การบ้านของเมืองไทย
อ่าน: 2794ก่อนหน้านี้เราจะเคยได้ยินเพลง รักเมืองไทย ชูชาติไทย ทนุบำรุงให้รุ่งเรือง >>
แต่ในที่สุดเราก็ยังไม่รุ่งไม่เรืองกลับเป็นเมืองตะลุ่มตุ้มปุ้ย
การบ้านของเมืองไทยข้อใหญ่ที่สุดน่าจะเป็นการศึกษา
ที่ทำท่าชักหน้าไม่ถึงหลังมากขึ้นทุกที
พวกเราชาวแซ่เฮต่างก็มีส่วนร่วมรับรู้และร่วมด้วยช่วยกันทุกคน
หลายท่านมีบทบาทหน้าที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม
พวกเราได้นำเสนอ-แลกเปลี่ยน-ปรับปรุง-เข้าไปขลุกวงในและวงนอก
ไม่ได้นั่งป๋อหลองอมืองอเข่า
แต่เราก็ทำได้เท่าที่ศักยภาพและโอกาสจะอำนวย
ผมพยายามยุให้ชาวเราประมวลผลงานที่เขียนในลานปัญญาออกมาเป็นหนังสือเล่มเล็ก
คุณหมอจอมป่วน ตลุยเปิดทางในหนังสือ จอมป่วน>>>
ท่านบางทรายกำลังรวบรวมต้นฉบับ >>>
ต่อๆไปชาวเราก็จะทยอยพิมพ์หนังสืออกมามากขึ้นๆ
การเขียนในลานปัญญาเริ่มพัฒนาไปสู่การขยายปัญญาสู่ประชาคมมากขึ้น
กอร์ดอนมัวร์ (Gordon M00re) อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ทำนายเทคโนโลยีในอนาคตไว้ตั้งแต่ปี 2508 ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงในปัจจุบันมาก ดังที่รู้จักกันดีในนาม “กฎของมัวร์” (Moore Law) นั่นคือคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารจะพัฒนาก้าวหน้าเป็น2เท่าทุก18เดือน ความจุของฮาร์ดีสก็จะเพิ่มเป็น2เท่าทุกๆ3ปี สารสนเทศที่แปลงเป็นความรู้จึงมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว รูปแบบของการศึกษาในยุคนี้จึงค่อยๆเปลี่ยนไปสู่การเรียนรู้ไร้พรมแดน ไม่ยึดติดกับเวลาและสถานที่ ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากทั่วทุกมุมโลก โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายตัวเองไปไหน แต่ใช้การสำรวจ สืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายโยงใยที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต
เมื่อหัวใจของการปฎิรูปการศึกษา อยู่ที่การเปลี่ยนจากครูที่เป็นศูนย์กลางมาสู่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการทำให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ การศึกษายุคนี้จึงไม่ใช่การเรียนเพื่อจดจำตัวความรู้อีกต่อไป แต่ตัวความรู้จะยิ่งมีบทบาทสำคัญและผูกพันอยู่กับการใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ในทุกหนทุกแห่ง ทุกที่ทุกเวลา ด้วยเหตุนี้ระบบการเรียนการสอนจึงต้องพัฒนาไปเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถที่จะสร้างความรู้ใหม่จากการแสวงหา และเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง เพื่อให้เท่าทันความรู้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แต่สิ่งที่ยากยิ่่งสำหรับการให้การศึกษาก็คือ
การช่วยให้ผู้เรียนอยู่กับโลกเสมือนจริงอย่างรู้เท่า
และช่วยให้คนในสังคมเป็นไทต่อพลังอำนาจของข้อมูลข่าวสาร
โดยไม่ตกเข้าไปอยู่วังวนของมายาที่มนุษย์ช่วยกันสร้างขึ้นจากความไม่รู้
ความเสมือนจริงที่สื่อเหล่านี้ได้ครองใจและเป็นเจ้าของเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันของเด็กๆไปมากกว่าครึ่ง
แล้วเราจะทำอย่างไรกับปัญหาจริงที่กำลังเกิดขึ้น “นอกจอ”
เราจะเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญาได้อย่างไร
คงไม่มีข้อสรุปที่โป๊ะเช๊ะ
คำตอบอยู่ในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน
อยู่อย่างไร ทำอะไร ก็ย่อมเป็นไปตามสาระประจำวันของเรา
ในขณะที่มีผู้พูดว่าเทคโนโลยีก้าวล้ำอย่างนั้นอย่างนี้
คนที่ใช้หรืออยู่กับเทคโนโลยีก็ต้องขยับทักษะให้สอดรับกับสิ่งใหม่ให้กลมกลืน
ตรงจุดนี้ชาวแซ่เฮได้เรียนรู้จากการปฏิบัติภายใต้ชายคาของลานปัญญา
ปลายเดือนนี้จะชวนครูอาชีวะไปเล่าเรื่องชาวเฮที่กระทรวงศึกษาธิการ
และมอบหนังสือที่ครูอาชีวะคนหนึ่งเขียน>>
กรณีการแก้ปัญหาในสถานศึกษาแบบกัดไม่ปล่อย
แต่อ่านแล้วปลดปล่อย ก๊ากส์ หลายๆก๊ากส์ เลยละขอรับ
โปรดติดตามด้วยความระทึกระทวยใจ อิ อิ
Next : R-ชีวะ » »
6 ความคิดเห็น
ความรู้มี Hardside กับ Softside (ยืม อ. วรภัทร์ มา )
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ความสามารถในการศึกษาด้าน Hardside สดวกขึ้น ค้นคว้าวิชาการ ตำราต่างๆได้ดีขึ้น แต่ใช้ไม่ได้กับเรื่องปัญญาปฏิบัติ
ครูอาจารย์สมัยนี้ควรสอนเด็กเรียนรู้ด้าน Hardside ผ่าน IT ห้องสมุด แต่ดันอัด Lecture
ควรเพิ่มเวลาด้านซักถามอภิปราย ปฏิบัติ ก็ดัน Lecture
……..
