หนำเลียบ ไม่ใช่หนำใจ
อ่าน: 6785ผมเพิ่งจะมาเจอต้นหนำเลียบครั้งแรกที่มหาสารคาม ดร.ศักดิ์พงศ์ หอมหวน ชวนแวะกินอาหารเช้าที่ร้านคุณยายสมใจ อยู่ตรงข้ามสถานีปศุสัตว์มหาสารคาม มีผู้แนะนำว่าร้านนี้ปลูกผักไฮโดรโฟรนิก ระหว่างที่เราเดินชมแปลงผักหลังร้าน เจอเจ้าของใจดีมาคุยด้วย อ่านตามนามบัตรทราบว่าเป็นอาจารย์สอนคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผ.ศ.ลัดดา แสนสีหา อาจารย์พาเดินชมต้นไม้ ไปเจอเจ้าต้นนำเลียบอายุ 3ปี มีลูกห้อยเป็นพวงด้วยนะ ตรงจริตคนที่ชอบปลูกไม้แปลกๆ อาจารย์ลัดดาเล่าว่า เอาต้นพันธุ์มาจากเชียงใหม่ เอาละสิ รีบยกหูไปหาครูอึ่ง ครูอารามเล่าว่าที่บ้านก็เคยมีต้นนี้แต่โค่นทิ้งไปแล้ว โธ่ๆๆ ยังติดใจคำว่าคณะพยายาล จึงโทรหาอุ้ย >>โลกกลมอีกแล้ว อุ้ยบอกว่าอาจารย์ลัดดาเรียนรุ่นเดียวกัน และเคยแวะมาที่ร้านนี้เสียด้วย วันหลังจะถามให้ ซื้อต้นพันธุ์หนำเลียบได้ที่ไหน
ไม่ใช่อะไรหรอก
ปลูก 3 ปี ก็มีลูกแล้ว
จะเอาหนำเลียบมาผัดใส่หมูสับกินกับข้าวต้ม
เมนูนี้ ช้าหน่อยนะครับ
สั่งวันนี้ อีก 3 ปี ยกมาเสิร์ฟ อิ อิ
หลังจากนั้นก็ไปพบนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มีทั้ง ป.โท และป.เอก ตั้งหน้าตั้งตาโม้ตั้งแต่ 9 โมงเศษจนถึงเที่ยง ในหัวข้อการจัดการความรู้ท้องถิ่น ประเด็นเกริ่นนำอยู่ที่ยุคนี้มีการกระจายความเจริญลงสู่ท้องถิ่น ถนนทุกสายมุ่งมาชนบท ถามว่า คนที่อยู่ในส่วนภูมิภาคควรจะตั้งรับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง หรือควรทำการบ้านอะไรบ้าง โดยเฉพาะสถาบันที่มีเป้าหมายว่าจะพัฒนาท้องถิ่น : ความรู้ในท้องถิ่นอยู่ที่ไหน อยู่ในสภาพอย่างไร เกี่ยวข้องกับสถานการณ์อย่างไร โจทย์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์น่าจะมีประเด็นไหนบ้าง ที่ผ่านมามีกรณีศึกษาไว้อย่างไรบ้าง
เล่าถึงวิธีสืบค้น วิธีไปสัมผัสท้องถิ่นในมิติ่ต่างๆ เล่าไปเล่ามาก็วกมาหากลุ่มเฮฮาศาตร์ เสียดายซีดี.ป้าหวานส่งมาไม่ทัน ไม่งันเปิดให้ชมสะท้านห้องไปแล้ว ไม่มีรูป ฟังเพลงกอดพอกล้อมแกล้มไปก่อน มีนักศึกษาท่านหนึ่งคว้าไมค์แนะนำตนเองว่าอดีตเป็นประธานนักศึกษามหาวิทยาลับราชภัฏบุรีรัมย์ สมัยนั้นมีคนกล่าวขานถึงครูบาว่าเป็นNGO.ทำให้เกิดกระแสต่อต้าน จึงไม่เข้าไปหา มาวันนี้บอกว่านึกเสียดายเวลาที่ผ่านมา ถ้าไปรู้จักครูบาตั้งแต่สมัยโน้นป่านนี้คงได้้อะไรๆไปเยอะ อาว! อย่างนี้ก็มีด้วยเรอะ โธ่ๆๆ
เล่าถึงหนังสือเจ้าเป็นไผ หนังสือแห้วซ่าส์
บอกว่าวันนี้แจกฟรี!
