วิพุทธิยาจารย์

โดย sutthinun เมื่อ 10 กันยายน 2010 เวลา 13:30 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฎหมาย, สวนป่าฮาเฮ #
อ่าน: 3065

(ของฝากจากลาวผ่านมาทางจังหวัดน่าน)

มีคนมาชวนผมไปทำโน่นทำนี่เป็นครั้งคราว พิจารณาแล้ว เห็นว่าเราไม่น่าจะมีกึ๋นพอที่จะไปอาสาทำอะไรให้เขาได้ก็ขอบาย ..วันนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาชวนเข้าโครงการปูชะนียาจารย์อาสา ดูเงื่อนไขแล้วน่าสนใจ >> จะให้คณาจารย์ ผู้อาวุโส ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ร่วมไปให้ประสบการณ์ชีวิตกับนิสิตภาคการศึกษาละ 10 ท่าน ณ ศูนย์การเรียนรู้ฯ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ซึ่งแต่ละท่านจะอยู่กับนิสิต 3-5 วัน คอยรับฟังความคิดเห็น ข้อแล้วให้เสนอแนะ ให้ข้อคิดแนะนำ บอกกล่าวความสำเร็จ ความล้มเหลวของชีวิตการงานของท่านให้นิสิตฟังโดยตรง ตลอดจนมีกิจกรรมอื่น ร่วมกันพัฒนาพื้นถิ่นอีกด้วย

โครงการนี้เกิดจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสำนักคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร(OCARE) คณะกรรมการประกอบด้วย ผศ.ดร.... กัลยา ติงศภัทิย์ ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว รศ.ดร.อมร เพชนสม มีศ..สพ.ดร.อรรณพ คุณาวงษ์กฤต เป็นกรรมการและเลขานุการ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย และ น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นที่ปรึกษา มีอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานคณะกรรมการ

ได้เปิดรับนิสิตในปีการศึกษา2553 โดยรับตรงแบบพิเศษจำนวน50คน จำแนกเป็นพื้นที่ปกติ26คน รับจากนักเรียน ม.6 ทั่วประเทศ โดยในจำนวนนี้สมเด็จพระเทพฯรับสั่งว่าจะส่งนักเรียนในพระอุปถัมภ์จำนวน5คนเข้าเรียนด้วย และรับในพื้นที่พิเศษอีก24คน จากจังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และพะเยา ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องรอบพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรการเกษตรจุฬาฯ โดยทั้ง24คนนี้ จะได้รับทุนการศึกษาจุฬาฯ-พัฒนาเกษตรไทยคนละ80,000บาท/ปีจนสำเร็จการศึกษา มีเงื่อนไขว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องกลับไปทำงานในภูมิลำเนาของตนเอง

คาดว่าจะมีบัณฑิตรุ่นแรกออกไปรับใช้พื้นถิ่นและองค์กรเกษตรกรในปี ..2557 ซึ่งจะเป็น”ของขวัญ” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะครบ100ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี2560 ผมมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือเรื่องการจัดตั้งหลักสูตรนี้ขึ้นมาแต่แรก จึงต้องตามไปดูอีกใช่ไหมละครับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (WWW.Ocare.chula.ac.th)

การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรายวิชาที่ต้องการ เรียนได้เอง แบบไม่มีวิชาบังคับหรือวิชาเลือก เป็นตลาดวิชาอย่างแท้จริง เมื่อเรียนได้ครบหน่วยกิตตามที่กำหนดจะขอรับปริญญา สามารถนำรายวิชาเหล่านั้นมาวิเคราะห์ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์บัณฑิต(B.Sc.) หรือศิลปะศาสตร์บัณฑิต (B.A.) ตามแต่รายวิชาใดจะมีจำนวนหน่วยกิตมากพอ แต่ถ้ากระจัดกระจายมากอาจกลายเป็นปริญญาด้านการศึกษาทั่วไป (B.G.S. Bachelor of General Studies) การศึกษาหรือการเรียนแบบนี้ ยังไม่มีรูปแบบในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม แนวคิดของการบูรณาการศาสตร์เป็นสหศาสตร์ แล้วเปลี่ยนเป็นศาสตร์เฉพาะใหม่ขึ้นมาก็มีบ้างในระดับปริญญาตรี ในประเทศไทยเป็นการบูรณาการศาสตร์ต่างๆที่เฉพาะเจาะจงมาเป็นศาสตร์ใหม่ เช่น วิชานิเทศศาสตร์ เป็นการรวมเอาวิชาการสื่อสารมวลชน วิชาโฆษณา วิชาประชาสัมพันธ์ มารวมเป็นสหศาสตร์ การบูรณาการวิชาเวชศาสตร์ต่างๆ ทั้งด้านเทคนิคการแพทย์ รังสี โภชนาการ เป็น วิชาสหเวชศาสตร์ เป็นต้น แต่ผู้เรียนก็ยังต้องมีการเรียนวิชาที่เป็นวิชาเอก หรือ วิชาหลัก (Major) และวิชารอง (Minor) ร่วมด้วย