ควรอ่าน Learn How To Learn ของ อ.วรภัทร์… อิอิ
ความรู้มีอยู่รอบตัว พร้อมที่จะเรียนรู้ได้ระดับหนึ่ง ในประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว เราสามารถทำอะไรได้ถูกต้อง แค่ทำตามข้อเขียนจากป้าย เป็นคำชี้แนะเพื่อเข้าถึงสิ่งที่ต้องการได้ แค่อ่านออกก็สามารถเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว มิเพียงเท่านั้นสำหรับคนต่างชาติที่อ่านภาษาของประเทศนั้นไม่ได้ เขาก็มีภาษาภาพทำตามภาพก็สามารถเรียนรู้ได้ นี่คือการเรียนรู้โดยไม่มีการบังคับ
ความรู้รู้มีหลากหลาย มีปราชญ์มากมาย ที่สามารถถ่ายเทความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาม่าเชื่อเสมอ ว่าคุยกับนักปราชญ์หนึ่งเพลา ดีกว่าไปท่องตำราเป็นสิบปี โลกยิ่งเจริญความรู้เก่ากลับถดถอย จึงต้องมั่นฝึกปฏิบัติอย่างท่องแท้ ด้วยหนึ่งสมองสองมือ สองตา บนขาสองข้าง ติดขัดเรื่องอะไรก็มีปราชญ์ทางด้านนั้นๆ คอยชี้แนะ สอนและทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และเปิดโอกาสให้มีการคิดนอกกรอบ ทดลองทำอะไรที่ต่างไปจากวันวาน …. อย่าไปโทษระบบการศึกษาในระบบเลย ….ทำไมคนไทยเก่งๆ ที่ดีๆ มากมาย ที่เคยผ่านระบบการศึกษาแบบไทยๆ… เราอย่ามัวไปโทษใครเลย เรามาช่วยกันพัฒนาคนที่เราสามารถพัฒนาได้ ตามปัจจัยแวดล้อมปัจจุบันเถอะ เริ่มจากตัวเราว่าเราจะช่วยประเทศชาติอย่างไร อย่างพ่อผาย เขาก็มีวิธีการของเขา ครูบาฯ ก็มีวิธีของครูบาฯ
ไม่มีวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่จะใช้เป็นยาครอบจักรวาล ทำได้ผลทั่วประเทศ ด้วยเหตุต่างคนต่างจิต ต่างพื้นที่ต่างปัจจัยแวดล้อม จึงมีทางเดียวที่ค้องทำความรู้จักตัวเอง ว่ามีกำลัง …..ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมที่มีอยู่ จะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งเดียวที่มนุษย์ทำได้คือความพอเพียงย่างยั่งยืน ที่จะมีชีวีมีสุขตามวิถีปกติสุขที่ธรรมชาติเอื้อ สรุปตนเป็นที่พึ่งแห่งตน…มีตัวอย่างให้เรียนรู้เรียนแบบ เลือกเอาที่เหมาะกับตัวเอง แล้วจะพบทางสว่างเสมอ….
หนังสือครูปูหรือเปล่าคะ อิอิ
ถ้ามีการบ้าน ก็ต้องทำส่งแหละครับ
ต้นฉบับของผมตอนแรกทำฉบับเดียว โอยทำไมมันมากมายใหญ่โต เลยตัดสินใจแยกเป็นเล่มหนึ่ง เล่มสอง
แล้วมานั่งทบทวนดูรายละเอียดครั้งแล้วครั้งเล่า ทำคนเดียว พร้อมๆกับงานอื่นๆ เลยใ้ช้เวลาเยอะ ตอนนี้ก็ ร้อยละ 95 ไปแล้ว เหลือ ค้นเอารูปมาใส่ และคัด ไฮไลท์ บางช่วงบางตอนออกมา ออกแบบปกเอง ทำรูปเล่มเอง เอาเรื่องจริงๆ ตาฟ้าฟางไปเยอะเลยครับ
สุดยอด! เดี่ยวมือหนึ่ง ทำเองทุกเรื่อง รออ่านนะครับ