คิดพาะค่าลายเซ็นตามราคาหน้าปก
ขายยกชุดๆละ3 เล่ม
มีคนสนใจพอสมควร
เอาติดตัวมาน้อย
ได้รับวันนี้ไปบางส่วน
ที่เหลือคงต้องส่งตามมาภายหลัง
คณะบดีมากินข้าวมื้อเที่ยงด้วย คุยกันสาระพัดสารเพถึงเรื่องเก่าๆผสมใหม่ๆ ก็มีทั้งปัญหาและเรื่องที่กำลังจะคิดทำกันใหม่ๆ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตในระดับต่างๆ อิ่มแล้วก็ต้องมาขึ้นเวทีต่ออีกก๊อก2 งานนี้โม้จนกระจุย เนื่องจากนักศึกษาจำนวนมาก จะจัดกิจกรรมอุปกรณ์ไม่พร้อม จึงให้นักศึกษาเขียนจดหมายน้อย ในประเด็นที่สนใจและอยากจะถาม จึงเป็นรายการตอบ-ถาม-เสียมากกว่า และก้าวล่วงไปถึงการทำวิทยานิพนธ์ของบางท่าน จนสมควรแก่เวลา ตามธรรมเนียมก็ถ่ายรูปนั่นแหละ มีทั้งเป็นกลุ่มและรูปคู่รูปเดี่ยว ก็ไม่ว่ากัน แอ็คตามอัธยาสัย ต่อด้วยการเซ็นชื่อแจกหนังสือ
ตอนเย็นทางเจ้าภาพบอกว่าอาจารย์สมบัติขอล็อคตัว ชวนไปชมการจัดการศึกษาที่เรียกว่าบ้านหลังเรียน เห็นว่าเป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ คือนัดเด็กๆมาพบปะกันหลังจากกลับโรงเรียนแล้ว นับว่าเป็นแนวคิดใหม่ ที่ชุมชนช่วยกันดูแลบุตรหลานให้มาช่วยกันจัดเรื่องการเรียนรู้ในกิจกรรมต่างๆแบบมีส่วนร่วม อาจารย์อมรวิชช์ นาครทรรพ จากโครงการรามจิตติสนับสนุนไปถึงทุกอย่างเตรียมการไว้แล้ว มีเด็กๆและชาวบ้านรออยู่
ไปถึงเด็กๆแสดงกิจกรรมที่ทำ เช่น
การเผาถ่านผลไม้
การทำสมุนไพร
และรายการที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง
เจ้าบ้านทยอยยกอาหารมาเลี้ยง
พร้อมกับชมการฟ้อนรำประกอบดนตรีพื้นบ้านของเด็ก
อิ่มแล้วเด็กๆช่วยกันเก็บของ ล้างจาน บางคนแยกย้ายกลับ บางคนนอนเป็นเพื่อครูคุณป้า มานอนดูหิื่่งห้อยกัน นึกดีใจแทนเด็กๆกลุ่มนี้ที่ได้รับการดูแลจากชุมชนอย่างดี ทราบว่ามีผู้มาชมกิจกรรมอยู่เนื่องๆ รวมทั้งฝรั่งชาวต่างชาติก็มาชม เจ้าภาพผู้อารีชวนให้นอนที่บ้านริมทุ่ง ปลูกแฝงไว้ในสวนที่ร่มรื่น แต่กว่าจะได้นอนก็คุยกันจนดึกดื่น พรุ่งนี้จะตื่นแต่เช้าไปเมืองแดดสองยาง แล้วต่อไปกาฬสินธ์ุ
จึงขอลาไปนอนฝันถึงหนำเลียบก่อนนะครับ
« « Prev : ด้วยปัญญาและรอยยิ้ม
Next : นอนภูพานคิดถึงตาหวานตะงิดๆ » »
4 ความคิดเห็น
ดร. ลัดดา เรียนจบ มช.ทั้ง ป. โท และเอก เป็นผู้ช่วยอธิการบดี ม. สารคาม เท่าที่ทราบดูแลงานที่คุณแผ่นดินทำ
โลกกลมอย่างที่ครูบาว่าไว้ค่ะ ทางสายอีสานมีเพื่อนอีกจำนวนหนึ่ง …(ครูบาได้เจอ 2 คนแล้ว) สำหรับตัวเองแล้ว เพื่อนคือของขวัญสำหรับชีวิตค่ะครูบา ได้ทราบข่าวเพื่อนๆ ก็ถือว่าเป็นข่าวดี ขอบพระคุณค่ะครูบา
เย็นนี้สั่งหมูสับหนำเลี๊ยบมาฉลองเสียเลย
เป็นเรื่องโอละพ่อไปแล้ว
ครูอารามเพิ่งให้ข้อมูลใหม่
ที่เห็นในภาพกินบ่ได้ เป็นหน่ำเลี๊ยบสาบพันธุ์ไม้ประดับ
ของจริง เขาเรียกสมอจีน
ต้องปลูกนานเป็นสิบปีถึงจะมีลูก โธ่ๆๆๆๆ
ขอบคุณครูอารามที่มาช่วยแก้โง่ให้อย่างทันการ อิอิ
ชื่อว่า หนำเลี๊ยบเทียม ไม้ประดับ ดอกสีขาว สมอจีนที่โรงเรียนมีต้นนึงครับเพาะจากเมล็ดใบคล้ายต้นพระเจ้าห้าองค์เลย น่าจะลองเสียบยอดดูได้ครับ
http://gotoknow.org/blog/aram/192760