การศึกษาแบบแนวนอน(horizontal education) อาจจะบูรณาการศาสตร์ แบบครบวงจรในการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ นับเป็นมิติใหม่ หรือ นวัตกรรมในการบูรณาการหลักสูตรสหศาสตร์ในระดับปริญญาตรี ที่มาจากแนวคิดของการผลิตบัณฑิตแนวใหม่ ที่จะถูกกำหนดให้มีองค์ความรู้บูรณาการหลายศาสตร์ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านทรัพยากรการเกษตร ที่เป็นอาหารและสินค้าเกษตรต่างๆ เพื่อให้บัณฑิตแนวใหม่นี้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรต่างๆ เช่น กระบวนการผลิต กระบวนการจัดซื้อ การขนส่ง การบรรจุภัณฑ์ การขาย การตลาด ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องการเกษตร “ผู้ผลิตสินค้าเกษตร” หรือ “เกษตรกร” ก็จำเป็นต้องทราบเช่นกัน ไม่เช่นนั้นแล้ว เกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา ผู้เลี้ยงสัตว์ ก็จะเป็นได้เพียง “แรงงาน” วนเวียนอยู่กับการผลิตเท่านั้น เกษตรกรไม่มีโอกาสพัฒนาตนเอง และบทบาทของตนเอง ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของกิจการได้เลย

หลักสูตรนี้ประกอบด้วย การเรียนการสอน4ปี จำนวน 145หน่วยกิต มีวิชาการศึกษาทั่วไปในปีที่1จำนวน30หน่วยกิต วิชาเฉพาะสาขา60หน่วยกิต กลุ่มวิชาว่าด้วยการแปรรูปและความปลอดภัย15หน่วยกิต และกลุ่มวิชาบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง การค้าการตลาด ตลอดจนกฎหมายการเกษตร ที่ดิน และสิ่งแวดล้อม อีก 30 หน่วยกิต ส่วนที่เหลือประกอบวิชาเลือกเพิ่มเติมอีก 15 หน่วยกิต เพื่อเสริม3กลุ่มวิชาเฉพาะสาขาดังกล่าว ให้นิสิตเลือกเสริมตามความเหมาะสมของตน กลุ่มวิชาพื้นฐาน วิชาเลือกเสรี วิชาโครงงานหรือปริญญานิพนธ์ และวิชาฝึกงานจะมีให้เลือก และวิชาฝึกงานที่หลากหลายอีก 40 หน่วยกิต ซึ่งจะเสริมให้นิสิตได้มีโอกาสใกล้ชิดกับการทำงานเป็นกลุ่ม การลงแปลงเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ทั้งจากมหาวิทยาลัย ส่วนราชการอื่น หรือทางเอกชน ชุมชนต่างๆ

นิสิตปี 1 จะเรียน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ วิชาเฉพาะสาขาจะเรียนในปี2-3 ณ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายภูมิภาคของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จังหวัดน่าน และเรียนทางภาคทฤษฎีทาง IDL (Interactive Distance Learning) เป็นการฝึกนิสิตให้คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร เพื่อให้คุ้นเคยกับการสืบค้นข้อมูล การติดต่อกัน อันจะเป็นองค์ประกอบในการสืบค้นต่อไปตลอดชีวิต

นวัตกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตร ไม่เพียงจัดเฉพาะในส่วนของเนื้อหา แต่มีนวัตกรรมในการสร้างจิตวิญญาณ ทัศนคติ ต่อการพัฒนาบ้านเกิด มีจิตอาสา จิตสาธารณะ ตั้งใจจะไปพัฒนาท้องถิ่นและชนบท เพื่อการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเกษตร มีความสามารถในการค้าขาย บริหารจัดการสินค้าเกษตรของชุมชนนั้นๆ หรือพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชน และมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการของชุมชนในที่สุด

