัน พิเคราะห์ดูสิว่าหมู่บ้านตนเองมีจุดอ่อนเรื่องไหน-น้ำหลาก-น้ำท่วม-ดินถล่ม-ในระดับไหน คุยกันให้รู้เรื่อง แล้วช่วยออกแบบเสนอวิธีกันป้องกันตัวเอง ข้อมูลภัยพิบัติเป็นข้อมูลกลางๆ เตือนแบบเหมาโหลรวมๆกันไป ถ้าไม่มีระบบป้องกันภัย-ระดับครัวเรือน-ระดับชุมชน-ระดับหมู่บ้าน-ระดับตำบล เมื่อเกิดเหตุก็ไม่จะแจ้งว่าจุดที่ตนอยู่จะเผชิญความเดือดร้อนกี่มากน้อย แต่ถ้ามีระบบสารสนเทศ 2วงจร จากล่างขึ้นบน จากบนลงล่าง

“แผนเตือนภัย” ก็จะลุล่วงเกิดเป็นแผน “เตือนใจ”

คุยกับพระอาจารย์เม้งแล้ว พระอาจารย์บอกว่า>>

คงต้องมานั่งวางแผนกันใหม่ทั้งสิบภัยพิบัติ

สึนามิ วิ่งขึ้นเขา

น้ำป่าไหลหลาก วิ่งลงเขา

หากเกิดพร้อมกัน วิ่งไปไหนครับ

เหาะอย่างเดียวครับท่าน อิ อิ..


*พระอาจารย์ จะออกรายการคนค้นคน เกี่ยวกับเรื่องนี้

ออกอากาศวันไหนก็วันนั้น >>

โปรดติดตามกันต่อไป>>

« « Prev : คนขี้เกียจเชิญทางนี้

Next : เดี้ยง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2010 เวลา 12:42

    เมื่อวันจันทร์ไทยพีบีเอส รายการเวทีสาธารณะของคุณนาตยา แวววีรคุปต์มาสัมภาษณ์ทั่นไปเกือบๆสองชม. แต่ออกอากาศวันไหนทั่นมิทราบ ส่วนวันนี้ 10 โมง รายการเรื่องจริงผ่านจอนัดสัมภาษณ์พร้อมลงพื้นที่จริงเพื่อดูความเสียหายของปัตตานีที่จู่ๆน้ำำำทะเลก็ระเห็จไปอยู่ในเขตที่ห่างจากชายฝั่ง 400 เมตรได้จั๋งได !! จะว่าเกิดจากคลื่นทะลสูงทั่นก็ยังมิทราบเหตุ-ผลที่แท้จริง …และจะออกอากาสวันใดทั่นก็มิทราบ(อีกตามเคย)

    เห็นทั่นพูดเปรยๆว่า ความเสียหายที่เกิดจากดีเปรสชั่นลูกที่ผ่านมามันมากซะจนไม่น่าจะเป็นดีเปรสชั่นน่าจะเป็นพายุโซนร้อนทีเดียวเชียวล่ะค่ะพ่อ (แต่ความเร็วมันต่ำเท่านั้นเอง ^ ^)

    เรื่องเตือนภัย -เตือนใจ เป็นเรื่องใหญ่ที่ควรพิด’หนาอย่างยิ่งเหมือนพ่อกล่าวนั่นแหละค่ะ สมัยก่อนเราอยู่กับน้ำท่วมอย่าง”อยู่ร่วม” ทำให้ลักษณะบ้านเรือน+พืชพันธุ์ธัญญาหารสามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่สัก40ปีที่ผ่านมา(ได้มั้งคะ) เราอยู่กับน้ำแบบป้องกันน้ำท่วม ทำให้ทำทุกวิถีทางที่จะบังคับเบี่ยงเบน ปกป้องพื้นที่ตน(แต่ย้ายปัญหาไปลงพื้นที่อื่น)…ถ้าถามว่าวิธีนี้ได้ผลมั้ย? คงตอบว่าได้บ้างแต่มันเครียดมหาศาลเลย ถ้ากลับไป”อยู่ร่วม”กับภัยต่างๆตามเดิมแบบรู้ทันเพื่อป้องกันตนเท่าที่ทำได้จะดีกว่ามั้ย อันนี้คงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ใช้เวลาแก้อีกนานน่ะค่ะพ่อ อย่าลืมว่าพื้นที่แอ่งกะทะยังไงมันก็เป็นแอ่ง จะให้เป็นโดมสูงก็คงต้องใช้พลังมหาศาลเนาะคะพ่อ ;)

  • #2 สุวรรณา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2010 เวลา 13:41

    บ้านสมัยก่อน ใต้ถุน เรือนสูง และต้องมีเรือ มีพายติดบ้านด้วยใช่มั้ยคะพ่อครู จำได้ตา-ยาย พายเรือเก็บข้าวโพด น้ำมาข้าวโพดฝักแก่พอดี ตาก ผึ่ง โยนไว้นอกชานบ้าน หนูยังเล็กพายเรือเล่นสนุกสนาน นึกแล้วอยากหวนคืนกลับ แต่เป็นไปอย่างนั้นคงยากนะคะ

  • #3 มิสเตอร์สะตอฯ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 เวลา 18:53

    รายการ ที่นี่ทีวีไทย ออกไปแล้วเมื่อคืนครับ ตอนสี่ทุ่มกว่าๆ ครับ

    http://www.siamtv.us/tvreplay.php

    เลือก วันที่ 12 พย. ช่อง ไทย พีบีเอส เวลา 22-22.59 เลื่อนเวลาดูครับ ประมาณเวลาช่วง 25 นาทีครับ

    แต่ตอนนั้นของเก่า ยังไม่ได้ลงพื้นที่ครับ ณ ตอนนี้ ได้ข้อสรุปแล้วครับ หลังจากลงพื้นที่สำรวจพื้นที่รอบอ่าวภายในวันนี้ อธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้น

    งานนี้พายุซัดผมลงพื้นที่ น้ำท่วมไหลแทงผมลงอ่าวปัตตานี ก็ต้องขอบคุณพายุครับ

    วันนี้ทีมสารคดีของ บริษัท พาโนรามา เวิร์ดไวด์ ลงพื้นที่ตามไปด้วยกันครับ อยู่ด้วยกันทั้งวันเพิ่งกลับสงขลาตอนเย็นครับ เห็นว่าจะลงมาใหม่อีกรอบ ผมต้องปั่นโมเดลอธิบายเรื่องเหล่านี้เพื่อให้ทีมงานลงพื้นที่สามารถอธิบายกับชาวบ้านได้ว่าเกิดอะไรขึ้น

    เป็นแนวทางในการเตรียมตัวในอนาคตครับ

    เราทำวิจัยแบบนี้เพราะเราอยากจะทำ….ใครอยากให้ทุนวิจัย ก็ให้เอามาให้ครับ….เพราะจะให้เขียนขอไม่รู้จะไปขอที่ไหน เพราะทำวิจัยโดยไม่ต้องอ้อนวอนแหล่งงบประมาณ เป็นงานวิจัยแบบตามมีตามเกิด และก็ตามใจ ตามอุดมการณ์ที่มี


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.0665831565857 sec
Sidebar: 1.0309879779816 sec