การผลิตบัณฑิตแนวใหม่นี้ ลำพังจุฬาฯจะผลิตบัณฑิตหลักสูตรนี้เพียงแค่ปีละ50-70คน ถ้าจะให้ครบ 70,000 หมู่บ้าน จะต้องใช้เวลาหลายปี แต่ถ้าอาศัยมหาวิทยาลัยอื่นๆอีก 100 แห่งมาร่วมเป็นเครือข่าย ก็จะผลิตว่าที่เกษตรกรเจ้าของกิจการกลับคืนหมู่บ้านได้ครบทุกหมู่บ้านภายในเวลา 10 ปี โดยถ้ามหาวิทยาลัยเครือข่ายเหลานั้น ต้องการองค์ความรู้สาขาใด ก็สามารถเข้าช็อปสาชาวิชานั้นๆจากเว็บไซต์ของจุฬาฯได้

ผมชอบและรักจังหวัดน่าน เมื่อคราวชวนพี่น้องแซ่เฮไปลุยน่าน น่องหวาน ณ กระป๋องเขียว เป็นคนน่านเป็นเจ้าภาพพาทัวร์น่านอย่างสนุก ผมยังมีหนูกุ๊กที่เคยมาอยู่มหาชีวาลัยอีสาน2ปี ช่วงเรียนป.โทที่จุฬาฯ จบแล้วได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดการโครงการของจุฬาฯที่จังหวัดน่าน หนูกุ๊กชวนหลายครั้งแล้ว เมื่อทุกอย่างบังเอิญมาจ๊ะกันอย่างนี้ มีหรือที่จะไม่รับอาสาไปจังหวัดน่าน

วันนี้ได้ของฝากจากอาว์เปลี่ยน

ส่งผลไม้พื้นถิ่นเมืองลาวหน้าตาแปลกๆมาให้ทดลองปลูก

และพระอาจารย์Handy ส่งหนังสือโพธินิทสสนา มาให้

ขอขอบคุณ ขอให้อายุมั่นขวัญยืน เป็นขวัญใจของสาวๆแถบนั้นนะท่านนะ อิอิ

พี่น้องชาวเฮท่านใดสนใจทริปไปลุยน่า

ก้าวออกมายืนแถวหน้า 1 ก้าว แล้วยิ้มหวานๆ

เราจะออกทัวร์ในปี54

จองบัตรคิวแต่เนิ่นๆ

เดี๋ยวจะหาว่าหล่อไปเตือน อิ อิ..

« « Prev : จากไปแล้วหนุ่มเน้า SCG เปเปอร์

Next : การบ้านของเมืองไทย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 กันยายน 2010 เวลา 14:39

    ว้าย กรี๊ด วี๊ดบูม ไปๆๆๆค่ะพ่อ เบิร์ดชอบเมืองน่าน ไปเฮน่านและผ่านไปหงสากัน (เหตุที่ชอบน่านเพราะเคยมีหนุ่มน่านมาป้วนเปี้ยนช่วงหนึ่ง แต่ชอบเมืองมากกว่าคนเก๊าะเลยจบอ่ะค่ะ ฟามลับๆๆ อิอิอิ)

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 กันยายน 2010 เวลา 14:48

    วันนี้อาว์เปลี่ยนให้ผมส่งเมล็ดผักเสี้ยนมาให้ ส่งมาแล้วนะครับพ่อครูครับ

  • #3 krupu ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 กันยายน 2010 เวลา 17:57

    จองๆๆๆ ด้วยคนค่ะ
    พอพูดถึงจังหวัดน่าน ทำไมภาพจานผักฮากผัดน้ำมันลอยมาก่อนเลยก็ไม่รู้ค่ะ :P
    เม.ย. ท๊างเดือนกับ พ.ค.อีกครึ่งเดือนว่างโลดคร๊าบ
    พ๊วง! ขอให้ตรงทีเถิ๊ด….

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 กันยายน 2010 เวลา 21:42

    โห เมืองน่านท่าจะแตกก็คราวนี้ คิคิ
    แต่คงจะไม่ไปนั่งผิดร้านเหมือนคราวที่แล้ว
    ตาหวาน หน้าแตกยับหมอไม่รับเย็บ

    ท่านบางทรายครับ ฝนกำลังดี ถ้ามาก็จะหว่านทันที อิอิ

    เบริ์ด ตั้งชื่อ รายการตามรอยอดีตกิ๊ก ดีไหม? จ๊ากกกส์ บึ้ม!


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.1671268939972 sec
Sidebar: 0.22598099708557 sec